backup og meta

โรคอ้วน (Obesity)

โรคอ้วน (Obesity)
โรคอ้วน (Obesity)

โรคอ้วน เป็นความผิดปกติที่ซับซ้อนประการหนึ่ง ที่เกียวข้องกับภาวะที่มีไขมันมากเกินไปในร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความเจ็บป่วย และปัญหาสุขภาพต่างๆ

คำจำกัดความ

โรคอ้วนคืออะไร

โรคอ้วน (Obesity) เป็นความผิดปกติที่ซับซ้อนประการหนึ่ง ที่เกียวข้องกับภาวะที่มีไขมันมากเกินไปในร่างกาย โรคอ้วนไม่ได้ส่งผลต่อร่างกายของผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความเจ็บป่วย และปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิตสูงอีกด้วย

โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน (overweight) มีแนวคิดที่แตกต่างกันสองประการ ภาวะน้ำหนักเกินเป็นภาวะหนึ่งที่น้ำหนักที่มากเกินไปเพิ่มขึ้นตามความสูงซึ่งไม่ได้เกิดจากไขมันส่วนเกินเท่านั้นแต่ยังเกิดจากกล้ามเนื้อจำนวนมากหรือน้ำในร่างกายด้วยเช่นกัน ภาวะทั้งสองประการนี้เป็นผลกระทบที่รุนแรงต่อสุขภาพ

โรคอ้วนพบได้บ่อยเพียงใด

ทุกคนสามารถเป็นโรคอ้วนได้ หากไม่มีการลดอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม โรคอ้วนมักมีการวินิจฉัยในผู้ที่ทำงานธุรการ หรือในสำนักงาน คุณสามารถจำกัดการเกิดโรคนี้ได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของโรคอ้วน

ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลร่างกาย (body mass index: BMI) ค่าสูงกว่า 25 จัดว่ามีภาวะน้ำหนักเกิน (overweight) ค่า 30 หรือสูงกว่าจัดว่าเป็นโรคอ้วน และค่า 40 หรือสูงกว่าจัดว่าเป็นโรคอ้วนรุนแรง ค่าดัชนีมวลร่างกายเป็นวิธีหนึ่งเพื่อให้ทราบว่า คนหนึ่งมีภาวะน้ำหนักเกินหรือไม่ สูตรในการคำนวณค่าดัชนีมวลร่างกาย คือ การใช้น้ำหนักตัวที่เป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง (ลองคำนวณดัชนีมวลกายได้ที่นี่)

ค่าดัชนีมวลร่างกาย = น้ำหนัก (กก.) / (ความสูงเมตร2)

สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว ค่าดัชนีมวลร่างกายช่วยประมาณการปริมาณไขมันในร่างกายที่เหมาะสม อย่างไรก็ดี ค่าดัชนีมวลร่างกายไม่ได้วัดไขมันในร่างกายได้โดยตรง ตัวอย่างเช่น ในคนบางคนโดยเฉพาะนักกีฬาเพาะกาย อาจมีค่าดัชนีมวลร่างกายในระดับที่เป็นโรคอ้วน เนื่องจากกล้ามเนื้อมีการเจริญเติบโตมากเกินไป แม้ว่าไม่มีไขมันส่วนเกิน ดังนั้น หากเราเพียงยึดตามค่าดัชนีมวลร่างกาย จะไม่แสดงให้เห็นโรคอ้วนอย่างถูกต้อง ให้ปรึกษาแพทย์ หากมีข้อกังวลใดเกี่ยวกับค่าดัชนีมวลร่างกาย

โรคอ้วนสามารถเพิ่มความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพที่รุนแรง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary heart disease) สถานการณ์ดังกล่าวยังทำให้เกิดข้ออักเสบ (arthritis) ซึ่งทำให้เกิดการหายใจลำบาก (dyspnea) เมื่อใช้แรงมาก โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ (sleep apnea) และอ่อนเพลีย

อาจมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณคิดว่าอาจเป็นโรคอ้วน โดยเฉพาะหากกังวลเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่สัมพันธ์กับน้ำหนัก ให้ไปพบหมอโดยทันที คุณและแพทย์ที่ทำการรักษาสามารถประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพและพูดคุยเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ เพื่อที่จะลดน้ำหนัก ให้ปรึกษาแพทย์เสมอเพื่อหาวิธีการวินิจฉัยโรค การรักษา และการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

รู้เรื่องสาเหตุ

สาเหตุของโรคอ้วน

โรคอ้วนเกิดจากแคลอรี่ปริมาณมากเกินไปที่ถูกดูดซึม ผู้ป่วยบางรายมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากเสียจนไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน อาจเกิดจากยีน (พ่อแม่มีแนวโน้มทางพันธุกรรม ที่จะถ่ายทอดยีนโรคอ้วนไปยังลูก) เหตุผลทางจิตวิทยา (รับประทานอาหารเมื่อมีความเครียด) หรือปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม (ถูกกระตุ้นให้รับประทานอาหารมากขึ้น)

รู้เรื่องปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วน

ปัจจัยต่างๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงสำหรับโรคอ้วน ได้แก่

  • พันธุกรรม
  • ไลฟ์สไตล์ของครอบครัว
  • นิสัยการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
  • เลิกสูบบุหรี่
  • นอนไม่พอ
  • การใช้ยาบางชนิด
  • อายุ
  • ปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจ
  • ประเด็นเกี่ยวกับสุขภาพ

การไม่มีความเสี่ยงไม่ได้หมายความว่า คุณไม่สามารถเป็นโรคนี้ได้ สัญญาณเตือนเหล่านี้มีไว้เพื่อการอ้างอิงเท่านั้น คุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม

ทำความเข้าใจการวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคอ้วน

เพื่อวินิจฉัยโรคอ้วน แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับการตรวจร่างกายและประวัติสุขภาพ นิสัยการรับประทานอาหาร และระดับการออกกำลังกายของคุณ

จากนั้น แพทย์ที่ทำการรักษาอาจดำเนินการสองวิธีที่ใช้กันมากที่สุด สำหรับการประเมินและการวัดความเสี่ยงของสุขภาพ ที่สัมพันธ์กับน้ำหนักได้แก่

  • ค่าดัชนีมวลร่างกาย (Body mass index: BMI) โดยปกติแล้ว ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลร่างกายที่สูงกว่า 25 จัดว่ามีน้ำหนักเกิน (overweight) ค่าดัชนีมวลร่างกาย 30 หรือสูงกว่าจัดว่าเป็นโรคอ้วน (obese) และค่าดัชนีมวลร่างกาย 40 หรือสูงกว่าจัดว่าเป็นโรคอ้วนรุนแรง (obese serious)
  • รอบเอว (การวัดรอบเอวในหน่วยเป็นนิ้ว) การวัดรอบเอวเป็นอีกวิธีหนึ่งในการประมาณการค่าไขมันในร่างกาย

การรักษาโรคอ้วน

การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการผ่าตัด ล้วนแล้วแต่สามารถช่วยได้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมอาหารและแพทย์ สามารถช่วยเราวางแผนอาหารที่มีไขมันต่ำและแคลอรี่ต่ำ การออกกำลังกายเป็นวิธีที่ได้ผล โดยควรมีโปรแกรมการติดตามผลส่วนบุคคล เพื่อช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนของโรค ยาบางชนิด เช่น ยากระตุ้น (stimulants) สามารถทำให้น้ำหนักลดลง และทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ให้ลองใช้ยาดังกล่าวหลังจากลองใช้การควบคุมอาหารและออกกำลังกายแล้วเท่านั้น โดยให้ใช้ยาภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของแพทย์

ไลฟ์สไตล์ที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย การออกกำลังกายให้มากขึ้น และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดในการลดน้ำหนัก และทำให้สุขภาพดีขึ้น ให้ดำเนินการร่วมกับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมอาหาร เพื่อกำหนดปริมาณแคลอรี่ที่ปลอดภัยในแต่ละวัน ที่คุณสามารถบริโภคเพื่อให้สามารถช่วยลดน้ำหนักเพื่อรักษาสุขภาพ ให้ระลึกไว้ว่าการลดน้ำหนักอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงการมีน้ำหนักกลับมาเพิ่มมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมอาหารสามารถแนะนำคุณเกี่ยวกับสิ่งดังต่อไปนี้

  • วิธีการเลือกอาหารที่มีประโยชน์
  • อาหารว่างที่มีประโยชน์
  • อ่านฉลากโภชนาการก่อนใช้
  • วิธีใหม่ในการแปรรูปอาหาร

คุณยังควรทราบเกี่ยวกับการจำกัดอาหารขยะ ภายใต้เทคนิคการลดแบบความเครียด เช่น โยคะ การออกกำลังกาย หรือการทำสมาธิ ให้ปรึกษาแพทย์ หากคุณมีความซึมเศร้าและความเครียดรุนแรง

ยาบางชนิด เช่น ยากระตุ้น (stimulants) สามารถทำให้น้ำหนักลดลงและทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ให้ลองใช้ยาดังกล่าวหลังจากลองใช้การควบคุมอาหารและออกกำลังกายเท่านั้น โดยให้ใช้ยาภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของแพทย์

หากคุณเป็นโรคอ้วน (เกินกว่าร้อยละ 100 ของน้ำหนักร่างกายโดยหลักการ หรือมีค่าดัชนีมวลร่างกายที่สูงกว่า 40) และวิธีการลดไขมันอีกวิธีหนึ่งไม่ได้ผล อาจพิจาณาใช้การผ่าตัด เช่น การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร การผูกกระเพาะอาหาร (gastric band) หรือการลดขนาดกระเพาะอาหาร (gastric contractions)

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการโรคอ้วน

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยรับมือกับโรคอ้วนได้

  • แจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของคุณ
  • แจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ ให้แจ้งแพทย์หากเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา
  • พิจารณาการมีส่วนร่วมในกลุ่มที่สนับสนุนการลดน้ำหนัก
  • เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
  • ทำความเข้าใจน้ำหนัก ดัชนีมวลร่างกาย และไขมันในร่างกายในปัจจุบันของคุณ
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่ามีการลดน้ำหนักและออกกำลังกาย
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากมีอาการท้องร่วงหรือน้ำตาลในเลือด (กลูโคส) ต่ำอย่างมากหลังการผ่าตัด
  • การเรียนรู้เกี่ยวกับภาวะของคุณ จะทำให้คุณทราบเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องทำ และการควบคุมภาวะร่างกายให้ดีขึ้น
  • ตั้งเป้าหมายที่สามารถทำได้จริง คุณไม่ควรตั้งเป้าหมายการลดน้ำหนักไว้สูงเกินไป เนื่องจากจะทำให้รู้สึกท้อแท้ได้ง่ายขึ้น
  • ปฏิบัติตามแผนการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
  • มีบันทึกกระบวนการรักษา โปรดบันทึกรายการอาหารต่างๆ ที่ใช้และการออกกำลังกายที่ได้ทำมา จะช่วยให้คุณรักษาความเสมอต้นเสมอปลาย สำหรับการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายประจำวันได้ นอกจากนี้ ยังช่วยให้คุณทราบเกี่ยวกับอาหารและกิจกรรมต่างๆ ที่คุณจำเป็นต้องรวมหรือนำออกจากรายการ ให้จำแนกและหลีกเลี่ยงอาหารต่างๆ ที่สามารถกระตุ้นความอยากอาหาร ให้รับประทานเมื่อรู้สึกหิวจริงเท่านั้น

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ferri, Fred. Ferri’s Netter Patient Advisor. Philadelphia, PA: Saunders / Elsevier, 2012. Download version.

Obesity. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/obesity/basics/definition/con-20014834. Accessed July 14, 2016.

Obesity. https://www.healthline.com/health/obesity

What Is Obesity? https://www.webmd.com/diet/obesity/what-obesity-is

เวอร์ชันปัจจุบัน

13/07/2020

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Chayawee Limthavornrak


บทความที่เกี่ยวข้อง

อดอาหาร น้ำหนักลด จริงหรือไม่

คนอ้วน เจ็บเท้า บรรเทาอาการอย่างไร และเมื่อไหร่ที่ต้องกังวล


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 13/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา