การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

การรับประทานอาหารที่เหมาะสมถือเป็นส่วนสำคัญในการลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพและดีต่อสุขภาพ ดังนั้นทาง Hello คุณหมอจึงได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก มาให้ทุกคนได้อ่านกัน

เรื่องเด่นประจำหมวด

การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ขนมกินแล้วไม่อ้วน เลือกอย่างไรเพื่อสุขภาพที่ดี

ปัจจุบันมี ขนมกินแล้วไม่อ้วน หลายรูปแบบที่ให้ทั้งความอร่อยและคลายหิว รวมถึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพและสามารถช่วยควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย ซึ่งควรเลือกขนมที่มีแคลอรี่ น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมต่ำ แต่อุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิด เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันดี วิตามิน แร่ธาตุ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ยิ่งไปกว่านั้นการกินขนมที่อร่อยและมีประโยชน์ยังช่วยให้สามารถควบคุมน้ำหนักได้อย่างมีความสุขในระยะยาวอีกด้วย [embed-health-tool-bmi] ขนมกินแล้วไม่อ้วน เป็นอย่างไร ขนมกินแล้วไม่อ้วน ควรเป็นขนมที่อร่อย ช่วยคลายหิว และอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันดี วิตามิน แร่ธาตุ เนื่องจากจุดประสงค์ในการกินขนมเป็นการกินระหว่างมื้ออาหารหลัก เพื่อไม่ให้ท้องว่างจนกินอาหารมื้อต่อไปมากเกินไปและอาจทำให้อ้วนได้ ตัวอย่างขนมกินแล้วไม่อ้วน ขนมกินแล้วไม่อ้วน ควรมีแคลอรี่ น้ำตาล ไขมันและโซเดียมต่ำ ซึ่งขนมบางอย่างอาจทำได้เองที่บ้าน ดังนี้ ถั่วต้ม เช่น ถั่วลันเตา ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วแอลมอนด์ แมคคาเดเมียน นมหรือผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ เช่น นมวัว โยเกิร์ตไขมันต่ำ กรีกโยเกิร์ต นมถั่วเหลือง ผลไม้สด ผลไม้อบแห้ง ผลไม้แช่แข็ง เช่น แอปเปิ้ล กล้วย […]

สำรวจ การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

กาแฟลดน้ำหนัก ได้จริงหรือ

หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า กาแฟลดน้ำหนัก ได้จริงหรือไม่ การดื่มกาแฟอาจช่วยในเรื่องของการลดน้ำหนักได้ เนื่องจากกาแฟมีแคลอรี่ต่ำ อีกทั้งยังอุดมไปด้วยคาเฟอีนและสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ ที่อาจช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบการเผาผลาญรวมถึงระบบเมทาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และช่วยกระตุ้นการเผาผลาญไขมัน อย่างไรก็ตาม ควรเลือกดื่มกาแฟดำที่ไม่ใส่น้ำตาลและครีมเทียม อีกทั้งยังควรควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างเหมาะสมควบคู่กันไปด้วย เพื่อช่วยให้สามารถลดน้ำหนักได้อย่างยั่งยืนและดีต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของกาแฟ กาแฟแบบชง 1 แก้ว หรือ 240 มิลลิลิตร ไม่ใส่ครีมและน้ำตาล ให้พลังงานน้อยมาก และมีสารอาหารอื่น ๆ ดังนี้ โปรตีน 0.3 กรัม โพแทสเซียม 118 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 7.2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 7.1 มิลลิกรัม โคลีน (Choline)2 มิลลิกรัม โซเดียม 4.8 มิลลิกรัม โฟเลต 4.7 มิลลิกรัม กาแฟลดน้ำหนัก ได้จริงหรือ การดื่มกาแฟอาจช่วยลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักได้ เนื่องจากกาแฟมีสารอาหารมากมาย รวมถึงสารประกอบฟีนอล (Phenol) ที่พบได้ในพืชสามารถกระตุ้นการทำงานของระบบการเผาผลาญ รวมถึงระบบเมทาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และช่วยกระตุ้นการเผาผลาญไขมันได้ อย่างไรก็ตาม ควรเลือกดื่มเป็นกาแฟดำที่ไม่ใส่ครีมเทียมหรือน้ำตาลเพิ่มเติม เพราะอาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไป ทำให้สารอาหารเหล่านั้นถูกนำไปสะสมเป็นไขมันที่อาจเสี่ยงทำให้เป็นโรคอ้วนได้ นอกจากนี้ กาแฟยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอย่างกรดคลอโรจีนิก ที่อาจช่วยป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังต่าง […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

คีโตกินอะไรได้บ้าง และอะไรที่ควรหลีกเลี่ยง

การรับประทานอาหารแบบคีโต หรือ คีโตเจนิค (Ketogenic Diets) เป็นการรับประทานอาหารเพื่อลดน้ำหนัก โดยเน้นการบริโภคอาหารที่มีไขมันและโปรตีน โดยบริโภคคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่น้อยที่สุด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่เป็นพลังงาน และทำให้น้ำหนักตัวลดลง หากถามว่า คีโตกินอะไรได้บ้าง คำตอบคือ เนื้อสัตว์ อาหารทะเลต่าง ๆ ผักที่มีสัดส่วนคาร์โบไฮเดรตน้อย เครื่องดื่มที่ไม่เติมน้ำตาล ถั่วและเมล็ดพืชบางชนิด ขณะเดียวกัน ผู้ที่ต้องการรับประทานอาหารแบบคีโตควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตหรือมีน้ำตาลสูง เช่น ข้าว เส้นก๋วยเตี๋ยว มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ มะม่วง ส้ม ฟักทอง มันฝรั่ง มันเทศ น้ำผึ้ง [embed-health-tool-bmi] คีโต คืออะไร การรับประทานอาหารแบบคีโต หรือ คีโตเจนิค สามารถรับประทานไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตได้หลายรูปแบบ แต่หลักการ คือ จะเน้นบริโภคอาหารที่มีไขมันดี ในอัตราส่วน 75 เปอร์เซ็นต์ ตามด้วยโปรตีนอีก 20 เปอร์เซ็นต์ และคาร์โบไฮเดรตเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ การรับประทานอาหารแบบคีโต จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะคีโตซิส (Ketosis) ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายเผาผลาญไขมันเป็นพลังงาน ส่งผลให้มวลไขมันที่สะสมอยู่ลดลง และน้ำหนักตัวโดยรวมลดลงตามไปด้วย คีโตกินอะไรได้บ้าง การรับประทานอาหารแบบคีโต ควรเลือกรับประทานอาหารต่าง […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

Paleo diet คืออะไร ช่วยลดน้ำหนักได้หรือไม่

Paleo diet คือ การรับประทานอาหารแบบยุคหิน เป็นรูปแบบการรับประทานอาหารที่เน้นผัก ผลไม้ ถั่ว เนื้อสัตว์ คล้ายกับอาหารที่คนในยุคหินรับประทาน ซึ่งอาจช่วยควบคุมน้ำหนักได้ อีกทั้งยังอาจช่วยลดระดับความดันโลหิต ป้องกันโรคเบาหวาน และโรคหัวใจและหลอดเลือด อย่างไรก็ตาม หากรับประทานไม่ถูกต้องอาจส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหาร ท้องร่วง หรือท้องผูกได้ จึงควรปรึกษาคุณหมอเพื่อวางแผนการรับประทานอาหารให้เหมาะสมก่อน [embed-health-tool-bmi] Paleo diet คืออะไร Paleo diet คือ การรับประทานอาหารแบบมนุษย์ยุคหิน หรือเมื่อประมาณ 2 ล้านปีก่อน ที่เน้นการรับประทานผัก ผลไม้ ถั่ว เนื้อสัตว์ และเนื้อปลา เนื่องจากเป็นอาหารที่คนในยุคนั้นหารับประทานได้ง่าย หลีกเลี่ยงการรับประทานคาร์โบไฮเดรตแปรรูป ธัญพืชที่ผ่านการขัดสี น้ำตาล ผลิตภัณฑ์จากนม และน้ำมัน ตัวอย่างอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ น้ำมันต่าง ๆ ชีส มันฝรั่ง น้ำอัดลม กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ การรับประทานอาหารในรูปแบบ Paleo diet ยังอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบภูมิคุ้มกัน ลดความดันโลหิตที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่อาจช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้อีกด้วย ผู้ที่อาจเหมาะกับ […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

วิธีลดความอ้วน เพื่อสุขภาพที่ดี ทำได้อย่างไร

ความอ้วน คือ ภาวะร่างกายที่มีไขมันสะสมและมีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 23 ขึ้นไป ที่อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง ไขมันสูงและน้ำตาลสูง ซึ่งส่งผลให้น้ำหนักเพิ่ม และมีการสะสมของไขมัน ดังนั้น เพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ จึงควรศึกษา วิธีลดความอ้วน ที่ถูกต้องและดีต่อสุขภาพที่อาจทำได้โดยการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและการออกกำลังกาย [embed-health-tool-bmi] ทำไมถึงควรศึกษา วิธีลดความอ้วน การลดความอ้วนอาจช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต และมีสุขภาพที่ดีขึ้น เช่น ช่วยให้เคลื่อนไหวคล่องตัว ลดอาการเหนื่อยง่าย อีกทั้งยังอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้ โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นโรคที่อาจเกิดจากภาวะความดันโลหิตสูงหรือหลอดเลือดตีบตัน เนื่องจากไขมันอุดตันในหลอดเลือด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคอ้วนอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถจัดการกับระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเหมาะสม และอาจทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ ไขมันพอกตับ เป็นภาวะที่มีไขมันสะสมในตับมากจนเกินไป ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตับแข็ง ตับวาย หรือมะเร็งตับได้ โรคนิ่วถุงน้ำดี เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบในผู้ที่มีน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วน เนื่องจากถุงน้ำดีมีส่วนช่วยในการย่อยไขมัน จึงอาจทำให้ถุงน้ำดีมีคอเลสเตอรอลสะสมมากเกินไปที่ก่อให้เกิดการแข็งตัวนำไปสู่การเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้ โรคข้อเข่าเสื่อม น้ำหนักตัวที่มากเกินไปอาจทำให้ข้อต่อรับน้ำหนักไม่ไหว และเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ คือ ปัญหาในทางเดินหายใจที่อาจเกิดขึ้นระหว่างนอนหลับ ซึ่งเป็นภาวะที่รุนแรงนำไปสู่การเสียชีวิตระหว่างนอนหลับได้โดยไม่รู้ตัว และเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในผู้ที่มีน้ำหนักมากหรือผู้ที่เป็นโรคอ้วน นื่องจากมีไขมันสะสมบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ทางเดินหายใจแคบกว่าปกติส่งผลให้หายใจลำบาก เสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ โรคโควิด-19 […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

การทํา IF กับประโยชน์และข้อควรระวังที่ควรรู้

การทํา IF หรือ Intermittent Fasting เป็นการจำกัดเวลารับประทานอาหารที่อาจช่วยควบคุมน้ำหนัก และระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม การทำ IF อาจส่งผลให้เกิดอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ นอนไม่หลับ และหิวบ่อย อีกทั้งยังอาจไม่เหมาะสำหรับบางคน จึงควรปรึกษาคุณหมอก่อนวางแผนการรับประทานอาหาร [embed-health-tool-bmr] ประโยชน์ของ การทํา IF การทำ IF อาจส่งผลดีต่อสุขภาพ ดังนี้ อาจช่วยลดน้ำหนัก และช่วยควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ อาจช่วยควบคุมระดับความดัน และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอ้วน อาจช่วยลดไขมันในร่างกาย หรือคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) รวมถึงไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ โรคอ้วน และโรคเบาหวาน อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันการติดเชื้อโรค เช่น ไวรัส แบคทีเรีย ที่นำไปสู่การเกิดโรค เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ อาจช่วยลดความเสียหายของเนื้อเยื่อจากการผ่าตัด และอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเซลล์ออโตฟาจี้ (Autophagy) ซึ่งเป็นกระบวนการฟื้นฟูและสร้างเซลล์ใหม่ ด้วยการกลืนกินเซลล์เก่าที่เสียหาย  […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ขนมไม่อ้วน ควรเลือกอย่างไร เพื่อให้ดีต่อสุขภาพ

ขนมไม่อ้วน เป็นขนมที่แคลอรี่ต่ำ อุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุที่ให้พลังงานและดีต่อสุขภาพ สามารถกินในยามว่างเพื่อลดความหิวและช่วยควบคุมน้ำหนักได้ อย่างไรก็ตาม หากกินในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้อ้วนได้เช่นกัน ดังนั้น ควรอ่านฉลากที่อยู่บนบรรจุภัณฑ์ กินในปริมาณที่เหมาะสม และควรหลีกเลี่ยงขนมที่มีไขมันทรานส์ น้ำตาลและโซเดียมสูง รวมถึงควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพที่ดีและป้องกันความอ้วน [embed-health-tool-bmr] กินขนมไม่อ้วน ดีอย่างไร ขนมขบเคี้ยวถือเป็นอาหารว่างที่อาจช่วยควบคุมความหิวในระหว่างรอรับกินอาหารในมื้อต่อไป เพราะหากปล่อยให้ร่างกายรู้สึกหิวเป็นเวลานาน อาจทำให้ความอยากอาหารเพิ่มขึ้นและอาจส่งผลให้อยากกินอาหารมากขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การเลือกกินขนมก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เนื่องจากขนมบางชนิดมีไขมัน น้ำตาลและโซเดียมสูงที่อาจทำให้อ้วนได้ จึงต้องเลือกกินขนมไม่อ้วนที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่หลากหลาย เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร วิตามิน แร่ธาตุและไขมันต่ำ ซึ่งอาจช่วยควบคุมความหิวได้นานขึ้นและอาจไม่อ้วนอีกด้วย วิธีเลือก ขนมไม่อ้วน วิธีเลือกขนมไม่อ้วนที่ช่วยควบคุมความหิว มีสารอาหารครบถ้วน และดีต่อสุขภาพ อาจมีดังนี้ เลือกขนมที่อุดมไปด้วยธัญพืช เช่น ซีเรียล มัฟฟินธัญพืช คุกกี้ธัญพืช แครกเกอร์ไขมันต่ำ โฮลเกรน ข้าวโพดคั่วไม่ใส่เนย กาโนล่า ธัญพืชอบกรอบ ธัญพืชอัดแท่ง อัลมอนด์ ถั่วลิสง ถั่วเหลืองอบแห้งและถั่วอื่น ๆ ขนมเหล่านี้เป็นขนมไม่อ้วนที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต ใยอาหารและโปรตีนที่ให้พลังงาน ช่วยควบคุมความหิวและลดความอยากอาหาร ทั้งยังมีไขมันต่ำ จึงอาจเหมาะสำหรับเป็นอาหารว่างเพื่อสุขภาพ […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

low carb คืออะไร ช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือ

Low carb คือ รูปแบบการรับประทานอาหารที่จำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรต โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ รวมถึงอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต ซึ่งอาจส่งผลให้ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคอ้วน [embed-health-tool-bmi] Low carb คืออะไร Low carb ย่อมาจาก Low Carbohydrate คือ รูปแบบการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ โดยเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตในปริมาณไม่เกิน 20-57 กรัม/วัน และเน้นการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนและไขมันสูงแทน ตามคำแนะนำของสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า ในแต่ละวันร่างกายควรได้รับโปรตีน 10-35% ของแคลอรี่ หรือ 46 กรัม สำหรับผู้หญิง และ 56 กรัม สำหรับผู้ชาย เพื่อป้องกันร่างกายได้รับโปรตีนและไขมันสูงมากจนเกินไป ตัวอย่างอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ อาจมีดังนี้ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา ผักใบเขียว เช่น คะน้า ผักบุ้ง ตำลึง ผักโขม ผักกาด ผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำดอก บร็อคโคลี ผลไม้บางชนิด เช่น แอปเปิ้ล สตรอว์เบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ แตงโม กล้วย ส้ม […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

IF หรือ Intermittent Fasting มีประโยชน์และข้อควรระวังอะไรบ้าง

IF ย่อมาจาก Intermittent Fasting คือ การลดน้ำหนักแบบอดอาหารเป็นช่วงเวลา ที่อาจช่วยควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ ลดน้ำหนัก ลดไขมัน และอาจควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ อย่างไรก็ตาม การลดน้ำหนักวิธีนี้อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ นอนไม่หลับ รู้สึกหิวเพิ่มขึ้นได้ เพื่อความปลอดภัยจึงควรปรึกษาคุณหมอหรือนักโภชนาการ เพื่อวางแผนการลดน้ำหนักให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ [embed-health-tool-bmr] การลดน้ำหนักด้วยวิธี IF คืออะไร การลดน้ำหนักแบบ IF คือ การจำกัดช่วงเวลารับประทานอาหาร ทำให้ร่างกายมีปริมาณอินซูลินลดลงจากการอดอาหาร ซึ่งอาจส่งผลให้ร่างกายเริ่มปรับตัว ลดการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต และดึงไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกายมาใช้เป็นพลังงานแทน จึงอาจช่วยให้ไขมันในร่างกายลดลง และอาจทำให้น้ำหนักลดลงด้วย การรับประทานอาหารในรูปแบบนี้จะสามารถรับประทานได้เฉพาะช่วงเวลาที่กำหนดเท่านั้น โดยควรรับประทานเป็นมื้อ ๆ ยกตัวอย่าง หากผู้ที่เลือกรับประทานอาหารที่อยู่ในช่วงเวลา 19.00-07.00 น. จะต้องรับประทานอาหารมื้อเย็นไม่เกิน 19.00 น. และรอจนถึง 7 โมงเช้าเพื่อรับประทานอาหารเช้าและอาหารในมื้อถัดไป นอกจากนี้ ยังอาจหมุนเวียนเปลี่ยนเวลาที่ควรรับประทานได้ตามความเหมาะสมหรือตามแผนการรับประทานอาหารที่คุณหมอหรือนักโภชนาการกำหนด รูปแบบการรับประทานอาหารแบบ IF อาจแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้ การอดอาหารแบบ 16/8 คือ การงดรับประทานอาหารเป็นเวลา 16 ชั่วโมง และรับประทานอาหารได้เป็นเวลา 8 […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

วิธีลดหน้าท้อง มีอะไรบ้าง

ไขมันสะสมหน้าท้องอาจเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และขาดการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม จนส่งผลให้มีไขมันสะสมที่บริเวณหน้าท้อง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่น โรคอ้วน โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีลดหน้าท้องที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงขอคำปรึกษาจากคุณหมอ เพื่อรับแผนควบคุมอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม ไขมันหน้าท้องเกิดจากอะไร ไขมันหน้าท้อง คือไขมันที่สะสมอยู่ใต้ผิวหนังบริเวณช่องท้อง ส่วนใหญ่อาจเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง เช่น ของทอด น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขนมหวาน และขาดการออกกำลังกาย ทำให้ไม่มีการเผาผลาญแคลอรี่ส่วนเกิน นำไปสู่การสะสมของไขมันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงบริเวณหน้าท้อง หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น โรคหัวใจ ภาวะความดันโลหิตสูง ระดับคอเลสเตอรอลผิดปกติ ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 วิธีการวัดไขมันหน้าท้อง วิธีการวัดไขมันหน้าท้องที่ง่ายที่สุดคือการวัดรอบเอว โดยนำสายวัดมาพันรอบเอวเหนือกระดูกสะโพก ดึงสายไว้จนแนบชิดกับลำตัวพอดี ไม่ควรรัดแน่น จากนั้นหายใจออกและอ่านค่าจากลูกศรบนสายวัดหรือปลายสายวัดที่ตรงกับตัวเลข หากพบว่ามีรอบเอวมากกว่า 35 นิ้วในผู้หญิง และมากกว่า 40 นิ้ว ในผู้ชาย อาจหมายความว่ามีไขมันสะสมในช่องท้อง ซึ่งอาจเสี่ยงต่อโรคอ้วน หรือโรคอ้วนลงพุง วิธีลดหน้าท้อง วิธีลดหน้าท้อง อาจทำได้ดังนี้ ออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างน้อย 5 วัน/สัปดาห์ วันละ 30 […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

Atkins diet คืออะไร มีความเสี่ยงอย่างไร

Atkins diet หรืออาหารแบบแอตกินส์ คือ รูปแบบการรับประทานอาหารโดยการลดอาหารจำพวกแป้ง เช่น ข้าวขาว ขนมปัง เส้นก๋วยเตี๋ยว รวมไปถึงอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น มันฝรั่ง กล้วย แอปเปิ้ล โดยมีจุดประสงค์เพื่อการลดน้ำหนักและเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารแบบแอตกินส์อาจส่งผลให้ร่างกายขาดพลังงาน และอาจมีอาการปวดหัว อ่อนเพลีย และระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้ [embed-health-tool-bmr] Atkins diet คืออะไร Atkins diet หรืออาหารแบบแอตกินส์ คือ การรับประทานอาหารที่จำกัดการรับประทานอาหารประเภทแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต แต่เน้นการรับประทานโปรตีนและไขมันแทน เป็นรูปแบบการรับประทานอาหารที่ถูกคิดค้นขึ้นโดย ดร.โรเบิร์ต ซี แอตกินส์ (Robert C. Atkins) ปี พ.ศ. 2515 โดยมีจุดประสงค์เพื่อการลดน้ำหนัก และป้องกันหรือปรับปรุงปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะเมแทบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารผิดปกติ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีข้อถกเถียงว่า การรับประทานอาการแบบแอดกินส์อาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิด ภาวะคีโตซีส (Ketosis) เนื่องจากร่างกายมีคาร์โบไฮเดรตที่เป็นแหล่งพลังงานหลักไม่เพียงพอต่อการเผาผลาญจึงดึงเอาไขมันสะสมมาเผาผลาญเพื่อใช้เป็นพลังงานแทน ซึ่งเป็นการลดน้ำหนักอีกวิธีหนึ่ง แต่ก็อาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียง เช่น เหนื่อยล้า […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม