สุขภาพหัวใจ

หัวใจ คืออวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากหัวใจเกิดปัญหา ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพหัวใจ ทั้งการดูแลรักษา และปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหัวใจ

อาการเตือนโรคหัวใจ แบบไหนควรไปพบคุณหมอ

โรคหัวใจแบ่งได้เป็นหลายประเภทตามสาเหตุและตำแหน่งที่เกิด ซึ่งโรคหัวใจแต่ละประเภทมักจะมีอาการที่คล้ายคลึงกัน โดยลักษณะ อาการเตือนโรคหัวใจ ที่พบบ่อยได้แก่ อาการแน่นหน้าอก ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่เต็มอิ่ม วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เหงื่อออกเยอะ เหนื่อยง่าย หากสังเกตอาการเตือนโรคหัวใจได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และไปพบคุณหมอโดยเร็วจะช่วยให้รักษาและหาวิธีดูแลตนเองได้อย่างทันท่วงที [embed-health-tool-bmi] อาการเตือนโรคหัวใจ เป็นแบบไหน อาการเตือนโรคหัวใจ แบ่งออกตามประเภทของโรคได้ ดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) เกิดจากเส้นเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบตัน ซึ่งอาจเกิดจากไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือดหัวใจมากเกินไปจนทำให้เลือดที่มีสารอาหารและออกซิเจนไม่สามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงยังหัวใจได้ตามปกติ อาการที่พบบ่อยที่สุดของโรคหลอดเลือดหัวใจคืออาการแน่นหน้าอกหรือเจ็บหน้าอกซึ่งอาจสับสนกับอาการอาหารไม่ย่อยหรือกรดไหลย้อนได้ นอกจากนี้ อาจรู้สึกไม่สบายตัวหรือเจ็บบริเวณไหล่ แขน คอ ลำคอ กราม หรือหลัง และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น หายใจถี่รัว หัวใจสั่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ วิงเวียนศีรษะหรืออ่อนแรง คลื่นไส้ เหงื่อออกมาก โรคหัวใจวาย (Heart Attack) โรคหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเกิดขึ้นเมื่เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง มักเกิดจากไขมัน คอเลสเตอรอล และสารอื่น ๆ เข้าไปสะสมจนเกิดการอุดตันบริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ อาการที่พบบ่อย คือ แน่นหน้าอกเป็นเวลานานประมาณ 30 นาที จากนั้นค่อย ๆ หายไปแล้วกลับมาเป็นซ้ำอีก ซึ่งเป็นอาการหลักที่มักพบในผู้ชาย […]

สำรวจ สุขภาพหัวใจ

คอเลสเตอรอล

อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ประเภทเนื้อสัตว์ที่รับประทานได้

อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง โดยส่วนใหญ่แล้วหมายถึง อาหารที่ทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดมีปริมาณขึ้นสูง จนส่งผลให้เกิดอันตรายต่อระบบหัวใจแหละหลอดเลือด ซึ่งผู้ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูงส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม ชอบรับประทานของทอด อาหารที่มีไขมันสูง จนทำให้ระบบคอเลสเตอรอลขึ้นสูง โดยเฉพาะ เนื้อสัตว์ จัดว่าเป็นอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง แต่แท้จริงแล้วนั้นเนื้อสัตว์เป็นอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงจริงไม่ ควรเลือกบริโภคเนื้อชนิดใดเพื่อให้ดีต่อสุขภาพ อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง หมายถึงเนื้อสัตว์ จริงหรือ คอเลสเตอรอลเป็นสารสำคัญในร่างกาย แต่หากระดับของคอเลสเตอรอลที่มากเกินไป อาจเป็นอันตรายได้ เนื่องจากอาจนำไปสู่การอุดตันของเส้นเลือด และความเสี่ยงที่จะเกิดสโตรค และหัวใจวายได้ นอกจากคอเลสเตอรอลที่สร้างโดยร่างกายแล้ว คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่ยังอาจมาจากไขมันอิ่มตัว และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็นแหล่งที่พบไขมันประเภทนี้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีปัญหาเรื่องคอเลสเตอรอลสูงไม่จำเป็นต้องงดการรับประทานเนื้อสัตว์ เพราะมีเนื้อสัตว์บางชนิดที่สามารถรับประทานได้ แม้จะมีระดับคอเลสเตอรอลสูง เนื้อสัตว์สำหรับผู้ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูง ปลาไขมันสูง ปลาที่มีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาเฮอร์ริ่ง ปลาซาร์ดีนเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งอาจช่วยรักษาระดับไขมันชนิดเลว (LDL) ให้ต่ำลงได้ พร้อมกับเพิ่มระดับของไขมันดี (HDL) สำหรับคนไทยอาจเลือกรับประทานปลาทู เพราะมีกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่นกันโดยควรรับประทานอาหารปลาที่มีไขมันสูงย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง สัตว์ปีก สัตว์ปีกแบบที่ไม่มีหนัง เป็นอาจเหมาะสำหรับผู้ที่อยากลดระดับคอเลสเตอรอล โดยเนื้อสัตว์ต่าง ๆ อาจมีประมาณคอเลสเตอรอลใกล้เคียงกัน คือ ประมาณ 70-80 มก.ต่อเนื้อ […]


คอเลสเตอรอล

น้ำส้มลดคอเลสเตอรอล กับข้อเท็จจริงที่ควรรู้

น้ำส้มลดคอเลสเตอรอล ได้จริงหรือ อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย น้ำส้มอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินดี วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 เหล็ก โพแทสเซียม ซึ่งอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ดังนั้น การดื่มน้ำส้มเป็นประจำอาจช่วยในการแก้ปัญหาเรื่องคอเลสเตอรอล หรือไขมันในเส้นเลือดได้ น้ำส้มกับไขมันชนิดเลว (LDL) การดื่มน้ำส้มสดแบบไม่เจือจางอาจช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL) ในร่างกายของบางคน โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition Research เมื่อปี พ.ศ. 2553 ศึกษาเกี่ยวกับการดื่มน้ำส้มส่งผลต่อไขมันเลว พบว่า การดื่มน้ำส้ม 750 มิลลิลิตร/วัน เป็นระยะเวลา 2 เดือน สามารถช่วยลดระดับไขมันเลวในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงได้ อย่างไรก็ตาม การดื่มน้ำส้มไม่ได้มีผลกระทบใด ๆ ต่อผู้ที่มีไขมันในเลือดปกติ นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอีกหนึ่งชิ้นที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Clinical Nutrition ศึกษาเกี่ยวกับการดื่มน้ำส้มส่งผลต่อไขมันดี (HDL) พบว่า ในผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลปานกลาง การดื่มน้ำส้ม 750 มิลลิลิตร/วัน สามารถช่วยให้ไขมันดีเพิ่มขึ้น เนื่องจากในน้ำส้มมีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) […]


คอเลสเตอรอล

อาหารลดคอเลสเตอรอล อะไรที่ควรต้องกิน

อาหารลดคอเลสเตอรอล เป็นอาหารที่ไม่ส่งผลทำให้ระดับคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น รวมถึงอาจช่วยให้หัวใจมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น โดยอาหารลดคอเลสเตอรอลมีด้วยกันหลายชนิด เช่น ข้าวโอ๊ต ถั่ว ปลาไขมันสูง อะโวคาโด ถั่วเปลือกแข็ง นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารก็อาจมีส่วนในการช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกายของ และอาจทำให้สุขภาพแข็งแรงได้ด้วย อาหารลดคอเลสเตอรอล สำหรับอาหารลดคอเลสเตอรอล อาจมีดังนี้ ข้าวโอ๊ต โดยเฉลี่ยแล้ว ควรได้รับเส้นใยอาหารแบบละลายน้ำได้ 5-10 กรัม/วัน ซึ่งการรับประทานข้าวโอ๊ตหรือซีเรียลที่ทำจากข้าวโอ๊ตอาจได้รับไฟเบอร์แบบละลายน้ำประมาณ 2 กรัม/วัน หากต้องการเส้นใยอาหารเพิ่ม อาจใส่สตรอว์เบอร์รี่ หรือกล้วยหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ลงไปด้วย ดังนั้น การได้รับเส้นใยอาหารที่เพียงพอในแต่ละวัน อาจช่วยให้ระดับคอเลสเตอรอลลดลงได้ ถั่ว ถั่วและพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วแขก ถั่วฝักยาว ถั่วเลนทิล ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเหลือง เป็นแหล่งสำคัญของเส้นใยอาหารแบบละลายน้ำได้ การรับประทานถั่วและพืชตระกูลถั่วอาจทำให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้น เนื่องจากร่างกายจะใช้เวลานานในการย่อยถั่วเมื่อเทียบกับอาหารประเภทอื่น รวมถึงยังอาจช่วยลดไขมันไม่ดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การบริโภคโปรตีนถั่วเหลืองวันละ 25 กรัม อาจช่วยลดระดับไขมันไม่ดี (LDL) ได้ด้วย ปลาไขมันสูง ปลาที่มีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล เป็นปลาที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีส่วนช่วยทำให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น โดยการทำให้ระดับไขมันดี (HDL) เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน […]


คอเลสเตอรอล

น้ำตาล ทำให้ คอเลสเตอรอลสูง ขึ้นได้หรือไม่

น้ำตาล อาจทำให้ คอเลสเตอรอลสูง ได้ เนื่องจากการรับประทานน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน และอาการทางหัวใจอื่น ๆ โดยไม่รู้ตัว ดังนั้น ควรระมัดระวังการบริโภคน้ำตาล และการอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ทุกครั้ง เพื่อไม่ให้รับประทานน้ำตาลมากเกินไปจนทำให้คอเลสเตอรอลสูง ปริมาณ น้ำตาล ที่ควรได้รับต่อวัน น้ำตาลที่อยู่ในอาหารไม่ว่าจะเป็นอาหารสำเร็จรูป อาหารบรรจุกระป๋อง ขนม และเครื่องดื่มต่าง ๆ อาจเป็นน้ำตาล หรือสารให้ความหวานที่มีแคลอรี่ปะปนอยู่ ซึ่งทางสมาคมโรคหัวใจอเมริกันได้เผยแพร่คู่มือเกี่ยวกับการรับประทานน้ำตาล โดยผู้ชายควรรับแคลอรี่จากน้ำตาล 150 แคลอรี่ หรือประมาณ 9 ช้อนชา ส่วนผู้หญิงควรได้รับแคลอรี่จากน้ำตาล 100 แคลอรี่ หรือประมาณ 6 ช้อนชา ดังนั้น ก่อนการเลือกซื้ออาหาร หรือนำน้ำตาลมาปรุงอาหาร ควรเช็กปริมาณน้ำตาลให้พอดีกับความต้องการของร่างกายที่ควรได้รับต่อวัน เพื่อป้องกันการทำลายสุขภาพตนเองโดยไม่รู้ตัว น้ำตาล ทำให้ คอเลสเตอรอลสูง ได้อย่างไร การรับน้ำตาลเข้าไปในร่างกายกับระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) และไตรกลีเซอไรด์ อาจมีความเชื่อมโยงกัน เนื่องจากการรับน้ำตาลเข้าไปในร่างกายในปริมาณมาก อาจทำให้ระดับของไขมันชนิดดีในร่างกายลดต่ำลง และระดับไตรกลีไซอไรด์สูงขึ้น ซึ่งการมีระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูง และมีคอเลสเตอรอลชนิดดีต่ำ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการทำให้คอเลสเตอรอลสูง และนำไปสู่ภาวะการเกิดโรคอย่างโรคหัวใจ และอาการผิดปกติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ เคล็ดลับป้องกันได้รับปริมาณน้ำตาลมากเกินไป การเรียนรู้วิธีในการแยกแยะน้ำตาลถือเป็นสิ่งที่สำคัญ […]


โรคความดันโลหิตสูง

5 เคล็ดลับ ลดเกลือ ที่ช่วยป้องกันความดันโลหิตสูง

ลดเกลือ กันเถอะ! ถึงแม้ว่าเกลือจะมีทั้งประโยชน์ในบางด้านก็ตาม เช่น ช่วยป้องกันโรคคอพอก แต่ขณะเดียวกันก็อาจให้โทษแต่สุขภาพของเราได้ หากเราบริโภคเกลือแต่ละมื้อในปริมาณที่มากเกินไป จนเกิดการสะสมก็จะนำไปสู่ความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูงได้ ฉะนั้น Hello คุณหมอ จึงขอนำ 5 เคล็ดลับในการลดเกลือ เพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงมาแนะนำทุกคนกัน 5 เคล็ดลับ ลดเกลือ ป้องกันความดันโลหิตสูง 1. เลือกส่วนประกอบสดใหม่ นักโภชนาการแนะนำให้ใช้ วัตถุดิบที่สดใหม่ในการปรุงอาหาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ดีกว่าวัตถุดิบที่ปรุงสำเร็จ หรืออาหารแปรรูปที่อยู่ในกระป๋อง เนื่องจากอาหารสด ๆ มักมีจะโซเดียมตามธรรมชาติน้อย ยกตัวอย่างเช่น เนื้อไก่ เนื้อวัว หรือเนื้อหมูสด ที่มีโซเดียมน้อยกว่าในแฮม และเบคอน เป็นต้น อีกทั้งการรับประทานผัก และผลไม้สดก็มีปริมาณโซเดียมน้อยเช่นกัน แต่สิ่งที่เราควรต้องระวังมาก ๆ อีกอย่างนั่นก็คือ อาหารที่เก็บในตู้เย็นเป็นเวลานาน เพราะยิ่งเก็บนานเท่าไรก็ยิ่งมีโซเดียมอยู่ในปริมาณมากขึ้นได้ 2. อ่านฉลากโภชนาการให้ดี เวลาที่คุณทำการเลือกซื้ออาหารอะไรก็ควรอ่านฉลากก่อนเสมอ เพื่อตรวจดูว่า ผลิตภัณฑ์ที่จะซื้อมีส่วนประกอบของอะไร มีปริมาณโซเดียมมากน้อยแค่ไหน ทำให้เราสามารถเปรียบเทียบแต่ละยี่ห้อ เพื่อหาผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมผสมอยู่น้อยที่สุดได้ ในกรณีการเลือกซื้อผัก ผลไม้แช่แข็งควรเลือกแบบที่ระบุบนฉลากว่า “Fresh Frozen” เพราะจะทำให้มั่นใจได้ว่า จะมีปริมาณของโซเดียมต่ำ ส่วนถ้าใครต้องการใช้เครื่องเทศ ก็ให้มองหาเครื่องเทศแบบที่ไม่มีเกลือผสมอยู่ โดยตรวจสอบได้จากฉลากข้างผลิตภัณฑ์เช่นเดียวกัน 3. เปลี่ยนวิธีปรุงอาหาร นอกจากจะเลือกส่วนประกอบที่สดใหม่สำหรับการทำอาหารแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการเติมเกลือลงไปในอาหารเพิ่มเติมด้วย โดยอาจเป็นการใช้เครื่องเทศอย่างอื่นแทน เช่น กระเทียม ขิง มะนาว ไวน์ อบเชย พริก และอื่น ๆ ที่จะสามารถช่วยให้อาการมีรสชาติรู้อร่อยขึ้นแทนได้ นอกจากนี้คุณยังควรลดซอสมะเขือเทศ หรือซอสต่าง ๆ […]


โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง สามารถ ออกกำลังกาย ในรูปแบบใดได้บ้าง

การออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นอีกทางเลือนึ่งที่อาจช่วยลดระดับความดันโลหิตสูง ลดความเครียด และยังทำให้รู้สึกดีขึ้น อย่างไรก็ตามถ้าคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ คุณควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาวะอาการของตนเอง หรือศึกษาข้อมูลในบทความของ Hello คุณหมอ ว่าคนที่มี ความดันโลหิตสูง ควรมีการ ออกกำลังกาย ด้วยวิธีใดบ้าง เพื่อการปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง [embed-health-tool-heart-rate] การออกกำลังกาย ช่วยทำให้ระดับความดันโลหิตลดลงได้อย่างไร ปกติแล้วการออกกำลังกายจะช่วยทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น ซึ่งเมื่อหัวใจแข็งแรงก็จะสามารถสูบฉีดเลือดได้ดี ไม่ต้องทำงานหนักมาก และมักจะส่งผลให้ค่าความดันโลหิตลดลง เกณฐ์มาตรฐานของค่าความดันโลหิตปกติจะอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ถ้าคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือมีตัวเลขค่ารัดับความดันที่สูงขึ้น การออกกำลังกายอาจช่วยทำให้ค่าความดันโลหิตลดลงได้ โดยจำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 3 เดือนเพื่อให้เห็นผล และควรออกกำลังกายต่อไป อย่างสม่ำเสมอด้วยวิธีที่ถูกตองที่สามารถทำการเข้าขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ ความดันโลหิตสูง ควร ออกกำลังกาย แบบไหนดี การออกกำลังกายแบบแอโรบิค หรือแบบคาร์ดิโอ สามาช่วยลดความดันโลหิต และทำให้หัวใจแข็งแรง เช่น การเดินเร็ว การวิ่ง การกระโดดเชือก การปั่นจักรยาน การเต้นแอโรบิค และการว่ายน้ำ การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง เพื่อทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง จะช่วยเผาผลาญแคลอรี่ในระหว่างวัน และช่วยทำให้ข้อต่อและกระดูกแข็งแรงด้วย การยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ จะช่วยให้ร่างกายยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้คุณเคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น และยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บด้วย ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จึงอาจออกกำลังกายแบบแอโรบิค […]


โรคความดันโลหิตสูง

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์

บทความนี้ Hello คุณหมอ นำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรค ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ มาฝากคุณแม่มือใหม่กันค่ะ จะมีลักษณะอาการอย่างไร รวมถึงจะส่งผลกระทบบต่อคุณแม่และทารกในครรภ์อย่างไรบ้าง ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลย อาการของโรค ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ อาการของโรคความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์  มีลักษณะแสดงออก ดังต่อไปนี้ ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์: สตรีมีครรภ์อาจจะมีอาการของโรค เกิดขึ้นในช่วงหลังการตั้งครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ ซึ่งยังไม่มีอาการผิดปกติของอวัยวะภายใน หรือยังตรวจไม่พบว่ามีโปรตีนส่วนเกินออกมาทางปัสสาวะ แต่สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงนั้นก็อาจมีอาการลุกลามจนกลายเป็นครรภ์เป็นพิษได้ ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง : นี่คืออาการของโรคความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นก่อนการตั้งครรภ์ หรือพัฒนาขึ้นในช่วง 20 สัปดาห์แรก แต่ยังไม่มีอาการอะไรที่เห็นได้ชัดเจน ความดันโลหิตสูงเรื้องรังที่มีโปรตีนในปัสสาวะ: อาการเช่นนี้เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงก่อนการตั้งครรภ์ และต่อมาก็มีอาการหนักขึ้น หรือมีอาการแทรกซ้อนมากขึ้นในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ : นี่คือภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์ ที่อาจมีสาเหตุมาจากโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือเป็นโรคความดันโลหิตสูงในช่วงหลังตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็อาจมีอันตรายร้ายแรงต่อแม่และลูกได้ 4 ภาวะแทรกซ้อนของโรค ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ที่พบได้บ่อย มีดังต่อไปนี้ ไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยงที่รก: ซึ่งก็หมายความว่า ทารกจะได้รับสารอาหารและออกซิเจนน้อย ซึ่งท้ายที่สุดก็จะส่งผลให้เจริญเติบโตช้า น้ำหนักตอนคลอดน้อย หรืออาจคลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด: สภาวะครรภ์เป็นพิษของแม่ ทำให้มีความเสี่ยงสูงต่ออาการนี้ การลอกตัวที่รุนแรงอาจทำให้เกิดการเสียเลือดมากเกินไป จนทำให้ชีวิตของแม่และเด็กมีความเสี่ยง คลอดก่อนกำหนด: เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ แพทย์ก็อาจจำเป็นต้องทำคลอดก่อนกำหนด มีแนวโน้มเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด: สภาวะครรภ์เป็นพิษของแม่ อาจทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด […]


สุขภาพหัวใจ

เคล็ดลับการ ออกกำลังกาย สำหรับคนเป็น โรคความดันโลหิตสูง

ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง อาจมีคำถามว่า เป็นความดันโลหิตสูงออกกำลังกาย อย่างไรดี เพราะนอกเหนือจากการคุมอาหารแล้ว การเลือกออกกำลังกายที่เหมาะสมก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ความดันโลหิตอยู่ในระดับดี บทความนี้ Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับการ ออกกำลังกาย สำหรับผู้ที่เป็น โรคความดันโลหิตสูง มาฝากกันค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] การ ออกกำลังกาย สำหรับผู้เป็น โรคความดันโลหิตสูง การ ออกกำลังกายเป็นประจำช่วยให้มีรูปร่างดี มีน้ำหนักตัวที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงได้ แถมการออกกำลังกายยังเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพจิต เพราะช่วยทำให้ฮอร์โมนแห่งความสุขเพิ่มขึ้น ช่วยลดความเครียด ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก ในการควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ อย่างไรก็ตาม หากต้องการให้ความดันโลหิตลดลง คุณจำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ  1 – 3 เดือนจึงจะเห็นผล และออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้ค่าความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เป็นความดันโลหิตสูงออกกำลังกาย อย่างไรดี? คุณควรขอคำแนะนำจากแพทย์เพื่อหาวิธีออกกำลังที่เหมาะสมกับตัวคุณเอง และไม่จำเป็นที่จะต้องไปออกกำลังในยิมก็ได้ แค่เลือกทำกิจกรรมที่ชอบ และกิจกรรมนั้นทำให้ใช้พลังงานมากขึ้นก็เพียงพอแล้ว อย่างเช่น การเดิน การวิ่งเหยาะ ๆ การเดินไปมาเพื่อทำงานบ้าน จนถึงการว่ายน้ำ เล่นโยคะ และเต้นแอโรบิค เป็นต้น โดยการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ การออกกำลังกายที่ทำให้หัวใจแข็งแรง หรือการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ : […]


โรคความดันโลหิตสูง

ค่าความดันโลหิตสูง ลดลงได้ด้วยเคล็ดลับง่าย ๆ หากคุณปฏิบัติถูกวิธี

ความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก สาเหตุหลักๆ ก็มาจากวิธีการดำเนินชีวิตของคนในยุคนี้ และไลฟ์สไตล์ในวิถีชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไป วันนี้ Hello คุณหมอ นำเคล็ดลับดีๆ  เพื่อลดความเสี่ยงของ ค่าความดันโลหิตสูง มาฝากกันค่ะ ค่าความดันโลหิตสูง สามารถลดลงได้ด้วยวิธีเหล่านี้ โดยปกติภาวะ ความดันโลหิตสูง จะไม่แสดงอาการ บางคนจึงไม่รู้ตัวว่าตัวเอง ความดันโลหิตสูง ดังนั้นจึงควรตรวจวัดค่าความดันอยู่เสมอ หากคุณมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะนี้ เช่น คุณอายุมากกว่า 40 ปี คุณมีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรืออ้วน คุณเครียด หรือครอบครัวมีประวัติเป็นโรค ความดันโลหิตสูง ถ้าได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ ความดันโลหิตสูง คุณอาจปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์บางอย่าง เพื่อให้ค่าความดันลดลง ดังนี้ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ คุณควรเลือกรับประทานธัญพืชที่ผ่านการขัดสีน้อย ผลไม้ ผัก และอาหารไขมันต่ำ อย่าแตะต้องอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง เมื่อพูดถึงเนื้อสัตว์ก็ควรเลือกรับประทานแบบไม่มีไขมัน และจำกัดอาหารที่มีโซเดียม ไขมัน และน้ำมัน โดยกินอาหารแบบสดๆ แทนอาหารกระป๋อง หรืออาหารที่ผ่านการแปรรูป เลือกดื่มอย่างชาญฉลาด แอลกอฮอล์มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งอาจจะช่วยลดความดันลงได้ถ้าดื่มในปริมาณเล็กน้อย แต่การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจส่งผลร้ายต่อร่างกายได้ เนื่องจากจะทำให้ความดันพุ่งสูงขึ้นได้ รวมทั้งลดประสิทธิภาพของยาที่ใช้รักษาโรค ความดันโลหิตสูง ด้วย ฉะนั้นก็ควรดื่มแต่พอดี คาเฟอีน คือ เครื่องดื่มอีกชนิดหนึ่งที่ต้องระวังเอาไว้ให้ดี ถึงแม้ว่ายังไม่มีข้อสรุปถึงผลเสียก็ตาม แต่ที่แน่ๆ คาเฟอีนส่งผลกระทบต่อความดันโลหิตแตกต่างกัน ระหว่างผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำกับผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟ ลองปรึกษาแพทย์เพื่อศึกษาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายจากการดื่มกาแฟ ออกกำลังกายป้องกัน […]


ภาวะหัวใจล้มเหลว

หัวใจวายในผู้หญิง กับอาการและสัญญาญเตือนที่สาว ๆ ควรรู้ จะได้รับมือทัน

ภาวะ หัวใจวายในผู้หญิง เป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้หญิง ภาวะหัวใจวายนั้นสามารถเกิดได้ทั้งกับเพศชายและเพศหญิง แต่จะส่งผลกระทบกับเพศชายและหญิงต่างกัน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการตระหนักถึงอาการและสัญญาณเตือนของโรค ที่เรามักจะไม่ใส่ใจและมองข้าม เพื่อให้สามารถเฝ้าระวังและป้องกันได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ หัวใจวายในผู้หญิง มีอาการอย่างไร ผู้หญิงมักจะมีอาการที่เห็นได้ชัดน้อยกว่าผู้ชาย สัญญาณและอาการที่พบได้มากที่สุดมีดังต่อไปนี้ เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกอึดอัดไม่สบายในอก เป็นอาการของโรคหัวใจที่รับรู้ได้ง่ายที่สุด แต่อาจจะไม่เกิดขึ้นเสมอไป อาการปวดที่ลามลงมายังแขน คอ กราม ท้อง และหลัง คุณอาจรู้สึกถึงอาการปวดเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมด สำหรับบางคน อาการปวดอาจรุนแรงมาก แต่สำหรับบางคนอาจแค่รู้สึกเจ็บปวดเล็กน้อย รู้สึกไม่สบาย เหงื่อออก หายใจไม่ออก วิงเวียนศีรษะ โดยมีอาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอกร่วมด้วย รู้สึกเหมือนอาหารไม่ย่อย หรือปวดท้องแบบมีกรดเกินในกระเพาะอาหาร ความรู้สึกไม่ค่อยสบายเหมือนทั่ว ๆ ไป แต่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น และตามมาด้วยอาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก อาการวิตกกังวล อ่อนแรง หรือเหนื่อยล้าอย่างหาสาเหตุไม่ได้ ใจสั่น ตื่นตกใจกลัว หรือตัวซีด หากคุณมีสัญญาณและอาการที่กล่าวมาเบื้องต้นโปรดรับการรักษาทันที และควรรับการทดสอบเพื่อวินิจฉัยภาวะหัวใจวายด้วย เพราะภาวะนี้ ยิ่งตรวจเจอเร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้นเท่านั้น ความเสี่ยงต่อการเกิด หัวใจวายในผู้หญิง ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อโรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งพบได้บ่อยนั้นมีอยู่หลายประการ เช่น ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง โรคอ้วน โดยปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อผู้ชายและผู้หญิงเหมือน ๆ กัน อย่างไรก็ตาม อาจมีปัจจัยอื่น ที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดโรคหัวใจในผู้หญิง […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม