สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพเด็ก เพิ่มเติม

วัคซีน

สำรวจ สุขภาพเด็ก

โรคเด็กและอาการทั่วไป

โคลิค กับวิธีรับมือสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

โคลิค (Colic) เป็นอาการร้องไห้ของเด็กทารกวัยแรกเกิดแบบต่อเนื่องและยาวนาน ที่อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ตกใจหรือไม่รู้ว่าจะรับมือได้อย่างไร แท้จริงแล้วโคลิกเป็นอาการที่เกิดขึ้นและหายไปได้ แต่อาจต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับอาการนี้อย่างถูกต้อง โคลิค คืออะไร โคลิค คือ อาการที่มักเกิดขึ้นได้กับเด็กแรกเกิดตั้งแต่ช่วงอายุ 2-6 สัปดาห์ โดยทารกอาจร้องไห้ออกมาอย่างหนัก และนานกว่าปกติ หรือในช่วงเวลาเดียวกันทุกวันบ่อยครั้ง ซึ่งอาจมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ ระบบย่อยอาหารแปรปรวน จุกเสียด กรดไหลย้อน แพ้อาหารบางอย่าง คุณพ่อคุณแม่ให้อาหารลูกน้อยหรือมากเกินไป ภาวะคลอดก่อนกำหนด ระบบประสาทที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ คุณแม่สูบบุหรี่ในช่วงตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะโคลิคมักหายไปจากลูกได้เอง ตามระยะเวลาการเจริญเติบโต คือ ช่วงประมาณ 3-4 เดือน อาการเมื่อลูกเป็นโคลิค เด็กร้องไห้งอแงอาจเป็นเรื่องปกติ แต่ก็ยากที่จะจำแนกได้ว่า ร้องไห้แบบไหน คือ ร้องไห้ธรรมดา หรือร้องไห้เพราะเป็นโคลิค โดยคุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้จากอาการเหล่านี้ อาการร้องไห้อย่างหนักรุนแรง ใบหน้าของลูกเปลี่ยนสีเป็นสีแดง ปากและผิวซีด ร้องไห้ในช่วงเวลาเดียวกัน หรือใกล้กันทุกวัน มีท่าทางเกร็งในขณะร้องไห้ เช่น กำมือแน่น ขายกขึ้นเกร็ง หน้าท้องแข็ง ในบางกรณี โคลิคอาจทำให้ลูกเป็นลม หมดสติ เพราะร้องไห้หนักจนเกินไป ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด และรู้จักรับมืออย่างถูกวิธี หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นอาจต้องพาลูกพบคุณหมอทันที […]


สุขภาพเด็ก

ของร้อนลวก อุบัติเหตุในเด็ก วิธีป้องกันและวิธีปฐมพยาบาล

เด็ก ๆ กับความซุกซนนั้นเป็นของคู่กัน หากเผลอเพียงนิดเดียวก็อาจจะเกิดอุบัติเหตุตามมาโดยไม่คาดฝันแม้ว่าจะอยู่ในบ้านก็ตาม หนึ่งในอุบัติเหตุที่อันตรายและคุณพ่อคุณแม่ควรจะต้องระมัดระวังให้ดีก็คืออุบัติเหตุจากการถูก ของร้อนลวก ทั้งนี้ ควรหาวิธีป้องกันอุบัติเหตุนี้ไม่ให้เกิดขึ้นกับเด็ก ๆ แต่หากเกิดขึ้นแล้ว ควรปฐมพยาบาลอย่างไร [embed-health-tool-vaccination-tool] ของร้อนลวก ในเด็ก เกิดขึ้นได้ที่ไหนบ้าง มีหลายจุดหลายสถานที่ในบ้าน ที่สามารถเป็นอันตรายต่อเด็ก ๆ ได้ โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่เกี่ยวเนื่องกับของร้อน เช่น น้ำร้อน เครื่องดื่มร้อน ไฟ ความร้อนจากเตา โดยสถานที่ที่ควรระวังเป็นพิเศษหากในบ้านมีเด็กเป็นสมาชิกในครอบครัว ได้แก่ อุบัติเหตุในครัว ระมัดระวังการประกอบอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ซุป แกง ต้ม ทอด หรือผัด ควรนำเด็ก ๆ ออกห่างจากบริเวณที่ทำอาหาร ระมัดระวังการอุ้มลูกแล้วประกอบอาหารไปด้วย เนื่องจากอาจเกิดอุบัติเหตุไม่คาดคิด เช่น น้ำร้อนกระเด็นใส่ หรือสะเก็ดไฟปลิวใส่ ระมัดระวังการอุ้มลูกแล้วดื่มชาหรือกาแฟที่มีอุณหภูมิร้อน เพราะชาหรือกาแฟที่ร้อนอาจเสี่ยงที่จะหกหรือราดใส่ตัวเด็กได้ ระวังกาต้มน้ำ ควรวางไว้ในที่ที่ไกลจากมือเด็ก และเก็บสายไฟของอุปกรณ์ต้มน้ำร้อนให้พ้นมือเด็ก เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กกระชากจนเกิดอันตรายได้ ปิดไฟของเตาในครัวเสมอหลังการประกอบอาหารเสร็จ อุบัติเหตุในห้องน้ำ ระมัดระวังหากมีการอาบน้ำอุ่น ควรดูแลอุณหภูมิให้เหมาะสม ไม่ร้อนจนเกินไป เพราะอาจเกิดอันตรายได้ ปิดเครื่องทำน้ำอุ่นทุกครั้งที่ไม่ใช้งาน โดยเฉพาะหากก๊อกน้ำอยู่ต่ำหรือในจุดที่เด็กเอื้อมถึง อุบัติเหตุในสถานที่อื่น ๆ ของบ้าน หลายบ้านเลือกที่จะจุดเทียน […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เด็กปวดท้อง ควรทำอย่างไรเพื่อแก้อาการปวดท้อง

อาการ เด็กปวดท้อง อาจพบได้บ่อยในเด็ก โดยเฉพาะเด็กวัย 4-8 ปี ซึ่งอาการปวดท้องอาจมีสาเหตุมาจากอาหาร ความเครียด และความเจ็บปวด ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้จากการที่ลูกร้องไห้ไม่ยอมหยุด ขวดตัว หรือแสดงอาการเจ็บปวดออกมา ดังนั้น การศึกษาถึงวิธี แก้อาการปวดท้องของลูกน้อย อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่บรรเทาอาการปวดท้องเบื้อต้นให้ลูกได้ ก่อนที่จะพาลูกไปโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธี [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็กปวดท้อง สังเกตได้อย่างไร เมื่อ เด็กปวดท้อง สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้ คือ ลูกอาจร้องไห้ไม่ยอมหยุด ขดตัว และแสดงอาการเจ็บปวดออกมาอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ อาจมีอาการที่สังเกตได้อย่างชัดเจนว่ากำลังมีอะไรผิดปกติเกิดขึ้น สำหรับเด็กวัยรุ่นอาจมีความลังเลที่จะบอกถึงความเจ็บปวด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องสังเกตอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ดังนี้ ระยะเวลาของอาการปวด สาเหตุของอาการปวดท้องที่เกิดขึ้นไม่นาน ส่วนใหญ่อาจเกิดจากการมีแก๊สในกระเพาะอาหาร เป็นไข้หวัด หรือมีอาการเกี่ยวกับลำไส้ แต่อาการปวดท้องอาจหายได้เองภายใน 24 ชั่วโมง แต่หากมีอาการปวดท้องนานเกิดกว่า 24 ชั่วโมง ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและประเมินอาการ ตำแหน่งของอาการ เด็กปวดท้อง โดยปกติแล้ว อาการปวดท้องอาจเกิดขึ้นบริเวณกลางช่องท้อง ซึ่งลูกอาจแสดงอาการออกมาด้วยการถูรอบ ๆ ท้อง แต่หากเกิดอาการปวดบริเวณอื่น ๆ เช่น ปวดบริเวณที่ต่ำกว่ากลางช่องท้องและเยื้องลงมาทางด้านขวาอาจเป็นอาการปวดท้องในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ […]


สุขภาพเด็ก

ป้องกันลูกน้อยจากยุง ตัวร้ายแสนกวนใจ มีวิธีไหนบ้าง

ป้องกันลูกน้อยจากยุง อาจทำได้หลายวิธี เช่น การแต่งตัวเพื่อลดพื้นผิวที่จะทำให้ถูกยุงกัด การใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุง กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เนื่องจาก ยุงป็นสัตว์ที่อาจส่งต่อเชื้อโรคที่เป็นอันตรายจากคนไปสู่คนได้ นอกจากนี้ เด็กบางคนเมื่อโดนยุงกัดอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้อีกด้วย ดังนั้น การเลือกวิธีป้องกันลูกน้อยจากยุงจึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญ เพื่อป้องกันลูกจากการติดเชื้อต่าง ๆ ป้องกันลูกน้อยจากยุง ทำได้อย่างไรบ้าง การโดนยุงกัดอาจเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย โดยยุงที่กัดคนมักเป็นยุงเพศเมีย เพราะยุงเพศเมียต้องกินเลือดเพื่อใช้เป็นอาหารให้กับไข่ โดยส่วนใหญ่แล้ว เด็กอาจมีแนวโน้มถูกยุงกัดมากกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งการโดนยุงกัดมักจะไม่เป็นอันตราย น้ำลายของยุงอาจทำให้เกิดอาการคันเล็ก ๆ น้อย ๆ และอาจหายไปเองหลังจากผ่านไป 2-3 ชั่วโมง แต่บางครั้งการโดนยุงกัดอาจทำให้เกิดอาการแพ้ หรือเป็นการแพร่กระจายเชื้อโรคจากยุงสู่คนได้ ดังนั้น วิธีการ ป้องกันลูกน้อยจากยุง อาจทำได้ดังนี้ การแต่งตัว การแต่งตัวเพื่อลดพื้นผิวที่ถูกเปิดเผย อาจเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันลูกน้อยจากยุงได้ โดยคุณพ่อคุณแม่อาจเลือกเสื้อผ้าที่น้ำหนักเบา อากาศผ่านได้ดี เพื่อปกคลุมร่างกายลูก สำหรับทารกที่อายุน้อยอาจหลีกเลี่ยงเสื้อผ้ารัดรูป กางเกงขาสั้น กระโปรง หรือเดรส ควรแต่งตัวด้วยชุดบอดี้สูทที่ครอบคลุมร่างกายให้มากที่สุด สำหรับเด็กโตควรเลือกกางเกงขายาว เสื้อเชิ้ตแขนยาว น้ำหนักเบา สวมถุงเท้าและรองเท้าแบบปิดเท้า สวมหมวกปีกกว้างเพื่อป้องกันใบหน้าจากแมลงต่าง ๆ สีของเสื้อผ้าก็อาจมีส่วนสำคัญ จึงควรเลือกเสื้อผ้าที่สีอ่อน ๆ หรือสีสดใสเพื่อจะได้ไม่ดึงดูดยุงและแมลง เลือกยากันยุงที่เหมาะสม ยากันยุงส่วนใหญ่อาจป้องกันยุงได้ประมาณ 2-5 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารเคมีที่เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม […]


สุขภาพเด็ก

อาการฮันเตอร์ คืออะไร อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

อาการฮันเตอร์ (Hunter Syndrome)  เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก พบได้บ่อยในเด็กชายที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เกิดจากร่างกายไม่สามารถผลิตเอนไซม์ในการย่อยสลายน้ำตาลบางชนิด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีพัฒนาการช้า จมูกกว้าง ศีรษะมีขนาดใหญ่ แก้มใหญ่ โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่การดูแลที่เหมาะสมอาจช่วยให้ควบคุมอาการของโรคและอยู่ร่วมกับโรคได้ดีขึ้น คำจำกัดความอาการฮันเตอร์ (Hunter Syndrome)  คืออะไร อาการฮันเตอร์ (Hunter Syndrome) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก พบได้บ่อยในเด็กชายที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตเอนไซต์ในการย่อยสลายน้ำตาลบางชนิด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีพัฒนาการช้า จมูกกว้าง ศีรษะมีขนาดใหญ่ แก้มใหญ่ โรคดังกล่าวนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่สามารถควบคุมอาการให้ทุเลาลงและอยู่กับโรคได้ พบได้บ่อยเพียงใด เด็กผู้ชายที่มีอายุต่ำกว่า 18 เดือน อาการอาการฮันเตอร์ อาการฮันเตอร์ส่งผลกระทบต่อสมองประมาณ 75% มักจะเกิดขึ้นระหว่างอายุ 18 เดือน โดยมีลักษณะอาการ ดังต่อไปนี้ แก้มกลมใหญ่ จมูกกว้าง ริมฝีปากหนาและลิ้นใหญ่ คิ้วหนา ศีรษะโต ผิวหนังหนาและเหนียว กระดูกหนา. ร่างกายเจริญเติบโตช้า ไอบ่อย มีพฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ เช่น ท้องเสีย ตับโต ม้ามโต ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของอาการฮันเตอร์ สาเหตุของอาการฮันเตอร์เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมที่ถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม ความผิดปกติทางพันธุกรรมนี้ส่งผลให้น้ำตาลเชิงซ้อนมิวโคโพลีแซ็กคาไรด์  (Mucopolysaccharides)  ไม่ถูกย่อยสะสมในเซลล์ เลือด และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ส่งผลให้เซลล์และอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายเกิดความเสียหาย ปัจจัยเสี่ยงของอาการฮันเตอร์ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของอาการฮันเตอร์ มี อยู่ […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

เลือกแว่นสายตาให้ลูกน้อย อย่างไรให้เหมาะสม

เรื่องของสายตานั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับสายตามักจะรักษาหรือแก้ไขได้ยาก สำหรับเด็ก ๆ ปัญหาสายตาสั้นมักเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย แล้วเมื่อถึงเวลาจะต้อง เลือกแว่นสายตาให้ลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกอย่างไร จึงจะปลอดภัยและรักษาสายตาของลูกน้อยให้มากที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธี เลือกแว่นสายตาให้ลูกน้อย เมื่อลูกน้อยมีปัญหาสายตา เช่น สายตาสั้น สายตาเอียง การชักชวนให้ลูกน้อยสวมใส่แว่นสายตาในทุก ๆ วัน ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ยากสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ดังนั้น การใส่ใจรายละเอียด และการเลือกแว่นสายตาให้เหมาะสมอาจจะช่วยให้ลูกน้อยต้องการสวมแว่นสายตา และวิธีการ เลือกแว่นสายตาให้ลูกน้อย อาจทำได้ ดังนี้ ปรึกษาจักษุแพทย์ โดยส่วนใหญ่แล้วทางจักษุแพทย์จะเป็นคนวัดค่าสายตาและออกใบสั่งยาให้ ดังนั้น การตรวจสอบปัญหา และปรึกษาเพื่อหาข้อสรุปกับจักษุแพทย์ให้ถี่ถ้วนเสียก่อน เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ตรวจสอบให้แน่ใจว่ากรอบแว่นสายตาพอดี ในกระบวนการเลือกแว่นสายตา คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจกับการเลือกกรอบแว่นเป็นอันดับต้น ๆ เพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกอยากใส่ อาจเป็นลายการ์ตูนหรือสีสันสดใส นอกจากนั้น กรอบแว่นของลูกน้อยควรจะมีความพอดี ต้องไม่บีบหูหรือบีบจมูกมากเกินไป วัสดุของแว่นตาที่สัมผัสกับผิวบนใบหน้าควรเป็นวัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวของลูกน้อย โดยส่วนใหญ่แล้วแว่นสายตาที่จะใส่สบายสำหรับเด็กก็คือ แว่นสายตาที่ทำจากยางและมีห่วงพันรอบศีรษะ เพื่อป้องกันแว่นตาหล่นและทำให้ยากต่อการถอด ที่สำคัญหากวัสดุแว่นมีน้ำหนักเบา จะยิ่งเพิ่มความสบายในการสวมใส่เป็นระยะเวลานาน ๆ อีกด้วย เลือกแว่นที่มีดีไซน์ทันสมัยและเหมาะกับวัย เด็กส่วนใหญ่จะมีแว่นสายตาเป็นของตัวเองครั้งแรก ดังนั้น การเลือกกรอบแว่นให้มีสไตล์ที่ทันสมัยและน่าสนใจจะช่วยให้เด็ก ๆ อยากใส่แว่นไว้ตลอดเวลา นอกจากนี้ คุณสมบัติต่าง ๆ ของเลนส์ก็เป็นส่วนที่สำคัญ เช่น เลนส์เปลี่ยนสีอัตโนมัติเมื่ออยู่กลางแสงแดดหรือในที่มืด สิ่งเหล่านี้อาจช่วยดึงดูดใจให้ลูกน้อยอยากสวมแว่นสายตาได้ เลือกแว่นสายตาที่มีคุณภาพช่วยรักษาสายตา เลนส์ของแว่นสายตาควรอยู่บริเวณตาพอดี ไม่เช่นนั้นเด็ก […]


สุขภาพเด็ก

โปแลนด์ซินโดรม อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

โปแลนด์ซินโดรม (Poland Syndrome) เป็นโรคหายากชนิดหนึ่งที่กล้ามเนื้อของร่างกายซีกใดซีกหนึ่งพัฒนาช้า หรือไม่มีกล้ามเนื้อ พบมากบริเวณกล้ามเนื้อหน้าอก แต่ก็อาจเกิดกลับกล้ามเนื้อไหล่ แขน และมือได้เช่นกัน คำจำกัดความ โปแลนด์ซินโดรม คืออะไร โปแลนด์ซินโดรม (Poland Syndrome) โรคนี้ถูกตั้งชื่อขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 19 ตามชื่อของนักกายวิภาคศาสตร์ชาวอังกฤษ ที่ชื่อว่า เซอร์อัลเฟรด โปแลนด์ (Sir Alfred Poland) โปแลนด์ซินโดรมจะทำให้เกิดการขาดพัฒนาการกล้ามเนื้อของร่างกาย ซึ่งมักจะมีรูปแบบที่ไม่ซ้ำกัน ลักษณะส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมักจะเป็นบริเวณกล้ามเนื้อหน้าอก คือช่วงหน้าอกจะไม่มีกล้ามเนื้อ ส่งผลให้หน้าอกผิดรูปตั้งแต่กำเนิด ทั้งยังเกิดบริเวณนิ้วมือ ไหล่ และแขนได้ด้วย แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดความผิดปกติเพียงด้านเดียวของร่างกาย โปแลนด์ซินโดรม พบบ่อยเพียงใด โปแลนด์ซินโดรมนั้นค่อนข้างหากยาก ตามที่สถาบันวิจัยรหัสพันธุกรรมมนุษย์แห่งชาติ (National Human Genome Research Institute: NGHRI) ของสหรัฐฯ ระบุไว้ว่าคนที่มีกลุ่มอาการของโปแลนด์ซินโดรมมีเพียง 1 ใน 10,000 ถึง 1 ใน 100,000 ซึ่งส่วนใหญ่จะมีความผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด หรืออาการของโรคนี้อาจจะชัดเจนขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยแรกรุ่น ส่วนทางหอสมุดแห่งชาติการแพทย์ของสหรัฐฯ ประมาณการว่า ทารกที่เกิดมาพร้อมโปแลนด์ซินโดรม มีประมาณ 1 ใน 20,000 […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน สาเหตุ อาการ และการรักษา

โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน (Patent ductus arteriosus; PDA) เป็นความผิดปกติของหัวใจที่พบได้บ่อยในทารกที่คลอดก่อนกำหนด ส่งผลให้มีเลือดส่งไปที่ปอดมากกว่าปกติ และอาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และเจริญเติบโตช้า โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน คืออะไร โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน เกิดจากการที่หลอดเลือดแดงหัวใจดักตัสอาร์เทอริโอซัส (Ductus Arteriosus) ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบหมุนเวียนโลหิตปิดไม่สนิทหลังจากที่ทารกคลอด ความผิดปกติดังกล่าวนี้ส่งผลให้เลือดส่งไปที่ปอดมากกว่าปกติ โดยส่วนใหญ่โรคนี้มักพบบ่อยในทารกคลอดก่อนกำหนด และอาจพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุใดที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน โรคหลอดเลือดหัวใจเกินพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย  โดยอาจเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ การคลอดก่อนกำหนด ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น อาการดาวน์ซินโดรม ทารกที่เกิดจากแม่ที่เป็นโรคหัดเยอรมัน ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน หากทารกมีอาการดังต่อไปนี้ แสดงว่าอาจเข้าข่ายต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทันที เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง หายใจเร็ว รับประทานอาหารได้น้อย หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกขณะรับประทานอาหาร อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ วิธีการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน สำหรับวิธีการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน จะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละคน  โดยมีวิธีการรักษาดังต่อไปนี้ ตรวจเช็กอาการ  ในเบื้องต้นทารกที่คลอดก่อนกำหนด แพทย์จะทำการตรวจเช็กอาการของทารก ในระยะ 2 ปีแรก เพื่อให้มั่นใจว่าหลอดเลือดหัวใจของทารกปิดเรียบร้อยดีแล้ว รักษาด้วยยา หากภายในระยะเวลา 2 ปี พบว่าหลอดเลือดหัวใจของทารกยังไม่ปิด แพทย์อาจจ่ายยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น อินโดเมทาซิน (Indomethacin)  ไอบูโพรเฟน […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

ไข้ออกผื่น ลูกไม่สบายทีไร ผื่นขึ้นทุกครั้ง

ไข้ออกผื่น เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ส่งผลให้เกิดผื่นขึ้นตามผิวหนัง สามารถติดต่อผ่านการสัมผัสกับผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก โรคมือเท้าปาก ไข้เวสต์ไนล์ และโรคงูสวัดได้อีกด้วย อาการป่วยอื่น ๆ ที่อาจมาพร้อมกับไข้ออกผื่น ได้แก่ ไข้  อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย อาการหนาว อาการไข้ออกผื่นส่วนใหญ่ มักเกิดขึ้นกับเด็กในช่วงวัยหัดเดิน ปริมาณผื่นจะขึ้นมากหรือน้อยอาจขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล ไข้ออกผื่น คืออะไร ไข้ออกผื่น (Viral Exanthems) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ส่งผลให้เกิดผื่นขึ้นตามผิวหนัง มักเกิดร่วมกับอาการป่วยอื่น ๆ เช่น ไข้  อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย อาการหนาว อย่างไรก็ตามอาการไข้ออกผื่นส่วนใหญ่ มักเกิดขึ้นกับเด็กในช่วงวัยหัดเดิน โดยปริมาณผื่นจะขึ้นมากหรือน้อยนั้นอาจขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล ไข้ออกผื่น เกิดจากสาเหตุใด ไข้ออกผื่น เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน นอกจากการติดเชื้อไวรัสแล้ว ยังสามารถติดต่อผ่านการสัมผัสกับผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก โรคมือเท้าปาก ไข้เวสต์ไนล์ และโรคงูสวัดได้อีกด้วย ซึ่งการติดเชื้อไวรัสที่อาจทำให้เกิด อาการไข้ออกผื่น อาจจะเกิดจากโรคหรือเชื้อไวรัส ดังต่อไปนี้ โรคอีสุกอีใส ซึ่งเกิดจากไวรัสวาริเซลลา (Varicella Virus) เมื่อเด็กเป็นอีสุกอีใสจะมีตุ่มน้ำพองเล็ก ๆ ขึ้นตามบริเวณผิวหนัง ร่วมกับอาการป่วยอื่น ๆ เช่น มีไข้สูง อาเจียน ปวดศีรษะ […]


โรคผิวหนังในเด็ก

สาเหตุที่ทำให้ลูกมีรังแค และวิธีการรักษา

ลูกมีรังแค อาจเกิดขึ้นจากโรคผิวหนังที่มีชื่อว่า เซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) หรืออาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น ผิวแห้ง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผม กลาก เกลื้อน ความเครียด ทำให้หนังศีรษะลอกออกเป็นขุยสีขาว ๆ ตกสะเก็ด อาการคัน รวมถึงรอยแดงในบริเวณที่ได้รับผลกระทบ การรักษารักแคอาจทำได้ด้วยวิธีการดูแลลูกน้อย เช่น สระผมให้ลูกเป็นประจำ หวีผม ใช้แชมพูกำจัดรังแค หรืออาจปรึกษาคุณหมอเพื่อหาวิธีจัดการกับรังแคอย่างเหมาะสม สาเหตุทำให้ ลูกมีรังแค รังแค หรือชื่อหนึ่งคือ “เซ็บเดิร์ม” เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยมากในเด็กและผู้ใหญ่ ลักษณะของรังแคก็คือทำให้เกิดผิวเป็นขุยสีขาวหรือเหลือบนหนังศีรษะ และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นคิ้ว เปลือกตา หู รอยพับของจมูก หลังคอ รักแร้ ขาหนีบ และหน้าท้อง นอกจากนั้น รังแค ยังอาจทำให้เกิดรอยแดงในบริเวณที่ได้รับผลกระทบ รวมไปถึงอาจก่อให้เกิดอาการคัน และ ผมร่วงได้ด้วยหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดรังแคในเด็กนั้นยังไม่มีสาเหตุที่แท้จริง แต่นักวิจัยบางคนเชื่อว่า อาจเกิดจากการผลิตน้ำมันของผิวในต่อมน้ำมันและรูขุมขนที่มากเกินไป ทำให้เชื้อราที่เรียกว่า มาลาสซีเซีย (Malassezia) สามารถเจริญเติบโตได้ในไขมันพร้อมกับแบคทีเรีย นอกจากนั้นมันยังมีสาเหตุมาจากสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน