เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

6 ท่า อุ้ม เด็ก ที่เหมาะสมกับคุณแม่และลูก

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายท่านอาจกำลังศึกษา ท่า อุ้ม เด็ก ที่เหมาะสม เพื่อให้ดีต่อร่างกายของเด็กและช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สบายตัวมากขึ้น เนื่องจากการอุ้มมีประโยชน์อย่างมากทั้งต่อพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจและสมองของเด็ก ทั้งยังช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้อุ้มกับเด็กอีกด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] ประโยชน์ของการอุ้มเด็ก การอุ้มเด็กมีประโยชน์ต่อพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ และระบบประสาทของเด็ก ทั้งยังช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้อุ้มกับเด็ก และยังช่วยให้เด็กรู้สึกปลอดภัย นอกจากนี้ การใช้ท่าอุ้มเด็กที่เหมาะสมยังมีประโยชน์ต่อเด็กในด้านอื่น ๆ อีก เช่น ช่วยควบคุมอุณหภูมิ อัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ และการเจริญเติบโตทางร่างกายและอารมณ์ของเด็ก ช่วยให้กระดูกสันหลังของเด็กพัฒนาในรูปทรงที่ดี ไม่คดงอเมื่อโตขึ้น เพราะการอุ้มเด็กในท่าทางที่ถูกต้องจะช่วยให้กระดูกสันหลังของเด็กที่ยังอ่อนอยู่ตั้งตรงในตำแหน่งที่ดี แต่หากอุ้มในท่าที่เด็กจะต้องเอียงตัวไปข้างใดข้างหนึ่ง อาจเสี่ยงที่เด็กจะมีกระดูกสันหลังคดงอได้ ช่วยลดอาการร้องไห้งอแงในเด็กได้ เพราะเด็กจะรู้สึกปลอดภัยเมื่อถูกอุ้ม อาจช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาและการเข้าสังคม เพราะในระหว่างอุ้มเด็กจะได้ยินเสียงอย่างใกล้ชิด และสามารถตอบสนองต่อการสื่อสารได้ง่ายขึ้น 6 ท่า อุ้ม เด็ก มีอะไรบ้าง ท่าอุ้มเด็กต่อไปนี้อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สบายมากขึ้น และยังช่วยให้เด็กปลอดภัยอีกด้วย ท่าที่ 1 ท่าอุ้มรับทารกแรกเกิด ใช้มือข้างหนึ่งประคองศีรษะและคอของทารกแรกเกิดไว้ และอีกมือหนึ่งอยู่ใต้ก้นของทารก งอเข่าเล็กน้อยระหว่างยกตัวทารกเพื่อป้องกันอาการปวดหลัง เมื่อยกตัวทารกขึ้นมาแล้วให้อุ้มทารกไว้แนบอก จากนั้นเลื่อนมือที่อยู่ด้านล่างของทารกขึ้นมารองรับคอของทารก ค่อย ๆ เคลื่อนศีรษะของทารกไปที่ข้อพับแขน โดยยังคงประคองคอของทารกไว้ แล้วย้ายมืออีกข้างมาไว้ใต้ก้นทารก ท่าที่ 2 ท่าอุ้มช่วยให้แขนและมือเด็กอยู่นิ่ง คุณแม่นั่งในท่าที่สบาย จากนั้นให้เด็กนั่งบนตักหั่นหน้าไปด้านข้างหรือหันออกห่างจากตัวแม่ โดยให้อกเด็กชิดกับอกแม่ ให้ขาของเด็กกางออกอยู่ระหว่างเอวทั้ง […]

สำรวจ เด็กทารก

เด็กทารก

Tongue Tie คือ อะไร อาการและการรักษา

ภาวะลิ้นติดในทารก หรือ Tongue Tie คือ ภาวะที่เกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด โดยภาวะนี้จะทำให้ทารกไม่สามารถเคลื่อนไหวลิ้นได้เต็มที่ เนื่องจากการยึดตัวของพังผืดใต้ลิ้นที่มากเกินไป ส่งผลให้ทารกดูดนมแม่ได้ไม่ดีเท่าที่ควร และมีแนวโน้มที่ทารกจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ น้ำหนักตัวน้อย ตัวเหลือง และอาจมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ [embed-health-tool-baby-poop-tool] คำจำกัดความ Tongue Tie คืออะไร Tongue Tie คือ ภาวะลิ้นติดในทารก โดยลิ้นจะมีลักษณะสั้น หนา และพังผืดใต้ลิ้นอาจยึดบริเวณพื้นปากกับปลายลิ้นมากเกินไป ส่งผลให้ทารกไม่สามารถเคลื่อนไหวลิ้นได้เต็มที่ ซึ่งภาวะนี้อาจส่งผลต่อการดูดนมของทารก การกินอาหาร การพูด และการกลืนของเด็ก อาการ อาการ Tongue Tie อาการของภาวะลิ้นติดในทารก อาจมีดังนี้ ทารกจะขยับลิ้นขึ้นด้านบน หรือขยับลิ้นไปด้านข้างลำบาก ทารกอาจมีปัญหาในการแลบลิ้น เมื่อทารกแลบลิ้น ลิ้นอาจมีลักษณะหยักหรือคล้ายรูปหัวใจ อาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะลิ้นติดในทารก ดังนี้ ทารกอาจเคี้ยวหัวนมมากกว่าดูดนม ทารกน้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น ทารกอาจต้องใช้เวลากินนมนาน และต้องป้อนนมหลายครั้ง ทารกหิวง่าย และร้องไห้งอแงบ่อย อาจมีเสียงจากปากทารกขณะป้อนนม หากอาการลิ้นติดในทารกส่งผลกระทบต่อการดูดนม การกินอาหารหรือการออกเสียง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา สาเหตุ สาเหตุของ Tongue Tie ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะลิ้นติดในทารก อาจเป็นไปได้ว่าภาวะลิ้นติดในทารกเกิดขึ้นจากปัจจัยทางพันธุกรรม ภาวะแทรกซ้อน ภาวะลิ้นติดในทารกอาจส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในอนาคต เช่น ปัญหาการดูดนม ลิ้นเป็นส่วนประกอบสำคัญในการดูดนม ทารกที่มีภาวะลิ้นติดจะไม่สามารถใช้ลิ้นในการดูดนมได้สะดวกและทารกอาจเคี้ยวมากกว่าดูด ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บปวดหัวนม นอกจากนี้ […]


เด็กทารก

ทารกอุจจาระ มีมูก เกิดจากอะไร เป็นเรื่องปกติหรือไม่

ในบางครั้ง คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นว่า ทารกอุจจาระ มีมูก ลักษณะเหนียวใส และกังวลว่าเป็นเรื่องปกติหรือไม่ จริง ๆ แล้ว ทารกอุจจาระมีมูกมักเป็นภาวะที่พบได้ทั่วไปและไม่เป็นอันตราย พบได้ทั้งในทารกที่กินนมแม่และในทารกที่เปลี่ยนอาหารกะทันหัน เช่น เปลี่ยนจากนมแม่ไปเป็นอาหารแข็ง อย่างไรก็ตาม ทารกอุจจาระเป็นมูกในบางกรณีก็อาจเป็นสัญญาณของภาวะผิดปกติ เช่น การติดเชื้อ อาการท้องเสีย หากพบว่าทารกอุจจาระมีมูกมากกว่าปกติ ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น อุจจาระมีเลือดปน ร้องไห้ ไม่ยอมนอน ควรพบไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-child-growth-chart] ทารกอุจจาระ มีมูก เกิดจากอะไร ทารกอุจจาระมีมูก ถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากมูกในอุจจาระของทารกช่วยเคลือบอุจจาระให้สามารถเคลื่อนตัวออกมาจากระบบขับถ่ายได้สะดวก พบได้บ่อยในทารกที่กินนมแม่ซึ่งอุจจาระจะมีมูกปนและเนื้อค่อนข้างเหลว และอาจพบมูกในอุจจาระทารกได้มากขึ้นในช่วงที่ทารกเปลี่ยนจากการกินนมแม่เพียงอย่างเดียวไปกินอาหารแข็ง (Solid food) เช่น ผักบด ผลไม้นึ่งหั่นเต๋า โจ๊กปลา นอกจากนี้ ทารกอุจจาระ มีมูกยังอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ได้ด้วย การติดเชื้อ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย พยาธิ อาจทำให้ทารกอุจจาระ มีมูก ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ถ่ายเหลว ถ่ายเป็นน้ำ ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาตามคำแนะนำของคุณหมอหรือเภสัชกร อาการท้องเสีย อาจทำให้ทารกอุจจาระมีมูกปน […]


โภชนาการสำหรับทารก

เมนู ลูก รัก วัย 9 -10 เดือน ควรเป็นอย่างไร

ลูกวัย 9-10 เดือน เป็นวัยที่สามารถรับประทานอาหารแข็งและเริ่มเรียนรู้การใช้มือในการรับประทานอาหารด้วยตัวเอง ดังนั้น เมนู ลูก รัก วัย 9 -10 เดือน จึงควรอุดมไปด้วยสารอาหารที่หลากหลายและครบถ้วนทั้งเนื้อสัตว์ คาร์โบไฮเดรต ผักและผลไม้ นอกจากนี้ ควรผ่านการปรุงสุก สับเป็นชิ้นพอหยาบ และไม่ผ่านการปรุงรส เพื่อให้รับประทานง่ายและไม่ส่งผลเสียต่อระบบย่อยอาหาร [embed-health-tool-bmi] โภชนาการลูกรักวัย 9 -10 เดือน ที่เหมาะสม ลูกรักวัย 9 -10 เดือน สามารถรับประทานอาหารแข็งได้ ½ ถ้วย ประมาณ 3-4 ครั้ง/วัน พร้อมกับอาหารว่างด้วย โดยอาจแบ่งได้ ดังนี้ อาหารที่อุดมด้วยโปรตีน 1/4-1/2 ถ้วย ผลิตภัณฑ์ธัญพืช 1/4-1/2 ถ้วย ผัก 1/2-3/4 ถ้วย ผลไม้ 1/2-3/4 ถ้วย และควรรับประทานนมแม่หรือนมผงหลังอาหาร 7-8 ออนซ์ ประมาณ 3-4 ครั้ง/วัน เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ โดยก่อนป้อนอาหารแข็งให้ลูกควรสับอาหารให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ […]


โภชนาการสำหรับทารก

เมนูอาหารเด็ก6เดือน ที่ควรกินมีอะไรบ้าง และควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง

เด็ก 6 เดือน เป็นวัยที่เริ่มเรียนรู้ทักษะการกินอาหารแข็งทั้งการสัมผัส การเคี้ยว และการกลืน เมนูอาหารเด็ก6เดือน จึงควรเป็นอาหารที่มีเนื้อสัมผัสอ่อนนุ่ม บดละเอียด และรสชาติอ่อน ๆ พร้อมทั้งควรอุดมไปด้วยสารอาหารที่ครบถ้วน เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับรสชาติอาหารแบบใหม่ และได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้น [embed-health-tool-bmi] โภชนาการเด็ก 6 เดือน ควรเป็นอย่างไร เด็ก 6 เดือนเป็นวัยที่สามารถเริ่มกินอาหารแข็งได้แล้ว แต่ยังคงต้องกินนมแม่หรือนมผงเป็นอาหารหลักอยู่ โดยปริมาณนมและอาหารแข็งที่เด็ก 6 เดือนควรได้รับอาจมีดังนี้ นมแม่หรือนมผง 4-6 ออนซ์ ประมาณ 4-6 ครั้ง/วัน การเริ่มต้นให้อาหารแข็งเป็นอาหารเสริม ควรบดอาหารเพียงชนิดเดียวในปริมาณเล็กน้อยประมาณ 1-2 ช้อนชา 4 ครั้ง/วัน และอาจค่อย ๆ เพิ่มอาหารแข็งเป็น 1-2 ช้อนโต๊ะ โดยผสมกับนมแม่หรือนมผงเพื่อไม่ให้อาหารข้นเกินไปและกินง่ายมากขึ้น เมื่อเด็กเริ่มชินกับอาหารแข็งสามารถเพิ่มปริมาณอาหารแข็งเป็น ½ ถ้วย ประมาณ 2-3 ครั้ง/วัน ดังนี้ นมแม่หรือนมผง 6-8 ออนซ์ ประมาณ 3-5 ครั้ง/วัน โปรตีน 1-2 […]


โภชนาการสำหรับทารก

อาหารเด็ก6เดือน ที่เหมาะสมตามวัย มีอะไรบ้าง

โดยทั่วไป เด็กสามารถเริ่มกินอาหารแข็งหรืออาหารเสริมอื่น ๆ นอกเหนือจากนมแม่หรือนมผงได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรเลือก อาหารเด็ก6เดือน ที่เหมาะกับช่วงวัยและสุขภาพของเด็ก เช่น ผักและผลไม้ที่บดหรือปั่นละเอียด อาหารที่มีธาตุเหล็ก อาหารประเภทแป้ง อาหารที่มีโปรตีน ซึ่งนอกจากจะให้สารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย สมอง และระบบประสาทของเด็กแล้ว ยังช่วยฝึกพัฒนาการในการเคี้ยวและการกลืนอาหาร รวมถึงช่วยให้เด็กได้เรียนรู้เนื้อสัมผัสของอาหารด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็กเริ่มกินอาหารแข็ง (Solid foods) ได้เมื่อไหร่ อาหารแข็ง คือ อาหารเสริมโภชนาการสำหรับทารกที่นอกเหนือไปจากน้ำนมแม่หรือนมผง โดยทั่วไปแล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถให้เด็กเริ่มกินอาหารแข็งควบคู่ไปกับการให้กินนมแม่ได้ตั้งแต่เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้น เช่น แร่ธาตุ วิตามิน ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่สมบูรณ์แข็งแรงตามวัย ทั้งนี้ ควรเริ่มให้เด็กกินอาหารเนื้อนิ่ม รสชาติอ่อน เคี้ยวและกลืนได้ง่าย เพื่อป้องกันการสำลักอาหารหรืออาหารติดคอ โดยอาจให้เด็ก 6 เดือนกินอาหารแข็งวันละ 2 ครั้ง เพียงครั้งละ 2-3 ช้อนโต๊ะ/มื้อ เนื่องจากกระเพาะอาหารของเด็กวัยนี้ยังเล็ก จึงอาจยังรับอาหารได้น้อย และหากอิ่มเกินไปก็อาจทำให้กินนมแม่ได้น้อยลง คุณพ่อคุณแม่สามารถป้อนอาหารเด็ก6เดือนด้วยช้อน หรือให้เด็กฝึกหยิบจับอาหารด้วยตัวเองก็ได้ ในระยะแรกเด็กอาจเลือกกินเนื่องจากไม่คุ้นเคยกับรูปร่าง เนื้อสัมผัส และรสชาติอาหาร คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรบังคับให้เด็กกินอาหารที่เด็กไม่อยากกินเพราะอาจทำให้กินยากกว่าเดิม ควรให้เด็กกลับไปกินนมแม่หรือนมขวดตามปกติ […]


เด็กทารก

ลักษณะอุจจาระทารกปกติ เป็นอย่างไร และทารกถ่ายบ่อยแค่ไหน

ลักษณะอุจจาระทารกปกติ จะเป็นก้อนนิ่ม เนื้ออาจเหลวเล็กน้อย และอาจมีหลายสี เช่น สีเทา สีเขียว สีเหลือง สีน้ำตาล แตกต่างไปตามอายุและอาหารที่ทารกรับเข้าสู่ร่างกาย อีกทั้งทารกแต่ละคนยังมีความถี่ในการขับถ่ายไม่เหมือนกันด้วย ทารกบางคนอาจถ่ายอุจจาระทุกครั้งหลังกินนม หรือบางคนอาจถ่ายอุจจาระเพียงสัปดาห์ละครั้ง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติในทารกที่กินเพียงนมแม่หรือนมผงและไม่จำเป็นต้องขับถ่ายของเสียมากนัก ปัญหาการขับถ่ายของทารกส่วนใหญ่อาจเกิดขึ้นในช่วงที่ทารกเริ่มกินอาหารแข็ง หากทารกถ่ายน้อยลง ร่วมกับมีอาการอื่น ๆ เช่น อุจจาระมีเลือดปน ร้องไห้งอแง มีอาการขาดน้ำ อาจเป็นสัญญาณของปัญหาการขับถ่ายที่ควรพาไปพบคุณหมอ [embed-health-tool-baby-poop-tool] ลักษณะอุจจาระทารกปกติ เป็นอย่างไร ลักษณะอุจจาระทารกปกติ อาจมีหลายสี เช่น สีเขียว สีเหลือง สีน้ำตาล และมีเนื้อสัมผัสที่ต่างกันไปตามอายุและอาหารที่รับเข้าสู่ร่างกาย ในช่วงประมาณ 2-3 วันแรกหลังคลอด ทารกจะถ่ายอุจจาระออกมาเป็นสีเทา เนื้อเหนียว หรือที่เรียกว่าขี้เทา (Meconium) ซึ่งเป็นของเสียที่สะสมอยู่ในระบบย่อยอาหารของทารกตลอดการตั้งครรภ์ หลังจากนั้น อุจจาระของทารกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองมัสตาร์ด อาจมีเนื้อนิ่มและเหลวเล็กน้อย ซึ่งเป็น ลักษณะอุจจาระทารกปกติ เมื่อทารกกินนมแม่ แต่หากทารกกินนมผงอาจมีอุจจาระสีเหลืองเข้มขึ้น และเมื่อคุณพ่อคุณแม่เริ่มให้ทารกกินอาหารแข็ง (Solid food) อุจจาระของทารกอาจเป็นสีเขียว สีเหลือง สีน้ำตาล หรือสีส้ม ตามอาหารที่ทารกรับเข้าสู่ร่างกาย และเมื่ออายุมากขึ้นเรื่อย ๆ […]


เด็กทารก

น้ำหนักทารก และส่วนสูง ตามช่วงอายุ

ทารกแต่ละคนอาจมีการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการที่แตกต่างกัน การทราบถึง น้ำหนักทารก และส่วนสูง จึงอาจมีส่วนช่วยในการประเมินสุขภาพร่างกายและพัฒนาการของทารกที่เหมาะสมตามวัยเบื้องต้นได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตและใส่ใจน้ำหนักและส่วนสูงของทารกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] น้ำหนักทารก มีความสำคัญอย่างไร น้ำหนักทารก มีความสำคัญต่อการประเมินการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์แข็งแรงให้เหมาะสมตามวัย รวมทั้งสุขภาพร่างกายและพัฒนาการของทารกในอนาคต โดยการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักทารกอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในและภายนอกร่างกาย ดังนี้ การตั้งครรภ์ โดยปกติทารกที่คลอดตามกำหนดจะมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ส่งผลให้น้ำหนักทารกและส่วนสูงมีความเหมาะสมตามวัย พันธุกรรม อาจมีผลต่อน้ำหนักทารกและส่วนสูง โดยเฉพาะความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ร่างกาย ดาวน์ซินโดรม กลุ่มอาการนูแนน (Noonan Syndrome) ซึ่งเป็นโรคที่อาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของยีนในร่างกายที่ส่งผลต่อน้ำหนักทารก เพศ ทารกผู้หญิงและทารกผู้ชายมักมีการเจริญเติบโตของร่างกาย น้ำหนักและส่วนสูงไม่เท่ากัน อาหาร ทารกที่กินนมแม่อาจได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างเหมาะสมมากกว่ากินนมผง ฮอร์โมน ความสมดุลของฮอร์โมนเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของร่างกายทารก ซึ่งส่งผลต่อน้ำหนักทารกและส่วนสูงได้ การนอนหลับ ส่งผลดีต่อการเจริญโตทางร่างกายและพัฒนาการของทารก ซึ่งอาจส่งผลต่อน้ำหนักทารกและส่วนสูงได้ น้ำหนักทารก และส่วนสูง ของทารกแรกเกิดถึงอายุ 11 เดือน ทารกแรกเกิด ทารกผู้หญิงควรมีน้ำหนักประมาณ 3.2 กิโลกรัม และมีส่วนสูงประมาณ 49.2 เซนติมเมตร ส่วนทารกผู้ชายควรมีน้ำหนักประมาณ 3.4 กิโลกรัม และมีส่วนสูงประมาณ 49.9 เซนติเมตร ทารกอายุ […]


เด็กทารก

ตัวเหลืองเกิดจากอะไร และวิธีรักษาอย่างเหมาะสม

ภาวะตัวเหลืองเป็นภาวะมักพบในทารกแรกเกิด และเมื่อลูกเกิดมาตัวเหลือง คุณพ่อคุณแม่ก็อาจสงสัยว่า ตัวเหลืองเกิดจากอะไร สาเหตุที่พบบ่อยของภาวะตัวเหลือง คือ ร่างกายของทารกมีบิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารสีเหลืองในกระแสเลือดมากเกินไป ส่งผลให้ผิวหนังของทารกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง มักเกิดขึ้นหลังคลอด 2-3 วัน และอาจหายไปเองภายใน 10-14 วันหลังคลอด การรักษาเบื้องต้นทำได้ด้วยการให้ทารกดูดนมแม่บ่อยขึ้นเพื่อให้ถ่ายบิลิรูบินส่วนเกินออกไปทางอุจจาระ แต่หากมีระดับบิลิรูบินสูงมาก อาจต้องรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การส่องไฟ การถ่ายเลือด การให้ของเหลวทางหลอดเลือดดำ [embed-health-tool-vaccination-tool] ตัวเหลืองเกิดจากอะไร ภาวะตัวเหลือง หรือ ดีซ่าน (Jaundice) มีสาเหตุมาจากทารกมีระดับบิลิรูบินในกระแสเลือดมากเกินไป สารชนิดนี้เป็นสารสีเหลืองที่เกิดจากกระบวนการสลายตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ร่างกายจะขับออกทางอุจจาระ แต่เมื่อใดที่ตับไม่สามารถขับบิลิรูบินออกได้ทัน จะทำให้มีบิลิรูบินสะสมอยู่ในเลือด ส่งผลให้ผิวหนังและลูกตาขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง โดยเริ่มจากบริเวณใบหน้า ก่อนจะกระจายไปทั่วร่างกาย จนเป็นภาวะตัวเหลือง ภาวะตัวเหลืองเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารก โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือคลอดก่อนอายุครรภ์ครบ 38 สัปดาห์ มักเกิดจากตับของทารกยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์นัก ประสิทธิภาพในการกำจัดบิลิรูบินในกระแสเลือดจึงยังไม่มากพอ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น พันธุกรรม คุณแม่มีเลือดกรุ๊ปโอหรืออาร์เอชลบ สารบางชนิดในน้ำนมแม่ (Breast milk jaundice) การบาดเจ็บขณะคลอด การติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดงของทารกที่ทำให้เซลล์สลายตัวอย่างรวดเร็ว อาการตัวเหลืองเป็นอย่างไร ภาวะตัวเหลือง อาจทำให้ทารกมีอาการดังต่อไปนี้ […]


โภชนาการสำหรับทารก

ผลไม้เด็ก 6 เดือน มีประโยชน์อย่างไร และมีอะไรบ้างที่กินได้

เด็ก 6 เดือน สามารถเริ่มกินอาหารแข็งเป็นอาหารเสริมได้แล้ว ดังนั้น เพื่อให้เด็กเริ่มปรับตัวในการเคี้ยว กลืน และสัมผัสกับอาหารรูปแบบใหม่ จึงควรเลือกอาหารที่ผ่านการปรุงสุก บดละเอียด เนื้อเนียนนุ่ม กลืนง่ายและไม่ปรุงรส นอกจากนี้ ผลไม้เด็ก 6 เดือน ก็ควรเป็นผลไม้ที่สุก เนื้อนิ่ม รสชาติไม่เปรี้ยว ควรผ่านการปั่นหรือบดจนละเอียดและไม่ปรุงรส เพื่อให้เด็ก 6 เดือนสามารถกินได้ง่าย และค่อย ๆ คุ้นเคยกับรสชาติของอาหารที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งยังช่วยเสริมสารอาหารอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์กับเด็กอีกด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] อาหารเด็ก 6 เดือน เป็นอย่างไร เด็ก 6 เดือน เป็นช่วงเวลาที่เด็กสามารถเริ่มกินอาหารแข็งได้แล้ว แต่อาจให้กินเป็นเพียงอาหารเสริมในปริมาณเล็กน้อยประมาณ 1 ครั้ง/วัน เพื่อให้เด็กเริ่มปรับตัวในการเคี้ยว กลืน สัมผัสกับอาหารรูปแบบใหม่มากขึ้น และเพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์จากอาหารแข็งเพิ่มเติมด้วย ดังนั้น อาหารแข็งสำหรับเด็ก 6 เดือน จึงควรเป็นอาหารที่ผ่านการปรุงสุก บดละเอียด เนื้อเนียนนุ่ม กลืนง่ายและไม่ปรุงรส นอกจากนี้ ควรเริ่มให้อาหารแข็งเพียงชนิดเดียวใน 1 มื้อ เพื่อช่วยให้เด็กคุ้นเคยกับรสชาติของอาหารทีละอย่าง ป้องกันการแพ้อาหาร […]


การดูแลทารก

คัดกรองทารกแรกเกิด มีประโยชน์ต่อทารกอย่างไร

คัดกรองทารกแรกเกิด เป็นการตรวจสุขภาพและความผิดปกติของร่างกาย รวมทั้งความผิดปกติทางพันธุกรรมที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด เพื่อป้องกันปัญหาการได้ยิน ความผิดปกติของร่างกายในส่วนต่าง ๆ เช่น ตา หัวใจ จมูก สะโพก อัณฑะ และตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะปัญญาอ่อนของทารกแรกเกิด [embed-health-tool-vaccination-tool] คัดกรองทารกแรกเกิด คืออะไร คัดกรองทารกแรกเกิด คือ การตรวจคัดกรองกลุ่มโรคพันธุกรรมเมตาบอลิก (Inborn Errors of Metabolism) ที่อาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกายบางอย่าง เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง โรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของภาวะปัญญาอ่อนในทารกแรกเกิด รวมถึงอาจก่อให้เกิดความพิการทางสติปัญญาอย่างรุนแรง หรือการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดได้ คัดกรองทารกแรกเกิดมีความสำคัญอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกเข้ารับการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดภายใน 2 สัปดาห์หลังจากคลอด แต่โดยปกติทารกแรกคลอดทุกรายจะได้รับการตรวจคัดกรองกลุ่มโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกตั้งแต่ภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังคลอด เนื่องจากกลุ่มโรคดังกล่าวเสี่ยงทำให้ทารกแรกเกิดมีความพิการทางสติปัญหาและสมอง หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ กลุ่มโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก โดยอาจพบได้เพียง 1 ใน 5,000 คนของทารกแรกเกิด จึงอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนชะล่าใจจนส่งผลให้ทารกแรกเกิดได้รับการวินิจฉัยและการรักษาล่าช้าจนโรคพัฒนารุนแรงขึ้น ดังนั้น การพาลูกเข้ารับการตรวจคัดกรองตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จึงอาจช่วยป้องกันภาวะปัญญาอ่อนหรือการเสียชีวิตในทารกแรกเกิดได้ การคัดกรองทารกแรกเกิด ทำได้อย่างไร ปัจจุบันในประเทศไทยมีการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันภาวะปัญญาอ่อน 2 โรค คือ ภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง และโรคฟีนิลคีโตนูเรีย ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมแต่กำเนิดที่อาจนำไปสู่กลุ่มโรคพันธุกรรมเมตาบอลิก โดยทั่วไป การตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดมักตรวจในทารกที่มีอายุประมาณ […]

โฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


โฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม