หู คอ จมูก

หู จมูก และคอ เป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นปกติ การรักษาสุขภาพของหู จมูก และคอ ให้มีสุขภาพดี จะช่วยให้เรามีความสุขกับการใช้ชีวิตในแต่ละวันได้มากยิ่งขึ้น Hello คุณหมอ จึงขอรวบรวมเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของ หู คอ จมูก ไว้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

หู คอ จมูก

หูอื้อ ทําไง สาเหตุของหูอื้อ และวิธีบรรเทาอาการ

อาการหูอื้อ เป็นอาการที่พบได้บ่อย บางครั้งเกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมบางชนิด แต่บางครั้งอาการหูอื้อ เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพ สาเหตุของหูอื้อ เกิดจากอะไร  หูอื้อ ทําไง วิธีบรรเทาให้อาการดีขึ้น [embed-health-tool-heart-rate] ภาวะหูอื้อ คืออะไร หูอื้อ เป็นภาวะที่ความสามารถในการรับเสียงแย่ลง โดยสามารถแบ่งระดับความรุนแรงของการได้ยิน หากระดับการได้ยินอยู่ที่ 0-25 dB หรือเดซิเบล (DECIBEL) การได้ยินยังเป็นปกติ แต่ถ้าเริ่มระดับการได้ยินอยู่ที่ 26-40 dB จะเริ่มมีอาการหูอื้อเล็กน้อย ทำให้ไม่ได้ยินเสียงกระซิบ ถ้าเดซิเบลยิ่งมากขึ้น หมายความว่า จะเริ่มไม่ได้ยินเสียงพูดคุยหรือแม้แต่เสียงดัง และจะเข้าสู่ระดับความพิการ หูหนวก เมื่อมากกว่า 90 dB วิธีทดสอบอาการหูอื้อ เมื่อการได้ยินลดลง ความคมชัดของเสียงลดลง หรือมีเสียงรบกวนในหู อาการต่าง ๆ เหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน รู้สึกได้ทันทีถึงความผิดปกติของการได้ยิน เว้นแต่ในบางกรณีที่อาการหูอื้อค่อย ๆ มีมากขึ้น โดยอาการหูอื้อ สามารถทดสอบได้กรณีที่หูสองข้างได้ยินไม่เท่ากัน ดังนี้ ใช้นิ้วมือถูเบา ๆ บริเวณหน้ารูหูทีละข้าง  สังเกตความแตกต่างของระดับเสียงที่ได้ยิน สาเหตุของหูอื้อ สาเหตุสำคัญของอาการหูอื้อ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ การอุดกั้นสัญญาณเสียง เกิดในส่วนของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง […]

หมวดหมู่ หู คอ จมูก เพิ่มเติม

สำรวจ หู คอ จมูก

โรคจมูก

หายใจไม่สะดวก คัดจมูกบ่อยๆ อาจมีสาเหตุมาจาก ผนังกั้นช่องจมูกคด

ผนังกั้นช่องจมูกคด เกิดขึ้นเมื่อผนังจมูกมีการผิดรูป 1 ข้าง ซึ่งทำให้รูเข้าอากาศของรูจมูกข้างหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าอีกข้างหนึ่ง ซึ่งบางคนมีอาการคดมากจนอากาศที่เข้าไปในร่างกายได้น้อย และหายใจได้ยาก วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนไปรู้จักกับอาการผนังกั้นช่องจมูกคดว่าเกิดจากอะไร ส่งผลอย่างไรต่อร่างกายบ้าง ผนังกั้นช่องจมูกคด (Deviated Nasal Septum) คืออะไร ผนังกั้นช่องจมูกเป็นกระดูกอ่อนที่อยู่ตรงกลางระหว่างรูจมูกทั้ง 2 ข้าง โดยปกติแล้วผนังกั้นจะแบ่งรูจมูกทั้งสองข้างได้อย่างเท่าๆ กัน แต่ในบางกรณีจะมีการกั้นที่ผิดรูป รูจมูกข้างหนึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่าอีกข้างหนึ่ง สำหรับผู้ที่มีผนั้งกั้นช่องจมูกแบ่งได้ไม่เท่ากัน หรือมีความเล็กใหญ่แตกต่างกันมากจะเรียกว่าผนังกั้นช่องจมูกคด ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น จมูกตัน หายใจลำบาก หรืออาจเป็นต้นเหตุของอาการนอนกรน  โดยปกติแล้วร้อยละ 80 ของคนทั่วไปนั้นผนังกั้นช่องจมูกจะมีความเอียงแต่สำหรับผู้ที่ผนังกั้นช่องจมูกมีความเอียงมากจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือส่งผลกระทบต่อร่างกายควรเข้ารีบการปรึกษาจากแพทย์เพื่อหาวิธีในการรักษาต่อไป เมื่อ ผนังกั้นช่องจมูกคด จะมีอาการอย่างไร สำหรับคนที่มีอาการผนังกั้นช่องจมูกคด นั้นจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละคน บางคนที่มีสัดส่วนการคดที่น้อยก็อาจไม่แสดงอาการเลยก็ได้ ส่วนคนที่มีสัดส่วนการคดมากจะมีอาการต่างๆ ดังนี้ หายใจลำบาก โดยรูจมูกข้างหนึ่งหายใจได้สะดวกกว่าอีกข้าง เลือดกำเดาไหล มีการติดเชื้อไซนัส จมูกแห้ง มีอาการนอนกรน นอนหายใจดัง มีอาการคัดจมูก หรือมีความดันในจมูกผิดปกติ สำหรับบางคนอาจจะมีอาการปวดที่บริเวณหน้า เพราะข้างที่รูจมูกเล็กจะมีแรงดันในการหายใจมากกว่าปกติ เมื่อหายใจก็อาจส่งผลให้มีอาการปวดบริเวณหน้าได้ สำหรับคนที่เลือดกำเดาไหลบ่อยๆ หรือมีการติดเชื้อไซนัสควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับการรักษา สาเหตุของผนังกั้นช่องจมูกคด การที่ผนังกั้นช่องจมูกคดโดยมากแล้วมักจะเป็นมาตั้งแต่เกิด แต่ก็มีสาเหตุอย่างอื่นได้อีก เช่น การเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อจมูก จมูกได้รับความกระทบกระเทือนจนกระทั่งมีความคด งอ หรืออาจจะเกิดจากการเล่นกีฬา เช่น มวย หรือกีฬาอย่างอื่นๆ […]


โรคหู

แมลงเข้าหู ไม่ออกสักที ลองจัดการด้วยวิธีนี้

อุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันมักเกิดขึ้นกับคนเราได้ตลอดเวลา ไม่เว้นแม้แต่เวลาที่เราระมัดระวังตนเองและใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท แต่จู่ ๆ คุณอาจถูกแมลงตัวเล็ก ๆ จากที่ไหนไม่รู้บินเข้ามาในหู จนทำให้เกิดอาการเจ็บหรืออาการปวดหูขึ้นมาได้ แล้ว แมลงเข้าหู จะส่งผลเสียอย่างไร และจะมีวิธีนำแมลงออกจากหูอย่างไรได้บ้าง มาดูกัน [embed-health-tool-bmr] อาการที่เกิดจาก แมลงเข้าหู เมื่อแมลงบินเข้ามาในหูเรา ไม่เพียงแต่เราเท่านั้นที่ต้องการให้แมลงหลุดออกมาจากรูหู แมลงเองก็ต้องการที่จะหลุดออกมาด้วยเช่นกัน อาการต่าง ๆ ที่เกิดจากแมลงเข้าหู อาจมีสาเหตุมาจากการขยับตัวของแมลงเพื่อหาทางออกจากรูหู หรืออาจมาจากการถูกแมลงกัด ซึ่งอาการที่เกิดจากแมลงเข้าไปอยู่ในหู มีดังนี้ รู้สึกถึงการมีบางสิ่งอุดตันอยู่ภายในหู มีอาการบวมที่หู ใบหูแดง มีเลือดออก หรือในบางรายอาจมีหนองไหลออกมา สูญเสียการได้ยิน วิธีนำแมลงออกจากหู วิธีนำแมลงออกจากหูนั้น สามารถที่จะทำได้ดังนี้ เอียงศีรษะของผู้ที่มีแมลงอยู่ในหูลงบนหมอนหรือตัก หากแมลงยังมีชีวิตอยู่ ให้หยดน้ำอุ่น หรือน้ำมันที่สกัดจากพืชลงไป จากนั้นให้โยกศีรษะไปมา หากแมลงตายแล้ว สามารถที่จะทำให้แมลงออกมาจากหูด้วยการหยดน้ำอุ่นเข้าไปในหู จากนั้นค่อย ๆ ตะแคงหู เพื่อให้แมลงไหลออกมา หากมองเห็นแมลงได้ชัดเจน และมีการพิจารณาแล้วว่าสามารถดึงออกได้ ให้ใช้แหนบค่อย ๆ ดึงตัวแมลงออกมา ข้อสำคัญคือระมัดระวังไม่ให้มีการดันแหนบลงลึกจนเกินไป หรือมีการดึงออกแรงจนเกินไป หากไม่ใช่ในทุกกรณีที่กล่าวไป ทั้งยังมองไม่เห็นตัวแมลง หรือแมลงยังคงมีชีวิตอยู่แม้จะพยายามทุกวิธีแล้ว ให้ไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาและนำแมลงออกมาโดยทันที ข้อควรระวัง ข้อควรระวังในการนำสิ่งใดออกจากหูไม่ว่าจะขี้หู หรือแมลงก็ตาม ควรระมัดระวังที่จะไม่ให้มีการออกแรงมากจนเกินไป เนื่องจากเนื้อเยื่อภายในหูนั้นมีความบอบบาง […]


โรคหู

คันหู คันจริง ไม่รู้เพราะอะไร รับมือยังไงถึงจะหาย

อาการคันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายนั้น แค่เกา หรือใช้ยารักษาอาการคัน ก็ช่วยให้ทุเลาลงได้ แต่ถ้าเกิดอาการคันที่ใบหู หรือในรูหู ที่ซึ่งยากต่อการเกาล่ะ จะเป็นอย่างไร? แล้วอาการ คันหู เกิดจากอะไร? มาหาคำตอบได้กับบทความนี้จาก Hello คุณหมอ ทำไมเราถึง คันหู อาการคันหูนั้นสร้างความรำคาญใจให้เราได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ทำให้เรามีความรู้สึกคะยุกคะยิกในหูอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการคันหู อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ผิวแห้ง ถ้าหูของเรานั้นมีขี้หูอยู่ไม่มากพอล่ะก็ หูของเราก็จะแห้งและคันได้ง่ายขึ้น แม้การมีขี้หูอาจจะดูไม่ดีในแง่ของความสะอาด แต่ถ้าหูของเราผลิตขี้หูออกมาน้อยเกินไป ใบหูของเราก็จะมีสภาพผิวแห้งและมีอาการคันตามมานั่นเอง ผิวหนังอักเสบที่บริเวณช่องหู การอักเสบที่ผิวหนังบริเวณช่องหูนั้น อาจมาจากอาการแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับผิวหนังและใช้กับหู ร่วมถึงโลหะประเภทต่าง ๆ เช่น ตุ้มหู หรือเครื่องประดับหูแบบอื่น ๆ เมื่อเกิดอาการอักเสบหรือเป็นแผล จึงทำให้มีอาการคันที่บริเวณหูตามมาด้วย การอักเสบที่หูชั้นนอก หากหูบริเวณชั้นนอกเกิดการอักเสบ หรือมีการติดเชื้อ ก็จะมีอาการบวมและแดง รวมถึงก่อให้เกิดอาการปวดหู และมีอาการคันหูร่วมเข้ามาด้วย อุปกรณ์ช่วยฟัง การใช้งานอุปกรณ์ที่ช่วยในเรื่องของการฟัง ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคันหู อาจเนื่องด้วยการเลือกเครื่องช่วยฟังที่ไม่เหมาะสม หรือไม่มีการทำความสะอาด ทำให้เกิดสิ่งสกปรกเข้ามาที่ใบหูของเราได้ โรคสะเก็ดเงิน อีกหนึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการคันหู ก็คือโรคสะเก็ดเงิน ที่ทำให้ใบหูมีอาการเป็นผื่นแดง และพ่วงมาด้วยอาการคันบริเวณที่เป็นผื่นแดงนั้น คันหู มีอาการแบบนี้ สำหรับอาการคันหูนั้น โดยทั่วไปแล้วจะมีอาการคัน ส่วนจะคันมากคันน้อยก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล และแต่ละเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิด แต่จะก่อให้เกิดความรำคาญ และความไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว เวลาที่รู้สึกคันแล้วเกา การเกาเหมือนจะช่วยให้อาการคันเหล่านั้นดีขึ้นมาได้ แต่หากเกามากไปก็สามารถที่จะทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิมได้เช่นกัน […]


โรคหู

เคลียร์ ! รูหู ให้สะอาด ห่างไกลจาก ขี้หูสะสม

แน่นอนว่า ขี้หูสะสม สามารถเกิดได้กับทุกคนอยู่แล้ว ใครที่ชอบเอามือไป แคะ แกะ เกา หรือล้วงขี้หูออกด้วยนิ้วเปล่า ไม่ได้หมายความว่าในช่องหูของคุณจะสะอาดขึ้นนะ แต่ยิ่งกลับทำให้มีขี้หูมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ แถมยังติดเชื้อโรคจากนิ้วมือของเราที่สัมผัสวัตถุรอบข้างไปได้โดยตรงอีกต่างหาก มาเคลียร์รูหูให้สะอาด และปลอดภัยไปพร้อมกันกับ Hello คุณหมอ กันเถอะ การสะสมของขี้หู (Earwax buildup) คือ… ภายในช่องหูของคนเรานั้นจะผลิตน้ำมันที่มีลักษณะสีเหลืองออกมาจากต่อมไขมันคล้ายกับขี้ผึ้ง ที่เรียกว่า (cerumen) ซึ้งขี้หูเป็นด่านแรกที่ป้องกันดักจับฝุ่นละออง สิ่งแปลกปลอม และจุลินทรีย์ ที่เข้ามาภายในหู นอกจากนี้ยังช่วยปกป้องการระคายเคืองอันเนื่องมาจากน้ำ เช่น น้ำเข้าหูส่งผลให้หูอื้อ หากไม่ทำความสะอาด รูหู สามารถส่งผลเสียอย่างไรบ้าง ขี้หูมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย และมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย แต่หากต่อมไขมันผลิตขี้หูมากเกินไปจะสามารถก่อตัวเป็นก้อนสีเหลืองแข็ง ยิ่งสะสมเป็นเวลานาน ขนาดของขี้หูนี้จะขยายใหญ่ขึ้นอยู่ในส่วนลึกในบริเวณช่องหู อาจทำให้คุณสูญเสียการได้ยินในแบบชั่วคราว หรือถาวร รีบเคลียร์ ขี้หูสะสม เมื่อเริ่มมีสัญญาณเหล่านี้เตือนคุณ อาการคัน หูอื้อ อาการปวดหูหน่วงๆ จนถึงรุนแรง รู้สึกเจ็บภายในช่องหูของคุณ มีน้ำสีเหลืองแฉะอยู่บริเวณช่องหู บางรายสามารถมีอาการเวียนหัว ไข้ขึ้น ไอ เนื่องจากแรงกดดันจากการอุดตันกระตุ้นเส้นประสาทในหู กลิ่นอันไม่พึงประสงค์จากช่องหู ขี้หูในเด็ก : หากไม่มั่นใจในอาการว่าลูกของคุณมีขี้หูสะสม ควรเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรเฉพาะทาง เพื่อตรวจสอบขอแนะนำในการดูแลช่องหูของลูกคุณเพราะขี้หูสะสมสามารถทำลายชั้นหูของเด็กได้ ขี้หูในผู้สูงอายุ : ขี้หูสะสมยังคงเป็นปัญหาในวัยผู้สูงอายุ เนื่องจากบางคนอาจปล่อยให้ขี้ผึ้งสีเหลืองนี้สะสมจนได้เสียงดูอู้อี้ในช่องหู เริ่มได้ยินเสียงรอบตัวติดขัด จนไปถึงขั้นการสูญเสียการได้ยิน จบปัญหา ขี้หูสะสม ให้สุขภาพช่องหูของคุณสะอาด ด้วยของใช้ในบ้าน น้ำอุ่น : น้ำอุ่นช่วยให้ขี้หูอ่อนนุ่ม […]


โรคหู

ผู้สูงอายุเสียการทรงตัวเพราะ โรคหินปูนในหูชั้นในหลุด จริงหรือ?

ทุกคนได้สังเกตอาการของปู่ ย่า ตา ยาย หรือพ่อแม่ ของเรากันบ้างหรือเปล่า ว่าทำไมถึงมีอาการเดินเซไป เซมา ขณะที่เคลื่อนไหวหรือลุกนั่งแบบเฉียบพลัน แถมยังมีอาการวิงเวียนศีรษะจนถึงขั้นหมดสติ ในบางครั้งอาจเกิดจากเป็นอาการที่เกิดจาก โรคหินปูนในหูชั้นในหลุด บทความนี้ Hello คุณหมอมีคำตอบมาคลายความสงสัยให้ทุกคนได้ทราบกัน สาเหตุที่ทำให้เกิด โรคหินปูนในหูชั้นในหลุด มาจากอะไรกัน… โรคหินปูนในหูชั้นในหลุด (Benign paroxysmal positional vertigo) เรียกสั้นๆ ได้ว่า (BPPV)  คือโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของหินปูนในหูชั้นใน มีลักษณะคล้ายก้นหอยซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว โดยภายในหูของคุณจะมีผลึกเล็กๆ ของแคลเซียม คาร์บอเนต (calcium carbonate) ที่ยึดเกาะกับเส้นประสาทสามารถรับรู้ทางการเคลื่อนไหวหรือการทรงตัว โดยหินปูนจะเคลื่อนที่ตามกิริยาท่าทางในรูปแบบครึ่งวงกลม ยกตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังเอียงศีรษะไปทางขวา หินปูชิ้นนี้ก็จะเอียงตามไปทางขวา หากเอียงศีรษะไปทางซ้าย หินปูชิ้นนี้ก็จะเอียงตามไปทางซ้ายเช่นกัน สาเหตุที่อาจทำให้หินปูนนั้นหลุดออกมา สามารถเกิดได้จากการหมุนศีรษะที่รวดเร็วเกินไป หรือเกิดจากอุบัติเหตุที่กระทบกับหูโดยตรง ส่งผลให้การทรงตัวนั้นผิดปกติ เอนเอียง รู้สึกวิงเวียนศีรษะเหมือนกับโลกกำลังหมุนรอบตัวคุณ โรค BPPV นั้นเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย แต่จะถูกค้นพบมากที่สุดในกลุ่มผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ลองเช็กอาการเบื้องต้นว่าคุณกำลังเป็น โรคหินปูนในหูชั้นในหลุด อยู่หรือไม่ ? โรคหินปูนในหูชั้นในหลุดค่อนข้างที่จะไม่เป็นอันตรายมากนักขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของแต่ละบุคคลว่าพฤติกรรมในชีวิตประจำวันสุ่มเสี่ยงที่จะเป็นมากน้อยแค่ไหน สามารถสังเกตได้ง่ายๆ เมื่อคุณกำลังมีอาการเหล่านี้ ขณะที่คุณลุกขั้นยืนจากการนอน […]


โรคจมูก

เลือดกำเดาไหลออกจากจมูกส่วนไหนกันแน่

เลือดกำเดาไหล หมายถึงอาการที่มีเลือดไหลออกจากจมูก ข้างใดข้างหนึ่งหรือสองข้างพร้อมกันก็ได้ แม้ว่าอาการเลือดกำเดาไหลนั้นอาจจะดูน่ากลัว แต่โดยปกติแล้วมักจะไม่เป็นอันตรายใดๆ มีใครรู้บ้างว่าแท้จริงแล้วนั้น เลือดกำเดาไหลออกจากส่วนไหนของจมูก เข้าใจถึงโครงสร้างของจมูก โครงสร้างของจมูกนั้นประกอบด้วย กระดูกและกระดูกอ่อนภายใต้ผิวหนัง ซึ่งเป็นตัวกำหนดขนาดและรูปร่างของจมูก ส่วนโครงสร้างอื่นๆ ภายในและด้านหลังจมูกจะช่วยในการหายใจ กระดูกทำหน้าที่รองรับส่วนสะพานจมูก และกระดูกอ่อนส่วนบนรองรับด้านข้างจมูก กระดูกอ่อนส่วนล่างช่วยกำหนดความกว้าง ความสูง ฐานรอบๆ จมูก และกำหนดรูปร่างของรูจมูกและปลายจมูก ภายในโพรงจมูกนั้นจะมีช่องกลวงภายในด้านหลังของจมูกเพื่อให้อากาศไหลผ่านได้ ส่วนผนังกลางจมูก (Septum) ที่สร้างขึ้นมาจากกระดูกอ่อนและกระดูกนั้นคั่นกลางระหว่างรูจมูกทั้งสอง ส่วนกระดูกม้วน (Turbinates) ที่ด้านข้างจมูกแต่ละด้านมีลักษณะเป็นแนวกระดูกโค้งที่เชื่อมต่อกับเยื่อเมือก ทำหน้าที่เพิ่มความอุ่นและความชื้นให้กับอากาศที่ไหลผ่านเข้ามา โพรงจมูกหรือไซนัส (Sinuses) คือช่องกลวงด้านข้างจมูกที่ช่วยให้อากาศไหลเวียนถ่ายเทได้ โดยปกติ น้ำมูกจะออกมาจากโพรงจมูกและไหลออกจากจมูกผ่านทางรูจมูก เลือดกำเดาไหล มาจากตรงไหนกันแน่ เลือดกำเดาไหลมาได้จาก 2 จุดภายในจมูก คือบริเวณส่วนด้านหน้าของจมูก (Anterior) และส่วนด้านหลังของจมูก (Posterior) และสามารถระบุแหล่งที่มาของเลือดกำเดาไหลได้โดยการแยกแยะจากจุดบริเวณที่เลือดกำเดาไหลออกมา เลือดกำเดาไหลจากจมูกส่วนหน้า (Anterior nosebleeds) เป็นลักษณะของเลือดกำเดาไหลส่วนใหญ่ ผนังกลางจมูกที่คั่นระหว่างรูจมูกทั้งสองรูนั้นมีหลอดเลือดฝอยซึ่งเปราะบางอยู่มากมาย เมื่อหลอดเลือดฝอยนั้นแตกเนื่องจากแรงกระแทกที่จมูก หรือจากการแคะจมูก ก็จะทำให้มีเลือดกำเดาไหลออกจากหลอดเลือดฝอยนั้น เลือดกำเดาไหลจากจมูกส่วนหลัง (Posterior nosebleeds) เลือดกำเดาไหลชนิดนี้พบได้น้อย จุดกำเนิดของเลือดกำเดาไหลอยู่ในส่วนที่ลึกที่สุดที่คือด้านหลังของจมูก โดยมักจะไหลลงสู่ลำคอแม้ว่าเราจะนั่งหรือยืนก็ตาม เลือดกำเดาชนิดนี้พบได้มากในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่มีอาการบาดเจ็บบนใบหน้า การแยกแยะระหว่างเลือดกำเดาไหลทั้งสองประเภทนั้นอาจจะเป็นเรื่องยาก เนื่องจากเลือดกำเดาไหลทั้งสองประเภทล้วนแล้วแต่จะไหลลงคอถ้าหากเงยหน้าหรือนอนหงาย ดังนั้น เมื่อมีเลือดกำเดาไหล […]


โรคหู

ทำความสะอาดหู วิธีที่ดีที่สุดคืออะไร และมีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง

หลายคนคิดว่าวิธี ทำความสะอาดหู หรือ แคะหู ที่ดีที่สุดคือการใช้คัตเติ้ลบัต หรือบางคนอาจเคยได้ยินมาว่า ไม่ต้องทำอะไรเลย และห้ามแคะหูเด็ดขาด สรุปแล้วเราควรทำความสะอาดหูอย่างไรกันแน่ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดและแย่ที่สุด มีดังต่อไปนี้ [embed-health-tool-bmi] วิธีที่ดีที่สุดในการ ทำความสะอาดหู ส่วนใหญ่แล้ว คุณหมอมักจะไม่แนะนำให้นำอะไรไป แคะหู เพราะโดยปกติหูของเรามักจะสามารถทำความสะอาดตัวเองได้ และไม่ต้องการการดูแลความสะอาดเพิ่มเติม แต่เหตุผลที่คุณควรทำความสะอาดหูก็เพื่อ ทำให้ขี้หูที่มีเนื้อแข็งเปลี่ยนเป็นขี้หูที่เนื้ออ่อนลง หรือเพื่อกำจัดขี้อยู่ที่อยู่ด้านนอกรูหู ซึ่งถ้าคุณต้องการทำความสะอาดขี้หู จำเป็นต้องทำอย่างระมัดระวัง การปรึกษาแพทย์ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะคุณหมอจะมีเครื่องมือที่ช่วยกำจัดขี้หูออกจากหู ส่วนวิธีทำความสะอาดขี้หูที่บ้านนั้น มีคำแนะนำดังต่อไปนี้ ระวังเวลาใช้คอตตอนบัด คอตตอนบัดอาจดันขี้หูให้เข้าไปในรูหูมากยิ่งขึ้น ดังนั้นควรใช้แค่บริเวณด้านนอก หรือเลือกเช็กใบหูด้วยผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่นแทน ยาหยอดหู ที่ร้านขายยามียาหยอดหูขาย ที่มีฤทธิ์ทำให้ขี้หูนิ่มขึ้น โดยยาหยอดหูอาจประกอบไปด้วยสารประกอบหลายอย่าง เช่น น้ำเกลือ น้ำมันแร่ (Mineral oil) เบบี้ออยล์ กลีเซอรีน (Glycerin) เพอร์ออกไซด์ (Peroxide) หากซื้อยาหยอดหูมา ควรปรึกษาเภสัชกรหรือปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง ใช้กระบอกฉีดยา (Syringe) คุณอาจจะเลือกใช้ไซริง หรือกระบอกฉีดยา เพื่อทำความสะอาดหู แต่ควรปรึกษาแพทย์ และเภสัชกรก่อนใช้วิธีนี้ เพราะถ้าทำด้วยตัวเองอาจทำให้น้ำเข้าหูได้ วิธีที่ไม่ควรทำสำหรับการทำความสะอาดหู นอกจากคัตเติ้ลบัตแล้ว ไม่ควรแคะหูด้วยอุปกรณ์อื่น ยกเว้นในกรณีที่อยู่ในการดูแลของแพทย์ แต่หากทำความสะอาดหูด้วยตัวเอง ไม่ควรใช้อุปกรณ์เหล่านี้ ได้แก่ เทียนหู (Ear candles) งานวิจัยชี้ว่าอาจไม่มีประสิทธิภาพในการกำจัดขี้หู รวมถึงอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ […]


โรคหู

นิ่วทอนซิล ตัวการของกลิ่นปากกวนใจ ที่หลายคนอาจไม่รู้

กลิ่นในร่างกายถือเป็นปัญหาใหญ่ ที่บั่นทอนความมั่นใจของใครหลายๆ คน โดยเฉพาะปัญหา กลิ่นปาก ที่หลายคนรู้ว่าส่วนใหญ่แล้วเกิดจากปัญหาเศษอาหารตกค้างอยู่ตามซอกฟัน สามารถขจัดได้ด้วยการแปรงฟัน ใช้น้ำยาบ้วนปาก ใช้ไหมขัดฟัน เป็นต้น แต่กับบางคน แม้จะทำความสะอาดช่องปากดีแล้ว กลิ่นปากกลับไม่ยอมหายไปไหน นั่นอาจเป็นเพราะ คุณมี นิ่วทอนซิล อยู่ในลำคอก็เป็นได้ [embed-health-tool-bmr] นิ่วทอนซิล… ก้อนจิ๋วเจ้าปัญหา ต่อมทอนซิล เป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองในช่องคอ มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน คอยจับและทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายผ่านทางเดินอาหาร และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย แต่บางครั้งต่อมทอนซิลก็สร้างปัญหา ติดเชื้อเป็นทอนซิลอักเสบ เกิดมีนิ่วทอนซิล เป็นต้น ต่อมทอนซิลที่เห็นชัดที่สุดอยู่บริเวณด้านข้างช่องปาก ซึ่งจะมีร่องหรือซอก (crypts / crevices) ที่แบคทีเรียและสารต่างๆ เช่น เศษอาหาร เซลล์ที่ตายแล้วสามารถเข้าไปติดอยู่ได้ เมื่อแบคทีเรียและเอนไซม์ในน้ำลาย รวมตัวกับเศษอาหารหรือเซลล์ที่ตายแล้ว ซึ่งหลุดออกมาในซอกดังกล่าว เกิดเป็นก้อนแข็งเล็กๆ สีขาวหรือสีเหลือง ที่เรียกกันว่า นิ่วทอนซิล ก้อนทอนซิล ขี้ไคลทอนซิล ขี้ทอนซิล หรือทอนซิลสโตน (Tonsil Stones) และบางครั้งอาจเป็นก้อนขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายก้อนแคลเซียม (Tonsillolith) ทั้งนี้ มีผลงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุว่า นิ่วทอนซิลนี้อาจเป็นสาเหตุสำคัญของกลิ่นปากที่ไม่ทราบสาเหตุ หรือแก้ไขไม่ได้ รวมไปถึงผลการศึกษาวิจัยของ State University […]


โรคหู

ต่อมทอนซิล ผ่าตัดต่อมทอนซิลมีข้อดีข้อเสียอย่างไร..มาดูกัน

มีไข้หนาวสั่น เจ็บคออย่างรุนแรง กินอาหารและน้ำลำบาก จะกลืนน้ำลายยังแทบทำไม่ได้ ถือเป็นอาการของภาวะทอนซิลอักเสบที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในแต่ละวันเป็นอย่างยิ่ง บางคนที่ต่อมทอนซิลอักเสบบ่อยๆ จึงตัดสินใจตัดไฟแต่ต้นลมด้วยการผ่าตัดต่อมทอนซิลทิ้ง แต่ก่อนจะตัดสินใจเช่นนั้น มาทำความรู้จักกับการผ่าตัด ต่อมทอนซิล เสียก่อน ผ่าตัด ต่อมทอนซิล คืออะไร การผ่าตัดต่อมทอนซิล (tonsillectomy) คือการผ่าเอาต่อมทอนซิลออก เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับต่อมทอนซิล เช่น มีแนวโน้มเป็นมะเร็งต่อมทอนซิล ต่อมทอนซิลโตจนนอนกรน หรือมีภาวะหยุดหายใจ ทอนซิลอักเสบ ต่อมทอนซิลเป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่อยู่ในคอ มีหน้าที่กำจัดเชื้อโรคและป้องกันไม่ให้ร่างกายติดเชื้อ แต่บางครั้งก็สามารถสร้างปัญหาสุขภาพให้กับเราได้เช่นกัน โดยเฉพาะในเด็ก บางคนที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับต่อมทอนซิล เช่น ทอนซิลอักเสบเป็นประจำ ทำให้มีอาการเจ็บคอ หายใจและกลืนลำบาก รวมไปถึงหูติดเชื้ออยู่บ่อยๆ รักษาด้วยยาแล้วไม่หาย จึงเลือกรักษาด้วยการผ่าตัดต่อมทอนซิล ซึ่งถือเป็นวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุด แต่ถึงอย่างนั้นก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ไม่ต่างจากวิธีการรักษาอาการเจ็บป่วยอื่นๆ ผ่าตัดต่อมทอนซิลแล้ว…ดีอย่างไร ข้อดีที่เด่นชัดของการผ่าตัดต่อมทอนซิลก็คือ ช่วยขจัดอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเพราะปัญหาเกี่ยวกับต่อมทอนซิล ที่พบบ่อยๆ ได้แก่ ภาวะทอนซิลอักเสบ ยกตัวอย่างผู้ป่วยในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่แพทย์วินิจฉัยว่าควรผ่าตัดต่อมทอนซิล ส่วนใหญ่เคยมีอาการทอนซิลอักเสบ หรือเจ็บคอมากกว่าปีละ 4 ครั้ง ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการกินอาหารอย่างมาก เพราะนอกจากจะทำให้กินอาหารและดื่มน้ำลำบากแล้ว ร่างกายยังต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค จนเป็นเหตุให้รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไม่สบายตัว การผ่าตัดต่อมทอนซิลจึงช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น และส่วนใหญ่มีปัญหาคอติดเชื้อน้อยลง ความเสี่ยงที่ต้องรู้ ก่อนคิดผ่าตัดต่อมทอนซิล แม้การผ่าตัดต่อมทอนซิลจะมีข้อดี ช่วยให้คุณไม่ต้องเผชิญปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับต่อมทอนซิล […]


โรคหู

น้ำในหูไม่เท่ากัน ลดการกินเค็มอาจช่วยได้

น้ำในหูไม่เท่ากัน ไม่ใช่โรคที่ควรมองข้าม เพราะอาการของโรค เช่น เวียนศีรษะแบบบ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน หูอื้อ ฟังไม่ค่อยได้ยิน ล้วนแต่สร้างปัญหาในการใช้ชีวิตให้กับผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ได้ทั้งสิ้น แต่รู้หรือไม่ว่า เพียงแค่คุณใส่ใจในการกิน โดยกินอาหารรสเค็มให้น้อยลง เพื่อลดปริมาณโซเดียมในร่างกาย อาการน้ำในหูไม่เท่ากันก็สามารถดีขึ้นได้ Hello คุณหมอ จะพาคุณไปดูกัน โรค น้ำในหูไม่เท่ากัน คืออะไร โรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Ménière disease) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นใน เนื่องจากของเหลวภายในหูชั้นใน ที่คอยกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกมีปริมาณมากเกินไป หรือเกิดสภาวะบวมคั่งอยู่ภายในหูชั้นใน จนปิดกั้นอวัยวะสำคัญที่คอยทำหน้าที่ควบคุมระบบการทรงตัวและการได้ยิน ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาด้านการทรงตัวและการได้ยิน โดยอาจมีอาการดังนี้ อาการหลัก เวียนศีรษะแบบบ้านหมุน (Vertigo) มีเสียงอื้อในหู (Tinnitus) ได้ยินไม่ค่อยชัด รู้สึกแน่นในหูแบบเป็น ๆ หาย ๆ อาการร่วม วิตกกังวล ตาเบลอ คลื่นไส้อาเจียน หรือท้องเสีย ตัวสั่น มีเหงื่อเย็น และหัวใจเต้นเร็ว ผู้ป่วยโรคน้ำในหูไม่เท่ากันส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัย 20-50 ปี โดยเริ่มแรกจะมีอาการที่หูเพียงข้างเดียว อาการแต่ละครั้งจะยาวนานตั้งแต่ 20 นาที ถึง 4 ชั่วโมง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาการจะค่อย ๆ แย่ลง จนอาจถึงขั้นมีเสียงอื้อในหู หรือสูญเสียการได้ยินถาวร การกินเค็มกับโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน แม้การกินอาหารรสเค็มจะไม่ใช่สาเหตุของโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน แต่หากคุณกำลังป่วยเป็นโรคนี้อยู่ การกินอาหารรสเค็มจัด จะทำให้ร่างกายคุณจะได้รับปริมาณโซเดียมมากเกินไป จนอาจส่งผลให้อาการโรคน้ำในหูไม่เท่ากันของคุณแย่ลงได้ เนื่องจากโซเดียมทำให้เกิดภาวะบวมคั่งของของเหลวในหูชั้นใน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน