เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

การเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ คืออีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จ และมีความปลอดภัยทั้งต่อตัวแม่และทารกในครรภ์ เรียนรู้ทุกสิ่งเกี่ยวกับการ เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ตั้งแต่การตรวจสุขภาพ การเตรียมร่างกาย ตลอดไปจนถึงการเจริญพันธุ์ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

การเตรียมตัวก่อนท้อง เตรียมพร้อม ตั้ง ครรภ์ ควรทำอย่างไร

การเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญ หากสภาพร่างกายและจิตใจของว่าที่คุณแม่พร้อมแล้ว ท้องนี้จะเป็นการตั้งครรภ์คุณภาพ ที่ได้รับการดูแลและใส่ใจตั้งแต่วันแรก เตรียมพร้อม ตั้ง ครรภ์ ควรเริ่มอย่างไร มีสิ่งไหนที่ต้องรู้บ้าง [embed-health-tool-ovulation] การเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ เมื่อตัดสินใจจะมีบุตร การดูแลสุขภาพเพื่อเตรียมพร้อมสู่การตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึง ซึ่งช่วงวัยที่เหมาะสมต่อการมีบุตรควรมีอายุระหว่าง 20-34 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่มีความสมบูรณ์แข็งแรง โดยการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์มี 3 ข้อที่สำคัญ ได้แก่ การเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย ก่อนตั้งครรภ์  ออกกำลังกายเป็นประจำ สามารถเลือกการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย แต่หากสนใจการเล่นโยคะก็เป็นทางเลือกที่ดี เพื่อฝึกท่าทาง การหายใจ ฝึกสมาธิ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในระหว่างการคลอดบุตรได้ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อร่างกายพักผ่อน 8 ชั่วโมงเป็นประจำ จะรู้สึกผ่อนคลายและสดชื่น  เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ได้แก่ ข้าว-แป้ง เนื้อสัตว์ ไข่ นม  ถั่วชนิดต่าง ๆ ผักและผลไม้สด รวมถึงดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ตรวจสุขภาพช่องปาก ลดความเสี่ยงการติดเชื้อในช่องปาก ป้องกันการเกิดฟันผุระหว่างตั้งครรภ์  หมั่นนับรอบประจำเดือน เป็นการคำนวณวันไข่ตก เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ การเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ พยายามฝึกอารมณ์และความรู้สึกให้ผ่อนคลายจากความเครียด เมื่อร่างกายผ่อนคลาย สุขภาพจิตใจแข็งแรงดี […]

สำรวจ เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

อยากมีลูกต้องทำไง และปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีบุตรยาก

อยากมีลูกต้องทำไง อาจเป็นหนึ่งในคำถามที่ผู้ต้องการมีลูก และผู้ที่มีลูกยากอยากทราบคำตอบมากที่สุด ปัญหามีลูกยากอาจมาจากคุณภาพไข่หรืออสุจิไม่ดี พฤติกรรมการใช้ชีวิต เป็นต้น อย่างไรก็ดี อาจมีหลายวิธีที่สามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ และการทราบสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีลูกยาก ก็อาจทำให้สามารถหาวิธีเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น [embed-health-tool-ovulation] ปัญหาที่ทำให้มีลูกยาก ภาวะมีบุตรยากพบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้  อายุ 35 ปีขึ้นไป เนื่องจากอายุที่มากขึ้นอาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ทำให้คุณภาพไข่ของผู้หญิงและจำนวนอสุจิของผู้ชายลดลง ส่งผลกระทบต่อการมีลูก น้ำหนักตัวน้อยหรือมากกว่าเกณฑ์ อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย หากน้ำหนักเกินเกณฑ์หรือเป็นโรคอ้วน อาจส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลกัน และอาจไปขัดขวางการตกไข่ของผู้หญิงและการผลิตอสุจิของผู้ชาย หรือหากมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์อาจส่งผลให้ไม่มีสารอาหารไปกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตกหรือผลิตอสุจิ  สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่อาจส่งผลกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์ได้ เนื่องจากสารต่าง ๆ ในบุหรี่ เช่น นิโคติน สารตะกั่ว แคดเมียม อาจทำให้อสุจิผิดปกติและไม่แข็งแรงพอที่จะเข้าไปผสมกับไข่ รวมถึงอาจลดประสิทธิภาพการทำงานมดลูกที่เป็นที่ฝังตัวของตัวอ่อนด้วย ท่อนำไข่อุดตัน หากท่อนำไข่ข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้างอุดตัน อาจทำให้ไข่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปยังท่อนำไข่ และอสุจิไม่สามารถเคลื่อนเข้าสู่รังไข่ได้ จึงส่งผลให้ไม่มีการปฏิสนธิและการตั้งครรภ์  เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เกิดจากเยื่อบุมดลูกไปเจริญภายนอกมดลูก ซึ่งอาจส่งผลให้การทำงานของรังไข่ มดลูก และท่อนำไข่ผิดปกติ จนเกิดภาวะมีบุตรยาก  อยากมีลูกต้องทำไง  เคล็ดลับเหล่านี้อาจช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้  นับวันตกไข่ ทำความเข้าใจเรื่องวงจรการตกไข่และวิธีนับวันตกไข่อย่างถูกต้อง ควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 5 วันก่อนถึงวันตกไข่และในวันตกไข่ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

วันไข่ตก นับอย่างไรให้เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

วันไข่ตก หรือวันตกไข่ หมายถึงวันที่รังไข่ปล่อยไข่ที่สุกออกมาในท่อนำไข่ เพื่อรอการผสมกับอสุจิ เป็นกระบวนการตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคนในทุก ๆ เดือน การนับวันไข่ตกอาจมีประโยชน์ในการวางแผนการตั้งครรภ์และการคุมกำเนิด อย่างไรก็ตาม การนับวันไข่ตกอาจจะไม่ได้แม่นยำ 100% เสมอไป เนื่องจากผู้หญิงแต่ละคนอาจมีรอบเดือนและวันตกไข่ที่แตกต่างกัน รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความเครียด อายุ น้ำหนักตัว โรคประจำตัว ก็อาจส่งผลต่อวันตกไข่ได้เช่นกัน [embed-health-tool-ovulation] วันไข่ตก คืออะไร  วันไข่ตก หรือวันตกไข่ คือ กลไกตามธรรมชาติของระบบสืบพันธุ์เพศหญิงที่เกิดขึ้นในทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง โดยเมื่อประจำเดือนมาวันแรก ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนฟอลลิเคิล สติมูเลติง (Follicle-Stimulating Hormone: FSH) ออกมา ทำให้ไข่ในรังไข่เติบโต และทำให้เยื่อบุมดลูกหนาขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการปฏิสนธิ ในช่วงวันที่ 2-14 ของรอบเดือน เรียกว่า “ระยะก่อนตกไข่” สำหรับผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาตามปกติและสม่ำเสมออาจสามารถคาดการณ์ช่วงเวลาวันไข่ตกได้อย่างแม่นยำ โดยรอบประจำเดือนเฉลี่ยประมาณ 28-30 วัน และวันไข่ตกมักเกิดขึ้นช่วงระยะประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนประจำเดือนรอบใหม่มา สำหรับผู้ที่ต้องการมีลูกควรมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 1-2 วันก่อนไข่ตก เพราะอสุจิสามารถรอปฏิสนธิกับไข่ได้ประมาณ 2-3 […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

ของใช้เตรียมคลอด และการเตรียมตัวก่อนคลอด มีอะไรบ้าง

ของใช้เตรียมคลอด สำหรับคุณแม่ ควรได้รับการตระเตรียมไว้อย่างน้อย 4 สัปดาห์ก่อนถึงวันที่คุณหมอกำหนดคลอด เพื่อนำมาใช้ในโรงพยาบาลขณะที่พักฟื้นหลังคลอดบุตร ระยะเวลาดังกล่าวเพียงพอที่จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียดหรือวิตกกังวลจนเกินไป โดยเฉพาะหากเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือภาวะคลอดก่อนกำหนด อาจจัดวางกระเป๋าที่ใส่ของใช้เตรียมคลอดไว้ใกล้มือที่หยิบฉวยได้ง่าย หรือเตรียมใส่ไว้ในรถ เมื่อถึงเวลากำหนดคลอดจะได้พร้อมออกเดินทางไปโรงพยาบาลได้ทันที [embed-health-tool-due-date] ของใช้เตรียมคลอด สำหรับคุณแม่  คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเตรียมของใช้ที่จำเป็นสำหรับการคลอดบุตรล่วงหน้าอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ก่อนถึงกำหนดคลอด โดยของใช้เตรียมคลอดสำหรับบคุณแม่ที่พักในโรงพยาบาล 1-4 วัน มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ผลตรวจ หรือเอกสารสำคัญที่ใช้ยื่นก่อนเข้าพักรักษาตัว เช่น บัตรโรงพยาบาล บัตรประจำตัวประชาชน เสื้อคลุม หรือเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ไม่รัดแน่นท้องจนเกินไป เสื้อชั้นในที่สวมใส่สบาย หรือเสื้อชั้นในให้นมบุตรประมาณ 3 ตัว ชุดชั้นใน 5-6 ตัว  รองเท้าแตะ แผ่นซับน้ำนม ผ้าอนามัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ แปรงสีฟัน หวี อุปกรณ์อาบน้ำ  ผ้าขนหนู อุปกรณ์สายชาร์จสำหรับโทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูป เสื้อผ้าเด็กอ่อน หมวก ผ้าอ้อม ผ้าห่อตัวทารก   การเตรียมตัวก่อนคลอด ก่อนถึงวันคลอดบุตร หรือระหว่างตั้งครรภ์ ควรเข้ารับคำแนะนำเบื้องต้นจากคุณหมอถึงวิธีการดูแลสุขภาพทารก เพื่อความปลอดภัย และดูแลทารกได้อย่างถูกต้อง สำหรับการเตรียมตัวก่อนคลอด […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์

โภชนาการถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ควรทราบว่า อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง เพราะช่วงเวลาตั้งครรภ์เป็นช่วงที่ร่างกายอาจอ่อนแอได้ง่าย และอาหารที่รับประทานเข้าไปก็อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ป่วยหรือส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น การดูแลสุขภาพคุณแม่ทั้งภายในและภายนอกจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และทารกในครรภ์ [embed-health-tool-”due-date”] อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์  มีอาหารหลายชนิดที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทาน เพราะอาจทำให้ป่วยหรือส่งผลต่อทารกในครรภ์ โดยอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ อาจมีดังนี้ อาหารทะเลที่มีสารปรอทสูง อาหารทะเล โดยเฉพาะปลาบางชนิด อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่อาจช่วยพัฒนาสมองและดวงตาของทารก แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารทะเลหลายชนิดที่มีระดับสารปรอทสูง ซึ่งอาจส่งผลร้ายต่อระบบประสาทที่กำลังพัฒนาของทารก ยิ่งปลาตัวใหญ่และมีอายุมากยิ่งอาจปริมาณของสารปรอทมาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงปลาต่อไปนี้ ปลาทูน่าตาโต ปลาแมคเคอเรล ปลาฉลาม ปลาไทล์ฟิช อาหารดิบ ไม่ผ่านการปรุงสุก หรือปนเปื้อน เพื่อหลีกเลี่ยงแบคทีเรียหรือไวรัสที่เป็นอันตราย คุณแม่ตั้งครรภ์อาจอาหารเหล่านี้ หลีกเลี่ยงปลาดิบและหอย เช่น ซูชิ ซาชิมิ หอยนางรมดิบ หอยเชลล์ หลีกเลี่ยงอาหารหารแช่เย็นไม่ปรุงสุก ต้มไข่จนสุก เน้นต้มไข่จนไข่แดงและไข่ขาวสุก เพราะไข่ดิบอาจปนเปื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายได้ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอาหารที่รับประทานมาจากแหล่งใด หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารจากแหล่งที่มีมลพิษ เพราะอาจไม่ปลอดภัยต่อตัวคุณแม่ตั้งครรภ์และทารก ปรุงอาหารอย่างถูกวิธี ควรปรุงอาหารด้วยอุณหภูมิ 63 องศาเซลเซียสขึ้นไป จนอาหารสุกทั่วถึง เพื่อความปลอดภัยจากเชื้อโรคและแบคทีเรียที่ติดมากับอาหาร อาหารที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ ผลิตภัณฑ์จากนมหลายชนิด เช่น นมพร่องมันเนย มอสซาเรลลาชีส เป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องแน่ใจว่าอาหารเหล่านี้ผ่านการพาสเจอร์ไรส์เรียบร้อยแล้ว ควรหลีกเลี่ยงชีสเนื้อนิ่ม เช่น […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ อาจนำไปสู่การปฏิบัติตนที่ไม่ถูกต้องในการดูแลรักษาสุขภาพขณะตั้งครรภ์ และอาจส่งผลต่อภาวะการเจริญเติบโตของลูกน้อยได้ หากได้ยินเรื่องเล่าต่อ ๆ กันมา หรือความเชื่อจากคนรอบข้าง คุณแม่และคุณพ่อมือใหม่อาจต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้ หรือปรึกษาสอบถามจากคุณหมอถึงความเชื่อเหล่านั้น [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์คุณพ่อคุณแม่มักศึกษาหาข้อมูลเพื่อดูแลลูกน้อยให้ปลอดภัยและแข็งแรงมากที่สุด แต่อาจได้รับข้อมูลหรือความเชื่อที่แน่ใจว่าจริงหรือเท็จ สำหรับความเชื่อที่มักได้ยินกันบ่อย ๆ ได้แก่ ความเชื่อที่ 1 การรับประทานอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งมาก ๆ ในช่วงตั้งครรภ์ อาจทำให้ลูกแพ้อาหารเหล่านั้น บางคนอาจจะเคยได้ยินว่า หากในช่วงที่กำลังท้องอยู่ คุณแม่รับประทานอาหารบางอย่างมาก ๆ เช่น ถั่ว นม  กุ้ง อาจทำให้ลูกที่เกิดมามีอาการแพ้อาหารเหล่านั้นได้ ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อที่ผิด การรับประทานอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งในช่วงตั้งครรภ์มาก ๆ นั้นไม่ได้ส่งผลอะไรให้ลูกน้อยแพ้อาหารเหล่านั้นเมื่อคลอดออกมา เว้นเสียแต่ว่าตัวคุณแม่จะมีโรคภูมิแพ้ต่ออาหารเหล่านั้นอยู่ก่อนแล้ว อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งในปริมาณที่มากเกินไปย่อมไม่เป็นผลดีทั้งต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ได้ ควรเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลายและพอดี  ที่สำคัญคือการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และลูกน้อย ความเชื่อที่ 2 คุณแม่ควรรับประทานอาหารเผื่อลูกในท้อง เมื่อตั้งครรภ์ คุณแม่หลายคนอาจจะเริ่มบำรุงร่างกาย และรับประทานอาหารให้มากขึ้น เพราะต้องการเผื่อลูกน้อย แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้ว่าคุณแม่นั้นควรจะได้รับแคลอรี่ที่เพียงพอต่อพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ แต่ไม่ควรรับประทานอาหารมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ มีงานวิจัยที่พบว่า คุณแม่ที่รับประทานอาหารมากเกินไปขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และโรคหัวใจ เมื่อลูกน้อยเกิดมาก็อาจเสี่ยงเป็นโรคอ้วนได้ด้วย คุณแม่ควรค่อย ๆ เพิ่มปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับไปในแต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์ และเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ และดีต่อสุขภาพ ความเชื่อที่ […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

อยากท้อง ควรทำอย่างไรดี

การมีลูกนั้นอาจเป็นหนึ่งในแผนการสร้างครอบครัวที่หลาย ๆ คนวางไว้ ซึ่งบางครอบครัวก็มีลูก ตั้งครรภ์ได้อย่างง่าย ๆ ไม่ใช่เรื่องยาก แต่สำหรับบางครอบครัว แม้ว่าจะ อยากท้อง มากแค่ไหน ก็อาจจะไม่สมหวัง ดังนั้น ผู้ที่กำลังวางแผนอยากมีลูก จึงควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีที่อาจช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ที่มีประสิทธิภาพ [embed-health-tool-ovulation] อยากท้อง ควรทำอย่างไร การวางแผนในการตั้งครรภ์นั้น เป็นเรื่องที่อาจจะต้องใช้ระยะเวลา ผู้หญิงอายุ 30 ที่มีสุขภาพที่ดีนั้นมีโอกาสในการตั้งครรภ์เพียงร้อยละ 20 ที่จะตั้งครรภ์ในแต่ละเดือน ในแต่ละเดือนนั้นฮอร์โมนในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้รังไข่เติบโตเต็มที่ ซึ่งวงจรการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีความแตกต่างกันออกไปในผู้หญิงแต่ละคน แต่โดยเฉลี่ยะแล้วใช้เวลา 2 สัปดาห์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่มีประจำเดือนเท่านั้น เมื่อไข่โตเต็มที่แล้ว จะถูกปล่อยออกจากรังไข่หรือที่เรียกว่า “ไข่ตก” จากนั้นไข่ก็จะเดินทางไปท่อนำไข่เพื่อรอการปฏิสนธิจากตัวสเปิร์ม โดยเซลล์นั้นจะอยู่ได้เพียง 24 ชั่วโมงหลังจากที่ไข่ตกแล้ว หากไข่ได้รับการปฏิสนธิในช่วงเวลาที่เหมาะสมก็จะทำให้ตั้งครรภ์ได้ ซึ่งกุญแจสำคัญในการมีลูก คือ ควรนับวันในการมีเพศสัมพันธ์ในวันก่อนและระหว่างตกไข่ ซึ่งทำให้เกิดการปฏิสนธิได้ง่ายขึ้น และช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่น ๆ ที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์อีกด้วย รู้จังหวะและเวลาที่ถูกต้อง หากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ไข่ตกหรือก่อนตกไข่ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ ดังนั้น หาก อยากท้อง ควรเลือกช่วงเวลาการมีเพศสัมพันธ์ที่ตรงกับช่วงเวลาในการตกไข่ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ หากมีรอบเดือนที่ปกติ ก็ควรนับวันที่รอบเดือนจะมา โดยเฉลี่ยแล้วไข่จะตกก่อนการมีประจำเดือน 2 สัปดาห์ ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสมในการมีเพศสัมพันธ์คือตั้งแต่ก่อนวันไข่ตก 7 […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

วิตามินก่อนคลอด สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร

วิตามินก่อนคลอด หรือวิตามินบำรุงครรภ์ เป็นอาหารเสริมสำหรับผู้หญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ และผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนมากขึ้น เพราะการรับประทานอาหารอย่างเดียวในแต่ละวันอาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ช่วยบำรุงสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์รวมทั้งช่วยบำรุงสุขภาพของทารกในครรภ์ด้วย ทำความรู้จักกับ วิตามินก่อนคลอด (Prenatal Vitamins) วิตามินก่อนคลอด หรือ วิตามินบำรุงครรภ์ (Prenatal Vitamins) เป็นอาหารเสริมที่มีวิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการทั้งก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ เพราะการรับประทานอาหารอย่างเดียวอาจจะยังไม่เพียงพอ สำหรับหญิงตั้งครรภ์บางรายอาจจำเป็นที่จะต้องรับประทานอาหารเสริมเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารสำคัญหรือวิตามินอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ วิตามินก่อนคลอดจะช่วยในการป้องกันความผิดปกติที่อาจเกิดกับทารกในครรภ์อีกด้วย ทำไมวิตามินก่อนคลอดจึงสำคัญ ในระหว่างการตั้งครรภ์ ร่างกายจะต้องการกรดโฟลิกและธาตุเหล็กมากกว่าปกติเนื่องจากเหตุผลดังต่อไปนี้ กรดโฟลิก (Folic acid) กรดโฟลิก เป็นวิตามินที่สำคัญที่สุดเมื่อวางแผนจะตั้งครรภ์ เพราะเป็นวิตามินบีที่เซลล์ในร่างกายต้องการ เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตและพัฒนาของทารกในครรภ์ การรับประทานกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัมต่อวันเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาเกี่ยวกับสมองและกระดูกสันหลัง ที่เรียกว่า ข้อบกพร่องของระบบประสาท (NTDs) ของทารกได้ ซึ่งข้อบกพร่องเหล่านี้เป็นความผิดปกติอย่างร้ายแรงต่อสมองของทารกในครรภ์ รวมถึงไขสันหลังด้วย สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ ควรเริ่มรับประทานกรดโฟลิกอย่างน้อย 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ หรือผู้หญิงบางคนที่เคยตั้งครรภ์ หากเคยได้รับผลกระทบจากโรคไตวายเรื้อรัง ร่างกายจำเป็นต้องได้รับกรดโฟลิกมากขึ้น ธาตุเหล็ก (Iron) ธาตุเหล็กจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของรกและทารกในครรภ์ นอกจากนั้น ยังช่วยให้ร่างกายสร้างเลือด เพื่อส่งออกซิเจนไปยังทารกในครรภ์ ที่สำคัญ ธาตุเหล็กยังช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ซึ่งเป็นสภาวะที่เลือดมีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำ อย่างไรก็ตามในการรับประทานวิตามินก่อนคลอดหรืออาหารเสริมใดใด ควรปรึกษาคุณหมอและขอคำแนะนำสำหรับข้อควรปฏิบัติเมื่อต้องการรับประทานวิตามิน เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกด้วย เมื่อไหร่ที่ควรจะเริ่มรับประทานวิตามินก่อนคลอด สำหรับระยะเวลาที่ควรรับประทานวิตามินก่อนคลอดคือ อย่างน้อย […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

คุณพ่อมือใหม่ ควรเตรียมตัวอย่างไรเมื่อจะมีลูก

แน่นอนว่า การมีลูก ถือเป็นความใฝ่ฝันสำหรับหลาย ๆ ครอบครัวเป็นอย่างมาก แต่เมื่อเหล่าคุณผู้ชายทั้งหลายจะต้องกลายเป็น คุณพ่อมือใหม่ ควรจะต้องเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง อาจเป็นข้อสงสัยที่เกิดขึ้นกับหลาย ๆ คน เนื่องจากการเตรียมความพร้อมในการเป็นคุณพ่อมือใหม่ตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยให้รับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] คุณพ่อมือใหม่ ควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เมื่อรู้ว่าจะได้เป็น คุณพ่อมือใหม่ อย่างแรกที่จะเปลี่ยนไปก็คือชีวิตของคุณผู้ชายนั่นเอง ซึ่งการจะเป็นคุณพ่อมือใหม่ได้ อาจมีดังนี้ เริ่มต้นด้วยการหาข้อมูลต่าง ๆ แม้คุณผู้ชายอาจจะไม่ใช่คนที่อุ้มท้อง แต่ก็ไม่ได้หวายความว่าจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์การตั้งครรภ์และการเกิดของลูกน้อย ดังนั้น ลองเข้าไปศึกษาข้อมูลต่าง ๆ จากการอ่านหนังสือ กลุ่มออนไลน์ หรือรับข่าวสารจากการตั้งครรภ์ เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวถูกหากภรรยากำลังประสบกับอาการระหว่างการตั้งครรภ์ หรือ อาการแพ้ท้อง การทำความเข้าใจกับสิ่งเหล่านี้จะทำให้สามารถช่วยสนับสนุนภรรยาได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ควรศึกษาถึงเรื่องการทำคลอดในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการคลอดธรรมชาติ การผ่าคลอด รวมถึงเรื่องของการดูแลทารก การเลี้ยงลูกด้วยนม การเปลี่ยนผ้าอ้อม และอื่น ๆ เพราะเมื่อถึงเวลาที่เกิดขึ้นจริง จะทำให้สามารถรับมือได้อย่างราบรื่นขึ้น รวมถึงยังควรทำสิ่งเหล่านี้ เรียนรู้พื้นฐานในชั้นเรียนคลอดบุตร พูดคุยกับภรรยาเกี่ยวกับการจัดการความเจ็บปวดระหว่างคลอด เรียนรู้การนวดเพื่อช่วยให้ภรรยารู้สึกดีขึ้น ชมสถานที่ที่มาการวางแผนการเกิด ศึกษาเส้นทางที่ดีที่สุดไปยังสถานที่ที่ฝากครรภ์เอาไว้ เตรียมหมายเลขสำคัญเอาไว้ในโทรศัพท์ รักษาสุขภาพให้ดี ก่อนที่ลูกน้อยจะเกิดมา เป็นเวลาที่ดีที่สุดที่จะมุ่งเน้นไปยังสุขภาพของตัวเอง หากสูบบุหรี่ก็ควรพยายามเลิก เพราะการที่ทารกในครรภ์ได้รับควันบุหรี่ตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้ ตรวจสอบนิสัยการกินว่าเป็นอย่างไร การกินอาหารที่ดีจะช่วยเติมพลังให้กับการเป็นคุณพ่อมือใหม่ ลองเพิ่มอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์เข้าไปในมื้ออาหาร […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

ปัจจัยที่ทำให้มีลูกแฝด มีอะไรบ้าง

หลายๆ ครอบครัว หลังจากแต่งงาน แผนต่อไปคือการวางแผนที่จะมีลูก บางครอบครัวก็อยากจะท้องลูกแฝด เพราะถือว่าท้องครั้งเดียวได้ลูกถึง 2 คน สำหรับบางคนก็อาจจะมากกว่านั้น ซึ่งถือว่าคุ้มมากเลยทีเดียว แถมเด็กแฝดยังมีความน่ารัก สามารถให้ใส่เสื้อผ้าเหมือนกัน มีของใช้เหมือนกัน ดูน่ารัก จึงทำให้ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ บางคู่อยากจะมีลูกแฝดขึ้นมาเลยทีเดียว วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ปัจจัยที่ทำให้มีลูกแฝด มาฝากกันค่ะ ปัจจัยเหล่านี้ อาจเป็น ปัจจัยที่ทำให้มีลูกแฝด ได้  พันธุกรรม การที่มีคนในครอบครัวมีลูกแฝดนั้น เป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดว่าคุณมีโอกาสที่จะสามารถมีลูกแฝดได้สูงขึ้น หากคุณเองก็เป็นฝาแฝดหรือญาติทางฝั่งแม่มีลูกแฝด โอกาสในการมีลูกแฝดก็เพิ่มมากขึ้น เพราะพันธุกรรมในการมีลูกแฝดนั้นจะถ่ายทอดมาจากทางฝั่งแม่มากกว่า อีกเหตุผลหนึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับ Hyperovulation คือ สถานการณ์ที่ร่างกายแม่ตกไข่จากรังไข่ตั้งแต่ 2 ฟองขึ้นไปในช่วงตกไข่ ทำให้มีโอกาสเกิดลูกแฝดได้มากขึ้น ซึ่ง Hyperovulation นั้นสามารถส่งผ่านทาง DNA ได้ อายุ อายุ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการมีลูกแฝดได้ เมื่อคุณอยู่ในช่วงอายุ 35-40 ปี จะโอกาสสูงในการมีลูกแฝด เนื่องจากผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพราะอยู่ในวัยใกล้หมดประจำเดือน ทำให้ร่างกายอาจถูกกระตุ้นให้ตกไข่มากกว่า 1 ฟองในช่วงตกไข่ ความสูง ดูเหมือนว่าผู้หญิงที่มีรูปร่างสูง จะมีโอกาสในการมีลูกแฝดสูงกว่า อาจจะฟังดูแปลก ๆ ว่าการมีลูกแฝดนั้นเกี่ยวข้องอะไรกับความสูงของผู้หญิง แต่จากงานวิจัยในปี 2006 พบว่าผู้หญิงที่มีลูกแฝดนั้นมักมีความสูงมากกว่าความสูงเฉลี่ยของผู้หญิงทั่วไป […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

ตั้งครรภ์อย่างไร ให้แข็งแรง เมื่อก้าวเข้าสู่ วัย 40

ปัจจุบันการ ตั้งครรภ์ในวัย 40 ถือเป็นเรื่องที่ปกติมากขึ้น แม้ว่าผู้หญิงหลายคนอาจเลือกที่จะมีลูกกันเร็ว ๆ เพราะถือว่าเป็นช่วงอายุที่เหมาะสม การ ตั้งครรภ์ วัย 40 ควรจะพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียอย่างถี่ถ้วน เพื่อช่วยให้ทั้งแม่และทารกในครรภ์นั้นแข็งแรง ปลอดภัย และลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น [embed-health-tool-”due-date”] ประโยชน์ของการ ตั้งครรภ์ในวัย 40 บางครั้งการ ตั้งครรภ์ในวัย 40 นั้นอาจจะมีข้อดีหลาย ๆ อย่าง เช่น มีความมั่นคง ในวัย 40 เป็นช่วงที่ทุกอย่างลงตัวสำหรับหลาย ๆ ครอบครัว ทั้งการงานและการเงิน ทำให้พ่อแม่อาจมีเวลามากขึ้นในการดูแลลูก อีกทั้งสถานะทางการเงินก็อาจพร้อมสำหรับการดูแลเด็ก เมื่อเทียบกับครอบครัวในช่วงวัยอื่น มีเวลาในการใช้ชีวิต สำหรับผู้หญิงหลายคน อาจจะต้องการเวลาที่จะมีอิสระในการทำสิ่งที่ตนเองชอบ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางท่องเที่ยว ทำงาน ในช่วงวัยนี้อาจจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะได้ใช้ชีวิตมามากเท่าที่ต้องการแล้ว ลูกได้รับการศึกษาที่ดี จากงานวิจัยพบว่าเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์ของคุณแม่วัย 40 มักจะได้รับโอกาสทางการศึกษาที่ดี เพราะพ่อ แม่ มีความพร้อมทั้งเวลาและเงิน พร้อมที่จะสนับสนุนการเรียนรู้ของลูกอย่างเต็มที่ นอกจากการสนับสนุนแล้ว พ่อแม่ในวัยนี้ยังเป็นวัยที่มีวุฒิภาวะที่ดีพอที่จะสอนลูกได้อย่างมีเหตุผล ความเสี่ยงในการ ตั้งครรภ์ วัย 40  ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้น ทำให้การ ตั้งครรภ์ในวัย 40 ปี เป็นเรื่องที่ไม่น่ากลัว เพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยนั้นช่วยให้คุณสามารถคลอดลูกได้อย่างปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามการคลอดลูกหลังจากอายุ 40 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน