การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

การติดเชื้อเอชไอวี ส่งผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันถูกโจมตี หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาก็จะทำให้เกิดโรคเอดส์ได้ และนี่คือสิ่งที่ทุกคนควรเรียนรู้เกี่ยวกับ การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ เพื่อจะได้ป้องกันตัวเอง รวมถึงดูแลสุขภาพโดยรวมของคุณได้อย่างเหมาะสม

เรื่องเด่นประจำหมวด

การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

HIV อาการ ในแต่ละระยะของการติดเชื้อ เป็นอย่างไร

เมื่อติดเชื้อ HIV อาการ ที่ปรากฏจะแตกต่างไปในแต่ละระยะ โดยการติดเชื้อ HIV แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะการติดเชื้อเฉียบพลัน ระยะการติดเชื้อไม่แสดงอาการ และระยะโรคเอดส์ ทั้งนี้ หากผู้ติดเชื้อ HIV ดูแลสุขภาพตัวเองด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สะอาดและปราศจากสารตกค้าง และรับประทานยาต้านไวรัสทุกวัน จะช่วยชะลอหรือป้องกันไม่ให้เข้าสู่ระยะโรคเอดส์ได้ ทั้งยังช่วยให้ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงปกติมากที่สุด [embed-health-tool-bmi] HIV คืออะไร HIV (เอชไอวี) ย่อมาจาก Human Immunodeficiency Virus เป็นเชื้อไวรัสที่ทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเซลล์ซีดี 4 (CD4 cells) ซึ่งทำหน้าต่อสู้กับการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนี้น้อยลง จึงส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง และหากการติดเชื้อ HIV พัฒนาจนเข้าสู่ระยะสุดท้ายหรือระยะโรคเอดส์ (AIDs) ก็จะยิ่งทำให้เสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่มักรักษาได้ยากและติดเชื้อซ้ำได้ง่าย เช่น วัณโรค การติดเชื้อรา การติดเชื้อในสมอง เชื้อ HIV สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสหรือได้รับของเหลวในร่างกายของผู้ติดเชื้อ ด้วยวิธีต่อไปนี้ การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทวารหนักโดยไม่สวมถุงยางอนามัย เป็นวิธีที่พบได้บ่อยมากที่สุด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น เช่น การเสพยาเสพติดด้วยกัน การสัมผัสเลือดหรือของเหลวของผู้ติดเชื้อ […]

สำรวจ การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

ตุ่มเอดส์ อาการเมื่อติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์

ตุ่มเอดส์ หรือตุ่ม PPE เป็นอาการทางผิวหนังที่ทำให้เกิดผื่นคันในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี โดยเฉพาะในผู้ป่วยระยะโรคเอดส์ ตุ่มเอดส์มักเกิดขึ้นบริเวณลำตัว ใบหน้า และแขนขา อาจทำให้มีตุ่มแดงหรือตุ่มสีม่วงบนผิวหนัง มีอาการคัน เลือดคั่ง และอาจมีเยื่อเมือกบนฝ่ามือและฝ่าเท้า ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด และควรเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องเพื่อไม่ให้อาการลุกลามจนควบคุมได้ยาก [embed-health-tool-ovulation] ตุ่มเอดส์ คืออะไร ผื่น PPE หรือตุ่ม PPE (Pruritic papular eruption หรือ PPE) หรือที่เรียกกันว่า ตุ่มเอดส์ คือ ผื่นคันที่มักเกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน ตุ่มเอดส์เป็นอาการเริ่มต้นของเอชไอวีระยะที่ 2 ซึ่งเป็นสัญญาณว่าระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง และตุ่มเอดส์จะกระจายตัวมากขึ้นเป็น 3 เท่า เมื่อจำนวนเม็ดเลือดขาว CD4 ที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค น้อยกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม. ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุตุ่มเอดส์ได้อย่างแน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากการติดเชื้อเอชไอวีเฉียบพลันโดยตรงทางผิวหนัง ยารักษาภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง การติดเชื้ออื่น ๆ เช่น เชื้อไวรัสเริม ซิฟิลิส หรือโรคหูข้าวสุก การติดเชื้อจากแมลงกัดต่อย ทำให้มีตุ่มแดงหรือตุ่มสีม่วงบนผิวหนัง มีอาการคัน เลือดคั่ง ผิวแห้ง มีเม็ดสีมากเกินไปจนสีผิวบางส่วนเปลี่ยนแปลง […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

วิธีสังเกต คนเป็นเอดส์ ทำได้อย่างไร

วิธีสังเกต คนเป็นเอดส์ อาจสังเกตได้จากอาการของโรค เช่น อาจมีอาการเหนื่อยล้าตลอดเวลา มีตุ่มเอดส์ มีไข้เป็นเวลายาวนาน หรือน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่สำหรับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ในระยะแรกอาจสังเกตอาการได้ยาก เนื่องจากอาจมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่และอาจเข้าสู่ระยะไม่แสดงอาการ หากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มต้น เชื้อไวรัสอาจพัฒนากลายเป็นโรคเอดส์ที่มีความรุนแรงขึ้นได้ [embed-health-tool-ovulation] เอดส์ คืออะไร เอดส์ (AIDS) เป็นระยะรุนแรงของการติดเชื้อเอชไอวี มักเกิดขึ้นเมื่อจำนวนของเซลล์ CD4 คือ เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย มีจำนวนลดลงเหลือต่ำกว่า 200 เซลล์ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เพิ่มโอกาสติดเชื้ออื่น ๆ สูงขึ้นและอาจทำให้มีอาการแย่ลงอย่ารวดเร็วเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอมาก  ซึ่งโดยปกติควรมี CD4 อยู่ระหว่าง 500–1,500 ต่อเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร แต่จำนวน CD4 อาจเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายในขณะนั้น เช่น ในช่วงร่างกายอ่อนแอ มีไข้ หรือพักผ่อนน้อย เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อผ่านเลือด สารคัดหลัง หรือน้ำอสุจิ ที่สัมผัสกับบาดแผลโดยตรง การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ หรือการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางปากและทางทวารหนัก โดยไม่สวมถุงยางอนามัยป้องกัน ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีในระยะแรกอาจแสดงอาการเริ่มต้นภายใน 1-6 สัปดาห์ จากนั้นเชื้อไวรัสจะพัฒนาไปในระยะไม่แสดงอาการจนกลายเป็นโรคเอดส์ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีตั้งแต่เริ่มต้น วิธีสังเกต […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

การทำใจยอมรับ เมื่อรู้ว่าติดเชื้อ HIV

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเชื้อไวรัสเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus : HIV) ส่วนใหญ่มักอยู่ในสภาวะอารมณ์แปรปรวน อันมีสาเหตุมาจากความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า การถูกตีตราทางสังคมจนทำให้เกิดภาวะบีบคั้นทางด้านจิตใจ ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรเรียนรู้วิธีการทำใจยอมรับเมื่อรู้ว่าตัวเองติดเชื้อ HIV [embed-health-tool-ovulation] ปฏิกิริยาของผู้ป่วย ติดเชื้อ HIV แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากติดเชื้อเอชไอวี และเป็นเรื่องธรรมชาติของผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีเมื่อทราบข่าวจะมีปฏิกิริยาปฏิเสธสิ่งที่รับรู้ เช่น ไม่ยอมรับความจริง โกรธคนที่ทำให้ติดเชื้อ (อาการแสดงออกมากหรือน้อยแล้วแต่บุคคลมีอาการตอบสนองแตกต่างกัน) ดังนั้นแพทย์ ผู้ให้คำปรึกษา รวมถึงผู้ที่อยู่รอบข้างผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีจะต้องเข้าใจโดยปฏิกิริยาเหล่านี้  คุณหมอเรียกว่า “ปฏิกิริยาของความโศกเศร้า” หรือ “Stage of grief” แบ่งออกเป็น 5 ระยะ ดังนี้ ระยะปฏิเสธ (Denial) เป็นเรื่องธรรมดาที่จะปฏิเสธสิ่งที่รับรู้ ไม่เชื่อ ไม่สามารถรับความจริงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ระยะโกรธ (Anger) ความผิดหวังที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อรู้สึกโกรธ เช่น สิ่งที่เกิดขึ้น บุคคลที่ทำให้ติดเชื้อ รวมถึงแพทย์ที่ทำการรักษา ระยะต่อรอง (Bargaining) การร้องขอต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง อยากให้หายจากโรคนี้ ระยะซึมเศร้า (Depression) ระยะนี้ผู้ติดเชื้อเริ่มยอมรับกับความจริงที่เกิดขึ้นได้ส่วนหนึ่ง  ต้องคอยระวังอารมณ์เพราะอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

วิธีป้องกันตัวเองจากเชื้อเอชไอวี

การติดเชื้อเอชไอวี (HIV) และโรคเอดส์ (AIDS) เป็นภาวะสุขภาพที่ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีหรือยาที่จะช่วยรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ การรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์จึงต้องมุ่งเน้นไปที่การรักษาด้วยยาต้านเชื้อเอชไอวีเพื่อกดไวรัสไว้ในร่างกายไม่ให้แพร่เชื้อสู่ผู้อื่น และการส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถอยู่ร่วมกับโรคที่เป็นและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ควรรู้ ก็คือ วิธีป้องกันตัวเองจากเชื้อเอชไอวี ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อนี้ได้ วิธีป้องกันตัวเองจากเชื้อเอชไอวี (HIV) การติดเชื้อเอชไอวีนั้นสามารถติดต่อได้จาก 3 ช่องทางหลัก ๆ ได้แก่ ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือการทำกิจกรรมทางเพศ เช่น ออรัลเซ็กส์ ติดต่อผ่านทางเลือด เช่น การใช้เข็ดฉีดยาร่วมกัน การติดต่อผ่านอุปกรณ์สัก การถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก เชื้อเอชไอวีสามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกได้ทั้งในระหว่างตั้งครรภ์ หลังคลอด และให้นมบุตร การติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์เป็นช่องทางที่พบได้บ่อยและสำคัญที่สุดของการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่ง นายแพทย์วิฉกร จิตประพันธ์ แพทย์ประจำคลินิก Pulse สีลม เผยว่า วิธีป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์ในปัจจุบันนั้นมีอยู่หลายวิธี ได้แก่ การใช้ถุงยางอนามัย หากใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้อง เช่น เลือกขนาดให้เหมาะสม สวมถุงยางอนามัยก่อนสัมผัสอวัยวะเพศ ปาก หรือทวารหนัก ใช้สารหล่อลื่นที่มีส่วนประกอบพื้นฐานเป็นน้ำไม่ใช่น้ำมัน จะสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้เกือบ 90% และถึงแม้ในปัจจุบันจะมีวิธีป้องกันตัวเองจากเชื้อเอชไอวีในรูปแบบอื่น ๆ แล้ว แต่ก็ควรใช้ถุงยางอนามัยเสมอเมื่อจะมีเพศสัมพันธ์หรือประกอบกิจกรรมทางเพศ เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้แล้ว ถุงยางอนามัยยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ และป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดีด้วย การใช้ยาป้องกันเชื้อเอชไอวี การใช้ยาป้องกันเชื้อเอชไอวี ที่เรียกว่า “ยาเพร็พ” (Pre-Exposure […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

แนวทางที่ควรปฏิบัติสำหรับ การอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี

การติดเชื้อเอชไอวี เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้มากที่สุดในประเทศไทย ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ส่วนใหญ่นั้น มักจะถูกเลือกปฏิบัติและกีดกันจากคนในสังคมอยู่เสมอ ความจริงแล้ว ผู้ติดเชื้อนั้นสามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้ตามปกติ นับเป็นเรื่องจำเป็นที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับ การอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี  เพื่อทำความเข้าใจ และอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข [embed-health-tool-ovulation] ทำความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี เชื้อเอชไอวี (Human immunodeficiency virus; HIV) คือเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเข้าไปทำลายเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีนั้นมีโอกาสในการเกิดโรคและติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น และหากปล่อยทิ้งไว้จนอาการรุนแรงขึ้น ก็อาจจะนำไปสู่ โรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี และอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ไม่จำเป็นจะต้องเป็นโรคเอดส์เสมอไป โดยผู้ติดเชื้อเอชไอวี ก็เหมือนผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างหนึ่ง เหมือนผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ป่วยความดันโลหิตสูง การที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีนั้นสามารถทำได้ เพียงแค่ควรเรียนรู้ทำความเข้าใจ ว่าเชื้อเอชไอวีนั้นแพร่เชื้ออย่างไร และจะสามารถป้องกันตัวเองจากเชื้อเอชไอวีได้อย่างไรบ้าง รวมไปถึงการรักษาและการไปปรึกษาคุณหมอเพื่อติดตามการรักษา แนวทางใน การอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี เชื้อไวรัสเอชไอวีนั้นจะติดต่อกันผ่านทางสารคัดหลั่งที่มีเชื้อเอชไอวีอยู่ เช่น เลือด น้ำนม อสุจิ หรือน้ำหล่อลื่น ดังนั้น คนที่ไม่มีเชื้อเอชไอวีจึงสามารถอยู่ร่วมกับ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ได้ตามปกติ สามารถรับประทานอาหารร่วมกัน เข้าห้องน้ำ ซักผ้า ใช้สบู่ และใช้ยาสีฟันร่วมกันได้ตามปกติ โดยไม่มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการส่งต่อเชื้อเอชไอวีแต่อย่างใด ข้อควรปฏิบัติสำหรับ การอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ฉีดวัคซีนป้องกันโรค และตรวจคัดกรองโรค […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

เราสามารถ ติดเชื้อ HIV ได้อย่างไรบ้าง

เชื้อเอชไอวี (HIV) เป็นเชื้อไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกัน หากไม่ได้รับการรักษา เชื้อไวรัสเอชไอวี จะไปลดจำนวนของ CD4 (Cluster of Differentiation 4) ซึ่งเป็นไกลโคโปรตีนที่มีอยู่บนผิวของเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดขาวบางชนิด ซึ่งสามารถตรวจนับจำนวนของ CD4 เพื่อใช้แทนการนับจำนวนเม็ดเลือดขาว โดยสำหรับผู้ที่ ติดเชื้อ HIV จะมีปริมาณของ CD4 ในปริมาณที่ต่ำ หมายถึงระบบภูมิคุ้มกันกำลังอ่อนแอ ซึ่งระดับของ CD4 ของผู้ไม่ติดเชื้อเอชไอวี จะอยู่ระหว่าง 500-1,500 ลูกบาศก์มิลลิเมตร ผู้ป่วยเอชไอวีถ้าไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะร้ายแรงที่เรียกว่า ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรืออีกชื่อคือ โรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งเป็นระยะที่ระบบภูมิคุ้มกันจะอ่อนแอเกินกว่าที่จะต่อสู้กับการติดเชื้ออื่น ๆ ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจจาก นายแพทย์ วิฉกร จิตประพันธ์ แพทย์ประจำคลินิก Pulse สีลม ที่จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับ การติดเชื้อเอชไอวี มาให้อ่านกันค่ะ ว่าการติดเชื้อเอชไอวีนั้นสามารถติดและส่งต่อได้ทางใดบ้าง การ ติดเชื้อ HIV ติดได้อย่างไรบ้าง การติดเชื้อเอชไอวี ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หายขาดได้ แต่หากได้รับการดูแลทางการแพทย์อย่างดี […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

HIV โรคเอดส์ ต่างกันอย่างไร

HIV โรคเอดส์ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย การเข้าใจความแตกต่างของปัญหาสุขภาพทั้งสองอย่างนี้ อาจช่วยให้ผู้ป่วยที่ต้องเผชิญกับ HIV และโรคเอดส์สามารถรับมือได้ดีขึ้น ดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสมและถูกวิธีมากขึ้น [embed-health-tool-bmr] HIV โรคเอดส์ เหมือนหรือแตกต่างกัน   ความแตกต่างระหว่างการติดเชื้อ HIV และ โรคเอดส์ ไว้ดังนี้ การติดเชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus; HIV) คือการติดเชื้อไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการเข้าไปทำลายภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์จนทำให้ร่างกายอ่อนแอ และไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ ได้ เมื่อได้รับเชื้อในระยะแรกอาจไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยอาจอยู่ร่วมกับเชื้อชนิดนี้ได้ แต่หากไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่ภาวะโรคเอดส์ได้ โรคเอดส์ (Acquired Immune Deficiency Syndrome; AIDS) คือภาวะของโรคที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวีและไม่ได้รับการรักษาจนนำไปสู่ระยะท้ายของโรคซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงขึ้น โดยในปัจจุบันได้มีการหลีกเลี่ยงในการเรียกผู้ป่วยว่า ผู้ป่วยเอดส์ หรือ ผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ แต่จะใช้คำเรียกว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีแทน อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบันผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ประมาณ 80-90% ที่มีการติดเชื้อเอชไอวี จะไม่มีอาการป่วย เนื่องจากได้รับการรักษา ได้รับยาต้านไวรัส และเรียก ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ว่า “ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี” (People living with HIV) เอชไอวี […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

ขั้นตอนการตรวจเชื้อ HIV ต้องทำอย่างไรบ้าง

การตรวจเชื้อ HIV มีจุดประสงค์หลักเพื่อตรวจหาเชื้อ HIV ที่อาจได้รับจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น หรืออาจได้รับจากแม่สู่ลูก โดยขั้นตอนการตรวจเชื้อ HIV ได้แก่ การลงทะเบียนเพื่อรับการตรวจเลือด พูดคุยปรึกษากับคุณหมอ เจาะเลือด และนัดฟังผล โดยขั้นตอนอาจแตกต่างกันออกไปเล็กน้อยตามแต่ละโรงพยาบาล [embed-health-tool-ovulation]คุ นายแพทย์ วิฉกร จิตประพันธ์ แพทย์ประจำคลินิก Pulse สีลม ได้ให้คำแนะนำถึงแนวทางการตรวจหาเชื้อเอชไอวีว่ามีอยู่ด้วยกันหลายแบบ และแตกต่างกันไปตามโรงพยาบาลหรือสถานให้บริการ อย่างไรก็ตาม การตรวจหาเชื้อเอชไอวี จะมีระยะที่เราเรียกกันว่าระยะฟักตัว (Window Period) ซึ่งถ้าไม่ทราบระยะฟักตัว (Window Period) ผู้ที่ต้องการตรวจหาเชื้อเอชไอวีอาจจะต้องทำการปรึกษาแพทย์หรือผู้ให้คำปรึกษาก่อน เพื่อจะได้สามารถเลือกวิธีการตรวจที่เหมาะสม จากนั้นจึงจะเริ่มขั้นตอนการตรวจหาเชื้อเอชไอวี ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ ขั้นตอนการตรวจเชื้อ HIV เตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อม ก่อนจะไปเข้ารับ การตรวจหาเชื้อเอชไอวี นั้น ผู้รับบริการไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืองดอาหาร ขอแค่เตรียมกายและใจให้พร้อมก็สามารถไปเข้ารับการตรวจได้เลย ลงทะเบียนคนไข้ แรกเริ่มในการเข้าไปตรวจหาเชื้อเอชไอวีนั้น สถานบริการหรือโรงพยาบาล แต่ละแห่งจะมีการลงทะเบียนคนไข้ที่แตกต่างกัน  บางแห่งต้องเตรียมบัตรประชาชน ต้องใช้หมายเลขบัตรประชาชน ใช้ชื่อจริง นามสกุลจริง แต่บางแห่งก็ไม่จำเป็นต้องใช้บัตรประชาชน หรือเลขประจำตัวใด ๆ สามารถเข้ารับการตรวจแบบนิรนาม (Anonymous) ได้เลย พูดคุย และประเมินความเสี่ยงเพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน เมื่อลงทะเบียนเสร็จแล้ว ทางผู้ให้บริการจะเรียกผู้รับบริการที่ต้องการตรวจหาเชื้อเอชไอวี เข้ามาพูดคุยก่อน เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์และการติดเชื้อเอชไอวีในเบื้องต้น จากนั้นผู้ให้บริการจะทำการประเมินความเสี่ยงร่วมกันกับผู้รับบริการ […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

โรคเอดส์ รักษาให้หายขาดได้หรือไม่

หลายคนมีข้อสงสัยที่ว่า โรคเอดส์ รักษา ให้หายได้หรือไม่ โรคเอดส์ (AIDS) เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันและทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพมากมาย ยิ่งโดยเฉพาะเมื่ออยู่ในระยะโรคเอดส์ที่มักจะมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจนอาจถึงแก่ชีวิต อย่างไรก็ตาม สำหรับการติดเชื้อเอชไอวีในระยะแรก อาจสามารถควบคุมได้ด้วยการรับประทานยาตามที่คุณหมอกำหนดอย่างเคร่งครัด  [embed-health-tool-ovulation] โรคเอดส์ รักษา ให้หายขาดได้หรือไม่ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเอดส์มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก หรือแทบจะไม่เหลือความหวังในการใช้ชีวิตให้เหมือนกับคนปกติได้เลย ทำให้ทางการแพทย์มุ่งเน้นในเรื่องของการรักษาโรคนี้มาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีวิวัฒนาการเกิดขึ้นมากมายเกี่ยวกับการรักษาการติดเชื้อเอชไอวี ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีความหวังอีกครั้ง หากพูดถึงการรักษาเอดส์ นายแพทย์วิฉกร จิตประพันธ์ กล่าวว่า “เราต้องย้อนกลับไปก่อนว่าในอดีต เมื่อ 20-30 ปีก่อน ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีแทบจะไม่มีความหวังในการรักษา แทบจะไม่หายด้วยซ้ำ คนไข้ในช่วงนั้นต้องทานยาเยอะมาก เป็น 10 เม็ดต่อวัน แล้วผลข้างเคียงของยาเยอะมาก” หลังจากนั้นผ่านมาประมาณ 10-20 ปี วิวัฒนาการทางการแพทย์ได้พัฒนาในเรื่องของยา และการรักษาเอชไอวีได้ดีมากขึ้น โดยผู้ป่วยสามารถทานยาได้เพียง 1 เม็ด ทั้งยังสามารถควบคุมปริมาณเชื้อไวรัสไว้ได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่พัฒนาต่อการเป็นผู้ติดเชื้อเอดส์ ในปัจจุบันมีการพัฒนาเรื่องของยามากขึ้น คิดค้นยาที่มีผลข้างเคียงต่ำ ผู้ป่วยสามารถทานยาและใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ โดยที่ไม่มีผลข้างเคียงต่อรูปลักษณ์ภายนอก ภาวะทางอารมณ์ อาการเวียนศีรษะ และคลื่นไส้ เป็นต้น ในส่วนของปัจจุบันการพัฒนายาก็ได้ก้าวหน้ามากขึ้น อนาคตผู้ป่วยอาจจะไม่ต้องทานยาทุกวัน อาจจะเปลี่ยนเป็นยาฉีด โดยปัจจุบันก็ได้มีการทำวิจัยอยู่ หลังจากที่วิจัยสำเร็จแล้ว ผลออกมาเป็นที่น่าพึงพอใจ […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

กลุ่มเสี่ยงโรคเอดส์ มีใครบ้าง

โรคเอดส์ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส (HIV) ที่สามารถแพร่กระจายได้ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน หรือการสัมผัสกับเลือดของผู้ติดเชื้อโดยตรง กลุ่มเสี่ยงโรคเอดส์อาจมีมากมาย เช่น กลุ่มผู้ที่ขายบริการทางเพศ ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ผู้ที่นิยมการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มเสี่ยงโรคเอดส์อาจช่วยให้สามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีที่อาจนำไปสู่โรคเอดส์ได้ [embed-health-tool-ovulation] กลุ่มเสี่ยงโรคเอดส์ มีใครบ้าง ผู้ขายบริการทางเพศ ผู้ชายบริการทางเพศ จัดเป็นกลุ่มผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ สูง เนื่องจากอาจมีพฤติกรรมทางเพศที่สุ่มเสี่ยง เช่น ไม่ใช้ถุงยางอนามัย มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน มีการใช้ยาเสพติด ยิ่งขายบริการทางเพศถี่เท่าไหร่ ความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น กลุ่มรักร่วมเพศ กลุ่มรักร่วมเพศ โดยเฉพาะชายรักชาย และไบเซ็กชวล ก็ถือเป็นอีกกลุ่มเสี่ยงสูงในการติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักถือเป็นรูปแบบของกิจกรรมทางเพศที่เสี่ยงแพร่เชื้อเอชไอวีมากที่สุด ยิ่งหากมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักแบบไม่ป้องกัน ความเสี่ยงก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญเผยว่า หากเป็นฝ่ายรับ ความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีจากการสอดใส่ก็จะยิ่งสูงกว่าฝ่ายรุกถึง 13 เท่า ผู้ติดยาเสพติดแบบใช้เข็มฉีดยาเข้าเส้นเลือด ผู้ติดยาเสพติดที่ใช้เข็มฉีดยาเสพติดเข้าเส้นเลือดนั้นมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีสูงมาก เนื่องจากพวกเขาอาจใช้อุปกรณ์ฉีดยา เช่น เข็มฉีดยา กระบอกฉีด ร่วมกับผู้อื่นที่เสพยาด้วยกัน และอุปกรณ์เหล่านี้อาจมีเลือดติดอยู่ โดยเฉพาะบริเวณเข็มฉีดยา ฉะนั้น หากมีคนใดคนหนึ่งติดเชื้อเอชไอวี ไวรัสก็สามารถส่งต่อผ่านเลือดไปยังผู้อื่นได้ นอกจากนี้ ยาเสพติดอาจเพิ่มความต้องการทางเพศ ทำให้ผู้ใช้ยาเสพติดมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมทางเพศแบบสุ่มเสี่ยง เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย มีคู่นอนหลายคน มีเพศสัมพันธ์กับคนขายบริการทางเพศ หรืออาจกลายเป็นผู้ขายบริการทางเพศเสียเองเพื่อหาเงินซื้อยามาเสพ ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ใช้ยาเสพติดมักเป็นคนวัยผู้ใหญ่ที่อายุยังน้อย โดยจากการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ใหญ่ที่อายุยังน้อยมีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีมากกว่า และปัจจัยทางสังคม […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม