โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งและเนื้องอก สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง กันให้มากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง ไม่ว่าเป็นสาเหตุ ความเสี่ยง การวินิจฉัย การรักษาโรค และการป้องกันโรคมะเร็ง ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคมะเร็ง

ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) ทางเลือกใหม่รักษามะเร็ง

Immunotherapy คือ อะไร ? ภูมิคุ้มกันบำบัด หรือ Immunotherapy คือ หนึ่งในวิธีการรักษา มะเร็ง โดยใช้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง โดยปกติเซลล์มะเร็งจะมีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถขัดขวางการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้เซลล์มะเร็งไม่ถูกทำลาย สามารถเติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ยาภูมิคุ้มกันบำบัด จะออกฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้สามารถตรวจจับและทำลายเซลล์มะเร็งที่เป็นสิ่งแปลกปลอมได้โดยตรง ทำให้สามารถควบคุมเซลล์มะเร็งในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ก้อนมะเร็งยุบลง คนไข้มีระยะเวลาปลอดโรคที่ยาวนานมากขึ้น รวมถึงมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น สนใจ "ยาภูมิคุ้มกันบำบัด" อ่านเพิ่มเติมได้ คลิก! การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ปกติแล้วระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถแยกแยะและจดจำได้ว่าเซลล์ใดเป็นเซลล์ปกติ เมื่อตรวจพบเซลล์แปลกปลอมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย ระบบภูมิคุ้มกันจะเข้ากำจัดสิ่งแปลกปลอมนั้น หลังจากนั้นระบบภูมิคุ้มจะสามารถจดจําสิ่งแปลกปลอมได้เพื่อให้ร่างกายสามารถกำจัดในครั้งหน้าได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เซลล์มะเร็งสามารถหลบซ่อนจากการตรวจพบของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ หรือบางครั้งระบบภูมิคุ้มกันอาจไม่แข็งแกร่งพอที่จะกำจัดเซลล์มะเร็งนั้นๆ ยาภูมิคุ้มกันบำบัดที่ปัจจุบันนิยมนำมาใช้ในการรักษามะเร็งคือ ยากลุ่มยับยั้งการทำงานที่อิมมูนเช็คพอยต์ (Immune checkpoint inhibitors) มีคุณสมบัติเป็นโมโนโคลนอลแอนติบอดี (monoclonal antibodies) โดยปกติระบบภูมิคุ้มกันจะมีเช็คพอยต์เป็นกลไกการควบคุมให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายหยุดทำลายสิ่งแปลกปลอม หรือหยุดการทำลายเซลล์ของร่างกาย เพื่อรักษาความสมดุลของการทำลายเซลล์แปลกปลอม และป้องกันการทำลายเซลล์ปกติของร่างกาย  เช็คพอยต์ตัวสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันที่อยู่บนผิวเซลล์เม็ดเลือดขาว คือ PD-1 และบนเซลล์มะเร็งมีเช็คพอยต์ คือ PD-L1 เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวจับกับเซลล์มะเร็งที่จุดเช็คพอยต์นี้ จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกปิดสวิตช์ไม่ทำงาน เซลล์เม็ดเลือดขาวมองไม่เห็นเซลล์มะเร็งและไม่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้     ยาภูมิคุ้มกันบำบัด ใช้ในการรักษามะเร็งชนิดใด? ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยพัฒนาต่อเนื่องในเรื่องของยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการทำงานของภูมิคุ้มกันร่างกาย โดยพบว่า ยาหลายชนิดมีประสิทธิภาพดีในการรักษาโรคมะเร็งและมีความปลอดภัย จึงได้รับการอนุญาตให้ใช้เป็น ยารักษามะเร็ง […]

สำรวจ โรคมะเร็ง

โรคมะเร็ง

วัคซีนมะเร็ง ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งได้จริงหรือ

วัคซีน คือ สารชนิดนึ่งที่ฉีดเข้าสู่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันร่างกายจากไวรัสที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ โรคมาลาเรีย โควิด 19 โดยวัคซีนจะเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีที่สามารถป้องกันเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมอีกครั้ง ระบบภูมิคุ้มกันก็จะทำหน้าที่ป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมนั้น ๆ ซึ่ง วัคซีนมะเร็ง ก็มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายรู้จักเซลล์มะเร็ง รวมถึงทำหน้าที่ในการโจมตีและทำลายเซลล์มะเร็งนั่นเอง การติดเชื้อไวรัสอาจมีส่วนทำให้เกิดมะเร็งหลายชนิด ตัวอย่างเช่น มะเร็งปากมดลูก อาจเกิดจากไวรัสเอชพีวี (HPV) ในขณะที่มะเร็งตับอาจเกิดจากไวรัสดับอักเสบบี (HBV) ซึ่งในปัจจุบัน มีการพัฒนาวัคซีนหลายชนิดที่ช่วยป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวีและไวรัสตับอักเสบบี โดยวัคซีนเหล่านี้อาจอาจมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงของการก่อตัวของเซลล์มะเร็งที่เกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสเอชพีวีและไวรัสตับอักเสบบีได้ ประเภทของวัคซีนมะเร็ง ประเภทของวัคซีนมะเร็ง มีดังต่อไปนี้ วัคซีนจากโปรตีนหรือเปปไทด์ เป็นโปรตีนที่มีโมเลกุลเล็ก และมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง วัคซีน DNA และ RNA คือ วัคซีนที่ผลิตจาก DNA หรือ RNA ที่มักพบในเซลล์มะเร็ง ซึ่งอาจช่วยให้เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองและทำลายเซลล์มะเร็ง วัคซีนไวรัส นักวิทยาศาสตร์อาจทำการเปลี่ยนไวรัสในห้องปฏิบัติการที่เรียกว่า เวกเตอร์ไวรัส และใช้เป็นพาหะเพื่อนำส่งแอนติเจนของมะเร็งเข้าสู่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ตอบสนองต่อเวกเตอร์ไวรัส ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันอาจรับรู้และตอบสนองต่อแอนติเจนของมะเร็ง นอกจากนี้คุณหมออาจใช้วิธีการรักษามะเร็งที่เรียกว่า T-VEC ที่คล้ายกับวัคซีนไวรัส โดยใช้สายพันธุ์ของไวรัสเริม นำไปเปลี่ยนแปลงยีนเพื่อระบุให้ไวรัสทำลายเซลล์มะเร็ง เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งผิวหนัง มะเร็งศีรษะและลำคอ […]


โรคมะเร็ง

มะเร็ง อาการ สาเหตุ และการรักษา

มะเร็ง หมายถึงกลุ่มโรคที่เซลล์ในร่างกายมีการพัฒนาอย่างผิดปกติจนอาจไม่สามารถควบคุมได้อีกทั้งยังสามารถลุกลามและเข้าทำลายเนื้อเยื่อปกติในอวัยวะส่วนอื่น ๆได้อย่างรวดเร็ว หากไม่ทำการตรวจและรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ทั่วร่างกายและอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต การตรวจคัดกรอง การรักษา และการป้องกันมะเร็งจึงอาจเป็นวิธีที่จะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตจากมะเร็งได้ คำจำกัดความมะเร็ง คืออะไร มะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ภายในร่างกาย ซึ่งเซลล์มะเร็งอาจเจริญเติบโตมากขึ้น จนเกิดเป็นเนื้อร้าย เนื้องอก ซึ่งอาจเกิดขึ้นเฉพาะจุด หรือในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมได้ อาจลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงหรือกระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ผ่านทางหลอดเลือดหรือทางเดินน้ำเหลือง โรคมะเร็งยังแบ่งออกเป็นหลายชนิดขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็นจุดกำเนิดของโรค และอาจเห็นเป็นเนื้อร้ายชัดเจน เช่น มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม ในขณะที่มะเร็งบางชนิดอาจไม่เห็นเป็นเนื้อร้าย เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว อาการอาการของมะเร็ง อาการเฉพาะของมะเร็งแต่ละชนิดอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งและอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ แต่อาการทั่วไปที่พบบ่อย มีดังนี้ มีก้อนเนื้อเกิดขึ้นในร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง เช่น ผิวเหลือง ผิวคล้ำ ผิวแดง แผลที่รักษาไม่หาย หรือไฝบนผิวหนังอาจเปลี่ยนไป อาการหายใจลำบาก กลืนลำบาก หรือไอเรื้อรัง ร่างกายอ่อนเพลีย การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก อาจลดลงหรือเพิ่มขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ การเปลี่ยนแปลงของลำไส้หรือกระเพาะปัสสาวะ อาจทำให้อาหารไม่ย่อยหรือรู้สึกไม่สบายตัวหลังรับประทานอาหาร เสียงแหบ ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่ออย่างเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ มีไข้เรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ หรืออาจมีเหงื่อออกตอนกลางคืน มีเลือดออก เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด เลือดออกจากช่องคลอดกะปริบกะปรอย หรือมีรอยช้ำโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรเข้าพบคุณหมอหากมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น หรือสงสัยว่าอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเพื่อตรวจคัดกรองและเริ่มกระบวนการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ สาเหตุสาเหตุของการเกิดมะเร็ง มะเร็ง อาจมีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอภายในเซลล์ โดยยีนจะมีชุดคำสั่งเพื่อบอกให้เซลล์ทำหน้าที่ต่าง ๆ […]


โรคมะเร็ง

สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง

มะเร็ง เป็นโรคร้ายแรงอันดับต้น ๆ อีกหนึ่งโรคที่ส่งผลให้ผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก โดยมีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละประเภท ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย สัญญาณเตือนแรกของมะเร็งอาจสังเกตได้จากอาการไอเรื้อรัง ไข้ขึ้น เหงื่อออกมากโดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน เหนื่อยล้า รับประทานอาหารลำบาก อาหารไม่ย่อย มีก้อนแข็งใต้ผิวหนัง โรคมะเร็ง คืออะไร โรคมะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากเซลล์ในร่างกายพัฒนาผิดปกติ และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนอาจกลายเป็นเนื้องอก เนื้อร้าย และเซลล์มะเร็งอาจลุกลามแพร่กระจายทำลายเนื้อเยื่อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ยังอาจส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น คลื่นไส้ ท้องร่วง ท้องผูก น้ำหนักลด เหนื่อยล้า หายใจลำบาก สารเคมีในร่างกายไม่สมดุล โรคหลอดเลือดสมอง ปวดศีรษะ ชัก สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งแต่ละชนิดอาจแตกต่างกันออกไป ดังนี้ 1. มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาจไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่อาจเกิดจากเซลล์ในลำไส้ใหญ่เกิดความผิดปกติทำให้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่จะควบคุมได้ จนพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็ง และอาจก่อตัวเป็นเนื้องอกหรือเนื้อร้าย ทั้งยังอาจทำลายเนื้อเยื่อโดยรอบ และแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย มะเร็งชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่อาจพบได้มากในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง เลือดออกทางทวารหนักและปะปนกับอุจจาระ ท้องร่วง ท้องผูก ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่  อายุที่มากขึ้น ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าอายุที่มากขึ้นมีความเชื่อมโยงอย่างไรกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ […]


โรคมะเร็ง

วิธีตรวจมะเร็ง ด้วยเทคนิคทางการแพทย์

มะเร็ง เป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายสร้างเซลล์ที่ผิดปกติและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วโดยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ทั้งยังสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยโรคมะเร็งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตเป็นอันดับที่ 2 ของโลก ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2563 มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากที่สุดเกือบ 10 ล้านคน และอาจมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง สำหรับประเทศไทย สถาบันมะเร็งแห่งชาติกล่าวว่าปัจจุบันสถิติผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ยังคงเพิ่มขึ้น 139,206 คน/ปี และมีอัตราเสียชีวิต 84,073 คน/ปี ซึ่งมะเร็งที่ถูกค้นพบมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปากมดลูก ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยหากสังเกตพบว่า ตนเองมีอาการผิดปกติ เช่น ไอ เสียงแหบ โดยไม่ทราบสาเหตุ รับประทานอาหารลำบาก เลือดออกทางทวารหนัก ผิวหนังเป็นแผล มีตุ่มหรือเป็นก้อน ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็ง หรือตรวจวินิจฉัยมะเร็งในทันที เพื่อรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ มะเร็ง เกิดจากอะไร มะเร็ง เกิดจากเซลล์ในร่างกายมีการแบ่งตัวหรือเจริญเติบโตรวดเร็วจนไม่สามารถควบคุมได้ จนอาจเกิดเป็นเนื้อร้าย เนื้องอก นอกจากนี้ เซลล์มะเร็งอาจสามารถแพร่กระจายไปทั่วทั้งร่างกาย ทำลายเนื้อเยื่อในอวัยวะต่าง […]


โรคมะเร็ง

มะเร็งหลอดอาหาร

มะเร็งหลอดอาหาร เกิดจากเนื้อเยื่อที่มีเซลล์เจริญเติบโตผิดปกติบริเวณเนื้อเยื่อชั้นในของหลอดอาหาร โดยหลอดอาหารเป็นท่อที่เชื่อมต่อจากคอลงสู่กระเพาะอาหาร ในการกลืนแต่ละครั้งกล้ามเนื้อหลอดอาหารจะบีบตัวและดันอาหารตกลงสู่กระเพาะ มะเร็งหลอดอาหารเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย และส่วนใหญ่มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง คำจำกัดความ มะเร็งหลอดอาหาร คืออะไร มะเร็งหลอดอาหาร เกิดขึ้นเมื่อเซลล์เนื้อเยื่อชั้นในของหลอดอาหารเจริญเติบโตผิดปกติจนกลายเป็นเนื้อร้าย โดยเกิดจากเนื้อเยื่อชั้นในโตออกสู่ผนังด้านนอก และแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง กระแสเลือด รวมถึงอวัยวะข้างเคียงได้ เช่น ปอด ตับ และอวัยวะอื่น ๆ ภายในร่างกาย โดยมะเร็งหลอดอาหารสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่  เซลล์มะเร็งชนิดสความัส (Squamous Cell Carcinoma) เกิดที่เซลล์เยื่อบุผนังหลอดอาหาร บริเวณส่วนต้นและส่วนกลางของหลอดอาหาร เซลล์มะเร็งชนิดอะดีโน (Adenocarcinoma) มักพบในตำแหน่งหลอดอาหารส่วนปลายและรอยต่อระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร พบได้บ่อยแค่ไหน World Cancer Research Fund และ American Institute for Cancer Research เผยว่า ในปี 2018 มะเร็งหลอดอาหารเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับที่ 7 ของโลก และเกิดขึ้นบ่อยที่สุดเป็นอันดับที่ 7 ในผู้ชาย เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นบ่อยเป็นอันดับที่ 13 ในผู้หญิง อาการอาการของมะเร็งหลอดอาหาร สัญญาณและอาการของมะเร็งหลอดอาหาร อาจมีดังนี้  กลืนลำบาก ไม่ว่าจะเป็นอาหารนิ่ม อาหารเหลว […]


โรคมะเร็ง

มะเร็งลำไส้เล็ก

มะเร็งลำไส้เล็ก เป็นมะเร็งที่พบไม่บ่อย เกิดจากเซลล์ในเนื้อเยื่อของลำไส้เล็กเปลี่ยนแปลงและเจริญเติบโตผิดปกติ ลำไส้เล็กมีหน้าที่ย่อย และดูดซับสารอาหาร โดยลำไส้เล็กเป็นส่วนที่ยาวที่สุดของระบบทางเดินอาการ ยาวประมาณ 6 เมตร หากพบเป็นมะเร็งลำไส้ก็อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้    คำจำกัดความ มะเร็งลำไส้เล็ก คืออะไร มะเร็งลำไส้เล็ก คือ มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในเนื้อเยื่อของลำไส้เล็กเจริญเติบโตผิดปกติ ทำให้ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร โดยมะเร็งลำไส้สามารถแบ่งแยกออกเป็นแต่ละประเภทต่าง ๆ   ประเภทมะเร็งลำไส้เล็ก มีอะไรบ้าง ประเภทของมะเร็งลำไส้เล็กอาจแบ่งแยกได้ดังต่อไปนี้ ซาร์โคมา (Sarcoma) เซลล์มะเร็งที่พัฒนาจากเนื้อเยื่ออ่อนของลำไส้เล็ก เช่น กล้ามเนื้อ เป็นมะเร็งลำไส้ชนิดที่พบได้บ่อย หรือที่เรียกว่า “มะเร็งเนื้อเยื่อระบบอาหาร (Gastrointestinal Stromal Tumor หรือ GIST)”  เนื้องอกคาร์ชินอยด์ (Carcinoid Tumor) เป็นชนิดที่เติบโตช้า แต่อาจส่งผลกระทบต่อไส้ติ่ง ไส้ตรงได้ หากเซลล์มะเร็งแพร่กระจาย   มะเร็งชนิดต่อม (Adenocarcinoma) มะเร็งชนิดนี้มักจะเกิดขึ้นที่บริเวณเยื่อบุของลำไส้เล็ก โดยในตอนแรกอาจเป็นเพียงเนื้องอก หรือติ่งเนื้อ แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจสามารถกลายเป็นมะเร็งได้  มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphomas) เกิดจากระบบคุ้มกันที่เรียกว่า “ลิมโฟไซต์ (Lymphocytes)” บกพร่อง หรืออ่อนแอ ทำให้ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้อย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ในร่างกาย รวมถึงลำไส้เล็ก มะเร็งลำไส้เล็ก พบได้บ่อยแค่ไหน อัตราการเกิดมะเร็งลำไส้เล็กนั้นมีไม่ถึง 1% ของมะเร็งทั้งหมด เป็นมะเร็งที่พบได้น้อย ซึ่งบุคคลที่มีอายุ […]


มะเร็งตับ

มะเร็งตับระยะสุดท้าย อาการ และการรักษา

มะเร็งตับ เป็นมะเร็งที่พบมากอันดับ 1 ของมะเร็งทั้งหมดที่พบในคนไทย มะเร็งตับแบ่งได้ทั้งหมด 4 ระยะ โดยระยะที่ 4 คือ มะเร็งตับระยะสุดท้าย ซึ่งเป็นระยะที่เซลส์มะเร็งลุกลามอย่างรวดเร็ว และแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น หากมีสัญญาณเตือน ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองแต่เนิ่น ๆ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและชีวิตที่ยืนยาว [embed-health-tool-heart-rate] มะเร็งตับระยะสุดท้าย คืออะไร มะเร็งตับระยะสุดท้ายเป็นมะเร็งระยะลุกลาม โดยเนื้องอกได้เกิดขึ้นที่ตับและแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง หรืออวัยวะที่อยู่ห่างไกล มะเร็งระยะสุดท้ายยังสามารถแบ่งย่อยเป็นอีก 2 ระยะ ได้แก่  ระยะ 4A อาจมีเนื้องอกมากกว่าหนึ่งก้อน และแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองแต่ยังไม่แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย  ระยะ 4B อาจมีเนื้องอกมากกว่าหนึ่งก้อน ซึ่งอาจจะแพร่กระจายหรือยังไม่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง แต่อาจแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ปอด กระดูก อาการ มะเร็งตับระยะสุดท้าย มะเร็งตับมักไม่ค่อยแสดงอาการในระยะแรก และส่วนมากมักแสดงอาการออกมาในระยะสุดท้าย ซึ่งอาจมีอาการดังต่อไปนี้  ปวดท้อง เจ็บท้อง อาการคันตามตัว  อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เมื่อยล้า คลื่นไส้ อาเจียน  น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ  เบื่ออาหาร หรือกินอาหารได้น้อยลง อิ่มเร็ว ตัวเหลือง […]


มะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนัง เกิดจากความผิดปกติในการเจริญเติบโต และแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังจนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของผิวหนังบนร่างกาย และยังอาจสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นของร่างกายได้ โดยส่วนใหญ่มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง  คำจำกัดความ มะเร็งผิวหนัง คืออะไร มะเร็งผิวหนัง คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง โดยเกิดจากการเจริญเติบโต การแบ่งเซลล์ของผิวหนังและเยื่อบุที่ผิดปกติ ซึ่งมีโอกาสที่จะแพร่กระจายไปยังกระแสเลือดหรือต่อมน้ำเหลือง ส่วนใหญ่มักจะพบมะเร็งผิวหนังบริเวณที่โดนแสงแดดบ่อย เช่น ศีรษะ ลำคอ แต่อาจสามารถพบได้ในบริเวณใต้ร่มผ้าเช่นกัน ประเภทของมะเร็งผิวหนัง มะเร็งผิวหนัง อาจสามารถแบ่งประเภทได้ ดังต่อไปนี้  มะเร็งผิวหนังชนิดไม่ใช่เมลาโนมา (Non Melanoma Skin Cancer) แบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย ๆ ได้แก่ มะเร็งผิวหนังชนิดเบซัลเซลล์ (Basal Cell  Carcinoma หรือ BCC) เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นฐานของหนังกำพร้า มักไม่ค่อยแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น แต่อาจจะลามและขยายขนาดขึ้นเรื่อย ๆ  มะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสเซลล์ (Squamous Cell Carcinoma หรือ SCC) เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า มะเร็งชนิดนี้มีความรุนแรงมากกว่าชนิดเบซัลเซลล์ เนื่องจากสามารถลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง และแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด หากตรวจไม่พบและไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้  มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (Melanoma) เป็นมะเร็งที่เกิดกับเซลล์สร้างเม็ดสีของผิวหนังที่เรียกว่า “เมลาโนไซต์ (Melanocyte)” ซึ่งเป็นเซลล์ผิวหนังที่ผลิตเม็ดสีเมลานิน เซลล์มะเร็งชนิดนี้สามารถแพร่กระจายไปเนื้อเยื่อข้างเคียงและที่อื่น […]


มะเร็งผิวหนัง

ทำความรู้จัก ชนิดมะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนัง เกิดจากการเจริญเติบโต การแบ่งเซลล์ของผิวหนังและเยื่อบุภายในผิวหนังมีความผิดปกติ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการสัมผัสกับแสงแดดที่มีรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) มากเกินไปและติดต่อเป็นเวลานาน โดย ชนิดมะเร็งผิวหนัง มีหลากหลาย แต่อาจรักษาให้หายได้ หากตรวจเจอตั้งแต่เนิ่น ๆ  ชนิดมะเร็งผิวหนัง มีอะไรบ้าง มะเร็งผิวหนังจำแนกออกเป็นหลายชนิด ส่วนใหญ่มักเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ และลุกลามเฉพาะที่ แต่บางชนิดอาจแพร่กระจายไปยังกระแสเลือดและต่อมน้ำเหลืองได้ อาจสามารถแบ่งชนิดมะเร็งผิวหนัง ได้ดังต่อไปนี้ มะเร็งผิวหนังชนิดเบซัลเซลล์ (Basal Cell Carcinoma หรือ BCC) เป็นมะเร็งผิวหนังชนิดที่พบได้บ่อยมากกว่ามะเร็งผิวหนังชนิดอื่น โดยมะเร็งชนิดนี้มักเกิดขึ้นบริเวณผิวหนังของร่างกายที่โดนแสงแดดเป็นประจำ เช่น ศีรษะ ลำคอ มีลักษณะเป็นตุ่มใสบนผิวหนัง หรือมีก้อนเนื้อเป็นสีคล้ำคล้ายกระ มะเร็งชนิดนี้มีความรุนแรงต่ำ และมักไม่ค่อยแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด  มะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสเซลล์ (Squamous Cell Carcinoma หรือ SCC) พบรองลงมาจากมะเร็งผิวหนังชนิดเบซัลเซลล์ เป็นมะเร็งผิวหนังที่มีความรุนแรงระดับปานกลาง มีลักษณะเป็นตุ่มแดง หรือแผลเรียบแบนที่เป็นขุยสะเก็ดร่วมด้วย มักพบในบริเวณขอบหู หน้า ริมฝีปาก คอ แขน หน้าอก และหลังโดยผู้ที่มีผิวขาวอาจมีโอกาสในการเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดนี้ได้มากกว่าผู้มีสีผิวคล้ำ   มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (Melanoma) เป็นมะเร็งผิวหนังที่มีระดับความรุนแรงมาก แต่เป็นชนิดที่พบได้น้อยหรือไม่ค่อยพบ มะเร็งผิวหนังชนิดนี้เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีของผิวหนังที่เรียกว่า “เมลาโนไซต์ (Melanocyte)” […]


มะเร็งปอด

การรักษามะเร็งปอด มีกี่วิธี แล้วมีผลข้างเคียงหรือไม่อย่างไร

ในปัจจุบัน โรคมะเร็งถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่คร่าชีวิตคนที่เรารัก รวมไปถึงโรคมะเร็งปอดด้วย เนื่องจากการกว่าจะเจออาการ มะเร็งก็อาจลุกลามไปส่วนอื่น ๆ แต่ใช่ว่าจะไม่มีวิธีการรักษา ดังนั้นมาดู การรักษามะเร็งปอด และผลข้างเคียงของการรักษา ประเภทของมะเร็งปอด มีอะไรบ้าง มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ 2 ประเภท คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (small cell lung cancer) และชนิดเซลล์ไม่ใช่เซลล์เล็ก (non-small cell lung cancer) ซึ่งในกลุ่มหลังนี้พบได้ 85% ของมะเร็งปอดทั้งหมด และในกลุ่มนี้ยังมีแยกย่อยออกเป็นชนิดต่างๆ อีกหลายชนิด เช่น เซลล์สความัส มะเร็งเซลล์ขนาดใหญ่ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ส่วนชนิดเซลล์ขนาดเล็กแบ่งออกเป็น มะเร็งเซลล์ขนาดเล็ก และมะเร็งเซลล์ขนาดเล็กร่วม การรักษามะเร็งปอด มีวิธีใดบ้าง การรักษามะเร็งปอดนั้น แพทย์จะพิจารณาการรักษาเฉพาะสำหรับมะเร็งปอด โดยอาจพิจารณาจาก อายุ สุขภาพของผู้ป่วย ประวัติการรักษาต่าง ๆ ชนิดของมะเร็งปอด ระยะของโรค โดยแผนการรักษาที่แพทย์อาจจะแนะนำขึ้นอยู่กับว่าเป็นมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก หรือมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก ซึ่งการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่ดีอาจเป็นเรื่องยาก ดังนั้นมาดูวิธีการรักษาว่ามีวิธีใดบ้าง การรักษามะเร็งปอด :การผ่าตัด การผ่าตัดมะเร็งปอดแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ Pneumonectomy คือ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม