backup og meta

5 พยาธิตัวร้าย และการป้องกันพยาธิ

5 พยาธิตัวร้าย และการป้องกันพยาธิ

คนที่ชอบรับประทานอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ อาจจะเคยได้ยินคนเตือนให้ระวังเรื่องของการติดพยาธิมาบ้างไม่มากก็น้อย พยาธิเป็นสิ่งมีชีวิตแปลกปลอมแฝงมาอยู่ในร่างกายของคนที่นอกจากจะทำให้รู้สึกขยะแขยงแล้ว ยังอาจนำมาซึ่งอันตรายต่อสุขภาพของเราอีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับ พยาธิ 5 ประเภทที่สามารถพบได้ในคน และวิธีการป้องกันพยาธิเหล่านี้

[embed-health-tool-bmi]

5 พยาธิ ก่อโรคที่ควรระวัง

พยาธิเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องอาศัยอยู่ในตัวของสิ่งมีชีวิตอื่น และแย่งอาหารจากสิ่งมีชีวิตนั้นๆ เพื่อให้มีชีวิตรอด พยาธิมีอยู่หลายประเภท และแต่ละประเภทก็จะสามารถพบได้ในสิ่งมีชีวิตแตกต่างกันไป ตั้งแต่พืช สัตว์ ไปจนถึงมนุษย์ และประเภทของพยาธิที่มักจะพบได้ในมนุษย์มีดังนี้

1. พยาธิตัวตืด

พยาธิ ตัวตืด

พยาธิตัวตืดนั้นเป็นพยาธิตัวแบนชนิดหนึ่ง คนที่ติดเชื้อพยาธิตัวตืดนั้นมักจะไม่แสดงอาการใด ๆ ให้เห็น พยาธิชนิดนี้มักจะอาศัยอยู่ในบริเวณลำไส้ และฝังไข่เข้ากับผนังลำไส้ ในบางครั้งตัวอ่อนของพยาธิตัวตืดนั้นอาจสามารถกระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ภายในร่างกายได้อีกด้วย

พยาธิตัวตืดมีลักษณะลำตัวแบน และมีขนาดยาว คล้ายกับริบบิ้นสีขาว ในบางครั้งอาจมีความยาวมากถึง 3-10 เมตร ขึ้นอยู่กับประเภทของพยาธิ และพยาธิชนิดนี้สามารถอาศัยอยู่ในร่างกายของคนได้นานถึง 30 ปีขึ้นไป

พยาธิตัวตืดมีอยู่หลายประเภท บางประเภทจะอาศัยอยู่ในน้ำ บางประเภทอาศัยอยู่ในเนื้อสัตว์ เช่น วัว หรือหมู คุณสามารถรับพยาธิเหล่านี้เข้าไปในร่างกายได้ หากคุณดื่มน้ำไม่สะอาดที่ปนเปื้อนไข่หรือตัวอ่อนของพยาธิตัวตืด หรือรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่สะอาดหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ

2. พยาธิปากขอ

พยาธิ ปากขอ

พยาธิปากขอ เป็นพยาธิตัวกลมชนิดหนึ่ง มีลักษณะคือด้านหนึ่งของลำตัวละมีลักษณะเรียวแหลม คล้ายเข็มหรือตะขอ พยาธิชนิดนี้มักจะพบได้ในบริเวณลำไส้เล็ก โดยการใช้ร่างกายส่วนที่คล้ายตะขอ เกี่ยวเข้ากับลำไส้ เมื่อพยาธิปากขอวางไข่ ไข่และตัวอ่อนเหล่านี้อาจกระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ในร่างกายได้

เรามักจะได้รับพยาธิชนิดนี้มาจากบริเวณดินที่ไม่สะอาด เช่น ดินที่ปนเปื้อนอุจจาระ หรือปุ๋ยหมัก นอกจากนี้ ตัวอ่อนของพยาธิปากขอสามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้ผ่านทางผิวหนังอีกด้วย คนที่ติดเชื้อพยาธิปากขอมักจะไม่แสดงอาการใด ๆ แต่ก็มีอาจกรณีที่อาจจะมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะกับผู้ที่ติดพยาธินี้ครั้งแรก

3. พยาธิใบไม้

พยาธิ ใบไม้

พยาธิใบไม้เป็นพยาธิตัวแบนชนิดหนึ่ง มีขนาดเล็ก และมีรูปร่างรีคล้ายกับใบไม้ และมีขนาดยาวเพียงไม่กี่นิ้ว โดยปกติแล้วพยาธิใบไม้นั้นมักจะพบได้ในสัตว์ แต่ก็สามารถติดต่อเข้าสู่คนได้เช่นกัน พยาธิชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในลำไส้ เลือด หรือเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย พยาธิใบไม้โตเต็มวัยมักจะอาศัยอยู่ในท่อน้ำดีและตับ

เราสามารถรับพยาธิชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายได้หากดื่มน้ำที่ปนเปื้อนไข่หรือตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ หรือรับประทานพืชน้ำ เช่น แพงพวยดิบ ที่ปนเปื้อนไข่หรือตัวอ่อนของพยาธิใบไม้เข้าไป หลังจากที่ติดพยาธิชนิดนี้เข้าไปแล้ว บางคนอาจจะมีอาการท่อน้ำดีตับเสบ หรือท่อน้ำดีอุดตับ หรืออาจจะมีความผิดปกติเกี่ยวกับตับ เช่น ตับโต หรือค่าผลตรวจการทำงานของตับผิดปกติ

4. พยาธิเส้นด้าย

พยาธิเส้นด้าย

พยาธิเส้นด้าย เป็นพยาธิตัวกลมที่มีขนาดเล็ก และมักจะไม่เป็นอันตรายใดๆ พยาธิชนิดนี้พบได้มากในเด็กเล็ก เมื่อพยาธิโตเต็มวัย ก็มักจะอาศัยอยู่ในบริเวณลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก พยาธิเส้นด้ายเพศเมียจะออกมาวางไข่ที่บริเวณก้น ในตอนกลางคืน

ไข่ของพยาธิชนิดนี้สามารถมีชีวิตอยู่ได้บนเครื่องนอน เสื้อผ้า และพื้นผิวอื่น ๆ ผู้ที่สัมผัสกับไข่ของพยาธิชนิดนี้ แล้วรับประทานไข่พยาธิเข้าไป เช่น หยิบอาหารใส่ปาก ก็จะสามารถติดพยาธิเส้นด้ายได้ ไข่ของพยาธิชนิดนี้มีขนาดเล็กมากจนเราสามารถสูดหายใจเข้าไปในหลอดลมได้เช่นกัน ทำให้สามารถแพร่กระจายไปยังคนอื่น ๆ ได้อย่างง่ายดาย

5. พยาธิไส้เดือน

พยาธิไส้เดือน

พยาธิไส้เดือน เป็นพยาธิตัวกลมชนิดหนึ่งที่มีความคล้ายกับ พยาธิปากขอ แต่มีขนาดยาวเพียงแค่ไม่กี่นิ้ว พยาธิเหล่านี้มักจะปนเปื้อนอยู่ในดิน และสามารถเข้าสู่ร่างกายของคนได้จากการรับประทานไข่พยาธิเข้าไปเท่านั้น พยาธิไส่เดือนที่โตเต็มวัยจะอาศัยอยู่ในลำไส้เล็ก โดยจะไม่เกาะอยู่กับผนังลำไส้ แต่จะเคลื่อนไหวไปมา เมื่อพยาธิไส้เดือนเข้าสู่ร่างกาย ตัวอ่อนของพยาธิอาจจะไชทะลุผนังลำไส้ และเข้าสู่กระแสเลือด นำไปยังบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น หัวใจ ตับ และปอดได้

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อพยาธิไส้เดือนมักจะไม่แสดงอาการใดๆ แต่พยาธิไส่เดือนนั้นจะไปแย่งสารอาหารที่ย่อยแล้วภายในลำไส้ ทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร เจริญเติบโตช้า นอนไม่หลับ ง่วงนอน และอ่อนเพลียได้ บางคนอาจจะมีอาการอาเจียน และท้องเสียบ่อย เนื่องจากของเสียที่พยาธิขับออกมา

อาการของคนติดพยาธิ

พยาธิแต่ละชนิดอาจจะทำให้เกิดอาการแตกต่างกันไป นอกจากนี้ อาการของการติดพยาธิก็อาจจะแตกต่างกันไปในตามแต่ละบุคคลอีกด้วย แต่อาจมีอาการของการติดพยาธิบางอย่าง ที่สามารถพบได้ทั่วไป ดังนี้

ในบางกรณี ผู้ป่วยที่มีพยาธิอาจขับถ่ายชิ้นส่วนพยาธิออกมาในอุจจาระ และพยาธิเหล่านี้อาจจะไปอุดตันในลำไส้ ทำให้เกิดอาการท้องผูกได้เช่นกัน

การป้องกันไม่ให้ติดพยาธิ

  • ล้างมือให้สะอาด ทุกครั้งก่อนกินอาหาร หรือประกอบอาหารใดๆ และควรล้างมือหลังจากสัมผัสกับดิน หรือหลังจากเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
  • ดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำดื่มในขวด หรือน้ำต้มสุก
  • กำจัดของเสียของสัตว์เลี้ยงอย่างถูกสุขอนามัย
  • ล้างผักและผลไม้ให้สะอาด
  • อย่าให้เด็กไปเล่นในบริเวณที่มีอุจจาระของสัตว์เลี้ยง
  • อย่ารับประทานผักและผลไม้สดในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูง
  • อย่าเดินเท้าเปล่าในบริเวณที่อาจมีความเสี่ยงว่าจะมีพยาธิ
  • และสุดท้าย อย่ารับประทานเนื้อดิบ โดยเฉพาะ เนื้อหมู และปลาน้ำจืด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Parasitic Worms in Humans: Know the Facts. https://www.healthline.com/health/worms-in-humans. Accessed 14 December 2019

Intestinal worms in humans and their symptoms. https://www.medicalnewstoday.com/articles/324042.php#symptoms. Accessed 14 December 2019

Worms in humans. https://www.nhs.uk/conditions/worms-in-humans/. Accessed 14 December 2019

โรคพยาธิไส้เดือน (Ascariasis). http://www.healthcarethai.com/โรคพยาธิไส้เดือน-ascariasis/. Accessed 14 December 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/10/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แขกไม่ได้รับเชิญในอาหารสุกๆ ดิบๆ

พยาธิตัวตืด ภัยแฝงจากการกินเนื้อสัตว์สุกๆ ดิบๆ ที่อาจอันตรายกว่าที่คิด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 4 สัปดาห์ก่อน

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา