สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ สุขภาพเด็ก เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพเด็ก

วัคซีน

ลูกฉีดวัคซีนแล้วเป็นไข้ ควรดูแลอย่างไร

บางครั้งหลังพาลูกไปฉีดวัคซีนตามกำหนด คุณพ่อคุณแม่อาจพบว่าลูกมีอาการไม่สบาย เช่น มีไข้ขึ้น เกิดผื่น หรือรอยแดงบริเวณที่ฉีดยา อ่อนเพลีย ซึ่งมักเป็นผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนที่ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพของเด็กและอาจเกิดขึ้นได้จากการรับประทานยารักษาโรคอื่น ๆ เช่นกัน หาก ลูกฉีดวัคซีนแล้วเป็นไข้ คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลเบื้องต้นได้ด้วยการเช็ดตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย ให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ  รับประทานยาลดไข้ เป็นต้น วิธีเหล่านี้อาจช่วยให้อาการไข้ของลูกหายไปได้เองภายในไม่กี่วัน แต่หากดูแลเบื้องต้นแล้วอาการไข้หรือผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนอื่น ๆ ยังไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอ [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกฉีดวัคซีนแล้วเป็นไข้ เกิดจากอะไร การฉีดวัคซีนจำเป็นสำหรับการสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยสร้างเกราะป้องกันโรคให้กับเด็ก ช่วยให้เด็กสามารถเติบโตอย่างแข็งแรงและพัฒนาการที่สมวัย คุณพ่อคุณแม่ควรพาเด็กไปฉีดวัคซีนพื้นฐานตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงอายุ 12 ปี ทั้งนี้ หลังฉีดวัคซีน เด็กอาจมีอาการไม่สบายอย่างมีไข้ อ่อนเพลีย ผิวหนังบริเวณที่ฉีดวัคซีนปวด บวม แดง ซึ่งมักไม่เป็นอันตรายและสามารถหายได้เองภายในเวลาไม่นาน สาเหตุที่ทำให้ลูกฉีดวัคซีนแล้วเป็นไข้ เนื่องจากในวัคซีนมีเชื้อไวรัสหรือเชื้อที่ทำให้เกิดโรคเป็นส่วนประกอบ เช่น เชื้อไวรัสตับอักเสบ เชื้อโปลิโอ เชื้อแบคทีเรียไอกรน ส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อที่ถูกทำให้หมดฤทธิ์และไม่มีประสิทธิภาพมากพอจะทำให้ติดเชื้อจนเกิดโรคจริง ๆ เมื่อวัคซีนที่มีเชื้อก่อโรคนี้ถูกฉีดเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันชนิดแอนตีบอดีต่อเชื้อดังกล่าว หากในอนาคตร่างกายได้รับเชื้อโรคชนิดที่เคยฉีดวัคซีนไปแล้ว ก็จะมีภูมิคุ้มกันและต่อต้านเชื้อโรคนั้น ๆ ได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคจากเชื้อดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลข้างเคียงจากวัคซีนที่พบได้ในเด็ก ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังเด็กได้รับวัคซีน อาจมีดังนี้ มีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย มีผื่นแดง ปวดข้อตามร่างกาย […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

SSSS หรือ โรค 4S คืออะไร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

โรค 4S หรือ SSSS (Staphylococcal Scalded Skin Syndrome) คือ โรคติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcal Aureas) ที่ผิวหนังอย่างรุนแรง ส่วนใหญ่พบในเด็กทารกและเด็กเล็ก แต่ก็อาจพบในผู้ใหญ่ที่มีภูมิต้านทานต่ำได้เช่นกัน อาการเริ่มต้นอาจพบว่าเด็กร้องไห้งอแง อ่อนเพลีย และมีไข้ ตามมาด้วยมีผื่นแดง จากนั้นไม่กี่วัน ผื่นแดงจะกลายเป็นตุ่มน้ำและที่หลุดลอกออกเป็นแผ่น ๆ เห็นผิวด้านล่างเป็นสีแดง อาจรุนแรงจนเกิดอาการช็อกได้ หากพบว่าเด็กมีอาการผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณของโรค 4s ดังที่กล่าวไปข้างต้น หรือมีอาการผิดปกติทางผิวหนังอื่น ๆ ควรรีบพาไปพบคุณหมอโดยเร็ว เพราะหากทิ้งไว้ไม่รักษา อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] SSSS คืออะไร โรค 4S หรือ SSSS (Staphylococcal scalded skin syndrome) คือ โรคติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcal aureas) ที่ผิวหนังอย่างรุนแรง มักพบในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี โดยเฉพาะเด็กทารก สแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียส เป็นเชื้อแบคทีเรียก่อโรคบนผิวหนังและเนื้อเยื่อ เมื่อแบคทีเรียชนิดนี้ปล่อยสารพิษเข้าสู่กระแสเลือด […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

เด็กไฮเปอร์ สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

เด็กไฮเปอร์ เป็นอาการที่มักได้รับการวินิจฉัยเมื่ออายุยังน้อย ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะสมาธิสั้น แต่ก็อาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความผิดปกติของระบบประสาท ความผิดปกติทางอารมณ์ ภาวะไทรอยด์ทำงานมากเกินไป เด็กในภาวะนี้มักมีอาการอยู่ไม่สุข อยู่นิ่งได้ไม่นาน ขยับแขนหรือขาไปมาตลอด หุนหันพลันแล่น สนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ไม่นาน ภาวะไฮเปอร์อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและคนรอบข้าง โดยเฉพาะที่บ้านและที่โรงเรียน ภาวะนี้สามารถรักษาให้หายได้ หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าเด็กมีพฤติกรรมผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณของภาวะไฮเปอร์ หรือสภาวะสุขภาพอื่น ๆ ควรพาเด็กไปพบคุณหมอแต่เนิ่น ๆ เด็กไฮเปอร์ เกิดจากอะไร เด็กไฮเปอร์ คือ เด็กที่มีภาวะอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity) หรือที่มักเรียกสั้น ๆ ว่า ไฮเปอร์ อาการที่เป็นสัญญาณของภาวะนี้ เช่น ซนมากกว่าปกติ ชอบปีนป่าย อยู่ไม่สุข ชอบขยับตัวไปมา เล่นรุนแรง ทำเสียงดัง พูดมาก ไม่ค่อยระมัดระวัง ชอบแกล้งเพื่อน ภาวะไฮเปอร์มักพบในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสมองที่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์ของเด็กกับคนรอบข้างทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน สาเหตุของอาการไฮเปอร์ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่อาจเกิดได้จากปัจจัยต่อไปนี้ โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder หรือ ADHD) เป็นความผิดปกติของพัฒนาการทางสมองที่มักพบในเด็ก แต่ก็สามารถวินิจฉัยพบตอนเป็นผู้ใหญ่ได้ โรคนี้ส่งผลกระทบต่อการแสดงความสนใจ ความสามารถในการนั่งนิ่ง […]


สุขภาพเด็ก

Sleep apnea หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

Sleep apnea หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นภาวะที่การหายใจหยุดลงชั่วขณะระหว่างการนอนหลับ สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย และอาจพบในเด็กได้ด้วย สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะนี้ในเด็กคือต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ (Adenoid) ขยายใหญ่ขึ้นและอุดตันทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการหายใจแผ่ว หยุดหายใจช่วงสั้น ๆ ขณะนอนหลับ มีอาการหายใจลำบากขณะนอนหลับ หรือปัสสาวะรดที่นอน เป็นต้น หากพบว่าเด็กมีอาการที่เข้าข่ายภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือมีปัญหาการหายใจที่ทำให้นอนไม่ได้ ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-bmi] Sleep apnea ในเด็ก คืออะไร ภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก เป็นความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากมีสิ่งกีดขวางในทางเดินหายใจ ทำให้เด็กหยุดหายใจชั่วขณะในระหว่างนอนหลับ มักพบในเด็กอายุระหว่าง 2-6 ปี ภาวะนี้ส่งผลให้เด็กนอนหลับไม่สนิท มีภาวะหลับ ๆ ตื่น ๆ เมื่อสมองรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของออกซิเจนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกาย สมองจะส่งสัญญาณไปยังปอดเพื่อพยายามหายใจเข้า ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นเพียงครู่เดียว จากนั้นเด็กก็จะกลับไปหลับต่อ และอาจตื่นขึ้นมาเรื่อย ๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น อ่อนเพลียง่วงนอนระหว่างวัน เนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอ ในบางรายที่เป็นรุนแรง อาจมีผลกระทบต่อการเรียน หรือมีภาวะซน สมาธิสั้นร่วมด้วยได้ สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก คือ ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ขยายใหญ่ขึ้นจนปิดกั้นทางเดินหายใจและขัดขวางการหายใจระหว่างการนอนหลับ ในช่วงกลางวัน กล้ามเนื้อบริเวณศีรษะและลำคอจะเปิดทางเดินหายใจได้ง่ายขึ้น ทำให้ไม่เป็นปัญหาในการหายใจตามปกติ แต่ในช่วงกลางคืน ความตึงตัวของกล้ามเนื้อจะน้อยลง ทำให้เนื้อเยื่อหดตัว ส่งผลให้ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์มีขนาดใหญ่ขึ้นและปิดกั้นทางเดินหายใจ จนส่งผลให้เด็กเกิดปัญหาการหายใจผิดปกติ สาเหตุอื่น […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

โรคเพรเดอร์-วิลลี (Prader-Willi Syndrome) สาเหตุ อาการ และการรักษา

โรคเพรเดอร์-วิลลี คือ โรคทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก ที่อาจส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม เช่น มีความอยากอาหารมากผิดปกติ มีพัฒนาการที่ล่าช้า ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อาจทำการบำบัดเพื่อช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] คำจัดกัดความ โรคเพรเดอร์-วิลลี คืออะไร โรคเพรเดอร์-วิลลี คือ โรคทางพันธุกรรมหายาก ที่อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ การเรียนรู้ การควบคุมอารมณ์ รวมถึงพฤติกรรม ที่อาจทำให้รู้สึกหิวอย่างต่อเนื่อง และอาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น โรคอ้วน โรคกระดูกพรุน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคตับ อาการ อาการของโรคเพรเดอร์-วิลลี อาการโรคเพรเดอร์-วิลลี อาจแตกต่างกันออกไปตามช่วงวัย โดยเริ่มตั้งแต่ทารกไปจนถึงผู้ใหญ่ ดังนี้ อาการของโรคเพรเดอร์-วิลลีในทารก กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถทรงตัวได้ ดวงตามีลักษณะเป็นวงรี คล้ายเมล็ดอัลมอนด์ ศีรษะ มือ และเท้ามีขนาดเล็ก ริมฝีปากบางและคว่ำลง รับประทานอาหารยาก ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า ตื่นยาก ร้องไห้เสียงเบา มีปัญหาการนอนหลับ ระบบสืบพันธุ์ไม่พัฒนา เช่น องคชาต ถุงอัณฑะ คลิตอริสมีขนาดเล็ก อาการของโรคเพรเดอร์-วิลลีในเด็กและผู้ใหญ่ มีความอยากอาหารอย่างต่อเนื่อง มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ล่าช้า มีความบกพร่องด้านการรับรู้ การแก้ไขปัญหา การใช้เหตุผล […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ไอมีเสมหะ ไม่มีไข้ ในเด็ก เกิดจากสาเหตุอะไร

ไอมีเสมหะ ไม่มีไข้ ในเด็ก มีสาเหตุจากอาการระคายเคืองในลำคอหรือการสูดดมสิ่งแปลกปลอมเข้าไป จนทำให้เกิดอาการสำลักและไอออกมา หรืออาจมีสาเหตุจากการติดเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจ ส่งผลให้ร่างกายขับเมือกหรือสารคัดหลั่งออกมามากขึ้น จนเกิดอาการไอมีเสมหะ โดยปกติอาการไอที่เกิดจากการติดเชื้อมักมีไข้ร่วมด้วย แต่ในบางกรณี อาการไออาจเกิดขึ้นเป็นเวลานานแม้ว่าไข้จะหายดีแล้ว จึงยังอาจทำให้เด็กไอมีเสมหะ แต่ไม่มีไข้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรพาเด็กเข้าพบคุณหมอหากอาการไอไม่ดีขึ้นหลังจากผ่านไปหลายสัปดาห์ [embed-health-tool-vaccination-tool] ไอมีเสมหะ ไม่มีไข้ เกิดจากอะไร ไอมีเสมหะ ไม่มีไข้ อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การระคายเคืองในลำคอหรือระบบทางเดินหายใจ สภาพแวดล้อมอาจมีสารระคายเคืองที่อาจทำให้เกิดอาการไอได้ เช่น ควัน ฝุ่นละออง มลภาวะในอากาศ ซึ่งอาจทำให้ระบบทางเดินหายใจระคายเคือง ส่งผลให้ร่างกายผลิตเสมหะที่มากขึ้น จนเกิดอาการไอมีเสมหะและระคายคอ การรักษา อาการไอมีเสมหะจากสาเหตุดังกล่าว คุณพ่อคุณแม่อาจล้างจมูกให้เด็กด้วยการใช้หลอดฉีดยาดูดน้ำเกลือและฉีดเข้าไปในจมูก เพื่อให้น้ำเกลือเข้าไปล้างสิ่งสกปรกรวมถึงเมือกในจมูก ซึ่งอาจช่วยให้เด็กหายใจโล่งขึ้นและบรรเทาอาการไอมีเสมหะได้ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในพื้นที่ที่มีความแออัด มีฝุ่นควันหรือมลภาวะทางอากาศ เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ เสมหะในคอ โดยปกติร่างกายจะผลิตเสมหะตามธรรมชาติ ซึ่งอาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค แต่ในบางกรณี หากร่างกายผลิตเมือกหลังโพรงไซนัสมากเกินไปอาจทำให้เมือกไหลลงไปด้านหลังคอ จนทำให้มีอาการระคายคอ ไอมีเสมหะ เจ็บคอ คลื่นไส้ หรือมีกลิ่นปากได้ การรักษา เพื่อช่วยบรรเทาอาการเสมหะในลำคออาจทำได้ด้วยการดื่มน้ำมากขึ้นประมาณ 2-3 ลิตร/วัน หรืออาจใช้เครื่องทำความชื้นภายในบ้านเพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นในลำคอ นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถล้างจมูกให้เด็ก ด้วยการใช้หลอดฉีดยาฉีดน้ำเกลือเข้าทางจมูก เพื่อล้างเมือกและสิ่งสกปรกภายในจมูก ซึ่งอาจช่วยลดปริมาณเสมหะและทำให้เด็กหายใจสบายขึ้น การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เป็นการติดเชื้อในส่วนต่าง […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ไข้แดด เด็ก อาการ สาเหตุ และการรักษา

อาการของ ไข้แดด เด็ก มักเกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่ร้อนจัด มีแดดจัด หรืออุณภูมิที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ซึ่งอาการของไข้แดดอาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่อาจพบได้บ่อยในเด็ก เนื่องจาก สภาพร่างกายของเด็กยังไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ทำให้ร่างกายสะสมความร้อนไว้ในร่างกาย ส่งผลให้อวัยวะภายในร้อนตาม จนอาจทำให้เด็กมีอาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว ตัวร้อน อ่อนเพลีย ปวดหัว กระหายน้ำ เหงื่อออกมากและผิวแดง [embed-health-tool-vaccination-tool] คำจำกัดความ อาการของ ไข้แดด เด็ก คืออะไร อาการของ ไข้แดด เด็ก คือ อาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว ตัวร้อน อ่อนเพลีย ปวดหัว กระหายน้ำ เหงื่อออกมากและผิวแดง ซึ่งเป็นอาการที่มักเกิดขึ้นในเด็ก เนื่องจาก ระบบประสาทส่วนกลางซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ จนอาจทำให้เด็กมีอาการไข้แดดได้ง่ายเมื่ออยู่ในสภาพอากาศร้อน มีแดดจัดหรืออยู่ในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก นอกจากนี้ เด็กเป็นช่วงวัยที่ต้องการออกไปเรียนรู้ เล่นสนุก และใช้พละกำลังในการขยับร่างกายมาก จึงอาจทำให้อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะหากต้องเล่นอยู่ในสภาพอากาศร้อนจัด มีแดดจัด ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการของไข้แดดได้เช่นกัน อาการ อาการของไข้แดด อาการของไข้แดดมักเกิดจากการสัมผัสกับความร้อนหรือแสงแดดจัดเป็นเวลานาน จนทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและขาดน้ำ โดยอาการที่พบได้บ่อย อาจมีดังนี้ รู้สึกกระหายน้ำมากขึ้น คลื่นไส้หรืออาเจียน อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ เป็นลม ปวดหัว หงุดหงิด […]


สุขภาพเด็ก

จักรยานเด็ก ประโยชน์ที่ช่วยพัฒนาความสมดุลร่างกาย

จักรยานเด็ก สามารถให้เด็กเริ่มฝึกได้ตั้งแต่อายุประมาณ 18 เดือนขึ้นไป เนื่องจากมีประโยชน์ต่อพัฒนาการทั้งทางร่างกาย สติปัญญาและสังคม ซึ่งช่วยฝึกทักษะการทรงตัว เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของร่างกาย ทั้งยังช่วยลดความเครียด ช่วยให้เด็กมีความสุขทางอารมณ์มากขึ้น และช่วยสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่นทั้งเพื่อนและคนในครอบครัว จักรยานเด็ก มีประโยชน์อย่างไร การให้เด็กเริ่มฝึกปั่นจักรยานอาจดีต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญาหลายด้าน ดังนี้ ช่วยปรับความสมดุลของร่างกาย เนื่องจากจักรยานเด็กช่วยฝึกการทรงตัวได้เป็นอย่างดี ทำให้เด็กเรียนรู้ทักษะการทรงตัวมากขึ้น ช่วยจัดการความเครียด เพราะการปั่นจักรยานจะช่วยให้เด็กได้ออกไปเรียนรู้โลกกว้างและอาจเพิ่มความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เด็กรู้สึกสนุกและมีความสุขทางอารมณ์มากขึ้น ช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ภายในครอบครัวมากขึ้น เพราะการปั่นจักรยานอาจเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกันภายในครอบครัวได้ นอกจากนี้ เด็กอาจได้เสริมทักษะทางสังคมมากขึ้นด้วยการร่วมปั่นจักรยานกับเพื่อน ๆ เป็นการออกกำลังกายที่ดีสำหรับเด็ก โดยเด็กควรออกกำลังกาย 60 นาที/วัน เพื่อช่วยเพิ่มการเผาผลาญ สร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ทั้งยังช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ช่วยให้เด็กกระตือรือร้นมากขึ้น การปั่นจักรยานเป็นกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กกระตือรือร้นและกระฉับกระเฉงมากขึ้น ทั้งยังช่วยลดการดูโทรทัศน์ เล่นเกมหรือเล่นโทรศัพท์มือถือที่อาจทำให้เด็กขี้เกียจและเสียสุขภาพได้ วิธีเลือกจักรยานเด็ก วิธีการเลือกจักรยานเด็กมีปัจจัยหลายอย่างในการเลือก เช่น ขนาดของล้อ ความสูง อย่างไรก็ตาม การเลือกจักรยานให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน อาจจำเป็นต้องลองใช้ด้วยตัวเอง และควรคำนึงถึงส่วนสูง ความยาวลำตัว และความยาวของขา เนื่องจากเด็กที่อายุเท่ากันอาจมีความยาวขาหรือส่วนสูงไม่เท่ากัน โดยการเลือกจักรยานอาจทำได้ดังนี้ เด็กอายุ 2-4 ปี ความสูงประมาณ 76-100 เซนติเมตร […]


สุขภาพเด็ก

ผลการประเมินสภาพทารกแรกเกิด หรือ Apgar score คืออะไร

Apgar score หรือ คะแนนแอปการ์ คือ ผลการประเมินสภาพร่างกายทารกแรกเกิด ที่ได้จากการทดสอบสุขภาพหลังคลอดของทารกในเบื้องต้น Apgar score แบ่งเป็นระดับคะแนนตั้งแต่ 1-10 หากทารกได้คะแนนต่ำกว่า 7 ถือว่ามีปัญหาสุขภาพที่อาจต้องได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติม เช่น การให้ออกซิเจนเพื่อช่วยในการหายใจ ทั้งนี้ คะแนนแอปการ์เป็นคะแนนที่ใช้ในการประเมินร่างกายเบื้องต้นเท่านั้น ไม่ได้เป็นเกณฑ์วัดสุขภาพของทารกในระยะยาว สำหรับทารกที่ได้คะแนนแอปการ์น้อยกว่าเกณฑ์ หากได้รับการดูแลที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที ก็อาจมีพัฒนาการเหมือนทารกทั่วไปได้ Apgar score คือ อะไร Apgar score หรือ คะแนนแอปการ์ คือ ผลการประเมินสภาพร่างกายทารกแรกเกิด เมื่อทารกลืมตาดูโลก คุณหมอและพยาบาลจะประเมินคะแนนแอปการ์ประมาณ 2-3 ครั้ง คือ หลังทารกลืมตาดูโลก 1 นาที เพื่อประเมินว่าทารกทนกระบวนการคลอดได้ดีหรือไม่ จากนั้นจะประเมินคะแนนแอปการ์ซ้ำ เมื่อทารกลืมตาดูโลกได้ 5 นาที หากประเมินแล้วพบอาการผิดปกติ คุณหมอจะประเมินซ้ำอีกครั้ง เมื่อทารกลืมตาดูโลกได้ 10 นาที คำว่า “Apgar” เป็นคำที่ย่อมาจากตัวบ่งชี้สุขภาพทารกแรกเกิด ดังต่อไปนี้ ลักษณะ (Appearance) ประเมินจากสีผิวของทารก (Skin […]


สุขภาพเด็ก

ภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิด หรือ Birth asphyxia คือ อะไร

ภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิด หรือ Birth asphyxia คือ ภาวะที่ทารกในช่วงแรกเกิดขาดออกซิเจนหลังคลอด ทำให้ไม่หายใจ หายใจแผ่ว สีผิวผิดปกติ หรือมีอาการชัก ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การคลอดก่อนกำหนด ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด มดลูกแตก สายสะดือย้อย ทารกเสียเลือดมาก ซึ่งหากรักษาได้ทันและได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดก็อาจทำให้ทารกฟื้นตัว และมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามปกติได้ Birth asphyxia คือ อะไร ภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิด เกิดจากทารกได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอในช่วงก่อน ระหว่าง หรือหลังคลอด เมื่อไม่ได้รับออกซิเจนและสารอาหาร เซลล์จะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ มีกรดสะสมในเซลล์และสร้างความเสียหายให้กับร่างกาย เป็นอันตรายต่อการทำงานของสมองและอวัยวะอื่น ๆ ความรุนแรงของภาวะนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ทารกขาดออกซิเจน ระดับออกซิเจน และความเร็วในการรักษา หากได้รับการรักษาทันท่วงที ทารกอาจฟื้นตัวกลับเป็นปกติได้ แต่หากรักษาล่าช้า อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และอาจเกิดความผิดปกติของระบบประสาทตั้งแต่ระดับเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง เช่น อาการชัก ภาวะสมองพิการ (Cerebral palsy) ภาวะพัฒนาการล่าช้า การดูแลและติดตามสุขภาพของคุณแม่และทารกอย่างใกล้ชิดทั้งก่อนและหลังคลอดจึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ เนื่องจากอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิดได้ สาเหตุของภาวะ Birth asphyxia สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิด อาจมีดังนี้ รกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะครรภ์เป็นพิษ ปัญหาสายสะดือย้อยระหว่างคลอด ภาวะคลอดก่อนกำหนด การคลอดที่ใช้เวลานานหรือซับซ้อนเกินไป การติดเชื้อรุนแรงของคุณแม่หรือทารก […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน