เคล็ดลับในการนอนหลับ

แค่ออกกำลังกายกับกินอาหารดีต่อสุขภาพอาจยังไม่พอ! เพราะเราใช้เวลา 1 ใน 3 ของชีวิตไปกับการนอน ฉะนั้น หากอยากสุขภาพดี คุณก็นอนหลับอย่างมีคุณภาพด้วย และ เคล็ดลับในการนอนหลับ เหล่านี้ ช่วยคุณได้

เรื่องเด่นประจำหมวด

เคล็ดลับในการนอนหลับ

นอนบนพื้น ดีต่อสุขภาพหรือส่งผลเสียต่อสุขภาพกันแน่

ที่หลาย ๆ คนมีความเชื่อว่า นอนบนพื้น เป็นรูปแบบการนอนที่ช่วยลดอาการปวดหลัง แถมยังดีต่อสุขภาพ ช่วยให้นอนหลับได้สบายขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ จึงมีข้อมูลที่น่าสนใจเรื่อง การนอนที่พื้น มาให้อ่านกันว่า ส่งผลดีหรือส่งผลเสียต่อสุขภาพกันแน่ ใครบ้างที่ควรหลีกเลี่ยงการนอนที่พื้น ไปติดตามกัน นอนบนพื้น ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร แม้จะมีงานวิจัยชี้ว่า การนอนที่พื้น มีส่วนช่วยแก้อาการปวดหลังและช่วยให้นอนหลับสบายขึ้น แต่ การนอนที่พื้น นั้นมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้ ปวดหลังเพิ่มขึ้น งานวิจัยบางชิ้นบ่งบอกว่า การนอนที่พื้น ช่วยลดอาการปวดหลังได้ แต่ก็ยังมีงานวิจัยบางชิ้นที่บ่งบอกว่า การนอนที่พื้น ช่วยเพิ่มอาการปวดหลัง ทำให้ข้อมูลในส่วนนี้ยังมีความขัดแย้งกัน แต่อย่างไรก็ตาม การนอนที่พื้นผิวแข็ง ๆ มีส่วนทำให้กระดูกสันหลังรักษาความโค้งตามธรรมชาติได้ยาก จากการศึกษาในผู้ใหญ่ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังจำนวน 313 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มแบบไม่เฉพาะเจาะจง สุ่มให้ 2 กลุ่มนอนบนที่นอนขนาดกลางและที่นอนเนื้อแน่น เป็นเวลา 90 วัน พบว่ากลุ่มที่นอนบนที่นอนที่มีเนื้อแน่นปานกลางมีอาการปวดหลังน้อยกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่นอนบนที่นอนเนื้อแน่น จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การนอนบนพื้นผิวที่กระชับ อาจไม่ได้ส่งผลในการบรรเทาอาการปวดหลังได้ แต่อย่างไรก็ตามยังจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม เพื่อทำความเข้าใจว่า การนอนที่พื้น มีผลต่ออาการปวดหลังอย่างไร ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ การนอนที่พื้น โดยเฉพาะพื้นที่ไม่มีความสะอาด เต็มไปด้วยฝุ่นและสิ่งสกปรก […]

สำรวจ เคล็ดลับในการนอนหลับ

เคล็ดลับในการนอนหลับ

ไขข้อข้องใจ ทำไมเราจึงมีอาการ ผวาตกจากที่สูงขณะหลับ (hypnic jerk)

คุณเคยรึเปล่าคะ นอนๆ อยู่กำลังจะเคลิ้มหลับ ก็ฝันว่าตกวูบจากที่สูง จนสะดุ้งตื่นขึ้นมา ก่อนจะพบว่าตัวเองก็ยังคงนอนอยู่ที่เดิม อาการสะดุ้งที่เรียกว่าอาการ ผวาตกจากที่สูงขณะหลับ นั้นเป็นอาการที่พบเห็นได้บ่อยครั้ง และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่อาการนี้เป็นอันตราย หรือเป็นสัญญาณบ่งบอกโรคอะไรรึเปล่านะ หาคำตอบได้จากบทความนี้ ผวาตกจากที่สูงขณะหลับ คืออะไร อาการผวาตกจากที่สูงขณะหลับ (hypnic jerk) หมายถึงอาการกระตุกของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นเองขณะที่เรากำลังนอนหลับ ทำให้เราเกิดความรู้สึกคล้ายกับว่ากำลังตกจากที่สูง จนทำให้เราต้องผวาตื่น มักจะเกิดขึ้นในช่วงที่เรากำลังมีอาการเคลิ้มๆ ใกล้จะหลับ ความรุนแรงของอาการกระตุกนั้นอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละคน บางคนอาจจะไม่รู้สึกว่ามีอาการกระตุก ในขณะที่บางคนอาจจะกระตุกแรงจนทำให้คนข้างๆ สังเกตเห็นได้ อาการนี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อย และสามารถพบได้มากถึง 70% แต่ไม่จำเป็นต้องกังวลไป เพราะอาการนี้ไม่ถือว่าเป็นความผิดปกติ หรือส่งผลให้เกิดอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด อาการที่อาจเกิดขึ้นมีดังนี้ กล้ามเนื้อบางส่วนของร่างกายกระตุก รู้สึกเหมือนกำลังตกลงจากที่สูง รู้สึกวูบ มีความฝันที่ทำให้รู้สึกกลัว ตกใจ หรือหรือทำให้กระโดด หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก หายใจเร็ว สาเหตุของการเกิดอาการผวาตกจากที่สูงขณะหลับ ตามปกติแล้ว สาเหตุในการเกิดอาการผวาตกจากที่สูงขณะหลับนั้นอาจจะยังไม่เป้นที่ทราบแน่ชัด แต่ก็มีทฤษฎีบางอย่างที่คาดการว่า อาการนี้อาจจะมีสาเหตุมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้ การออกกำลังกายดึกเกินไป การออกกำลังกายจะเป็นการกระตุ้นร่างกาย ดังนั้นการออกกำลังกายดึกเกินไป หรือออกในช่วงใกล้กับเวลาที่จะนอน จะทำให้กล้ามเนื้อของคุณถูกกระตุ้น ไม่ผ่อนคลาย และอาจทำให้เกิดอาการผวาตกจากที่สูงขณะหลับได้ สารกระตุ้น สารบางอย่างที่มีฤทธิ์กระตุ้นสมองและร่างกาย เช่น คาเฟอีน นิโคติน หรือยาบางชนิด อาจทำให้คุณนอนหลับได้ยาก หรือนอนหลับไม่สนิทได้ ความเครียดและความกังวล ความตึงเครียดและความกังวลที่สะสมอยู่อาจทำให้คุณไม่สามารถผ่อนคลายและนอนหลับได้อย่างสนิท ความเครียดเหล่านี้จะทำให้สมองของคุณตื่นตัวในช่วงเวลานอน และอาจทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุกขณะหลับได้ นอนหลับไม่เพียงพอ การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ อาจนำไปสู่อาการผวาตกจากที่สูงขณะหลับได้ อาการผวาตกจากที่สูงขณะหลับป้องกันได้หรือไม่ เนื่องจากอาการผวาตกจากที่สูงขณะหลับนั้นไม่ใช่โรค ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องทำการรักษาแต่อย่างใด […]


เคล็ดลับในการนอนหลับ

สวมถุงเท้า ก่อนเข้านอน ช่วยให้หลับสบายขึ้น จริงหรือ?

เคยสังเกตกันหรือไม่ว่า..ทำไมทารกตัวน้อยต้องสวมถุงเท้าในช่วงเวลาพักผ่อนเสมอๆ แถมตื่นมายังไม่งอแง อารมณ์ดีได้ตลอดวัน จริงๆ แล้ว ผู้ใหญ่ก็สามารถปฏิบัติตามได้เช่นเดียวกัน ถ้าอยากเพิ่มประสิทธิภาพการนอนหลับให้ยาวนานขึ้นเปรียบเสมือนย้อนวัยไปในช่วงที่ยังเป็นทารกเลยทีเดียว วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทุกคนมารู้จักกับประโยชน์ของการ สวมถุงเท้า ก่อนเข้านอน ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ในบทความนี้ การสวมถุงเท้า สามารถช่วยให้นอนหลับสบายได้อย่างไร ปลายเท้าที่เย็นเฉียบอาจเป็นสาเหตุทำให้คุณมีอาการนอนไม่หลับ หลอดเลือดเกิดการบีบตัว และระบบการไหลเวียนของเลือดทำงานได้น้อยลง ดังนั้นการให้ความอบอุ่นแก่เท้าจึงถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ รวมถึงการสวมถุงเท้าก่อนเข้านอน อาจทำให้สมองรับรู้ถึงช่วงเวลาที่คุณควรเข้าพักผ่อน เนื่องจากการฝึกพฤติกรรมด้วยการใส่ถุงเท้าบ่อยๆ สามารถเป็นสัญญาณหนึ่งให้สมองได้จดจำ นำไปสู่การเตือนให้คุณเข้านอนตรงตามเวลามากขึ้น จากการศึกษาในปี 2007 รายงานว่า การสวมถุงเท้าในวัยผู้ใหญ่ ทำให้เพิ่มเวลาการนอนหลับได้ดีขึ้น และเข้านอนได้รวดเร็วกว่าเดิม เพราะเป็นการสร้างความอบอุ่น และควบคุมอุณหภูมิในร่างกายให้คงที่ ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว นำไปสู่การนอนหลับที่ดี แต่ถุงเท้าที่เหมาะแก่การใช้ขึ้นบนที่นอนนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรักษาความสะอาด และแยกในส่วนของถุงเท้าใส่ไปนอกบ้าน กับใส่ก่อนเข้านอนให้แน่ชัด เพื่อไม่ให้สิ่งสกปรกขึ้นไปสะสมบนที่นอนได้ ประโยชน์ด้านอื่นๆ ของการ สวมถุงเท้า ก่อนทิ้งตัวลงเตียง นอกจากจะให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายแล้ว ยังสามารถช่วยในด้านอื่นๆ อีกดังนี้ ป้องกันอาการร้อนวูบวาบ การสวมถุงเท้าสามารถป้องกันความผันผวนของฮอร์โมน และอุณหภูมิในร่างกายโดยเฉพาะผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนที่มักมีอาการร้อนวูบวาบกระจายตามทั่วร่างกาย ปรับปรุงการมีเพศสัมพันธ์ คิดไม่ถึงใช่หรือไม่ว่าแค่การสวมถุงเท้าจะสามารถทำให้การมีเซ็กส์ดียิ่งขึ้นไปอีก จากการรายงานข่าวยอดนิยมในปี 2005 มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าคู่รักที่สวมถุงเท้า ในขณะมีเพศสัมพันธ์มีแนวโน้มสำเร็จความใคร่ในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ได้ดีกว่าเดิม ป้องกันส้นเท้าแตกลาย เพราะการสวมถุงเท้าเป็นการเก็บความชุ่มชื้นไม่ทำให้ฝ่าเท้า และส้นเท้าของคุณเกิดแห้ง แตก และผิวหนังลอก ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเรเนาด์ (Raynaud Disease) เมื่อเท้า และนิ้วเท้าได้รับความเย็น จนทำให้การไหลเวียนของเลือดทำงานได้ไม่สมบูรณ์ มีอาการสั่น […]


เคล็ดลับในการนอนหลับ

ฝันซ้ำ ฝันซ้อน หนึ่งในรูปแบบของการฝันร้าย ที่อาจมาจากความเครียด

จะกี่คืนผ่านไปก็ยังคงฝันวนอยู่เรื่องเดิม ๆ บางคนฝันดีก็ถือว่าเป็นโชค แต่บางคนที่ฝันร้าย แถมยัง ฝันซ้ำ ไปมานี่สิ พวกเขาต้องคอยอยู่กับความกลัว และฝังใจจนตลอดเวลา อาจทำให้ไม่กล้าที่จะหลับตาทิ้งตัวลงบนเตียงอีกครั้ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดมาจากตัวของคุณเองทั้งสิ้น แต่จะเป็นสาเหตุเกี่ยวกับอะไร ติดตามได้ในบทความนี้ที่ Hello คุณหมอ บทความนี้เลย ฝันซ้ำ มีลักษณะอย่างไร การฝันซ้ำ (Recurring Dream) มักเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีการค้นพบว่าพวกเธอมีความฝันที่ซ้ำไปซ้ำมาบ่อยกว่าผู้ชาย และพบได้ในช่วงวัยผู้ใหญ่ 60-70 เปอร์เซ็นต์ โดยถูกสันนิษฐานว่าอาจมาจากความเครียด และปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตของแต่ละบุคคลที่กำลังเจอ ส่วนมากฝันซ้ำจะเป็นไปในเชิงลบหรือ เรียกง่าย ๆ ว่า ฝันร้าย นั่นเอง แต่จะแตกต่างกันตรงที่ฝันซ้ำ มักจะมีเนื้อหาเดิม ๆ วนเวียน เกิดขึ้นแทบทุกค่ำคืนของการนอนหลับ เนื่องจากเป็นสิ่งที่อยู่ลึกภายใต้จิตสำนึก และจิตใจ จากความวิตกกังวล และความเครียดของคุณ สาเหตุที่ทำให้เกิดการ ฝันซ้ำ ๆ มีอะไรบ้าง ความเครียด วิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ความเครียดเป็นหนึ่งในอารมณ์ที่ผู้คนส่วนใหญ่มักเผชิญอยู่เป็นประจำ เพราะในปัจจุบันคนเรามักเจอกับเหตุการณ์รอบตัวอย่าง เรื่องการทำงาน การเรียน ปัญหาทางการเงิน และภาวะกดดันต่าง ๆ เป็นต้น ที่ส่งผลให้เกิดความรู้สึกเหล่านี้ขึ้น จากการตั้งสมมุติฐานเรื่องของอารมณ์ด้านความเครียด […]


เคล็ดลับในการนอนหลับ

นอนแค่ไหนก็ไม่เคยพอ นอนเยอะแต่ยังเพลีย อยู่เหมือนเดิม เป็นเพราะอะไรกันนะ

การนอน เป็นกิจวัตรประจำวันที่สำคัญสำหรับมนุษย์ การนอนหลับที่ดี ส่งผลทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต แต่พฤติกรรมการนอนที่มีความผิดปกติไปจากที่ควรจะเป็น เช่น การนอนน้อย นอนไม่พอ การตื่นกลางดึก หรือการนอนมากจนเกินไป สามารถที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เราอาจรู้จักข้อเสียของการนอนไม่พอหรือการนอนน้อยกันมาบ้างแล้ว วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอพาคุณผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักกับข้อเสียของการนอนที่มากเกินไป แล้วทำไม นอนเยอะแต่ยังเพลีย อยู่เหมือนเดิม สาเหตุเป็นเพราะอะไร มาดูกันเลย นอนแค่ไหนถึงจะเรียกว่านอนเยอะ นอนอย่างไรจึงจะเรียกว่านอนเยอะ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ช่วงเวลา หรือจำนวนชั่วโมงในการนอนของแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันไป ตามภาระหน้าที่การทำงาน ช่วงอายุ และปัจจัยต่าง ๆ ที่อยู่เหนือการควบคุม รวมถึงอาการทางสุขภาพด้วย เช่น ผู้ป่วยด้วยโรคต่าง ๆ อาจต้องการการพักผ่อนที่แตกต่างกัน ถ้าหากคุณมีอาการของโรคเครียดหรือซึมเศร้า คุณอาจต้องการการพักผ่อนที่มากกว่า 8 ชั่วโมง แต่โดยทั่วไปแล้วสำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 18-64 ปี ผู้เชี่ยวชาญมักจะแนะนำให้มีการนอนหลับพักผ่อนอยู่ระหว่าง 7-9 ชั่วโมงของแต่ละคืน ถ้าหากเกินกว่านี้ ก็สามารถเรียกได้ว่าเป็นการนอนที่มากเกินไป นอนมากไปส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง สิ่งใดที่มากไปหรือน้อยไป ย่อมส่งผลเสียตามมาได้ ซึ่งไม่เพียงแต่การพักผ่อนไม่เพียงพอเท่านั้นที่ส่งผลต่อสุขภาพ เพราะการนอนที่มากจนเกินไปก็สามารถที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เหมือนกัน ดังนี้ เบาหวาน มีงานวิจัยหลายชิ้น แสดงให้เห็นว่า การนอนที่มากไป หรือน้อยไป หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ […]


เคล็ดลับในการนอนหลับ

ปวดหัวหลังจากการงีบ ในตอนบ่าย ๆ อาการแบบนี้ผิดปกติหรือเปล่า

หนังท้องอิ่ม หนังตาก็เริ่มหย่อน ศีรษะก็เริ่มจะคล้อย โหยหาที่นอนนุ่ม ๆ ขอเอนหัวงีบสักหน่อย แต่ปกติแล้ว เรางีบเพื่อให้ร่างกายได้พัก จะได้กลับมาสดชื่น กระปรี้กระเปร่าพร้อมต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ต่อไป  แต่ถ้าอยู่ ๆ คุณเกิด ปวดหัวหลังจากการงีบ ขึ้นมาล่ะ จะเป็นอันตรายที่น่ากลัวหรือเปล่า ไปหาคำตอบกันเลยกับบทความนี้เลย จาก Hello คุณหมอ ปวดหัวหลังจากการงีบ เป็นเพราะอะไร สาเหตุของการปวดหัวนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่นเดียวกับ อาการปวดศีรษะหลังจากที่ได้นอนงีบไปสักครู่หนึ่งก็เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยเช่นกัน โดยอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ อย่างการนอนกรน ที่นอกจากจะรบกวนการนอนของคุณเอง และรบกวนผู้อื่นแล้ว ยังส่งผลให้คุณปวดหัวเมื่อตื่นนอนได้ด้วย และยังอาจมีความเสี่ยงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งอันตรายถึงแก่ชีวิต นอนกัดฟัน ถ้าคุณเป็นคนที่นอนกัดฟันมาแต่เดิม นี่อาจเป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะหลังจากตื่นนอนได้ เพราะความเครียดเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดการนอนกัดฟัน และการนอนกัดฟันของคุณอาจมาจากความเครียดที่สะสม ดังนั้นแม้จะนอนงีบแล้ว ความเครียดก็อาจจะยังคงอยู่ ทำให้คุณมีอาการปวดศีรษะ ใช้หมอนผิดประเภท แม้จะฟังดูเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป แต่การนอนที่ผิดวิธี ผิดท่า สามารถส่งผลให้เกิดอาการปวด ทั้งปวดคอ ปวดหลัง และปวดหัว เนื่องจากกล้ามเนื้อที่คอและศีรษะเกิดอาการตึงจากการนอนหมอนที่ไม่เหมาะสม หรือนอนผิดท่า จึงควรเลือกหมอนที่รองรับกับศีรษะและต้นคอ รวมถึงรองรับกับสรีระและท่าทางในการนอนด้วย อาการนอนไม่พอ สาเหตุหลักที่คนเราต้องมาแอบงีบนอนในตอนเที่ยงหรือตอนบ่ายนั้น ก็มาจากการนอนไม่พอ นอนน้อย นอนไม่เต็มอิ่ม ซึ่งการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอนี้นี่แหละ […]


เคล็ดลับในการนอนหลับ

5 ต้นไม้ ฟอกอากาศ เสริมสุขภาพแห่งการนอนหลับ

มลพิษทางอากาศ รวมไปถึงสภาพอากาศแปรปรวนที่เราต้องออกไปเผชิญอยู่ทุกวัน ในขณะที่คุณกำลังก้าวเท้าเข้าบ้านนั้น อาจทำให้ฝุ่นที่จับอยู่บนตามเสื้อผ้าหลุดลอดเข้ามาภายในบ้านได้ สิ่งแปลกปลอมเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น การรบกวนระบบทางเดินหายใจ หรือการกระตุ้นอาการของโรคภูมิแพ้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับ การขจัดสารพิษต่างๆ ด้วยการปลูก ต้นไม้ ในห้องนอน เพิ่มทั้งความสวยงาม สร้างบรรยากาศการนอนที่ดี พร้อมดูแลสุขภาพของคุณได้ในเวลาเดียวกัน ทำไมเราจึงควร ปลูก ต้นไม้ ในห้องนอน? ถึงแม้จะมีข้อต้องห้ามต่างๆ ที่พูดถึงกันเป็นอย่างมากในเรื่องการปลูกต้นไม้ในบ้าน หรือห้องนอน เพราะเชื่อว่าพืชจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเราได้ แต่ก็ยังมีข้อโต้แย้งสำหรับพืชบางชนิด ที่มีการคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงไม่ส่งผลใดๆ กับร่างกายมากนัก แถมยังช่วยลดความเครียด รักษาระดับความชื้นภายในห้องนอน ดูดสารพิษ ฝุ่น แบคทีเรีย และสารที่ก่อภูมิแพ้ ยิ่งคุณปลูกในห้องที่มีเครื่องฟอกอากาศแล้วละก็ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมอากาศ และขจัดมลพิษภายในห้องนอนได้ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ไซลีน (Xylenes) โทลูอีน (Toluene) เบนซีน (Benzene) ที่อาจไปขวางการทำงานของระบบหายใจ และการระคายเคืองของดวงตา 5 พันธุ์ต้นไม้ ที่ควรปลูกในห้องนอน ฟอกอากาศเสียให้กลับมาดี ต้นไม้ทั้ง 6 พันธุ์นี้ นอกจากจะเพิ่มความสวยงามแบบเรียบง่ายให้แก่ห้องนอนของคุณแล้ว ยังสามารถส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับของคุณได้เป็นอย่างดีอีกด้วย 1. ลิ้นมังกร (Snake […]


เคล็ดลับในการนอนหลับ

ง่วงนอนตลอดเวลา เสี่ยงเป็น โรคนอนเกิน

ง่วงนอนตลอดเวลา เคยมีอาการแบบนี้กันบ้างหรือไม่ แม้จะนอนหลับสนิทในช่วงกลางคืนและนอนครบ 8 ชั่วโมง แต่ตื่นมาแล้วกลับรู้สึกไม่สดชื่น แถมช่วงระหว่างวันก็ยังรู้สึกอยากจะนอนตลอด โดยที่ไม่รู้สาเหตุ รู้หรือไม่ว่า บางทีอาจเสี่ยงเป็น โรคนอนเกิน อยู่ก็เป็นได้ [embed-health-tool-bmi] โรคนอนเกิน (Hypersomnia) คืออะไร โรคนอนเกิน (Hypersomnia) มีอีกชื่อหนึ่งว่า Excessive Daytime Sleepiness (EDS) อาการของโรคนี้คือ ง่วงนอนตลอดเวลา ทั้งในเวลากลางวันหลังจากที่นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ในช่วงกลางคืนแล้วก็ตาม หรือใช้เวลานอนมากเกินไป ทำให้เกิดปัญหาไม่ตื่นตัวระหว่างวัน ผู้ที่เป็นโรคนอนเกินนั้นสามารถนอนหลับได้ตลอดเวลา เช่น หลับในที่ทำงาน หลับขณะขับรถ นอกจากอาการดังกล่าวแล้ว อาจมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับการนอนอื่น ๆ ตามมาด้วย เช่น การขาดพลังงาน มีปัญหาในการคิด ทั้งยังส่งผลต่อสมาธิอีกด้วย นอกจากนั้น มักจะมีปัญหาในการทำงานระหว่างวัน เนื่องจากมักจะรู้สึกเหนื่อยบ่อย ๆ จนทำให้ไม่สามารถจดจ่อกับงานหรือกิจกรรมระหว่างวันได้ สาเหตุของโรคนอนเกิน โรคนอนเกินสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย ดังนี้ มีความผิดปกติในการนอนหลับ เช่น เป็นโรคลมหลับ (Narcolepsy) หรือง่วงนอนตอนกลางวัน มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอนไม่เพียงพอในเวลากลางคืน หรืออดนอน น้ำหนักเกิน ใช้ยาหรือแอลกอฮอล์ในทางที่ผิด บาดเจ็บที่ศีรษะ หรือโรคระบบทางเดินประสาท เช่น […]


เคล็ดลับในการนอนหลับ

เคล็ดลับน่ารู้ ท่านอน แต่ละท่า มีข้อดีข้อด้อยอย่างไรกัน?

การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอต่อวันเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะการพักผ่อนที่เพียงพอเปรียบเสมือนการชาร์จพลังงานของร่างกายให้พร้อมที่จะตื่นไปทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งการนอนที่ดีนั้นจำเป็นต้องควบคู่ไปกับ ท่านอน ที่เหมาะสมและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการนอนหลับให้ดียิ่งขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับน่ารู้ถึงข้อดีและข้อด้อยในแต่ละท่วงท่านอนมาให้ทุกคนได้ทราบกัน ท่านอน ท่าไหน ที่เหมาะสำหรับคุณ? ท่านอนแต่ละท่านั้นสามารถส่งผลต่อสุขภาพของคุณได้อย่างไม่คาดคิด หากนอนผิดท่า อาจทำให้ระบบหายใจของคุณนั้นทำงานผิดปกติได้ เช่น หายใจไม่ออก การกรนเสียงดังจนรบกวนคนรอบข้าง และนำไปสู่การนอนไม่หลับ มาเช็กถึงข้อดี ข้อด้อย ของแต่ละท่านอนกันดีกว่า ว่าท่าไหนจะเหมาะสมกับคุณมากที่สุด นอนหงาย ข้อดี : ทำให้ร่างกายของคุณสูดอากาศได้เต็มที่ อาจเพิ่มเติมด้วยการนำหมอน หรือเบาะรองไว้บริเวณที่คุณรู้สึกปวดเพราะอาจช่วยบรรเทาอาการลดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อและกระดูกจากการใช้งานหนักระหว่างวัน ข้อด้อย : สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องของการหายใจอยู่ก่อนแล้ว อาจทำให้เกิดการอุดตันทางเดินหายใจจนทำให้เกิดการหายใจทางปาก หรือเรียกอีกอย่างว่า การกรน ซึ่งสามารถส่งผลทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ นอนตะแคงซ้าย ข้อดี : การนอนท่านี้สามารถทำให้คุณหลีกเลี่ยงอาการกรนได้ดี รวมถึงห่างไกลจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การนอนตะแคงด้านซ้ายถือว่าเป็นท่านอนที่ดีสำหรับสตรีตั้งครรภ์ แต่ควรนำหมอนมารองบริเวณใต้ท้องเพื่อลดแรงกดของกระเพาะปัสสาวะ และบรรเทาอาการปวดหลัง หรือสะโพก ข้อด้อย : การนอนตำแหน่งนี้ในระยะเวลานานอาจไม่เหมาะสมสำหรับบางคน เพราะอาจทำให้หัวใจเกิดการทำงานอย่างหนัก หรืออาจทำให้สภาวะหัวใจล้มเหลว รวมถึงความโค้งของกระดูกหลังส่วนล่างเปลี่ยนแปลง นอนตะแคงขวา ข้อดี : ไม่ต่างจากการนอนจะแคงด้านซ้ายมากนัก เพราะท่านี้สามารถช่วยในเรื่องของลดอาการกรนได้ดีเช่นเดียวกัน ข้อด้อย : อาจทำให้ปริมาณของออกซิเจนลดลง ทำให้เกิดแรงกดที่หลอดเลือด และเส้นประสาทนำไปสู่การปวดเมื่อยบริเวณสะโพกด้านขวา หรือหลังส่วนล่างได้ นอนคว่ำ ข้อดี : ป้องกันการเปลี่ยนแปลงของขนาดทรวงอกได้ และยังช่วยรักษาอุณภูมิในร่างกายส่งผลต่อจิตใจทำให้ผ่อนคลายขึ้น ข้อด้อย […]


เคล็ดลับในการนอนหลับ

อาการละเมอ (Somnambulism) ไม่ใช่เรื่องตลก แต่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ

บางคนอาจจะเคยเจอ อาการละเมอ ของคนในครอบครัว แล้วรู้สึกกลัว หรือมองเห็นว่าเป็นเรื่องตลก แต่ความจริงนั้นอาการละเมอถือเป็นปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ นอกจากนั้นแล้วมันยังสามารถเกี่ยวโยงกับโรคอื่นๆ ได้อีกด้วย ดังนั้นทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน ทำความรู้จักกับอาการละเมอ (Somnambulism or Sleepwalking) อาการละเมอหรือคนทั่วไปมักจะรู้จักในชื่อ การเดินละเมอ เป็นโรคที่ทำให้คุณลุกขึ้นและเดินในขณะที่ยังหลับอยู่ ซึ่งแพทย์อาจจะเรียกอาการที่เกิดขึ้นว่า อาการง่วงเหงาหาวนอน อาการนอนละเมอมักจะเกิดขึ้นเมื่อคุณนอนหลับสนิท แต่ตอนตื่นขึ้นมาทำสิ่งต่างๆ คุณจะไม่สามารถตอบสนองได้และมักจะจำไม่ได้ ในบางกรณีคุณอาจพูดคุยและไม่สมเหตุสมผลอีกด้วย การนอนละเมอส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับเด็ก ซึ่งมักมีอายุระหว่าง 4-8 ปี แต่ในผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นได้เช่นกัน หากคุณหรือคนที่คุณรักเป็นคนนอนละเมอ สิ่งสำคัญที่จะต้องทำก็คือ สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ล็อคประตูและหน้าต่าง เคลื่อนย้ายวัตถุมีคมและติดตั้งประตูที่ด้านบนของบันได เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ อาการละเมออาจเกี่ยวโยงกับโรคเหล่านี้ อาการละเมอนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับคนในครอบครัว ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในตอนกลางคืน หากคุณมีพ่อ แม่ พี่ชาย หรือน้องสาว ที่มีอาการละเมอ คุณเองก็มีแนวโน้มที่จะมีอาการละเมอได้มากกว่าคนที่ครอบครัวไม่มีอาการละเมอเลยถึง 10 เท่า อาการละเมอ ถูกจัดเป็นโรคนอนไม่หลับ เป็นพฤติกรรมหรือประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในระหว่างการนอนหลับ อาการละเมอ เป็นความผิดปกติของความตื่นตัว หมายถึงมันเกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับระยะที่ 3 (N3) นั่นเอง ซึ่งเป็นระยะที่ลึกที่สุดของการนอนหลับอย่างไม่หยุดนิ่ง ความผิดปกติของช่วงหลับธรรมดา […]


เคล็ดลับในการนอนหลับ

นอนหลับยาก ฟังเพลงก่อนนอนช่วยให้หลับง่ายขึ้น กว่าที่คิด

อาการนอนไม่หลับนั้นเป็นปัญหาที่ใครหลายต่อหลายคนประสบอยู่ ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ยังไม่รู้สึกง่วงนอนเสียที รู้สึกตัวอีกทีก็เกือบจะตี 1 เข้าไปแล้ว วันนี้ Hello คุณหมอ มีอีกหนึ่งวิธีที่อาจจะช่วยให้คุณผู้อ่านนอนหลับได้ง่ายขึ้นมาฝาก นั่นคือการฟังเพลงก่อนนอน แต่การ ฟังเพลงก่อนนอนช่วยให้หลับง่ายขึ้น ได้อย่างไรนั้น ไปหาคำตอบกันในบทความนี้ได้เลย ฟังเพลงก่อนนอนช่วยให้หลับง่ายขึ้น จริงหรือ? ในเรื่องการฟังเพลงมีผลกับการนอนนั้น ด็อกเตอร์ไมเคิล บรูส์ (Michael Breus) ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับคลื่นสมองและการนอนหลับเจ้าของผลงานเขียนเรื่อง The Sleep Doctor’s Diet Plan:Simple Rules for Losing Weight While You Sleep กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องจริง เนื่องจากมีงานวิจัยและการค้นคว้ามากมายที่แสดงให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ของเสียงเพลง หรือเสียงดนตรี กับคลื่นสมองและการนอนหลับ หากฟังเพลงจังหวะใด ความรู้สึกก็จะเปลี่ยนไปตามจังหวะของเพลง เช่น ฟังเพลงเศร้า ก็จะมีความรู้สึกเศร้าไปกับเพลง แต่หากฟังดนตรีที่มีจังหวะสนุกสนาน หรือจังหวะร็อค ก็จะให้ความรู้สึกที่แตกต่างไป การ ฟังเพลงก่อนนอนช่วยให้หลับง่ายขึ้น ได้อย่างไร เสียงเพลง เสียงดนตรี และท่วงทำนอง มีผลกับอัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ ระดับความดันโลหิต รวมถึงมีผลต่อการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การฟังเพลงก่อนนอน ส่งผลต่อคลื่นสมองและร่างกาย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน