โรคทางเดินหายใจ

ระบบทางเดินหายใจ มีส่วนสำคัญในการทำงานตามปกติของร่างกาย ดังนั้น คุณจึงควรเรียนรู้วิธีการรักษาสุขภาพของระบบทางเดินหายใจของคุณให้แข็งแรง ห่างไกลจากความเจ็บป่วย เรียนรู้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รวมถึง โรคทางเดินหายใจ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคทางเดินหายใจ

น้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุด ทำอย่างไรจึงจะหาย

น้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด เป็นอาการที่ร่างกายมีของเหลวเป็นน้ำใส ๆ ไหลออกมาทางจมูกตลอดเวลา เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคภูมิแพ้อากาศ ไข้หวัด รักษาให้หายได้โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้หรือบางรายอาจต้องรับประทานยาเพื่อรักษาอาการ หาก น้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุด เป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือนภาวะสุขภาพที่ต้องระวัง เช่น โรคริดสีดวงจมูก โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษา [embed-health-tool-bmi] น้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุด เกิดจากอะไร อาการน้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้ สาเหตุจากโรคภูมิแพ้ (Allergy) เป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าปกติ เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด นอกจากนี้ ยังอาจก่อให้เกิดอาการร่วมอื่น ๆ เช่น จาม ไอเรื้อรัง คันและระคายเคืองบริเวณตาหรือคอ สาเหตุจากโรคอื่น ๆ ยกตัวอย่าง เช่น โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง เกิดจากการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือมีอาการแพ้อย่างรุนแรง จนทำให้มีอาการปวด คัดจมูก น้ำมูกไหล หายใจติดขัด มีเสมหะข้นเหนียว ปวดใบหน้าบริเวณหน้าผาก หัวตา หู […]

สำรวจ โรคทางเดินหายใจ

ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ดูแล "สุขภาพปอด" ให้แข็งแรง และห่างไกลจากโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง

เมื่อพูดถึงโรคของระบบทางเดินหายใจ เราอาจจะนึกถึงโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ที่พบได้บ่อย แต่ก็เป็นโรคที่เกิดขึ้นแล้วก็สามารถรักษาให้หายไปได้ ขณะที่ยังมีโรคของระบบทางเดินหายใจ ที่เป็นโรคเรื้อรังอย่างเช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือโรคหอบหืด ที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งหากไม่อยากเผชิญกับปัญหาสุขภาพเหล่านี้ หนึ่งในสิ่งที่เราสามารถทำได้ ก็คือการ ดูแลสุขภาพปอด ให้แข็งแรงนั่นเอง สุขภาพปอด กับโรคระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินหายใจ มีบทบาทสำคัญในการส่งออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีหน้าที่กำจัดของเสียคาร์บอนไดออกไซด์ และของเสียที่เป็นพิษ รวมถึงควบคุมอุณหภูมิและรักษาสมดุลของกรด-ด่างในเลือด (ค่า pH) โดยปกติแล้ว ระบบทางเดินหายใจมีวิธีในการป้องกันไม่ให้สิ่งอันตรายในอากาศเข้าสู่ปอด และทำให้ สุขภาพปอด แย่ลง โดยขนจมูกจะช่วยกรองอนุภาคขนาดใหญ่ และขนขนาดเล็กมากที่เรียกว่า ซีเลีย (cilia) ที่พบตามทางเดินอากาศ จะเคลื่อนที่ไปมาในลักษณะเหมือนการปัดกวาด เพื่อทำให้ทางเดินอากาศสะอาด นอกจากนี้ยังมีของเหลวที่เป็นเมือก (Mucus) ที่ผลิตมาจากเซลล์ที่อยู่ในท่อลมและหลอดลมปอด ทำหน้าที่รักษาความชุ่มชื้นของทางเดินอากาศ และช่วยยับยั้งฝุ่นละออง แบคทีเรีย และไวรัส รวมถึงสารก่อภูมิแพ้ และสารอื่นๆ ไม่ให้เข้าสู่ปอด อย่างไรก็ตาม ระบบทางเดินหายใจของเราก็สามารถเสียสมดุล และเกิดอาการเจ็บป่วยได้ด้วยหลายสาเหตุ ทั้งจากการติดเชื้อ จากการสูดดมสารพิษจำนวนมากหรืออย่างต่อเนื่อง ยังไม่นับปัจจัยทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อปอดและอวัยวะอื่นๆ ในระบบทางเดินหายใจ รวมถึงรูปแบบการใช้ชีวิตของเราเองที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อปอด เช่น การใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางมลภาวะ หรือการสูบบุหรี่ เราจะ ดูแลสุขภาพปอด […]


โรคหอบหืด

อยู่ ๆ ก็ไอเรื้อรัง คุณอาจเป็น โรคหอบหืดที่มีอาการไอเรื้อรังอย่างเดียว ก็ได้นะ

โรคหอบหืด (Asthma) อาจไม่ใช่โรคที่แปลกใหม่สำหรับคุณ เนื่องจากเป็นโรคทั่วไปที่พบได้บ่อย อย่างไรก็ตาม โรคหอบหืดไม่ได้มีเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเป็นโรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ หอบหืดจากการออกกำลังกาย โรคหอบหืดที่มีอาการไอเรื้อรังอย่างเดียว (Cough Variant Asthma) เป็นต้น ซึ่งลักษณะอาการที่เกิดขึ้น คือ คุณอาจจะมีอาการไอเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งทาง Hello คุณหมอ มีข้อมูลเรื่องนี้มาฝากกัน ทำความรู้จักกับ โรคหอบหืดที่มีอาการไอเรื้อรังอย่างเดียว โรคหอบหืดที่มีอาการไอเรื้อรังอย่างเดียว คืออะไร โรคหอบหืดที่มีอาการไอเรื้อรังเพียงอย่างเดียว มีอาการหลักก็คือการไอแห้ง ผู่ป่วยที่มี อาการหอบหืดที่มีอาการไอเรื้อรัง จะไม่มีอาการของโรคหอบหืดประเภทอื่น เช่น อาการหายใจถี่ หายใจมีเสียงวี้ด บางครั้ง อาการหอบหืดที่มีอาการไอเรื้อรัง จะมีอาการไอที่เกิดขึ้นนานถึง 6-8 สัปดาห์ การไออาจเกิดขึ้นกลางดึกจนทำให้ผู้ป่วยต้องตื่นขึ้นมา หรือเกิดขึ้นตอนกลางวัน จนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาการมักจะรุนแรงขึ้นเมื่อออกกำลังกาย หรือได้รับสิ่งกระตุ้นอาการเกิดหอบหืดหรือสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น สปอร์เชื้อรา น้ำหอม หรือเมื่ออยู่ในสภาพอากาศเย็น อาการหอบหืดที่มีอาการไอเรื้อรัง เกิดขึ้นได้กับทุกช่วงอายุ แต่มักเริ่มเป็นในวัยเด็ก ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหอบหืดที่มีอาการไอเรื้อรังอย่างเดียว ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของ อาการหอบหืดที่มีอาการไอเรื้อรัง แต่อาการไออาจเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยสูดเอาสารก่อภูมิแพ้ หรืออยู่ในสภาพอากาศที่เย็น อาการไอยังอาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน หลังจากเกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ การไออาจเกิดขึ้นหลังจากการใช้ยากลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta Blockers) ซึ่งเป็นยาที่ใช้กับอาการความดันโลหิตสูง […]


โรคปอดบวม

ปอดอักเสบ (Pneumonitis)

ปอดอักเสบ เป็นปฏิกิริยาการแพ้ประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นเมื่อสารชนิดหนึ่งๆ เช่น เชื้อราหรือแบคทีเรียทำให้ถุงลมในปอดระคายเคือง สามารถรักษาได้ อย่างไรก็ดี ปอดอักเสบสามารถทำให้เกิดพังผืดหรือความเสียหายที่ปอดอย่างถาวร หากไม่สามารถตรวจเจอได้เร็วพอ   คำจำกัดความปอดอักเสบ คืออะไร ปอดอักเสบ (Pneumonitis) เป็นปฏิกิริยาการแพ้ประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นเมื่อสารชนิดหนึ่ง ๆ เช่น เชื้อราหรือแบคทีเรียทำให้ถุงลมในปอดระคายเคือง ผู้ที่มีอาการไวต่อสารเหล่านี้โดยเฉพาะจะมีอาการแพ้เกิดขึ้น โรคปอดอักเสบ สามารถรักษาได้ อย่างไรก็ดี ปอดอักเสบสามารถทำให้เกิดพังผืดหรือความเสียหายที่ปอดอย่างถาวร หากไม่สามารถตรวจเจอได้เร็วพอ โรคปอดอักเสบ พบได้บ่อยเพียงใด โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ โรคปอดอักเสบ ปอดอักเสบเฉียบพลันมักเกิดขึ้นภายใน 4-6 ชั่วโมง หลังหายใจรับสารระคายเคืองเข้าไป คุณอาจรู้สึกเหมือนว่าคุณเป็นไข้หวัดใหญ่ หรือมีอาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับทางเดินหายใจอื่น ๆ โดยมีอาการอย่างเช่น มีไข้ หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ ปวดศีรษะ หากคุณไม่ได้สัมผัสสารระคายเคืองอีก อาการควรหายไปภายใน 2-3 วัน หากคุณยังคงได้รับสารระคายเคือง คุณอาจเป็นปอดอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเป็นโรคในระยะยาว ผู้ป่วย โรคปอดอักเสบ ประมาณร้อยละ 5 จะเป็นปอดอักเสบเรื้อรัง อาการต่าง ๆ ของปอดอักเสบเรื้อรัง ได้แก่ ไอแห้ง แน่นหน้าอก รู้สึกเหนื่อย ไม่มีความอยากอาหาร น้ำหนักลดลงโดยไม่ตั้งใจ อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อคำถามใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของ โรคปอดอักเสบ คุณสามารถเป็น โรคปอดอักเสบ ได้ เมื่อสารต่าง […]


โรคหอบหืด

5 ปัจจัยกระตุ้นอาการหอบหืด ที่คุณอาจนึกไม่ถึง

เมื่อคุณเป็น หอบหืด ให้ระวังสิ่งต่าง ๆ รอบตัวคุณ ปัจจัยหลายประการสามารถกระตุ้นอาการหอบหืดได้ ซึ่งอาจเป็นที่ทราบกันว่า เชื้อรา ไรฝุ่น หรือควันบุหรี่ เป็นสาเหตุหลักของอาการหอบหืด ทว่ายังมี ปัจจัยกระตุ้นอาการหอบหืด อื่น ๆ ที่ต้องรู้ไว้ ความเครียด หนึ่งใน ปัจจัยกระตุ้นอาการหอบหืด คือความเครียด ความเครียดที่ว่านีเอาจมาจากงาน ลูก ความสัมพันธ์ เงิน บ้าน และครอบครัว เป็นต้น ความเครียดสามารถส่งผลต่อกล้ามเนื้อและกระดูก (musculoskeletal) หัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular) ทางเดินอาหาร (gastrointestinal) ระบบภูมิคุ้มกันและระบบประสาทส่วนกลาง (immune and central nervous systems) และแน่นอนว่าความเครียดยังสามารถส่งผลต่อหอบหืดได้อีกด้วย ความเครียดสามารถส่งผลให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงและกระตุ้นเส้นประสา ทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อทางเดินหายใจในปอด กล้ามเนื้อเหล่านี้อาจเกิดความตึงซึ่งทำให้อาการหอบหืดแย่ลง เช่น หายใจมีเสียง ไอ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก นอกจากนี้ ความเครียดยังสามารถทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งสามารถทำให้หอบหืดกำเริบได้ อย่างไรก็ดี หอบหืด ไม่ใช่ภาวะทางร่างกายที่เกิดจากจิตใจ (psychosomatic condition) และไม่ได้เกิดจากความเครียด หมายความว่าหากคุณไม่เป็นหอบหืด ความเครียดไม่ได้เป็นสาเหตุของหอบหืด […]


โรคหอบหืด

หอบหืด (Asthma)

หอบหืด เป็นภาวะเรื้อรังที่ทำให้เกิดการหายใจมีเสียง (เสียงเหมือนนกหวีดเมื่อคุณหายใจ) แน่นหน้าอก หายใจลำบาก และไอ หอบหืดไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถจัดการและรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตตามปกติและมีสุขภาพดีได้ คำจำกัดความหอบหืดคืออะไร หอบหืด (Asthma) เป็นภาวะหนึ่งซึ่งอากาศที่หายใจเข้าและออกจากปอดถูกจำกัด เนื่องจาก มีการติดเชื้อทางเดินหายใจ การติดเชื้อทำให้กล้ามเนื้อโดยรอบทางเดินหายใจตึงตัวและกระตุ้นอาการบางประการ หอบหืดเป็นภาวะเรื้อรังที่ทำให้เกิดการหายใจมีเสียง (เสียงเหมือนนกหวีดเมื่อคุณหายใจ) แน่นหน้าอก หายใจลำบาก และไอ หอบหืดไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถจัดการและรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตตามปกติและมีสุขภาพดีได้ หอบหืดพบได้บ่อยเพียงใด โรคหอบหืด เป็นภาวะที่พบได้ทั่วไปในคนได้ทุกวัย แต่มักเกิดได้มากที่สุดในวัยเด็ก โดยพบว่า คนประมาณ 300 ล้านคนทั่วโลกเป็น โรคหอบหืด สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ หอบหืด อาการทั่วไปของ โรคหอบหืด ได้แก่ ไอเรื้อรัง อาการไอจากหอบหืดมักมีอาการแย่ลงในตอนกลางคืนหรือในตอนเช้าตรู่ หายใจมีเสียง หายใจมีเสียงเป็นเสียงคล้ายนกหวีดหรือเสียงแหลม หายใจลำบาก อาการแน่นหน้าอกที่อาจรู้สึกเหมือนว่า มีบางสิ่งกำลังบีบเค้นหรือทับบนหน้าอกและอาจทำให้เกิดอาการปวด มีปัญหาในการนอนหลับจากอาการไอหรือหายใจมีเสียง เด็กที่เป็นหอบหืดมักมีอาการไอเรื้อรัง แต่อาการอื่น ๆ ที่ค้ลายคลึงกับหอบหืดในผู้ใหญ่ยังอาจเกิดขึ้นได้ เช่น อาการไอ หายใจมีเสียง และหายใจลำบาก ประเภทของอาการหอบหืด ความถี่ของการเกิดอาการ และความรุนแรงของอาการ อาจเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป ในบางครั้ง อาการต่าง ๆ อาจเพียงสร้างความรำคาญ แต่บางครั้ง อาการอาจเป็นปัญหามากพอที่จะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด ควรไปพบหมอทันทีเมื่อเกิดอาการขึ้น เพื่อไม่ให้อาการรุนแรงกว่าเดิม อาการขั้นรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากผู้ป่วยเป็น โรคหอบหืด ที่เป็นอันตรายต่อชีวิต […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

อาการไอเรื้อรัง ไอไม่หายของคุณ..อาจเป็นเพราะ 8 สาเหตุนี้

อาการไออาจน่ารำคาญ แต่ก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อาการไอเกิดขึ้นเพราะร่างกายพยายามขับสิ่งแปลกปลอม เช่น เสมะหะ เชื้อโรค ออกจากทางเดินหายใจ แต่หากมี อาการไอเรื้อรัง ก็อาจสร้างความรำคาญแก่เราได้ มาดูกันดีกว่าว่า สาเหตุที่อาจทำให้เกิดอาการ ไอเรื้อรัง มีอะไรกันบ้าง 8 สาเหตุที่อาจทำให้เกิด อาการไอเรื้อรัง ความเครียด ความเครียด โดยเฉพาะความเครียดสะสม หรือความเครียดเรื้อรัง สามารถทำให้อาการไอของคุณหายช้าลงได้ ดังนั้น เวลาป่วยหรือไอ คุณไม่ควรทำงานหักโหมจนเครียด และควรนอนหลับพักผ่อนให้มาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้อาการแย่ลง และให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ดื่มน้ำไม่เพียงพอ หากคุณป่วยและไอ ควรดื่มน้ำให้มาก ๆ โดยเฉพาะน้ำอุ่น เพื่อให้ร่างกายและทางเดินหายใจชุ่มชื้นขึ้น ช่วยให้น้ำมูกและเสมหะในทางเดินหายใจหนืดข้นน้อยลงจนขับออกจากร่างกายได้ รวมไปถึงงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำมากกว่าเดิม ทางเดินหายใจระคายเคืองจน ไอเรื้อรัง อาการไอส่วนใหญ่เป็นผลมาจากโรคติดเชื้อไวรัส เช่น ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไข้หวัด ซึ่งไวรัสจะทำให้ทางเดินหายใจบวมและระคายเคืองง่ายกว่าปกติ คุณจึงสามารถไอต่อเนื่องได้อีกหลายสัปดาห์ จนถึงขั้นไอเรื้อรัง แม้ว่าอาการอื่น ๆ ของโรคจะหายแล้วก็ตาม ปัญหาสุขภาพ ไอเรื้อรัง อาจเกิดได้จากโรคต่าง ๆ เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคกรดไหลย้อน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (obstructive sleep apnea) โรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic  Fibrosis) โรคหลอดลมโป่งพอง […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ไอเป็นเลือด (Coughing blood)

ไอเป็นเลือด (Haemoptysis หรือ Coughing blood) หมายถึงอาการที่ไอแล้วมีเลือดไหลออกมาจากปอด อาการไอเป็นเลือดนี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะที่อันตราย ไม่ว่าจะเป็น การติดเชื้อ โรคมะเร็ง หรือปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดภายในปอด คำจำกัดความไอเป็นเลือด คืออะไร ไอเป็นเลือด (Haemoptysis หรือ Coughing up blood) หมายถึงอาการที่ไอแล้วมีเลือดไหลออกมาจากปอด อาการไอเป็นเลือดนี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะที่อันตราย ไม่ว่าจะเป็น การติดเชื้อ โรคมะเร็ง ปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดภายในปอด ที่ทำให้มีเลือดออกภายในปอดแล้วทำให้ไอออกมาเป็นเลือด ในบางครั้งอาจมีเสมหะปะปนมาด้วย ประเภทของอาการไอเป็นเลือด อาจแบ่งได้ตามปริมาณของเลือดที่ไอออกมาภายใน 24 ชั่วโมง ดังต่อไปนี้ อาการไอเป็นเลือด ที่อันตรายถึงแก่ชีวิต แพทย์อาจจะมีเกณฑ์ที่ต่างกันในการแยกอาการไอเป็นเลือดในระดับนี้ แต่โดยปกติจะมีช่วงตั้งแต่การไอเป็นเลือดในปริมาณ 100-600 มล. อาการไอเป็นเลือด ที่ไม่อันตรายถึงแก่ชีวิต หรือเรียกอีกอย่างว่าอาการไอเป็นเลือดในระดับปานกลาง โดยมีปริมาณเลือดในช่วงระหว่าง 20-200 มล. อาการไอเป็นเลือด ในระดับเบา สำหรับผู้ที่มีอาการไอเป็นเลือดในปริมาณที่น้อยกว่า 20 มล. ไอเป็นเลือดพบบ่อยแค่ไหน อาการไอเป็นเลือด พบได้ทั่วไปในทุกวัย และมักส่งผลต่อผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ป้องกันได้โดยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของภาวะไอเป็นเลือด อาการที่เห็นได้ชัดของ อาการไอเป็นเลือด คือการไอที่มีเลือดปะปนออกมา เนื่องจากมีเลือดอยู่ในปอดหรือระบบทางเดินหายใจ เลือดนี้อาจจะมีลักษณะเป็นฟอง เนื่องจากได้ผสมกับอากาศและเสมหะที่อยู่ภายในปอด สีของเลือดนั้นอาจมีตั้งแต่สีแดงสด ไปจนถึงสีน้ำขาว […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ไอ (cough)

ไอ เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์บริเวณทางเดินหายใจเกิดการระคายเคือง ซึ่งจะกระตุ้นปอดให้ดันอากาศออกมาภายใต้ความดันสูง สามารถเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง คำจำกัดความ ไอคืออะไร ไอ (cough) เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์บริเวณทางเดินหายใจเกิดการระคายเคือง ซึ่งจะกระตุ้นปอดให้ดันอากาศออกมาภายใต้ความดันสูง อาการไอสามารถเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง อาการไอพบบ่อยเพียงใด อาการไอเป็นปฏิกิริยาตอบสนองฉับพลันตามธรรมชาติเพื่อช่วยปกป้องปอด และช่วยกำจัดสิ่งระคายเคืองออกจากทางเดินหายใจ เช่น ควันและน้ำมูก ทั้งยังป้องกันการติดเชื้อในทางเดินหายใจด้วย อาการไอเป็นเวลานานทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงปรารถนาและอาจเป็นอันตรายหากไม่ได้รับการตรวจ โดยสามารถส่งผลต่อผู้ป่วยได้ทุกวัย แต่สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการไอเป็นอย่างไร อาการไอมักเป็นอาการหนึ่งของภาวะอื่นๆ สามารถเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ไม่ว่าคุณจะมีอาการไอแบบใด อาการทั่วไปของการไอที่เห็นชัด ได้แก่ มีไข้ รู้สึกหนาวสั่น ปวดตามร่างกาย เจ็บคอ คลื่นไส้หรืออาเจียน ปวดศีรษะ มีเหงื่อออกตอนกลางคืน น้ำมูกไหล มีเสมหะในลำคอ อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด อาการไอส่วนใหญ่ที่เกิดจากหวัดหรือไข้หวัดใหญ่จะหายไปเองอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี ควรปรึกษาแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้ รู้สึกเวียนศีรษะหลังมีอาการไอ ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก ไอต่อเนื่องตลอดทั้งคืน มีไข้ อาการไอไม่ดีขึ้นหลังจาก 7 วัน มีอาการหอบหรือหายใจลำบาก หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุ สาเหตุของการไอ เมื่อมีสารระคายเคืองในปอด ปฏิกิริยาตามธรรมชาติของร่างกายคือ การไอเพื่อกำจัดสารระคายเคืองออกไป สาเหตุที่ทำให้ปอดระคายเคือง ได้แก่ ไวรัส ไวรัสที่ทำให้เกิดอาการหวัดหรือไข้เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุด ของการไอ ภูมิแพ้และหอบหืด ปอดจะพยายามกำจัดสิ่งที่ทำให้ร่างกายเกิดการระคายเคืองออกไปโดยการไอ สารระคายเคือง เช่น อากาศเย็น บุหรี่ ควัน หรือน้ำหอมรุนแรงจะกระตุ้นให้เกิดการไอ สาเหตุอื่นๆ เช่น ปอดติดเชื้อ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ภาวะอารมณ์หดหู่หรือซึมเศร้า และผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางประเภท ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอาการไอ สิ่งระคายเคืองในสิ่งแวดล้อมจะทำให้อาการไอแย่ลง ตัวอย่างเช่น ผู้ที่เป็นภูมิแพ้อาจรักษาอาการไอโดยใช้ยารักษาภูมิแพ้ หากมีอาการไอจากการสูบบุหรี่ อาจมีอาการดีขึ้นหากหยุดสูบบุหรี่หรืออาจมีอาการแย่ลงหากยังคงสุบบุหรี่ต่อไป  หากเป็นโรคปอดเรื้อรัง เช่น หอบหืดหรือหลอดลมอักเสบเรื้อรัง อาจมีอาการไอเรื้อรังรุนแรงขึ้นหากไปในสถานที่บางแห่งหรือทำกิจกรรมบางประการที่มีปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการไอ ยาบางประเภทสามารถทำให้เกิดการไอ […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ภาวะระบายลมหายใจเกิน (Hyperventilation)

ภาวะระบายลมหายใจเกิน เกิดขึ้นเมื่อคุณเริ่มหายใจเร็วมาก โดยหายใจออกมากกว่าหายใจเข้า ก่อให้เกิดภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว คำจำกัดความภาวะระบายลมหายใจเกิน คือ ภาวะระบายลมหายใจเกิน (Hyperventilation) หรือ โรคหายใจเกิน เกิดขึ้น เมื่อคุณเริ่มหายใจเร็วมาก การหายใจที่ดีต่อสุขภาพคือภาวะสมดุลระหว่างการสูดออกซิเจนเข้า และระบายคาร์บอนไดออกไซด์ออก ภาวะสมดุลนี้สูญเสียไป เมื่อคุณระบายลมหายใจเกิน โดยการหายใจออกมากกว่าหายใจเข้า ก่อให้เกิดภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายที่ลดต่ำ ก่อให้เกิดการตีบตันของหลอดเลือดที่ลำเลียงเลือดไปยังสมอง การลดลงของเลือดที่ไปเลี้ยงสมองนี้ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น เวียนศีรษะ และมีอาการปวดเสียวที่นิ้วมือ ภาวะระบายลมหายใจเกินที่รุนแรงสามารถก่อให้เกิดอาการหมดสติได้ ภาวะระบายลมหายใจเกิน พบได้บ่อยเพียงใด โดยปกติแล้ว ภาวะระบายลมหายใจเกินจะค่อนข้างพบได้น้อย โดยอาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวเมื่อมีอาการตื่นตระหนกต่อความกลัว อาการตึงเครียด หรือความกลัว นอกจากนี้ โรคหายใจเกิน ยังอาจเป็นผลมาจากสภาวะทางอารมณ์ เช่น อาการซึมเศร้า ความกังวล ความโกรธ หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็อาจจะเรียกว่า กลุ่มอาการหอบจากอารมณ์ (Hyperventilation Syndrome) อาการอาการของ ภาวะระบายลมหายใจเกิน โรคหายใจเกิน อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงได้ และอาจมีอาการได้นาน 20-30 นาที คุณควรเข้ารับการรักษาในทันทีหากเกิดอาการดังต่อไปนี้ หายใจถี่และหายใจลึก อาการปวด อาการไข้ มีเลือดออก รู้สึกกังวล ประหม่า หรือตึงเครียด หาวบ่อย หัวใจเต้นแรงและเร็ว มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว เวียนศีรษะ หรือรู้สึกหมุน มีอาการชาหรือปวดที่มือ เท้า หรือรอบปาก มีอาการตึง แน่น มีแรงกด รู้สึกกดเจ็บ หรือปวดที่หน้าอก อาการของภาวะระบายลมหายใจเกินแย่ลง […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis)

คำจำกัดความซิสติกไฟโบรซิส คืออะไร ซิสติกไฟโบรซิส (Cystic  Fibrosis) เป็นอาการป่วยเรื้อรัง ที่ส่งผลต่อเซลล์ที่สร้างเหงื่อและเมือก เมือกเป็นของเหลวที่ลื่นและค่อนข้างเหนียว ที่ช่วยหล่อลื่นและป้องกันเยื่อเมือก เมือกที่เกิดจากโรคซิสติกไฟโบรซิสจะหนาและเหนียวผิดปกติ เมือกดังกล่าวจะไปอุดกั้นปอด และก่อให้เกิดภาวะปอดติดเชื้อเรื้อรัง นอกจากนี้ ซิสติกไฟโบรซิสยังส่งผลต่อตับอ่อน ซึ่งส่งผลให้เกิดความผิดปกติ ในการสร้างสารเคมีชนิดพิเศษที่เรียกว่าเอนไซม์ เพื่อใช้สำหรับการย่อยอาหาร หากไม่มีเอนไซม์แล้ว ร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมสารอาหารจากอาหารได้ ซิสติกไฟโบรซิส พบได้บ่อยเพียงใด ซิสติกไฟโบรซิสเป็นโรคทางพันธุกรรม ที่พบได้ทั่วไปในแถบยุโรปตอนเหนือ ผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิสมีช่วงชีวิตที่สั้น แต่ด้วยการรักษาสมัยใหม่ พบว่าผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิสจำนวนมากขึ้น สามารถมีชีวิตอยู่ได้ถึงวัยกลางคน หรือมากกว่า อาการอาการของโรค ซิสติกไฟโบรซิส เป็นอย่างไร สิ่งบ่งชี้และอาการของโรคซิสติกไฟโบรซิสมีหลากหลาย โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค อาจมีสิ่งบ่งชี้และอาการของโรคที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการใดอาการหนึ่ง ให้ปรึกษาแพทย์ ผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิสมีระดับเกลือในเหงื่อที่สูงกว่าปกติ พ่อแม่สามารถรู้สึกถึงรสของเกลือได้เมื่อจูบลูกของตน อาการอื่นๆ ได้แก่ สิ่งบ่งชี้และอาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิสมีเมือกหนาและเหนียว ที่ก่อตัวขึ้นในทางเดินหายใจ การก่อตัวขึ้นของเมือก ทำให้แบคทีเรียเติบโต และทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายยิ่งขึ้น การติดเชื้อจะอุดกั้นทางเดินหายใจ และทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง ที่ก่อให้เกิดเสมหะ หรือเมือกหนาที่มีเลือดปนในบางครั้ง นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิสยังมีโอกาสที่จะมีภาวะโพรงจมูกอักเสบชั่วคราว ปอดบวม และปอดติดเชื้อ ที่ไม่มีการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทั่วไป เมื่อโรคซิสติกไฟโบรซิสมีอาการแย่ลง คุณอาจมีภาวะที่รุนแรงขึ้น เช่น ภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (pneumothorax) หรือโรคหลอดลมพอง (bronchiectasis) สิ่งบ่งชี้และอาการเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร สำหรับโรคซิสติกไฟโบรซิส เมือกจะอุดกั้นหลอดหรือช่องในตับอ่อน (อวัยวะภายในช่องท้อง) การอุดกั้นดังกล่าวนี้ป้องกันไม่ให้เอนไซม์ไปยังลำไส้ได้ ผลก็คือ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม