สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

ยา ขยาย หลอดลม เด็ก มีอะไรบ้าง และวิธีรับมืออาการหอบหืดในเด็ก

ยา ขยาย หลอดลม เด็ก (Bronchodilators) เป็นยาที่ใช้โดยทั่วไปในผู้ที่เป็นโรคทางระบบทางเดินหายใจอย่างโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ยาจะออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อรอบทางเดินหายใจและเปิดช่องให้อากาศไหลผ่านได้สะดวกขึ้น ยาขยายหลอดลมมี 2 ประเภท คือ ยาชนิดออกฤทธิ์สั้นที่ใช้รักษาอาการเฉียบพลัน ซึ่งอาจเกิดจากทางเดินหายใจหดตัวหลังการสัมผัสสิ่งกระตุ้น และยาชนิดออกฤทธิ์ยาวที่ใช้ควบคุมอาการและลดความถี่ในการเกิดอาการเมื่อรับประทานเป็นประจำทุกวัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ยา ขยาย หลอดลม เด็ก ใช้เพื่ออะไร ยาขยายหลอดลมเด็กเป็นยาที่ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อในปอดและขยายทางเดินหายใจบริเวณหลอดลม ใช้เพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางเดินหายใจตีบแคบและอักเสบจนทำให้เด็กไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ เช่น โรคหอบหืด (Asthma) เป็นความผิดปกติของปอดที่เกิดจากทางเดินหายใจอักเสบ ทำให้เด็กมีอาการไอบ่อย หายใจถี่ หายใจออกมีเสียงหวีด แน่นหน้าอก เป็นต้น อาการอาจแย่ลงในเวลากลางคืน เมื่อเป็นไข้หวัด สัมผัสกับสิ่งกระตุ้นเช่นอากาศเย็น ฝุ่นควัน หรือออกกำลังกาย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease หรือ COPD) เป็นโรคในกลุ่มอาการปอดอักเสบเรื้อรังที่เกิดขึ้นเมื่อปอดได้รับความเสียหายในระยะยาว ส่งผลให้ผนังถุงลมปอดอ่อนแอ ทำให้เด็กมีอาการหายใจลำบาก ไอเรื้อรัง ปอดติดเชื้อบ่อย หายใจมีเสียงหวีด เป็นต้น ยา ขยาย หลอดลม เด็กมีอะไรบ้าง ยาขยายหลอดลมเด็กเป็นยาที่ออกฤทธิ์ลดการตีบตันและการอักเสบของทางเดินหายใจ มีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น ของเหลวที่ใส่ในเครื่องพ่นละอองยา (Nebulizer) ยาสูดกำหนดขนาด […]

สำรวจ สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก

ยาลดไข้เด็ก มีอะไรบ้าง และควรบรรเทาอาการไข้อย่างไร

ยาลดไข้เด็ก เป็นยาที่ช่วยรักษาอาการไข้และช่วยลดอุณหภูมิในร่ายกาย ซึ่งมักใช้ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) หรือยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ในการรักษาอาการไข้ในเด็ก อย่างไรก็ตาม หากเด็กมีอายุต่ำกว่า 2 เดือน ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการและรับยาตามขนาดที่เหมาะสมกับเด็ก เพื่อป้องกันการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจทำให้เด็กได้รับยาเกินขนาดและเป็นอันตรายได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ยาลดไข้เด็ก มีอะไรบ้าง ส่วนใหญ่คุณหมอจะทำการรักษาด้วยการให้ยาลดไข้เด็กต่อเมื่อเด็กมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส หรือหากเด็กมีอาการไม่สบายตัวมาก โดยทั่วไปอาการไข้ในเด็กจะไม่คงอยู่เป็นเวลานาน สามารถควบคุมได้ และไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง โดยคุณหมอจะประเมินระดับความรุนแรงของอาการไข้ก่อนจ่ายยาลดไข้เด็ก เพื่อให้ขนาดยาตามความเหมาะสม ซึ่งยาลดไข้เด็กที่มักใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้ อะเซตามิโนเฟน หรือพาราเซตามอล จะให้ในขนาด 10-15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง เพื่อช่วยรักษาอาการไข้และลดอุณหภูมิร่างกาย โดยเด็กจะมีอุณหภูมิลดลงภายใน 30-60 นาทีแรกหลังจากให้ยา ไอบูโพรเฟน จะให้ในขนาด 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุก 6-8 ชั่วโมง เพื่อช่วยลดไข้และลดอุณหภูมิ มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับอะเซตามิโนเฟน และอาจมีผลในการลดอุณหภูมิร่างกายได้นานกว่า การรักษาแบบผสม โดยการใช้ยาอะเซตามิโนเฟนร่วมกับยาไอบูโพรเฟนรักษาอาการไข้ในเด็ก ซึ่งเป็นการให้ยาทั้ง 2 ชนิดสลับกัน อาจมีประสิทธิภาพในการลดไข้เด็กได้ดีกว่าการใช้ยาเพียงชนิดเดียวในการรักษา อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้รักษาด้วยวิธีนี้เองที่บ้าน เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่อาจไม่เข้าใจการใช้สูตรยาทำให้เกิดความกังวลในแง่การใช้ยาอย่างไม่ถูกต้อง […]


โรคระบบประสาทในเด็ก

Hirschsprung disease คือ โรคลำไส้ใหญ่โป่งพองแต่กำเนิด สาเหตุ อาการ การรักษา

โรคเฮิร์ซปรุง หรือ Hirschsprung disease คือ โรคลำไส้ใหญ่โป่งพองแต่กำเนิด พบได้ในทารกแรกเกิด โรคนี้เกิดจากเซลล์ประสาทในลำไส้บางส่วนหายไปตั้งแต่กำเนิด มักทำให้เกิดอาการผิดปกติภายใน 48 ชั่วโมงหลังคลอด เช่น ท้องผูก ไม่ถ่ายขี้เทา ท้องบวม ในกรณีที่ไม่รุนแรงมากอาจตรวจไม่พบโรคนี้จนกระทั่งเด็กโตขึ้นในระดับหนึ่งแล้ว และโรคนี้วินิจฉัยพบในวัยผู้ใหญ่น้อยมาก โดยทั่วไปสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัดนำลำไส้ใหญ่บางส่วนของเด็กออก เพื่อให้ระบบขับถ่ายกลับมาทำงานได้ตามปกติ [embed-health-tool-bmi] Hirschsprung disease คืออะไร Hirschsprung disease คือโรคที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ประสาทในลำไส้ใหญ่หายไปตั้งแต่กำเนิด ตั้งชื่อโรคตามคุณหมอฮาราลด์ เฮิร์ชสปรุง (Harald Hirschsprung) ซึ่งเป็นผู้อธิบายโรคนี้เป็นคนแรก Hirschsprung disease อาจพัฒนาตั้งแต่ในระหว่างตั้งครรภ์และแสดงอาการหลังคลอด เมื่อเซลล์ประสาทในลำไส้ใหญ่ไม่สมบูรณ์ ก็จะส่งผลต่อการทำงานของเส้นประสาทที่ควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อซึ่งทำหน้าที่เคลื่อนอาหารผ่านลำไส้ ทำให้มีอุจจาระค้างและก่อตัวเป็นก้อนอยู่ในลำไส้ใหญ่ ไม่สามารถส่งอุจจาระไปยังทวารหนักเพื่อขับถ่ายออกไปได้ตามปกติ ส่วนใหญ่แล้ว เซลล์ประสาทบริเวณส่วนท้ายของลำไส้เล็ก ก่อนถึงไส้ตรงและทวารหนักของทารกที่เป็นโรคนี้มักหยุดเจริญเติบโต และบางรายอาจมีเซลล์ประสาทที่บริเวณอื่นในระบบย่อยอาหารหายไปด้วย Hirschsprung disease อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างลำไส้ใหญ่อุดตัน ลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อคลอสตริเดียม ดิฟฟิไซล์ (Clostridium difficile) เชื้อสแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียส (S. aureus) เชื้อโคลิฟอร์ม (Coliform) จนส่งผลให้เกิดการอักเสบรุนแรงจนลำไส้โป่งพองมาก หรือเกิดภาวะมีโปรตีนในเลือดต่ำ […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ไฮเปอร์ คือ ภาวะอยู่ไม่นิ่ง อยู่ไม่สุข สาเหตุและการรักษา

ไฮเปอร์ คือ ภาวะอยู่ไม่นิ่ง และไม่สามารถควบคุมตัวเองให้อยู่กับที่ได้เหมือนกับคนทั่วไป มักพบในเด็กวัยเรียน แต่ก็อาจวินิจฉัยพบในวัยผู้ใหญ่ได้เช่นกัน คนที่เป็นไฮเปอร์อาจมีปัญหาในการเข้ากับผู้อื่น การหาเพื่อน และการใช้ชีวิตประจำวัน หากสงสัยว่าเด็กมีอาการไฮเปอร์ ควรพาเด็กไปรับการวินิจฉัยและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นและสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนกับเด็กทั่วไปในวัยเดียวกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ไฮเปอร์ คือ อะไร ไฮเปอร์แอกทิวิตี (Hyperactivity) หรือ ไฮเปอร์ เป็นภาวะอยู่ไม่นิ่ง อยู่ไม่สุข ชอบขัดจังหวะผู้อื่นขณะพูด วอกแวกง่าย ทั้งยังอาจมีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น ไม่มีสมาธิ ก้าวร้าว อาจเกิดขึ้นได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มักพบได้บ่อยในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น โดยทั่วไปจะรับการวินิจฉัยตั้งแต่อายุยังน้อย แต่บางคนก็พบได้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว โดยทั่วไป การเป็นเด็กไฮเปอร์อาจถูกมองว่าเป็นปัญหาสำหรับคนรอบข้างและทางโรงเรียนมากกว่าตัวเด็กเอง อย่างไรก็ตาม การมีภาวะไฮเปอร์อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจของตัวเด็กได้เช่นกัน เช่น ทำให้ไม่มีความสุขในการเข้าสังคม เสี่ยงมีภาวะซึมเศร้า อาจทำให้เด็กตกเป็นเป้าของการกลั่นแกล้งกัน หรือเด็กอาจโดนทำโทษเนื่องจากมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ สาเหตุของ ไฮเปอร์ คืออะไร สาเหตุที่พบได้บ่อยของภาวะ ไฮเปอร์ คือ โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder หรือ ADHD) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะไฮเปอร์ โดย ไฮเปอร์ คือ หนึ่งในอาการของโรคสมาธิสั้น ทำให้เด็กมีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น ซุกซน […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

Asperger syndrome คือ โรคแอสเพอร์เกอร์ สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

โรคแอสเพอร์เกอร์ หรือ Asperger syndrome คือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติด้านพัฒนาการและการทำงานของสมองและระบบประสาท จัดเป็นโรคในกลุ่มอาการออทิสติกสเปกตรัมเช่นเดียวกับโรคออทิสติก โรคนี้ส่งผลต่อพัฒนาการด้านสังคม ภาษาและการสื่อสาร และพฤติกรรม ผู้ป่วยมักแสดงอาการน้อยและไม่รุนแรงมาก และมักมีระดับสติปัญญาสูงกว่าค่าเฉลี่ย ผู้ที่เป็นโรคแอสเพอร์เกอร์จะมีทักษะทางภาษาที่ดีกว่าผู้ที่เป็นโรคอื่นในกลุ่มอาการออทิสติกสเปกตรัม แต่มีข้อบกพร่องด้านทักษะทางสังคม อารมณ์ ความรู้สึก โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เป้าหมายของการรักษาจะอยู่ที่การกระตุ้นและฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด เพื่อให้เด็กสามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] Asperger syndrome คือ อะไร โรคแอสเพอร์เกอร์ หรือ Asperger syndrome คือ กลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของพัฒนาการทางสมองและระบบประสาทที่ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก ทั้งด้านพฤติกรรมการแสดงออก การมองและเข้าใจโลก การใช้ภาษา และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ภาวะนี้จัดอยู่ในกลุ่มอาการออทิสติกสเปกตรัม (Autism Spectrum Disorder) แต่จะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าโรคอื่น ๆ ในกลุ่มอาการเดียวกัน ผู้ที่มีอาการของแอสเพอร์เกอร์จัดเป็นกลุ่มออทิสติกที่มีศักยภาพสูง (High functioning autism) หรือที่เรียกว่าเด็กอัจฉริยะ ส่วนใหญ่มักมีระดับสติปัญญาเป็นปกติหรือสูงกว่าคนทั่วไป มีทักษะการใช้ภาษาและการพูดอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่อาจไม่เข้าใจเนื้อหาที่ซับซ้อน ลึกซึ้ง การเปรียบเทียบ หรือความหมายโดยนัย อาจมีความสนใจในด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ มีพฤติกรรมซ้ำ ๆ เป็นแบบแผนไม่ยืดหยุ่น จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และมักจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวเนื่องจากมีทักษะทางสังคมต่ำ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกหายใจครืดคราด เกิดจากอะไร ควรรักษาอย่างไร

ลูกหายใจครืดคราด อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อในทางเดินหายใจ ความผิดปกติของกล่องเสียง การอุดตันในทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้ทางเดินหายใจตีบแคบลงจนเกิดเป็นเสียงครืดคราดเมื่อหายใจ ดังนั้น การรู้ถึงสาเหตุหลักของอาการจึงเป็นวิธีที่จะสามารถช่วยรักษาอาการลูกหายใจครืดคราดได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกหายใจครืดคราด เกิดจากอะไร ลูกหายใจครืดคราด เป็นอาการทั่วไปที่มักเกิดขึ้นในเด็กที่มีความเจ็บป่วยเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจที่ทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบลง ส่งผลให้ลูกหายใจลำบาก หายใจมีเสียงครืดคราด ไอ จาม หรืออาจรุนแรงถึงขั้นหยุดหายใจ โดยสาเหตุที่ทำให้ลูกหายใจครืดคราดที่พบได้บ่อย อาจมีดังนี้ การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนจากไวรัสหรือแบคทีเรีย เช่น โรคหวัด หลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) ไอกรน โรคปอดบวม โรคภูมิแพ้ กล่องเสียงอักเสบ ที่เกิดจากเนื้อเยื่อในกล่องเสียงกีดขวางทางเดินหายใจบางส่วน ทางเดินหายใจผิดรูป ซึ่งอาจเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดหรืออาจเกิดขึ้นหลังจากการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บที่ทางเดินหายใจ การอุดตันที่ผิดปกติในทางเดินหายใจ เนื่องจากมีแผลเป็นในทางเดินหายใจที่อาจบวมหรือโต อาการกล้ามเนื้อในทางเดินหายใจตีบแคบ หดตัว ที่เกิดจากโรคหอบหืดหรือสิ่งระคายเคืองในแวดล้อม เช่น ฝุ่น ควัน ควันบุหรี่ กล่องเสียงเป็นอัมพาตตั้งแต่แรกเกิดหรือพัฒนาในภายหลัง การสำลักอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปในทางเดินหายใจ ทำให้ลูกมีอาการไออย่างกะทันหัน โรคประจำตัวที่พบไม่บ่อย เช่น โรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis หรือ CF) ซึ่งส่งผลต่อปอดหรือทางเดินหายใจ ภาวะทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น […]


สุขภาพเด็ก

ลูกปวดฟัน อาการ สาเหตุและการรักษา

ลูกปวดฟัน อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาฟันผุ หนองในฟัน เคลือบฟันแตก โรคเหงือก อาหารติดซอกฟัน หรือปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขอนามัยภายในช่องปากที่ไม่เหมาะสม จนทำให้ลูกมีอาการปวดฟันเกิดขึ้น ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลสุขภาพช่องปากของลูกอยู่เสมอ และหากลูกปวดฟันควรพาลูกเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกปวดฟัน เกิดจากสาเหตุอะไร อาการลูกปวดฟันอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการไม่รักษาสุขอนามัยภายในช่องปาก จนทำให้เยื่อฟันที่เต็มไปด้วยเส้นประสาท เนื้อเยื่อ และหลอดเลือดที่บอบบางระคายเคืองหรือติดเชื้อแบคทีเรีย จนก่อให้เกิดอาการปวดฟันรุนแรงตามมา ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกปวดฟันที่พบได้บ่อยนั่นคือฟันผุ นอกจากนี้ อาการลูกปวดฟันยังอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ หนองในฟัน เกิดขึ้นเมื่อมีปัญหาฟันผุทำให้เกิดหนองภายในรากฟันซี่ที่ผุ ส่งผลให้มีอาการปวดรุนแรงและปวดมากขึ้นเมื่อสัมผัสกับฟัน หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจทำให้หนองเพิ่มมากขึ้นภายในเหงือกและทำให้เหงือกบวมแดง เคลือบฟันแตก เกิดจากการกัดวัตถุแข็ง ๆ จนทำให้ฟันแตก โดยแนวการแตกหักของฟันอาจอยู่ต่ำกว่าขอบเหงือกที่อาจมองเห็นได้ยาก และอาจทำให้มีอาการเสียวฟัน ปวดฟันเมื่อรับประทานของเหลวร้อนหรือเย็น โรคเหงือก เป็นปัญหาเหงือกอักเสบเนื่องจากการไม่รักษาสุขอนามัยภายในช่องปาก ส่งผลให้มีอาการเหงือกระคายเคือง บวมแดง เจ็บปวด และอาจมีเลือดออก อาหารติดซอกฟัน การรับประทานอาหารอาจทำให้มีเศษอาหารติดตามซอกฟัน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดฟัน ดังนั้น การแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันหลังรับประทานอาหารอาจช่วยลดอาการปวดฟันได้ ฟันคุด เป็นการงอกขึ้นมาของฟันกรามซี่ในสุด ซึ่งส่วนใหญ่ฟันคุดจะเกิดขึ้นในช่วงอายุประมาณ 18-21 ปีขึ้นไป แต่สำหรับเด็กที่ฟันคุดงอกเร็วอาจทำให้มีอาการปวดฟันเกิดขึ้นได้ การเคลื่อนไหวฟันในการบดเคี้ยวซ้ำ ๆ เช่น […]


สุขภาพเด็ก

เด็ก แปรง ฟัน ได้เมื่อไหร่ ควรสอนอย่างไร

คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนให้ เด็ก แปรง ฟัน ได้ตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น ด้วยการใช้แปรงสีฟันขนนุ่มชุบน้ำพอหมาดแปรงฟันให้เด็ก และเมื่อเด็กเริ่มโตขึ้นจนสามารถเรียนรู้ทักษะการแปรงฟันได้เอง สามารถใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เล็กน้อยเพื่อช่วยส่งเสริมให้ฟันแข็งแรง อย่างไรก็ตาม ไม่ควรบังคับหรือใช้เสียงขู่ให้เด็กแปรงฟัน เพราะอาจทำให้เด็กมีพฤติกรรมต่อต้านและไม่อยากแปรงฟันได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็ก แปรง ฟัน ได้เมื่อไหร่ ผู้ปกครองสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กได้ตั้งแต่ฟันน้ำนมยังไม่ขึ้น ด้วยการทำความสะอาดเหงือกเป็นประจำทุกวันโดยการใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดทำความสะอาดเหงือกของเด็กหลังกินนมและก่อนนอน เมื่อเด็กเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นซี่แรก คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถสอนให้เด็กแปรงฟันได้ทันที ด้วยการใช้แปรงสีฟันขนนุ่มสำหรับเด็กชุบน้ำพอหมาด โดยควรแปรงฟันให้เด็กอย่างน้อย 1-2 ครั้ง/วัน เพื่อขจัดเศษอาหารภายในปาก และหากเด็กสามารถโตพอที่จะสามารถบ้วนยาสีฟันเองได้โดยไม่กลืน คุณพ่อคุณแม่สามารถให้เด็กแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ในปริมาณเล็กน้อย จากนั้น จึงค่อย ๆ สอนให้เด็กแปรงฟันให้ทั่วฟันทุกซี่ รวมถึงทำความสะอาดเหงือกและลิ้น เป็นเวลาอย่างน้อย 2 นาที/ครั้ง เพื่อขจัดเศษอาหารทั้งหมดที่อาจก่อให้เกิดปัญหาฟันผุในอนาคต คุณพ่อคุณแม่อาจจำเป็นต้องช่วยเหลือเด็กในการแปรงฟันจนกว่าเด็กจะอายุ 7-8 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่เด็กสามารถแปรงฟันได้ด้วยตัวเองแล้ว และควรเปลี่ยนแปรงสีฟันทุก ๆ 3-6 เดือนหรือเมื่อขนแปรงเก่าแล้ว นอกจากนี้ ควรสอนให้เด็กใช้ไหมขัดฟันหลังจากแปรงฟันอย่างน้อย 1 ครั้ง/วัน เพื่อช่วยขจัดเศษอาหารที่แปรงสีฟันไม่สามารถขจัดออกได้หมด วิธีสอนให้เด็กแปรงฟัน วิธีสอนให้เด็กแปรงฟัน คุณพ่อคุณแม่ควรใจเย็น ไม่ควรบังคับหรือใช้น้ำเสียงขู่ เพราะจะยิ่งทำให้เด็กรู้สึกไม่อยากแปรงฟันมากขึ้น ซึ่งการสอนให้เด็กแปรงฟันอาจทำได้ ดังนี้ ตอบสนองความต้องการของเด็ก เช่น หากเด็กต้องการเปลี่ยนรสชาติยาสีฟันหรือต้องการใช้แปรงสีฟันสีใหม่ ควรให้เด็กได้ทดลองใช้ […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

Cretinism คือ โรคเอ๋อหรือเครทินิซึม สาเหตุ อาการ การรักษา

Cretinism คือ โรคเอ๋อหรือเครทินิซึม เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนไทรอยด์ของเด็ก ส่งผลให้เด็กมีความผิดปกติด้านร่างกาย สมอง ระบบประสาท และสติปัญญา หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้สมองของเด็กถูกทำลายถาวรและเด็กมีพัฒนาการผิดปกติ เช่น เจริญเติบโตช้า ตาเหล่ หูหนวก เป็นใบ้ มีท่าเดินผิดปกติ สมองพิการ ทั้งนี้ การวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยการให้ฮอร์โมนชดเชยตั้งแต่แรกเกิดและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด อาจช่วยให้เด็กสามารถกลับมามีพัฒนาการตามปกติได้เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป [embed-health-tool-vaccination-tool] Cretinism คือ อะไร เครทินิซึม หรือ Cretinism คือ กลุ่มอาการผิดปกติของพัฒนาการทางสมอง หรือที่เรียกว่าโรคเอ๋อ เกิดจากภาวะขาดไทรอยด์อย่างรุนแรงในเด็กแรกเกิด ทำให้เด็กมีภาวะปัญญาอ่อน รูปร่างเตี้ยแคระแกร็น ไอคิวต่ำ หูหนวก เป็นใบ้ เป็นต้น โดยทั่วไป ฮอร์โมนไทรอยด์มีหน้าที่สำคัญในการสร้างโปรตีนหรือเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เผาผลาญพลังงาน ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ การเจริญเติบโต และพัฒนาการของสมอง หากฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากเด็กไม่มีต่อมไทรอยด์มาตั้งแต่กำเนิด ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือคุณแม่ขาดไอโอดีนขณะตั้งครรภ์ อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางร่างกาย โครงสร้างของกระดูกและผิวหนัง รวมไปถึงการทำงานของสมองและระบบประสาทส่วนกลางของเด็กแรกเกิด สาเหตุของ Cretinism คือ อะไร สาเหตุที่พบบ่อยของ Cretinism คือ […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

Cerebral palsy คือ ภาวะสมองพิการในเด็ก สาเหตุ อาการ การรักษา

ภาวะสมองพิการ หรือ Cerebral palsy คือ กลุ่มอาการของโรคทางสมองที่ส่งผลให้เด็กมีความผิดปกติด้านเคลื่อนไหวและการประสานงานของกล้ามเนื้ออย่างถาวร เช่น ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง แขนขาอ่อนแรง เดินเขย่งปลายเท้า โดยอาการที่พบในเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันไปตามระดับความเสียหายในสมอง แม้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตและช่วยให้เด็กสามารถเจริญเติบโตและมีพัฒนาการใกล้เคียงปกติได้มากที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] Cerebral palsy คือ อะไร ภาวะสมองพิการ หรือ Cerebral palsy คือ กลุ่มอาการผิดปกติในระบบประสาทที่เกิดขึ้นบริเวณส่วนสั่งการของเปลือกสมองซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ความผิดปกตินี้เกิดขึ้นในช่วงที่เปลือกสมองยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้เปลือกสมองเสียหายและส่งผลกระทบต่อความสามารถของสมองในการควบคุมการเคลื่อนไหวและความสมดุลของร่างกายอย่างถาวร ความเสียหายของสมองอาจเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ระหว่างคลอด หรือภายใน 1-2 ปีแรกหลังคลอด ทั้งนี้ อาการของภาวะสมองพิการจะไม่ปรากฏตั้งแต่แรกเกิด แต่จะค่อย ๆ แสดงให้เห็นในช่วงเป็นเด็กทารกหรือเด็กก่อนวัยเรียน ส่วนใหญ่แล้ว ขอบเขตความเสียหายภายในสมองของเด็กที่มีภาวะนี้จะไม่เพิ่มขึ้นตามอายุ แต่อาการของโรคอาจเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีอาการชัดเจนขึ้น มีอาการน้อยลง สาเหตุของ Cerebral palsy คืออะไร โดยทั่วไปแล้ว สาเหตุของภาวะสมองพิการ หรือ Cerebral palsy คือ ความผิดปกติของพัฒนาการสมอง หรือสมองได้รับความเสียหายขณะที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ซึ่งมักเกิดขึ้นขณะทารกยังอยู่ในครรภ์ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นหลังคลอด หรือในวัยทารกตอนต้นได้เช่นกัน ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะสมองพิการ อาจมีดังนี้ […]


สุขภาพเด็ก

อาการลองโควิดในเด็ก สาเหตุและวิธีรักษาที่เหมาะสม

อาการลองโควิดในเด็ก (Long Covid) เป็นภาวะที่เด็กซึ่งหายจากโรคโควิด-19 แล้วยังมีอาการของโรคโควิด 19 อยู่หรือมีอาการใหม่ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การรักษาทำได้ด้วยการรักษาตามอาการ โดยทั่วไป อาการลองโควิดจะดีขึ้นภายใน 1-5 เดือน แม้ภาวะนี้จะไม่รุนแรง แต่ก็เป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังที่จำเป็นต้องติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง ทางที่ดีที่สุดคือ การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) หรือโรคโควิด 19 ตั้งแต่แรก ด้วยการให้เด็กฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้ครบ 2 เข็ม และไปฉีดเข็มกระตุ้นตามคำแนะนำของคุณหมอ พร้อมกับรักษาสุขอนามัยให้ดี เช่น ล้างมือบ่อย ๆ สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ [embed-health-tool-vaccination-tool] อาการลองโควิดในเด็ก เกิดจากอะไร ในขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าอาการลองโควิดในเด็กเกิดจากสาเหตุใด แต่พบว่าอาการนี้เกิดขึ้นบ่อยกับเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพบางประการ เช่น เด็กที่มีโรคอ้วน เด็กที่มีภาวะสุขภาพที่ทำให้ร่างกายจะอ่อนแอกว่าปกติ เช่น โรคหอบหืด โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) ทั้งนี้ เด็กที่มีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการเลยเมื่อเป็นโรคโควิด 19 ก็สามารถเกิดอาการลองโควิดได้เช่นกัน อาการลองโควิดในเด็ก เป็นอย่างไร อาการลองโควิดในเด็ก เป็นภาวะที่เด็กซึ่งหายจากโรคโควิด 19 คือไม่มีเชื้ออยู่ในร่างกายแล้ว ยังคงมีอาการของโรคหลงเหลืออยู่ หรือบางกรณีก็อาจเกิดอาการผิดปกติที่ไม่เคยเป็นตอนป่วยเป็นโรคโควิด 19 และมักไม่สามารถวินิจฉัยหาสาเหตุได้ ภาวะนี้มักพบในเด็กอายุตั้งแต่ 10 […]

โฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


โฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม