หู คอ จมูก

หู จมูก และคอ เป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นปกติ การรักษาสุขภาพของหู จมูก และคอ ให้มีสุขภาพดี จะช่วยให้เรามีความสุขกับการใช้ชีวิตในแต่ละวันได้มากยิ่งขึ้น Hello คุณหมอ จึงขอรวบรวมเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของ หู คอ จมูก ไว้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

หู คอ จมูก

หูอื้อ ทําไง สาเหตุของหูอื้อ และวิธีบรรเทาอาการ

อาการหูอื้อ เป็นอาการที่พบได้บ่อย บางครั้งเกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมบางชนิด แต่บางครั้งอาการหูอื้อ เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพ สาเหตุของหูอื้อ เกิดจากอะไร  หูอื้อ ทําไง วิธีบรรเทาให้อาการดีขึ้น [embed-health-tool-heart-rate] ภาวะหูอื้อ คืออะไร หูอื้อ เป็นภาวะที่ความสามารถในการรับเสียงแย่ลง โดยสามารถแบ่งระดับความรุนแรงของการได้ยิน หากระดับการได้ยินอยู่ที่ 0-25 dB หรือเดซิเบล (DECIBEL) การได้ยินยังเป็นปกติ แต่ถ้าเริ่มระดับการได้ยินอยู่ที่ 26-40 dB จะเริ่มมีอาการหูอื้อเล็กน้อย ทำให้ไม่ได้ยินเสียงกระซิบ ถ้าเดซิเบลยิ่งมากขึ้น หมายความว่า จะเริ่มไม่ได้ยินเสียงพูดคุยหรือแม้แต่เสียงดัง และจะเข้าสู่ระดับความพิการ หูหนวก เมื่อมากกว่า 90 dB วิธีทดสอบอาการหูอื้อ เมื่อการได้ยินลดลง ความคมชัดของเสียงลดลง หรือมีเสียงรบกวนในหู อาการต่าง ๆ เหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน รู้สึกได้ทันทีถึงความผิดปกติของการได้ยิน เว้นแต่ในบางกรณีที่อาการหูอื้อค่อย ๆ มีมากขึ้น โดยอาการหูอื้อ สามารถทดสอบได้กรณีที่หูสองข้างได้ยินไม่เท่ากัน ดังนี้ ใช้นิ้วมือถูเบา ๆ บริเวณหน้ารูหูทีละข้าง  สังเกตความแตกต่างของระดับเสียงที่ได้ยิน สาเหตุของหูอื้อ สาเหตุสำคัญของอาการหูอื้อ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ การอุดกั้นสัญญาณเสียง เกิดในส่วนของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง […]

หมวดหมู่ หู คอ จมูก เพิ่มเติม

สำรวจ หู คอ จมูก

โรคคอ

ติ่งเนื้อในกล่องเสียง ผลจากการใช้เสียงมากเกินไป สามารถรักษาได้อย่างไร?

ไม่ต้องเป็นกังวลใจไป หากคุณกำลังประสบกับ ติ่งเนื้อในกล่องเสียง เพราะติ่งเนื้อนี้ เป็นเพียงติ่งเนื้อเล็ก ๆ ที่นูนขึ้นมาเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่เซลล์มะเร็งแต่อย่างไร และอาจประสบได้มากกับบุคคลที่มีการใช้เสียงเป็นหลัก เช่น นักร้อง นักแสดง เป็นต้น วันนี้ บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอนำวิธีการรักษาติ่งเนื้อในกล่องเสียง  เพื่อรักษาเส้นเสียงให้อยู่คู่กับคุณไปอย่างยาวนาน มาฝากทุกคนให้ได้ทราบกันค่ะ ติ่งเนื้อในกล่องเสียง คืออะไร ติ่งเนื้อในกล่องเสียง หรือ ติ่งเนื้อในเส้นเสียง (Vocal cord polyp) สามารถเกิดขึ้นได้จากการที่คุณมีการใช้เสียงตะเบ็ง ตะโกน หรือมีการสูบบุหรี่มากเกินไป จนทำให้เส้นเลือดบริเวณเส้นเสียงนั้นเกิดการแตกตัวขึ้น ซึ่งตามปกติเมื่ออวัยวะคุณรับรู้ความเสียหาย ร่างกายของคุณจะรีบเร่งทำการซ่อมแซมส่วนนั้นในทันที โดยเป็นการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมา จึงส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นมีการเจริญเติบโตทับถมกันเป็นก้อนเนื้อนูนออกมาบริเวณเส้นเสียงที่ได้รับความเสียหาย และอาจมีขนาด สี ที่แตกต่างกันออกไปตามอาการของแต่บุคคล อาการของติ่งเนื้อในกล่องเสียง ที่ควรสังเกต เมื่อติ่งเนื้อเริ่มมีการก่อตัวขึ้น อาการแรกเริ่มที่อาจทำให้คุณรู้สึกได้นั้น มีดังต่อไปนี้ หายใจไม่ออก เสียงแหบ สูญเสียเสียง ปวดช่องหู รู้สึกเหมือนมีก้อนบางอย่างขวางลำคอ ไอ เจ็บคอ ลดระดับประสิทธิภาพในการเปลี่ยนโทนเสียง ร่างกายอ่อนล้า ซึ่งหากคุณกำลังสังเกตตนว่าเริ่มมีอาการข้างต้น โปรดรีบเข้ารับการตรวจสอบจากแพทย์อย่างละเอียดทันที เพราะนอกจากจะสามารถเป็นติ่งเนื้อในกล่องเสียงได้แล้ว ยังอาจทำให้คุณประสบกับภาวะอื่น ๆ ภายในเส้นเสียงได้อีกด้วย เช่น ถุงซีสต์เส้นเสียง ก้อนเนื้อตรงรอยพับเส้นเสียง เป็นต้น วิธีการรักษา และ กำจัดติ่งเนื้อในกล่องเสียง ขั้นตอนแรกของการรักษาแพทย์อาจจำเป็นต้องมีการพิจารณาขนาดของ ติ่งเนื้อในเส้นเสียง ของคุณก่อน ว่ามีความเหมาะสมกับการรักษาด้วยเทคนิคใด […]


โรคหู

เยื่อแก้วหูทะลุ เป็นอันตรายไหม แล้วจะรักษาได้หรือเปล่า

หูของคนเราจะมีแก้วหูหรือเยื่อแก้วหูบาง ๆ ทำหน้าที่สำคัญในการเป็นตัวกลางคอยรับแรงสั่นสะเทือนต่าง ๆ ที่ถูกส่งผ่านเข้ามาในรูหู แต่ถ้าเยื่อแก้วหูได้รับแรงสั่นสะเทือนหรือได้รับการกระทบกระเทือนอย่างหนักหรือรุนแรงก็จะก่อให้เกิดปัญหาที่เรียกว่า เยื่อแก้วหูทะลุ ซึ่งเป็นอาการทางสุขภาพที่เกิดขึ้นได้หากไม่ระวังหรือได้รับอุบัติเหตุแบบไม่ทันตั้งตัว Hello คุณหมอ ขอพาคุณผู้อ่านทุกท่านมาทำความรู้จักกับ อาการเยื่อแก้วหูทะลุ ให้มากขึ้นค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] เยื่อแก้วหูทะลุ เกิดจากอะไร อาการเยื่อแก้วหูทะลุ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุที่แตกต่างกันไป ดังนี้ การติดเชื้อในหู การติดเชื้อในหูเป็นสาเหตุสุดคลาสสิคของ อาการเยื่อแก้วหูทะลุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่อวัยวะต่าง ๆ มีความบอบบาง จึงเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อได้ง่าย และเมื่อเกิดการติดเชื้อภายในช่องหู ก็จะส่งผลให้มีของเหลวสะสมอยู่ในหูชั้นกลางเป็นจำนวนมาก และแรงดันจากของเหลวเหล่านี้นี่แหละที่เสี่ยงจะทำให้เยื่อแก้วหูทะลุได้ การบาดเจ็บจากแรงกดดัน อาการบาดเจ็บเนื่องจากแรงกดดัน (Barotrauma) เกิดขึ้นเมื่อความดันของอากาศภายในหูกับความดันของกาศภายนอกไม่สมดุลกัน มักเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่สภาพแวดล้อมรอบตัวมีแรงดันหรือแรงกดอากาศสูงอย่างกะทันหัน เช่น เวลาดำน้ำ เวลาที่มีคนมาเป่าลมโดยตรงที่หู การขึ้นเครื่องบิน การบาดเจ็บบริเวณหู อุบัติเหตุใดก็ตามที่ก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บรุนแรงที่บริเวณหูหรือข้างศีรษะ สามารถก่อให้เกิด อาการเยื่อแก้วหูทะลุ ได้ เช่น การตบหู การพลัดตก หกล้ม การเดินชน หรือการถูกตีแรง ๆ ที่ข้างศีรษะ เสียงดัง เสียงดังจากเครื่องเสียง เสียงดังจากการตะโกน เสียงดังจากหูฟัง เสียงดังจากการยิงปืน หรือเสียงของระเบิด เสียงใด ๆ ก็ตาม ที่ดังมากและดังขึ้นมาอย่างกะทันหัน แรงสั่นสะเทือนจากเสียงนั้นเสี่ยงที่จะทำให้เยื่อแก้วหูทะลุได้ การนำสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในหู สิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เรานำเข้าหู ไม่ว่าจะเป็น สำลีก้าน ที่แคะหู […]


โรคคอ

คอพอก สาเหตุ อาการ และการรักษา

คอพอก เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ขยายใหญ่ขึ้น และส่งผลให้คอบวม นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น หายใจลำบาก กลืนลำบาก แน่นคอ โดยปกติโรคคอพอกจะหายไปได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษา ยกเว้นในกรณีที่อาการคอพอกรุนแรงมากจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ก็อาจทำการรักษาโดยการใช้ยา และการผ่าตัด คำจำกัดความคอพอก คืออะไร โรคคอพอก เป็นหนึ่งความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งต่อมไทรอยด์จะโตจนทำให้คอบวม แต่การเป็น โรคคอพอก ไม่ได้หมายความว่าต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โดยปกติแล้วโรคคอพอกจะไม่มีอันตราย และมักจะหายไปเองโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา ยกเว้นแต่ว่าคอพอกจะมีขนาดใหญ่จนทำให้เกิดความรำคาญ คอพอกพบได้บ่อยแค่ไหน โรคคอพอกเกิดจากการสร้างฮอร์โมนที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบอาการคอพอกในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน ส่วนใหญ่จะพบได้มากในผู้หญิงที่มาอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป อาการอาการของคอพอก โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการคอพอกมักจะมีเพียงอาการเดียวคือ อาการคอบวม บางครั้งอาการคอบวมก็มักจะใหญ่จนสามารถสัมผัสได้ด้วยมือเปล่า ซึ่งระดับอาการบวมและความรุนแรงของอาการนั้น จะมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ รวมด้วย เช่น อาการแน่นลำคอ ไอ และมีเสียงแหบ กลืนลำบาก หากอาการรุนแรงอาจทำให้หายใจได้ลำบาก ควรไปพบหมอเมื่อใด โรคคอพอก เป็นโรคที่เกิดอาการบวมที่ต่อมไทรอยด์ โดยปกติแล้วไม่มีอันตรายต่อร่างกาย แต่บางครั้งสัญญาณเหล่านี้อาจบ่งบอกว่าต่อมไทรอยด์นั้นมีปัญหา หากอาการคอพอกมีอาการบวมมาก ๆ อย่างผิดปกติ และไม่ยุบลง ควรไปพบคุณหมอในทันที สาเหตุสาเหตุของคอพอก ขาดไอโอดีน สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคคอพอกนั้นมักจะเกิดขึ้นจากการที่ร่างกายขาดไอโอดีน (Iodine) ต่อมไทรอยด์นั้นต้องการไอโอดีนเพื่อสร้างฮอร์โมน สำหรับใช้ในการควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย ซึ่งไอโอดีนสามารถพบได้ในอาหารหลายชนิด เช่น อาหารทะเล นมวัว ไฮโปไทรอยด์ ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) เป็นผลมาจากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยเกินไป […]


โรคจมูก

คัดจมูก สาเหตุ และวิธีการบรรเทาอาการ

คัดจมูก หมายถึงอาการแน่นจมูก หายใจไม่สะดวก และอาจมีน้ำมูก เนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อไวรัส การอักเสบ โรคภูมิแพ้ การเรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุและวิธีการบรรเทาอาการ จะช่วยให้สามารถจัดการกับอาการคัดจมูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม หากสังเกตพบอาการผิดปกติ เช่น มีอาการนานกว่า 10 วัน มีไข้สูง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาอย่างเหมาะสม คัดจมูก เป็นอย่างไร อาการคัดจมูก คืออาการที่รู้สึกหายใจไม่ออก หรือหายใจไม่สะดวก หรือหายใจได้ไม่เต็มอิ่ม บางครั้งอาจเกิดอาการอักเสบจนทำให้จมูกแดง และบวม ทำให้รูจมูกที่ทำหน้าที่สำหรับถ่ายเทและไหลเวียนอากาศแคบลงจนรู้สึกหายใจทางจมูกลำบาก มากไปกว่านั้นอาการอักเสบยังทำให้เกิดน้ำมูกภายในจมูกมากขึ้นจนอุดตันและไหลออกมาได้ยาก ทำให้รู้สึกอึดอัด คัดจมูก และหายใจไม่ออกมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งอาการคัดจมูกมักจะเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ เมื่อเป็นหวัด หรือเป็นไข้หวัดใหญ่ สาเหตุของอาการคัดจมูก สาเหตุของ อาการคัดจมูก มีอยู่ด้วยกันหลายสาเหตุ ดังนี้ การติดเชื้อไวรัส โรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ที่เกิดจากเชื้อไวรัส เป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้มี อาการคัดจมูก โดยกลุ่มเชื้อไวรัสที่ทำให้เป็นหวัดและมีอาการคัดจมูกมากที่สุดคือกลุ่มเชื้อไวรัสที่ชื่อ ไรโนไวรัส (Rhinovirus) ซึ่งจะทำให้มีอาการไอ จาม และเจ็บคอร่วมด้วย โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้  โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายตอบสนองต่อสิ่งที่ไม่มีอันตราย เช่น ละอองเกสรดอกไม้ ฝุ่น ขนสัตว์ […]


โรคหู

คันหูก็ต้อง แคะหู แคะหูอย่างไรให้ถูกวิธี และแคะหูบ่อยแค่ไหนถึงจะดีที่สุด

คันหูไม่รู้เป็นอะไร แต่ถ้าขี้หูเยอะไป อาจถึงเวลาที่จะต้อง แคะหู ได้แล้ว แต่การแคะหูที่ดูเป็นเรื่องทั่วไปนี้ ก็จำเป็นจะต้องทำให้ถูกวิธีเหมือนกัน เพราะอาจเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่จะเป็นอันตรายต่อหูได้หากไม่ระวัง หรือทำไม่ถูกวิธี วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาบอกวิธีแคะหูที่ถูกต้องกันค่ะ  ทำไมถึงต้อง แคะหู ขี้หู เป็นสิ่งที่ร่างกายของเราสร้างขึ้นจากการสะสมเอาทั้งสิ่งสกปรก แบคทีเรีย หรือเศษซากเล็กน้อยต่างๆ หมักหมมกันจนมีลักษณะคล้ายกับขี้ผึ้งหรือที่เราเรียกว่าขี้หูนั่นเอง ตามปกติแล้วขี้หูสามารถกำจัดออกไปได้ผ่านกลไกธรรมชาติของร่างกายที่เรียกว่าการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของอวัยวะช่วงกราม เช่น การเคี้ยวอาหาร การดูดน้ำ การเป่า หรือแม้แต่การสนทนากัน แต่กระบวนการนี้อาจจะต้องใช้เวลานานสักหน่อยกว่าที่ขี้หูจะออกมาจากหูได้หมด ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการกำจัดเอาขี้หูออกไปก็คือการแคะหูนั่นเอง เพราะถ้าปล่อยให้ขี้หูหมักหมมเป็นจำนวนมากต่อไปเรื่อยๆ จะมีผลต่อการสะสมสิ่งสกปรกเอาไว้กับตัว อาจมีผลต่อการได้ยิน และทำให้เสียบุคลิกภาพได้ด้วย แคะหูอย่างไรให้ถูกวิธี การแคะหูก็จำเป็นต้องใช้ศิลปะในการแคะหูเหมือนกับการแกะสลักหรือการทำงานประดิษฐ์อื่นๆ เพราะถ้าแคะแรงไปก็เสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บ แต่ถ้าแคะเบาไปก็อาจจะไม่สามารถกำจัดขี้หูออกไปได้หมด ดังนั้นเพื่อให้การแคะหูเป็นไปด้วยความปลอดภัยและถูกต้องตามหลักของการทำความสะอาดหู วิธีที่ดีที่สุดคือการไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับหู เพื่อที่จะได้รับการดูแลและทำความสะอาดหูอย่างถูกต้องและปลอดภัยที่สุด อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถไปพบคุณหมอได้ ก็ยังสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ที่บ้านแบบง่ายๆ  เริ่มต้นด้วยการทำความสะอาดหูภายนอก บริเวณใบหูทั้งหน้าและหลัง ใช้ดรอปเปอร์หรือที่หยดน้ำ หยดเบบี้ออยล์ หรือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) ลงไปในรูหูเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ขี้หูมีความชื้นและอ่อนตัวลง สามารถแคะออกได้โดยง่าย เอียงศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง ค่อยๆ แหย่ก้านสำลีหรืออุปกรณ์แคะหูเข้าไปทีละนิดด้วยความเบามือ เมื่อแคะขี้หูออกมาได้มากที่สุดแล้ว ทำความสะอาดหูด้วยน้ำสะอาดหรือเบบี้ออยล์อีกครั้ง แล้วเช็ดให้แห้ง ข้อควรระวังเมื่อต้องแคะหูด้วยตนเอง ใส่ใจเรื่องของอุปกรณ์ หากเลือกใช้สำลีก้านในการแคะหู ควรเช็กความแน่นของสำลีเป็นอย่างดี เพื่อป้องกันไม่ให้สำลีเกิดการหลุดออกจากก้านขณะที่กำลังแคะหู […]


โรคคอ

หูหนวก (Deafness)

หากคุณสังเกตตนเองแล้วพบว่า เริ่มมีอาการบกพร่องเกี่ยวกับการได้ยิน หรือเริ่มมีการสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างยากลำบากเมื่อใด โปรดรีบเร่งทำการรักษา หรืออาจเข้าขอรับคำปรึกษาเบื้องต้นจากคุณหมอโดยด่วน เพราะคุณอาจกำลังมีความเสี่ยต่อการมีภาวะสูญเสียการได้ยิน หรือโรค หูหนวก (Deafness) ก็เป็นได้ คำจำกัดความหูหนวก (Deafness) คืออะไร หูหนวก (Deafness) คือ โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบการได้ยิน โดยเกิดจากเซลล์ประสาทในส่วนของ คอเคลีย (Cochlear) ที่อยู่ในหูชั้นในเสื่อมสภาพ หรือถูกทำลาย อาจนับได้ว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้เมื่อคุณมีอายุที่มากขึ้น บางครั้งก็อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงจนถึงขั้นสูญเสียการได้ยิน และอาจจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ในการช่วยฟังเข้ามามีส่วนร่วม หรือไม่ก็ต้องสื่อสารด้วยการอ่านริมฝีปากเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่อาจทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของคุณเป็นไปอย่างยากลำบากกว่าเดิมได้เลยทีเดียว การสูญเสียการได้ยินนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้ การสูญเสียการได้ยินระดับเบา เป็นการลดความสามารถในการได้ยินเสียงที่ไม่ค่อยรุนแรงมากนัก ซึ่งทุกคนสามารถเริ่มเป็นกันได้ตั้งแต่อายุยังน้อยจนถึงอายุมาก การสูญเสียการได้ยินระดับปานกลาง อาจมีอาการเบื้องต้นถึงการเริ่มไม่เข้าใจในคำพูดผู้คน หรือรู้สึกว่าผู้ที่สื่อสารด้วยมีเสียงแผ่วเบาลง ทั้งที่ในความเป็นจริงระดับเสียงยังคงปกติเท่าเดิม การสูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง เป็นการขาดการได้ยินทั้งหมด โดยไม่อาจสามารถจะได้ยินเสียงใด ๆ ต่อไปได้อีก นอกจากเสียว่าจะมีอุปกรณ์ช่วยฟังมาเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกให้ ซึ่งทางแพทย์จะเป็นคนทำการตรวจ และพิจารณาเองว่าคุณนั้นอยู่ในความเสี่ยงระดับไหน จากนั้นจึงจะเริ่มหาทางการรักษา หรือวิธีแก้ไข เพื่อเพิ่มคุณภาพการใช้ชีวิตของคุณให้กลับมาปกติเหมือนบุคลทั่วไปอีกครั้ง โรค หูหนวก สามารถพบบ่อยได้เพียงใด ภาวะของโรคหูหนวก หรืออาการสูญเสียการได้ยิน ส่วนใหญ่แล้วอาจเกิดขึ้นได้กับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป หรืออยู่ในช่วงวัยผู้สูงอายุ อาการอาการของโรค หูหนวก สัญญาณเตือน และอาการของการสูญเสียการได้ยินเบื้องต้นที่คุณสามารถเริ่มสังเกตตนเองได้ มีดังนี้ เริ่มขาดการได้ยินเสียงพูด และเสียงอื่นรอบข้าง มีการใช้เวลานานกว่าปกติในทำความเข้าใจสื่อต่าง ๆ ที่ได้ยิน บางครั้งอาจมีการขอให้ผู้สื่อสารพูดช้าลง และเสียงดังมากขึ้น มีการเพิ่มระดับเสียงของสื่อรอบตัวอยู่สม่ำเสมอ […]


โรคหู

การใช้หูฟัง ให้ปลอดภัย ไม่สูญเสียการได้ยิน

ปัจุบัน หูฟัง แทบจะเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่เราแทบจะขาดไม่ได้ ไม่ว่าจะขึ้นรถไฟฟ้า วิ่งที่สวนสาธารณะ หรือออกกำลังกายที่ฟิตเนส ทุกคนล้วนใช้หูฟังแทบจะตลอดเวลา บางครั้งขณะทำงานเราก็เปิดเพลง ใส่หูฟังไปด้วย แต่บางครั้งหลายคนอาจจะใช้หูฟังแบบผิดๆ จนทำให้เกิดปัญหาในการสูญเสียการได้ยิน วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำแนะนำใน การใช้หูฟัง อย่างไรให้ปลอดภัยมาฝากกันค่ะ การใช้หูฟัง ทำให้สูญเสียการได้ยินได้หรือไม่ การที่ต้องเผชิญกับเสียงดังๆ อย่างในผับ คอนเสิร์ต หรือแม้กระทั่งในร้านคาราโอเกะ รวมไปถึงการใช้หูฟัง เปิดเพลงดัง ๆ เป็นเวลานาน กิจกรรมการได้รับเสียงดัง ๆ เหล่านี้ หากได้รับเสียงที่ดังในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดอันตรายต่อหู หรือเกิดความเสี่ยงในการสูญเสียการได้ยินได้ องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้มีการประมาณการไว้ว่าประชากรหนุ่มสาวกว่าหนึ่งพันล้านคนทั่วโลกนั้น อาจมีความเสี่ยงในการสูญเสียการได้ยิน จากในจำนวนนี้ ผู้ที่อายุ 13-35 ปี จำนวนมากว่า 43 ล้านคนใช้มีปัญหาในการสูญเสียการได้ยิน ซึ่งจำนวนร้อยละ 50 นั้นสูญเสียการได้ยินจากปัญหาในการใช้หูฟัง ใช้หูฟัง ให้ปลอดภัย ทำได้อย่างไร การใช้หูฟังให้มีความปลอดภัยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่างคือ ระดับความดัง ระยะเวลาในการใช้งาน และความถี่ที่ได้รับ ปัจจัยทั้งสามนี้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ซึ่งการได้รับเสียงดัง ในระยะเวลาสั้น อาจมีค่าเท่ากับการได้รับเสียงที่เบาลงแต่ได้รับนานขึ้น ระดับเสียงสูงสุดที่มีความเหมาะสมและปลอดภัย […]


โรคคอ

เจ็บคอ ช่วงหน้าฝน ฝนมาทีไรเจ็บคอทุกที มีวิธีดูแลตัวเองอย่างไรบ้างนะ

ช่วงหน้าฝน กลับมาอีกครั้ง หลายคนก็อาจจะเริ่มมีอาการ เจ็บคอ คัน ระคายเคืองที่ลำคอ กลืนน้ำและอาหารต่าง ๆ ได้ลำบาก พูดคุยไม่สะดวก จนรู้สึกรำคาญใจ เสียบุคลิกภาพ และเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต มาเตรียมตัวดูแลสุขภาพของเราให้แข็งแรงพร้อมรับหน้าฝนอย่างมีความสุขด้วยวิธีดูแลตัวเองที่ Hello คุณหมอ นำมาฝากทุกคนกัน อาการเจ็บคอ เกิดจากอะไร อาการ เจ็บคอ เกิดจากการติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งเรามีโอกาสได้รับเชื้อเหล่านี้สูงขึ้นใน ช่วงหน้าฝน เนื่องจากอากาศเริ่มเย็นลงและมีความชื้นสูงขึ้นจึงทำให้เชื้อไวรัสและแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ง่ายขึ้น นอกจากอาการเจ็บคอแล้ว ยังอาจมีอาการอื่น ๆ ตามมาด้วย เช่น เป็นหวัด คัดจมูก มีไข้ เป็นต้น อาการเจ็บคอ มีทั้งหมดกี่แบบ เราสามารถแบ่งอาการเจ็บคอ ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ อาการเจ็บคอแบบเฉียบพลัน (Acute sore throat) ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บคอเฉียบพลันเป็นบางวัน โดยอาจมีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ควบคู่ด้วย เช่น เป็นหวัด คัดจมูก มีไข้ รู้สึกปวดศีรษะ หรือปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นต้น อาการเจ็บคอแบบเรื้อรัง (Chronic […]


โรคคอ

โรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis)

โรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis) เป็นโรคที่พบได้ยาก เกิดจากความผิดปกติบริเวณหูชั้นกลางที่เกิดจากการก่อตัวของหินปูน เสียงจึงไม่สามารถเดินทางจากหูชั้นกลางไปยังหูชั้นในได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียการได้ยิน มีอาการเวียนศีรษะ คำจำกัดความโรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis) คืออะไร โรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis) เป็นโรคที่พบได้ยาก เกิดจากความผิดปกติบริเวณหูชั้นกลางที่เกิดจากการก่อตัวของหินปูน เสียงจึงไม่สามารถเดินทางจากหูชั้นกลางไปยังหูชั้นในได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียการได้ยิน มีอาการวิงเวียนศีรษะ อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงแพทย์อาจแนะนำให้คุณใช้เครื่องช่วยฟัง ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจต้องได้รับการผ่าตัด พบได้บ่อยเพียงใด ผู้ป่วยโรคหินปูนเกาะกระดูกหูมักจะเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในเพศหญิง ที่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี อาการอาการของโรคหินปูนเกาะกระดูกหู อาการหลักของโรคหินปูนเกาะกระดูกหู คือการสูญเสียการได้ยิน ในระยะแรกคุณอาจสังเกตได้ว่าคุณได้ยินเสียงเบาลง และได้ยินเสียงเบาลงเรื่อย ๆ ซึ่งอาจเริ่มจากการได้ยินเพียงข้างเดียว และในระยะเวลาต่อมาอาจสูญเสียการได้ยินเสียงทั้งสองข้าง รวมถึงอาการอื่น ๆ ดังนี้ วิงเวียนศีรษะ สูญเสียการทรงตัว หูอื้อ ได้ยินเสียงแว่วดังในหู ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของโรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis) ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานในการระบุสาเหตุที่แน่ชัดของโรค โดยโรคดังกล่าวเกิดจากสะสมของหินปูนบริเวณหูชั้นกลาง ทำให้เสียงไม่สามารถผ่านบริเวณหูชั้นกลาง ไปสู่บริเวณหูชั้นในได้  และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา ปัจจัยเสี่ยงของโรคหินปูนเกาะกระดูกหู ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหินปูนเกาะกระดูกหู มีดังนี้ กรรมพันธุ์  หากสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคหินปูนเกาะกระดูกหู นั้นแสดงว่าคุณอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว การตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหินปูนเกาะกระดูกหู ไปจนถึงการสูญเสียการได้ยินได้มากกว่าคนปกติ เพศและอายุ  เพศหญิงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหินปูนเกาะกระดูกหูมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะในช่วงอายุ 20-30 ปี   การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยโรคหินปูนเกาะกระดูกหู หากคุณสังเกตเห็นความผิดปกติเกี่ยวกับปัญหาการได้ยินควรรีบไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทางหรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทดสอบการได้ยินเสียงและซักถามประวัติผู้ป่วยรวมถึงสมาชิกในครอบครัวของคุณ  ในบางกรณีแพทย์อาจทำซีที สแกน  […]


โรคจมูก

มีกลิ่นเหม็นในจมูก ตลอดเวลา อาจเป็นเพราะสาเหตุเหล่านี้ก็ได้นะ

ในแต่ละวัน จมูกของเราได้รับกลิ่นมากมาย ทั้งกลิ่นหอมอย่างกลิ่นสบู่อาบน้ำ ยาสระผม น้ำหอม หรือกลิ่นเหม็นอย่างกลิ่นน้ำเสีย ไอเสียรถยนต์ อาหารบูดเน่า โดยปกติแล้ว เมื่อแหล่งที่มาของกลิ่นหายไป กลิ่นต่าง ๆ ก็จะหายไปด้วย แต่หากคุณรู้สึกว่า มีกลิ่นเหม็นในจมูก ตลอดเวลา จะอาบน้ำ ล้างจมูกยังไงกลิ่นก็ยังไม่หายไปไหน  จะมีสาเหตุมากจากอะไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณค่ะ [embed-health-tool-bmi] มีกลิ่นเหม็นในจมูกอาจมาจากสาเหตุเหล่านี้ ปัญหากลิ่นในจมูก เกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ ไซนัสอักเสบ ภาวะไซนัสอักเสบ (Sinusitis) หรือการติดเชื้อที่ไซนัส สามารถเกิดได้จากทั้งเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา นั่นทำให้อาการของไซนัสอักเสบค่อนข้างหลากหลายและแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่อาการหนึ่งที่เหมือนกันในผู้ป่วยไซนัสอักเสบทุกคนก็คือ มีกลิ่นเหม็นในจมูก รวมถึงมีอาการเหล่านี้ รับรสและกลิ่นได้น้อยลง ปวดศีรษะ มีแรงกดที่ใบหน้า น้ำมูกไหลลงคอ หรือเสมหะไหลลงคอ (Postnasal Drip) เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไซนัสเฉียบพลันจะมีอาการประมาณ 7-12 วัน แต่หากเป็นไซนัสเรื้อรัง อาจมีอาการนานกว่า 12 สัปดาห์ และหากไม่รักษา ก็อาจส่งผลให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น ริดสีดวงจมูก ริดสีดวงจมูก […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน