หู คอ จมูก

หู จมูก และคอ เป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นปกติ การรักษาสุขภาพของหู จมูก และคอ ให้มีสุขภาพดี จะช่วยให้เรามีความสุขกับการใช้ชีวิตในแต่ละวันได้มากยิ่งขึ้น Hello คุณหมอ จึงขอรวบรวมเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของ หู คอ จมูก ไว้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

หู คอ จมูก

หูอื้อ ทําไง สาเหตุของหูอื้อ และวิธีบรรเทาอาการ

อาการหูอื้อ เป็นอาการที่พบได้บ่อย บางครั้งเกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมบางชนิด แต่บางครั้งอาการหูอื้อ เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพ สาเหตุของหูอื้อ เกิดจากอะไร  หูอื้อ ทําไง วิธีบรรเทาให้อาการดีขึ้น [embed-health-tool-heart-rate] ภาวะหูอื้อ คืออะไร หูอื้อ เป็นภาวะที่ความสามารถในการรับเสียงแย่ลง โดยสามารถแบ่งระดับความรุนแรงของการได้ยิน หากระดับการได้ยินอยู่ที่ 0-25 dB หรือเดซิเบล (DECIBEL) การได้ยินยังเป็นปกติ แต่ถ้าเริ่มระดับการได้ยินอยู่ที่ 26-40 dB จะเริ่มมีอาการหูอื้อเล็กน้อย ทำให้ไม่ได้ยินเสียงกระซิบ ถ้าเดซิเบลยิ่งมากขึ้น หมายความว่า จะเริ่มไม่ได้ยินเสียงพูดคุยหรือแม้แต่เสียงดัง และจะเข้าสู่ระดับความพิการ หูหนวก เมื่อมากกว่า 90 dB วิธีทดสอบอาการหูอื้อ เมื่อการได้ยินลดลง ความคมชัดของเสียงลดลง หรือมีเสียงรบกวนในหู อาการต่าง ๆ เหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน รู้สึกได้ทันทีถึงความผิดปกติของการได้ยิน เว้นแต่ในบางกรณีที่อาการหูอื้อค่อย ๆ มีมากขึ้น โดยอาการหูอื้อ สามารถทดสอบได้กรณีที่หูสองข้างได้ยินไม่เท่ากัน ดังนี้ ใช้นิ้วมือถูเบา ๆ บริเวณหน้ารูหูทีละข้าง  สังเกตความแตกต่างของระดับเสียงที่ได้ยิน สาเหตุของหูอื้อ สาเหตุสำคัญของอาการหูอื้อ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ การอุดกั้นสัญญาณเสียง เกิดในส่วนของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง […]

หมวดหมู่ หู คอ จมูก เพิ่มเติม

สำรวจ หู คอ จมูก

โรคจมูก

ข้อเท็จจริงอันน่าอัศจรรย์เกี่ยวกับ จมูก และการรับกลิ่นของคนเรา

จมูก เป็นอวัยวะบนใบหน้าอย่างหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ที่สำคัญของชีวิต มีความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กลิ่นและสุขภาพโดยรวม ความสัมพันธ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นจากจำนวนกลิ่นที่จมูกรับรู้ได้ บทความนี้จะทำให้คุณทราบเกี่ยวกับข้อเท็จจริง 5 ประการเกี่ยวกับ จมูก และการรับรู้กลิ่นที่อาจทำให้คุณประหลาดใจได้ ข้อเท็จจริง 1 : คนเราสามารถจำแนกกลิ่นที่แตกต่างกันได้อย่างน้อยหนึ่งล้านล้านกลิ่น การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ จากมหาวิทยาลัยร็อคกี้เฟลเลอร์ ในสหรัฐฯ เผยว่า คนเราสามารถดมกลิ่นที่แตกต่างกันได้ อย่างน้อยหนึ่งล้านล้านกลิ่น นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า เมื่อกลิ่นเข้าไปในจมูก กลิ่นจะเดินทางไปยังโพรงจมูกส่วนบน ไปสู่ร่องรับกลิ่น (olfactory cleft) เซลล์ประสาทรับกลิ่นที่อยู่ในบริเวณนี้ มีตัวรับกลิ่นที่หลากหลาย ซึ่งสามารถตรวจจับกลิ่นต่างๆ กัน เมื่อเส้นประสาทถูกกระตุ้น จะส่งสัญญาณไปยังสมอง ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นเฉพาะที่สามารถตรวจจับได้ กลิ่นวานิลลา กลิ่นส้มในบางรูปแบบ อบเชย สีเทียน และคุกกี้ อยู่ในกลุ่มกลิ่นซึ่งเป็นที่พึงปรารถนามากที่สุด ข้อเท็จจริง 2 : คุณสามารถได้กลิ่นความกลัวและความรังเกียจ จากการศึกษาเมื่อปี 2012 เราสามารถได้กลิ่นความรู้สึกกลัวและรังเกียจผ่านทางเหงื่อ แล้วสามารถรู้สึกได้ถึงอารมณ์แบบเดียวกัน มีการเก็บตัวอย่างเหงื่อจากผู้ชายขณะที่รู้สึกกลัวและรังเกียจ จากนั้น นักวิจัยให้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้หญิง ดมกลิ่นตัวอย่างเหงื่อโดยที่ไม่รู้ตัว และสังเกตการเคลื่อนไหวของดวงตา และการแสดงออกทางสีหน้า โดยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ชายในการศึกษานี้ ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีกลิ่น และไม่สูบบุหรี่ […]


โรคหู

ขี้หู ลักษณะต่าง ๆ บอกอะไรได้บ้าง

ขี้หู เป็นสารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีส่วนช่วยให้หูของเราแข็งแรงมากขึ้น หน้าที่ของขี้หู คือ ป้องกันสิ่งสกปรกไม่ให้เข้าไปในช่องหู ป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องใช้ คอตตอนบัด ทำความสะอาด เพราะหูเป็นอวัยวะที่ทำความสะอาดตัวเองได้ พร้อมทั้งผลัดเซลล์ผิวเก่าที่ตายแล้วให้หลุดออกมาเอง ลักษณะขี้หู ของแต่ละคน จะมีความนุ่ม แข็ง เป็นสะเก็ด หรือสีที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่สีเหลือง สีขาว สีน้ำตาล ไปจนถึงสีดำ ซึ่งรูปแบบต่าง ๆ ของก็ขึ้นอยู่กับตัวแปรอื่น ๆ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมความแตกต่างของขี้หูมาให้อ่านกัน ลักษณะขี้หู ของแต่ละคนเป็นอย่างไรบ้าง ลองมาติดตามกัน [embed-health-tool-heart-rate] ขี้หู คืออะไร ขี้หู (Ear wax) คือ สิ่งที่ร่างกายผลิตขึ้นมา โดยผลิตออกมาจากต่อมซึ่งอยู่บริเวณหูชั้นนอกประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ไขมัน เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และสารคัดหลั่งที่ผลิตจากต่อมขี้หูที่อยู่บริเวณในรูหู คุณสมบัติของขี้หู มีลักษณะเป็นกรดอ่อน ๆ และมีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อโรค ไม่ละลายน้ำ ทำให้สามารถเคลือบผิวหนังที่เปราะบางภายในรูหู และช่องหูชั้นนอกไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปอุดในช่องหูได้ โดยปกติแล้วจะเคลื่อนตัวหลุดออกมาได้เอง ลักษณะขี้หู บอกอะไรได้บ้าง โดยปกติแล้วขี้หู จะมีสีที่แตกต่างกันออกไปตามพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม อายุ และอาหารที่เรารับประทาน […]


โรคคอ

เจ็บคอ เกิดได้จากสาเหตุอะไรได้บ้าง และรับมืออย่างไรดี?

ใครๆ ก็ชอบอากาศเย็นสบาย แต่อากาศที่เย็นเกินไป หรือเปลี่ยนแปลงบ่อยก็อาจทำให้เราตื่นมาพร้อมกับอาการ เจ็บคอ ได้ ส่วนใหญ่แล้ว อาการเจ็บคอมักเป็นอาการแรกของไข้หวัด ซึ่งมักจะหายไปได้เอง แต่บางครั้ง อาการเจ็บคอของคุณ ก็อาจเกิดจาก สาเหตุ อื่นได้เช่นกัน หากคุณมีอาการเจ็บคอ และไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะหวัดหรือสาเหตุอื่นกันแน่ นี่คือรายละเอียดที่จะช่วยให้คุณแยกแยะอาการเจ็บคอของตัวเองได้ชัดเจนขึ้น เพื่อจะได้รับมือได้อย่างถูกต้อง [embed-health-tool-heart-rate] สาเหตุ ของอาการ เจ็บคอ ที่พบได้บ่อย เจ็บคอเป็นอาการที่ทำให้รู้สึกแสบคอ คันคอ หรือระคายเคืองคอ ซึ่งอาการเจ็บคอมักจะแย่ลงเวลากลืนอาหาร สาเหตุของอาการเจ็บคอที่พบได้บ่อยที่สุด คือ การติดเชื้อไวรัส เช่น เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ส่วนอาการเจ็บคอจากคออักเสบ (Strep throat) และต่อมทอนซิลอักเสบ สามารถพบได้น้อยกว่า การรักษาต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และสาเหตุอื่นๆ ของอาการเจ็บคอที่พบได้ไม่บ่อยอาจต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ อาการเจ็บคอแต่ละแบบต่างกันอย่างไร เจ็บคอ จากไข้หวัด อาการเจ็บคอเนื่องจากไข้หวัดส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งมักมีอาการอื่น ร่วมด้วย เช่น น้ำมูกไหล ไอ จาม ตาแดงหรือน้ำตาไหล ปวดศีรษะแบบไม่รุนแรง ปวดตามร่างกาย และมีไข้ อาการเจ็บคอและอาการอื่นๆ ของหวัด มักหายไปได้เอง และเนื่องจากเป็นอาการเจ็บคอที่เกิดมาจากเชื้อไวรัสหวัด จึงไม่มียารักษาเฉพาะ แต่สามารถบรรเทาได้ด้วยการดื่มน้ำอุ่น บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ […]


โรคหู

การสะอึก อาจบอกถึงปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงก็ได้นะ

การสะอึกเป็นอาการที่พบกันได้บ่อย ซึ่งอาจทำให้เกิดความรำคาญใจไปบ้าง แต่ไม่เป็นอันตรายอะไรหรือส่งผลต่อสุขภาพอะไรเลย สักพักก็จะหายไปได้เอง แต่บางครั้งหากเกิดอาการนี้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ การสะอึกในแต่ละครั้งบ่งบอกถึงอะไรบ้าง Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้แล้วค่ะ การสะอึก คืออะไร การสะอึก เกิดขึ้นเนื่องจากกล้ามเนื้อกระบังลมหดตัวกะทันหัน และไม่เป็นไปตามธรรมชาติ อาการสะอึกจะเกิดขึ้น เมื่อเกิดอาการ เส้นเสียงจะปิด ทำให้เกิดเสียงสะอึกขึ้น โดยส่วนใหญ่แล้วอาการสะอึกไม่ก่อให้เกิดอันตราย สาเหตุของอาการสะอึก สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการสะอึก ได้แก่ น้ำอัดลม การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป กินมากเกินไป อารมณ์รุนแรงต่างๆ อุณหภูมิเปลี่ยนกะทันหัน การกลืนอากาศเข้าไป ขณะที่เคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอม ภาวะที่รุนแรง ที่เกิดขึ้นจาก การสะอึก หากมีอาการสะอึกที่เกิดขึ้นประมาณ 2 วัน อาจเกิดจากภาวะที่รุนแรงต่างๆ ต่อร่างกาย ดังนี้ เส้นประสาทอักเสบหรือถูกทำลาย การที่เส้นประสาทที่เชื่อมโยงกับกล้ามเนื้อกระบังลม ได้รับอันตรายหรือการกระทบกระเทือน อาจทำให้เกิดอาการสะอึกเรื้อรัง อันตรายที่เกิดขึ้น อาจเกิดจากการที่มีวัตถุแปลกปลอมเข้าไปสัมผัสเยื่อแก้วหู หรือจากเนื้องอก ซีสต์ หรือต่อมไทรอยด์อักเสบ อาการกรดไหลย้อน เจ็บคอ หรือกล่องเสียงอักเสบ โรคเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลาง เนื้องอกหรือการติดเชื้อที่เกิดขึ้นที่ระบบประสาท หรือการที่เส้นประสาทเสียหายจากการบาดเจ็บ เช่น โรคไข้สมองอักเสบ (encephalitis) โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) โรคเอ็มเอสที่เกิดจากการอักเสบของระบบประสาทส่วนกลาง (multiple sclerosis) เส้นเลือดในสมองแตก และอาการอื่นๆ อาจนำไปสู่การสูญเสียการควบคุมการสะอึกได้ โรคเกี่ยวกับการเผาผลาญและยาต่างๆ อาการสะอึกเรื้อรังอาจถูกกระตุ้นจากแอลกอฮอล์ ยาชา ยาบาร์บิทูเรต (barbiturates) โรคเบาหวาน (diabetes) […]


โรคหู

เสียงดัง ที่ได้ยินในชีวิตประจำวัน ดังแค่ไหนถึงเป็นอันตราย

เสียง เป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตของเรา แต่เสียงก็อาจทำร้ายเราได้ ถ้าเป็นเสียงที่ดังจนเกินไป หรือการได้ยิน เสียงดัง ต่อเนื่องนานจนเกินไป เสียงทำร้ายสุขภาพหูของเราได้อย่างไร และเสียงดังขนาดไหนจึงถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แล้วเราจะป้องกันได้อย่างไรบ้าง เรามีข้อมูลมาฝากกันแล้ว [embed-health-tool-bmr] เสียงดัง แค่ไหนถึงเป็นอันตราย ข้อมูลจากสถาบันโรคหูหนวกและอาการผิดปกติด้านการสื่อสารอื่น (National Institute on Deafness and Other Communication Disorders) แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่าระดับเสียงที่ได้ยินในชีวิตประจำวัน ที่วัดคำดังได้ต่ำกว่า 75 เดซิเบล ถือว่าไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าระดับความดังเกิน 85 เดซิเบล และได้ยินซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน 8 ชั่วโมงขึ้นไป จะทำให้เกิดภาวะสูญเสียการได้ยิน โดยเสียงที่ได้ยินในชีวิตประจำวันมีระดับความดังของเสียง ดังนี้ การสนทนาตามปกติ 60 เดซิเบล เครื่องผสมอาหาร  65-85 เดซิเบล เครื่องดูดฝุ่น 70-80 เดซิเบล การจราจรบนท้องถนนที่หนาแน่น 85 เดซิเบล ไดร์เป่าผม 80-90 เดซิเบล นาฬิกาปลุก 80-90 ระฆัง 85-110 เดซิเบล […]


โรคหู

ภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียง (Noise-induced Hearing Loss)

ภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียง (Noise-induced Hearing Loss) เป็นภาวะที่หูไม่ได้ยินเสียงถาวร เกิดจากการอยู่ในที่ซึ่งมีเสียงดังเป็นเวลานาน หรืออยู่ในที่ซึ่งเสียงดังมากๆ ในระยะสั้น ยิ่งคุณอยู่ในที่ซึ่งมีเสียงดังมากเท่าใด ความเสี่ยงที่คุณจะไม่ได้ยินเสียงก็มากขึ้นเท่านั้น คำจำกัดความภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียงคืออะไร ภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียง (Noise-induced Hearing Loss) เป็นภาวะที่หูไม่ได้ยินเสียงถาวร หรือที่เรียกว่าอาการ หูตึง สาเหตุเกิดจากการอยู่ในที่ซึ่งมีเสียงดังเป็นเวลานาน ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นได้ หากคุณอยู่ในที่ซึ่งเสียงดังมากๆ ในระยะสั้น เช่นที่ซึ่งมีเสียงปืนหรือระเบิด ยิ่งคุณอยู่ในที่ซึ่งมีเสียงดังมากเท่าใด ความเสี่ยงที่คุณจะไม่ได้ยินเสียงก็มากขึ้นเท่านั้น เสียงรบกวนจะส่งผลเสียต่อการได้ยินของคุณหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความดังของเสียง ความแหลมสูงเสียง และระยะเวลาที่คุณได้ยินเสียง ความดังของเสียง (หน่วยวัดเป็นเดซิเบล หรือ dB) และระยะเวลาที่ได้ยินเสียงเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กัน ความเสียหายจะเกิดขึ้น เมื่อได้ยินเสียงที่ดังยิ่งขึ้นในเวลาอันสั้น เช่น การได้ยินเสียงดัง 85 เดซิเบลเป็นเวลา 8 ชั่วโมงทุกวัน อาจทำให้หูเสียหายเมื่อเวลาผ่านไป การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์ (เสียงดังประมาณ 100 เดซิเบล) ใช้หูฟังเสียงดัง (ประมาณ 110 เดซิเบล) เข้าร่วมคอนเสิร์ตเพลงร็อค (ประมาณ 120 เดซิเบล) หรือได้ยินเสียงปืน (140 ถึง […]


โรคหู

น้ำเข้าหู ทำอย่างไรดี วิธีเหล่านี้ช่วยคุณได้

น้ำเข้าหู เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อคุณไปว่ายน้ำ หรือเวลาอาบน้ำสระผม ซึ่งเมื่อมีอาการน้ำเข้าหู คุณอาจลองทำตามวิธีเหล่านี้ [embed-health-tool-bmr] อาการน้ำเข้าหู น้ำเข้าหู คือภาวะที่มีน้ำอยู่ในหู ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกอึดอัดในใบหู และความรู้สึกนี้อาจขยายไปถึงช่วงกระดูกขากรรไกรหรือช่วงคอ นอกจากนี้อาการน้ำเข้าหูอาจทำให้คุณไม่ได้ยินเสียง หรือฟังเสียงได้ไม่ชัด ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อมีอาการน้ำเข้าหู น้ำจะระบายออกมาเอง แต่หากน้ำอยู่ในหูเป็นเวลานานอาจนำไปสู่การติดเชื้อในหูได้ หากคุณมีอาการน้ำเข้าหู สามารถใช้วิธีดังต่อไปนี้ น้ำเข้าหูทำอย่างไรดี 1.ดึงใบหูส่วนล่างเบาๆ วิธีนี้อาจทำให้น้ำออกจากหูของคุณทันที โดยให้ดึงติ่งหูเบาๆ หรือกระตุกติ่งหู และตะแคงศีรษะลงไปด้านข้างเพื่อให้น้ำระบายออกจากหู 2.ใช้แรงโน้มถ่วงช่วย วิธีนี้อาจทำให้น้ำในหูระบายออกมา โดยให้คุณนอนตะแคงข้างในด้านที่มีอาการน้ำเข้าหู เช่น น้ำเข้าหูข้างซ้ายให้คุณนอนตะแคงด้านซ้าย และให้คุณนำผ้าเช็ดตัวมารองไว้ที่หูเพื่อซับน้ำ วิธีนี้จะทำให้น้ำค่อยๆ ระบายออกมาจากหู 3.ใช้ไดร์เป่าผม ความร้อนจากไดร์เป่าผมสามารถช่วยทำให้น้ำภายในหูระเหยออกไปได้ โดยวิธีใช้ไดร์เป่าผมคือให้คุณเปิดไดร์เป่าผมในระดับที่เบาที่สุด และถือไดร์เป่าผมให้ห่างจากใบหูประมาณ 1 ฟุต จากนั้นขยับไดร์เป่าผมไปด้านหน้าและด้านหลังขณะเป่า โดยคุณอาจดึงติ่งหูลงเพื่อให้อากาศจากไดร์เป่าผมเข้าไปในหู 4.น้ำมันมะกอก น้ำมันมะกอกสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อในหูได้ และช่วยอาการน้ำเข้าหูได้ดังนี้ ใส่น้ำมันมะกอกลงไปในที่หยอดหูที่สะอาด และหยอดน้ำมันมะกอกลงไปในหูประมาณ 1-2 หยด เอียงใบหูลงกับพื้น เพื่อให้น้ำและน้ำมันมะกอกระบายออกมา 5.หาว หรือเคี้ยว หากมีน้ำติดอยู่ในท่อยูสเตเชียน ซึ่งเป็นท่อเล็กๆ ที่เชื่อมระหว่างหูชั้นกลางกับคอ การขยับปากสามารถช่วยให้ท่อยูสเตเชียนเปิดออกได้ ดังนั้นการหาวหรือการเคี้ยวหมากฝรั่งจะช่วยบรรเทาความตึงของท่อยูสเตเชียน โดยให้คุณหาวหรือเคี้ยวหมากฝรั่ง จากนั้นเอียงศีรษะเพื่อให้น้ำระบายออกจากหู 6.เพิ่มน้ำเข้าไปในหู เทคนิคนี้อาจฟังดูไม่มีเหตุผล แต่สามารถช่วยทำให้น้ำออกจากหูได้ ให้คุณหยอดน้ำลงในหูข้างที่มีอาการน้ำเข้าหู จากนั้นเอียงหูข้างที่น้ำเข้าหูลงเพื่อให้น้ำระบายออกมา 7.ใช้แอลกอฮอล์และน้ำส้มสายชู แอลกอฮอล์จะช่วยทำให้น้ำในหูระเหยออก นอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังช่วยขจัดแบคทีเรียซึ่งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อในหู และถ้าคุณมีอาการน้ำเข้าหูเนื่องจากขี้หูสะสม น้ำส้มสายชูอาจช่วยได้ ดังนี้ ใช้แอลกอฮอล์ ½ ช้อนชา และน้ำส้มสายชู […]


โรคคอ

ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง (Chronic Tonsillitis)

ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง (Chronic Tonsillitis) คืออาการติดเชื้อบริเวณต่อมทอนซิลที่เกิดขึ้นอย่างติดต่อกัน การติดเชื้อซ้ำ ๆ นั้นอาจทำให้เกิดช่องเล็ก ๆ (Crypts) ในต่อมทอนซิลที่กักเก็บแบคทีเรียเอาไว้ คำจำกัดความต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง (Chronic Tonsillitis) คืออะไร ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง (Chronic Tonsillitis) คืออาการติดเชื้อบริเวณต่อมทอนซิลที่เกิดขึ้นอย่างติดต่อกัน การติดเชื้อซ้ำ ๆ นั้นอาจทำให้เกิดช่องเล็ก ๆ (Crypts) ในต่อมทอนซิลที่กักเก็บแบคทีเรียเอาไว้ ส่วนมากจะพบลักษณะคล้ายหินเล็ก ๆ ที่มีกลิ่นเหม็นในช่องปาก โดยหินนี้เรียกว่า “นิ่วทอนซิล (Tnsilloliths)” ซึ่งอาจมีการสะสมของซัลฟา (Sulfa) เป็นจำนวนมาก เมื่อแตกตัวจะมีกลิ่นเหม็นเหมือนไข่เน่าทำให้มีกลิ่นปาก แล้วยังทำให้ผู้ป่วยมีรู้สึกเหมือนมีอะไรมาจับด้านหลังในลำคอ พบได้บ่อยแค่ไหน ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังนั้นพบมากในหมู่วัยรุ่นและผู้ใหญ่ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ สาเหตุสาเหตุของ ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง (Chronic Tonsillitis) ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้องรังนั้นเกิดจากการติดเชื้อ โดยปกติแล้วต่อมทอนซิลจะทำหน้าที่ป้องกัน ไม่ให้ลำคอและปอดติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส แต่ในบางครั้งก็อาจจะติดเชื้อเสียเอง การติดเชื้อมีทั้งจากแบคทีเรียและไวรัส ดังนี้ โรคสเตรปโทคอกโคสิส (Streptococcosis) ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ไวรัสพาราอินฟลูเอนซ่า (Parainfluenzae) ไวรัสเอเดโนไวรัส (Adenoviruses) ไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Epstein-Barr) ไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ (Herpes simplex) ไวรัสเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง (Chronic Tonsillitis) ปัจจัยเสี่ยงหลัก คือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง […]


โรคหู

เนื้องอกบนเส้นประสาทหู (Acoustic Neuroma)

เนื้องอกบนเส้นประสาทหูคืออะไรเนื้องอกบนเส้นประสาทหู หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า Vestibular schwannoma เป็นเนื้องอกที่ไม่ใช่เนื้อร้ายหรือมะเร็ง เนื้องอกนี้ส่งผลกระทบกับเส้นประสาทที่เชื่อมต่อจากหูไปยังสมอง เส้นประสาทนี้มีชื่อเรียกว่า เส้นประสาทคู่ที่ 8 (Vestibular nerve) เนื้องอกนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเซลล์ที่อยู่รอบๆ เส้นประสาทคู่ที่ 8 เซลล์เหล่านั้นเรียกว่าเซลล์ชวานน์ (Schwann Cells) หากเกิดเนื้องอกชนิดนี้ขึ้นมา อาจส่งผลให้สูญเสียการได้ยิน หูอื้อ เวียนหัว และมีปัญหากับการทรงตัว เนื้องอกนี้อาจเกิดในหูข้างเดียว หรือทั้งสองข้างเลยก็ได้ เนื้องอกบนเส้นประสาทหูพบบ่อยแค่ไหนเนื้องอกบนเส้นประสาทหูเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับคนที่มีอายุตั้งแต่ 30-60 ปี คุณสามารถลดอัตราเสี่ยงที่จะเกิดเนื้องอกบนเส้นประสาทหูได้ ปรึกษาแพทย์เพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม รู้จักกับอาการของโรคเนื้องอกบนเส้นประสาทหูทำให้เกิดอาการอย่างไรบ้าง อาการที่พบมากที่สุดในจำนวน 90% ของผู้ป่วยคือการสูญเสียการได้ยิน อาการจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ จนสูญเสียการได้ยินไปทั้งหมด อาการอื่นๆ ที่พบได้แก่ การสูญเสียสมดุลในการทรงตัว และอาการหูอื้อ (ได้ยินเสียงวิ้ง ๆ ในหู) นอกจากนี้ เนื้องอกอาจกดทับบนเส้นประสาท ทำให้ไร้ความรู้สึก เหน็บชาบนใบหน้า หรือเป็นอัมพาตที่ใบหน้า (ไม่สามารถแสดงสีหน้าใดๆ ได้) ถ้าเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้นจนกินพื้นที่ในสมองก็จะทำให้ปวดหัว เดินเหินได้เชื่องช้างุ่มง่ามและสับสน นอกจากนี้อาจมีอาการอื่น ๆ อีกที่ไม่ได้กล่าวถึง หากมีข้อสงสัยเรื่องอาการของโรค โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม ควรไปพบหมอเมื่อไรหากคุณมีอาการใดๆ ที่สื่อว่าจะเป็นเนื้องอกบนเส้นประสาทหู […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม