ปวดศีรษะจนไม่อันเป็นทำอะไร ทั้งรบกวนการพักผ่อนระหว่างวัน อยากจะหลับตาให้สนิทก็ยังยาก แถมยังไม่รู้ว่าตนเองปวดหัวชนิดใดอีก ทำได้แค่ภาวนาให้อาการนี้บรรเทาลงในคืนเร็ววัน แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปเมื่อทุกคนได้รู้จักและทำความเข้าใจกับ 7 รูปแบบของ อาการปวดหัวยอดฮิต ที่ Hello คุณหมอได้นำ สาเหตุเบื้องต้น และวิธีรักษามาให้ทุกคนได้ทราบกันแล้ว ในบทความนี้
รู้จักกับ 7 รูปแบบ ของ อาการปวดหัวยอดฮิต กันเถอะ
-
ไมเกรน
เป็นการกระตุ้นอย่างรุนแรงภายในส่วนที่ลึกของศีรษะคุณ เป็นความเจ็บปวดที่อยู่ได้ยาวนาน และติดต่อกันหลายวัน มักปวดด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว มีความรู้สึกที่ไวต่อการรับกลิ่น และแสงรอบตัว รวมถึงอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนด้วยเล็กน้อย สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในวัยเด็กจนถึงผู้ใหญ่
สาเหตุที่ทำให้ไมเกรน
- ความเครียด
- การถูกรบกวนการนอนหลับ
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
- ผลกระทบจากยา หรืออาหารบางชนิด
วิธีรักษาอาการไมเกรน
- ยาที่จำหน่ายตามเคาน์เตอร์ร้านขายยา หรือได้รับการอนุญาตจากแพทย์ และเภสัชกร เช่น ไอบูโพนเฟน (Ibuprofen) แอสไพริน (Aspirin) โทพิราเมท (Topiramate) โพรพราโนลอล (Propranolol) และ อะมิทริปไทลีน ( Amitriptyline)
- พักผ่อนในที่เงียบสงบไร้เสียงดังรบกวน
- นำเจลเย็น หรือน้ำแข็งประกบบริเวณหน้าผาก
- ดื่มน้ำให้พอเหมาะต่อวัน
หากรักษาตามวิธีข้างต้นแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น หรือมากกว่า 15 วัน ควรเข้าขอรับคำแนะนำ และการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
View this post on Instagramพฤติกรรมอะไร กระตุ้นไมเกรนกำเริบ มาดูกันเลย . #Hellokhunmor #Migraine #HealthTips #Health
A post shared by HelloKhunMor (@hellokhunmor) on
-
ปวดศีรษะตึงเครียด
เป็นเรื่องปกติที่พบได้ทั่วไปในคนส่วนใหญ่ สามารถเกิดได้ครั้งคราว เป็นอาการปวดไปทั่วโดยรอบทั้งศีรษะ พร้อมทั้งมีอาการอ่อนล้าช่วงลำคอ จนถึงกล้ามเนื้อไหล่อีกด้วย
สาเหตุที่ทำให้ปวดหัวแบบตึงเครียด
- ความเครียด ความวิตกกังวล
- รับประทานอาหารไม่ครบทุกมื้อ
- ขาดการออกกำลังกาย
- การนอนไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
วิธีรักษาอาการปวดหัวแบบตึงเครียด
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อย่างสม่ำเสมอ
- ปรับปรุงท่าทางในชีวิตประจำวัน เช่น ท่านั่งทำงาน
- รับมือกับความตึงเครียดในแต่ละวัน
- ฝังเข็ม
นอกจากนี้อาจมีการใช้ยาแก้ปวด เช่น ไอบูโพนเฟน (Ibuprofen) แอสไพริน (Aspirin) และอะเซดามิโนเฟน (Acetaminophen) ที่สามารถลดอาการปวด หากผู้ป่วยปวดศีรษะมากกว่า 15 วัน หรือมากกว่านั้น ควรรีบขอคำปรึกษาจากแพทย์ทันที
-
อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์
มักเกิดขึ้นได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เป็นอาการปวดด้านใดด้านหนึ่งของใบหน้า หรือด้านหลังศีรษะ บางครั้งอาจมีผื่นแดงขึ้น เหงื่อออกจำนวนมาก รวมถึงน้ำมูก และน้ำตาไหล อาการปวดหัวรูปแบบนี้จะอยู่ได้เพียง 15 นาที ถึง 3 ชั่วโมง เท่านั้น แต่จะเกิดขึ้นได้บ่อยประมาณ 4 ครั้งต่อวันเลยทีเดียว
สาเหตุที่ทำให้ปวดหัวแบบคลัสเตอร์
ยังไม่มีการค้นพบที่แน่ชัดมากนัก แต่จะเกิดขึ้นได้บ่อยกับผู้ที่ชอบสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
วิธีรักษาอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์
- การบำบัดด้วยออกซิเจนทางการแพทย์
- ยารักษาอาการปวดหัวเฉพาะ เช่น ซูมาทริปแทน (Sumatriptan) คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) และ โทพิราเมท (Topiramate)
-
ปวดหัวจากการใช้แรง
เป็นอาการปวดหัวที่พบในกลุ่มผู้รักการออกกำลังกายเป็นชีวิตจิตใจ เช่น การวิ่ง กระโดด ยกน้ำหนัก จนทำให้ร่างกายรู้สึกหักโหมนำสู่อาการปวดหัว แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะเป็นอาการนี้ที่สามารถหายไปได้เองเพียงไม่กี่นาที หรือภายใน 2 วัน
วิธีรักษาอาการปวดหัวจากการใช้แรง
คุณสามารถรักษาได้โดยยาสามัญประจำบ้านของเรา ดังนี้
- ไอบูโพนเฟน (Ibuprofen)
- แอสไพริน (Aspirin)
- ยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ (Beta Blockers)
-
ปวดหัวจากการรับประทานยาเกินขนาด
เป็นอีกหนึ่งรูปแบบในอาการปวดหัวที่พบบ่อยเช่นกัน มีลักษณะอาการเสมือนกับไมเกรน และปวดหัวตึงเครียด ซึ่งมีสาเหตุมากจากการใช้ยาแก้ปวดติดต่อกันมากกว่า 15 วันต่อเดือน ส่วนมากเป็นยาที่อยู่ในกลุ่มต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) ทริปแทน (Triptan) และอะเซดามิโนเฟน (Acetaminophen)
วิธีรักษาอาการปวดหัวจากการรับประทานยาเกินขนาด
หยุดการทานยา และขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อได้รับการวางแผนการรักษาใหม่ และกำหนดยาชนิดอื่นที่ไม่รุนแรงทดแทน
ซึ่งผลข้างเคียงหลังการหยุดยาอาจทำให้คลื่นไส้อาเจียน การนอนหลับไม่มีประสิทธิภาพ รวมถึงมีความวิตกกังวล แต่อาการที่กล่าวมานั้นจะหายไปได้เองภายในเวลา 1-3 สัปดาห์
-
ปวดหัวช่วงเป็นประจำเดือน
เมื่อฮอร์โมนในเพศหญิงเปลี่ยนแปลง เข้าสู่ช่วงวัยมีประจำเดือนมักจะมีสัญญาณเตือน เช่น ปวดหลัง เต้านมคัดตึง อ่อนเพลีย รวมถึงอาการปวดหัวนี้ด้วย และอาจเชื่อมโยงไปกับการปวดหัวแบบไมเกรนในบางครั้ง หรือช่วงการตกไข่
วิธีรักษาอาการปวดหัวช่วงเป็นประจำเดือน
- ยารักษา เช่น ยาที่อยู่ในกลุ่มต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) ทริปแทน (Triptan)
- บำบัดทดแทนฮอร์โมนจากสตรีที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน
อาจมีการรักษาในรูปแบบอื่นนอกเหนือที่กล่าวมาข้างต้น โปรดแจ้งอาการเบื้องต้น และขอคำแนะนำ จากแพทย์ หรือเภสัชกรเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]