backup og meta

ชาดอกเสาวรส เคล็ดลับของการนอนหลับที่คุณไม่ควรพลาด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 23/06/2021

    ชาดอกเสาวรส เคล็ดลับของการนอนหลับที่คุณไม่ควรพลาด

    หลายคนที่มีปัญหาในการนอน ทั้งนอนไม่หลับ หลับแล้วแต่ไม่สนิท นอนไม่เต็มอิ่ม จึงเลือกวิธีแก้ปัญหาเหล่านั้นด้วยการดื่มชา ซึ่งนอกจากชาเขียว และชาดำ ที่คุ้นเคยกันดีแล้ว ยังมีชาดอกเสาวรสที่คุณไม่ควรพลาด เพราะการดื่ม ชาดอกเสาวรส ช่วยให้คุณนอนหลับสบายขึ้น ได้ แต่ที่มาที่ไปจะเป็นอย่างไร มาหาคำตอบกันในบทความของ Hello คุณหมอ กันเลย

    ดอกเสาวรส คืออะไร

    ดอกเสาวรส หรือดอกของต้นเสาวรส (Passionflower) เป็นพืชตระกูลเถาและไม้เลื้อย ที่มีถิ่นกำเนิดและพบได้ทั่วไปในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา บริเวณอเมริกาใต้ และอเมริกากลางด้วย  ลักษณะของ ดอกเสาวรส นั้น จะคล้ายกันกับดอกกะทกรกของบ้านเรา ปัจจุบัน ดอกเสาวรส ถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิตยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ

    คุณค่าทางอาหารจากดอกเสาวรส

    จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า ดอกเสาวรส นั้นถูกนำมาทำเป็นยารักษาโรค แสดงให้เห็นว่า ดอกเสาวรส มีสรรพคุณที่สามารถช่วยรักษาอาการต่าง ๆ ของผู้ป่วย หรือผู้ที่ต้องการมีสุขภาพดีให้ดีขึ้นได้ ดอกเสาวรส ยังถูกนำมาแปรรูปเพื่อให้ประโยชน์ในหลายทาง โดยศูนย์การแพทย์ผสมผสานและสุขภาพองค์รวมแห่งชาติ National Center for Complementary and Integrative Health หรือ NCCIH ได้ทำการค้นคว้าและวิจัยถึงคุณประโยชน์จาก ดอกเสาวรส จนกระทั่งพบว่า ดอกเสาวรส ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด ดังนี้

  • ดีต่อสภาพจิตใจ
  • มีหลายผลการวิจัยที่ได้รับการยืนยันว่า การรับประทาน ดอกเสาวรส มีส่วนช่วยลดอาการของโรควิตกกังวลให้ลดลงได้ นอกจากนี้ ยังได้รับการยืนยันจากผลการวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Anesthesia and AnalgesiaTrusted Source ว่า การรับประทาน ดอกเสาวรส ก่อนเข้ารับการผ่าตัดสามารถช่วยลดภาวะวิตกกังวลก่อนการผ่าตัดได้เป็นอย่างดี

  • บำรุงสมอง
  • ดอกเสาวรส มีสรรพคุณที่ช่วยในการทำงานของ แกมมา อะมิโนบิวทีริก แอซิด (Gamma-Aminobutyric Acid) หรือ กาบา (GABA) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมอง ทำหน้าที่คอยกำกับดูแลเกี่ยวกับการผ่อนคลายสมอง ลดความเครียด จากการศึกษาค้นพบว่า การรับประทานดอกเสาวรสมีส่วนช่วยทำให้สมองผ่อนคลาย

    • ดีต่อสุขภาพช่องท้อง

    จากผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Indian Journal of Pharmacology และผลงานวิจัยที่ได้รับการรายงานใน BioMed Research International กล่าวตรงกันว่า การรับประทาน ดอกเสาวรส มีส่วนช่วยให้แผลในกระเพาะอาหารดีขึ้นได้

    ชาดอกเสาวรส กับการนอนหลับ

    หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีปัญหาในการนอน นอนไม่หลับ นอนหลับยาก หลับไม่เต็มที่ การดื่มชาดอกเสาวรสอาจเป็นตัวช่วยที่น่าสนใจ ในการทำให้การนอนหลับของคุณนั้นดีขึ้นได้ โดยการดื่มชาดอกเสาวรสก่อนเข้านอนสัก 1 ชั่วโมง ติดต่อกันเป็นเวลา 7 วัน มีการวิจัยว่า มีส่วนช่วยให้ผู้ที่ดื่มนั้นหลับสบายมากขึ้น เนื่องจาก ในชาดอกเสาวรสจะปล่อยสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) และสารไฟโตเคมิคอล (Phytochemicals) อื่น ๆ เพื่อไปทำหน้าที่กับสารสื่อประสาทในสมอง ทำให้สมองผ่อนคลาย หลับได้ง่ายขึ้น สามารถนอนหลับได้สนิทขึ้น ไม่กระสับกระส่ายระหว่างนอนหลับ และยังมีส่วนช่วยให้คุณรู้สึกสดชื่นหลังจากการนอนหลับอย่างเต็มอิ่มตลอดทั้งคืนด้วย

    ข้อควรระวัง

    แม้ชาดอกเสาวรสจะเป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับการนอนหลับ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีข้อควรระวังที่ไม่ควรละเลย ได้แก่

    • สตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่มชาดอกเสาวรสหรือรับประทาน ดอกเสาวรส เพราะสารเคมีใน ดอกเสาวรส อาจทำให้มดลูกหดตัว
    • สตรีที่กำลังอยู่ในช่วงให้นมบุตร ยังไม่มีผลการรับรองหรืองานวิจัยที่ยืนยันถึงความปลอดภัย ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยง หรือปรึกษากับคุณหมอผู้เชี่ยวชาญก่อนดื่มชาเสมอ
    • ช่วงก่อนและหลังการผ่าตัด ควรงดการดื่มชาดอกเสาวรส อย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนเข้ารับการผ่าตัดใด ๆ เนื่องจากสารเคมีใน ดอกเสาวรส อาจมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางที่อาจไประงับการรับความรู้สึก หรือภาวะสภาพของโรคอื่น ๆ ของสมองในระหว่างและหลังการผ่าตัด

    สูตร ชาดอกเสาวรส แบบง่าย ๆ ชงดื่มเองได้ที่บ้าน

    ส่วนผสม

    1. ดอกเสาวรสแห้ง (ประมาณ 2 กรัม) 1 ช้อนโต๊ะ
    2. น้ำร้อน  1 แก้ว
    3. น้ำผึ้ง (ตามใจชอบ สามารถใส่หรือไม่ใส่ก็ได้)

    วิธีชงชาดอกเสาวรส

    • แช่ดอกเสาวรสแห้งในน้ำร้อน 6-8 นาที หรือหากต้องการให้ชามีความเข้มข้น สามารถแช่ไว้ 10-15 นาที
    • นำถุงชาออก (ในกรณีที่เป็นถุงชา) แล้วเติมน้ำผึ้งตามความชอบ หรือไม่เติมก็ได้

    คำแนะนำ : ทดลองดื่มชาเสาวรส 1 ช้อนโต๊ะ ติดต่อกันเป็นเวลา 7 วัน แล้วสังเกตพฤติกรรมการนอนของคุณว่าเปลี่ยนไปหรือไม่ อย่างไร หากพบว่า การนอนหลับของคุณยังคงมีปัญหา ควรไปพบคุณหมอเพื่อขอคำปรึกษาและรับการบำบัดต่อไป

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 23/06/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา