สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ สุขภาพเด็ก เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพเด็ก

ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

Autism spectrum disorder (ออทิสติก สเปกตรัม) คืออะไร

โรคออทิสติก สเปกตรัม หรือ Autism spectrum disorder คือ ภาวะที่เกี่ยวกับการพัฒนาของสมอง ที่มีผลต่อการเข้าสังคมและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมถึงอาจทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่ผิดปกติและมีปัญหาด้านการสื่อสาร โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่จะรักษาตามอาการที่เป็น ร่วมกับการบำบัดานการสื่อสาร โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่อาจจะรักษาตามอาการที่เป็น ร่วมกับการบำบัดในด้านต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก ทำให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองและเข้าสังคมได้เมื่อเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ [embed-health-tool-vaccination-tool] Autism spectrum disorder คือ อะไร ออทิสติก สเปกตรัม คือ โรคที่มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาของสมอง พบตั้งแต่ก่อนอายุ 3 ขวบ บางคนอาจมีอาการตั้งแต่ช่วงอายุก่อน 12 เดือน โรคนี้จะส่งผลให้เด็กมีปัญหาการเข้าสังคม การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและการสื่อสาร รวมทั้งส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น ทำกิจวัตรเดิม ๆ เป็นประจำทุกวัน ไม่ตอบสนองเมื่อถูกเรียกชื่อ ชอบอยู่คนเดียว จดจ่อเพียงแต่เรื่องที่ตนเองสนใจ (ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีความรุนแรงต่างกันไป) อย่างไรก็ตาม เด็กที่เป็นออทิสติก สเปกตรัม ยังคงสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ตามปกติ แต่อาจใช้ระยะเวลานานกว่าเด็กทั่วไปในการเรียนรู้ การฝึกฝนทักษะ เช่น เลือกเสื้อผ้าเอง การสวมเสื้อผ้าด้วยตัวเอง รับประทานอาหารเอง โดยคุณหมอและนักกิจกรรมบำบัดจะช่วยวางแผนโปรแกรมการฝึก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรให้ความร่วมมือตามคำแนะนำของคุณหมอ ปัจจัยเสี่ยงของ Autism […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ร้อนในที่เหงือก ในเด็ก อาการและวิธีดูแล

ร้อนในที่เหงือก ในเด็ก อาการและวิธีดูแล ร้อนในที่เหงือก คือภาวะที่มีแผลเปิดบริเวณเหงือก หรือบางครั้ง อาจแผลร้อนในที่บริเวณอื่นภายในช่องปากได้ เช่น กระพุ้งแก้ม เพดานอ่อน ริมฝีปาก แผลร้อนในมักมีลักษณะเป็นแผลขนาดเล็ก สีขาวและอาจบวมแดง ภาวะร้อนในที่เหงือกอาจเกิดจากการดื่มน้ำน้อย พันธุกรรม การติดเชื้อไวรัส การแพ้อาหารบางชนิด โรคประจำตัวบางอย่าง เป็นต้น ภาวะนี้สามารถเกิดได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่มักพบบ่อยในเด็ก โดยปกติแล้ว ภาวะร้อนในที่เหงือกสามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ และอาจบรรเทาได้ด้วยการใช้ยา เช่น ยาลดกรด ยาป้ายแผลในปาก ร่วมกับการดูแลตัวเองเบื้องต้น เช่น การดื่มน้ำเยอะ ๆ การงดรับประทานอาหารรสจัด พักผ่อนให้เพียงพอ รักษาสุขภาพช่องปาก แต่หากร้อนในที่เหงือกเรื้อรังและมีอาการนานเกิน 3 สัปดาห์ ควรพาเด็กไปพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม อาการของ ร้อนในที่เหงือก อาการที่เป็นสัญญาณว่าเด็กเป็นร้อนในที่เหงือก อาจมีดังนี้ มีแผลพุพองเล็ก ๆ บริเวณเหงือก ตรงกลางแผลเป็นสีขาว ขอบแผลเป็นสีแดง แผลมักมีขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร แต่บางครั้งก็อาจเป็นแผลลึกและกว้างได้ มีปัญหาในการเคี้ยวอาหารหรือแปรงฟัน รับประทานอาหารได้น้อยลง ในเด็กเล็กอาจมีน้ำลายยืด ไม่ยอมกลืนน้ำลาย หายใจทางปากบ่อยขึ้น […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เมื่อลูกเป็น อีสุกอีใส ควรดูแลอย่างไร

อีสุกอีใส เป็นโรคติดเชื้อไวรัสบริเวณผิวหนังที่พบสามารถพบได้ในคนทุกวัย แต่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก อาจทำให้เกิดผื่น บวมแดง มีตุ่มน้ำพองทั่วร่างกาย ทั้งใบหน้าและลำตัว และอาจมีอาการคันร่วมด้วย อาการคันมักรุนแรงและอาจทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายตัวเป็นอย่างมาก คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับลูก หากลูกมีไข้ เบื่ออาหาร และมีตุ่มน้ำเล็ก ๆ จำนวนมากขึ้นบนผิวหนัง อาจเป็นสัญญาณของโรคอีสุกอีใส ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเร่งด่วน และควรแยกตัวลูกให้ห่างจากเด็กคนอื่น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค อีสุกอีใส คืออะไร อีสุกอีใส (Chickenpox) คือ โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus) ซึ่งเป็นเชื้อที่แพร่กระจายได้ง่ายผ่านการสัมผัสเชื้อโดยตรงและการหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย ตุ่มน้ำพองที่เกิดจากการติดเชื้ออีสุกอีใสจะเริ่มขึ้นบนผิวหนังหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 10-21 วัน โดยระยะที่สามารถแพร่เชื้อได้ไวที่สุดอยู่ในช่วง 1-2 วันก่อนตุ่มน้ำจะขึ้นบนร่างกาย และจะหมดระยะแพร่เชื้อหลังจากที่แผลแห้งและตกสะเก็ดแล้ว เด็กที่สุขภาพดีมักจะมีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายจากอีสุกอีใสได้ภายใน 5-10 วัน แต่ในรายที่มีอาการรุนแรง ผื่นคันอาจลามไปทั่วร่างกาย หลังแผลแห้งและตกสะเก็ดอาจเกิดรอยโรคบริเวณลำคอ ดวงตา เนื้อเยื่อท่อปัสสาวะ ทวารหนัก ไปจนถึงบริเวณช่องคลอด อีสุกอีใส อันตรายหรือไม่ ส่วนใหญ่แล้ว อีสุกอีใสไม่เป็นอันตรายและสามารถหายได้เองภายในเวลาไม่กี่วัน อย่างไรก็ตาม เชื้อไวรัสที่ส่งผลให้เกิดอีสุกอีใสจะไม่ได้หายไปเลย แต่จะซ่อนตัวอยู่ในปมประสาท ผู้ที่เคยเป็นอีสุกอีใสจึงเสี่ยงเกิดโรคงูสวัด (Shingles) ซึ่งเกิดจากไวรัสชนิดเดียวกันได้ในอนาคต หากอยู่ในช่วงที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เชื้อที่ซ่อนตัวอยู่ตามปมประสาทใต้ผิวหนังจะแบ่งตัว เพิ่มจำนวน […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เด็กนอนกัดฟัน สามารถแก้ไขได้อย่างไรบ้าง

เด็กนอนกัดฟัน เป็นภาวะที่เด็กขบฟันกรามซี่บนเข้ากับซี่ล่างในขณะนอนหลับเป็นประจำ จนเกิดเสียงดัง และอาจทำให้ฟันสึกและมีอาการปวดฟันและกรามตามมาได้ เด็กอาจเริ่มนอนกัดฟันตั้งแต่ช่วงที่ฟันแท้เริ่มขึ้นหรือตอนอายุประมาณ 6 ขวบ คุณพ่อคุณแม่อาจได้ยินเสียงฟันกรามกระทบหรือขบกันเมื่อเด็กนอนหลับในเวลากลางคืน หรือสังเกตเห็นความผิดปกติของฟัน เช่น ฟันแตก ฟันบิ่น หากพบว่าการนอนกัดฟันส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือกังวลว่าฟันหรือสุขภาพช่องปากของเด็กจะมีปัญหา ควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ สาเหตุ และรับการรักษาที่เหมาะสม เด็กนอนกัดฟันเกิดจากอะไร สาเหตุที่ทำให้เด็กนอนกัดฟัน อาจมีดังนี้ ปัญหาสุขภาพฟัน การมีฟันขึ้นซ้อนเก ฟันห่าง ความสูงของฟันผิดปกติ รวมไปถึงการติดเครื่องมือจัดฟันภายในช่องปาก อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กนอนกัดฟันได้ ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยาในกลุ่มยาต้านเศร้าเอสเอสอาร์ไอ (Selective serotonin reuptake inhibitors หรือ SSRIs) ที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล เป็นต้น ยาในกลุ่มนี้จะไปปรับระดับสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งอาจส่งผลต่อพฤติกรรมในขณะนอนหลับได้ พันธุกรรม เด็กที่นอนกัดฟันอาจมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรม หากสมาชิกในครอบครัวมีประวัตินอนกัดฟัน ก็อาจทำให้เด็กมีอาการนี้ได้เช่นกัน ความเครียดในชีวิตประจำวัน เมื่อเครียดหรือวิตกกังวล ร่างกายจะหลั่งสารอะดรีนาลีนและคอร์ติซอลออกมามาก ส่งผลให้กล้ามเนื้อหดเกร็งโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจเป็นเหตุที่ทำให้เด็กนอนกัดฟันได้ ปัญหาด้านการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ภาวะต่อมอะดีนอยด์โต ภาวะหายใจทางปากขณะหลับ อาจส่งผลให้เด็กนอนกัดฟันได้ ปัญหาด้านสุขภาพร่างกายอื่น […]


โรคทางเดินหายใจในเด็ก

ไซนัสอักเสบในเด็ก อาการและการรักษา

ไซนัสอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อบริเวณโพรงอากาศข้างจมูกที่ทำหน้าที่ผลิตสารคัดหลั่งหรือน้ำมูกในบริเวณโพรงจมูก ทำให้มีอาการคัดจมูก หายใจไม่สะดวก ไอ และปวดศีรษะ หากปล่อยทิ้งไว้อาจลุกลามไปยังส่วนต่าง ๆ เช่น ดวงตา สมอง ไขสันหลัง และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตอาการเบื้องต้นของไซนัสอักเสบ และพาลูกเข้ารับการรักษาทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรง [embed-health-tool-vaccination-tool] ไซนัสอักเสบ คืออะไร ไซนัสอักเสบ คือ การอักเสบของเยื่อบุโพรงอากาศข้างจมูก มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) แบคทีเรียฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา (Haemophilus influenza) หรือเชื้อแบคทีเรียมอแรเซลลา (Moraxella Catarrhalis) หรืออาจเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ทำให้ร่างกายผลิตสารคัดหลั่งหรือน้ำมูกมากเกินไป และอุดตันภายในไซนัส นำไปสู่การติดเชื้อ และมีอาการต่าง ๆ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ เป็นไข้ หากปล่อยทิ้งไว้ อาจลุกลามไปยังบริเวณดวงตา สมอง และไขสันหลัง เพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญเสียการมองเห็น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และการติดเชื้ออย่างรุนแรงในกระดูก นอกจากนี้ เด็กที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น ไข้ละอองฟาง ไข้หวัด โรคผิดปกติของภูมิคุ้มกัน โรคหอบหืด รูปร่างจมูกผิดปกติ การบาดเจ็บที่จมูก […]


โรคทางเดินหายใจในเด็ก

RDS (กลุ่มอาการหายใจลำบาก) คืออะไร

RDS (Respiratory Distress Syndrome) คือ กลุ่มอาการหายใจลำบากที่พบได้บ่อยในทารกคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากปอดของทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ เช่น หายใจตื้น หายใจเร็ว แลกเปลี่ยนออกซิเจนไม่ได้ และอาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่รุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] RDS คือ อะไร RDS คือ กลุ่มอาการหายใจลำบากที่พบได้บ่อยในทารกคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากการที่ปอดของทารกยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ทำให้ทารกมีอาการหายใจผิดปกติ และเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคปอดเรื้อรัง ภาวะปอดรั่ว ถุงลมโป่งพอง เลือดออกในสมองหรือช่องปอด พัฒนาการล่าช้า ความบกพร่องทางสติปัญญา และสูญเสียการมองเห็น บางรายที่อาการรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ สาเหตุที่ทำให้เกิด RDS RDS เกิดจากการที่ปอดของทารกพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้มีสารลดแรงตึงผิวในปอดไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลต่อการขยายตัวของถุงลมเวลาหายใจ โดยปกติสารลดแรงตึงผิวนี้จะเริ่มสร้างเมื่อทารกในครรภ์อายุได้ 24-28 สัปดาห์ แต่หากทารกคลอดก่อนกำหนด ก็อาจทำให้สารลดแรงตึงผิวไม่เพียงพอ ทำให้ถุงลมพองตัวได้ยากขึ้น และส่งผลให้ทารกต้องหายใจแรงขึ้นเพื่อพยายามขยายถุงลมในปอด ทำให้ทารกหายใจเหนื่อย ทั้งยังส่งผลให้ทารกมีออกซิเจนในเลือดน้อย และมีการสะสมของคาร์บอนไซด์ในเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (Acidosis) และส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต อาการของ RDS อาการของ RDS มีดังนี้ มีปัญหาการหายใจผิดปกติ เช่น หายใจเร็ว […]


วัคซีน

Vaccine ที่ควรได้รับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่

วัคซีน (Vaccine) เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยเฉพาะในทารกแรกเกิดที่ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงพอที่จะต้านเชื้อโรคบางชนิดได้ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไวรัสตับอักเสบบี คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ดังนั้น การฉีดวัคซีนจึงเป็นสิ่งที่จะช่วยป้องกันความรุนแรงของโรค ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรคระยะยาวได้ดียิ่งขึ้น ความสำคัญของการฉีด Vaccine วัคซีนมีความสำคัญต่อร่างกายของเด็กแรกเกิดไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติต่อโรคก่อนที่จะป่วย โดยการฉีดสารชนิดหนึ่งเข้าไปในร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ ขึ้น โดยวัคซีนแต่ละตัวอาจทำหน้าที่ในการป้องกันโรคที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น การฉีดวัคซีนที่จำเป็นเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่แรกเกิดและฉีดวัคซีนกระตุ้นตามกำหนดอยู่เสมอ จึงส่งผลดีต่อการสร้างระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต้านการติดเชื้อ ป้องกันอาการป่วยรุนแรงและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้ โดยสามารถแบ่งวัคซีนออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ วัคซีนก่อโรคทั้งตัว คือ การนำเชื้อโรคที่ตายแล้วหรือทำให้เชื้อโรคอ่อนแอลงเพื่อไม่ให้เกิดโรคมาทำเป็นวัคซีน โดยให้เชื้อโรคทั้งหมดกระตุ้นการสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเพื่อป้องกันโรคแต่ละชนิด เช่น วัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน วัคซีนตับอักเสบ เอ และบี วัคซีนที่ทำจากส่วนหนึ่งของเชื้อ คือ การนำเพียงส่วนประกอบบางส่วนหรือแอนติเจนของเชื้อโรคที่สามารถกระตุ้นการสร้างระบบภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุดมาทำเป็นวัคซีน แต่วัคซีนประเภทนี้อาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคในระยะสั้นกว่า เช่น วัคซีนป้องกันโรคไอกรน วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อฮิบ วัคซีนคอนจูเกต วัคซีนกรดนิวคลีอิก คือ การนำสารพันธุกรรมของเชื้อโรคมาทำเป็นวัคซีนเพื่อกระตุ้นการสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย อาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคในระยะยาวได้ เช่น วัคซีน mRNA […]


วัคซีน

ฉีดวัคซีน และการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สำคัญต่อสุขภาพอย่างไร

ฉีดวัคซีน เป็นการฉีดแอนติเจน (Antigen) หรือสารก่อภูมิต้านทาน เข้าไปในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย โดยวัคซีนจะช่วยป้องกันและลดโอกาสอาการเจ็บป่วยที่รุนแรง ทั้งนี้ ก่อนได้รับการฉีดวัคซีนชนิดใดก็ตาม ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้วัคซีนที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว [embed-health-tool-vaccination-tool] ฉีดวัคซีน ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันอย่างไร การฉีดวัคซีน เป็นวิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคเพื่อลดความเสี่ยงจากอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงจากโรค ด้วยการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคต่าง ๆ ก่อนร่างกายจะเผชิญกับเชื้อนั้นจริง ๆ เมื่อถูกฉีดวัคซีนเข้าร่างกาย แอนติเจนในวัคซีน จะไปกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันสร้างโปรตีนแอนติบอดี (Antibody) ขึ้นมา เพื่อจดจำและต่อสู้กับเชื้อชนิดนั้น ๆ และเมื่อพบเชื้อชนิดเดิมในภายหลัง ร่างกายจะรีบกำจัดเชื้อนั้น ก่อนที่เชื้อจะทำให้เกิดโรค โอกาสเจ็บป่วยจากเชื้อชนิดนั้นจึงลดลง ร่างกายไม่เป็นพาหะของโรค และเป็นการตัดวงจรระบาดของเชื้อไปด้วยในขณะเดียวกัน ทั้งนี้ นอกจากสารก่อภูมิต้านทานแล้ว วัคซีน 1 เข็มยังประกอบด้วย สารเสริมภูมิคุ้มกัน (Adjuvants) หรือสารกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้ตอบสนองต่อวัคซีนได้ดียิ่งขึ้น สารลดแรงตึงผิว (Surfactant) เหรือสารซึ่งช่วยให้สารต่าง ๆ ในวัคซีนยังคงรวมกันเป็นเนื้อเดียวกัน และไม่จับตัวเป็นก้อน สารกันเสีย (Preservatives) คือสารป้องกันวัคซีนหมดอายุ เสื่อมคุณภาพ หรือปนเปื้อน โดยสารกันเสียซึ่งนิยมใช้กันคือ พีน็อกซี่เอทานอล (Phenoxyethanol) สารทำให้คงตัว (Stabilizers) เช่น น้ำตาล […]


วัคซีน

6 เหตุผลทำไมบางคนไม่เข้ารับการ ฉีดยาวัคซีน

ฉีดยาวัคซีน เป็นวิธีป้องกันโรค หรือลดความเสี่ยงอาการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง โดยการฉีดสารก่อภูมิคุ้มกันเข้าสู่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดภูมิต้านทานต่อโรคต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดอาการป่วยหนักจนถึงขั้นเสียชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่มีการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้สำคัญมาก อย่างไรก็ตาม ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้ารับการฉีดวัคซีน เพราะอาจกังวลต่อฤทธิ์ของตัวยาวัคซีนที่ผ่านการทดลองมาไม่นาน ผลข้างเคียงที่อาจตามมา รวมถึงความเชื่อส่วนบุคคล เหตุผลของผู้ที่ไม่รับการ ฉีดยาวัคซีน การฉีดวัคซีน มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ที่มีการรณรงค์ให้เข้ารับการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่เลือกไม่ฉีดยาวัคซีน ส่วนใหญ่เกิดจากเหตุผลต่อไปนี้ กังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีน โดยส่วนใหญ่แล้วหลังฉีดวัคซีน มักเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายโดยเฉพาะปวดบริเวณที่ฉีด ซึ่งทำให้บางคนอาจกังวลและกลัวจนไม่กล้าไปฉีดวัคซีนในกรณีของวัคซีนโควิด-19 ผลข้างเคียงที่พบบ่อยประกอบด้วย แขนบวม ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ ไข้ขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงมักเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น อาจใช้เวลาประมาณ 1-2 วันผลข้างเคียงต่าง ๆ จะหายไป อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่เข้ารับการฉีดวัคซีน อาจกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงระยะยาว ซึ่งยังไม่ได้รับการศึกษาเพียงพอ ไม่เชื่อถือประสิทธิภาพของยาวัคซีน โดยหลักการแล้ว ยาวัคซีนไม่สามารถป้องกันโรคได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่หากติดเชื้อ วัคซีนจะช่วยลดความเสี่ยงอาการป่วยขั้นรุนแรง หรือเสียชีวิตได้ แต่ยังมีผู้ที่เข้าใจผิดเมื่อทราบว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้ว ยังคงป่วยด้วยโรคของวัคซีนซึ่งได้รับมา จึงเข้าใจว่าวัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ และเลือกไม่เข้ารับการฉีดยาวัคซีน นอกจากนี้ เนื่องจากโรคโควิด-19 เป็นโรคระบาดที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน และการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 […]


วัคซีน

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับตารางการฉีดวัคซีนเด็ก

วัคซีนเด็ก ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไอกรน โปลิโอ อีกทั้งยังอาจช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อไปสู่คนใกล้ชิดได้อีกด้วย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาตารางการฉีดวัคซีนเด็ก และบันทึกการฉีดวัคซีนในแต่ละครั้งเอาไว้ เพื่อป้องกันการลืมและช่วยแจ้งเตือนกำหนดการฉีดวัคซีนในครั้งถัดไป ทำให้ไม่พลาดกำหนดการฉีดวัคซีนที่สำคัญของเด็ก [embed-health-tool-vaccination-tool] วัคซีนเด็ก ทำไมถึงควรฉีดตามตารางการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนเด็กตามตารางการฉีดวัคซีน ช่วยทำให้ร่างกายของเด็กสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่แรกเกิด เพื่อป้องกันการติดเชื้อก่อโรค เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และสิ่งแปลกปลอมที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอีกทั้งยังช่วยลดการแพร่กระจายของโรคไปสู่คนรอบข้างที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนได้ นอกจากนี้ ผู้ปกครองควรศึกษาตารางการฉีดวัคซีนเด็กเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนแต่ละชนิด เพื่อช่วยให้สามารถวางแผนล่วงหน้าก่อนพาเด็กไปฉีดวัคซีนได้ จะได้ไม่ฉุกละหุก หรือพลาดการรับวัคซีนไป โดยอาจใช้การจดบันทึกประวัติการเข้ารับการฉีดวัคซีนที่ระบุ วัน เวลา และสถานที่รับวัคซีน หรือใช้เครื่องมือช่วยเตือนความจำอย่าง ตารางการฉีดวัคซีนของลูก ในเว็บไซต์ Hello คุณหมอ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ผู้ปกครองพาเด็กเข้ารับการฉีดวัคซีนอย่างเหมาะสมตามช่วงอายุ และทำให้ติดตามการนัดหมายถัดไปของคุณหมอได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังใช้ได้ฟรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ วิธีการใช้เครื่องมือตารางเวลาการฉีดวัคซีน วิธีการใช้เครื่องมือจัดตารางการฉีดวัคซีนของ Hello คุณหมอ มีดังนี้ เข้าไปที่เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพบนเว็บไซต์ Hello คุณหมอ จากนั้นกดเลือก ตารางการฉีดวัคซีนของลูก ป้อนข้อมูลของลูก เช่น เพศ วันเดือนปีเกิด ชื่อเล่น และกดดูตาราง เพื่อตรวจสอบรายการวัคซีนที่เด็กควรได้รับตามช่วงอายุ เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามตารางการฉีดวัคซีนเด็ก คุณพ่อคุณแม่อาจสร้างบัญชีสำหรับ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน