สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพเด็ก เพิ่มเติม

วัคซีน

สำรวจ สุขภาพเด็ก

ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

Dyslexia คืออะไร

Dyslexia หรือ ความบกพร่องในการอ่านหนังสือการสะกดคำและการเขียน จัดเป็นปัญหาการเรียนในเด็กชนิดหนึ่ง คือ ภาวะที่ผิดปกติที่เกิดในเด็ก ส่งผลกระทบต่อสมองในส่วนของการประมวลภาษา เกิดปัญหาในการอ่าน เขียน พูด หรือสะกดคำ เด็กที่เป็นโรค Dyslexia อาจมีสายตาปกติ มีสติปัญญาดี ฉลาด ขยัน และอาจประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้ หากได้รับการสนับสนุนทางอารมณ์ การฝึกฝน และเข้าเรียนในโรงเรียนเฉพาะทาง Dyslexia คือ  Dyslexia เป็นความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่เฉพาะเจาะจง หรือที่เรียกว่า ความบกพร่องในการอ่าน อาจส่งผลต่อความสามารถในการใช้ภาษา สะกดคำ ผสมคำ เขียน และพูด รวมถึงการอ่าน อาจใช้เวลาในการอ่านนานกว่าเด็กทั่วไป หรือมีการใช้คำที่สับสน ผลกระทบของ Dyslexia อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล การได้รับคำแนะนำและการพัฒนาทักษะที่ถูกต้อง อาจช่วยให้เด็กที่เป็นโรค Dyslexia มีสายตาปกติ และมีสติปัญญาพอ ๆ กับเด็กคนอื่น  ผู้ที่เป็นโรค Dyslexia อาจได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่อายุยังน้อย แต่บางคนก็อาจไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรค Dyslexia จนอายุมากขึ้น ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรค Dyslexia และยังคงต้องศึกษาวิจัยในเรื่องนี้เพิ่มเติมต่อไป  สำหรับประเภทของ Dyslexia อาจแบ่งได้ดังนี้ Rapid Naming […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกเป็นไข้ คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างไร

ลูกเป็นไข้ คือ ภาวะที่อุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าระดับปกติ โดยมีอุณหภูมิประมาณ 38 องซาเซลเซียส และอาจสูงกว่านั้น บางครั้งการที่ลูกเป็นไข้ก็อาจมีสาเหตุมาจากร่างกายกำลังต่อสู้กับเชื้อโรคที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย ไข้ คืออะไร ไข้ (Fever) คือ ภาวะที่เทอร์โมสตัท (Thermostat) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายรับรู้ถึงอุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าระดับปกติ คือ อุณหภูมิประมาณ 38 องซาเซลเซียส หรือถ้าวัดเกิน 37.7 องศาเซลเซียส และอาจจะสูงกว่านั้น เทอร์โมสตัทพบได้บริเวณสมองส่วนที่เรียกว่า ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งเป็นส่วนที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ หรือระดับน้ำตาลและเกลือในเลือด ไฮโปทาลามัสอาจรับรู้ได้ว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมของร่างกายควรอยู่ที่เท่าไหร่ โดยไฮโปธาลามัสส่วนหน้าจะคอยควบคุมไม่ให้อุณหภูมิสูงเกินไป และส่วนไฮโปธาลามัสส่วนหลังควบคุมไม่ให้อุณหภูมิต่ำเกินไป ซึ่งอุณหภูมิร่างกายปกติอาจอยู่ที่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส จากนั้นจึงสั่งการไปยังร่างกาย เพื่อปรับอุณหภูมิให้เป็นไปตามที่สมองรับรู้ ส่วนใหญ่ อุณหภูมิในร่างกายของคนอาจเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในแต่ละวัน ในตอนเช้าอุณหภูมิอาจลดลงเล็กน้อย และอุณหภูมิอาจสูงขึ้นในตอนเย็น และอาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อลูกวิ่งเล่น ออกกำลังกาย หรืออยู่กลางแดดเวลานาน แต่ในบางครั้ง ไฮโปทาลามัส อาจปรับให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคที่อาจทำให้ติดเชื้อ นั่นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นไข้ สาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นไข้ ลูกเป็นไข้ อาจสร้างความกังวลให้กับคุณพ่อคุณแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ดังนั้น การทราบถึงสาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นไข้ อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่รับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างมีสติ ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยเมื่อลูกเป็นไข้ คือ การติดเชื้อ โดยทั่วไป […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เด็กท้องอืด สาเหตุและการรักษา

เด็กท้องอืด อาจเกิดจากการมีอากาศหรือก๊าซเข้าสู่ทางเดินอาหารขณะรับประทานอาหารและไปสะสมอยู่ในช่องท้อง หรืออาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ที่ไม่อาจย่อยอาหารก่อนถูกลำเลียงไปยังลำไส้ใหญ่ โดยก๊าซเหล่านี้ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน ไนโตรเจน ไฮโดรเจน มีเธน และกำมะถัน ซึ่งอาจส่งผลทำให้เด็กเรอ คลื่นไส้ และปวดท้องได้ สาเหตุที่ทำให้ เด็กท้องอืด เด็กท้องอืด อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้ เด็กไม่อยู่นิ่งขณะรับประทานอาหาร การเคลื่อนไหว หรือเล่นระหว่างการรับประทานอาหาร อาจทำให้เด็กกินเร็ว ซึ่งพฤติกรรมนี้อาจส่งผลให้มีอากาศในลำไส้มากขึ้น และเสี่ยงสำลักได้ ดูโทรทัศน์ หรือเล่นโทรศัพท์ระหว่างรับประทานอาหาร อาจส่งผลให้เด็กเพลิดเพลิน และเพิกเฉยต่อสัญญาณความอิ่ม และรับประทานอาหารมากไปจนก่อให้เกิดก๊าซได้ การเลือกอาหารที่ไม่ถูกกับช่องท้องเด็ก เช่น อาหารที่มีไขมันสูง หมากฝรั่ง เครื่องดื่มรสชาติหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เนื่องจากร่างกายของเด็กอาจดูดซึมอาหารได้ไม่เต็มที่ และส่งผลให้เกิดการสะสมของแบคทีเรีย นำไปสู่การเกิดก๊าซในกระเพาะอาหาร ปวดท้อง อาเจียน ท้องร่วงได้ ดื่มน้ำไม่เพียงพอ หากร่างกายขาดน้ำ หรือดื่มน้ำไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดอาการท้องผูก มีก๊าซในกระเพาะอาหาร และไม่สบายท้อง แพ้แลคโตส ร่างกายของเด็กที่มีอาการแพ้แลคโตสอาจไม่สามารถผลิตแล็กเทส ที่เป็นเอนไซม์ช่วยสลายแลคโตสในผลิตภัณฑ์ที่ทำการนมได้ จึงอาจส่งผลให้เด็กท้องอืด อาการลำไส้แปรปรวน อาจส่งผลต่อการทำงานของระบบย่อยอาหาร ทำให้คลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกตัวร้อน เกิดจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

ลูกตัวร้อน เป็นภาวะที่อุณหภูมิร่างกายเด็กสูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส เกิดจากร่างกายปรับอุณหภูมิให้สูงขึ้นเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อไวรัส ภาวะนี้อาจนำไปสู่การล้มป่วยได้ เพื่อความปลอดภัย คุณพ่อคุณแม่ควรลดอุณหภูมิร่างกายให้ลูกเบื้องต้น และสังเกตอาการผิดปกติอย่างใกล้ชิด สาเหตุที่ทำให้ ลูกตัวร้อน สาเหตุที่ทำให้ลูกตัวร้อน หรือมีไข้ อาจมาจากภาวะของโรค ดังต่อไปนี้ ไข้หวัดใหญ่ เด็กที่อยู่ในช่วงอายุ 2-5 ปี อาจเสี่ยงเป็นไข้หวัดใหญ่จากการติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจ และก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคปอดบวม โรคหอบหืด โดยอาการเบื้องต้นของไข้หวัดใหญ่สามารถสังเกตได้จากลูกตัวร้อน มีน้ำมูก คัดจมูก ไอ เจ็บคอ หูชั้นกลางอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบเกิดจากการติดเชื้อที่หูชั้นกลาง ทำให้เยื่อแก้วหูอักเสบ ส่งผลให้เด็กมีไข้ขึ้นสูง มีปัญหาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร และการนอนหลับ หากเป็นเด็กโตอาจบอกได้เมื่อรู้สึกเจ็บปวดภายในหู แต่สำหรับเด็กเล็ก หรือทารกอาจสังเกตได้จากพฤติกรรมการดึงหู หรือร้องไห้มากกว่าปกติ ไข้ผื่นกุหลาบ ไข้ผื่นกุหลาบ หรือ ส่าไข้ เป็นภาวะที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส พบได้มากในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือน ถึง 2 ขวบ ส่งผลให้เด็กมีไข้สูงเป็นเวลาหลายวัน และมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง นอกจากนี้ ยังอาจแพร่เชื้อติดต่อกันได้ผ่านการไอจาม ต่อมทอนซิลอักเสบ หน้าที่ของต่อมทอนซิลคือช่วยต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายผ่านทางปาก และจมูก ก่อนที่เชื้อโรคจะนำไปสู่การติดเชื้อในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย แต่ในขณะเดียวกัน […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

วิธีลดไข้ สำหรับเด็ก ที่พ่อแม่ควรรู้

ไข้ในเด็ก เป็นสัญญาณเตือนที่อาจบอกได้ว่าร่างกายของเด็กกำลังทำปฏิกิริยาต่อต้านการติดเชื้อจากสิ่งแปลกปลอม ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กมีไข้ขึ้นสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส โดย วิธีลดไข้ สำหรับเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ คือ เช็ดตัวเพื่อลดอุณหภูมิในร่างกาย และสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ป้องกันการเกิดภาวะชักจากไข้ขึ้นสูง สาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นไข้ สาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นไข้ อาจมาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัด อีสุกอีใส หัด กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัส การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น หูอักเสบ ทอนซิลอักเสบ ไข้อีดำอีแดง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ภาวะการอักเสบ เช่น โรคคาวาซากิ หูอักเสบ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ผลข้างเคียงหลังจากฉีดวัคซีน หรือรับประทานยาปฏิชีวนะ เนื่องจากเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย รวมถึงสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้ร่างกายผลิตสารเคมีที่เรียกว่า ไซโตไคน์ (Cytokine) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีส่วนช่วยตอบสนองต่อการอักเสบ การติดเชื้อ และสร้างแอนติบอดีเพื่อป้องกันการติดเชื้อ จึงส่งผลให้ร่างกายเด็กมีอุณหภูมิสูง หรือเป็นไข้ได้ วิธีลดไข้ สำหรับเด็ก วิธีลดไข้สำหรับเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ มีดังนี้ วัดไข้สม่ำเสมอ ใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดตัว โดยเฉพาะบริเวณหลังคอ ใต้วงแขน ท้อง และขาหนีบ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เด็กท้องเสีย สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

เด็กท้องเสีย หรือท้องร่วง คือ ภาวะที่เด็กถ่ายอุจจาระเหลว เด็กขับถ่ายบ่อยกว่าปกติ และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ขาดน้ำ น้ำหนักลด หากเด็กท้องเสีย คุณพ่อคุณแม่ควรรีบหาสาเหตุ และบรรเทาอาการเบื้องต้นทันที เพื่อป้องกันการเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ หรืออาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายรุนแรง [embed-health-tool-bmi] เด็กท้องเสีย มีสาเหตุจากอะไร เด็กท้องเสีย อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิต ทำให้มีอาการท้องเสียนานประมาณ 1-3 วัน และหากอาการไม่รุนแรงมักหายไปได้เอง โรคท้องร่วงเรื้อรังจากการติดเชื้อ เกิดจากลำไส้อักเสบ ระบบการดูดซึมอาหารบกพร่อง การติดเชื้อปรสิตบางชนิด เป็นต้น เด็กที่มีภาวะนี้จะท้องเสียนานกว่า 1-2 สัปดาห์ ทั้งนี้ ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุ โรคท้องร่วงจากย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่สมบูรณ์ แลคโตสเป็นน้ำตาลที่อยู่ในนม และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ทำจากนม เด็กบางคนไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสได้ หากรับประทานแลคโตสมากเกินไป อาจส่งผลให้มีอาการท้องเสีย ปวดท้อง ท้องอืด ท้องร่วงได้ ทั้งนี้ ควรพาเด็กไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม อาการท้องร่วงหลังจากใช้ยาปฏิชีวนะ การใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจทำให้เด็กท้องเสียได้ เนื่องจากระดับแบคทีเรียชนิดดีและไม่ดีในลำไส้เสียสมดุล ทั้งนี้ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เด็กไอ อาการที่พ่อแม่ควรระวัง

เด็กไอ เป็นเรื่องปกติที่คุณพ่อคุณแม่อาจพบเจอได้ แต่ก็ควรระวัง เพราะบางครั้งการที่เด็กไออาจส่งสัญญาณบ่งชี้บางอย่างที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพร่างกายของเด็กได้ หากเด็กไอเป็นเวลานานกว่า 2-3 สัปดาห์ ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัย [embed-health-tool-bmi] เด็กไอ เกิดจากอะไร เด็กไอมักเป็นสัญญาณว่าร่างกายพยายามกำจัดความระคายเคืองจากเสมหะ หรือสิ่งแปลกปลอม เนื่องจากหากไม่กำจัดออกอาจสร้างความรำคาญ และอาจทำให้หายใจไม่สะดวก ซึ่งสาเหตุทั่วไปของอาการไอ เช่น โรคภูมิแพ้ และไซนัสอักเสบ สิ่งที่อาจก่อให้เกิดภูมิแพ้ เช่น อาหาร ละอองเกสร ฝุ่นละออง อาจเป็นสาเหตุของอาการไอเรื้อรัง และยังทำให้ระคายเคือง มีน้ำมูก เสมหะ เจ็บคอ รวมถึงอาจมีผื่นขึ้นตามตัว โรคหอบหืด เกิดจากมีสิ่งกระตุ้นต่อภาวะหลอดลมไว ทำให้เด็กมีหลอดลมตีบเล็กลง อาการอาจแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน ส่วนมากมักไอแบบมีเสียงหวีด ซึ่งอาการมักจะแย่ลงในเวลากลางคืน หรือมักไอขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องเคลื่อนไหว เช่น ออกกำลังกาย โรคกรดไหลย้อน อาจทำให้มีอาการไอ อาเจียนบ่อย รู้สึกขมในปาก และปวดแสบร้อนภายในอก การติดเชื้อต่าง ๆ เช่น หวัด ไข้หวัดใหญ่ อาจทำให้เด็กมีอาการไอเรื้อรัง หากเป็นหวัดอาจมีอาการไอเล็กน้อยถึงไอปานกลาง ซึ่งเป็นอาการไอที่ไม่รุนแรงมาก แต่หากเป็นไข้หวัดใหญ่ อาจไอแบบแห้ง หรือมีเสมหะ ร่วมกับมีไข้สูง สาเหตุอื่นที่อาจทำให้เด็กไอ […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

หนองในแท้ในทารก โรคติดต่อจากแม่สู่ลูก ที่คุณควรรู้

หนองในแท้ในทารก เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่แพร่กระจายจากแม่สู่ลูก ทารกที่เป็นโรคหนองในมักมีอาการที่รุนแรง เช่น มีหนองไหลออกจากดวงตาและจมูก มีเลือดออกจากร่างกาย รวมไปถึงยังอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] หนองในแท้ในทารก คืออะไร โรคหนองในแท้ในทารก เกิดขึ้นจากคุณแม่ตั้งครรภ์ติหนองในแท้เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ติดต่อได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง โดยมักแพร่กระจายผ่านทางช่องคลอด ทวารหนัก และช่องปาก ซึ่งโรคหนองในสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ และอาจส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ทารกที่ติดเชื้อหนองในแท้มักจะมีปัญหาสุขภาพอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในบริเวณดวงตา เนื่องจากเป็นบริเวณเปราะบางที่มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อมากที่สุด อีกทั้งอาจมีการติดเชื้อที่ระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและพัฒนาผิดปกติล่าช้าได้หากรักษาไม่ทันท่วงที โดยปกติแล้วหากสูตินรีแพทย์ตรวจพบว่าคุณแม่เป็นโรคหนองในแท้ จะเร่งทำการรักษาให้หายขาดก่อนที่คุณแม่จะคลอดบุตร อาการของ โรคหนองในแท้ในทารก โดยปกติแล้ว โรคหนองในแท้ในทารก มักจะแสดงอาการหลังจากการติดเชื้อภายในช่วง 2 สัปดาห์แรก ซึ่งอาจมีอาการดังนี้ อาการทางดวงตา เช่น ตาแดง ตาบวม มีหนองออกจากตา อาจมีเลือดออกจากอวัยวะเพศหรือทวารหนัก อาจมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร ดูดนมได้น้อยลง แสบร้อนขณะปัสสาวะ ปวดท้องน้อย ปวดทวารหนัก อาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อจนถึงชีวิตได้ หากติดเชื้อทางระบบประสาท อาจมีภาวะชัก เกร็ง ตัวเขียว เยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นหนอง ถึงแก่ชีวิตได้ การรักษา โรคหนองในแท้ในทารก หนองในแท้สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ ทางที่ดีที่สุดคือการรักษาโรคหนองในแท้ในตัวคุณแม่ตั้งครรภ์ให้หายดีก่อนที่คุณแม่จะคลอดบุตร แต่หากทารกได้รับเชื้อหนองในไปแล้ว แพทย์ก็อาจจะต้องให้ยาปฏิชีวนะทั้งกับตัวแม่และทารก การใช้ยาปฏิชีวนะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ แต่ส่วนใหญ่มักเป็นอาการที่ไม่รุนแรง เช่น มีไข้ […]


ปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็ก

ทำความรู้จัก โรคเซลิแอคในเด็ก ลูกคุณป่วยเป็นโรคนี้อยู่ไหมนะ

โรคเซลิแอคในเด็ก เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศทุกวัย โดยมีแนวโน้มสูงที่จะเกิดจากการสืบทอดทางพันธุกรรม เพื่อให้แน่ใจว่าลูกของคุณมีแนวโน้มเป็นโรคเซลิแอคหรือไม่ มาลองอ่านบทความนี้แล้วคุณจะรู้ว่าโรคเซลิแอคแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร โรคเซลิแอคในเด็ก คืออะไร? โรคเซลิแอค (Celiac disease) เป็นโรคภูมิต้านทานตนเองที่ร้ายแรง มีแนวโน้มสูงที่จะเกิดจากการสืบทอดทางพันธุกรรม ซึ่งเกิดจากการกินกลูเตน คือ โปรตีนที่พบในอาหารจำพวกแป้งหรือข้าว ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันเข้าไปโจมตีลำไส้เล็กจนเกิดความเสียหายของวิลลี่ (Villi) ในลำไส้เล็ก โดยวิลลี่ (Villi) มีหน้าที่ช่วยในการดูดซึมสารอาหาร เมื่อได้รับความเสียหายสารอาหารจะไม่สามรถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างเหมาะสม จนอาจนำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการ สูญเสียความหนาแน่นของกระดูก การแท้งบุตร ภาวะมีบุตรยาก โรคระบบประสาท หรือแม้แต่โรคมะเร็งบางชนิด ในเด็กการดูดซึมที่ผิดปกติอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กได้ อาการ โรคเซลิแอคในเด็ก อาการของโรคเซลิแอค (Celiac disease) อาจแตกต่างกันระหว่างในเด็กและผู้ใหญ่ โดยอาการที่แสดงในเด็กจะมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาทางเดินอาหารมากกว่าผู้ใหญ่ ดังนี้ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสียเรื้อรัง ท้องบวม ท้องผูก มีแก๊ส อุจจาระสีซีด มีกลิ่นเหม็น เมื่อร่างกายไม่สามารถดูดซับสารอาหารได้อาจส่งผลต่อ การเจริญเติบโตของทารก เคลือบฟันเสียหาย น้ำหนักลดลง โรคโลหิตจาง หงุดหงิดง่าย มีอาการทางระบบประสาท เช่น โรคสมาธิสั้น ความบกพร่องทางการเรียนรู้ ปวดหัว กล้ามเนื้อขาดการประสานงาน อาการชัก หากลูกของคุณมีอาการท้องร่วง รู้สึกไม่สบายท้อง เป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ควรรีบพบหมอทันที หรือถ้ามีอาการหงุดหงิดง่าย อุจจาระสีซีดมีกลิ่นเหม็น เจริญเติบโตช้าร่วมด้วยก็อย่านิ่งนอนใจเช่นเดียวกัน การรักษา โรคเซลิแอค (Celiac disease) มักรักษาด้วยการงดอาหารจำพวกที่มีกลูเตนเพื่อป้องกันความเสียหายของเยื่อบุลำไส้ เพราะกลูเตนจะส่งผลร้ายในระยะยาวให้กับร่างกายสำหรับผู้ที่เป็นโรคเซลิแอคในเด็ก อาการของลูกจะเริ่มดีขึ้นเมื่อคุณจัดการกับอาหารโดยไม่มีกลูเตนเป็นส่วนประกอบ แต่อาจต้องใช้ระยะเวลาถึง 2 ปีกว่าที่ระบบย่อยอาหารจะกลับมาเป็นปกติ […]


โรคทางเดินหายใจในเด็ก

โรคทางเดินหายใจในเด็ก คืออะไร? สร้างปัญหาให้ลูกรักมากแค่ไหน มาดูกัน

โรคทางเดินหายใจในเด็ก เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจและส่วนอื่น ๆ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน รวมไปถึงเด็ก ๆ โรคทางเดินหายใจมีอยู่หลายชนิดมากมาย แต่วันนี้เราขอนำ โรคทางเดินหายใจในเด็ก ที่พบบ่อยมาแบ่งปันให้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนได้รู้จัก เพื่อเรียนรู้โรคและเฝ้าระวังไม้ให้เกิดกับลูกรักของคุณ ป้องกันลูกรักให้ห่างไกลจากโรคร้าย มาเช็คตารางวัคซีนได้ ที่นี่ โรคทางเดินหายใจ คืออะไร? โรคทางเดินหายใจ หมายถึงโรคที่ส่งผลต่อปอดและอวัยวะอื่น ๆ ในระบบทางเดินหายใจ เช่น จมูก คอ ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อ การหายใจเอาควันบุหรี่มือสอง การสืบทอดทางพันธุกรรม การผ่าตัด และการติดเชื้อ โดยเฉพาะกับเด็กที่ยังมีระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงพอที่จะต่อต้านเชื้อไวรัสและแบคทีเรียต่าง ๆ จนส่งผลให้เกิดโรคทางเดินหายใจในเด็ก โรคทางเดินหายใจในเด็ก ที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง? โรคระบบทางเดินหายใจในเด็กที่พบบ่อย ได้แก่ โรคหอบหืด โรคหอบหืดเป็นภาวะที่ทำให้ทางเดินหายใจมีอาการแคบลงและบวมขึ้น อาจผลิตเมือกเพิ่มขึ้น และทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ ซึ่งอาการหอบหืดอาจเกิดขึ้นเมื่อคุณออกกำลังกาย หรืออาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเกิดอาการ ดังนี้ หายใจถี่ แน่นหน้าอกหรือเจ็บ เมื่อหายใจออกมีเสียงดัง ปัญหาการนอนหลับเกี่ยวกับการหายใจถี่ หรือหายใจมีเสียงหวีด อาการไอ หากอาการแย่ลงอาจแสดงสัญญาณเหล่านี้ มีอาการโรคหอบหืดบ่อยครั้งขึ้น หายใจลำบากขึ้น และจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease : COPD) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นหนึ่งใน โรคทางเดินหายใจ ที่ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ โดยจะมีอาการหลัก ๆ อยู่ 2 กลุ่ม คือ ถุงลมโป่งพอง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน