โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งและเนื้องอก สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง กันให้มากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง ไม่ว่าเป็นสาเหตุ ความเสี่ยง การวินิจฉัย การรักษาโรค และการป้องกันโรคมะเร็ง ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคมะเร็ง

ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) ทางเลือกใหม่รักษามะเร็ง

Immunotherapy คือ อะไร ? ภูมิคุ้มกันบำบัด หรือ Immunotherapy คือ หนึ่งในวิธีการรักษา มะเร็ง โดยใช้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง โดยปกติเซลล์มะเร็งจะมีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถขัดขวางการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้เซลล์มะเร็งไม่ถูกทำลาย สามารถเติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ยาภูมิคุ้มกันบำบัด จะออกฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้สามารถตรวจจับและทำลายเซลล์มะเร็งที่เป็นสิ่งแปลกปลอมได้โดยตรง ทำให้สามารถควบคุมเซลล์มะเร็งในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ก้อนมะเร็งยุบลง คนไข้มีระยะเวลาปลอดโรคที่ยาวนานมากขึ้น รวมถึงมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น สนใจ "ยาภูมิคุ้มกันบำบัด" อ่านเพิ่มเติมได้ คลิก! การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ปกติแล้วระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถแยกแยะและจดจำได้ว่าเซลล์ใดเป็นเซลล์ปกติ เมื่อตรวจพบเซลล์แปลกปลอมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย ระบบภูมิคุ้มกันจะเข้ากำจัดสิ่งแปลกปลอมนั้น หลังจากนั้นระบบภูมิคุ้มจะสามารถจดจําสิ่งแปลกปลอมได้เพื่อให้ร่างกายสามารถกำจัดในครั้งหน้าได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เซลล์มะเร็งสามารถหลบซ่อนจากการตรวจพบของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ หรือบางครั้งระบบภูมิคุ้มกันอาจไม่แข็งแกร่งพอที่จะกำจัดเซลล์มะเร็งนั้นๆ ยาภูมิคุ้มกันบำบัดที่ปัจจุบันนิยมนำมาใช้ในการรักษามะเร็งคือ ยากลุ่มยับยั้งการทำงานที่อิมมูนเช็คพอยต์ (Immune checkpoint inhibitors) มีคุณสมบัติเป็นโมโนโคลนอลแอนติบอดี (monoclonal antibodies) โดยปกติระบบภูมิคุ้มกันจะมีเช็คพอยต์เป็นกลไกการควบคุมให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายหยุดทำลายสิ่งแปลกปลอม หรือหยุดการทำลายเซลล์ของร่างกาย เพื่อรักษาความสมดุลของการทำลายเซลล์แปลกปลอม และป้องกันการทำลายเซลล์ปกติของร่างกาย  เช็คพอยต์ตัวสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันที่อยู่บนผิวเซลล์เม็ดเลือดขาว คือ PD-1 และบนเซลล์มะเร็งมีเช็คพอยต์ คือ PD-L1 เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวจับกับเซลล์มะเร็งที่จุดเช็คพอยต์นี้ จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกปิดสวิตช์ไม่ทำงาน เซลล์เม็ดเลือดขาวมองไม่เห็นเซลล์มะเร็งและไม่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้     ยาภูมิคุ้มกันบำบัด ใช้ในการรักษามะเร็งชนิดใด? ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยพัฒนาต่อเนื่องในเรื่องของยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการทำงานของภูมิคุ้มกันร่างกาย โดยพบว่า ยาหลายชนิดมีประสิทธิภาพดีในการรักษาโรคมะเร็งและมีความปลอดภัย จึงได้รับการอนุญาตให้ใช้เป็น ยารักษามะเร็ง […]

สำรวจ โรคมะเร็ง

มะเร็งต่อมลูกหมาก

เคมีบำบัดรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก อีกทางเลือกในการรักษา

มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งโรคร้ายที่เหล่าผู้ชายทุกคนควรพึงระวัง เพราะเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในเพศชายโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากสามารถทำได้หลายวิธี แต่วันนี้ Hello คุณหมอ ขอเสนอแนะ เคมีบำบัดรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก อีกวิธีการรักษา ไปดูกันเลย เคมีบำบัด คืออะไร เคมีบำบัด (chemotherapy) คือ การใช้ยาเพื่อทำการรักษาโรคมะเร็ง โดยยาเคมีบำบัดนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดขนาดและชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็งภายในร่างกาย โดยมีตัวยาหลากหลายชนิด แพทย์จะทำการวินิจฉัยดูอาการ และระยะ เพื่อรักษา อาจใช้ยาเพียงชนิดเดียว หรือมากกว่านั้น ประเภทของ เคมีบำบัดรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก งานวิจัยเผยว่า docetaxel เป็นยาเคมีบำบัดแรกที่ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งต่อมลูกหมาก และในปัจจุบันยาเคมีบำบัดสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากที่ใช้บ่อย คือ docetaxel (Taxotere) ซึ่งมักให้ร่วมกับ prednisone ซึ่งเป็นยาสเตียรอยด์ หากการรักษา docetaxel ไม่ได้ผล แพทย์อาจใช้ cabazitaxel ที่เป็นกลุ่มตัวยาเดียวกันกับ docetaxel โดยยาเคมีบำบัดอื่น ๆ ที่อาจใช้ในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ได้แก่ mitoxantrone doxorubicin vinblastine paclitaxel วิธีการให้ เคมีบำบัดรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก โดยส่วนใหญ่แล้วการให้เคมีบำบัดนั้นจะใช้วิธีการ “ฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ” เป็นการให้ยาทีละรอบเพื่อช่วยให้ร่างกายมีเวลาฟื้นตัว แต่ละรอบใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง หรือบางครั้งอาจจะเป็น “ยารับประทาน” เคมีบำบัดอาจทำให้จำนวนเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวลดลง […]


มะเร็งต่อมลูกหมาก

ระยะมะเร็งต่อมลูกหมาก มีกี่ระยะที่คุณผู้ชายควรระวัง

มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งที่เหล่าคุณผู้ชายควรพึงระวังเป็นพิเศษ โดยมะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อภายในต่อมลูกหมากไม่สามารถควบคุมได้ และยังสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ได้ ดังนั้นวันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปทำความรู้จักเกี่ยวกับ ระยะมะเร็งต่อมลูกหมาก ว่ามีกี่ระยะ ไปดูกันเลย ระยะมะเร็งต่อมลูกหมาก มีกี่ระยะ ถ้าหากตรวจพบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากอาจจำเป็นที่จะต้องตรวจหาระยะของโรคเพื่อช่วยเลือกแนวทางในการรักษา โดยระยะมะเร็งต่อมลูกหมาก มีดังนี้ ระยะที่ 1 หมายถึง มะเร็งที่อยู่ด้านใดด้านหนึ่งของต่อมลูกหมาก โดยมะเร็งระยะที่ 1 นั้นมักจะมีการเติบโตช้า โดยคะแนน Gleason อาจจะได้ 6 หรือน้อยกว่า และค่า PSA น้อยกว่า 10 ที่อยู่ในระดับต่ำ ระยะที่ 2 หมายถึง มะเร็งที่ยังคงอยู่ที่ต่อมลูกหมาก และยังไม่แพร่กระจาย โดยสามารถแบ่งย่อยได้อีก 3 คือ ระยะที่ 2A มะเร็งที่อยู่ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองฝั่งของต่อมลูกหมาก ค่า PSA อยู่ระหว่าง 10 ถึง 19 และคะแนน Gleason เท่ากับ 6 หรือน้อยกว่า ระยะที่ 2B มะเร็งที่อยู่ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองฝั่งของต่อมลูกหมาก ค่า […]


มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย พร้อมวิธีการดูแลผู้ป่วย

มาทำความรู้จักกับ มะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย หรือระยะที่ 4 ซึ่งอาจสามารถส่งผลกระทบต่าง ๆ ของคุณผู้ชายได้ โดยเฉพาะกิจวัตรประจำวันที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง แล้วสามารถสังเกตอาการได้จากอะไรบ้าง ไปดูกันเลย มะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย คืออะไร มะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้ายคือ มะเร็งได้พัฒนาตัวออกจากต่อมลูกหมากไปสู่อวัยวะอื่น ซึ่งมะเร็งต่อมลูกหมากนั่นมีโอกาสที่จะลุกลามไปเป็นมะเร็งกระดูกและต่อมน้ำเหลืองได้ รวมไปถึงยังสามารถแพร่กระจายไปในบริเวณใกล้เคียง โดยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย หรือระยะที่ 4 ยังสามารถแบ่งออกเป็น ระยะที่ 4A และ 4B ซึ่งสามารถวัดได้จากค่า PSA และ Gleason score อาการมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย โดยผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย มักจะมีอาการดังต่อไปนี้ ปัสสาวะลำบากมากยิ่งขึ้น เวลาปัสสาวะมีอาการเจ็บ มีเลือดในน้ำอสุจิ แขน ขาไม่มีแรง อ่อนเพลียง่ายผิดปกติ ขาบวม เท้าบวม ในบางรายอาจถึงขั้นเดินไม่ได้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป แต่อาการเหล่านี้ถือเป็นสัญญาณที่ให้เหล่าคุณผู้ชายลองสังเกตตนเองได้ การรักษา มะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย หากตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย แสดงว่ามะเร็งได้แพร่กระจายออกนอกต่อมลูกหมากแล้ว ซึ่งมีการรักษา แต่ก็ไม่อาจสามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็ถือเป็นอีกทางเลือกที่ดีที่ช่วยบรรเทาอาการและให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ได้แก่ การรักษาด้วยรังสี โดยใช้รังสีเอกซ์พลังงานสูงเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง ซึ่งสามารถช่วยลดเนื้องอกและบรรเทาอาการ การฉายรังสีอาจใช้ร่วมกับการรักษาด้วยฮอร์โมน หรืออาจใช้หลังการผ่าตัดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งที่อาจหลงเหลือ การผ่าตัด มักไม่ค่อยใช้เพื่อรักษามะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย แต่อาจแนะนำผู้ป่วยในบางสถานการณ์ เคมีบำบัด ช่วยชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็ง บรรเทาอาการของโรคมะเร็ง และยืดอายุของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย ฮอร์โมนบำบัด เพื่อหยุดให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชาย หรือเพื่อป้องกันผลกระทบของฮอร์โมนเพศชายในมะเร็ง เนื่องจากเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากพึ่งพาฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเพื่อช่วยให้พวกมันเติบโต การดูแลแบบประคับประคอง เป็นการดูแลของแพทย์เฉพาะทางที่เน้นการบรรเทาความเจ็บปวดและอาการอื่น ๆ […]


มะเร็งปอด

มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ที่ควรรู้และใส่ใจตัวเองให้มากขึ้น

มะเร็งปอดมีหลากหลายประเภท แต่วันนี้ทาง Hello คุณหมอ ขอนำเสนอข้อมูล มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer) คืออะไร แล้วมีวิธีสังเกตอาการอย่างไร ไปดูกันเลย คำจำกัดความมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก คืออะไร มะเร็งปอดชนิดหลัก ๆ มีอยู่ 2 ประเภท คือ มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer: NSCLC) และมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Lung Cancer: SCLC) โดยมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก เป็นเซลล์มะเร็งที่ก่อตัวขึ้นในเนื้อเยื่อของปอด และยังสามารถแบ่งยิบย่อยลงไปอีก มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็กพบได้บ่อยเพียงใด มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็กพบได้ประมาณ 85-87 % ของผู้ป่วย เป็นมะเร็งปอดชนิดที่พบได้บ่อยกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับการรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก อาการของมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก อาจเติบโตช้าในช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะเริ่มมีอาการเกิดขึ้น โดยอาการที่แสดงให้เห็นทั่วไป อาจมีดังนี้ อาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด หรือมีเสมหะออกมาเป็นเลือด เสียงแหบแห้ง เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ หายใจลำบาก หรือหายใจถี่ขึ้นผิดปกติ เวลาหายใจมีเสียงดังฮืด ๆ อ่อนเพลียง่าย น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ความอยากอาหารลดลง แต่ถ้าหากมะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ แล้วอาจมีอาการ ปวดกระดูก ปวดศีรษะ เวียนหัว และปัญหาด้านการทรงตัว โดยผู้ป่วยอาจมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น […]


มะเร็งต่อมไทรอยด์

ชนิดของมะเร็งต่อมไทรอยด์ กับสัญญาณเตือนเบื้องต้น

ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ อยู่บริเวณด้านหน้าของลำคอ ใต้ลูกกระเดือก โดยต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่มีส่วนในการควบคุมน้ำหนักตัว อุณหภูมิ ความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจ เป็นต้น หากต่อมไทรอยด์ผิดปกติ อาจส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้ การเรียนรู้ ชนิดของมะเร็งต่อมไทรอยด์ ถือเป็นอีกเรื่องที่ควรทราบ ชนิดของมะเร็งต่อมไทรอยด์ ชนิดของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ จะจัดตามชนิดของเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ในเนื้องอก การวินิจฉัยและการรักษาโรคจะขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งต่อมไทรอยด์ โดยประเภทของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ แบ่งได้ดังนี้ มะเร็งต่อมไทรอยด์ ชนิดพาพิลลารี่ (Papillary Thyroid Cancer) เป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ต่อมไทรอยด์ชนิดฟอลลิคูลาร์ซึ่งมีหน้าที่ผลิตและเก็บฮอร์โมนไทรอยด์ พบมากในผู้ที่มีอายุ 30-50 ปี แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดฟอลลิคูลาร์ (Follicular Thyroid Cancer) โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ประเภทนี้เกิดที่เซลล์ฟอลลิคูลาร์ พบมากในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดฟอลลิคูลาร์ที่พบได้ยากและมีความรุนแรงมากที่สุดชนิดหนึ่ง คือ มะเร็งเซลล์เฮิร์ทเทิล (Hurthle Cell Cancer) มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดอะนาพลาสติก (Anaplastic Thyroid Cancer) มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดนี้เป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดหายาก ร้ายแรงและมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว มักพบในผู้สูงอายุที่อายุเกิน 60 ปี มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดเมดัลลารี (Medullary Thyroid Cancer) มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดเมดัลลารีเกี่ยวกับไขกระดูกที่เกิดขึ้นในเซลล์ซี (C-Cell) หรือเซลล์พาราฟอลลิคูลาร์ (Parafollicular Cell) […]


มะเร็งศีรษะและคอ

สัญญาณเตือนมะเร็งศีรษะและลำคอ ที่ไม่ควรมองข้าม

มะเร็งศีรษะและลำคอ เป็นมะเร็งที่พบมากในเพศชาย เกิดขึ้นบริเวณทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจส่วนบนและบริเวณคอ รวมไปถึงต่อมไทรอยด์ หรือต่อมน้ำลาย ดังนั้น เรามาดู สัญญาณเตือนมะเร็งศีรษะและลำคอ กันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง [embed-health-tool-heart-rate] มะเร็งศีรษะและลำคอ มีกี่ระยะ ระยะของ มะเร็งศีรษะและลำคอ สามารถบอกได้ว่า มะเร็งนั้นแพร่กระจายหรือลุกลามไปมากเพียงใด โดยระยะของ มะเร็งศีรษะและคอ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดทางเลือกสำหรับการรักษา โดยทาง American Joint Committee on Cancer ได้พัฒนาระบบ TNM ซึ่งเป็นระบบในการพิจารณาว่า มะเร็งอยู่ในขั้นไหน โดยจะพิจารณาร่วมกันใน 3 ปัจจัย ได้แก่ T (Tumor) หมายถึง ขนาดของก้อนเนื้องอก N (Node Involvement) หมายถึง การแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง M (Metastasis) หมายถึง ดัวบ่งชี้ว่ามะเร็งแพร่กระจายไปยังส่วนอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกายหรือไม่ ระยะของมะเร็งศีรษะและคอ สำหรับระยะของ มะเร็งศีรษะและคอนั้น มีอยู่ด้วยกัน 4 ระยะ โดยแต่ละระยะมีรายละเอียด ดังนี้ ระยะ 0 […]


มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมกับทางเลือกรักษาที่ไม่ต้องตัดเต้า

การมีเต้านมถือเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงความเป็นผู้หญิง สร้างความมั่นใจและความสวยงามให้กับสรีระของผู้หญิง แต่เต้านมก็สร้างปัญหาให้กับผู้หญิงได้เช่นกัน นั่นคือการเกิดโรคมะเร็งเต้านมนั่นเอง ซึ่งความเสี่ยงในผู้หญิงสูงกว่าในผู้ชาย ถึง 100 เท่า มะเร็งเต้านม เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิงทั่วโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้หญิงเป็นอันดับต้น ๆ มะเร็งเต้านมเกิดจากความผิดปกติของการแบ่งตัวของเซลล์ภายในเต้านม โดยเซลล์ที่ผิดปกตินั้นจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว จนเกิดเป็นก้อนขึ้นมาบริเวณเต้านม หากไม่ได้รับการรักษา เซลล์มะเร็งนี้อาจแพร่กระจายไปยังบริเวณข้างเคียงอย่างต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ หรืออวัยวะอื่นได้ทั่วร่างกาย เช่น ปอด กระดูก หรือตับ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่รู้สึกเจ็บ หรือไม่รู้สึกถึงความผิดปกติ ทำให้กว่าจะมาพบแพทย์ อาจเป็นระยะที่ก้อนใหญ่จนสามารถคลำเจอได้ง่าย หรือเต้านมมีลักษณะที่ผิดปกติไปแล้ว มะเร็งเต้านม หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น สามารถรักษาได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหายขาดจากโรค คือ ไม่มีก้อนหรือเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่ในร่างกาย และป้องกันไม่ให้ก้อนมะเร็งนั้นลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าการกำจัดก้อนหรือเซลล์มะเร็งให้หมดไป จำเป็นจะต้องผ่าตัดเต้านมออกเท่านั้น แต่ที่จริงแล้ว ในปัจจุบัน มีวิธีการรักษามะเร็งเต้านมอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ขนาดของก้อนมะเร็ง ชนิดของมะเร็ง อาการของผู้ป่วย ปัจจัยอื่น ๆ รวมถึงดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา ข้อมูลที่มีการตีพิมพ์แสดงให้เห็นว่า การวางแผนการรักษาด้วยยาควบคู่กับการผ่าตัด โดยอาจให้ยาก่อน และ/หรือ หลังการผ่าตัดนั้น จะช่วยให้เพิ่มโอกาสในการเก็บเต้านมได้ถึงประมาณ 60% ดังนั้นการรักษามะเร็งเต้านมจึงไม่จำเป็นต้องตัดเต้านมออกเสมอไป การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม (Breast conservation […]


มะเร็งศีรษะและคอ

รู้ทันโรคร้าย มะเร็งศีรษะและลำคอ (Head and Neck Cancer)

โรคมะเร็งนั้นมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งอื่น ๆ  อีกมากมาย ซึ่ง มะเร็งศีรษะและลำคอ เป็นมะเร็งอีกหนึ่งชนิดที่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้จัก ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องเกี่ยวกับ โรคมะเร็งศีรษะและลำคอ มาฝากทุก ๆ คน เพื่อให้ได้รู้จักกับมะเร็งชนิดนี้มากขึ้น คำจำกัดความมะเร็งศีรษะและลำคอ คืออะไร มะเร็งศีรษะและลำคอ (Head and Neck Cancer) มักเริ่มต้นในเซลล์สความัส (Squamous) เป็นมะเร็งที่สามารถเกิดขึ้นบริเวณทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจส่วนบนและบริเวณคอ เช่น มะเร็งของหู คอ จมูก รวมไปถึงบางตำแหน่งที่เห็นได้ยาก เช่น มะเร็งช่องปาก มะเร็งช่องหู ต่อมไทรอยด์ หรือต่อมน้ำลายที่โตผิดปกติ โรคมะเร็งศีรษะและลำคอ สามารถเกิดขึ้นได้ในที่ไหนบ้าง ช่องปาก รวมถึงริมฝีปาก ด้านหน้าสองในสามของลิ้น เหงือก แก้ม พื้นปาก(ด้านล่างของปาก) เพดานปาก บริเวณเหงือกหลังฟันคุด คอหอย เป็นท่อยาวประมาณ 5 นิ้วที่ยาวจากด้านหลังจมูกจนถึงด้านบนของหลอดอาหาร คอหอยนั้นรวมถึงทอนซิลด้านหลังของลิ้น และเพดาน กล่องเสียง […]


มะเร็งต่อมลูกหมาก

ทำความรู้จักกับ การตรวจหาค่า PSA การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากที่ควรรู้

การตรวจคัดกรองเป็นการตรวจเพื่อหามะเร็งก่อนที่มีอาการแสดงออกมา อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความแน่ชัดว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากมีประโยชน์มากน้อยเพียงใด ซึ่งหนึ่งในวิธีการตรวจโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก คือ การตรวจหาค่า PSA ดังนั้น เราไปทำความรู้จักกับการตรวจวิธีนี้กันเลย การตรวจหาค่า PSA คืออะไร การตรวจหาค่าPSA คือ การตรวจแอนติเจนต่อมลูกหมาก (Prostate-Specific Antigen หรือ PSA) เป็นโปรตีนที่สร้างจากเซลล์ในต่อมลูกหมาก (ทั้งเซลล์ปกติและเซลล์มะเร็ง) หากมีปัญหากับต่อมลูกหมาก มันจะปล่อย PSA ออกมามากขึ้น ซึ่งเป็นการทดสอบวัดปริมาณของแอนติเจนที่จำเพาะต่อมลูกหมาก ในเลือด ซึ่งเป็นต่อมขนาดเล็กที่อยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะของผู้ชาย โดย PSA ส่วนใหญ่พบอยู่ในน้ำอสุจิ แต่สามารถพบ PSA จำนวนเล็กน้อยไหลเวียนอยู่ภายในกระแสเลือด อย่างไรก็ตามภาวะอื่น ๆ เช่น ต่อมลูกหมากโต หรืออักเสบก็สามารถเพิ่มระดับ PSAได้เช่นกัน ระดับค่า PSA เนื่องจากยังไม่มีค่ากำหนดที่แน่ชัด เจาะจงว่าเป็นค่ามาตรฐานปกติของค่า PSA แต่โดยทั่วไปที่นิยมใช้กันก็คือ หากค่า PSA ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 4 ng/mL จะถือว่าเป็นค่าปกติ ที่อาจจะไม่เสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก หากผู้ชายมีระดับ PSA สูงกว่า 4.0 ng/mL จนถึง […]


มะเร็งต่อมลูกหมาก

มารู้วิธี การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ที่อาจมีการรักษามากกว่า 1 วิธี

มะเร็งต่อมลูกหมากนั้นมีทางเลือกในการรักษาโรคนี้ โดยปัจจัยในการรักษาขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ขนาด ระยะของเซลล์มะเร็ง สภาพร่างกายและจิตใจ รวมไปถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย แล้ว การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก มีวิธีไหนบ้าง มาดูกันเลย ต่อมลูกหมากสำคัญอย่างไร ต่อมลูกหมาก เป็นต่อมที่อยู่รอบท่อปัสสาวะส่วนต้น บริเวณปากทางออกของกระเพาะปัสสาวะ มีรูปร่างลักษณะคล้ายวอลนัท ทำหน้าที่ผลิตน้ำเมือกและน้ำหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบสืบพันธุ์เพศชาย การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก มีวิธีการอย่างไร โดย การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก นั้นมีหลากหลายวิธี ซึ่งมีวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การสังเกต หรือการเฝ้าระวัง การเฝ้าระวัง คือ การติดตามมะเร็งอย่างใกล้ชิด เป็นช่วงที่จะต้องไปหาคุณหมอเพื่อตรวจเลือดโดยเฉพาะอย่างยิ่งตรง ต่อมลูกหมาก หรือเรียกว่า “การตรวจ PSA” ที่ควรทำทุก ๆ 6 เดือน และการตรวจแบบทางทวารหนักแบบดิจิทัล (DRE) อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อเฝ้าสังเกตอาการและโรคมะเร็ง การผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก การผ่าตัดเป็นทางเลือกทั่วไปในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก และโรคมะเร็งยังไม่ลุกลามออกนอก ต่อมลูกหมาก การผ่าตัดเปิดหน้าท้อง คือ การผ่าตัดเอา ต่อมลูกหมาก ท่อน้ำเชื้อ และถุงน้ำเชื้อออกทั้งหมด การผ่าตัดนี้อาจมีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพทางเพศได้ การผ่าตัดด้วยวิธีการส่องกล้อง (Laparoscopic Radical Prostatectomy หรือ LRP) เป็นการผ่าตัดที่มีการพัฒนามาจากการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง ซึ่งการผ่าตัด ต่อมลูกหมาก ผ่านกล้องมีข้อดีมากกว่าการผ่าตัด […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม