โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งและเนื้องอก สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง กันให้มากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง ไม่ว่าเป็นสาเหตุ ความเสี่ยง การวินิจฉัย การรักษาโรค และการป้องกันโรคมะเร็ง ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคมะเร็ง

ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) ทางเลือกใหม่รักษามะเร็ง

Immunotherapy คือ อะไร ? ภูมิคุ้มกันบำบัด หรือ Immunotherapy คือ หนึ่งในวิธีการรักษา มะเร็ง โดยใช้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง โดยปกติเซลล์มะเร็งจะมีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถขัดขวางการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้เซลล์มะเร็งไม่ถูกทำลาย สามารถเติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ยาภูมิคุ้มกันบำบัด จะออกฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้สามารถตรวจจับและทำลายเซลล์มะเร็งที่เป็นสิ่งแปลกปลอมได้โดยตรง ทำให้สามารถควบคุมเซลล์มะเร็งในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ก้อนมะเร็งยุบลง คนไข้มีระยะเวลาปลอดโรคที่ยาวนานมากขึ้น รวมถึงมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น สนใจ "ยาภูมิคุ้มกันบำบัด" อ่านเพิ่มเติมได้ คลิก! การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ปกติแล้วระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถแยกแยะและจดจำได้ว่าเซลล์ใดเป็นเซลล์ปกติ เมื่อตรวจพบเซลล์แปลกปลอมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย ระบบภูมิคุ้มกันจะเข้ากำจัดสิ่งแปลกปลอมนั้น หลังจากนั้นระบบภูมิคุ้มจะสามารถจดจําสิ่งแปลกปลอมได้เพื่อให้ร่างกายสามารถกำจัดในครั้งหน้าได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เซลล์มะเร็งสามารถหลบซ่อนจากการตรวจพบของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ หรือบางครั้งระบบภูมิคุ้มกันอาจไม่แข็งแกร่งพอที่จะกำจัดเซลล์มะเร็งนั้นๆ ยาภูมิคุ้มกันบำบัดที่ปัจจุบันนิยมนำมาใช้ในการรักษามะเร็งคือ ยากลุ่มยับยั้งการทำงานที่อิมมูนเช็คพอยต์ (Immune checkpoint inhibitors) มีคุณสมบัติเป็นโมโนโคลนอลแอนติบอดี (monoclonal antibodies) โดยปกติระบบภูมิคุ้มกันจะมีเช็คพอยต์เป็นกลไกการควบคุมให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายหยุดทำลายสิ่งแปลกปลอม หรือหยุดการทำลายเซลล์ของร่างกาย เพื่อรักษาความสมดุลของการทำลายเซลล์แปลกปลอม และป้องกันการทำลายเซลล์ปกติของร่างกาย  เช็คพอยต์ตัวสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันที่อยู่บนผิวเซลล์เม็ดเลือดขาว คือ PD-1 และบนเซลล์มะเร็งมีเช็คพอยต์ คือ PD-L1 เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวจับกับเซลล์มะเร็งที่จุดเช็คพอยต์นี้ จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกปิดสวิตช์ไม่ทำงาน เซลล์เม็ดเลือดขาวมองไม่เห็นเซลล์มะเร็งและไม่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้     ยาภูมิคุ้มกันบำบัด ใช้ในการรักษามะเร็งชนิดใด? ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยพัฒนาต่อเนื่องในเรื่องของยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการทำงานของภูมิคุ้มกันร่างกาย โดยพบว่า ยาหลายชนิดมีประสิทธิภาพดีในการรักษาโรคมะเร็งและมีความปลอดภัย จึงได้รับการอนุญาตให้ใช้เป็น ยารักษามะเร็ง […]

สำรวจ โรคมะเร็ง

มะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง (Chronic Lymphocytic Leukemia)

มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง (Chronic Lymphocytic Leukemia) เป็นมะเร็งในเลือดหรือไขกระดูก มะเร็งชนิดนี้มักแพร่กระจายได้ช้ากว่ามะเร็งเม็ดเลือดขาวประเภทอื่น คำจำกัดความมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง คืออะไร โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง (Chronic Lymphocytic Leukemia (CLL)) เป็นมะเร็งในเลือดหรือไขกระดูกที่ทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือด คำว่า “เรื้อรัง” มาจากข้อเท็จจริงที่ว่ามะเร็งชนิดนี้ มักแพร่กระจายได้ช้ากว่ามะเร็งเม็ดเลือดขาวประเภทอื่น ส่วนคำว่า “ลิมโฟไซต์ (Lymphocytes)” คือ ชื่อเรียกเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ต้านการติดเชื้อในร่างกาย ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เกิดความผิดปกติจนก่อให้เกิดมะเร็ง อย่างไรก็ตาม มีการรักษาหลายวิธีที่จะช่วยควบคุมโรคนี้ได้ มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรังพบบ่อยเพียงใด มะเร็งชนิดนี้สามารถส่งผลได้ต่อทุกคน แต่จะส่งผลต่อผู้สูงอายุได้มากที่สุด โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง ผู้ป่วย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง จำนวนมากมักไม่มีอาการในระยะเริ่มแรก แต่เมื่อโรคมีการพัฒนา อาจมีสิ่งบ่งชี้และอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ต่อมน้ำเหลืองโตแต่ไม่มีอาการปวด อ่อนเพลีย มีไข้ มีอาการปวดในบริเวณช่องท้องด้านซ้ายบน ซึ่งอาจเกิดจากม้ามโต มีเหงื่อออกตอนกลางคืน น้ำหนักลด ติดเชื้อบ่อย ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง จนถึงในปัจจุบัน แพทย์ยังไม่แน่ใจเกี่ยวกับสาเหตุของ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง ทราบแต่เพียงว่ามีบางสิ่งเกิดขึ้นทำให้เซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างเลือดเกิดการผ่าเหล่าในระดับดีเอ็นเอ ซึ่งการผ่าเหล่าทำให้เซลล์เม็ดเลือดสร้างเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ที่ผิดปกติ ทำให้การต้านเชื้อในร่างกายไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่องและสะสมตัวในเลือดและในอวัยวะบางส่วน ส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้ ลิมโฟไซต์ที่ผิดปกติอาจเข้ามาแทนที่ลิมโฟไซต์ที่แข็งแรงในไขกระดูกและขัดขวางการสร้างเซลล์เม็ดเลือดปกติได้ แพทย์และนักวิจัยกำลังศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำความเข้าใจกลไกที่แน่ชัดที่ทำให้เกิด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง ปัจจัยความเสี่ยงปัจจัยความเสี่ยงของการเกิด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นสำหรับการเกิด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง คือ ผู้ที่อยู่ในภาวะดังต่อไปนี้ อายุ คนส่วนใหญ่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง […]


มะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งเม็ดเลือดขาว อาการ สาเหตุ การรักษา

มะเร็งเม็ดเลือดขาว คือมะเร็งที่เกิดจากจำนวนเม็ดเลือดขาวมีมากกว่าปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในไขกระดูก โดยตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนมากกว่าปกติ และส่งผลกระทบต่อการสร้างเม็ดเลือดชนิดอื่นในไขกระดูก ทำให้ปริมาณของเม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือดลดลง คำจำกัดความมะเร็งเม็ดเลือดขาว คืออะไร มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) เป็นมะเร็งเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เกิดขึ้นในไขกระดูก เป็นเนื้อเยื่ออ่อนนุ่มคล้ายฟองน้ำ พบในช่องกลางของกระดูก เป็นมะเร็งชนิดที่แตกต่างจากมะเร็งชนิดอื่น ๆ ที่มะเร็งเม็ดเลือดขาวอาจไม่ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก แต่ทำให้มีการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวผิดปกติ ซึ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวมีหน้าที่ในการต่อสู้กับการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และยังเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน โดยอาจสามารถแบ่งประเภทของมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ดังต่อไปนี้  มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันกลุ่มลิมโฟบลาสติก (ALL) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยในวัยเด็ก โดยเซลล์มะเร็งสามารถแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง และระบบประสามส่วนกลางได้  มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟซิติกเรื้อรัง (CLL) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยในวัยผู้ใหญ่ อาจไม่จำเป็นต้องรักษาทันที แต่อาจติดตามดูอาการไปเรื่อย ๆ   มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันแบบมัยอีลอยด์ (AML) เป็นชนิดที่พบเป็นอันดับ 2 ในวัยเด็ก แต่ส่วนมากพบได้บ่อยในผู้ใหญ่  มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์ (CML) อาจไม่มีอาการใด ๆ ที่สามารถสังเกตได้ นอกจากการตรวจเลือด บุคคลที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป อาจมีความเสี่ยงสูง มะเร็งเม็ดเลือดขาว พบได้บ่อยเพียงใด มะเร็งเม็ดเลือดขาวสามารถพบเจอได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่อาจขึ้นอยู่กับชนิดมะเร็งของเม็ดเลือดขาว ซึ่งส่วนมากพบในผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อาการอาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาว อาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาวขึ้นอยู่กับชนิดที่เป็น อย่างไรก็ตาม อาการที่แสดงให้เห็นโดยทั่วไปอาจมีดังต่อไปนี้  เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียเรื้อรัง   ภาวะโลหิตจาง ผิวซีด […]


มะเร็งกระเพาะอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach cancer)

มะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach Cancer) หมายถึง การเจริญเติบโตของเนื้อร้ายในกระเพาะอาหาร ซึ่งมาจากการเจริญเติบโตแบบผิดปกติของเซลล์ต่าง ๆ ในกระเพาะอาหาร และพัฒนากลายเป็นเนื้องอก คำจำกัดความมะเร็งกระเพาะอาหาร คืออะไร โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach Cancer) หมายถึง การเจริญเติบโตของเนื้อร้ายในกระเพาะอาหาร เกิดจากการเจริญเติบโตแบบผิดปกติของเซลล์ต่าง ๆ ในกระเพาะอาหาร และพัฒนากลายเป็นเนื้องอก มะเร็งกระเพาะอาหารสามารถพบได้ทั่วไปและมักแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันเวลา โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ถือว่าเป็นอันตรายถึงชีวิต มะเร็งกระเพาะอาหาร พบบ่อยเพียงใด คนทุกวัยมีโอกาสเป็น โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร อย่างไรก็ตาม ผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปี มีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง แต่สามารถลดโอกาสในการเกิด โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ได้โดยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ผู้ป่วย โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ในระยะเริ่มแรกอาจไม่มีอาการ แต่เมื่อมะเร็งมีการเจริญเติบโต ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดท้องแบบผิดปกติ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ร่วมกับอาการอื่น ๆ ได้แก่ ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร กลืนอาหารลำบาก แสบร้อนกลางอก น้ำหนักลด มีเลือดปนในอุจจาระ มีก้อนเนื้อที่สัมผัสได้ มีอาการแน่นในกระเพาะอาหารหลังจากรับประทานอาหาร และมีน้ำขังในช่องท้อง อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ […]


มะเร็งรังไข่

การรับมือกับผลข้างเคียงจาก เคมีบำบัดในการรักษามะเร็งรังไข่

ถึงแม้ว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่จะได้รับการแนะนำให้เตรียมตัวสำหรับอาการข้างเคียงต่างๆ หลังเข้ารับการรักษาเคมีบำบัดมาอย่างดีแล้ว แต่ในผู้ป่วยบางราย ผลข้างเคียงของการรักษาอาจก่อให้เกิดความเครียด และทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความมั่นใจในตนเองได้ แม้ว่าเราจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจาก เคมีบำบัดในการรักษามะเร็งรังไข่ แต่ก็มีวิธีการบรรเทาผลข้างเคียงให้เบาบางลงได้ และผู้ป่วยเองก็กลับมาใช้ชีวิตประจำวันอย่างเป็นปกติได้ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาใน การรักษามะเร็งรังไข่ เคมีบำบัดอาจจำเป็นสำหรับ การรักษาโรคมะเร็งรังไข่ แต่การใช้ยาเป็นเวลานานย่อมเกิดผลข้างเคียงได้ อาการต่าง ๆ ได้แก่ อ่อนเพลีย ประจำเดือนหมดไปชั่วคราวหรือถาวร ผมร่วง เบื่ออาหาร เจ็บปาก ติดเชื้อ คลื่นไส้และอาเจียน เป็นต้น ในอีกทางหนึ่งยาต่าง ๆ ส่งผลต่อความสามารถในการสร้างเซลล์ต่าง ๆ ในไขกระดูก ทำให้เซลล์เม็ดเลือดลดลง โดยเซลล์บางชนิดทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียและไวต่อการติดเชื้อมากขึ้น เช่น โรคหวัด เป็นต้น วิธีจัดการผลข้างเคียงของ เคมีบำบัดในการรักษามะเร็งรังไข่ ผมร่วง ผมร่วง เป็นผลข้างเคียงที่พบบ่อยจากเคมีบำบัดใน การรักษาโรคมะเร็งรังไข่ หลังการรักษาผมจะยาวขึ้นมาใหม่ แต่อาจมีสีและผิวสัมผัสที่แตกต่างไปจากเส้นผมเดิม คลื่นไส้และอาเจียน พบได้ว่าผู้ป่วยบางรายที่จะมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วย ความรุนแรงของอาการที่พบจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับประเภทของยาที่ใช้ ผู้ป่วยอาจมีจะอาการต่อเนื่องของการคลื่นไส้หรืออาเจียน ยาวนาน 2-3 ชั่วโมง หรือ ติดต่อกันถึง 2-3 วัน หรือระยะเวลานานกว่านั้น ก็สามารถพบได้โดยทั่วไป ผู้ป่วยควรใช้ยาต้านความกังวลหรือยาต้านอาการคลื่นไส้ รับประทานร่วมกับเทคนิคการรักษาอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อควบคุมอาการดังกล่าว ให้มีประสิทธิภาพสูงในการรักษา เช่น […]


มะเร็งปากมดลูก

เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ (Cervical dysplasia) คืออะไร

ปากมดลูก เนื้อเยื่อส่วนปลายสุดของมดลูกเป็นทางผ่านของระดูออกสู่ภายนอก และทางผ่านของตัวอสุจิเข้าไปปฏิสนธิกับไข่เป็นตัวอ่อนจนเกิดเป็นทารก แต่ถ้าหาก เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ (Cervical dysplasia) อาจทำให้เสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพได้ เพราะหากไม่รีบรักษาเซลล์ที่เจริญเติบโตผิดปกติอาจกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ [embed-health-tool-ovulation] คำจำกัดความ เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ คืออะไร เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ (Cervical dysplasia) เป็นภาวะที่เซลล์บริเวณปากมดลูก มีความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติบางประการ ปากมดลูกอยู่ตรงส่วนล่างของมดลูกที่นำไปสู่ช่องคลอด โดยจะมีการขยายตัวระหว่างการคลอด เพื่อให้ทารกออกมาได้ เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติเป็นภาวะก่อนเกิดมะเร็ง เซลล์ที่ผิดปกตินี้ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง แต่สามารถกลายเป็นมะเร็งได้ หากตรวจไม่พบแต่เนิ่น ๆ หรือไม่ได้รับการรักษา โดยมีความเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเอชพีวี (human papillomavirus: HPV) ที่ติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์ เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัย แต่พบได้มากที่สุดในผู้หญิงอายุต่ำกว่า 30 ปี เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติพบได้บ่อยแค่ไหน ตามข้อมูลจาก Sidney Kimmel Comprehensive Cancer Center มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา ในแต่ละปี พบว่า ผู้หญิงชาวอเมริกันจำนวนประมาณ 250,000 - 1,000,000 คน มีภาวะเซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ โดยมักพบได้มากที่สุดในผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 25 ถึง 35 ปี อาการ อาการของ เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ โดยปกติแล้ว ภาวะเซลล์ปากมดลูกผิดปกติจะไม่แสดงอาการใด ๆ ดังนั้น […]


มะเร็งรังไข่

ผู้เป็นโรคมะเร็งรังไข่ ใช้ชีวิตอย่างไรให้สุขภาพดีและมีความสุข

แน่นอนว่า โรคมะเร็งเป็นข่าวร้ายที่ทำร้ายจิตใจผู้ป่วย และก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความจริงที่เกิดขึ้นได้ แต่สิ่งที่ผู้เป็นมะเร็งสามารถทำได้ก็คือ การเลือกใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ต่างหาก มีทางเลือกมากมายที่ช่วยให้ ผู้เป็นโรคมะเร็งรังไข่ มีชีวิตอยู่อย่างสุขภาพดี แข็งแรง และมีความสุข ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน การใช้ชีวิตให้สุขภาพดีและมีความสุขสำหรับ ผู้เป็นโรคมะเร็งรังไข่ ผู้ป่วยหลายคนเมื่อทราบว่าตัวเองเป็นโรคร้าย อย่างเช่น โรคมะเร็งรังไข่ อาจเกิดความรู้สึกเศร้า วิตกกังวล และเครียด แต่การจดจ่ออยู่กับอาการป่วยมากเกินไป อาจทำให้อาการแย่ลงก็เป็นได้ ดังนั้น การใช้ชีวิตให้มีสุขภาพดีและมีความสุขจึงถือเป็นเรื่องที่ควรทำ ซึ่งวิธีต่าง ๆ มีดังนี้ ผู้เป็นโรคมะเร็งรังไข่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ระหว่างการรักษา การรักษา โรคมะเร็งรังไข่ จะทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ยาก นอกจากนี้ ผู้เป็น โรคมะเร็งรังไข่ อาจน้ำหนักลดลงเนื่องจากการขาดสารอาหาร ดังนั้น โภชนาการที่ดี จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นและช่วยต้านมะเร็ง การรับประทานสารอาหารที่เพียงพอต่อร่างกาย สามารถสร้างเสริม สุขภาพที่ดี ทั้งช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการรักษา ดังนั้น เพื่อไม่ให้น้ำหนักลดมากเกินไป ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารโปรตีนสูง และเพิ่มการรับแคลอรี่ในแต่ละวันให้มากขึ้น ทั้งยังควรดื่มเครื่องดื่มตามที่แพทย์แนะนำ เนื่องจากเครื่องดื่มบางชนิด สามารถกระตุ้นความอยากอาหารได้ น้ำเปล่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ควรดื่มน้ำเพียงอย่างเดียว เนื่องจากไม่มีแคลอรี่ และอิเล็กโทรไลต์ ให้ลองเครื่องดื่มให้พลังงานบางประเภทเพิ่มเติมด้วย มีข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเผยว่า แทนที่จะรับประทานอาหารมื้อใหญ่ […]


มะเร็งรังไข่

ความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่ ผู้หญิงไม่เคยท้องเสี่ยงสูงหรือเปล่า

มะเร็งรังไข่ (Ovarian cancer) ถึงแม้จะเป็นมะเร็งที่พบได้เพียงร้อยละ 3 ในผู้หญิง แต่มะเร็งรังไข่ก็มีอัตราการเสียชีวิตสูง เมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่น ๆ ในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะบางส่วนมักแสดงอาการน้อย กว่าจะทราบก็มีการแพร่กระจายมากขึ้น และขาดการตรวจคัดกรองที่เหมาะสม หรืออาจจะละเลยการตรวจไป วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาทำความเข้าใจกับ ความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่ ซึ่งยังสัมพันธ์กับประวัติการตั้งครรภ์ของผู้หญิงด้วยอีกประการหนึ่ง ผลของการตั้งครรภ์ต่อ ความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่ มีหลายการศึกษาเผยว่า ผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตรหรือผู้ที่คลอดบุตรเมื่อมีอายุมาก จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่สูงมากกว่า เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่เคยตั้งครรภ์ และอุ้มท้องจนถึงครบกำหนดคลอดก่อนอายุ 26 ปี ความเสี่ยงมะเร็งรังไข่ จะลดลงตามระยะเวลาการตั้งท้อง จนครบกำหนดคลอดในแต่ละครั้ง ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หลังจากอายุ 35 ปี หรือคลอดก่อนกำหนด จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่สูงกว่าที่ผู้ตั้งครรภ์จนครบกำหนดคลอด จากสมมติฐานว่า ยิ่งผู้หญิงได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) มากเท่าใด ในชีวิตก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่มากขึ้นเท่านั้น การคลอดบุตรจัดเป็น “การปกป้อง” อย่างหนึ่ง เนื่องจากในช่วงการตั้งครรภ์ ร่างกายของผู้หญิงไม่จำเป็นต้องมีการตกไข่นานถึง 9 เดือน ทำให้ร่างกายไม่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนออกมามากตามไปด้วย นอกจากนี้ โอกาสในการเป็นมะเร็งรังไข่จะยิ่งลดลงมากขึ้น หากผู้หญิงเลือกที่จะให้นมบุตร สมมติฐานอีกประการหนึ่ง คือ เมื่อผู้หญิงตกไข่ ถุงน้ำรังไข่ที่ถูกขับออกมา อาจเกิดการกลายพันธ์ุ (Genetic mutations) […]


มะเร็งตับ

มะเร็งตับ (Liver cancer)

มะเร็งตับ เกิดจากเซลล์ในตับพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็ง ที่พบได้มากที่สุดมักเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ตับ โดยเริ่มจากเนื้องอกที่เกิดขึ้นในตับ ไม่ได้เกิดมาจากการแพร่กระจายจากส่วนสำคัญอื่นใดในร่างกายมาสู่ตับ คำจำกัดความมะเร็งตับ คืออะไร มะเร็งตับ(Liver cancer) เกิดจากเซลล์ในตับพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็ง ตับเป็นอวัยวะหนึ่งในส่วนขวาบนของช่องท้อง ซึ่งอยู่ใต้กะบังลมและกระเพาะอาหาร มะเร็งตับที่พบได้มากที่สุดมักเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ตับ โดยเริ่มจากเนื้องอกที่เกิดขึ้นในตับ ไม่ได้เกิดมาจากการ แพร่กระจายจากส่วนสำคัญอื่นใดในร่างกายมาสู่ตับ มะเร็งที่เกิดในอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย เช่น ลำไส้ ปอด หรือหน้าอก แล้วลุกลามไปยังตับ ไม่ใช่มะเร็งตับแต่จะเรียกว่ามะเร็งระยะแพร่กระจาย (metastatic cancer) มะเร็งตับพบได้บ่อยเพียงใด มะเร็งตับพบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยมักพบในผู้ที่อายุ 50 ถึง 70 ปี การวินิจฉัยในระยะเริ่มแรกจะนำไปสู่การพยากรณ์โรคที่เหมาะสม โดยสามารถจัดการกับโรคนี้ได้โดยลดความเสี่ยงลง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของโรค มะเร็งตับ ผู้ป่วยหนึ่งในสามไม่มีอาการมะเร็งตับในระยะเริ่มต้น แต่เมื่อโรคเริ่มพัฒนาขึ้น อาจะมีสัญญาณบ่งชี้และอาการดังนี้ น้ำหนักลดลงอย่างมากจนผิดปกติ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องโต มีภาวะเบื่ออาหารหรือไม่สามารถรับประทานอาหารได้ อ่อนเพลีย  มีอาการดีซ่าน ซีด อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด ให้แจ้งแพทย์หากคุณมีอาการใด ๆ ที่กล่าวถึงข้างต้น เช่น ปวดท้องรุนแรง มีไข้สูงเรื้อรัง เป็นต้น สถานการณ์และภาวะของโรคมีความแตกต่างกันไปในแต่ละคน หมั่นปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการวินิจฉัย การรักษา และวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ สาเหตุสาเหตุของโรคมะเร็งตับ สาเหตุของมะเร็งตับส่วนใหญ่ไม่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ดี ในบางกรณี อาจเกิดจากตับอักเสบสาเหตุอื่นๆ ที่พบได้บ่อยได้แก่ ภาวะตับแข็ง หรือตับเสียหายจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โรคอ้วน หรือไขมันพอกตับ มะเร็งตับเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ตับเปลี่ยนแปลงไป […]


มะเร็งแบบอื่น

มะเร็งไต (Kidney Cancer)

มะเร็งไต เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในไต มักไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ ในระยะเริ่มแรก ต่อเมื่อมะเร็งลุกลามจึงมีอาการ ประเภทของมะเร็งไตที่พบได้มากที่สุด คือ มะเร็งคาร์ซิโนมาของเนื้อเยื่อไต คำจำกัดความมะเร็งไต คืออะไร มะเร็งไต (Kidney Cancer) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในไต ไตเป็นอวัยวะภายในรูปร่างคล้ายถั่วแดงสองข้าง โดยแต่ละข้างมีขนาดเท่ากับหนึ่งกำมือ อยู่บริเวณหลังอวัยวะในช่องท้อง โดยไตข้างหนึ่งจะอยู่ด้านข้างของกระดูกสันหลัง การตรวจพบมะเร็งไตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วยเทคโนโลยีทีซีสแกน โดยส่วนมากเป็นการตรวจพบมากโดยบังเอิญ มะเร็งไต พบได้บ่อยเพียงใด สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (The National Cancer Institute) ประมาณการว่า พบผู้ป่วยมะเร็งไตรายใหม่มากกว่า 61,000 รายในสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2558 ในกลุ่มผู้ใหญ่ ประเภทของมะเร็งไตที่พบได้มากที่สุด คือ มะเร็งคาร์ซิโนมาของเนื้อเยื่อไต (Renal Cell Carcinoma) มะเร็งไตประเภทอื่นที่พบได้น้อยกว่าก็สามารถเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้พบว่า เด็กมีโอกาสมากกกว่าในการเป็นมะเร็งไตชนิด Wilms tumor โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ โรคมะเร็งไต สัญญาณบ่งชี้และอาการของ โรคมะเร็งไต มีความหลากหลายตามระยะของโรค มะเร็งไตมักไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ ในระยะเริ่มแรก ต่อเมื่อมะเร็งลุกลาม อาจมีอาการดังต่อไปนี้ ปวดหลังเรื้อรัง โดยเฉพาะบริเวณใต้ซี่โครง มีเลือดปนในปัสสาวะ ปวดท้อง ท้องบวม มีก้อนในช่องท้อง อ่อนเพลีย ปวดเอว เป็นไข้ซ้ำ น้ำหนักลด ท้องผูก ผิวซีด ทนต่ออากาศหนาวไม่ได้ มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น มีขนขึ้นมากเกินไปในผู้หญิง ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น […]


มะเร็งรังไข่

โรคมะเร็งรังไข่ อาการ สาเหตุ และการรักษาโรคที่ควรรู้

โรคมะเร็งรังไข่ เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับสามในมะเร็งที่เกิดในหมู่ผู้หญิงไทย แต่เป็นมะเร็งที่รักษาให้หายได้ ถ้าพบแต่เนิ่น ๆ ด้วยการตรวจภายในทุกปี ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำรายละเอียดเกี่ยวกับโรคนี้ที่คุณควรรู้ เพื่อการดูแลใส่ใจตัวเองมาฝากกัน มะเร็งรังไข่ คืออะไร? โรคมะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer) เกิดที่รังไข่ของผู้หญิง โดยส่วนใหญ่แล้ว มะเร็งรังไข่ ไม่ได้รับการวินิจฉัย จนกระทั่งเซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังเชิงกรานและช่องท้อง ซึ่งทำให้รักษาได้ยากและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ทราบได้อย่างไรว่าเป็น มะเร็งรังไข่ มะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรกมักไม่ค่อยทำให้เกิดอาการใด ๆ หากทำให้เกิดอาการ อาการดังกล่าวมักมีการเข้าใจผิดว่าเป็นสิ่งบ่งชี้ของภาวะที่ไม่เป็นอันตราย เช่น ท้องผูก อาการทั่วไปของ มะเร็งรังไข่ ได้แก่ ท้องอืด มีอาการบวมในบริเวณช่องท้อง รู้สึกอิ่มเร็วกว่าปกติ น้ำหนักลด รู้สึกไม่สบายบริเวณเชิงกราน มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่าย ปัสสาวะบ่อย หากคุณมีสิ่งบ่งชี้ใด ๆ ที่ทำให้คุณกังวล ให้ไปปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะหากคุณมีประวัติครอบครัวเป็น มะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งเต้านม การวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ทำได้อย่างไร คุณจะจำเป็นต้องได้รับการตรวจร่างกาย ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจบริเวณเชิงกราน นอกจากนี้ แพทย์ยังอาจจะให้มีการทดสอบโดยใช้ภาพถ่ายอวัยวะ การทดสอบเลือด และการตรวจตัวอย่างเนื้อเยื่อเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง การรักษามะเร็งรังไข่ จากระยะของ มะเร็งรังไข่ ในช่วงเวลาที่ทำการวินิจฉัย ทางเลือกในการรักษาอาจมีความหลากหลาย มะเร็งรังไข่มี 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 : มะเร็งจำกัดอยู่ที่รังไข่ทั้ง 2 ข้าง ระยะที่ 2 : เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม