ในบางสถานที่หรือบางพื้นที่อาจมีสัตว์ปีกอย่างนกที่คอยบินอยู่รอบ ๆ ตัวเราเป็นจำนวนมาก ทางที่ดีที่สุด คุณควรระมัดระวัง และรักษาสุขอนามัยของตนเองอยู่เสมอ เพราะบางครั้งสัตว์ปีกเหล่านี้อาจเป็นพาหะที่นำมาสู่แบคทีเรียหรือเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของอาการเจ็บไข้ได้ป่วยดังเช่นโรค ไข้นกแก้ว ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำบทความดี ๆ เกี่ยวกับวิธีรักษา และการป้องกันเบื้องต้น มาฝากทุกคนให้ได้ลองอ่านกันค่ะ
ไข้นกแก้ว คืออะไร
ถึงจะมีชื่อเรียกว่า “ไข้นกแก้ว (Psittacosis)’ แต่จริง ๆ แล้วก็มิได้มาจากนกแก้วจริง ๆ ตามชื่อเสมอไป เพราะยังอาจมีสาเหตุการติดเชื้อ หรือการเจ็บป่วยจากนกชนิดอื่น ๆ ได้อีก อาทิเช่น นกป่า นกเลี้ยง ไก่ และเป็ด ซึ่งไข้นกแก้วนี้ นับว่าเป็นการติดเชื้อของแบคทีเรียชนิด Chlamydia Psittaci ที่นำเข้าสู่ช่องทางเดินหายใจ และสามารถล่องลอยปลิวไปในอากาศ กับฝุ่นละอองได้เมื่อยามสัตว์เหล่านี้เกิดอาการป่วย และปล่อยออกมา
โดยศูนย์ควบคุม และป้องกันโรคในประเทศสหรัฐอเมริการะบุไว้ว่า ไข้นกแก้วสามารถนำพาหะจากแบคทีเรียดังกล่าวเข้าสู่มนุษย์ได้อย่างง่ายดาย เมื่อมีการสัมผัสสารคัดหลั่งจากตัวของพวกมันอย่าง มูลนก น้ำลาย และการสัมผัสด้วยการหอม กอดโดยตรง
แต่อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดเพียงพอเกี่ยวกับการติดเชื้อแบคทีเรียด้วยการบริโภคเนื้อของจำพวกสัตว์ปีก คุณยังคงสามารถรับประทานต่อไปได้ดังเดิม แต่ควรนำไปทำความสะอาด และผ่านความร้อน หรือผ่านการปรุงสุกก่อนอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยแก่สุขภาพของคุณ
สังเกตอาการ โรคไข้นกแก้ว ในนกกันเถอะ
ก่อนที่เชื้อแบคทีเรียเหล่านี้จะส่งต่อมายังภายในของคุณ โดยเฉพาะผู้ที่ประกอบกิจการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และผู้ที่ชื่นชอบเลี้ยงสัตว์ปีกเป็นชีวิตจิตใจ คุณสามารถเช็กพวกเขาได้ ถึงอาการ โรคไข้นกแก้ว เบื้องต้น ที่อาจทำให้นก หรือไก่นั้นเริ่มมีอาการป่วยได้ ดังนี้
- มูลนกเปลี่ยนสีไปทางเฉดสีเขียว
- นกของคุณมักจะพักผ่อนบ่อยครั้งในระหว่างวัน
- มีอาการกินอาหารได้น้อยกว่าปกติ หรือถึงขั้นไม่กินอะไรเลย
- ขับถ่ายบ่อยกว่าปกติ หรือท้องร่วง
อาการเบื้องต้น เมื่อเชื้อแบคทีเรียในนกเข้าสู่ร่างกาย
อาการแรกเริ่มของ โรคไข้นกแก้ว อาจค่อย ๆ เผยออกมาหลังจากได้รับเชื้อแบคทีเรียจากนกเข้าไปแล้วประมาณ 10-20 วัน และค่อนข้างมีอาการคล้ายคลึงกับไข้หวัด เสียจนแยกออกได้ยาก แต่โดยทั่วไปแล้วผู้ที่ได้รับเชื้อจาก โรคไข้นกแก้ว เข้าสู่ร่างกายมักมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น
- หนาวสั่น
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดกล้ามเนื้อ และข้อต่อ
- อาการท้องร่วง
- มีไข้ขึ้น
- ไอแห้ง
- เจ็บหน้าอก และมีอาการหายใจถี่
ในบางกรณีอาจนำไปสู่การอักเสบของอวัยวะภายในได้เพิ่มเติมอีกด้วย เช่น สมอง หัวใจ ตับ และปอด หากคุณเริ่มมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อใด ควรรีบเข้าขอคำปรึกษาจากแพทย์ และรีบตรวจสอบอย่างละเอียดในทันที เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เชื้อแบคทีเรีย Chlamydia psittaci ลุกลามไปทำลายอวัยวะในส่วนอื่น ๆ ของคุณได้อีก
เราสามารถรักษา โรคไข้นกแก้ว นี้ได้อย่างไรบ้าง
ก่อนอื่นแพทย์ขอจะอนุญาตทำการตรวจสอบภูมิคุ้มกัน หรือแอนติบอดีของคุณ เพื่อดูว่ามีการเปลี่ยนแปลง และมีการปะปนของเชื้อแบคทีเรียใด ๆ หรือไม่ หากมีการค้นพบว่า คุณกำลังมีเชื้อของ โรคไข้นกแก้ว นี้ แพทย์อาจจำเป็นต้องให้ยาเตตราไซคลีน (Tetracyclines) และด็อกซีไซคลิน (Doxycycline) ที่เป็นยาปฏิชีวนะทั้ง 2 ชนิด เข้าไป เพื่อต่อต้านโรค โดยอาจให้ต่อเนื่องเป็นเป็นเวลา 10-14 วัน จนกว่าคุณจะมีอาการที่ดีขึ้น
ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ประสบกับ โรคไข้นกแก้ว มีการฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วหากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม แต่อาจส่งผลให้ช่วงวัยของผู้สูงอายุได้รับการฟื้นตัวได้ค่อนข้างช้าลงแทน เนื่องจากผู้ป่วยวัยนี้มักมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ร่วมด้วย
ดังนั้น ทางที่ดีสำหรับทุกช่วงวัย ทุกคนควรป้องกันด้วยการ หมั่นรักษาความสะอาดให้แก่กรงนกของคุณในกรณีที่คุณเลี้ยงนก หรือให้ความสำคัญกับการทำความสะอาดบริเวณรอบบ้านที่มีมูลนก พร้อมทั้งชำระล้างอวัยวะต่าง ๆ ที่เกิดการเผลอสัมผัส และโปรดหลีกเลี่ยงการรับเชื้อโดยตรงจากการหอม จูบ บริเวณปาก และจมูก เพราะหนทางนี้จะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการนำเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว