สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ สุขภาพเด็ก เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก

ลูกปวดฟัน อาการ สาเหตุและการรักษา

ลูกปวดฟัน อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาฟันผุ หนองในฟัน เคลือบฟันแตก โรคเหงือก อาหารติดซอกฟัน หรือปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขอนามัยภายในช่องปากที่ไม่เหมาะสม จนทำให้ลูกมีอาการปวดฟันเกิดขึ้น ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลสุขภาพช่องปากของลูกอยู่เสมอ และหากลูกปวดฟันควรพาลูกเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกปวดฟัน เกิดจากสาเหตุอะไร อาการลูกปวดฟันอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการไม่รักษาสุขอนามัยภายในช่องปาก จนทำให้เยื่อฟันที่เต็มไปด้วยเส้นประสาท เนื้อเยื่อ และหลอดเลือดที่บอบบางระคายเคืองหรือติดเชื้อแบคทีเรีย จนก่อให้เกิดอาการปวดฟันรุนแรงตามมา ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกปวดฟันที่พบได้บ่อยนั่นคือฟันผุ นอกจากนี้ อาการลูกปวดฟันยังอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ หนองในฟัน เกิดขึ้นเมื่อมีปัญหาฟันผุทำให้เกิดหนองภายในรากฟันซี่ที่ผุ ส่งผลให้มีอาการปวดรุนแรงและปวดมากขึ้นเมื่อสัมผัสกับฟัน หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจทำให้หนองเพิ่มมากขึ้นภายในเหงือกและทำให้เหงือกบวมแดง เคลือบฟันแตก เกิดจากการกัดวัตถุแข็ง ๆ จนทำให้ฟันแตก โดยแนวการแตกหักของฟันอาจอยู่ต่ำกว่าขอบเหงือกที่อาจมองเห็นได้ยาก และอาจทำให้มีอาการเสียวฟัน ปวดฟันเมื่อรับประทานของเหลวร้อนหรือเย็น โรคเหงือก เป็นปัญหาเหงือกอักเสบเนื่องจากการไม่รักษาสุขอนามัยภายในช่องปาก ส่งผลให้มีอาการเหงือกระคายเคือง บวมแดง เจ็บปวด และอาจมีเลือดออก อาหารติดซอกฟัน การรับประทานอาหารอาจทำให้มีเศษอาหารติดตามซอกฟัน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดฟัน ดังนั้น การแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันหลังรับประทานอาหารอาจช่วยลดอาการปวดฟันได้ ฟันคุด เป็นการงอกขึ้นมาของฟันกรามซี่ในสุด ซึ่งส่วนใหญ่ฟันคุดจะเกิดขึ้นในช่วงอายุประมาณ 18-21 ปีขึ้นไป แต่สำหรับเด็กที่ฟันคุดงอกเร็วอาจทำให้มีอาการปวดฟันเกิดขึ้นได้ การเคลื่อนไหวฟันในการบดเคี้ยวซ้ำ ๆ เช่น […]


สุขภาพเด็ก

เด็ก แปรง ฟัน ได้เมื่อไหร่ ควรสอนอย่างไร

คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนให้ เด็ก แปรง ฟัน ได้ตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น ด้วยการใช้แปรงสีฟันขนนุ่มชุบน้ำพอหมาดแปรงฟันให้เด็ก และเมื่อเด็กเริ่มโตขึ้นจนสามารถเรียนรู้ทักษะการแปรงฟันได้เอง สามารถใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เล็กน้อยเพื่อช่วยส่งเสริมให้ฟันแข็งแรง อย่างไรก็ตาม ไม่ควรบังคับหรือใช้เสียงขู่ให้เด็กแปรงฟัน เพราะอาจทำให้เด็กมีพฤติกรรมต่อต้านและไม่อยากแปรงฟันได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็ก แปรง ฟัน ได้เมื่อไหร่ ผู้ปกครองสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กได้ตั้งแต่ฟันน้ำนมยังไม่ขึ้น ด้วยการทำความสะอาดเหงือกเป็นประจำทุกวันโดยการใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดทำความสะอาดเหงือกของเด็กหลังกินนมและก่อนนอน เมื่อเด็กเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นซี่แรก คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถสอนให้เด็กแปรงฟันได้ทันที ด้วยการใช้แปรงสีฟันขนนุ่มสำหรับเด็กชุบน้ำพอหมาด โดยควรแปรงฟันให้เด็กอย่างน้อย 1-2 ครั้ง/วัน เพื่อขจัดเศษอาหารภายในปาก และหากเด็กสามารถโตพอที่จะสามารถบ้วนยาสีฟันเองได้โดยไม่กลืน คุณพ่อคุณแม่สามารถให้เด็กแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ในปริมาณเล็กน้อย จากนั้น จึงค่อย ๆ สอนให้เด็กแปรงฟันให้ทั่วฟันทุกซี่ รวมถึงทำความสะอาดเหงือกและลิ้น เป็นเวลาอย่างน้อย 2 นาที/ครั้ง เพื่อขจัดเศษอาหารทั้งหมดที่อาจก่อให้เกิดปัญหาฟันผุในอนาคต คุณพ่อคุณแม่อาจจำเป็นต้องช่วยเหลือเด็กในการแปรงฟันจนกว่าเด็กจะอายุ 7-8 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่เด็กสามารถแปรงฟันได้ด้วยตัวเองแล้ว และควรเปลี่ยนแปรงสีฟันทุก ๆ 3-6 เดือนหรือเมื่อขนแปรงเก่าแล้ว นอกจากนี้ ควรสอนให้เด็กใช้ไหมขัดฟันหลังจากแปรงฟันอย่างน้อย 1 ครั้ง/วัน เพื่อช่วยขจัดเศษอาหารที่แปรงสีฟันไม่สามารถขจัดออกได้หมด วิธีสอนให้เด็กแปรงฟัน วิธีสอนให้เด็กแปรงฟัน คุณพ่อคุณแม่ควรใจเย็น ไม่ควรบังคับหรือใช้น้ำเสียงขู่ เพราะจะยิ่งทำให้เด็กรู้สึกไม่อยากแปรงฟันมากขึ้น ซึ่งการสอนให้เด็กแปรงฟันอาจทำได้ ดังนี้ ตอบสนองความต้องการของเด็ก เช่น หากเด็กต้องการเปลี่ยนรสชาติยาสีฟันหรือต้องการใช้แปรงสีฟันสีใหม่ ควรให้เด็กได้ทดลองใช้ […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

Cretinism คือ โรคเอ๋อหรือเครทินิซึม สาเหตุ อาการ การรักษา

Cretinism คือ โรคเอ๋อหรือเครทินิซึม เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนไทรอยด์ของเด็ก ส่งผลให้เด็กมีความผิดปกติด้านร่างกาย สมอง ระบบประสาท และสติปัญญา หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้สมองของเด็กถูกทำลายถาวรและเด็กมีพัฒนาการผิดปกติ เช่น เจริญเติบโตช้า ตาเหล่ หูหนวก เป็นใบ้ มีท่าเดินผิดปกติ สมองพิการ ทั้งนี้ การวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยการให้ฮอร์โมนชดเชยตั้งแต่แรกเกิดและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด อาจช่วยให้เด็กสามารถกลับมามีพัฒนาการตามปกติได้เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป [embed-health-tool-vaccination-tool] Cretinism คือ อะไร เครทินิซึม หรือ Cretinism คือ กลุ่มอาการผิดปกติของพัฒนาการทางสมอง หรือที่เรียกว่าโรคเอ๋อ เกิดจากภาวะขาดไทรอยด์อย่างรุนแรงในเด็กแรกเกิด ทำให้เด็กมีภาวะปัญญาอ่อน รูปร่างเตี้ยแคระแกร็น ไอคิวต่ำ หูหนวก เป็นใบ้ เป็นต้น โดยทั่วไป ฮอร์โมนไทรอยด์มีหน้าที่สำคัญในการสร้างโปรตีนหรือเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เผาผลาญพลังงาน ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ การเจริญเติบโต และพัฒนาการของสมอง หากฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากเด็กไม่มีต่อมไทรอยด์มาตั้งแต่กำเนิด ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือคุณแม่ขาดไอโอดีนขณะตั้งครรภ์ อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางร่างกาย โครงสร้างของกระดูกและผิวหนัง รวมไปถึงการทำงานของสมองและระบบประสาทส่วนกลางของเด็กแรกเกิด สาเหตุของ Cretinism คือ อะไร สาเหตุที่พบบ่อยของ Cretinism คือ […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

Cerebral palsy คือ ภาวะสมองพิการในเด็ก สาเหตุ อาการ การรักษา

ภาวะสมองพิการ หรือ Cerebral palsy คือ กลุ่มอาการของโรคทางสมองที่ส่งผลให้เด็กมีความผิดปกติด้านเคลื่อนไหวและการประสานงานของกล้ามเนื้ออย่างถาวร เช่น ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง แขนขาอ่อนแรง เดินเขย่งปลายเท้า โดยอาการที่พบในเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันไปตามระดับความเสียหายในสมอง แม้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตและช่วยให้เด็กสามารถเจริญเติบโตและมีพัฒนาการใกล้เคียงปกติได้มากที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] Cerebral palsy คือ อะไร ภาวะสมองพิการ หรือ Cerebral palsy คือ กลุ่มอาการผิดปกติในระบบประสาทที่เกิดขึ้นบริเวณส่วนสั่งการของเปลือกสมองซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ความผิดปกตินี้เกิดขึ้นในช่วงที่เปลือกสมองยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้เปลือกสมองเสียหายและส่งผลกระทบต่อความสามารถของสมองในการควบคุมการเคลื่อนไหวและความสมดุลของร่างกายอย่างถาวร ความเสียหายของสมองอาจเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ระหว่างคลอด หรือภายใน 1-2 ปีแรกหลังคลอด ทั้งนี้ อาการของภาวะสมองพิการจะไม่ปรากฏตั้งแต่แรกเกิด แต่จะค่อย ๆ แสดงให้เห็นในช่วงเป็นเด็กทารกหรือเด็กก่อนวัยเรียน ส่วนใหญ่แล้ว ขอบเขตความเสียหายภายในสมองของเด็กที่มีภาวะนี้จะไม่เพิ่มขึ้นตามอายุ แต่อาการของโรคอาจเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีอาการชัดเจนขึ้น มีอาการน้อยลง สาเหตุของ Cerebral palsy คืออะไร โดยทั่วไปแล้ว สาเหตุของภาวะสมองพิการ หรือ Cerebral palsy คือ ความผิดปกติของพัฒนาการสมอง หรือสมองได้รับความเสียหายขณะที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ซึ่งมักเกิดขึ้นขณะทารกยังอยู่ในครรภ์ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นหลังคลอด หรือในวัยทารกตอนต้นได้เช่นกัน ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะสมองพิการ อาจมีดังนี้ […]


สุขภาพเด็ก

อาการลองโควิดในเด็ก สาเหตุและวิธีรักษาที่เหมาะสม

อาการลองโควิดในเด็ก (Long Covid) เป็นภาวะที่เด็กซึ่งหายจากโรคโควิด-19 แล้วยังมีอาการของโรคโควิด 19 อยู่หรือมีอาการใหม่ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การรักษาทำได้ด้วยการรักษาตามอาการ โดยทั่วไป อาการลองโควิดจะดีขึ้นภายใน 1-5 เดือน แม้ภาวะนี้จะไม่รุนแรง แต่ก็เป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังที่จำเป็นต้องติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง ทางที่ดีที่สุดคือ การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) หรือโรคโควิด 19 ตั้งแต่แรก ด้วยการให้เด็กฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้ครบ 2 เข็ม และไปฉีดเข็มกระตุ้นตามคำแนะนำของคุณหมอ พร้อมกับรักษาสุขอนามัยให้ดี เช่น ล้างมือบ่อย ๆ สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ [embed-health-tool-vaccination-tool] อาการลองโควิดในเด็ก เกิดจากอะไร ในขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าอาการลองโควิดในเด็กเกิดจากสาเหตุใด แต่พบว่าอาการนี้เกิดขึ้นบ่อยกับเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพบางประการ เช่น เด็กที่มีโรคอ้วน เด็กที่มีภาวะสุขภาพที่ทำให้ร่างกายจะอ่อนแอกว่าปกติ เช่น โรคหอบหืด โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) ทั้งนี้ เด็กที่มีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการเลยเมื่อเป็นโรคโควิด 19 ก็สามารถเกิดอาการลองโควิดได้เช่นกัน อาการลองโควิดในเด็ก เป็นอย่างไร อาการลองโควิดในเด็ก เป็นภาวะที่เด็กซึ่งหายจากโรคโควิด 19 คือไม่มีเชื้ออยู่ในร่างกายแล้ว ยังคงมีอาการของโรคหลงเหลืออยู่ หรือบางกรณีก็อาจเกิดอาการผิดปกติที่ไม่เคยเป็นตอนป่วยเป็นโรคโควิด 19 และมักไม่สามารถวินิจฉัยหาสาเหตุได้ ภาวะนี้มักพบในเด็กอายุตั้งแต่ 10 […]


ภาวะทุพโภชนาการ

เด็กขาดสารอาหาร เกิดจากอะไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

เด็กขาดสารอาหาร เป็นภาวะที่เกิดจากการร่างกายของเด็กขาดสารอาหารที่จำเป็นในการเจริญเติบโต จนมักส่งผลให้พัฒนาการแต่ละด้านของเด็กไม่เป็นไปตามวัย เช่น ทำให้เด็กเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ตัวเล็กกว่าเด็กในวัยเดียวกัน น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ช้ากว่าปกติ  คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลเอาใจใส่โภชนาการของเด็กอยู่เสมอ ด้วยการให้เด็กรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการในปริมาณที่เหมาะสม เพราะอาจช่วยป้องกันภาวะขาดสารอาหารในเด็กได้ [embed-health-tool-bmi] ภาวะขาดสารอาหาร คืออะไร ภาวะขาดสารอาหาร  (Malnutrition) คือภาวะที่ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ ไขมัน อาจเกิดจากรับประทานอาหารน้อยเกินไป หรือจากการที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้อย่างเต็มที่ เป็นต้น จนส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย ทั้งยังอาจทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้าและเติบโตไม่สมวัย เมื่อขาดพลังงาน ร่างกายจะสลายเนื้อเยื่อของตัวเองและเริ่มดึงไขมันที่สะสมในร่างกายมาใช้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ จากนั้นจะสลายสารอาหารอย่างโปรตีนในกล้ามเนื้อ ผิวหนัง ผม และเล็บ มาใช้เป็นพลังงาน จนเด็กดูซูบผอมและเจริญเติบโตช้าลง ภาวะขาดสารอาหารยังอาจทำให้การทำงานของร่างกายผิดปกติ โดยอาจเริ่มจากระบบคุ้มภูมิกัน เด็กที่มีภาวะขาดสารอาหารจึงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหรือติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ ทั้งยังอาจหายป่วยหรือแผลหายได้ช้าลง นอกจากนี้ การทำงานของหัวใจยังอาจช้าลงไปด้วย ทำให้ความดันโลหิตต่ำลง ส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เด็กรู้สึกเบื่ออาหารจนไม่รับประทานอาหารตามปกติ และอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบในร่างกาย เช่น สมอง อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ไม่สนใจตัวเอง เก็บตัวไม่สุงสิงกับผู้อื่น หัวใจ อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ไต อาจทำให้เกิดภาวะร่างกายมีน้ำเกินหรือมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากไตไม่สามารถควบคุมสมดุลของเหลวในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติได้ […]


วัคซีน

ฉีด วัคซีน ทารก 2 เดือน ต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง

คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่าทารกในวัย 2 เดือนควรฉีดวัคซีนอะไรบ้าง โดยทั่วไป การ ฉีด วัคซีน ทารก 2 เดือน จะฉีดวัคซีนพื้นฐาน 2 ชนิด คือ วัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี และ ฮิบ ซึ่งเป็นวัคซีนรวมที่ครอบคลุมโรคหลายชนิด และวัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดหยอดหรือชนิดฉีด ทั้งนี้ หากคุณพ่อคุณแม่สนใจให้เด็กทารกวัย 2 เดือนรับวัคซีนป้องกันโรคเพิ่มเติม เช่น วัคซีนโรต้า วัคซีนนิวโมคอคคัส ก็สามารถทำได้เช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ฉีด วัคซีน ทารก 2 เดือน มีวัคซีนอะไรบ้าง วัคซีนป้องกันโรคในทารกอายุ 2 เดือน อาจมีดังนี้ วัคซีนพื้นฐาน วัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี-ฮิบ (DTP-HB1-Hib) เริ่มฉีดเข็มแรกตอนเด็กอายุ 2 เดือน และจะฉีดอีก 4 ครั้ง เมื่อเด็กมีอายุ 4 เดือน 6 เดือน 1 ปี 6 เดือน และ 12 ปี […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

อาการเด็กสมาธิสั้น เป็นอย่างไร และวิธีดูแลเด็กสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น เป็นโรคบกพร่องทางพฤติกรรม เกิดจากสมองส่วนที่ส่งผลต่อการควบคุมสมาธิและพฤติกรรม รวมถึงสารสื่อประสาทในสมองทำงานผิดปกติ พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน และมักส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้และการปรับตัวเข้ากับเด็กในวัยเดียวกัน อาการเด็กสมาธิสั้น ที่พบทั่วไป เช่น อยู่ไม่สุข กระสับกระส่าย ขาดสมาธิ จดจ่อกับอะไรไม่ได้นาน หากพบว่าเด็กมีอาการ ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่สมวัยและควบคุมโรคสมาธิสั้นให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันน้อยที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคสมาธิสั้น คืออะไร โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder หรือ ADHD) เป็นโรคที่เกิดจากสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสมาธิ พฤติกรรมและการแสดงออกของเด็กผิดปกติ ส่งผลให้เด็กว่อกแว่ก ซนกว่าเด็กทั่วไป ขาดสมาธิในการทำสิ่งต่าง ๆ และอาจกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้างทั้งที่บ้านและโรงเรียน โรคสมาธิสั้นมักได้รับการวินิจฉัยในช่วงอายุ 3-7 ปี และพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง ในเด็กผู้ชายมักพบว่ามีอาการอยู่ไม่นิ่งเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่เด็กผู้หญิงมีอาการขาดสมาธิ และแสดงพฤติกรรมก่อกวนน้อยกว่า ซึ่งอาจทำให้เด็กผู้หญิงที่เป็นโรคสมาธิสั้นได้รับการวินิจฉัยช้าเนื่องจากมีพฤติกรรมแสดงออกไม่เด่นชัดเท่าเด็กผู้ชาย โดยทั่วไปโรคสมาธิสั้นจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น แต่บางกรณีก็อาจเป็นโรคสมาธิสั้นไปจนถึงเป็นผู้ใหญ่ และบางรายก็อาจได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้นตอนโต กลุ่มที่ยังคงมีอาการจนเข้าวันผู้ใหญ่อาจเกิดโรคร่วมอื่นๆ ตามมาได้เช่น โรคพฤติกรรมต่อต้านสังคม (antisocial personality disorder) ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้นในเด็ก อาจมีดังนี้ ปัจจัยทางพันธุกรรม เด็กที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคสมาธิสั้น เสี่ยงเกิดโรคนี้ได้มากกว่าเด็กทั่วไป การคลอดก่อนกำหนด ความเสี่ยงในการเป็นโรคสมาธิอาจเพิ่มขึ้น […]


สุขภาพเด็ก

จัด ฟัน เด็ก ดีอย่างไร อายุเท่าไหร่ถึงจะจัดฟันได้

จัด ฟัน เด็ก เป็นวิธีการรักษาปัญหาทันตกรรม เช่น ฟันผุ ฟันหน้ายื่น ฟันเก ฟันไม่สมมาตร ฟันห่าง ฟันสบลึก ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาการบดเคี้ยวอาหารที่ผิดปกติ ปัญหาความสวยงามของรอยยิ้มและใบหน้า ซึ่งการจัดฟันอาจช่วยให้เด็ก ดูแลสุขภาพช่องปากได้ง่ายขึ้น และยังช่วยเสริมความมั่นใจในการใช้ชีวิต โดยเด็กจะเริ่มจัดฟันได้เมื่ออายุประมาณ 12 ปีขึ้นไป หรือเมื่อฟันน้ำนมหลุดออกจนหมดและมีฟันแท้ที่เจริญเติบโตเต็มที่ [embed-health-tool-vaccination-tool] จัด ฟัน เด็ก ทำได้เมื่ออายุเท่าไหร่ จัดฟันเด็กสามารถทำได้เมื่อเด็กมีอายุประมาณ 12 ปีขึ้นไป หรือเมื่อฟันน้ำนมหลุดออกจนหมดและมีฟันแท้ที่เจริญเติบโตเต็มที่ โดยคุณหมออาจแนะนำให้จัดฟันได้ตั้งแต่อายุยังน้อย หากพบว่าการเรียงตัวของฟันผิดปกติหรือมีปัญหาสุขภาพช่องปาก เนื่องจากกรามของเด็กยังคงมีความยืดหยุ่นมากและตอบสนองต่อการรักษาได้ดี จึงช่วยให้ฟันสามารถเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่เหมาะสมได้เร็วขึ้น และอาจช่วยลดระยะเวลาในการจัดฟัน สำหรับระยะเวลาในการจัดฟันของเด็กแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัญหาของฟันและการวินิจฉัยของคุณหมอ ซึ่งเวลาเฉลี่ยในการจัดฟันอาจใช้เวลาประมาณ 2 ปี หากเด็กเข้ามาพบคุณหมอเพื่อปรับเครื่องมือตามนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ หลังจากจัดฟันเสร็จเรียบร้อย เด็กจำเป็นต้องใส่รีเทนเนอร์ซึ่งเป็นลวดโลหะหรือชิ้นส่วนพลาสติกพิเศษลักษณะคล้ายฟันยางอยู่ตลอด เพื่อป้องกันฟันเคลื่อนกลับไปตำแหน่งเดิม จัดฟันเด็ก ควรทำเมื่อมีปัญหาอะไร การจัดฟันเด็กอาจเริ่มทำได้หากพบว่าเด็กมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก เช่น การสบฟันผิดปกติ ฟันหน้ายื่น ฟันเก ฟันไม่สมมาตร ฟันห่าง ฟันสบลึก ฟันล่างยื่นทับฟันบน ฟันหน้าไม่สบกัน ฟันบางซี่ไม่งอกออกมาจากเหงือกเต็มที่ ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การกัดหรือการบดเคี้ยวอาหารที่ผิดปกติ ฟันผุเนื่องจากฟันซ้อนทับกันจนไม่สามารถทำความสะอาดได้ การจัด ฟัน เด็ก […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ผื่น เด็ก สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

ผื่น เด็ก หรือผื่นคันบนผิวหนังเด็ก มักเกิดในทารกและเด็กเล็ก เนื่องจากผิวของเด็กยังบอบบาง ไม่แข็งแรง และระบบภูมิคุ้มกันของเด็กยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์เหมือนของผู้ใหญ่ เด็กจึงอาจเกิดผดผื่นได้บ่อยครั้ง ผื่นในเด็กอาจเกิดจากการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ฝุ่นควัน ความร้อนจากแสงแดด แมลงกัดต่อย รวมไปถึงการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย โดยทั่วไป ผื่นในเด็กสามารถหายได้เองหรือบรรเทาได้ด้วยการใช้ยาลดอาการคันและระคายเคือง แต่หากดูแลเบื้องต้นและใช้ยารักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรพาเด็กไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างตรงจุด [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ทำให้เกิด ผื่น เด็ก สาเหตุที่ทำให้เกิด ผื่น เด็ก อาจมีดังนี้ ติดเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค เชื้อรา เช่น แคนดิดา (Candida infection) เชื้อไวรัสมากมายหลายชนิด เช่น วาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella zoster virus) แมลงกัดต่อย เช่น มด ยุง สัมผัสสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้ผิวหนังระคายเคือง เช่น เกสรดอกไม้ สารเคมี อาหาร เผชิญสภาพอากาศร้อน จนทำให้ต่อมเหงื่ออุดตัน ส่งผลให้เกิดผดผื่น แพ้ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบ รวมไปถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโรค หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ก็อาจส่งผลให้เด็กเสี่ยงเกิดโรคนี้ได้มากขึ้นเช่นกัน ประเภทของ ผื่น เด็ก […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน