สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ สุขภาพเด็ก เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพเด็ก

โรคผิวหนังในเด็ก

ลักษณะผื่นแพ้อาหาร ทารก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกต

ลักษณะผื่นแพ้อาหาร ทารก เป็นการแพ้ที่อาจทำให้ทารกมีอาการผื่นแดง ลมพิษ คัน หายใจติดขัด คันคอและปาก มีอาการบวมที่ปาก ลิ้น และลำคอ ร้องไห้งอแงมากกว่าปกติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการนอนหลับของทารก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตอาการของทารกหลังรับประทานอาหารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้ป้องกันอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การแพ้อาหารของทารก คืออะไร การแพ้อาหาร (Food Allergy) เป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่เกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารบางชนิด เช่น นม ไข่ แป้งสาลี ถั่ว ถั่วเหลือง อาหารทะเล เช่น ปลา กุ้ง ปลาหมึก แม้จะรับประทานอาหารดังกล่าวเข้าไปได้ไม่นานและในปริมาณเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะทารกที่ระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่สมบูรณ์จึงอาจทำให้เกิดอาการแพ้อาหารง่ายกว่าปกติ ซึ่งทารกบางคนอาจแพ้สารอาหารที่ผ่านมาทางนมแม่ได้เช่นกัน โดยระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของทารกจะทำปฏิกิริยากับอาหารบางชนิด ส่งผลให้ฮีสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและสะสมอยู่ในเซลล์ของร่างกายทุกส่วน ถูกปล่อยออกมาเมื่อร่างกายเกิดอาการแพ้ จนทำให้เกิดลักษณะผื่นแพ้อาหาร ทารกเกิดขึ้น ลักษณะผื่นแพ้อาหาร ทารก ลักษณะผื่นแพ้อาหาร ทารก อาจมีอาการตั้งแต่รุนแรงน้อยไปจนถึงรุนแรงปานกลาง ดังนี้ คันบริเวณคอและปาก คันตา น้ำตาไหล อาการบวมที่ริมฝีปาก ตา ลิ้น ใบหน้า หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย อาการลมพิษ […]


สุขภาพเด็ก

พัฒนาการเด็ก คืออะไร คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการอย่างไร

พัฒนาการเด็ก เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยจะเริ่มตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งการส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เหมาะสมตามช่วงวัยมีความสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของเด็กในทุก ๆ ด้าน รวมถึงอาจช่วยให้เด็กสามารถเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ และสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น การเข้าใจถึงพัฒนาการเด็กจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของเด็กได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการเด็ก คืออะไร พัฒนาการเด็ก คือ การเปลี่ยนแปลงของเด็กทั้งทางร่างกาย ภาษา ความคิด และอารมณ์ โดยจะเริ่มตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งในกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและการส่งเสริมทักษะในด้านต่าง ๆ จากคุณพ่อคุณแม่ บุคคลรอบข้าง และสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้และมีพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเหมาะสมตามวัย คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างไร คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีในทุกช่วงวัยอย่างเหมาะสม โดยพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ที่ควรส่งเสริมให้แก่เด็ก มีดังนี้ พัฒนาการในด้านความรู้ความเข้าใจ ส่งเสริมการเรียนรู้ และการแก้ปัญหา พัฒนาการในด้านคำพูดและภาษา ส่งเสริมการใช้ภาษา การอ่าน และการสื่อสาร พัฒนาการในด้านทักษะทางกายภาพ ส่งเสริมทักษะทางร่างกายทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น ขยับนิ้ว หยิบจับสิ่งของ เดิน วิ่ง คลาน พัฒนาการในด้านการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการควบคุมอารมณ์ ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและควบคุมอารมณ์ของตนเอง พัฒนาการในด้านการรับรู้ทางประสาทสัมผัส ส่งเสริมประสาทสัมผัสและการรับรู้สิ่งต่าง ๆ เช่น การแยกแยะพื้นผิวขรุขระและเรียบ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกตัวร้อน ไข้ไม่ลด ควรรับมืออย่างไรบ้าง

ลูกไม่สบายหรือมีไข้อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียบางชนิด หากพบว่า ลูกตัวร้อน ไข้ไม่ลด ควรดูแลเบื้องต้นที่บ้านด้วยการเช็ดตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย ดื่มน้ำและพักผ่อนให้มาก ๆ หรือบางรายอาจต้องใช้ยาลดไข้ตามคำสั่งแพทย์ วิธีเหล่านี้มักช่วยให้ลูกหายไข้ได้ภายใน 5-7 วัน แต่หากมีอาการต่อเนื่องหรืออาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบคุณหมอทันที [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นไข้ โดยทั่วไป อุณหภูมิของเด็กเล็กและเด็กโตจะอยู่ที่ประมาณ 36.4 องศาเซลเซียส หากพบว่าลูกมีอุณหภูมิร่างกายเกิน 38 องศาเซลเซียส สัมผัสหน้าผากหรือแผ่นหลังแล้วรู้สึกว่าลูกตัวร้อนผ่าว มีเหงื่อออกเยอะ ดูเซื่องซึมกว่าปกติ แสดงว่าลูกกำลังมีไข้ ซึ่งเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายต่อการติดเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะเพิ่มอุณหภูมิเพื่อทำให้เชื้อโรคที่ก่อให้เกิดการติดเชื้ออยู่รอดได้ยากขึ้น การดูแลเบื้องต้นที่เหมาะสม อาจทำให้อาการไข้ของลูกหายไปเองภายใน 3-4 วัน ภาวะที่อาจทำให้ลูกเป็นไข้ เช่น โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ (Respiratory tract infections หรือ RTI) เช่น โรคหวัด โรคปอดอักเสบ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย อาจทำให้เด็กมีไข้สูงหรือต่ำตามชนิดของเชื้อ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ โรคหูติดเชื้อในเด็ก เป็นโรคที่พบมากในเด็กทารกและเด็กเล็ก เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในหู อาจทำให้เกิดอาการไข้ร่วมด้วย โรคส่าไข้หรือหัดกุหลาบ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

5 โรคในเด็ก ที่พบบ่อย วิธีการรักษาและการป้องกัน

โรคในเด็ก ที่พบได้บ่อยอาจมีหลายโรค ไม่ว่าจะเป็น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคอีสุกอีใส โรคปอดอักเสบ ที่อาจส่งผลให้เด็ก ๆ เจ็บป่วย และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ โรคในเด็ก เพื่อคอยสังเกตอาการผิดปกติและพาเด็ก ๆ เข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ป้องกันไม่ให้เกิดอาการรุนแรงที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตของเด็ก [embed-health-tool-vaccination-tool] 5 โรคในเด็ก ที่พบบ่อย โรคในเด็ก ที่พบได้บ่อย มีดังนี้ 1. โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัดใหญ่ มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส 3 ชนิด คือ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A และ B ที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยและแพร่ระบาดอย่างกว้างขวาง และไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด C ที่อาจไม่แสดงอาการหรือมีอาการไม่รุนแรง และไม่แพร่ระบาด เด็ก ๆ อาจได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ผ่านการไอ การจาม หรือการสัมผัสกับสิ่งรอบตัวที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคจากละอองสารคัดหลั่ง เช่น ลูกบิดประตู ของเล่น ปากกา ดินสอ หลังจากได้รับเชื้ออาจเริ่มมีอาการภายในประมาณ 5-7 วัน โดยสังเกตอาการของไข้หวัดใหญ่ในเด็ก ได้ดังนี้ มีไข้สูงกว่า 39.4-40.5 องศาเซลเซียส มีอาการจามและไออย่างรุนแรง เจ็บคอ น้ำมูกไหลและคัดจมูก […]


สุขภาพเด็ก

ยาแก้ไอเด็ก มีกี่ประเภท และวิธีการป้องกันอาการไอ

อาการไอของเด็กอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ โรคหอบหืด การแพ้ ไซนัสอักเสบ โรคกรดไหลย้อน ซึ่งสามารถรักษาและบรรเทาอาการได้ด้วย ยาแก้ไอเด็ก ที่ออกฤทธิ์ช่วยละลายเสมหะ แก้คัดจมูก แก้แพ้ ระงับอาการไอ แก้ปวด และลดไข้ ซึ่งจะช่วยให้เด็กไอน้อยลง ช่วยให้ชุ่มคอ และหายใจได้สะดวกขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุอาการไอของเด็ก อาการไอของเด็กอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ มลพิษทางอากาศ เช่น ควันบุหรี่ ควันรถยนต์ ฝุ่น ที่อาจทำให้ระบบทางเดินหายใจเกิดความระคายเคืองจนทำให้เด็กไอ การติดเชื้อ เช่น หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคซาง เป็นการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจ ทำให้เด็กมีอาการไอเรื้อรัง โดยอาจมีความรุนแรงในระดับน้อยไปจนถึงปานกลาง โรคหอบหืด เป็นสาเหตุของอาการไอที่พบบ่อยในเด็ก ทำให้เด็กมีอาการไอเรื้อรัง หายใจมีเสียงหวีด และอาการอาจรุนแรงมากขึ้นในตอนกลางคืน ไซนัสอักเสบหรืออาการแพ้ อาจเกิดจากการกระตุ้นของสารก่อภูมิแพ้ ทำให้เด็กมีผื่นขึ้น เจ็บคอ น้ำตาไหล น้ำมูกไหล คันคอ และไอเรื้อรัง กรดไหลย้อน เกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหาร ทำให้เด็กมีอาการแสบหน้าอก มีเสมหะ ไอหรืออาเจียน ประเภทของ ยาแก้ไอเด็ก ยาแก้ไอเด็ก ที่อาจช่วยบรรเทาอาการไอที่เกิดขึ้น มีดังนี้ ยาแก้คัดจมูก […]


วัคซีน

ลูก 2 เดือน ฉีดวัคซีน เป็นไข้ ควรดูแลอย่างไรบ้าง

หลังลูกอายุ 2 เดือนฉีดวัคซีน ระบบภูมิคุ้มกันของลูกจะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อวัคซีน จนอาจทำให้ลูกมีไข้ต่ำ ๆ หรืออาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ผิวหนังบริเวณที่ฉีดวัคซีนบวมแดงร่วมด้วย อาการเหล่านี้อาจส่งผลให้ลูกรู้สึกไม่สบายตัวและงอแง แต่ก็มักหายได้เองภายใน 1-3 วัน อย่างไรก็ตาม หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่า ลูก 2 เดือน ฉีด วัคซีน เป็น ไข้ สามารถบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ด้วยการเช็ดตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย และให้ลูกกินน้ำนมเยอะ ๆ แต่หากดูแลเบื้องต้นแล้วไข้ยังไม่ลดลงหรือลูกมีอาการแย่ลง ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูก 2 เดือน ฉีด วัคซีน เป็น ไข้  เกิดจากอะไร เมื่อลูกได้รับวัคซีนตามวัยครบตามที่คุณหมอแนะนำ อาจช่วยลดความเสี่ยงโรคร้ายแรงได้หลายชนิด เช่น โรคคอตีบ โรคหัด โรคบาดทะยัก โรคไอกรน คุณพ่อคุณแม่จึงควรพาลูกไปฉีดวัคซีนตามกำหนดทุกครั้งเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากพาลูกไปฉีดวัคซีนแล้วลูกเป็นไข้ ส่วนใหญ่เป็นสัญญาณว่าระบบภูมิคุ้มกันกำลังต่อต้านเชื้อแปลกปลอมที่เข้าไปในระบบร่างกาย ทำให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง และผลให้เด็กมีอาการไข้ขึ้น เซึ่องซึม ไม่สบายตัว ซึ่งอาการมักหายไปได้เองภายในเวลาไม่กี่วัน หลังฉีดวัคซีน เซลล์ภูมิกันจะคุ้นเคยกับเชื้อก่อโรคนั้น ๆ หากร่างกายได้รับเชื้อชนิดนั้นอีกในอนาคต ระบบภูมิคุ้มกันจะสามารถต่อสู้กับเชื้อได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อนั้น ๆ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยของเด็กวัยเรียน ที่พ่อแม่ควรระวัง

ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยของเด็กวัยเรียน เป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญา เพราะเมื่อเกิดปัญหาสุขภาพ ร่างกายของเด็กก็จะอ่อนแอ เกิดความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย จนไม่สามารถเรียนหรือออกไปวิ่งเล่นได้ตามปกติ รวมถึงอาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ จนทำให้เด็กเกิดความรู้สึกเศร้าและโดดเดี่ยว ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยของเด็กวัยเรียน มีอะไรบ้าง ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยของเด็กวัยเรียน อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัส ซึ่งติดต่อจากคนสู่คน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรทราบถึงสาเหตุของการเกิดโรคและวิธีรับมือเมื่อลูกเกิดความเจ็บป่วย ดังนี้ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเป็นส่วนใหญ่ แต่อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้เช่นกัน พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน สามารถแพร่กระจายได้จากการไอหรือจาม ซึ่งมักทำให้เด็กมีอาการมีไข้ หนาวสั่น คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ คอบวมแดง ไอ จาม ปวดเมื่อยตามตัว เหนื่อยล้า เบื่ออาหาร และปวดท้อง การรักษา โดยทั่วไปสามารถทำได้ด้วยการให้เด็กนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ และกินยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการ เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) พาราเซตามอล ยาแก้เจ็บคอ ยาฆ่าเชื้อ โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อปรสิต จากการเป็นหวัดหรือมีอาการในระบบทางเดินหายใจนำมาก่อน รวมถึงการรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อก่อโรค จนทำให้กระเพาะและลำไส้อักเสบ […]


ปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็ก

เด็กท้องผูก เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างไร

เด็กท้องผูก มักทำให้เด็กขับถ่ายยาก เจ็บปวดเมื่อขับถ่าย มีเลือดออก หรือปวดท้องมาก ซึ่งอาการท้องผูกมักเกิดขึ้นเมื่อลำไส้เคลื่อนไหวน้อยลง จนทำให้อุจจาระแห้งและแข็ง ซึ่งปัญหาเด็กท้องผูกเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและสามารถป้องกันได้ การฝึกฝนให้เด็กขับถ่ายเป็นเวลา รับประทานอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย และการดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด อาจช่วยบรรเทาและป้องกันปัญหาเด็กท้องผูก คำจำกัดความ เด็กท้องผูก คืออะไร เด็กท้องผูกเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก เนื่องจากเด็กอาจรับประทานอาหารที่มีเกากใยน้อย ไม่ได้รับการฝึกในการเข้าห้องน้ำให้เป็นเวลา สถานที่ในการขับถ่ายแปลกออกไปจนอาจทำให้เด็กไม่กล้าขับถ่าย หรืออาจเกิดจากปัญหาอื่น ๆ เช่น รู้สึกเจ็บปวดขณะขับถ่าย มีเลือดออกขณะขับถ่าย พันธุกรรม แพ้นมวัว เมื่อสาเหตุเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งหรือเป็นเวลานาน อาจทำให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวน้อย ลำไส้ใหญ่ดูดน้ำกลับจากอุจจาระมากขึ้นจนทำให้อุจจาระแข็งและแห้ง ส่งผลให้เด็กขับถ่ายยากและมีอาการท้องผูกได้ อาการ อาการของเด็กท้องผูก อาการของเด็กท้องผูกที่อาจพบได้บ่อย มีดังนี้ อุจจาระแข็ง และรู้สึกเจ็บปวดเมื่อขับถ่าย อุจจาระก้อนใหญ่มาก ไม่ขับถ่ายเป็นเวลาหลายวัน หรือน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ มีเลือดออกขณะขับถ่าย ปวดท้องมาก เป็นตะคริว และมีอาการคลื่นไส้ อาจมีคราบของอุจจาระเหลวที่ไหลออกมาติดในกางเกงในของเด็ก ซึ่งเป็นสัญญาณว่ามีอุจจาระอยู่มากในทวารหนัก ควรเข้าพบคุณหมอหากพบว่าเด็กท้องผูกเป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ พร้อมกับอาการอื่น ๆ เช่น มีไข้ ไม่อยากอาหาร ท้องบวม น้ำหนักลดลง สาเหตุ สาเหตุของเด็กท้องผูก อาการท้องผูกในเด็กมักเกิดขึ้นเมื่อลำไส้มีการเคลื่อนไหวน้อยลง ทำให้อุจจาระตกค้างในลำไส้เป็นเวลานาน ถูกดูดน้ำกลับเข้าร่างกายจนอุจจาระแห้งและแข็งส่งผลให้เด็กท้องผูกในที่สุด ซึ่งปัญหานี้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การรับประทานอาหาร […]


สุขภาพเด็ก

MIS C หรือ ภาวะอักเสบในเด็กหลังหายจากโรคโควิด-19 เป็นอย่างไร

ภาวะมิสซี หรือ MIS C เป็นภาวะแทรกซ้อนหลังจากหายจากโรคโควิด-19 ที่พบในเด็กและวัยรุ่น เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายตอบสนองมากผิดปกติ ทำให้เกิดภาวะอักเสบตามอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย ส่งผลให้เด็กมีไข้ ตาแดง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง เป็นต้น แม้ภาวะมิสซีจะพบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตสภาวะสุขภาพของเด็กหลังหายจากโรคโควิด-19  หากพบว่ามีอาการดังกล่าว ควรพาเด็กไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด MIS C คืออะไร MIS C ย่อมาจากคำว่า Multisystem Inflammatory Syndrome in Children หรือเรียกว่า ภาวะมิสซี คือ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก มักพบบริเวณอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น ดวงตา หัวใจ ปอด หลอดเลือด ไต อวัยวะในระบบย่อยอาหาร สมอง ผิวหนัง ภาวะนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่พบหลังเด็กหายจากโรคโควิด-19 เกิดจากระบบภูมิคุุ้มกันทำงานมากเกินไปเพื่อต่อต้านไวรัสแปลกปลอมที่เข้าสู่ในร่างกาย มักเกิดขึ้นในช่วงใกล้หายจากโควิด-19 หรืออาจเกิดในช่วง 2-6 สัปดาห์หลังติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มเสี่ยงของภาวะมิสซี ภาวะมิสซี มักเกิดขึ้นกับเด็กที่เพิ่งหายจากโรคโควิด-19 โดยเฉพาะเด็กอายุ 8-9 […]


สุขภาพเด็ก

เด็กปวดฟัน สาเหตุ การรักษาและการป้องกัน

เด็กปวดฟัน เป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็กเล็ก เนื่องจากเด็กอาจยังไม่รู้ถึงวิธีการดูแลรักษาสุขอนามัยในช่องปากอย่างเหมาะสม จนทำให้เกิดปัญหาทันตกรรมต่าง ๆ เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ ฟันแตก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการปวดฟัน ดังนั้น การดูแลสุขภาพช่องปากของลูกจึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญ เพื่อป้องกันอาการปวดฟันและปัญหาทันตกรรมอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เด็กปวดฟัน เกิดจากสาเหตุอะไร เด็กปวดฟัน ส่วนใหญ่อาจเกิดจากปัญหาฟันผุหรือปัญหาการบาดเจ็บของฟันอื่น ๆ ที่ทำให้เนื้อในฟันเกิดการอักเสบและติดเชื้อ ดังนี้ ฟันผุ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในเด็ก ซึ่งมักเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลในปริมาณมาก และการรักษาสุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดี จนทำให้แบคทีเรียในช่องปากทำลายเคลือบฟันไปจนถึงชั้นเนื้อฟัน เกิดเป็นโพรงขนาดใหญ่ อักเสบ และติดเชื้อ ส่งผลทำให้เด็กปวดฟันในที่สุด ฝีหนองที่รากฟัน (Dental Abscess) มีลักษณะเป็นตุ่มหนองที่เหงือกในบริเวณที่ฟันมีการติดเชื้อ อาจทำให้ปวดฟันและมีไข้ เคลือบฟันแตก เกิดจากการกัดของที่มีความแข็งมากจนทำให้ฟันแตกหัก เกิดการอักเสบ และไวต่อของร้อนหรือเย็น จนทำให้เด็กเกิดอาการปวดฟันขึ้น โรคเหงือก เป็นปัญหาเหงือกอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ส่งผลทำให้เหงือกบวมแดง มีเลือดออก และเจ็บปวดได้ อาหารติดฟัน อาหารที่เข้าไปติดระหว่างซอกฟันอาจทำให้เกิดอาการปวดฟันและติดเชื้อ ดังนั้น การหมั่นกำจัดเศษอาหารด้วยไหมขัดฟันอาจช่วยป้องกันได้ สัญญาณของปัญหาฟันผุและอาการของเด็กปวดฟัน สัญญาณของปัญหาฟันผุที่เกิดขึ้นในเด็กอาจสังเกตได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ เกิดแถบสีขาวขุ่นบนผิวฟันใกล้กับแนวเหงือก เกิดแถบสีเหลือง สีน้ำตาล หรือสีดำที่ผิวฟัน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน