การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

การรับประทานอาหารที่เหมาะสมถือเป็นส่วนสำคัญในการลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพและดีต่อสุขภาพ ดังนั้นทาง Hello คุณหมอจึงได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก มาให้ทุกคนได้อ่านกัน

เรื่องเด่นประจำหมวด

การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ขนมกินแล้วไม่อ้วน เลือกอย่างไรเพื่อสุขภาพที่ดี

ปัจจุบันมี ขนมกินแล้วไม่อ้วน หลายรูปแบบที่ให้ทั้งความอร่อยและคลายหิว รวมถึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพและสามารถช่วยควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย ซึ่งควรเลือกขนมที่มีแคลอรี่ น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมต่ำ แต่อุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิด เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันดี วิตามิน แร่ธาตุ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ยิ่งไปกว่านั้นการกินขนมที่อร่อยและมีประโยชน์ยังช่วยให้สามารถควบคุมน้ำหนักได้อย่างมีความสุขในระยะยาวอีกด้วย [embed-health-tool-bmi] ขนมกินแล้วไม่อ้วน เป็นอย่างไร ขนมกินแล้วไม่อ้วน ควรเป็นขนมที่อร่อย ช่วยคลายหิว และอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันดี วิตามิน แร่ธาตุ เนื่องจากจุดประสงค์ในการกินขนมเป็นการกินระหว่างมื้ออาหารหลัก เพื่อไม่ให้ท้องว่างจนกินอาหารมื้อต่อไปมากเกินไปและอาจทำให้อ้วนได้ ตัวอย่างขนมกินแล้วไม่อ้วน ขนมกินแล้วไม่อ้วน ควรมีแคลอรี่ น้ำตาล ไขมันและโซเดียมต่ำ ซึ่งขนมบางอย่างอาจทำได้เองที่บ้าน ดังนี้ ถั่วต้ม เช่น ถั่วลันเตา ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วแอลมอนด์ แมคคาเดเมียน นมหรือผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ เช่น นมวัว โยเกิร์ตไขมันต่ำ กรีกโยเกิร์ต นมถั่วเหลือง ผลไม้สด ผลไม้อบแห้ง ผลไม้แช่แข็ง เช่น แอปเปิ้ล กล้วย […]

สำรวจ การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

8 วิธีลดแก้ม และลดไขมันบนใบหน้า

วิธีลดแก้ม เป็นวิธีที่จะช่วยลดไขมันสะสมบริเวณแก้มและใบหน้า ด้วยการควบคุมอาหารและออกกำลังกายบริหารใบหน้าอย่างเหมาะสมเพื่อเพิ่มการเผาผลาญไขมันเก่าและลดการสะสมของไขมันใหม่ ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะช่วยลดแก้มแล้วยังช่วยลดน้ำหนักและไขมันสะสมทั่วร่างกายได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] ไขมันที่แก้มเกิดจากอะไร ไขมันที่แก้ม เกิดจากการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวและการสะสมไขมัน เนื่องจากการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น อาหารไขมันสูง ไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ น้ำตาลสูง รวมทั้งอาจเกิดจากการไม่ออกกำลังกายและ อายุที่มากขึ้น ทำให้การเผาผลาญไม่ดีเท่าที่ควร หรือสภาวะทางพันธุกรรม โดยไขมันที่แก้มมักมีแนวโน้มเกิดขึ้นในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนมากกว่าผู้ที่รักษาน้ำหนักอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ หากสังเกตว่าใบหน้าค่อย ๆ บวมและกลมขึ้น อาการนี้เรียกว่า หน้าวงพระจันทร์ (Moon Face) เกิดขึ้นเมื่อไขมันส่วนเกินสะสมที่ด้านข้างของใบหน้า มักเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นโรคอ้วนหรือในผู้ที่มีกลุ่มอาการคุชชิง (Cushing Syndrome) เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) สูง เนื่องจากการหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้มากผิดปกติหรือใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์มากเกินไปส่งผลให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลสูงขึ้น อาจทำให้มีอาการ หน้าบวม หน้ากลม ภาวะอ้วน มีก้อนไขมันด้านหลังคอ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 8 วิธีลดแก้ม และลดไขมัน ลดการกินคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีและแปรรูป การลดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีและแปรรูป เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว คุกกี้ แคร็กเกอร์ พาสต้า อาจช่วยลดแก้มและลดไขมันได้ เนื่องจาก อาหารเหล่านี้เต็มไปด้วยไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ น้ำตาลสูงและโซเดียม ซึ่งเป็นตัวการในการเพิ่มน้ำหนักและไขมัน โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Chemistry […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

อยากมี ซิกแพค ต้องกินอะไรและออกกำลังกายท่าไหน

ซิกแพค (Six Pack) คือ กล้ามเนื้อหน้าท้องที่แบนราบและแข็งแรง จนสามารถมองเห็นเป็นกล้ามเนื้อข้างซ้าย 3 มัด ข้างขวา 3 มัด ซึ่งรวมกันเป็นกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (Core Muscles) โดยสิ่งสำคัญในการสร้างซิกแพค คือ การรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลาย เช่น อาหารโปรตีนสูง ผัก ผลไม้ ธัญพืช ไขมันดี ร่วมกับการออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ อาหารสำหรับสร้าง ซิกแพค การเลือกกินอาหารอย่างเหมาะสมอาจช่วยสร้างซิกแพคได้รวดเร็วขึ้น ดังนี้ อาหารโปรตีนสูง โปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อและช่วยสร้างซิกแพคได้เป็นอย่างดี จึงควรกินโปรตีนให้มากขึ้นวันละ 1.5-2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อสร้างซิกแพคและลดไขมันหน้าท้อง โดยแหล่งโปรตีนที่ดีอาจมีดังนี้ โปรตีนจากสัตว์ เช่น ไก่ เนื้อวัว หมู แกะไม่ติดมัน ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน นม ชีส โยเกิร์ต เต้าหู้ โปรตีนจากพืช เช่น พืชตระกูลถั่ว ถั่วเลนทิล ถั่วลันเตา ถั่วชิกพี (Chickpea) อัลมอนด์ […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ออกกำลังกาย แต่น้ำหนักไม่ลด เป็นเพราะอะไรกันแน่

ออกกำลังกาย แต่น้ำหนักไม่ลดมักมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น กินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป กินอาหารที่มีโปรตีนน้อย กินอาหารขยะ  ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลให้ร่างกายได้รับแคลอรี่ ไขมัน และน้ำตาลมากกว่าปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายเผาผลาญออกไป จึงควรควบคุมปริมาณและประเภทของอาหาร ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม อาจจะช่วยให้ลดน้ำหนักได้ดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่อาจทำให้น้ำหนักไม่ลดแม้จะออกกำลังกาย ออกกำลังกาย แต่น้ำหนักไม่ลดอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น กรรมพันธุ์ การออกกำลังกายน้อยเกินไป การออกกำลังกายผิดวิธี ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ แต่ปัจจัยส่วนใหญ่ที่ทำให้น้ำหนักไม่ลดมักเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการกินอาหาร ดังนี้ กินโปรตีนไม่เพียงพอ โปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญที่อาจช่วยในการสดน้ำหนัก เนื่องจากการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมันไม่ติดหนัง ปลา พืชตระกูลถั่ว เมล็ดพืช อาจช่วยลดความอยากอาหาร ลดมวลไขมัน เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ซึ่งส่งผลดีต่อการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ช่วยทำให้น้ำหนักลดลงได้ งานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition Journal ปี พ.ศ. 2557 ทำการวิจัยเกี่ยวกับผลต่อความอยากอาหารเมื่อรับประทานอาหารอาหารเช้าที่มีโปรตีนสูงเทียบกับอาหารเช้าที่มีโปรตีนตามปกติในเด็กหญิงวัยรุ่นตอนปลายที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ซึ่งทำการทดลองแบบสุ่มในเด็กผู้หญิง 20 คน โดยให้รับประทานอาหารเช้าที่มีพลังงาน 350 กิโลแคลอรี่่ และมีโปรตีน 13 กรัม หรือ 35 กรัม หรืองดอาหารเช้า ต่อเนื่องเป็นเวลา 6 […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ลดไขมันหน้าท้อง ทำได้อย่างไรบ้าง

ไขมันหน้าท้อง หรือไขมันรอบเอว อาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม ฮอร์โมน พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การมีไขมันสะสมที่หน้าท้องปริมาณมากอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งลำไส้ ซึ่ง การ ลดไขมันหน้าท้อง อาจทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ  [embed-health-tool-bmi] ไขมันหน้าท้อง คืออะไร  ไขมันหน้าท้อง คือ ไขมันที่สะสมใต้ผิวหนังบริเวณหน้าท้อง หรือบางครั้งอาจเรียกว่า พุง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่เว้นแม้แต้ผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อย การมีไขมันหน้าท้องมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย นำมาซึ่งโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ  การวัดไขมันหน้าท้องอาจวัดได้จากขนาดรอบเอว สำหรับผู้ชายไม่ควรเกิน 36 นิ้ว หรือ 90 เซนติเมตร และสำหรับผู้หญิงไม่ควรเกิน 32 นิ้ว หรือ 80 เซนติเมตร หากมีรอบเอวที่มากกว่านั้น อาจเสี่ยงมีภาวะอ้วนลงพุงได้  ไขมันหน้าท้อง เกิดจากอะไร  สาเหตุของการมีไขมันที่หน้าท้องอาจมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้  พันธุกรรม หากคนในครอบครัวเป็นโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน อาจมีแนวโน้มที่จะมีไขมันหน้าท้องหรืออ้วนลงพุงได้มากกว่าปกติ  […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ลดเหนียง สามารถทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง

ลดเหนียง เป็นการลดไขมันสะสมใต้คางที่ทำให้เกิดเป็นคาง 2 ชั้นซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่เฉพาะกับคนที่มีน้ำหนักตัวมากเท่านั้น ถึงแม้ว่าเหนียงไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แต่อาจส่งผลต่อความมั่นใจได้ ทั้งนี้ การลดเหนียงนั้นทำได้หลายวิธี เช่น การบริหารใบหน้า การควบคุมอาหาร [embed-health-tool-bmi] เหนียง คืออะไร  เหนียง หรือคาง 2 ชั้น คือ ไขมันที่สะสมอยู่บริเวณใต้คาง มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อห้อย เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะมีน้ำหนักตัวปกติหรือน้ำหนักตัวมาก  เหนียง เกิดจากอะไร เหนียงอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ ไขมันสะสมอยู่ใต้ชั้นผิวหนังมากเกินไป ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการรับประทานอาหารมีไขมันสูงเป็นประจำ ไม่ออกกำลังกาย อาจทำให้เกิดการสะสมไขมันบริเวณคาง เช่นเดียวกับไขมันที่สะสมตามหน้าท้อง ท้องแขน  โรคอ้วน ภาวะน้ำหนักเกิน  พันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีผิวหนังที่มีความยืดหยุ่นน้อย ผิวหนังไม่เต่งตึง อาจส่งผลให้มีเหนียงมากกว่าปกติ อายุที่เพิ่มขึ้น มักส่งผลให้ผิวหนังสูญเสียคอลลาเจน จนผิวหนังหย่อนคล้อยและเกิดเหนียงได้เช่นกัน ลดเหนียง มีวิธีอะไรบ้าง วิธีที่อาจช่วยลดเหนียง มีดังนี้ การทำท่าบริหารใบหน้า การบริหารใบหน้าเป็นประจำทุกวันด้วยท่าเหล่านี้ อาจช่วยลดเหนียงได้ ท่าแลบลิ้น เริ่มจากมองตรงแล้วแลบลิ้นออกมาให้สุด พยายามให้ลิ้นแตะจมูก ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที ทำซ้ำประมาณ 10 ครั้ง/รอบ  ท่าจูบท้องฟ้า เงยหน้ามองเพดานจนรู้สึกตึงบริเวณใต้คางและลำคอ แล้วทำปากจู๋คล้ายจูบ […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ลดหน้าท้อง กำจัดไขมัน เพื่อสุขภาพที่ดี

ไขมันหน้าท้อง อาจเป็นตัวบ่งชี้ปัญหาสุขภาพในร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ซึ่งมักมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ขาดการออกกำลังกาย รวมทั้งผู้ที่มีอายุมาก หรือผู้ที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน อาจประสบปัญหานี้เช่นกัน เพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงห่างไกลจากปัญหาสุขภาพ ควรกำจัดไขมันส่วนเกินด้วยการ ลดหน้าท้อง และดูแลตนเองให้ดีอยู่เสมอ ควบคุมการรับประทานอาหาร วางแผนการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] ไขมันหน้าท้อง เกิดจากอะไร โดยปกติแล้ว เมื่อร่างกายทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การออกกำลังกาย การเคลื่อนไหว จะส่งผลให้เกิดการเผาผลาญไขมันออกมาเป็นพลังงาน ผ่านทางเหงื่อ ลมหายใจ หากร่างกายไม่มีการเผาผลาญ หรือเผาผลาญได้น้อย จะเกิดการสะสมของไขมันตามร่างกาย รวมถึงไขมันหน้าท้อง ไขมันหน้าท้องมักเกิดจากการสะสมของไขมันปริมาณมากใต้ผิวหนัง รวมถึงไขมันในช่องท้องที่อยู่ในชั้นลึก ทำให้เสี่ยงต่อการเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล ความดันโลหิตสูง ปัญหาการหายใจ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เนื่องจากโรคต่าง ๆ อาจส่งผลกระทบให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยในเรื่องการเผาผลาญในร่างกายนั้นลดลง  งานวิจัยชิ้นหนึ่ง เรื่องไขมันหายไปไหนหลังจากการลดน้ำหนัก เผยแพร่ในวารสาร British Medical Journal พ.ศ.2557 ระบุว่า ไขมันจากอาหารจะอยู่ในเซลล์แอดิโพไซด์ (Adipocytes) ซึ่งทำหน้าที่สะสมไขมันในรูปแบบไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) โดยไตรกลีเซอไรด์นี้ประกอบด้วยโมเลกุลคาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจน และออกซิเจน […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

Metabolism คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

Metabolism คือ กระบวนการเผาผลาญและกระบวนการเปลี่ยนแปลงสารอาหารที่กินหรือดื่มเข้าสู่ร่างกายให้เป็นพลังงาน เพื่อนำไปใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การหายใจ การไหลเวียนของเลือด การปรับระดับฮอร์โมน รวมถึงการเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ   [embed-health-tool-bmr] Metabolism คืออะไร  เมแทบอลิซึม (Metabolism) คือ กระบวนการทางเคมีที่ช่วยให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ กระบวนการนี้รวมถึงกระบวนการสร้างและซ่อมแซมร่างกาย และกระบวนการที่สลายสารอาหารจากอาหาร หลังจากที่กินอาหาร ระบบย่อยอาหารจะใช้เอนไซม์ ในการย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโน เปลี่ยนไขมันให้เป็นกรดไขมัน เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตให้เป็นน้ำตาล เมื่อมีการทำกิจกรรมใด ๆ ร่างกายจะนำสารอาหารเหล่านี้ไปใช้เป็นแหล่งพลังงาน โดยสารเหล่านี้จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและหมุนเวียนไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย หลังจากเข้าไปยังเซลล์แล้ว เอ็นไซม์อื่น ๆ จะช่วงเร่งและควบคุมปฏิกริยาทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญ โดยกระบวนการทางเคมีทั้ง 2 อย่างนี้มีรายละเอียดการทำงาน ดังต่อไปนี้ กระบวนการสร้าง (Anabolism) คือ กระบวนการสร้างและซ่อมแซมร่างกายอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย รวมถึงเป็นกระบวนการที่ร่างกายแปรเปลี่ยนอาหารและเครื่องดื่มให้เป็นพลังงาน หากรับประทานอาหารมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน สารอาหารส่วนเกินจะสะสมในรูปแบบของไขมัน กระบวนการสลาย (Catabolism) คือ กระบวนการสลายสารโมเลกุลใหญ่ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โดยร่างกายจะสลายสารอาหารให้อยู่ในรูปแบบพลังงานที่นำไปเสริมสร้างการเจริญเติบโต และซ่อมแซมอวัยวะส่วนที่สึกหรอ  อัตราการเผาผลาญ (Metabolic Rate) อัตราการเผาผลาญของร่างกาย […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

กินยังไงให้ผอม และสุขภาพดี

กินยังไงให้ผอม และดีต่อสุขภาพ อาจเป็คำถาที่หลายคนสงสัย โดยการเลือกอาหารที่ให้พลังงานและแคลอรี่ต่ำจึงเป็นเป้าหมายสำคัญของการลดและควบคุมน้ำหนัก ควรแบ่งการกินอาหารออกเป็นมื้อเล็ก ๆ  6 มื้อ ไม่ควรละเลยอาหารเช้าซึ่งเป็นมื้อสำคัญที่ให้พลังงานตลอดทั้งวันและช่วยให้อิ่มนานมากขึ้น ไม่ควรอดอาหารเพื่อลดน้ำหนักแต่ควรจัดสรรทั้งเวลาและประเภทของอาหารให้เหมาะสมในแต่ละมื้อ จะช่วยลดความรู้สึกหิวโหยระหว่างวันและส่งผลให้ผอมลงได้ [embed-health-tool-bmr] กินยังไงให้ผอม การกินอาหารอาจเกี่ยวข้องกับการลดน้ำหนักหรือการควบคุมน้ำหนัก เนื่องจาก การกินอาหารในแต่ละมื้ออาจมีปริมาณแคลอรี่ที่ส่งผลต่อน้ำหนัก ดังนั้น การจัดมื้ออาหารและการเลือกประเภทอาหารให้เหมาะสมอาจช่วยให้ผอมลงได้ การกินอาหาร 6 มื้อต่อวันอาจช่วยให้ผอมลง การกินอาหารมื้อเล็ก ๆ ตลอดทั้งวันอาจช่วยลดความอยากอาหาร และยังส่งผลดีต่อสุขภาพช่วยให้ระบบเผาผลาญทำงานอยู่ตลอดเวลา ทำให้ลดความหิวและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่การกินอาหารแบบแบ่งเป็น 6 มื้อ/วัน อาจไม่ช่วยเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี่และไขมันที่สะสมในร่างกาย ดังนั้น การกินอาหารแบบแบ่งเป็น 6 มื้อควรควบคู่ไปกับการเลือกประเภทอาหารด้วย เพื่อไม่เพิ่มเป็นแคลอรี่สะสมในร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถเผาผลาญแคลอรี่ในแต่ละวันดียิ่งขึ้นส่งผลให้ผอมลงได้ ถึงแม้ว่า การกินอาหารแบบแบ่งเป็น 6 มื้อ อาจไม่ช่วยเร่งการเผาผลาญ แต่สามารช่วยควบคุมความหิวได้ ทำให้ท้องไม่ว่างเกินไปในระหว่างรออาหารมื้อถัดไป แต่หากปล่อยให้ท้องว่างอาจทำให้หิวมากขึ้น และมีแนวโน้มจะกินอาหารมากเกินไป เนื่องจาก เมื่อร่างกายไม่ได้รับอาหารประมาณ 3 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลง เมื่อผ่านไป 4 ชั่วโมง ร่างกายจะเริ่มย่อยอาหารในร่างกาย และเมื่อผ่านไปอีก 5 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลงมากขึ้นส่งผลให้ร่างกายรู้สึกหิว และต้องการกินอาหารจำนวนมากเพื่อเพิ่มพลังงาน สำหรับการกินอาหารมื้อสุดท้ายไม่ควรเกิน 6 […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

5 วิธีลดพุง เพื่อหน้าท้องแบนราบและสุขภาพที่ดี

ภาวะอ้วนลงพุงเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย มักเกิดจากการรับประทานอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย ไม่ออกกำลังกาย และอาจเกิดจากภาวะสุขภาพหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทำให้มีไขมันส่วนเกินสะสมที่หน้าท้อง และเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง การลดพุงจึงเป็นวิธีลดน้ำหนักที่จะช่วยควบคุมไขมัน ปรับสมดุลการเผาผลาญ และเพิ่มความมั่นใจในรูปร่างได้อีกด้วย สาเหตุของอ้วนลงพุง อ้วนลงพุงอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้ การรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันปริมาณมาก อาจส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้ การพยายามลดความอ้วนด้วยวิธีรับประทานอาหารน้อยเกินไป เช่น  กิน  กินจุบกินจิบระหว่างวัน กินอาหารไม่ครบทุกมื้อ โดยเฉพาะไม่รับประทานอาหารเช้าซึ่งเป็นมื้อที่สำคัญ อาจส่งผลทำให้ร่างกายหิวมากขึ้น อาจทำให้ต้องการรับประทานอาหารเพิ่มขึ้น  รับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง และอาจเพิ่มปริมาณอาหารในตอนเย็น อาจส่งผลต่อการเพิ่มไขมันหน้าท้องได้เช่นกัน ปริมาณการออกกำลังกาย การไม่ออกกำลังกายหรือออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นน้อยเกินไป อาจส่งผลให้ไขมันส่วนเกินที่ไม่ได้รับการเผาผลาญสะสมที่หน้าท้องได้ ความเครียด ความเครียดอาจทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลที่กระตุ้นความอยากอาหารและส่งผลต่อระบบเผาผลาญ ทำให้รับประทานอาหารมากขึ้นและอาจมีแนวโน้มเลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น อาหารที่มีน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตสูงเพื่อคลายความเครียด การนอนหลับ การนอนหลับไม่เพียงพออาจส่งผลต่อความสมดุลของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ฮอร์โมนควบคุมความหิว ทำให้อยากอาหารมากขึ้นและรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นด้วย พันธุกรรม ในบางคนยีนอาจมีส่วนทำให้อ้วนลงพุง ถึงแม้ว่าจะมีการออกกำลังกายหรือควบคุมอาหารอย่างถูกต้อง ซึ่งยีนอาจส่งผลต่อระบบเผาผลาญ เช่น การสะสมไขมันในร่างกาย การเผาผลาญที่ช้าลง หรืออาจส่งผลต่อพฤติกรรม เช่น นิสัยรับประทานอาหารปริมาณมาก ไม่ชอบออกกำลังกายและขยับตัว ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ งานวิจัยระบุว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจเพิ่มน้ำหนักตัวได้ และการสูบบุหรี่อาจมีส่วนทำให้ระบบเผาผลาญทำงานผิดปกติ ผู้สูบบุหรี่อาจมีดัชนี้มวลกายต่ำลงแต่มีหน้าท้องที่ใหญ่กว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จัดอาจดันไขมันเข้าไปที่ส่วนกลางลำตัว […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

IF คือ อะไร ทำแล้วลดน้ำหนักได้จริงไหม

IF หรือ Intermittent Fasting คือ การลดน้ำหนักแบบจำกัดช่วงเวลารับประทานอาหาร วิธีนี้อาจช่วยควบคุมระดับแคลอรี ระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต เสริมสร้างการทำงานของสุขภาพหัวใจให้มีประสิทธิภาพได้ด้วย แต่ก็อาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพ เช่น คลื่นไส้ ปวดศีรษะ เนื่องจากร่างกายยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับระยะเวลาที่อดอาหารได้ [embed-health-tool-bmi] If คือ การลดน้ำแบบใด  การลดน้ำหนักแบบ IF หรือ Intermittent Fasting คือการจำกัดช่วงเวลาที่สามารถรับประทานอาหารได้ หรือการรับประทานอาหารตามแผนเวลาที่คุณหมอกำหนดเท่านั้น ตามที่ Mark Mattson,Ph.D.นักประสาทวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Johns Hopkins University ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการอดอาหารเป็นเวลา 25 ปี พบว่าร่างกายของมนุษย์มีวิวัฒนาการที่อาจทำให้ดำรงชีวิตได้ แม้จะอดอาหารเป็นเวลาหลายชั่วโมง หลายวัน หรือนานกว่านั้น เห็นได้จากที่มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งยังไม่รู้จักทำฟาร์ม และต้องใช้เวลานานกว่าจะล่าสัตว์ หรือเก็บพืชมารับประทานได้ ยังคงเจริญเติบโต หรือมีชีวิตอยู่รอดมาโดยไม่รับประทานอาหารเป็นเวลาหลายวัน กรมการแพทย์ทางเลือกแห่งประเทศไทย แบ่งวิธีรับประทานอาหารแบบ IF ออกเป็น 6 วิธี ดังนี้ อดอาหารแบบ 16/8 คืองดรับประทานอาหารเป็นเวลา 16 ชั่วโมง และรับประทานอาหารได้เป็นเวลา 8 ชั่วโมง […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม