backup og meta

How To ตากแดด อย่างปลอดภัย ให้ร่างกายได้รับวิตามินดีสูงสุด

How To ตากแดด อย่างปลอดภัย ให้ร่างกายได้รับวิตามินดีสูงสุด

แสงแดด‘ นั้น มีคุณประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด นอกจากจะทำให้สรรพสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกใบนี้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้  ยังช่วยบำบัดรักษาโรคได้อีกด้วย มาทำความรู้จักแสงแดดให้มากขึ้นกัน ในบทความเรื่อง “How To ตากแดด อย่างปลอดภัย ให้ร่างกายได้รับวิตามินดีสูงสุด’ กันค่ะ

มา ตากแดด เสริมวิตามินดีกันเถอะ

วิตามินดีจากแสงแดด เป็นวิตามินจากธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อผิวของคุณได้รับแสงแดดจากดวงอาทิตย์ ร่างกายจะสังเคราะห์คอเลสเตอรอลไปเป็นวิตามินดี  อย่างไรก็ตามหากคุณได้รับแสงแดดที่ไม่เพียงพอ ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีเสริมให้กับร่างกาย เช่น น้ำมันตับปลา ไข่ไก่ ปลาทูน่า เนื้อไก่ ชีส เป็นต้น เพื่อให้ร่างกายนำวิตามินดีมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รู้หรือไม่คะว่า การตากแดดที่ดีที่สุดนั้น ควรตากแดดในช่วงเช้า กลางแจ้ง ให้ศีรษะของเราอยู่ใต้ท้องฟ้า เพื่อให้ร่างกายได้รับแสงอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ และควรระมัดระวังไม่ให้ตนเองตากแดดเป็นเวลานานๆ ในช่วงเที่ยงหรือช่วงบ่ายที่มีแสงแดดจัด (12.00 น. – 14.00 น.) เพราะจะทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง

แสงแดด บำบัดโรค

เชื่อว่าหลายคนอาจยังไม่ทราบว่า แสงแดดจากดวงอาทิตย์สามารถบำบัดรักษาโรคต่างๆได้ ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ โดยสามารถรักษาโรคต่างๆ ได้ดังนี้

ป้องกันโรคมะเร็ง

  • หากคุณตากแดดมากจนเกินไปอาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้ แต่หากได้รับแสงแดดอ่อนๆ จะมีประโยชน์ในการป้องกันโรคมะเร็ง ทั้งมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งรังไข่ มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งต่อมลูกหมาก

รักษาโรคผิวหนัง

  • แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางผิวหนังจะแนะนำให้ผู้ป่วยโรคผิวหนัง เช่น โรคสะเก็ดเงิน กลาก ดีซ่าน และสิว สัมผัสแดดเพื่อให้รังสียูวี (UV) ฆ่าเชื้อโรค ทั้งนี้การรักษาผู้ป่วยในแต่ละรายจะมีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

รักษาสุขภาพจิต

  • หากคุณได้รับแสงแดดที่น้อยเกินไป จะทำให้ปริมาณสารเซโรโทนิน (Serotonin) ลดลงตามไปด้วย การพร่องเซโรโทนินเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักของโรคซึมเศร้าและโรคทางจิต แต่หากร่างกายของคุณได้รับแสงแดดเป็นประจำ แสงแดดจะช่วยสังเคราะห์เซโรโทนิน ช่วยกระตุ้นอารมณ์ทำให้ให้รู้สึกสดชื่น อารมณ์ดี ควบคุมอารมณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ป้องกันโรคกระดูกพรุน

  • วิตามินดีจากแสงแดดมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพของกระดูกมาก ช่วยสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ที่สำคัญควรออกกำลังกายตอนเช้าเป็นเวลา 10-15 นาที เพื่อรับแสงแดดอ่อนๆ รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ร่วมด้วย

อันตราย-รับแสงแดด-มากไป

อันตรายจากการรับแสงแดด มากจนเกินไป

  • ผิวหนังอักเสบ เป็นอาการที่เกิดจากการถูกแดดเผา เมื่อผิวหนังได้รับแสงแดดมากจนเกินไป อาจทำให้ผิวหนังอักเสบ บวมแดงได้
  • กระจกตาอักเสบ การได้รับแสงยูวีเป็นเวลานานอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพดวงตาของคุณ ทำให้จอตาเสื่อมสภาพลง ส่งผลให้กระจกตาอักเสบ
  • ริ้วรอยก่อนวัย การได้รับแสงแดดเป็นเวลานานส่งผลให้รังสียูวีเข้าไปทำลายเซลล์ผิว ทำให้คอลลาเจนในผิวลดน้อยลงเกิดปัญหาริ้วรอย จุดด่างดำ ผิวหนังเหี่ยวย่นก่อนวัย
  • โรคทางผิวหนัง แสงแดดอาจทำให้ผิวหนังเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ฝ้า กระ และอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคทางผิวหนังอื่นๆได้
  • ฮีทสโตรก เมื่อร่างกายได้รับความร้อนมากจนเกินไป ทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เกิดอาการฮีทสโตรก ร่างกายอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน และอาจจะหมดสติได้

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับบทความที่นำมาฝากกันในวันนี้  แสงแดดจากธรรมชาตินั้นมีคุณประโยชน์มากมายจริงๆ แต่หากเราได้รับแสงแดดที่มากจนเกินไปย่อมเกิดผลเสียต่อสุขภาพต่อร่างกายเช่นกัน ฉะนั้นเราจึงควรเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างถูกวิธีนะคะ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Are the Benefits of Sunlight?. https://www.healthline.com/health/depression/benefits-sunlight. Accessed 2 March 2020.

The Benefits of Vitamin D. https://www.healthline.com/health/food-nutrition/benefits-vitamin-d#reduces-depression.. Accessed 2 March 2020.

How to Safely Get Vitamin D From Sunlight. https://www.healthline.com/nutrition/vitamin-d-from-sun. Accessed 2 March 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/07/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์


บทความที่เกี่ยวข้อง

หวัดแดด VS หวัดฝน

ผิวไหม้แดด กับวิธีฟื้นฟูผิวให้สุขภาพดี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 31/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา