backup og meta

ประโยชน์หลากหลายของ น้ำตา ที่คู่ควรกว่า การเสียใจเพราะความรัก

ประโยชน์หลากหลายของ น้ำตา ที่คู่ควรกว่า การเสียใจเพราะความรัก

ทุกคนคงมักจะเข้าใจว่า น้ำตา เป็นเครื่องหมายของความอ่อนแอ ความผิดหวัง ความโศกเศร้าเสียใจ และมักเกิดขึ้นได้บ่อยในเพศหญิง มากกว่าเพศชาย แต่นอกจากความหมายที่คุ้นชินกันเช่นนี้แล้ว ลองปรับมุมมองของน้ำตากันบ้างดีกว่า เพราะน้ำตาไม่ได้เป็นแค่สัญลักษณ์ในเชิงลบเท่านั้น วันนี้ Hello คุณหมอ จะพามารู้จักกับประโยชน์ที่ซ่อนอยู่ จนทำให้ทุกคนอาจอึ้งไปตามๆ กันเลยทีเดียว

องค์ประกอบของ น้ำตา มีอะไรบ้าง

รู้หรือไม่ว่าน้ำตามีทั้งหมด 3 ประเภท ด้วยกัน เริ่มด้วย

  • น้ำตาแรกเริ่ม คือน้ำภายในดวงตาที่คอยหล่อเลี้ยงเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตา
  • น้ำตาที่เกิดจากสิ่งเร้า เมื่อคุณเผลอสัมผัสดวงตา หรือโดนสิ่งรอบตัว เข้ามาก่อกวนสร้างความระคายเคืองต่อ จึงทำให้ร่างกายผลิตน้ำตาออกมา
  • น้ำตาทางอารมณ์ สิ่งนี้เชื่อมต่อกับภาวะทางอารมณ์โดยตรง และสามารถเกิดขึ้นได้บ่อยมากเมื่อเรารู้สึกเสียใจ มีความสุข และโกรธ จนกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่

บทบาทสำคัญของน้ำตา คือ เป็นของเหลวที่คอยทำให้ดวงตาของเราชุ่มชื้น และมีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับน้ำลาย มีองค์ประกอบ ดังนี้

  • น้ำ ที่เป็นของเหลวส่วนหนึ่งในร่างกายของเราแต่เดิม
  • อิเล็กโทรไลต์ (Electrolytes) สารละลายมีลักษณะเป็นของเหลว และเป็นสารที่มีประจุไฟฟ้าอยู่ในตัว มักกระจายอยู่ทั่วทั้งร่างกาย ซึ่งแยกย่อยส่วนประกอบของอิเล็กโทรไลต์ออกมาได้อีก คือ โซเดียมไบคาร์บอเนต คลอไรด์ และ โพแทสเซียม ที่ทำให้น้ำตามีรสชาติค่อนข้างเค็ม

นอกจากนี้ยังพบไลโซไซม์ (Lysozyme) และแลคโตเฟอริน (Lactoferrin) เปปไทด์ที่อยู่ในกลุ่มของโปรตีนเป็นสารประกอบในน้ำตาเช่นเดียวกัน และสามารถกำจัดแบคทีเรีย ไวรัสที่อยู่บริเวณภายในดวงตาได้

ประโยชน์ของ น้ำตา ที่ทำให้คุณอาจคาดไม่ถึง

1. ช่วยในการผ่อนคลาย

ในการศึกษาปี 2014 พบว่าการร้องไห้เป็นกลไกการปลอบโยนตนเองที่ดีที่สุด ทำให้ระบบประสาทรอบนอกเปิด (PNS) พวกเขาจึงรู้สึกถึงความผ่อนคลาย อารมณ์ที่เย็นลง ลดความทุกข์ในจิตใจ และยังช่วยในการย่อยอาหารได้ดี

2. บรรเทาอาการปวดเมื่อย

นักวิจัยพบว่านอกเหนือจากการผ่อนคลายแล้ว การที่ร้องไห้ยังทำให้หลั่งสารเอนดอร์ฟิน (Endorphin) สารแห่งความสุขออกมาบรรเทาอาการปวดเมื่อยทั่วทั้งร่างกาย

3. ส่งเสริมการนอนหลับ

จากการศึกษาในปีในปี 2015 ของทีมวิจัย พบว่าการร้องสามารถช่วยให้เพิ่มการนอนหลับได้ดี โดยเฉพาะกับเด็กทารก และเด็กแรกเกิด เพราะเสียงร้องไห้นั้นจะทำให้ปอดของทารกแข็งแรง และทำความสะอาดของเหลวในจมูก และปากที่อาจปนเปื้อนมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา

4. กำจัดแบคทีเรีย

การร้องไห้สามารถช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียภายในดวงตา หรือรอบๆ ดวงตาออกไปได้ เนื่องจากมีส่วนประกอบของไลโซไซม์ ที่มีคุณสมบัติกำจัดเชื้อจุลินทรีย์

5. บรรเทาความเครียด

98 % ของผู้ที่ร้องไห้จนก่อให้เกิดน้ำตาไหลนอง พบว่ามาจากฮอร์โมนความเครียด จากเรื่องส่วนตัว จนต้องใช้การระบายด้วยการร้องไห้ออกมา ซึ่งทำให้ฮอร์โมนเหล่านั้นในร่างกายมีระดับที่ลดลง

อาการแบบไหน ที่ควรได้รับการช่วยเหลือ จากการเสียน้ำตามากเกินไป

สังเกตอาการดังต่อนี้ไป รวมถึงตรวจเช็กปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่อาจเป็นสัญญาณแรกเริ่มของโรคซึมเศร้า เพื่อได้รับการรักษาอย่างเท่าทัน

  • ร้องไห้อยู่บ่อยครั้ง
  • ร้องไห้ขึ้นมาอย่างไม่มีเหตุผลที่ชัดเจน
  • รู้สึกถึงความไม่เป็นตัวของตัวเอง ควบคุมการร้องไห้ได้ยาก

หรืออาการทางอารมณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และผิดปกติเกินกว่าบุคคลที่ร้องไห้ธรรมดา เช่น รู้สึกไร้ค่า สิ้นหวัง หงุดหงิดง่าย เบื่ออาหาร และมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายอยู่บ่อย ๆ เป็นต้น

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The Composition of Tears and Their Role in Eye Health https://www.verywellhealth.com/what-are-tears-made-of-3421862 Accessed February 11, 2020

What Are Tears Made Of? 17 Facts About Tears That May Surprise You https://www.healthline.com/health/what-are-tears-made-of#onions Accessed February 11, 2020

Eight benefits of crying: Why it’s good to shed a few tears https://www.medicalnewstoday.com/articles/319631.php#when-to-see-a-doctor Accessed February 11, 2020

9 Ways Crying May Benefit Your Health https://www.healthline.com/health/benefits-of-crying#emotionalbalance Accessed February 11, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/07/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ร้องไห้ เป็นสัญญาณของความอ่อนแอจริงหรือ

เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ ระวังเป็น โรคพีบีเอ (PBA) โดยไม่รู้ตัว!


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 09/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา