โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งและเนื้องอก สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง กันให้มากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง ไม่ว่าเป็นสาเหตุ ความเสี่ยง การวินิจฉัย การรักษาโรค และการป้องกันโรคมะเร็ง ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคมะเร็ง

ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) ทางเลือกใหม่รักษามะเร็ง

Immunotherapy คือ อะไร ? ภูมิคุ้มกันบำบัด หรือ Immunotherapy คือ หนึ่งในวิธีการรักษา มะเร็ง โดยใช้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง โดยปกติเซลล์มะเร็งจะมีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถขัดขวางการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้เซลล์มะเร็งไม่ถูกทำลาย สามารถเติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ยาภูมิคุ้มกันบำบัด จะออกฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้สามารถตรวจจับและทำลายเซลล์มะเร็งที่เป็นสิ่งแปลกปลอมได้โดยตรง ทำให้สามารถควบคุมเซลล์มะเร็งในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ก้อนมะเร็งยุบลง คนไข้มีระยะเวลาปลอดโรคที่ยาวนานมากขึ้น รวมถึงมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น สนใจ "ยาภูมิคุ้มกันบำบัด" อ่านเพิ่มเติมได้ คลิก! การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ปกติแล้วระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถแยกแยะและจดจำได้ว่าเซลล์ใดเป็นเซลล์ปกติ เมื่อตรวจพบเซลล์แปลกปลอมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย ระบบภูมิคุ้มกันจะเข้ากำจัดสิ่งแปลกปลอมนั้น หลังจากนั้นระบบภูมิคุ้มจะสามารถจดจําสิ่งแปลกปลอมได้เพื่อให้ร่างกายสามารถกำจัดในครั้งหน้าได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เซลล์มะเร็งสามารถหลบซ่อนจากการตรวจพบของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ หรือบางครั้งระบบภูมิคุ้มกันอาจไม่แข็งแกร่งพอที่จะกำจัดเซลล์มะเร็งนั้นๆ ยาภูมิคุ้มกันบำบัดที่ปัจจุบันนิยมนำมาใช้ในการรักษามะเร็งคือ ยากลุ่มยับยั้งการทำงานที่อิมมูนเช็คพอยต์ (Immune checkpoint inhibitors) มีคุณสมบัติเป็นโมโนโคลนอลแอนติบอดี (monoclonal antibodies) โดยปกติระบบภูมิคุ้มกันจะมีเช็คพอยต์เป็นกลไกการควบคุมให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายหยุดทำลายสิ่งแปลกปลอม หรือหยุดการทำลายเซลล์ของร่างกาย เพื่อรักษาความสมดุลของการทำลายเซลล์แปลกปลอม และป้องกันการทำลายเซลล์ปกติของร่างกาย  เช็คพอยต์ตัวสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันที่อยู่บนผิวเซลล์เม็ดเลือดขาว คือ PD-1 และบนเซลล์มะเร็งมีเช็คพอยต์ คือ PD-L1 เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวจับกับเซลล์มะเร็งที่จุดเช็คพอยต์นี้ จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกปิดสวิตช์ไม่ทำงาน เซลล์เม็ดเลือดขาวมองไม่เห็นเซลล์มะเร็งและไม่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้     ยาภูมิคุ้มกันบำบัด ใช้ในการรักษามะเร็งชนิดใด? ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยพัฒนาต่อเนื่องในเรื่องของยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการทำงานของภูมิคุ้มกันร่างกาย โดยพบว่า ยาหลายชนิดมีประสิทธิภาพดีในการรักษาโรคมะเร็งและมีความปลอดภัย จึงได้รับการอนุญาตให้ใช้เป็น ยารักษามะเร็ง […]

สำรวจ โรคมะเร็ง

มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer)

มะเร็งรังไข่ คือเนื้อร้ายเกิดขึ้นในรังไข่ ซึ่งทำหน้าที่สร้างเซลล์ไข่และฮอร์โมนเพศหญิง มะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรกสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การวินิจฉัยโรคนี้ในระยะเริ่มแรกเป็นไปได้ยาก คำจำกัดความมะเร็งรังไข่ คืออะไร มะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer) เป็นภาวะที่มีเนื้อร้ายเกิดขึ้นในรังไข่ ซึ่งทำหน้าที่สร้างเซลล์ไข่และฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งได้แก่ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน หากตรวจพบมะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรก สามารถรักษาให้หายขาดได้ อย่างไรก็ดี การวินิจฉัยโรคนี้ในระยะเริ่มแรกนั้นเป็นไปได้ยาก มะเร็งรังไข่ พบบ่อยเพียงใด โรคมะเร็งรังไข่ พบได้ค่อนข้างบ่อยในผู้หญิงวัยกลางคนถึงสูงอายุ กรณีส่วนใหญ่ที่เป็นอันตรายต่อชีวิต มักเกิดขึ้นในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 55 ปี แต่สามารถป้องกันได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม


มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม (Breast Cancer) หนึ่งในโรคร้ายที่ควรทำความเข้าใจให้มากขึ้น

มะเร็งเต้านม หลายคนยังคงอาจคิดว่าเกิดขึ้นแค่เฉพาะกับผู้หญิงเท่านั้น แต่รู้หรือไม่ว่าผู้ชายก็สามารถเป็นได้เหมือนกัน เพียงแต่ส่วนใหญ่มักจะพบในผู้หญิง หากคุณมีข้อสงสัยลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมให้มากขึ้นกันเถอะ คำจำกัดความมะเร็งเต้านม คืออะไร มะเร็งเต้านม (Breast Cancer) คือโรคมะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อในเต้านม มีอยู่สองประเภทหลักดังนี้ มะเร็งในท่อน้ำนม (Ductal carcinoma) เริ่มขึ้นในท่อที่ลำเลียงน้ำนมจากเต้านมไปสู่หัวนม มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะเป็นประเภทนี้ มะเร็งในต่อมน้ำนม (Lobular carcinoma) เริ่มขึ้นที่ส่วนต่อมน้ำนมของเต้านมที่ทำหน้าที่ในการผลิตน้ำนม ในกรณีหายาก มะเร็งเต้านมก็อาจมีจุดกำเนิดจากส่วนอื่นของเต้านมได้ มะเร็งเต้านม พบบ่อยแค่ไหน ตลอดช่วงชีวิต จะพบว่า 1 ใน 8 ของผู้หญิงเป็นโรคมะเร็งเต้านม สัดส่วนของโรคมะเร็งนั้น เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตทั่วโลก ด้วยเพราะมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 14 ล้านราย และมีการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งเมื่อปี 2012 ประมาณ 8.2 ล้านราย ซึ่งมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่ทำให้ผู้หญิงเสียชีวิตที่พบได้มากที่สุด อาการอาการของโรคมะเร็งเต้านม ในช่วงต้นของโรคมะเร็งเต้านมนั้นจะไม่เกิดอาการใด ๆ ดังนั้น จึงควรตรวจเต้านมเป็นประจำ เมื่อโรคมะเร็งเริ่มเติบโตขึ้นก็อาจจะมีอาการดังต่อไปนี้ มีก้อนที่เต้านมหรือก้อนที่รักแร้ มีลักษณะแข็ง ขอบไม่เท่ากัน และมักจะไม่เจ็บ การเปลี่ยนแปลงในด้านของขนาด รูปร่าง หรือความรู้สึกที่บริเวณเต้านมหรือหัวนม เช่น อาจมีรอยแดง รอยบุ๋ม หรือรอยย่นที่ดูคล้ายเปลือกส้ม มีของเหลวไหลจากหัวนม ซึ่งอาจจะเป็นเลือด หรือของเหลวสีใสไปจนถึงสีเหลือง สีเขียว หรือดูคล้ายกับหนอง สำหรับผู้ชาย อาการของมะเร็งเต้านมมีทั้งมีก้อนในเต้านม […]


มะเร็งแบบอื่น

เนื้องอกไขมัน (Lipoma)

เนื้องอกไขมัน เป็นชั้นไขมันที่ค่อย ๆ สะสมอยู่ใต้ผิวหนัง ระหว่างชั้นผิวกับชั้นกล้ามเนื้อ เกิดขึ้นบริเวณคอ หลัง ไหล่ แขนและน่อง และบริเวณอื่นของร่างกาย เป็นเนื้องอกแบบไม่อันตราย         คำจำกัดความเนื้องอกไขมัน คืออะไร เนื้องอกไขมัน (Lipoma) เป็นชั้นไขมันที่ค่อย ๆ สะสมอยู่ใต้ผิวหนัง ระหว่างชั้นผิวกับชั้นกล้ามเนื้อ เนื้องอกไขมันมักเกิดขึ้นบริเวณคอ หลัง ไหล่ แขน และน่อง มันสามารถเกิดขึ้นในบริเวณอื่นของร่างกายได้ เช่น ลำไส้ เนื้องอกไขมันเป็นเนื้องอกธรรมดา และพบได้มากที่สุดในผู้ใหญ่ เนื้องอกไขมัน พบบ่อยแค่ไหน โรคเนื้องอกไขมัน ส่งผลเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิงทุกวัย อย่างไรก็ตาม โรคนี้มักเกิดขึ้นในหญิงวัยกลางคน สถานะและสภาพของโรคอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อนัดเข้ารับการตรวจ การรักษาและวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ อาการอาการของ โรคเนื้องอกไขมัน โรคเนื้องอกไขมัน ในช่วงแรก จะมีลักษณะเป็นก้อนนิ่มกลม และเกิดใต้ผิวหนังโดยไม่มีอาการเจ็บใด ๆ ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่ามีก้อนเนื้อเกิดขึ้น เนื้องอกอาจมีลักษณะเหลวหรือหยุ่น นิ่มหรือแข็งก็ได้ แต่สามารถกลิ้งไปมาเมื่อกดลงไป เนื้องอกที่เกิดขึ้นอาจมีจำนวนมากกว่าหนึ่ง และอาจทำให้เกิดการเจ็บปวด หากเกิดขึ้นบริเวณที่กดทับเส้นประสาท หรือเนื้องอกมีกลุ่มหลอดเลือดอยู่ภายใน ขนาดของเนื้องอกไขมันแตกต่างกันไป แต่จะมีขนาดไม่ใหญ่กว่า 8 เซนติเมตร มักเกิดขึ้นบริเวณแขน ขา หลัง และคอ แต่สามารถเกิดบริเวณอื่นได้ […]


มะเร็งรังไข่

สัญญาณและอาการของมะเร็งรังไข่ ที่ผู้หญิงควรรู้

มะเร็งรังไข่ ถือเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้หญิงไทยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากผู้ที่เป็นมะเร็งรังไข่ในระยะแรกแทบจะไม่ปรากฏ อาการของมะเร็งรังไข่ ใด ๆ ที่สังเกตได้ อย่างไรก็ตาม นักวิจัยพบว่าผู้หญิงที่มีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อย เช่น ท้องอืด รู้สึกอิ่มไว ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน ปัสสาวะบ่อย และอาการอื่น ๆ ดังนั้น Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวม สัญญาณและอาการของมะเร็งรังไข่ มาฝากกันในบทความนี้ สัญญาณและอาการของมะเร็งรังไข่ ที่คุณผู้หญิงควรรู้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ คนส่วนใหญ่จะมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อเป็นบางครั้ง โดยเฉพาะในช่องก่อนมีประจำเดือน หรือหลังจากกินอาหารมื้อใหญ่ แต่หากท้องอืดท้องเฟ้อบ่อย หรือท้องอืดทุกวัน อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งรังไข่ โดยอาการอาจมีตั้งแต่ท้องอืดธรรมดาไปจนถึงท้องอืดรุนแรง และอาการอาจแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป นอกจากนี้ หากน้ำหนักตัวขึ้นเท่าเดิม ไม่ได้น้ำหนักขึ้น แต่เวลาใส่เสื้อผ้ากลับรู้สึกอึดอัดหรือแน่นบริเวณรอบเอว อาจเป็นหนึ่งในอาการของ มะเร็งรังไข่ ไม่เพียงแต่อาการท้องอืดท้องเฟ้อแล้ว หากท้องบวมขึ้น มีของเหลวในช่องท้อง หรือท้องมาน (Ascites) ก็อาจเป็นอาการของมะเร็งรังไข่ขั้นรุนแรงได้ ปวดหรือมีแรงกดที่บริเวณอุ้งเชิงกราน การปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน ลักษณะคล้ายปวดประจำเดือน ไม่ว่าจะปวดแค่ข้างใดข้างหนึ่ง หรือปวดทั่วบริเวณอุ้งเชิงกราน เป็นอาการที่พบบ่อยใน มะเร็งรังไข่ ระยะแรก โดยปกติผู้หญิงจะมีอาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน โดยเฉพาะช่วงที่มีประจำเดือน แต่หากเลยช่วงนั้นไปแล้ว อาการปวดยังคงอยู่ และรู้สึกเหมือนมีแรงกดบริเวณอุ้งเชิงกราน คุณควรไปพบคุณหมอ รู้สึกอิ่มเร็ว ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งรังไข่หลายคนให้ข้อมูลว่า พวกเธอรู้สึกอิ่มเร็วขึ้นหลังจากกินอาหาร […]


มะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (Melanoma)

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (Melanoma) เป็นโรคมะเร็งผิวหนังร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเซลล์เมลาโนไซต์ (Melanocytes) ที่ทำหน้าที่ผลิตเม็ดสีผิว (Melanin) ที่เป็นตัวกำหนดสีผิว คำจำกัดความมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา คืออะไร มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (Melanoma) ป็นโรคมะเร็งผิวหนังร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเซลล์เมลาโนไซต์ (Melanocytes) ที่ทำหน้าที่ผลิตเม็ดสีผิว (Melanin) ที่เป็นตัวกำหนดสีผิว โรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาส่วนใหญ่มักเริ่มจากการเกิดไฝใหม่ หรือในบางกรณีอาจเป็นไฝอยู่แล้ว และแพร่กระจายไปบริเวณรอบๆ หรือเข้าสู่ผิวหนัง สู่เส้นเลือด และต่อมน้ำเหลือง และเข้าสู่ตับ สมอง ปอดและกระดูกในที่สุด มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา พบบ่อยแค่ไหน ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปีโดยเฉพาะเพศหญิง มีความเสี่ยงในการเป็นโรคผิวหนังเมลาโนมาสูง คุณควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ โรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ในบริเวณร่างกาย โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในบริเวณที่ต้องเผชิญกับแสงแดด เช่นบบริเวณหลัง ขา แขน และใบหน้า นอกจากนี้ ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในบริเวณที่ไม่ได้รับแสงแดดมากนัก เช่น บริเวณฝ่าเท้า ฝ่ามือ เล็บมือ ไฝมีลักษณะผิดปกติ สีของไฝผิดปกติ มีอาการคันหรือมีเลือดออกบริเวณไฝ ไฝมีขนาดใหญ่กว่า ¼ นิ้ว หรือประมาณ 6 มิลลิเมตร ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของ โรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา ปัจจุบันยังไม่มีข้อระบุที่ชัดเจนของมะเร็งผิวหนังเมลาโน แต่ได้มีข้อสันนิษฐานว่า […]


มะเร็งต่อมไทรอยด์

มารู้ทัน!! มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Cancer) ก่อนสาย

ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid glands) เป็นต่อมขนาดเล็กสี่ต่อมที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์ ที่อยู่ข้างใต้ลูกกระเดือกในคอของคุณ มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ เป็นก้อนเนื้อมะเร็งภายในต่อมพาราไทรอยด์ คำจำกัดความมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ คืออะไร ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid glands) เป็นต่อมขนาดเล็กสี่ต่อมที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์ ที่อยู่ข้างใต้ลูกกระเดือกในคอของคุณ มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์เป็นก้อนเนื้อมะเร็งภายในต่อมพาราไทรอยด์ พบได้บ่อยเพียงใด มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์เป็นมะเร็งที่แบ่งตัวช้าประเภทที่พบได้น้อย ผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์มักมีอายุ 30 ปีหรือมากกว่า โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ อาการของมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ ปวดกระดูก ท้องผูก อ่อนเพลีย กระดูกแตก หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย มีนิ่วในไต กล้ามเนื้ออ่อนแรง คลื่นไส้และอาเจียน ไม่มีความอยากอาหาร อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้นหรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของ มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ สาเหตุที่เป็นไปได้ของมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ มีดังต่อไปนี้ การฉายรังสี การรักษาด้วยเอกซเรย์หรือพลังงานชนิดอื่น ๆ ที่บริเวณคอมีส่วนทำให้เกิดมะเร็งชนิดนี้ได้ การถ่ายทอดภาวะไทรอยด์ทำงานเกินในครอบครัว (Familial Isolated Hyperparathyroidism) ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้เกิดนิ่วในไต คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตสูง ร่างกายอ่อนแรง และอ่อนเพลีย กลุ่มอาการ MEN1 (multiple endocrine neoplasia type 1) ซึ่งเป็นภาวะที่สัมพันธ์กับเนื้องอกของต่อมสร้างฮอร์โมน ปัจจัยเสี่ยงความเสี่ยงของการเกิด มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ กรรมพันธุ์มีส่วนทำให้เกิดความเสี่ยง ในการเกิดมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ ประวัติครอบครัวที่เคยเป็นมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ ภาวะที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่เรียกว่า multiple […]


มะเร็งปอด

การรับรู้ ระยะของโรคมะเร็งปอด ช่วยคุณสู้มะเร็งได้อย่างไร

เมื่อพบว่าคุณเป็นมะเร็งปอด แพทย์จะบอกคุณว่ามะเร็งอยู่ในขั้นใด คนส่วนใหญ่เข้าใจว่ายิ่งเป็นมะเร็งระยะท้าย ๆ อาการของโรคจะรุนแรงขึ้น ซึ่งนั่นก็เป็นความจริง แต่อย่างไรก็ตาม ระยะของโรคมะเร็งปอด จะบอกว่าได้ว่ามะเร็งปอดนั้นลุกลามมากเพียงใด และส่วนใดของปอดที่ได้รับผลกระทบ และนี่คือรายละเอียดที่คุณควรทราบในเบื้องต้น ทำไมคุณจำเป็นต้องทราบ ระยะของโรคมะเร็งปอด ระยะของมะเร็งปอด เป็นตัวบ่งบอกตำแหน่ง และขนาดของเนื้องอก และการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็ง ระยะของมะเร็งเป็นสิ่งที่แพทย์และคุณจะพูดคุยกัน ถึงการเติบโตของเชื้อมะเร็ง โดยไม่จำเป็นต้องใช้คำศัพท์ทางการแพทย์ที่มากเกินไป ทั้งยังเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจ เพื่อการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ ระยะของมะเร็งปอด มีอะไรบ้าง มีการจัดระยะของโรคมะเร็งที่แพทย์ใช้ การจัดระยะนี้เรียกว่า ระยะโรคมะเร็งแบบ TNM การจัดระยะแบบนี้ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย ได้แก่ ขนาดและตำแหน่งของเนื้องอก (T หรือ Tumor Status) ต่อมน้ำเหลืองเกี่ยวข้องหรือไม่ (N หรือ Nodal Status) มะเร็งแพร่เข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองแล้วหรือไม่ (M หรือ Metastatic Status) ตัวอย่างเช่น หากไม่มีก้อนเนื้อ จะเรียกว่า “ระยะ T0” หากมะเร็งแพร่เข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองจะเรียกว่า “N1” การจัดระยะของมะเร็งตามขนาดของเซลล์ ทั้งเซลล์ขนาดเล็กและที่ไม่ใช่ขนาดเล็กนั้น เป็นการจัดระยะอีกรูปแบบหนึ่ง มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer) เป็นมะเร็งที่มีความซับซ้อนกว่าชนิดเซลล์เล็ก เป็นชนิดมะเร็งที่แบ่งระยะการเกิดตามระยะการเกิดมะเร็งแบบ TNM […]


มะเร็งปอด

รอดชีวิตจากมะเร็งปอด ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้!

การ รอดชีวิตจากมะเร็งปอด ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่ขึ้นอยู่ว่าคุณเป็นมะเร็งระยะใดแล้ว ถึงแม้สถิติของการมีชีวิตรอดจากมะเร็งปอดอาจดูต่ำ จนทำให้คุณหมดกำลังใจ แต่ตัวเลขเหล่านั้นก็เป็นเพียงการประมาณการณ์เท่านั้น ตัวคุณเองสามารถที่จะชะลอการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็งได้ ด้วยการดูแลสุขภาพของตัวเองและป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับปอด สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง Hello คุณหมอ มีวิธีการที่จะช่วยให้คุณเป็นผู้รอดชีวิตจากมะเร็งปอดได้มาฝาก ดังต่อไปนี้ วิธีที่ช่วยเพิ่มโอกาส รอดชีวิตจากมะเร็งปอด 1. เข้ารับการรักษาและการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ในระหว่างการรักษา คุณอาจได้รับผลข้างเคียงทั้งระยะสั้น เช่น คลื่นไส้ ไม่อยากอาหาร ผมร่วง อ่อนเพลีย และผลข้างเคียงระยะยาวที่อาจกินเวลาเป็นปี หลังจากเข้ารับการรักษา ผลข้างเคียงเหล่านี้อาจส่งผลทั้งทางร่างกายและอารมณ์ หากคุณมีอาการเกี่ยวกับผลข้างเคียงระยะยาวของการรักษา ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการในการหลีกเลี่ยง การดูแลติดตามผลการรักษา มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการรักษา เพราะช่วยลดความเสี่ยงในการกลับมาเป็นมะเร็งปอดอีกครั้ง คุณและแพทย์ควรช่วยกันวางแผนการดูแลติดตามผล ซึ่งประกอบด้วย การเข้ารับการตรวจทางการแพทย์ และการตรวจร่างกาย เพื่อติดตามการฟื้นฟูร่างกายของคุณอย่างใกล้ชิดต่อไป แพทย์สามารถช่วยให้คุณกลับไปมีชีวิตตามปกติได้ แต่คุณควรสังเกตร่างกายของตนเองขณะอยู่บ้านอยู่เป็นประจำ เพื่อเฝ้าระวังสัญญาณที่ผิดปกติกับร่างกาย และรีบแจ้งแพทย์ทันที 2. คิดบวกอยู่เสมอ ก็ช่วยให้ รอดชีวิตจากมะเร็งปอด ได้ คุณอาจเคยได้ยินถึงพลังของความคิดที่ส่งผลต่อร่างกาย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์รับรองแล้วว่าเป็นเรื่องจริง นั่นหมายความว่า ความคิดในแง่ลบและความเครียด เป็นอุปสรรคต่อการรักษาโรคมะเร็งปอด จากการศึกษาพบว่า เมื่อผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามที่เครียดเข้ารับการรักษาเคมีบำบัด พวกเขาสามารถมีชีวิตอยู่ได้เพียงครึ่งหนึ่ง ของช่วงเวลาซึ่งผู้ป่วยที่ไม่เครียดสามารถอยู่ได้ งานวิจัยที่เกี่ยวกับค่ามัธยฐานระยะปลอดเหตุการณ์ (ซึ่งหมายถึงจำนวนเวลาหลังจากที่ร้อยละ 50 ของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ และอีกร้อยละ 50 […]


มะเร็งปอด

การวินิจฉัยมะเร็งปอด สามารถทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง

ในการนัดหมายแพทย์ หากคุณคิดว่าคุณมีสัญญาณหรืออาการของมะเร็งปอด แพทย์จะทำการประเมินประวัติสุขภาพ ประเมินปัจจัยเสี่ยงของคุณ และทำการตรวจร่างกาย แล้วแพทย์จึงอาจส่งต่อคุณไปยังแพทย์เฉพาะทาง เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติมสำหรับ การวินิจฉัยมะเร็งปอด ต่อไป การตรวจเพื่อหา มะเร็งปอด มักเป็นการทดสอบแบบรุกล้ำร่างกาย จึงเป็นที่ถกเถียงกันในวงการแพทย์ว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด โดยทั่วไปมีประโยชน์หรือไม่ บางคนเชื่อว่าทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงโดยไม่จำเป็น แต่เนื่องจาก ผู้ป่วยมักไม่มีอาการจนกระทั่งเป็นโรคแล้ว คนรอบข้างจึงคิดว่าสิ่งนี้เป็นหัวใจสำคัญในการตรวจพบมะเร็งแต่เนิ่นๆ  ในระยะที่ยังรักษาได้ Hello คุณหมอ มีบทความเกี่ยวกับ สิ่งที่แพทย์มักจะแนะนำการตรวจต่าง ๆ เหล่านี้ หากมีอาการบ่งชี้ให้เชื่อว่า คุณอาจเป็น มะเร็งปอด การวินิจฉัยมะเร็งปอด ทำได้อย่างไรบ้าง การตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจสัญญาณชีพ ฟังเสียงการหายใจ และตรวจหาภาวะตับบวมหรือต่อมน้ำเหลือง คุณอาจจะถูกส่งไปเข้ารับการตรวจ หากสงสัยว่าเป็นมะเร็งปอด มีวิธีหลายประการที่สามารถใช้ได้ การตรวจวินิจฉัยโรค มะเร็งปอด ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed tomography) หรือซีทีสแกน (CT Scan) เป็นการเอกซเรย์เฉพาะประเภทหนึ่ง ที่ใช้สร้างภาพอวัยวะภายในร่างกายขณะที่เครื่องหมุนไปโดยรอบร่างกาย ทำให้ได้รูปภาพที่สมบูรณ์ ซึ่งแสดงขนาด รูปร่าง และตำแหน่งของก้อนเนื้อที่อาจกลายเป็นมะเร็งได้ การส่องกล้องตรวจหลอดลม ท่อบางเล็ก ๆ บาง ๆ กล้องตรวจหลอดลม จะถูกสอดผ่านทางปากหรือจมูกไปยังปอด เพื่อตรวจหลอดลมและปอด อาจนำตัวอย่างเซลล์ออกมาเพื่อทำการตรวจ การตรวจเสมหะเพื่อหา มะเร็งปอด เสมหะ […]


มะเร็งปอด

9 สัญญาณบอก อาการ มะเร็งปอด ที่คุณไม่ควรละเลย

โรคมะเร็งปอดเป็นภัยเงียบที่ร้ายแรงถึงแก่ชีวิต จากรายงานขององค์การอนามัยโลก เมื่อปี 2012 มะเร็งปอดเป็นโรคมะเร็งชนิดที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตมากที่สุดในบรรดามะเร็งชนิดอื่น ๆ จำนวนสูงถึง 1.59 ล้านราย หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เกิดตัวเลขสูงขนาดนี้ ก็คือ มะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นนั้นตรวจพบได้ยาก ในกลุ่มผู้ที่ตรวจพบมะเร็งร้อยละ 40 พบว่ามะเร็งอยู่ในขั้นลุกลาม ในกลุ่มผู้ที่ตรวจพบมะเร็งถึง 1ใน 3 พบว่า มะเร็งลุกลามเข้าสู่ขั้นที่ 3 แล้ว สัญญาณดังต่อไปนี้เป็นสัญญาณเตือน อาการ มะเร็งปอด ที่ไม่ควรละเลย สัญญาณเตือน อาการ มะเร็งปอด ที่ไม่ควรละเลย 1. อาการไอรักษาไม่หาย การไอเป็นอาการที่พบบ่อย อาจจะเกิดจากการเป็นไข้หวัด หรือเกิดจากการสำลักอาหาร อย่างไรก็ตาม หากอาการไอยังไม่ทุเลา แม้ว่าหายจากไข้หวัดแล้ว หรือทานยาแล้วก็ตาม คุณควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจปอดด้วยการเคาะปอดหรือด้วยการเอกซเรย์ 2. การเปลี่ยนแปลงของอาการไอ การไอเรื้อรังเป็นหนึ่งในอาการที่พบบ่อยของหลายโรค เช่น โรคกรดไหลย้อน โรคหอบหืด หรือไข้ละอองฟาง อย่างไรก็ตาม หากลักษณะของการไอเปลี่ยนไป เช่น เปลี่ยนจากไอแห้ง ๆ เป็นไอปนเสมหะหรือเลือด ควรรีบติดต่อแพทย์ทันที 3. หายใจไม่ทันแม้ทำกิจกรรมตามปกติ หากคุณเกิดอาการหายใจไม่ทัน หรือมีเสียงหวีดในขณะหายใจ อาจเป็นสัญญาณของอาการโรคมะเร็งปอด คุณอาจหายใจลำบาก เนื่องจาก […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม