การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

การติดเชื้อเอชไอวี ส่งผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันถูกโจมตี หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาก็จะทำให้เกิดโรคเอดส์ได้ และนี่คือสิ่งที่ทุกคนควรเรียนรู้เกี่ยวกับ การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ เพื่อจะได้ป้องกันตัวเอง รวมถึงดูแลสุขภาพโดยรวมของคุณได้อย่างเหมาะสม

เรื่องเด่นประจำหมวด

การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

HIV อาการ ในแต่ละระยะของการติดเชื้อ เป็นอย่างไร

เมื่อติดเชื้อ HIV อาการ ที่ปรากฏจะแตกต่างไปในแต่ละระยะ โดยการติดเชื้อ HIV แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะการติดเชื้อเฉียบพลัน ระยะการติดเชื้อไม่แสดงอาการ และระยะโรคเอดส์ ทั้งนี้ หากผู้ติดเชื้อ HIV ดูแลสุขภาพตัวเองด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สะอาดและปราศจากสารตกค้าง และรับประทานยาต้านไวรัสทุกวัน จะช่วยชะลอหรือป้องกันไม่ให้เข้าสู่ระยะโรคเอดส์ได้ ทั้งยังช่วยให้ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงปกติมากที่สุด [embed-health-tool-bmi] HIV คืออะไร HIV (เอชไอวี) ย่อมาจาก Human Immunodeficiency Virus เป็นเชื้อไวรัสที่ทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเซลล์ซีดี 4 (CD4 cells) ซึ่งทำหน้าต่อสู้กับการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนี้น้อยลง จึงส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง และหากการติดเชื้อ HIV พัฒนาจนเข้าสู่ระยะสุดท้ายหรือระยะโรคเอดส์ (AIDs) ก็จะยิ่งทำให้เสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่มักรักษาได้ยากและติดเชื้อซ้ำได้ง่าย เช่น วัณโรค การติดเชื้อรา การติดเชื้อในสมอง เชื้อ HIV สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสหรือได้รับของเหลวในร่างกายของผู้ติดเชื้อ ด้วยวิธีต่อไปนี้ การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทวารหนักโดยไม่สวมถุงยางอนามัย เป็นวิธีที่พบได้บ่อยมากที่สุด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น เช่น การเสพยาเสพติดด้วยกัน การสัมผัสเลือดหรือของเหลวของผู้ติดเชื้อ […]

สำรวจ การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

ยุง เป็นพาหะนำเชื้อเอชไอวีได้หรือไม่

เอชไอวี (HIV) คือเชื้อไวรัสที่เข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว จนระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง และก่อให้เกิดโรคเอดส์ ซึ่งสามารถติดต่อจากคนสู่คนผ่านทางเลือดและสารคัดหลั่ง ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ยุง ที่กัดผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถเป็นพาหะที่นำเชื้อเข้าสู่ร่างกายผู้อื่นได้หรือไม่   [embed-health-tool-bmi] เชื้อไวรัสเอชไอวี คืออะไร เชื้อไวรัสเอชไอวี คือ เชื้อไวรัสที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยต่อสู้กับเชื้อโรค เชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่องโดยจนอาจนำไปสู่การติดเชื้อในระยะเอดส์หรือที่เรียกว่าโรคเอดส์ได้ เชื้อไวรัสเอชไอวีสามารถแพร่กระจายผ่านสารคัดหลั่งระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งน้ำอสุจิ สารคัดหลั่งจากช่องคลอด หรือมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีก็อาจแพร่เชื้อไปยังทารกได้ นอกจากนี้ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ ก็อาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดได้เช่นกัน ยุง เป็นพาหะที่ทำให้ติดเชื้อเอชไอวีได้หรือไม่ เมื่อเชื้อเอชไอวีสามารถส่งผ่านทางเลือดอาจทำให้เกิดข้อสงสัยว่า การถูกยุงกัดจะทำให้ติดเชื้อเอชไอวีโดยไม่รู้ตัวหรือไม่ เนื่องจากปากของยุงสามารถเจาะเข้าสู่เส้นเลือดโดยตรงไม่ต่างจากเข็มฉีดยา ทั้งนี้ ยุงไม่จัดว่าเป็นพาหะที่จะสามารถนำเชื้อเอชไอวีจากผู้ติดเชื้อแพร่กระจายไปสู่อีกคนได้ เพราะเชื้อเอชไอวีเป็นไวรัสที่เกาะตัวกับระบบภูมิคุ้มกันเพื่อทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ แต่ยุงไม่มีเซลล์ที่เชื้อเอชไอวีจะเข้าไปจับตัวได้ ทำให้เมื่อยุงกัดผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี เชื้อจะสลายไปไม่สามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นที่ถูกยุงกัด นอกจากนี้ ระหว่างที่ยุงกัดและดูดเลือดนั้น ยุงจะปล่อยน้ำลาย ดังนั้น เวลายุงกัด จะมีเพียงน้ำลายของยุงเท่านั้นโดยไม่สามารถปล่อยเลือดที่ได้รับมาจากผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายบุคคลอื่นได้แต่อาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นไข้เลือดออก และเกิดตุ่มนูนหรืออาการแพ้ยุงได้  วิธีป้องกันเอชไอวี ยุงไม่ใช่พาหะที่ส่งผลให้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าสู่กระเลือดผ่านการกถูกยุงกัด ดังนั้น ควรหาวิธีป้องกันร่างกายรับเชื้อเอชไอวีที่อาจนำไปสู่โรคเอดส์ด้วยการปฏิบัติตนตามคำแนะนำต่อไปนี้   ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น สำหรับสตรีที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพและตรวจหาเชื้อเอชไอวี หากพบเชื้อควรเข้ารับการรักษาในทันที เข้ารับการตรวจร่างกายและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำทุกปี


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

เอชไอวี กับ เอดส์ ต่างกันอย่างไร

เอชไอวี กับ เอดส์ ต่างกันอย่างไร เอชไอวีกับเอดส์มีความแตกต่างกันเนื่องจาก เอชไอวี (HIV; Human Immunodeficiency Virus) เป็นชื่อของเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งหมายถึง เชื้อไวรัสที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของคนบกพร่อง และเป็นเชื้อไวรัสที่แพร่กระจายได้ในคนเท่านั้น ส่วนเอดส์ หมายถึง อาการของร่างกายที่แสดงภาวะของโรคหลังจากได้รับเชื้อเอชไอวีเป็นเวลานานและร่างกายถูกเชื้อไวรัสทำลายจนอ่อนแอ โดยจะนับว่าผู้ป่วยเป็นโรคเอสด์ก็ต่อเมื่อติดเชื้อเอชไอวีและแสดงอาการอย่างรุนแรงในระยะสุดท้ายของโรค [embed-health-tool-ovulation] เอชไอวี กับ เอดส์ ต่างกันอย่างไร เอชไอวี คือไวรัส ไม่ใช่โรค เอชไอวี หรือ HIV (Human Immunodeficiency Virus) ซึ่งหมายถึง “เชื้อไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่องในคน” หรือ “ไวรัสภูมิคุ้มกันเสื่อมในคน” เนื่องจากไวรัสเอชไอวีเป็นเชื้อไวรัสที่แพร่กระจายได้ในคนเท่านั้น และเมื่อร่างกายได้รับเชื้อเอชไอวี เชื้อโรคจะเข้าไปโจมตีระบบภูมิคุ้มกัน จนส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเสื่อมถอย โดยปกติแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะสามารถจัดการกับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ แต่เชื้อเอชไอวีนี้ถือเป็นข้อยกเว้นเพราะเป็นเชื้อที่ค่อนข้างร้ายแรง ผู้ติดเชื้อเอชไอวีจึงต้องรับประทานยาหลายชนิด เพื่อขัดขวางวงจรชีวิตของเชื้อไวรัสเอชไอวีเพื่อร่างกายจะได้สามารถควบคุมเชื้อไวรัสนี้ไม่ให้ทำลายระบบอวัยวะต่าง ๆ เอดส์ คือภาวะที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีจะยังไม่นับว่าเป็นผู้ป่วยโรคเอสด์ เนื่องจากอาการของการติดเชื้อเอชไอวี สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ระยะติดเชื้อเฉียบพลัน ผู้ที่ได้รับเชื้อเอชไอวีเข้าร่างกายจะมีอาการคล้ายไข้หวัด เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ มีผื่นขึ้น […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับเชื้อ เอชไอวี / เอดส์ ที่ควรทำความเข้าใจเสียใหม่

โรคติดเชื้อ เอชไอวี หรือเอดส์ เป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่ร้ายแรง โรคนี้คร่าชีวิตผู้คนนับล้านในแต่ละปี และยังไม่มีการรักษาให้หายขาดได้ ผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่ วัยรุ่น หรือแม้แต่ทารก ที่มารดาได้รับเชื้อขณะตั้งครรภ์ มีโอกาสเป็นผู้ป่วยเอชไอวีหรือเอดส์ได้ แม้ว่าในปัจจุบันโรคติดเชื้อเอชไอวีหรือเอดส์เป็นโรคที่พบเห็นได้สังคมทั่วไป แต่ยังมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโรคที่เกิดจาก เชื้อเอชไอวี นี้ ดังนั้น จึงควรศึกษาข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเอดส์ให้แน่ชัด เพื่อให้สามารถรับมือได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-ovulation] โรคติดเชื้อ เอชไอวี / เอดส์คืออะไร เชื้อเอชไอวี หรือไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Human Immunodeficiency Virus) ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เฉพาะอย่างยิ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซท์ ที่มีชื่อว่า CD4 (T cells) ซึ่งทำหน้าที่ช่วยระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ เมื่อเวลาผ่านไป เชื้อไวรัสเอชไอวีจะทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ร่างกายไม่สามารถต้านการติดเชื้อหรือโรคต่าง ๆ ได้ ในกรณีที่ร้ายแรงที่สุด หากผู้ติดเชื้อไม่ได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ เชื้อไวรัสเอชไอวีจะทำให้จำนวน CD4 (T cells) ในร่างกายลดลงอย่างมหาศาล จนทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการติดเชื้อได้ง่าย หรือเกิดอาการของโรคต่าง ๆ ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงขั้นรุนแรง การติดเชื้อไวรัสเอชไอวีสามารถเกิดได้ผ่านทางสารคัดหลั่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เลือด น้ำอสจุิ […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

ยาต้านไวรัสเอชไอวี ผลข้างเคียงของยาและวิธีการรับมือ

โรคเอดส์ (AIDS) นั้นเกิดจากเชื้อไวรัสเอชไอวี (Human immunodeficiency virus; HIV) ซึ่งทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยาต้านไวรัส (Antiretroviral drugs) สำหรับเชื้อเอชไอวีนั้นมีอยู่ 6 กลุ่ม ซึ่งมีผลต่อวงจรชีวิตของเชื้อเอชไอวีที่แตกต่างกัน ยาพวกนี้ส่วนใหญ่ทำให้เกิด ผลข้างเคียง ต่อระบบร่างกาย จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจ ยาต้านไวรัสเอชไอวี ให้มากขึ้นกันเพื่อการรับประทานยาที่ถูกต้องและเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด [embed-health-tool-bmi] ผลข้างเคียง ของ ยาต้านไวรัสเอชไอวี ผู้ที่เป็นโรคเอดส์ จำเป็นต้องได้รับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวี ซึ่งก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ดังนี้ เบื่ออาหาร เกิดจาก ยาอะบาคาเวียร์ (Abacavir) วิธีรับมือ ควรจะรับประทานอาหารในปริมาณน้อย ๆ หลายมื้อต่อวัน แทนที่จะรับประทานเป็นมื้อใหญ่ 3 มื้อ นอกจากนี้ ควรดื่มเครื่องดื่มเสริมสารอาหาร เพื่อให้แน่ว่าได้รับวิตามินและแร่ธาตุครบถ้วน เช่น รับประทานสารกระตุ้นให้อยากรับประทานอาหาร ดื่มน้ำผลไม้แทนการดื่มน้ำเปล่า การเปลี่ยนแปลงของการกระจายไขมันในร่างกาย (Lipodystrophy) เกิดจาก การใช้ยากลุ่มเอ็นอาร์ทีไอ (NRTI) และ ยาในกลุ่มยาต้านไวรัส Protease inhibitor วิธีรับมือ จำเป็นอย่างที่ควรออกกำลังกาย เพื่อลดน้ำหนักในบริเวณที่มีไขมันสะสม เช่น หน้าท้อง นอกจากนั้น ยังควรฉีด Polylactic […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

ปัญหาผิวจากเชื้อเอชไอวี เกิดขึ้นเพราะอะไร และรักษาได้อย่างไรบ้าง

ปัญหาผิวจากเชื้อเอชไอวี คือ อาการของโรคผิวหนังต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับเชื้อเอชไอวี เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายค่อย ๆ ถูกทำลายลง ส่งผลให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึงสุขภาพผิวหนังอ่อนแอจนเชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายและทำลายอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงผิวหนังให้เกิดความเสียหายได้ อย่างไรก็ตาม โรคผิวหนังบางชนิดที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี อาจป้องกันและรักษาได้ [embed-health-tool-bmr] ปัญหาผิวจากเชื้อเอชไอวี เกิดขึ้นได้อย่างไร ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับผิวหนังในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุ 3 ประการ ดังนี้ ระบบภูมิคุ้มกันที่ถูกทำลายโดยเชื้อเอชไอวี ทำให้ร่างกายอ่อนแอ เมื่อเกิดบาดแผลก็ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ เกิดเป็นปัญหาผิว หรือแผลที่ผิวหนัง โดยผู้ป่วยในระยะเริ่มแรกของการติดเชื้อเอชไอวี อาจมีอาการคล้ายเป็นไข้ ซึ่งเรียกว่าอาการ Seroconversion Illness โดยจะมีผื่นแดงขึ้นประมาณ 2-3 สัปดาห์ แต่อาการมักไม่รุนแรงมากนัก ในช่วงที่กำลังติดเชื้อและระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จะเกิดปัญหาด้านผิวหนังอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การเกิดสิว รากขนอักเสบ และการติดเชื้อที่รากขน ผิวหนังติดเชื้อง่าย เมื่อร่างกายได้รับเชื้อเอชไอวี อาจมีแผล ตุ่ม หนอง คัน บางรายทนไม่ไหวจึงเกาจนเกิดการติดเชื้อและลุกลามกลายเป็นปัญหาผิวหรือโรคผิวหนัง ผลข้างเคียงของยาที่รักษาเชื้อเอชไอวี อาจเป็นสาเหตุให้ผิวหนังบางลง เสี่ยงต่อการติดเชื้อจนกลายเป็นโรคผิวหนังได้ในที่สุด อาจจะมีความรุนแรงมาก และจำเป็นต้องรับการรักษาอย่างเร่งด่วน […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

ติดเชื้อเอชไอวี ออกกำลังกาย อย่างไรให้สุขภาพดี

ผู้ที่ ติดเชื้อเอชไอวี ควรให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ ทั้งการรับประทานอาหาร และการ ออกกำลังกาย เพื่อดูแลให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ชะลอการพัฒนาของการติดเชื้อเอชไอวี และช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเอชไอวี ทำให้ผู้ติดเชื้อสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข [embed-health-tool-ovulation] ติดเชื้อเอชไอวี ควร ออกกำลังกาย อย่างไร ตั้งนาฬิกาปลุก 2 เรือน อาจเป็นเรื่องยากที่ต้องตื่นเช้าในระยะแรก เมื่อเริ่มออกกำลังกาย ดังนั้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถตื่นเช้าได้ตรงเวลาเพื่อออกกำลังกาย ให้ตั้งนาฬิกาปลุกไว้ 2 เรือนและวางไว้ให้ไกลจากเตียงนอน นาฬิกาปลุกเรือนแรกจะเตือนให้รู้ว่า เหลือเวลานอนอีกสักครู่ และนาฬิกาปลุกเรือนที่ 2 จะปลุกให้ตื่น ดื่มและรับประทานอย่างเหมาะสม การดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ เป็นสิ่งจำเป็นในระหว่างออกกำลังกาย น้ำที่ดื่มเข้าไปจะชดเชยน้ำที่ร่างกายสูญเสียไป จำไว้ว่าการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม ช็อคโกแล็ต หรือแอลกอฮอล์ เป็นอันตรายอย่างยิ่ง และยังทำให้สูญเสียน้ำในร่างกายอีกด้วย โดยอาจรับประทานอาหารว่าง หรืออาหารอื่นใดในปริมาณเล็กน้อยก่อนออกกำลังกาย พยายามรับประทานในระหว่างชั่วโมงแรกหลังออกกำลังกาย เพื่อเติมพลังให้แก่ร่างกาย การรับประทานอาหารว่างเล็กน้อย อย่างเช่น แอปเปิลหนึ่งผล หรือแซนด์วิชเนยถั่วชิ้นเล็ก พร้อมด้วยขนมปังผสมธัญพืชนานาชนิด ก่อนออกกำลังกาย สามารถช่วยเพิ่มพลังงานให้ร่างกายได้ โภชนาการที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน การทำกิจกรรมที่เพิ่มขึ้น ทำให้อาจจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่เพิ่มเติม เพื่อไม่ให้น้ำหนักลดลง อาจเตรียมอาหารมื้อเช้ารสชาติดีไว้ในตอนกลางคืน แล้วนำไปอุ่นในเตาอบไมโครเวฟในตอนเช้า สิ่งนี้อาจช่วยให้ตื่นเต้นมากขึ้นในการออกกำลังกาย การนึกถึงอาหารเช้าที่มีประโยชน์ ที่จะได้กินหลังการรออกกำลังกาย ถือเป็นการทดลองที่ดี เลือกสิ่งที่ชอบ เลือกกิจกรรมที่ชอบ ไม่ว่าจะเป็นโยคะ […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

โภชนาการสำหรับผู้ติดเชื้อ HIV อะไรควรกิน อะไรต้องระวัง

โภชนาการสำหรับผู้ติดเชื้อ HIV มีบทบาทสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน และความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อโรค การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ยังช่วยให้รักษาน้ำหนักร่างกายในระดับที่เหมาะสม และยังอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ จากการติดเชื้อ HIV เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคกระดูกพรุน โรคมะเร็ง [embed-health-tool-bmi] โภชนาการสำหรับผู้ติดเชื้อ HIV สำคัญอย่างไร โภชนาการที่ดีในอาหารที่ดีต่อสุขภาพมีประโยชน์หลายประการ สามารถช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตโดยรวมได้ โดยการให้สารอาหารที่ร่างกายต้องการ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น เพื่อให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยควบคุมอาการภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเอชไอวี และช่วยควบคุมอาการข้างเคียงจากการให้ยาได้ โภชนาการสำหรับผู้ติดเชื้อ HIV มีอะไรบ้าง อาหารที่ดีประกอบด้วยอาหารประเภทต่างๆ ที่สมดุล ดังต่อไปนี้ อาหารประเภทแป้ง ควรเลือกรับประทานขนมปัง มันสำปะหลัง ธัญพืช กล้วยสีเขียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด มันฝรั่ง พาสต้า ข้าว และมันเทศ ให้มากขึ้น แป้งควรเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของอาหาร ประมาณหนึ่งในสามของอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน อาหารที่มีส่วนประกอบของแป้ง จะให้คาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นแหล่งพลังงาน รวมทั้งแร่ธาตุ วิตามิน และใยอาหาร อาหารบางประเภทที่อุดมไปด้วยแป้ง ใยอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ ได้แก่ ธัญพืชไม่ขัดสี จำพวกข้าว พาสต้า และขนมปัง ผักและผลไม้ ผักและผลไม้อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

วงจรชีวิต ไวรัสเอชไอวี กับการทำงานของยาต้านไวรัส

ไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่องในมนุษย์ หรือ เอชไอวี (HIV) เป็นไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในปัจจุบัน  การเรียนรู้เกี่ยวกับ วงจรชีวิต ไวรัสเอชไอวี อาจช่วยให้เข้าใจหลักการทำงานของยาต้านไวรัสเอชไอวีมากขึ้น และสามารถใช้ยาเพื่อรักษาการติดเชื้อเอชไอวีได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น [embed-health-tool-bmi] วงจรชีวิตของเชื้อไวรัสเอชไอวี เชื้อไวรัสเอชไอวีทำลายระบบภูมิคุ้มกัน โดยต่อสู้และฆ่าเซลล์ CD4 ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวประเภทหนึ่ง ที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อ เชื้อไวรัสเอชไอวีใช้เซลล์ CD4 เป็นกลไกในการช่วยเพิ่มจำนวนและแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย กระบวนการนี้เรียกว่า วงจรชีวิตของเชื้อไวรัสเอชไอวี ยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวีป้องกันระบบภูมิคุ้มกัน โดยการต่อต้านเชื้อไวรัสเอชไอวีในช่วงต่าง ๆ ของ วงจรชีวิตของเชื้อไวรัสเอชไอวี วงจรชีวิตของเชื้อไวรัสเอชไอวี มี 7 ช่วง คือ ระยะควบตัว (หรือการติดยึด) เป็นช่วงที่เชื้อไวรัสเอชไอวีติดกับตัวรับบนพื้นผิวของเซลล์ CD4 ระยะรวมตัว เยื่อหุ้มเชื้อไวรัสเอชไอวี และเซลล์ CD4 รวมตัวกัน ทำให้เชื้อไวรัสเอชไอวีเข้าไปในเซลล์ CD4 ได้  กระบวนการย้อนการถอดรหัส ภายในเซลล์ CD4 เชื้อไวรัสเอชไอวีปลดปล่อยและใช้รีเวอร์สทรานสคริพเตส (reverse transcriptase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ประเภทหนึ่งของเชื้อไวรัสเอชไอวี เพื่อเปลี่ยนสารพันธุกรรม HIV ARN ให้เป็น HIV […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

HIV สาเหตุ อาการ และการรักษา

HIV (Human Immunodeficiency Virus) เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นโรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งเป็นการติดเชื้อในระยะสุดท้าย ไวรัสชนิดนี้จะทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้ร่างกายต่อสู้กับโรคและการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ยาก [embed-health-tool-ovulation] คำจำกัดความ HIV คืออะไร HIV (Human Immunodeficiency Virus) หรือ เอชไอวี เป็นไวรัสที่เป็นสาเหตุของ โรคเอดส์ (Acquired Immune Deficiency Syndrome: AIDS) โรคเอดส์เป็นโรคในขั้นรุนแรงที่สุดที่เกิดจาก เชื้อไวรัสเอชไอวี โดยไวรัสชนิดนี้จะทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งเป็นการป้องกันโรคของร่างกาย และส่งผลให้ร่างกายต่อสู้กับโรค แบคทีเรีย ไวรัส และการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ยาก จากรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี ค.ศ. 2014 มีผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ประมาณ 1.2 ล้านคน โรคเอดส์เกิดจากไวรัสเอชไอวี โรคนี้จัดว่าเป็นโรคที่ไม่รักษาให้หายขาดได้ ต่อไปนี้ เป็นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะของโรคนี้ อาการ อาการของการติดเชื้อ HIV การติดเชื้อ HIV อาจใช้เวลา 2-15 ปีในการแสดงอาการ ผู้ที่ติดเชื้อ HIV อาจจะยังมีร่างกายที่แข็งแรง […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

การป้องกันโรคเอดส์ สำคัญอย่างไร และทำได้อย่างไร

การป้องกันโรคเอดส์ อาจทำได้โดยการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ใช้ถุงอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย และอาจหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเลือดและสารคัดหลั่งของผู้อื่นเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (The human immunodeficiency virus ; HIV) ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคเอดส์ [embed-health-tool-ovulation] การป้องกันโรคเอดส์ สำคัญอย่างไร เชื้อเอชไอวี เป็นเชื้อที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรค เชื้อไวรัส เชื้อรา และเชื้อโรคอื่นๆ ได้ เมื่อติดเชื้อเอชไอวีไปแล้วจะไม่สามารถรักษาให้เชื้อโรคหมดไปจากร่างกายได้ ทำได้แค่เพียงรักษาเพื่อประคับประคองอาการ เชื้อเอชไอวีแพร่กระจายได้อย่างไร เชื้อเอชไอวีนั้นติดต่อกันผ่านทางเลือด น้ำอสุจิ หรือสารคัดหลั่งในช่องคลอด เชื้อเอชไอวีสามารถส่งผ่านได้ทางช่องคลอด ช่องปาก หรือทวารหนัก ที่ไม่มีการป้องกัน รวมทั้งการสัมผัสกับเลือด และของเหลวจากร่างกาย ในขณะที่เป็นแผล  แต่ทั้งนี้คนปกติสามารถจูบ สัมผัส และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีได้ สำหรับวิธีปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันโรคเอดส์สามารถทำได้ ดังนี้ วิธี ป้องกันโรคเอดส์ โรคเอดส์ป้องกันได้ โดยอาจปฏิบัติตัวตามคำแนะนำต่อไปนี้ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการใช้ยาเสพติด ควรเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเสพยาเสพติด เนื่องจากแอลกอฮอล์ จะส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจ และนำไปสู่สถานการณ์เสี่ยงอันตรายต่างๆ ได้ นอกจากนี้ การใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด ก็ทำให้มีความเสี่ยงสูง ที่จะติดเชื้อเอชไอวีได้ มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย หมายถึง การใช้ถุงยางอนามัย โดยเฉพาะในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ติดเชื้อเอชไอวี สิ่งสำคัญคือต้องสวมถุงยางอนามัยให้ถูกวิธี และหมั่นตรวจหาเชื้อเอชไอวีอย่างสม่ำเสมอ หรือเลือกใช้ยาต้านไวรัส เช่น ยาทีโนโฟเวียร์ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม