โรคทางเดินหายใจ

ระบบทางเดินหายใจ มีส่วนสำคัญในการทำงานตามปกติของร่างกาย ดังนั้น คุณจึงควรเรียนรู้วิธีการรักษาสุขภาพของระบบทางเดินหายใจของคุณให้แข็งแรง ห่างไกลจากความเจ็บป่วย เรียนรู้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รวมถึง โรคทางเดินหายใจ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคทางเดินหายใจ

น้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุด ทำอย่างไรจึงจะหาย

น้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด เป็นอาการที่ร่างกายมีของเหลวเป็นน้ำใส ๆ ไหลออกมาทางจมูกตลอดเวลา เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคภูมิแพ้อากาศ ไข้หวัด รักษาให้หายได้โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้หรือบางรายอาจต้องรับประทานยาเพื่อรักษาอาการ หาก น้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุด เป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือนภาวะสุขภาพที่ต้องระวัง เช่น โรคริดสีดวงจมูก โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษา [embed-health-tool-bmi] น้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุด เกิดจากอะไร อาการน้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้ สาเหตุจากโรคภูมิแพ้ (Allergy) เป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าปกติ เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด นอกจากนี้ ยังอาจก่อให้เกิดอาการร่วมอื่น ๆ เช่น จาม ไอเรื้อรัง คันและระคายเคืองบริเวณตาหรือคอ สาเหตุจากโรคอื่น ๆ ยกตัวอย่าง เช่น โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง เกิดจากการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือมีอาการแพ้อย่างรุนแรง จนทำให้มีอาการปวด คัดจมูก น้ำมูกไหล หายใจติดขัด มีเสมหะข้นเหนียว ปวดใบหน้าบริเวณหน้าผาก หัวตา หู […]

สำรวจ โรคทางเดินหายใจ

โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

สัญญาณโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หนึ่งในโรคปอดเรื้อรังที่รุนแรงถึงชีวิต

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) คือ หนึ่งในโรคปอดเรื้อรังที่ร้ายแรงที่สุด ที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการหายใจ และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต พยาธิสรีรวิทยา (Pathophysiology) ของโรค หรือการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เริ่มจากการสร้างความเสียหายให้กับหลอดลมและถุงลมในปอด แล้วพัฒนาไปเป็นอาการไอพร้อมเสมหะ จนกลายมาเป็นหายใจติดขัดในที่สุด มาทำความรู้จักกับ อาการและ สัญญาณโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กันได้ในบทความนี้ ต้นตอของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สภาวะของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 2 สภาวะ คือ โรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง (chronic bronchitis) และถุงลมโป่งพอง (Emphysema) ซึ่งส่งผลกระทบต่อปอดคนละส่วนกัน นำไปสู่อาการหายใจติดขัดได้ทั้งสิ้น เพื่อให้เข้าใจพยาธิสรีรวิทยาของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สิ่งที่สำคัญ คือ การรู้จักกับโครงสร้างของปอด โรคถุงลมโป่งพองเกิดขึ้นกับถุงลมในปอด (alveoli) และเส้นใยที่สร้างผนังของถุงลมเสียหาย ทำให้ยืดหยุ่นได้น้อยลงและไม่สามารถทำงานได้ เมื่อคุณหายใจออก หากหลอดลมฝอยอักเสบ (bronchitis) ก็จะผลิตเสมหะขึ้นมามากขึ้น หากอาการนี้ไม่ยอมหายไป อาจพัฒนากลายเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง นอกจากนี้คุณยังสามารถเป็นโรคหลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลัน แต่อาการนี้จะไม่นับว่าเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สาเหตุหลักของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือ การสูบบุหรี่ การหายใจเอาควันบุหรี่ และสารเคมีที่อันตรายเข้าไป สามารถทำให้หลอดลมและถุงลมบาดเจ็บได้ แล้วจึงกลายเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การสัมผัสกับควันบุหรี่มือสอง สารเคมี หรือแม้แต่น้ำมันสำหรับทำอาหารในอาคารที่ระบายอากาศได้ไม่ดี ก็อาจนำไปสู่โรคปอดได้เช่นกัน ตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลง อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่รุนแรงมักจะไม่ปรากฏ จนกระทั่งเข้าสู่ระยะสุดท้ายของโรค หากคุณพบว่าตัวเองหายใจไม่อิ่มหลังจากการออกกำลังกายแบบเบาๆ หรือหายใจลำบากหลังจากทำกิจกรรมทั่วไป เช่น เดินขึ้นบันได […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

เทคนิคการรับมือ อาการหายใจลำบาก หนึ่งในอาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) คืออาการผิดปกติของปอด ที่ทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบาก เหนื่อยหอบ และต้องพยายามเพื่อให้จะหายใจได้ดี หากคุณเป็นโรคนี้ บางครั้งอาจพบปัญหาหายใจขณะเดินหรือออกกำลังกายได้ลำบากมาก แค่นั่งหรือพักผ่อนเฉย ๆ ก็ทำให้คุณหายใจหอบได้ อาการหายใจลำบาก นั้นขึ้นอยู่กับความเสียหายของปอด และการที่ปอดทำงานผิดปกติ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คืออะไร โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือ กลุ่มอาการจากความผิดปกติของปอด โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) และโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (chronic bronchitis) คือสองอาการหลักในหมวดหมู่นี้ ผู้ป่วยจำนวนมากนั้นมีทั้งสองอาการนี้พร้อม ๆ กัน ดังนั้น จึงเรียกโดยรวมว่า โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคนี้เป็นโรคที่มีการพัฒนา หมายถึง อาการของโรคจะแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป อีกทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก็ไม่สามารถฟื้นฟูให้กลับมาเป็นดังเดิมได้ แม้แต่การรักษาก็ยังไม่สามารถรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังให้หายขาด หรือหยุดโรคนี้ได้ แต่คุณสามารถชะลอการพัฒนาของโรคและพยายามป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับปอดของคุณได้ อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในระยะแรก มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นอาการเหนื่อยล้าทั่วไปหรือแค่ร่างกาย “อยู่ในสภาพไม่พร้อม” จนกระทั่งความผิดปกตินั้นพัฒนาขึ้น และสามารถตรวจจับสังเกตเห็นอาการได้มากขึ้น อาการทั่วไปของ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  หายใจหอบ แน่นหน้าอกและเจ็บหน้าอก ไอ มึนงง มีเสมหะในปอดที่มักจะออกมาเมื่อคุณไอ รู้สึกเหนื่อยล้าบ่อย ติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจบ่อย ไอมีเสมหะ น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ หายใจมีเสียงหวีด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังทำร้ายปอดของคุณอย่างไร ถุงลมโป่งพองและหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ต่างโจมตีปอดในทางที่แตกต่างกัน ถุงลมโป่งพองนั้นทำลายผนังที่อยู่ในถุงลมในปอด เมื่อถุงลมใหญ่เกินไป ก็จะทำให้ผนังมีรอยแตกร้าว ส่งผลกระทบกับกระบวนการในการแลกเปลี่ยนแก๊ส การนำพาออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อในร่างกาย และการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อถุงลมเสียหายและลดลง ปอดจึงไม่สามารถเก็บและเคลื่อนย้ายอากาศได้มากเท่าที่เคยทำได้ พอปอดทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร ก็ส่งผลกระทบให้คุณไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ คุณจึงพบว่า ตัวเองหายใจหอบและเหนื่อยเร็วขึ้น นอกจากนี้ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ยังอาจทำให้หลอดลมอักเสบและระคายเคือง […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ปอดแฟบ (Atelectasis)

ปอดแฟบ คือ อาการที่ปอดหรือกลีบปอดบางส่วนยุบ อาจเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ การสูดหายใจเอาวัตถุแปลกปลอมเข้าไป เนื้องอกที่ปอด มีน้ำในปอด ระบบทางเดินหายใจอ่อนแอ และการบาดเจ็บที่หน้าอก คำจำกัดความปอดแฟบ คืออะไร อาการปอดแฟบ (Atelectasis) หรืออาการที่ปอดหรือกลีบปอดบางส่วนยุบ เกิดขึ้นเมื่อถุงลม (Alveoli) ภายในปอดนั้นแฟบลง อาการปอดแฟบ ยังอาจเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ทั้งโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) การสูดหายใจเอาวัตถุแปลกปลอมเข้าไป เนื้องอกที่ปอด มีน้ำในปอด ระบบทางเดินหายใจอ่อนแอ และการบาดเจ็บที่หน้าอก ปอดแฟบ พบได้บ่อยได้แค่ไหน อาการปอดแฟบ สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยทุกช่วงอายุ เป็นภาวะแทรกซ้อนจากการหายใจหลังจากการผ่าตัดที่พบได้ทั่วไป สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษากับแพทย์ อาการอาการของปอดแฟบ อาการปอดแฟบ ไม่มีสัญญาณหรืออาการที่ชัดเจน หากคุณมีสัญญาณและอาการเกิดขึ้น อาจมีดังนี้ หายใจลำบาก หายใจเร็วและตื้น ไอ อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษากับแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อไร อาการปอดแฟบ มักจะเกิดขึ้นในตอนที่คุณอยู่ในโรงพยาบาลอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ควรรับการรักษาพยาบาลในทันที หากคุณมีปัญหาการหายใจ หรือโรคอื่น ๆ นอกจาก อาการปอดแฟบ คุณจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และการรักษาโดยทันที แล้วเมื่อคุณเริ่มมีอาการหายใจลำบาก ควรดรับการรักษาฉุกเฉินในทันที สาเหตุสาเหตุของ อาการปอดแฟบ อาการปอดแฟบ เป็นผลมาจากการอุดตันของทางเดินหายใจ หรือจากความดันจากด้านนอกของปอด (แบบไม่มีการอุดตัน) […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ไซนัสอักเสบเรื้อรัง (Chronic Sinusitis)

โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง หมายถึงอาการติดเชื้อและอักเสบของไซนัสติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไป จนทำให้ไซนัสอุดตัน และเกิดการสะสมของน้ำมูกภายในโพรงจมูก คำจำกัดความไซนัสอักเสบเรื้อรัง คืออะไร โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง (Chronic Sinusitis) หมายถึงอาการติดเชื้อและอักเสบของไซนัสติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไป เรียกอีกชื่อก็คือโพรงอากาศข้างจมูกอักเสบเรื้อรัง (Chronic Rhinosinusitis) ไซนัสที่อักเสบและบวมขึ้นนี้อาจกลายมาเป็น ริดสีดวงจมูก ที่ปิดกั้นโพรงจมูก ทำให้เกิดการสะสมของน้ำมูก และทำให้หายใจไม่ออกได้ ไซนัสอักเสบเรื้อรัง พบได้บ่อยได้แค่ไหน โรคไซนัสอักเสบเรื้อรังสามารถเกิดได้กับผู้ป่วยทุกช่วงอายุ จัดการได้โดยการลดปัจจัยความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง จะต้องมีอย่างน้อยสองจากสี่สัญญาณ และอาการหลักของโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง เพื่อยืนยันการติดเชื้อที่จมูกสำหรับการวินิจฉัยโรค ซึ่งมีดังนี้ มีน้ำมูกที่ข้นและเปลี่ยนสีไหลออกมาจากจมูก หรือระบายไหลลงไปในด้านหลังคอ เรียกว่าอาการเสมหะไหลลงคอ (postnasal drip) จมูกอุดตันหรือคัดจมูก ทำให้หายใจผ่านจมูกได้ลำบาก มีอาการปวด กดเจ็บ และบวมบริเวณดวงตา แก้ม จมูก หรือหน้าผาก ดมกลิ่นและรับรสได้น้อยลงในผู้ใหญ่ หรือมีอาการไอในเด็ก อาการอื่น ๆ อาจจะมีดังนี้คือ ปวดหู ปวดกรามบน ปวดฟัน มีอาการไอที่หนักขึ้นในตอนกลางคืน เจ็บคอ มีกลิ่นปาก เหนื่อยล้าหรือหงุดหงิด คลื่นไส้ โรคไซนัสอักเสบเรื้อรังและไซนัสอักเสบเฉียบพลัน มีสัญญาณและอาการที่คล้ายกัน แต่ไซนัสอักเสบเฉียบพลันเป็นการติดเชื้อที่ไซนัสชั่วคราว และมักเกี่ยวข้องกับโรคหวัด สัญญาณและอาการของโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังจะอยู่นานกว่า และมักทำให้อ่อนล้ามากกว่า ไข้ไม่ใช่สัญญาณทั่วไปของโรคโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง แต่คุณอาจจะมีไข้ได้ หากคุณเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ ควรไปพบหมอเมื่อไร คุณควรไปหาแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้ หากมีอาการของ ไซนัสอักเสบเรื้อรัง หลายครั้งแล้ว แต่รักษาไม่หายเสียที คุณมีอาการไซนัสอักเสบนานกว่าเจ็ดวัน อาการของคุณไม่ดีขึ้นหลังจากที่คุณไปหาแพทย์ คุณควรไปหาแพทย์ทันที หากมีอาการดังต่อไปนี้ […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติที่ควรรู้

เมื่อต้องมีชีวิตอยู่กับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โภชนาการที่ดีจึงมีบทบาทสำคัญในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับปอดของคุณในอนาคต มีอาหารหลายประเภท ที่ก่อให้เกิดอาการท้องอืด หรือแก๊สในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจมีผลต่อความสามารถในการหายใจของคุณ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังสามารถจำกัดความสามารถในการทำงานอย่างเหมาะสมของปอด จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปรับเปลี่ยนอาหาร เพื่อให้การหายใจของคุณเป็นไปอย่างเหมาะสม บทความต่อไปนี้ของ Hello คุณหมอ เป็นข้อควรปฏิบัติ และข้อห้ามที่คุณควรรู้ เกี่ยวกับ โภชนาการสำหรับผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง ข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับ โภชนาการสำหรับผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง อาหารให้พลังงานและสารอาหารแก่คุณเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน หนึ่งในกิจกรรมเหล่านี้คือการหายใจ เมื่อคุณเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คุณต้องการพลังงานในการหายใจมากกว่าคนที่ไม่เป็นโรคนี้ กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจของคุณ อาจต้องการแคลอรี่ในปริมาณที่มากกว่า 10 เท่าของคนทั่วไป ดังนั้น นี่คือสิ่งที่คุณควรปฏิบัติเมื่อมีภาวะโภชนาการสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพิ่มโปรตีนในมื้ออาหารของคุณให้มากขึ้น โปรตีนมีความจำเป็นในการป้องกันร่างกายของคุณจากการติดเชื้อ โดยการสร้างสารภูมิต้านทานให้มากขึ้น เมื่อคุณรับประทานโปรตีนไม่เพียงพอ ปอดของคุณอาจไม่สามารถต้านทานการติดเชื้อได้ ซึ่งแหล่งโปรตีนที่ดีที่สุด คือ เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ สัตว์ปีก ถั่ว และผลิตภัณฑ์จากนม ควบคุมน้ำหนักร่างกาย  คุณควรปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการ เกี่ยวกับน้ำหนักร่างกาย และปริมาณแคลอรี่ที่เหมาะสมสำหรับคุณ เมื่อคุณมีน้ำหนักเกิน ปอดของคุณต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อให้ได้รับออกซิเจนในปริมาณที่ร่างกายของคุณต้องการ ดังนั้นการวางแผนเกี่ยวกับอาหารที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สามารถช่วยให้คุณมีน้ำหนักที่เหมาะสมได้ ดื่มน้ำในปริมาณมาก คุณควรดื่มน้ำอย่างน้อย 6 ถึง 8 แก้วต่อวัน ยิ่งดื่มน้ำมากขึ้น […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

กินอย่างไรดี ถ้าหายใจลำบาก จากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

กินอย่างไรดี ถ้าหายใจลำบาก โดยเฉพาะจากอาการปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease : COPD) ซึ่งเป็นสภาวะเกี่ยวกับปอดที่พบได้ทั่วไป รวมทั้งภาวะมีอากาศในเนื้อเยื่อ (emphysema) และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (chronic bronchitis) ควรเลือกรับประทานอาหารและรู้จักวิธีการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง [embed-health-tool-bmi] กินอย่างไรดี ถ้าหายใจลำบาก จากอาการปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ที่มีอาการปอดอุดกั้นเรื้อรัง มักส่งผลให้หายใจลำบาก และรับประทานอาหารได้ยากกว่าปกติ ควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำต่อไปนี้เพื่อให้การรับประทานอาหารส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย ทำให้เรียบง่าย การเตรียมและการรับประทานอาหารเป็นเรื่องซับซ้อน และต้องใช้กำลังมากมาย จึงควรกลับไปสู่ “อาหารเรียบง่าย” เป็นอาหารที่เตรียมได้ง่าย และสามารถเข้ากันได้กับอาหารที่หลากหลาย ให้เก็บอาหารบางส่วนที่เหลือไว้ เพื่อที่จะได้ไม่รู้สึกว่าการเตรียมอาหารเป็นเรื่องเสียเวลา ใช้ยาอย่างต่อเนื่อง การรับประทานอาหารสามารถเพิ่มความต้องการออกซิเจนของร่างกาย ดังนั้น หากใช้งานเครื่องมือให้ออกซิเจน ให้ใช้ให้ต่อเนื่องในระหว่างมื้ออาหาร นอกจากนี้ ควรรับประทานยาที่ช่วยให้การหายใจดีขึ้นก่อนการรับประทานอาหาร รับประทานอาหารให้น้อยลง ช่องท้องที่เต็มไปด้วยอาหาร อาจกดทับกะบังลมได้ ซึ่งทำให้การหายใจลำบากขึ้น ดังนั้น ควรรับประทานอาหารให้น้อยลง ตามเวลารอบที่กำหนดไว้ในแต่ละวัน ให้รับสารอาหารและเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย ด้วยปริมาณอาหารที่น้อยลง แต่เพิ่มรอบการรับประทานอาหาร โดยอาจแบ่งเป็นหกมื้ออาหารเล็ก ๆ ในแต่ละวัน รับประทานอาหารมื้อที่ใหญ่ที่สุดก่อน หากชอบที่จะรับประทานอาหารมื้อใหญ่ในระหว่างวัน ให้รับประทานมื้อนั้นก่อน อาหารจะให้พลังงานสำหรับช่วงเวลาที่เหลือของวัน และไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานมากขึ้น เพื่อรับประทานอาหารมื้อที่ใหญ่กว่าในตอนท้ายของวัน เมื่อพลังงานในร่างกายหมดแล้ว อย่าดื่มน้ำระหว่างรับประทานอาหาร ให้พยายามงดดื่มน้ำ จนกระทั่งเสร็จสิ้นการรับประทานอาหาร เพื่อที่จะได้ไม่รู้สึกอิ่มเร็วเกินไป เครื่องดื่มก่อนหรือในระหว่างมื้ออาหาร จะทำให้อิ่มเร็ว เป็นความคิดที่ดีที่จะดื่มเครื่องดื่มเสริมอาหารในระหว่างมื้ออาหาร บอกลาอาการท้องอืด อาหารต่าง ๆ […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

ทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และผลกระทบต่อปอด

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) คือ โรคเรื้อรังที่อาการจะแย่ลงเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป รูปแบบหลักสองรูปแบบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือโรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง (chronic bronchitis) และถุงลมโป่งพอง (Emphysema) คนส่วนใหญ่จะมีอาการทั้ง 2 โรค เพื่อให้เข้าใจกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมากขึ้น เราควรที่จะดูแต่ละอาการ และดูว่า ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และผลกระทบต่อปอด เป็นอย่างไร ปอดทำงานอย่างไร การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังให้มากขึ้น ควรจะเข้าใจการทำงานของปอดก่อน ทุกครั้งที่คุณหายใจเข้าไป อากาศจะผ่านท่อลมเข้าไปในหลอดลม (bronchial tube) ที่ในปอดของคุณ หลอดลมพวกนี้จะแบ่งแยกออกเป็นหลอดเล็กๆ เรียกว่า หลอดลมฝอย (bronchioles) ที่ส่วนปลายสุดของหลอดลมฝอยจะมีถุงลม (alveoli) ถุงลมเหล่านี้มีลักษณะคล้ายบอลลูน เมื่อคุณหายใจเข้าไป มันก็จะขยายออก และเติมเต็มอากาศเข้ามา เมื่อคุณหายใจออกมันก็จะแฟบลงดังเดิม ที่ผนังของถุงลมนั้นมีหลอดเลือดเล็กๆ ที่เรียกว่า เส้นเลือดฝอย (capillaries) เมื่อถุงลมเต็มไปด้วยอากาศ ออกซิเจนจะเข้าสู่เส้นเลือดฝอย เพื่อถูกนำพาไปสู่ทุกส่วนในร่างกาย คาร์บอนไดออกไซน์ (ของเสีย) ก็จะผ่านออกจากเส้นเลือดฝอยเข้าสู่ถุงลม เพื่อให้คุณหายใจออกไป ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ส่งผลต่อการหายใจอย่างไร โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปอด และทางเดินหายใจดังนี้ ถุงลมและทางเดินหายใจ จะสูญเสียความสามารถในการยืดหด ผนังของถังลมถูกทำลาย ผนังของถุงลมหนาขึ้นและอักเสบ ทางเดินหายใจอุดตันไปด้วยเสมหะ หากคุณเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คุณอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้หนึ่งอย่างหรือมากกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงนี้จะลดการไหลเวียนของอากาศในปอด และกีดกันความต้องการออกซิเจนที่มากของร่างกายคุณ รูปแบบของโรค ปอดอุดกั้นเรื้อรัง รูปแบบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมี 2 […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

ทางเลือกการรักษา โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่ช่วยให้คุณสู้โรคเรื้อรังนี้ได้ดีขึ้น

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถือเป็นเป็นโรคเรื้อรัง การรักษาจึงมักจะเกี่ยวข้องกับการควบคุมอาการไม่ให้อาการแย่ลง การรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ดี สามารถช่วยให้คุณแข็งแรงขึ้น และปรับปรุงสุขภาพโดยรวมของคุณให้ดีขึ้น รวมถึงช่วยป้องกันและรักษาอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ทางเลือกการรักษา โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่เหมาะสม มีอยู่ 4 วิธีหลักๆ ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค ได้แก่ การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวัน การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพปอด การรักษาด้วยยา และสุดท้ายคือการผ่าตัด Hello คุณหมอได้รวบรวมข้อมูลมาให้อ่านกันแล้วค่ะ การรักษา โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ด้วยการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ สำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในระดับเบา แพทย์ส่วนใหญ่มักจะแนะนำให้คุณปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคุณ แม้แต่อาการในระดับปานกลางหรือรุนแรง คุณก็ยังจำเป็นต้องปรับไลฟ์สไตล์ของคุณด้วยเช่นกัน สิ่งที่ควรเปลี่ยนเป็นอย่างแรก ก็คือ การเลิกสูบบุหรี่ หากคุณยังไม่เคยสูบบุหรี่ ก็อย่าเริ่มสูบบุหรี่เลย พยายามหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ และสิ่งระคายเคืองในอากาศ เช่น ฝุ่น ควันและสารพิษอื่นๆ อากาศที่คุณหายใจเข้าไปควรจะสะอาด และไม่มีตัวที่จะกระตุ้นโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง คุณสามารถเรียนรู้วิธีการทำให้บ้านของคุณ เป็นมิตรต่อผู้ที่เป็นโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังได้ สิ่งที่ควรเปลี่ยนอย่างที่สอง คือ การออกกำลังกายของคุณ เนื่องจากการที่คุณไม่สามารถควบคุมการหายใจของคุณได้ดีนัก เพราะโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แพทย์จะบอกให้คุณหลีกเลี่ยงการอออกกำลังกาย หรือจำกัดการออกกำลังกาย จริงอยู่ที่คุณควรจำกัดปริมาณการออกกำลังกาย แต่คุณไม่ควรที่จะงดออกกำลังกายไปเลย การออกกำลังกายสามารถช่วยทำให้กระบังลมแข็งแรงขึ้นได้ และควรปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม สิ่งที่ควรเปลี่ยนอย่างที่สาม คือ อาหารของคุณ คุณอาจจะรู้สึกกลืนอาหารได้ลำบากขึ้น หรืออาการเหนื่อยล้า อาจทำให้คุณรู้สึกการรับประทานอาหารทำได้ยาก คุณสามารถรับสารอาหารที่จำเป็นได้ ด้วยการรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆ […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ไอเพราะอากาศเปลี่ยน ลองใช้ วิธีแก้ไอด้วยตัวเอง ง่ายๆ พวกนี้ดูสิ

เมื่ออากาศเย็นเริ่มโชยมา ความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความชื้นในอากาศที่ลดลง อาจทำให้เป็นหวัดหรือเกิดอาการไอได้ โดยปกติอาการไอจากหวัดมักจะหายไปภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่หากมีอาการไอเรื้อรังนานเกิน 2 สัปดาห์ควรปรึกษาแพทย์ แต่หากอาการไอไม่รุนแรง คุณสามารถใช้ วิธีแก้ไอด้วยตัวเอง ง่ายๆ เหล่านี้ ในการบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ [embed-health-tool-bmr] ทำไมเราถึงไอ และไอแบบไหนที่น่าห่วง การไอ คือวิธีการตอบสนองของร่างกาย เมื่อมีสิ่งที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองในลำคอ โดยอาการระคายเคืองจะกระตุ้นเส้นประสาทให้ส่งสัญญาณไปยังสมอง จากนั้น สมองจะทำให้กล้ามเนื้อในทรวงอกและหน้าท้องดันอากาศออกมาจากปอด เพื่อดันสิ่งที่ทำให้ระคายเคืองออกไป การไอเป็นครั้งคราวอาจไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล แต่การไอต่อเนื่องยาวนานหลายสัปดาห์ หรือเสมหะเปลี่ยนสี และมีเลือดในเสมหะ อาจเป็นสัญญาณของโรคบางอย่าง จึงควรปรึกษาแพทย์ นอกจากนี้การไออย่างรุนแรง และไอเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า และเป็นสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ภาวะอั้นปัสสาวะไม่อยู่ และอาจรุนแรงจึงถึงทำให้ซี่โครงหักได้ โดยปกติแล้วอาการไอที่เกิดจากไข้หวัดจะหายไปภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่สำหรับอาการไอเรื้อรังอาจเกิดจากโรคบางโรค เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหืด และโรคกรดไหลย้อน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการไอต่อไป นอกจากนี้ หากมีอาการไอนานเกิน 2 สัปดาห์ และมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย ควรไปพบคุณหมอทันที อาการหนาวสั่น ภาวะขาดน้ำ ไข้สูงกว่า 101 องศาฟาเรนไฮต์ (38 องศาเซลเซียส) รู้สึกไม่สบาย […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

สิ่งกระตุ้นอาการปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่คุณควรรู้ไว้ จะได้หลีกเลี่ยงทัน

เมื่อคุณเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease: COPD) มีบางสิ่งที่ทำให้อาการของคุณแย่ลงได้ สิ่งเหล่านี้เรียกว่า สิ่งกระตุ้นอาการปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ป่วยมักมีสิ่งกระตุ้นแตกต่างกัน สาเหตุของอาการในผู้ป่วยรายหนึ่ง อาจไม่ใช่ปัญหาของผู้ป่วยอีกรายหนึ่ง ฉะนั้น คุณจึงควรทำความเข้าใจให้ดีว่า สิ่งกระตุ้นสำหรับคุณคืออะไร และมีผลกระทบต่อคุณได้อย่างไร เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเหล่านั้น สิ่งกระตุ้นอาการปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีอะไรบ้าง โดยปกติแล้ว สิ่งกระตุ้นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่ ควันบุหรี่ หรือมลภาวะทางอากาศ อาการป่วย เช่น อาการหวัด หรือปอดบวม ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด หรือสารเคมีอื่นๆ ก๊าซ อนุภาค หรือควันจากไม้ หรือเครื่องทำความร้อนในบ้าน สิ่งกระตุ้นเหล่านี้ทำให้ปอดทำงานหนักขึ้น เนื่องจากเป็นสาเหตุให้เกิดอาการหายใจลำบาก และอาการอื่นๆ เมื่อคุณอยู่ในบริเวณที่มีสิ่งกระตุ้น ก็มีแนวโน้มว่า โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะแสดงอาการมากขึ้น และหากมีอาการรุนแรง คุณอาจต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน หรือต้องรีบไปพบโรงพยาบาลทันที หากคุณทราบว่า สิ่งกระตุ้นอาการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังของคุณคืออะไร และสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเหล่านั้นได้ ก็จะช่วยลดการกำเริบ และผลกระทบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ สิ่งสำคัญก็คือ คุณควรตื่นตัวอยู่เสมอ และรับประทานยาทุกวันตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดด้วย เราสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นได้อย่างไรบ้าง สิ่งแรกก็ คือ คุณต้องรู้ก่อนว่าสิ่งกระตุ้นอาการปอดอุดกั้นเรื้อรังของคุณคืออะไร เมื่อคุณมีอาการ ให้จดบันทึกสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวคุณ ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการดังกล่าว แล้วพิจารณาถึงรูปแบบของการกระตุ้นที่เกิดขึ้น เมื่อคุณได้รายการของสิ่งกระตุ้นที่เป็นไปได้แล้ว ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นดังกล่าว ต่อไปนี้เป็น แนวทางในการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ห้ามสูบบุหรี่ หรือไม่ให้ผู้อื่นสูบบุหรี่ใกล้คุณ หากคุณต้องการความช่วยเหลือในการเลิกสูบบุหรี่ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโปรแกรมการเลิกบุหรี่และยาที่ใช้ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ หากมีมลภาวะ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม