หู คอ จมูก

หู จมูก และคอ เป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นปกติ การรักษาสุขภาพของหู จมูก และคอ ให้มีสุขภาพดี จะช่วยให้เรามีความสุขกับการใช้ชีวิตในแต่ละวันได้มากยิ่งขึ้น Hello คุณหมอ จึงขอรวบรวมเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของ หู คอ จมูก ไว้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

หู คอ จมูก

หูอื้อ ทําไง สาเหตุของหูอื้อ และวิธีบรรเทาอาการ

อาการหูอื้อ เป็นอาการที่พบได้บ่อย บางครั้งเกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมบางชนิด แต่บางครั้งอาการหูอื้อ เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพ สาเหตุของหูอื้อ เกิดจากอะไร  หูอื้อ ทําไง วิธีบรรเทาให้อาการดีขึ้น [embed-health-tool-heart-rate] ภาวะหูอื้อ คืออะไร หูอื้อ เป็นภาวะที่ความสามารถในการรับเสียงแย่ลง โดยสามารถแบ่งระดับความรุนแรงของการได้ยิน หากระดับการได้ยินอยู่ที่ 0-25 dB หรือเดซิเบล (DECIBEL) การได้ยินยังเป็นปกติ แต่ถ้าเริ่มระดับการได้ยินอยู่ที่ 26-40 dB จะเริ่มมีอาการหูอื้อเล็กน้อย ทำให้ไม่ได้ยินเสียงกระซิบ ถ้าเดซิเบลยิ่งมากขึ้น หมายความว่า จะเริ่มไม่ได้ยินเสียงพูดคุยหรือแม้แต่เสียงดัง และจะเข้าสู่ระดับความพิการ หูหนวก เมื่อมากกว่า 90 dB วิธีทดสอบอาการหูอื้อ เมื่อการได้ยินลดลง ความคมชัดของเสียงลดลง หรือมีเสียงรบกวนในหู อาการต่าง ๆ เหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน รู้สึกได้ทันทีถึงความผิดปกติของการได้ยิน เว้นแต่ในบางกรณีที่อาการหูอื้อค่อย ๆ มีมากขึ้น โดยอาการหูอื้อ สามารถทดสอบได้กรณีที่หูสองข้างได้ยินไม่เท่ากัน ดังนี้ ใช้นิ้วมือถูเบา ๆ บริเวณหน้ารูหูทีละข้าง  สังเกตความแตกต่างของระดับเสียงที่ได้ยิน สาเหตุของหูอื้อ สาเหตุสำคัญของอาการหูอื้อ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ การอุดกั้นสัญญาณเสียง เกิดในส่วนของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง […]

หมวดหมู่ หู คอ จมูก เพิ่มเติม

สำรวจ หู คอ จมูก

โรคหู

ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ (Eustachian tube dysfunction)

ท่อยูสเตเชียน เป็นท่อที่อยู่ภายในช่องหูที่เชื่อมต่อระหว่างโพรงจมูกหลังหูและหูชั้นกลาง มีหน้าที่หลักในการช่วยควบคุมระดับความดันในหู และระบายของเหลวที่อยู่ด้านในออก แต่ถ้าหากเกิดกรณีที่ ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ จนผลกระทบต่อการได้ยิน คุณอาจสามารถค้นหาสาเหตุเบื้องต้นได้ จากบทความของ Hello คุณหมอ นี้ที่นำมาฝากกันทุกคนได้เลยค่ะ คำจำกัดความท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ คืออะไร ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ (Eustachian tube dysfunction ; ETD) คือ การที่ภายในหูชั้นกลางเกิดการอุดกั้นเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ ทำให้ความดันอากาศที่ผ่านเข้าภายในหูเวลาบดเคี้ยวอาหาร กลืนอาหาร หรือหาว เพิ่มระดับขึ้น จนส่งผลกระทบต่อการได้ยินเสียง และทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ขึ้น เช่น หูอื้อ ปวดหู ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ พบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ มีอาการป่วยเป็นประจำ รวมไปถึงผู้ที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เดินป่า นั่งเครื่องบิน อาการอาการของ ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ อาการของ ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ มีตั้งแต่ระดับเบาไปจนถึงรุนแรง และอาการอาจแตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้ รู้สึกเหมือนมีน้ำขังในหู หูอื้อ ได้ยินเสียงรอบข้างไม่ชัดเจน รู้สึกปวดหู และบริเวณรอบหู มีอาการเวียนศีรษะ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด โดยปกติ ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ อาจหายไปได้เอง โดยใช้ระยะเวลาไม่นาน แต่หากเป็นกรณีที่มีการติดเชื้อ ทำให้เกิดอาการปวดหูนานเกิน 2 สัปดาห์ […]


โรคคอ

คอบิดเกร็ง (Cervical Dystonia) ปัญหากล้ามเนื้อคอที่ไม่ควรรอรี

ปวดคอ ปวดไหล่ เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้โดยทั่วไป จากความเมื่อยล้าในการทำงาน การทำกิจกรรม หรือการออกกำลังกาย ซึ่งปัญหาดังกล่าวแค่เพียงพักผ่อน หรือบรรเทาอาการปวดเมื่อยด้วยวิธีต่าง ๆ ก็ช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้ แต่ถ้าอาการปวดคอ ปวดไหล่ พ่วงมากับอาการแหงนคอไม่ได้ ก้มหัวไม่ลง คอบิดไปที่ไหล่ข้างใดข้างหนึ่งล่ะก็ คุณอาจกำลังประสบกับ โรคคอบิดเกร็ง ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพคอที่มากกว่าการปวดเมื่อยธรรมดา แต่ คอบิดเกร็ง คืออะไร และอันตรายมากน้อยแค่ไหน บทความนี้จาก Hello คุณหมอ จะพาไปรู้จักกับคอบิดเกร็งให้มากขึ้น  คอบิดเกร็ง เป็นอย่างไร โรคคอบิดเกร็ง เป็นปัญหาสุขภาพคอที่เกิดจากการที่กล้ามเนื้อคอหดตัวอย่างกะทันหัน ทำให้ศีรษะบิดหรือหันไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือไม่สามารถควบคุมศีรษะให้เอียงไปข้างหน้าหรือข้างหลังได้ ภาวะกล้ามเนื้อคอบิดเกร็งจะทำให้เกิดอาการเจ็บหรือปวดที่คอ และตำแหน่งของศีรษะ คอ และไหล่ อยู่ในทิศทางที่ผิดไปจากเดิม ซึ่งอาจมีผลต่อการทำกิจกรรมหรือการใช้ชีวิตประจำวัน อาการคอบิดเกร็งนั้นเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่เป็นไปได้ว่าอาจเกิดจาก ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน การใช้ยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งโดพามีน เช่น ยาสำหรับรักษาอาการทางจิตเวช การบาดเจ็บที่ศีรษะ คอ ไหล่ พันธุกรรม หรือสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนี้มาก่อน ปัญหาสุขภาพจิต อย่างไรก็ตาม ภาวะดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก และส่วนใหญ่แล้วจะพบได้กลุ่มวัยกลางคน  อาการ คอบิดเกร็ง มีอะไรบ้าง โรคคอบิดเกร็ง โดยทั่วไปที่พบได้ มีดังนี้ มีอาการเจ็บหรือปวดที่คอหรือไหล่ โดยอาการปวดจะเริ่มอย่างช้า ๆ ไม่ใช่อาการปวดชนิดเฉียบพลัน และมักจะมีอาการปวดในด้านเดียวกับที่ศีรษะเอียงไป เช่น […]


โรคจมูก

ริดสีดวงจมูก ป้องกัน ได้อย่างไร

ริดสีดวงจมูก ป้องกันได้อย่างไร โรคริดสีดวงเกิดขึ้นจากอาการแพ้หรือการติดเชื้อ ที่ทำให้เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง และก่อให้เกิดติ่งก้อนเนื้อเล็ก ๆ สามารถป้องกันได้ด้วยการจัดการกับอาการแพ้ และปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ เช่น ล้างมือบ่อย ๆ ทำความสะอาดบ้าน เพิ่มความชื้นของอากาศในบ้าน โรคริดสีดวงจมูก เป็นอย่างไร ริดสีดวงจมูก เกิดจากอาการแพ้ หรืออาการติดเชื้อ ที่ก่อให้เกิดการอักเสบบริเวณเยื่อบุจมูกเรื้อรัง ส่งผลให้เกิดอาการบวม แดง และมีการสะสมของเหลวเอาไว้ จนกระทั่งกลายเป็นติ่งเนื้อก้อนเล็ก ๆ หลายก้อน คล้ายกับหยดน้ำตายื่นออกมา ซึ่งติ่งเนื้อที่ยื่นออกมาเหล่านี้จะปิดกั้นบริเวณทางเดินจมูก ติ่งเนื้อริดสีดวงจมูกนี้ไม่ใช่มะเร็งแต่อย่างใด แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ควรชะล่าใจ เพราะหากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาให้ดีขึ้น อาจเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ริดสีดวงจมูก มักก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้ หายใจไม่สะดวก หรือหายใจไม่ออก ความสามารถในการรับกลิ่นลดลง ความสามารถในการรับรสชาติลดลง มีเสมหะในลำคอ น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ ปวดตามใบหน้า ปวดฟัน เลือดกำเดาไหลบ่อย ริดสีดวงจมูก ป้องกัน ได้อย่างไรบ้าง แพทย์สามารถทำการรักษาริดสีดวงจมูกได้ ทั้งการให้ยาปฏิชีวนะ ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก หรือยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ชนิดฉีดพ่น หรือรักษาโดยการผ่าตัดเอาติ่งเนื้อออก เพื่อระบายของเหลวในจมูก ทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น มากไปกว่านั้น […]


โรคจมูก

เป็นไซนัส หรือว่าเป็นหวัด เช็กให้ชัวร์ เพื่อรับมือได้ทัน

เมื่อไหร่ก็ตามที่มีน้ำมูกไหล หลายคนก็แทบจะอนุมานได้ในทันทีว่านั่นคืออาการหวัด แต่จริง ๆ แล้ว อาการน้ำมูกไหลที่มักจะเป็นซ้ำแล้วซ้ำอีก แถมยังพ่วงมาด้วยอาการไอ เจ็บคอ มีไข้ เสมหะในลำคอ อาจไม่ได้หยุดแค่เพียงไข้หวัดเท่านั้น เพราะจริง ๆ แล้วอาจเสี่ยง เป็นไซนัส หรือไซนัสอักเสบได้เช่นกัน แต่ ไซนัสอักเสบ คืออะไร แล้วเป็นหวัดกับเป็นไซนัสเหมือนหรือต่างกันมากน้อยแค่ไหน Hello คุณหมอ มีคำตอบมาฝากแล้วค่ะ โรคไซนัส คืออะไร  โรคไซนัส หรือ ไซนัสอักเสบ เกิดจากการอักเสบและบวมที่บริเวณเยื่อบุจมูกหรือโพรงอากาศที่อยู่ใกล้จมูก หรือเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียหรือติดเชื้อไวรัสที่บริเวณเยื่อบุจมูกหรือโพรงอากาศจนเกิดการอักเสบ ส่งผลให้เกิดอาการไซนัสอักเสบ ดังนี้ ปวดศีรษะ เนื่องจากความดันในรูจมูกได้ปิดกั้นโพรงอากาศบางส่วนหรือทั้งหมด ทำให้เกิดแรงดันสะสมอยู่ภายในจมูก ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ เมื่อกดไปที่ใบหน้าหรือบริเวณโพรงอากาศจะรู้สึกเจ็บ มีไข้สูง 38 องศาเซลเซียส น้ำมูกมีสีเหลืองหรือสีเขียว ขุ่นมัว  คัดจมูก มีเสมหะในลำคอ เจ็บคอ มีอาการไอ ความสามารถในการรับกลิ่นลดลง อ่อนเพลีย เป็นไซนัส หรือเป็นหวัดจะแยกได้อย่างไร จากลักษณะอาการข้างต้น จะเห็นได้ว่าอาการของ ไซนัสอักเสบ ช่างคล้ายกับอาการไข้หวัดเสียเหลือเกิน จนบางครั้งก็อาจทำให้เกิดความสับสนว่า ตกลงอาการที่เป็นอยู่ในขณะนี้เป็นไซนัส หรือว่า เป็นหวัด กันแน่ อย่างไรก็ตาม แม้อาการของ ไซนัสอักเสบ กับไข้หวัดจะคล้ายกันจนแทบจะแยกไม่ออก แต่ก็มีข้อแตกต่างอยู่บางประการที่สามารถช่วยให้เราจำแนกอาการของไซนัสออกจากอาการไข้หวัดได้ ดังนี้ ไซนัสอักเสบจะทำให้เกิดอาการปวด หรือกดแล้วเจ็บที่บริเวณจมูก หรือบริเวณโพรงอากาศ เนื่องจากโพรงอากาศเป็นอวัยวะที่อยู่ในจมูก ด้านหลังโหนกแก้ม รอบดวงตา และหน้าผาก […]


โรคคอ

ฝีรอบต่อมทอนซิล (Peritonsillar Abcess)

ฝีรอบต่อมทอนซิล (Peritonsillar Abcess) คือ การติดเชื้อแบคทีเรียที่บริเวณคอหรือต่อมทอนซิล การติดเชื้อที่บริเวณเนื้อเยื่อดังกล่าวทำให้เกิดการสะสมหนองจนบวมและกลายเป็นฝี ส่งผลให้มีอาการปวดและบวมที่ลำคอ [embed-health-tool-bmr] คำนิยาม ฝีรอบต่อมทอนซิล คืออะไร ฝีที่ต่อมทอนซิล หรือฝีรอบต่อมทอนซิล (Peritonsillar Abcess) คือ การติดเชื้อแบคทีเรียที่บริเวณคอหรือ ต่อมทอนซิล การติดเชื้อที่บริเวณเนื้อเยื่อดังกล่าวทำให้เกิดการสะสมของหนองจนเกิดอาการบวมและกลายเป็นฝี ส่งผลให้มีอาการปวดและบวมที่ลำคอ หากรุนแรงอาจเสี่ยงที่จะเกิดการอุดตันในลำคอ ทำให้การกลืนอาหารหรือการหายใจเป็นไปได้ยาก มากไปกว่านั้น ภาวะต่อมทอนซิลอักเสบที่ปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจเสี่ยงที่จะทำให้กลายเป็นฝีรอบต่อมทอนซิลได้เช่นกัน ฝีรอบต่อมทอนซิล พบบ่อยแค่ไหน ฝีรอบต่อมทอนซิลมักเกิดได้บ่อยในเด็กวัยรุ่น และเกิดได้ง่ายในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากมีสภาพอากาศที่แห้งและเย็นทำให้เกิดอาการหวัด อาการไอ ที่นำไปสู่อาการเจ็บคอและ ต่อมทอนซิล อักเสบ อาการ อาการของ ฝีรอบต่อมทอนซิล อาการทั่วไปของฝีรอบต่อมทอนซิลมีดังนี้ เกิดการติดเชื้อที่ ต่อมทอนซิล ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง มีไข้และหนาวสั่น อ้าปากลำบาก กลืนอาหารลำบาก กลืนน้ำลายลำบาก บวมที่ใบหน้าและลำคอ ปวดศีรษะ เสียงอู้อี้ในลำคอ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองบวม ปวดที่หูโดยเฉพาะหูฝั่งเดียวกับที่มีอาการเจ็บคอ มีกลิ่นปาก ในกรณีที่อาการรุนแรงหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจมีอาการดังต่อไปนี้ ปอดติดเชื้อ ทางเดินหายใจอุดกั้น เชื้อแบคทีเรียกระจายไปยังลำคอ ปาก หน้าอก ฝีแตก หากไม่รักษาฝีรอบ ต่อมทอนซิล จะเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย หรือปิดกั้นทางเดินหายใจจนกระทบกับกระบวนการหายใจ ควรพบหมอเมื่อใด หากมีอาการเจ็บคอ […]


โรคคอ

คอตีบ (Diphtheria)

โรคคอตีบ หรือ คอตีบ (Diphtheria) คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดร้ายแรง และส่งผลต่อเยื่อเมือกในลำคอ และจมูก จัดเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งที่สามารถติดต่อไปยังผู้อื่นได้ง่ายผ่านทางการไอ จาม สัมผัสโดยตรงกับผู้ติดเชื้อคอตีบ คำนิยามคอตีบ คืออะไร โรคคอตีบ หรือคอตีบ (Diphtheria) คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดร้ายแรง ส่งผลต่อเยื่อเมือกในลำคอ และจมูก จัดเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งที่สามารถติดต่อไปยังผู้อื่นได้ง่ายผ่านทางการไอ จาม สัมผัสโดยตรงกับผู้ติดเชื้อคอตีบ หรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วยโรคคอตีบ โรคคอตีบ หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาเชื้อแบคทีเรียสามารถแพร่กระจายไปยังระบบประสาท ไต และหัวใจ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต อย่างไรก็ตามโรคคอตีบสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน คอตีบ พบบ่อยแค่ไหน โรคคอตีบ มักเกิดกับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบโดยเฉพาะในเด็ก และผู้ที่อาศัยหรือเดินทางไปยังพื้นที่แออัด หรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคคอตีบ อาการอาการของ คอตีบ อาการโดยทั่วไปของ โรคคอตีบ มีดังนี้ มีพังผืดสีเทาหนาบริเวณลำคอและต่อมทอนซิล เจ็บคอ เสียงแหบ ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ในลำคอโตและบวม หายใจลำบากหรือหายใจเร็ว กลืนอาหารลำบาก ผิวมีสีม่วงคล้ำ พูดไม่ชัด มีปัญหาด้านการมองเห็น น้ำมูกไหล มีไข้สูงและหนาวสั่น วิงเวียนศีรษะ มีสัญญาณของอาการช็อก เช่น ผิวซีด เหงื่อออก ตัวเย็น หัวใจเต้นเร็ว ในกรณีที่มีการติดเชื้อทางผิงหนัง จะเกิดแผลพุพอง แดง ที่ขา เท้า และมือ อาการของ โรคคอตีบ มักจะแสดงอาการหลังจากที่ได้รับเชื้อผ่านไป 2-5 วัน อย่างไรก็ตาม อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น ดังนั้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ ควรปรึกษาคุณหมอ ควรพบหมอเมื่อใด เด็กและผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน โรคคอตีบ ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการฉีดวัคซีน และถ้าหากสัมผัสได้ว่าคุณหรือลูกของคุณมีอาการของโรคคอตีบ […]


โรคคอ

คออักเสบ เจ็บคอมาก บรรเทาอาการได้ง่าย ๆ แบบไร้กังวล

อาการเจ็บคอ เป็นอาการทางสุขภาพที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย หรืออากาศเย็น ซึ่งมักจะก่อให้เกิดไข้หวัดจนมีอาการไอและเจ็บคอตามมา แต่…ถ้าอาการเจ็บคอที่คุณเป็นอยู่และไม่มีทีท่าว่าจะหายไปสักที แถมยัง เจ็บคอ จนกระทบต่อการรับประทานอาหารและการดื่มน้ำ คุณอาจเป็นมากกว่าไข้หวัดทั่วไปที่ทำให้มีอาการเจ็บคอ เพราะคุณอาจจะกำลังเป็น คออักเสบ อยู่ก็ได้ แต่คออักเสบคืออะไร และรับมือได้อย่างไร บทความนี้ของ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาฝากแล้วค่ะ คออักเสบ คืออะไร คออักเสบ คือ อาการ เจ็บคอ ระคายเคืองคอ ซึ่งโดยมากแล้วมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส จนทำให้เกิดการอักเสบขึ้นที่บริเวณคอหอย อย่างไรก็ตาม คออักเสบยังสามารถเกิดขึ้นได้จากปัจจัยอื่น ๆ ด้วย ดังนี้ โรคหัด ไข้หวัด โรคอีสุกอีใส โรคซาง โรคไอกรน โรคภูมิแพ้ต่าง ๆ ไซนัสอักเสบ กรดไหลย้อน เอชไอวี เนื้องอก มลพิษทางอากาศ โดยอาการโดยทั่วไปของคออักเสบ มีดังนี้ ปวดหรือแสบในลำคอ รู้สึก เจ็บคอ เวลากลืนอาหาร หรือดื่มน้ำ กลืนอาหารลำบาก เจ็บและบวมที่คอหรือกราม ต่อมทอนซิลมีอาการบวมและแดง มีคราบสีขาวหรือหนองที่ต่อมทอนซิล เสียงแหบ ในกรณีที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส มักจะมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย มีไข้สูง ไอ น้ำมูกไหล จาม ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดศีรษะ คลื่นไส้หรืออาเจียน ทำอย่างไรหากมีอาการ คออักเสบ หากมีอาการคออักเสบ หรือ เจ็บคอ ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองได้ง่าย ๆ ดังนี้ พักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากคออักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวัรส ผู้ป่วยจึงมักจะมีไข้สูง อ่อนเพลีย และอ่อนล้า จึงควรพักการทำกิจกรรมต่าง ๆ แล้วพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้บ่อย ๆ เพื่อให้ลำคอมีความชุ่มชื้น และลดความเสี่ยงของภาวะขาดน้ำ  รับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มที่สามารถกลืนได้ง่าย เพื่อให้สะดวกต่อการกลืน เปิดเครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศหรือเครื่องเพิ่มไอน้ำ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นภายในบ้าน […]


โรคหู

หูชั้นกลางอักเสบ (Otitis Media)

หูชั้นกลางอักเสบ (Otitis Media) หรือเป็นที่รู้จักกันอีกชื่อคือ โรคหูน้ำหนวก คือการอักเสบหรือการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสที่บริเวณหูชั้นกลาง จนบวม แดง คำจำกัดความหูชั้นกลางอักเสบ คืออะไร หูชั้นกลางอักเสบ (Otitis Media) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อคือ โรคหูน้ำหนวก คือการอักเสบหรือการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสที่บริเวณหูชั้นกลาง จนเกิดอาการบวม แดง และมีการสะสมของเหลวขึ้นที่บริเวณแก้วหู หูชั้นกลางอักเสบ พบบ่อยแค่ไหน โรคหูชั้นกลางอักเสบ เกิดขึ้นได้ทั่วไป แต่โดยมากแล้วมักจะพบอาการหูชั้นกลางอักเสบได้ในช่วงวัยเด็ก โดยเฉพาะเด็กทารกอายุตั้งแต่ 6-15 เดือนมากกว่าวัยผู้ใหญ่ อาการอาการของ หูชั้นกลางอักเสบ อาการโดยทั่วไปของ โรคหูชั้นกลางอักเสบ มีดังนี้ อาการหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก ปวดหู โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนนอนราบกับพื้น มีอาการกระตุกที่หู เด็กมักจะดึงหูบ่อยผิดปกติ มีปัญหาด้านการนอนหลับ ร้องไห้มากกว่าปกติ มีอาการงอแง มีปัญหาด้านการได้ยิน มีปัญหาด้านการตอบรับต่อเสียงที่ได้ยิน สูญเสียความสมดุล มีไข้สูงประมาณ 38 องศาหรือมากกว่า มีของเหลวไหลออกจากหู ปวดศีรษะ ไม่ค่อยกระหายน้ำ อาการหูชั้นกลางอักเสบในผู้ใหญ่ ปวดหู มีของเหลวไหลออกมาจากหู สูญเสียการได้ยิน ได้ยินไม่ค่อยชัด อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น ดังนั้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ ควรปรึกษาคุณหมอ ควรพบหมอเมื่อใด หากมีอาการหรือสัญญาณของหูชั้นกลางอักเสบ ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและทำการรักษาทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ มีอาการหูชั้นกลางอักเสบมากกว่าหนึ่งวัน มีอาการหูชั้นกลางอักเสบในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือน มีอาการปวดหูอย่างรุนแรง เด็กที่มีอาการหูชั้นกลางอักเสบนอนหลับได้น้อย หรือมีอาการหงุดหงิดหลังจากมีไข้หรือเป็นหวัด มีของเหลว น้ำหนอง หรือของเหลวที่ปนเลือดไหลออกมาจากหู สาเหตุสาเหตุของหูชั้นกลางอักเสบ อาการของ โรคหูชั้นกลางอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส ซึ่งมักเป็นอาการที่พบได้หลังเป็นหวัด หรือเมื่อเป็นหวัด หรือเมื่อมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ในสภาวะดังกล่าว เชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสสามารถที่จะเดินทางเข้าสู่หูชั้นกลางผ่านท่อยูสเตเชียน (Eustachian Tube) ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลางและบริเวณลำคอ แบคทีเรียหรือไวรัสจะก่อให้เกิดอาการระคายเคือง ทำให้ท่อยูสเตเชียนบวมและอุดตันจนของเหลวที่เกิดขึ้นในหูชั้นกลางไม่สามารถจะระบายออกไปได้ เมื่อของเหลวดังกล่าวไม่สามารถระบายออกได้ก็จะทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตจนกระทั่งเกิดการติดเชื้อ ส่งผลให้เกิดอาการบวม แดง และปวดตามมา ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงการเกิดหูชั้นกลางอักเสบ โรคหูชั้นกลางอักเสบ […]


โรคคอ

ตื่นเช้ามา อยู่ ๆ เสียงแหบ เสียงหาย รับมืออย่างไรดี

เชื่อว่าหลายคนต้องเคยมีอาการตื่นเช้ามาแล้ว เสียงแหบ เสียงหาย อย่างแน่นอน โดยเฉพาะนักร้อง ที่มักประสบกับปัญหานี้บ่อย ๆ หากปล่อยไว้นานโดยไม่ได้รับการรักษา อาจแรงร้ายถึงขั้นกล่องเสียงอักเสบ ดังนั้น จึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับอาการ และวิธีการป้องกันอาการเสียงแหบเสียงหาย [embed-health-tool-bmi] ทำความรู้จัก อาการเสียงแหบ เสียงหาย  (Hoarseness) อาการเสียงแหบ เสียงหาย  (Hoarseness) โดยทั่วไปเกิดจากการที่เส้นเสียงเกิดการระคายเคืองหรือเกิดการอักเสบที่กล่องเสียง ส่งผลให้สายเส้นเสียงบวม เมื่อมีการเปล่งเสียงออกมากระทบกับอากาศ เสียงจึงแหบไปจากปกติ อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีอาการเสียงแหบเป็นระยะเวลานานกว่า 10 วัน ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการวินิจฉัยและทำการรักษา อยู่ ๆ เสียงแหบ เสียงหาย เกิดจากสาเหตุอะไรกันนะ อาการเสียงแหบ เสียงหายนั้น โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการอักเสบของกล่องเสียง รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ ดังต่อไปนี้  สูบบุหรี่ การติดเชื้อแบคทีเรีย มีการใช้เสียงมากจนเกินไป ใช้เสียงอย่างหนัก ไข้หวัด กรดไหลย้อนในกระเพาะอาหาร โรคภูมิแพ้ ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์  ภาวะทางระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น โรคไขข้ออักเสบ มะเร็งกล่องเสียง เคล็ดลับป้องกันอาการเสียงแหบ เสียงหายด้วยตัวคุณเอง อาการเสียงแหบ เสียงหาย สามารถรักษาได้โดยการพักเสียงหรือปรับเปลี่ยนวิธีใช้เสียง โดยเฉพาะในผู้ที่สูบบุหรี่ ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือสัมผัสกับควันบุหรี่ รวมถึงวิธีการป้องกันดังต่อไปนี้  […]


โรคคอ

รู้หรือเปล่า กระแอมบ่อย ๆ อาจทำร้ายกล่องเสียงของเราไม่รู้ตัว

ในบางครั้งเวลาที่รู้สึกคันคอ เหมือนมีเสมหะอยู่ในลำคอ เพียงแค่การกระแอมเบา ๆ ก็สามารถช่วยทำให้อาการคันเหล่านั้นหายไปได้ โดยไม่จำเป็นต้องไอดัง ๆ รบกวนคนรอบข้าง แต่รู้กันไหมคะว่า การ กระแอมบ่อย ๆ อาจทำร้ายกล่องเสียงของเราได้อย่างไม่รู้ตัว วันนี้ Hello คุณหมอ เลยอยากจะพาทุกคนมารู้จักกับ อาการกระแอมกันให้มากขึ้น ว่าอาการนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และเป็นอันตรายอะไรกับร่างกายของเราค่ะ อาการกระแอม คืออะไร อาการกระแอม (Throat clearing) เป็นอาการหนึ่งที่เกิดขึ้นตามสัญชาตญาณของร่างกาย โดยการสั่นกล้ามเนื้อในลำคอเพื่อช่วยกำจัดสิ่งที่ระคายเคืองในลำคอ เช่น เสมหะ ให้หลุดออกไป ทำให้คอโล่งขึ้น นอกจากนี้ การกระแอมก็อาจจะใช้ส่งสัญญาณให้คนรอบข้างรู้โดยไม่ต้องพูดก็ได้เช่นกัน อาการกระแอมนี้เป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในนาน ๆ ครั้ง แต่หากมีอาการกระแอมบ่อย ๆ ไม่ยอมหายไป หรือรู้สึกเจ็บคอเมื่อกระแอม นั่นอาจจะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรคหรือความผิดปกติอื่น ๆ ได้เช่นกัน สาเหตุที่ทำให้เรากระแอม อาการกระแอม อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้ การระคายเคืองในลำคอ เช่น ในบริเวณหลอดลม กล่องเสียง หรือต่อมทอนซิล เป็นต้น เสมหะอุดตันในลำคอ หากอาการกระแอมเกิดขึ้นบ่อยครั้ง หรือไม่ยอมหายไป ก็อาจจะมีสาเหตุมาจากโรคแฝงต่าง ๆ เช่น กรดไหลย้อน โรคภูมิแพ้ เช่น ภูมิแพ้อากาศที่ทำให้เกิดน้ำมูกและเสมหะ หรือภูมิแพ้อาหารที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองในลำคอ โรคทูเร็ตต์ (Tourette’s disorder) […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม