เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

หมวดหมู่ เด็กทารก เพิ่มเติม

โภชนาการสำหรับทารก

สำรวจ เด็กทารก

โภชนาการสำหรับทารก

นมชงอยู่ได้กี่ชั่วโมง ควรชงนมและเก็บรักษาอย่างไร

คุณแม่ที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมตัวเองได้หรือต้องการสลับให้ลูกกินนมชงร่วมด้วย อาจมีข้อสงสัยว่า นมชงอยู่ได้กี่ชั่วโมง เพื่อจะได้ยืดระยะเวลาในการเก็บรักษา โดยปกติแล้ว นมชงอาจอยู่ได้ประมาณ 2 ชั่วโมงในอุณหภูมิห้อง และอาจอยู่ได้ประมาณ 24 ชั่วโมงเมื่อแช่ไว้ในตู้เย็น ดังนั้น คุณแม่จึงควรพิจารณาความต้องการของเด็กเพื่อที่จะชงนมในปริมาณที่พอเหมาะและเก็บนมได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-due-date] นมชงอยู่ได้กี่ชั่วโมง นมชงโดยทั่วไปอาจอยู่ได้ประมาณ 2 ชั่วโมงหลังจากชงเมื่ออยู่ในอุณหภูมิห้อง โดยไม่ผ่านการอุ่นให้ร้อนอีกครั้ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสูตรของนมผงและยี่ห้อของนมผงแต่ละชนิดด้วย สำหรับนมชงที่ยังไม่ป้อนให้ลูกอาจอยู่ได้ประมาณ 24 ชั่วโมง เมื่อแช่ไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิประมาณ 4 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้แช่แข็งนมชงเพราะอาจลดคุณภาพของนมลงได้ และหากเด็กกินนมชงเหลืออาจเก็บนมไว้ได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง หากเกินจากนั้นควรทิ้งและชงนมใหม่ วิธีชงนมผงที่เหมาะสม ควรทำอย่างไร วิธีการชงนมผงที่เหมาะสมให้แก่เด็กอาจทำได้ ดังนี้ ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดก่อนเริ่มชงนมทุกครั้ง ทำความสะอาดขวดนมและภาชนะทุกชนิดที่ใช้ในการชงนม จากนั้นนำไปต้มหรือเข้าเครื่องฆ่าเชื้อ และควรสะบัดน้ำออกจากภาชนะที่ใช้ชงนมจนหมด หรือตากให้แห้งสนิท เช็ดทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณที่ต้องวางภาชนะในการชงนม ต้มน้ำร้อนในกาต้มน้ำด้วยน้ำใหม่ทุกครั้ง ไม่ควรใช้น้ำที่ผ่านการต้มมาก่อน เพื่อป้องกันสิ่งปนเปื้อนในน้ำ เมื่อต้มน้ำจนเดือด ควรทิ้งน้ำไว้ประมาณ 30 นาที ให้น้ำมีอุณหภูมิลดลงจนเหลือประมาณ 70 องศาเซลเซียส เติมน้ำอุ่นที่ต้มไว้ ตามด้วยนมผงสูตรที่ต้องการ ควรใช้ช้อนตักนมผงที่ให้มาในกล่องเพื่อให้ได้ปริมาณที่ถูกต้องตามสูตร ประกอบจุกนมกับฝารูปวงแหวน โดยการนำจุกนมสอดเข้าไประหว่างช่องว่างฝา จากนั้นดันให้แน่นสนิท นำฝาและจุกนมที่ประกอบแล้วปิดขวดนมที่เติมนมผงและน้ำเรียบร้อยแล้ว จากนั้นเขย่าขวดนมจนนมผงละลายจนหมด […]


เด็กทารก

อ่างอาบน้ำเด็ก ควรเลือกอย่างไรให้เหมาะสม

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มใช้ อ่างอาบน้ำเด็ก คือ ช่วงหลังจากสายสะดือของเด็กแห้งสนิท โดยทั่วไปจะอยู่ประมาณช่วง 1-3 สัปดาห์หลังคลอด คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกซื้ออ่างอาบน้ำเด็ก โดยคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยและความปลอดภัยขณะอาบน้ำเป็นสำคัญ เช่น เลือกอ่างอาบน้ำที่แข็งแรงทนทาน รองรับสรีระและช่วยประคองตัวเด็กได้ดี และควรศึกษาวิธีอาบน้ำเด็กอย่างถูกวิธี เพื่อให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายและอาบน้ำในอ่างได้อย่างปลอดภัย [embed-health-tool-vaccination-tool] ควรเริ่มให้เด็กอาบน้ำใน อ่างอาบน้ำเด็ก ตอนไหน การอาบน้ำให้เด็กในอ่างอาบน้ำอาจทำได้ตั้งแต่สายสะดือของเด็กหลุดและแห้งสนิทแล้ว โดยทั่วไป คือ ในช่วง 1-3 สัปดาห์หลังคลอด แต่หากเด็กมีท่าทางไม่สบายตัวเมื่อลงอ่างอาบน้ำเด็ก คุณพ่อคุณแม่อาจกลับไปใช้วิธีถูตัวด้วยฟองน้ำอีกสักระยะหนึ่งก่อน จึงค่อยลองให้เด็กอาบน้ำในอ่างอีกครั้ง เพื่อให้เด็กค่อย ๆ ปรับตัวให้ชินกับการอาบน้ำในอ่างอาบน้ำเด็ก การเตรียมพร้อมสำหรับการอาบน้ำเด็กในอ่างอาบน้ำอาจทำได้ดังนี้ เตรียมของใช้สำหรับการอาบน้ำเด็ก เช่น สบู่เหลวเด็ก ฟองน้ำอาบน้ำเด็ก ผ้าขนหนู ผ้าเช็ดตัว ผ้าอ้อมใหม่ เสื้อผ้าสะอาด เอาไว้ให้ครบถ้วนและวางไว้ใกล้มือ เพื่อให้หยิบใช้ได้สะดวก เตรียมอุณหภูมิน้ำที่ใช้อาบให้พอเหมาะ ผสมน้ำให้อุ่นพอดีและไม่ร้อนจนเกินไปจนลวกผิวเด็ก สำหรับทารกแรกเกิด ควรหลีกเลี่ยงการใช้เบาะรองอาบน้ำ หรืออุปกรณ์อาบน้ำอื่น ๆ เช่น ห่วงยางสำหรับให้เด็กนั่งในอ่างอาบน้ำ เนื่องจากเด็กยังเล็กเกินไปจึงยังไม่สามารถนั่งหรือประคองตัวได้ การอาบน้ำให้เด็ก โดยเฉพาะเด็กทารกที่มีผิวบอบบาง ควรอาบน้ำไม่เกิน 3 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละประมาณ 5-10 นาที […]


เด็กทารก

Neonatal sepsis คือ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกแรกเกิด รักษาได้อย่างไร

Neonatal sepsis คือ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่พบในทารกแรกเกิดในช่วง 0-30 วันแรกหลังคลอด ทำให้เกิดการอักเสบภายในร่างกายซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะอวัยวะล้มเหลว พิการ หรือเสียชีวิต ทั้งนี้ การวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้คุณหมอวางแผนการรักษาได้รวดเร็วและลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงหรือการเสียชีวิตได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลสอดส่องอาการของทารกแรกเกิดอยู่เสมอ โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือมีภาวะสุขภาพบางประการที่ทำให้ต้องใช้สายสวนในการรักษา หากพบว่าทารกแรกเกิดมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ ตัวเย็น ง่วงซึม ไม่กินนม หายใจลำบาก ถ่ายเหลว ควรรีบพาไปคุณหมอโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] Neonatal sepsis คือ อะไร Neonatal sepsis คือ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกในแรกเกิดอายุตั้งแต่ 0-30 วัน แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกระยะต้น (Early Neonatal Sepsis) เป็นการติดเชื้อภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังคลอด ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อในขณะอยู่ในครรภ์ แต่ก็อาจเกิดจากการติดเชื้อขณะคลอดได้เช่นกัน ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกระยะหลัง (Late Neonatal Sepsis) เป็นการติดเชื้อในช่วง 72 ชั่วโมงหลังคลอด ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อหลังคลอด มักพบในทารกแรกเกิดที่ต้องดูแลอาการนานกว่าปกติ และทารกที่จำเป็นต้องเจาะสายสวนค้างอยู่ในเส้นเลือดเป็นเวลานาน การติดเชื้อในกระแสเลือดอาจกระทบต่อระบบอื่น […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

ROP คือ อะไร อาการ การรักษา และการป้องกัน

ROP (Retinopathy Of Prematurity) หรือ โรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนด คือ ความผิดปกติของหลอดเลือดบริเวณจอตาที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้จอตาเกิดความเสียหาย หากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอาจทำให้ทารกมีอาการดวงตาเคลื่อนไหวผิดปกติ ตาไม่สามารถมองตามวัตถุ รูม่านตามีสีขาว และอาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] คำจำกัดความ ROP คือ อะไร ROP คือ ความผิดปกติของจอประสาทตาที่พบในทารกเกิดก่อนกำหนด เนื่องจากความผิดปกติของหลอดเลือดบริเวณจอตาที่พัฒนายังไม่เต็มที่ ทำให้เนื้อเยื่อแผลเป็นก่อตัวขึ้นภายในดวงตา ส่งผลให้จอตาเกิดความเสียหายและหากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจทำให้ทารกสูญเสียการมองเห็นได้ อาการ อาการของ ROP โรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนดอาจไม่มีสัญญาณเตือนของโรค แต่อาจทำให้มีอาการต่าง ๆ ดังนี้ ดวงตาของทารกเคลื่อนไหวผิดปกติ ตาไม่สามารถมองตามวัตถุได้ รูม่านตามีสีขาว ทารกมีปัญหาในการจดจำใบหน้า โดยโรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนดสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ระยะ ซึ่งมีอาการตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงรุนแรงมาก ดังนี้ ระยะที่ 1 และ 2 โรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนดในระยะนี้อาจหายเองได้โดยไม่ต้องรักษา และไม่แสดงอาการที่รุนแรง แต่ควรอยู่ในความดูแลของคุณหมอเพื่อป้องกันอาการที่อาจแย่ลง ระยะที่ 3 ทารกบางคนอาจมีอาการดีขึ้นโดยไม่ต้องรักษา แต่บางคนอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาความผิดปกติของหลอดเลือด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อจอตา (Retina) ที่อาจทำให้จอประสาทตาหลุด ระยะที่ 4 ทารกบางคนอาจมีจอประสาทตาหลุดออกมาบางส่วน ซึ่งต้องได้รับการรักษาเร่งด่วน เพื่อป้องกันปัญหาสายตาที่อาจทำให้สูญเสียการมองเห็น ระยะที่ 5 จอตาหลุดออกอย่างสมบูรณ์ แม้ว่าจะได้รับการรักษาแล้วก็อาจสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดได้ สาเหตุ สาเหตุของ […]


โภชนาการสำหรับทารก

อาหารเด็ก9เดือน ที่ควรกิน และควรหลีกเลี่ยง มีอะไรบ้าง

อาหารเด็ก9เดือน ควรเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิดที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยพัฒนาการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสมอง รวมถึงให้พลังงานที่เพียงพอในการทำกิจกรรมแต่ละวัน เพื่อสุขภาพและพัฒนาการที่ดีของเด็กในอนาคต [embed-health-tool-bmi] อาหารเด็ก9เดือน ที่ควรได้รับ เด็ก 9 เดือน เป็นวัยที่มีพัฒนาการมากขึ้นและต้องการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว จึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย รวมถึงควรให้พลังงานเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน เพื่อใช้ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการทางสมอง ดังนั้น อาหารเด็ก9เดือนจึงจำเป็นต้องมีนมแม่เป็นอาหารหลัก และเสริมด้วยอาหารแข็งที่ให้สารอาหารหลากหลาย ดังนี้ ผักและผลไม้ ควรเลือกผักและผลไม้ที่มีสีสันสดใสดึงดูดใจ โดยผักควรผ่านการปรุงสุกจนนิ่ม บดละเอียดหรือบดหยาบเพื่อง่ายต่อการกิน เช่น บร็อคโคลี่ แครอท ผักโขม ผักปวยเล้ง กะหล่ำปลี อะโวคาโด ผักคะน้า หน่อไม้ฝรั่ง สำหรับผลไม้ควรเป็นผลไม้สุกและบดจนเนื้อเนียนกินง่าย เช่น กล้วย แอปเปิ้ล บลูเบอร์รี่ กีวี่ ส้ม มะม่วงสุก ลูกแพร์ สตรอว์เบอร์รี แตงโม ลูกพีช มะละกอ อาหารประเภทแป้ง เช่น มันฝรั่ง มันเทศ ข้าว ข้าวต้ม ข้าวโอ๊ต ขนมปัง ควรผ่านการปรุงสุกจนเนื้อนิ่ม หรืออาจนำไปบดหยาบเพื่อให้กินง่ายขึ้น อาหารประเภทโปรตีน […]


โภชนาการสำหรับทารก

อาหารเด็ก10เดือน ที่ควรกิน และที่ควรหลีกเลี่ยงมีอะไรบ้าง

เด็ก 10 เดือน เป็นวัยที่ยังจำเป็นต้องกินนมแม่และสามารถเสริมการกินอาหารแข็ง เพื่อฝึกทักษะการเคี้ยวอาหารและเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ดังนั้น การเลือก อาหารเด็ก10เดือน ให้เหมาะสม อาจช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีของเด็กได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] อาหารเด็ก10เดือน ที่ควรได้รับ นอกจากการกินนมแม่ เด็ก 10 เดือนยังควรได้รับอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการทางสมอง โดยอาหารเด็ก 10 เดือน อาจมีดังนี้ อาหารประเภทแป้ง เช่น มันฝรั่ง มันเทศ ข้าวโพด ข้าว ข้าวต้ม ข้าวโอ๊ต ขนมปัง อาหารประเภทโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและมัน ไข่ ปลา ถั่ว ธัญพืช เต้าหู้ ผักและผลไม้ เช่น กล้วย กีวี่ ส้ม แอปเปิ้ล มะม่วงสุก ลูกพลัม ลูกพีช มะละกอ สับปะรด สตรอว์เบอร์รี ผลิตภัณฑ์จากนมที่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ เช่น นมวัว นมแพะ โยเกิร์ต ชีส โดยใช้เป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร […]


การดูแลทารก

สบู่เด็ก ควรเลือกแบบไหน ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

สบู่เด็ก ที่ดีควรมีส่วนผสมที่ไม่รุนแรงต่อผิวบอบบางของเด็ก ให้ความชุ่มชื้นและควรมีสารอาหารที่ช่วยบำรุงให้ผิวแข็งแรง เพื่อป้องกันปัญหาผิวในเด็ก เช่น ระคายเคืองผิว ผิวแดง ผดผื่น อาการแพ้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรอ่านฉลากสบู่เด็กก่อนเลือกซื้อทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยต่อผิวของเด็ก [embed-health-tool-due-date] สบู่เด็ก ควรเป็นอย่างไร สบู่เด็ก ควรเป็นสบู่ที่ไม่มีสารเคมีรุนแรง ไม่มีฟอง อ่อนโยน ให้ความชุ่มชื้นกันผิวและควรเป็นส่วนผสมที่มาจากธรรมชาติ เช่น โปรตีนนม วิตามินอี น้ำผึ้ง กลีเซอรีน อัลมอนด์ น้ำมันมะกอก ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยบำรุงผิว ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น อ่อนนุ่มและเรียบเนียนดูสุขภาพดี ทั้งยังไม่ก่อให้เกิดความระคายเคืองอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงสบู่เด็กที่มีส่วนผสมบางชนิดที่รุนแรงต่อผิวเด็ก เช่น เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol) โพรพิลีนไกลคอล (Propylene Glycol) โซเดียมลอเรทซัลเฟต (Sodium Laureth Sulfate หรือ SLS) โคคามิโดโพรพิลบีเทน (Cocamidopropyl Betaine) โคโคนัทไดเอทาโนลาไมด์ (Coconut Diethanolamide หรือ CDE) โพรพิลพาราเบน (Propylparaben) ไทรโคลซาน (Triclosan) เนื่องจากส่วนผสมเหล่านี้หากใช้เป็นเวลานานอาจทำร้ายผิวของเด็ก ทำให้ผิวเกิดความระคายเคืองได้ง่าย […]


การดูแลทารก

เป้อุ้มเด็ก ประโยชน์และข้อควรระวังในการใช้

เป้อุ้มเด็ก เป็นตัวช่วยสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการอุปกรณ์ในการช่วยอุ้มเด็ก ซึ่งอาจมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณพ่อคุณแม่ ช่วยลดอาการร้องไห้งอแงของเด็ก ช่วยให้เด็กนอนหลับง่ายขึ้น รวมถึงอาจช่วยสร้างความรักความผูกพันและอาจช่วยลดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของคุณแม่ได้ อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาข้อควรระวังในการใช้เป้อุ้มเด็กก่อนเลือกซื้อเพื่อความปลอดภัยของเด็ก [embed-health-tool-due-date] ประเภทของเป้อุ้มเด็ก เป้อุ้มเด็กเป็นอุปกรณ์สำหรับใช้อุ้มทารกไว้บนหน้าอกหรือหลัง ซึ่งอาจมีหลายลักษณะ ดังนี้ เป้อุ้มเด็ก (Baby Carrier) มีลักษณะเป็นเป้อุ้มสำหรับสะพายไว้ด้านหน้า หรือบางชิ้นอาจสามารถปรับได้เพื่อใช้สะพายไว้ด้านหลังหรือสะโพก เป้หรือผ้าพาดไหล่อุ้มเด็ก (Baby Sling) มีลักษณะเป็นแถบผ้าหรือเป้ที่มีลักษณะพาดไหล่ข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อใช้สำหรับอุ้มเด็กทารก กระเป๋าเป้อุ้มเด็ก (Baby Backpack) มีลักษณะเป็นโครงแข็ง มักใช้ใส่เป็นเป้สะพายหลัง เหมาะสำหรับเด็กโตและเด็กวัยหัดเดินที่สามารถยกศีรษะได้เอง เป้อุ้มเด็ก มีประโยชน์อย่างไร เป้อุ้มเด็กอาจมีประโยชน์ทั้งต่อคุณพ่อคุณแม่และเด็ก ดังนี้ ช่วยให้เด็กนอนหลับได้ดีขึ้น เด็กบางคนเมื่ออยู่ห่างจากคุณพ่อคุณแม่อาจมีอาการร้องไห้งอแงบ่อย ดังนั้น การใช้เป้อุ้มเด็กจึงอาจช่วยให้เด็กอยู่ใกล้ชิดกับคุณพ่อคุณแม่ตลอดเวลา ช่วยให้เด็กสบายใจ รู้สึกปลอดภัย และได้รับความรักความอบอุ่น จึงอาจช่วยให้เด็กนอนหลับได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันไม่ให้เด็กร้องไห้งอแง หากเด็กอยู่เพียงลำพังหรือร้องไห้งอแงบ่อยครั้ง อาจทำให้เด็กเกิดความเครียดมากขึ้นและส่งผลเสียต่อสุขภาพ ซึ่งการใช้เป้อุ้มเด็กอาจช่วยให้เด็กร้องไห้งอแงน้อยลง เนื่องจากเด็กจะรู้สึกสบายและปลอดภัยเมื่ออยู่ในอ้อมกอดของคุณพ่อคุณแม่ ช่วยสร้างความสัมพันธ์ ขณะอยู่ในครรภ์เด็กทารกจะใกล้ชิดกับเสียงหัวใจ การหายใจ และการเคลื่อนตัวของคุณแม่ตลอดเวลา เมื่อเด็กคลอดออกมาเป้อุ้มเด็กอาจเป็นตัวช่วยในการสร้างความเคยชินให้กับเด็กแรกเกิด รวมถึงยังอาจช่วยสร้างความผูกพันให้เพิ่มมากขึ้นในระหว่างการอุ้มแนบอกได้อีกด้วย ช่วยให้สามารถให้นมเด็กง่ายขึ้น เป้อุ้มเด็กอาจช่วยให้คุณแม่สามารถให้นมแม่กับลูกได้ง่ายขึ้นเมื่อต้องอยู่นอกบ้าน เนื่องจากเด็กจะอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแก่การให้นมตลอดเมื่อยังอยู่ในเป้อุ้มเด็ก อาจดีต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้และสังคม เนื่องจากการใช้เป้อุ้มเด็กจะช่วยให้เด็กสามารถไปไหนมาไหนกับคุณพ่อคุณแม่ได้ทุกที่ สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้มากขึ้น […]


การดูแลทารก

การมองเห็นของทารก และการดูแลสุขภาพดวงตา

การมองเห็นของทารก จะเริ่มพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่แรกเกิด โดยจอตา (Retina) และรูม่านตาจะค่อย ๆ พัฒนาและกว้างขึ้น ส่งผลให้ทารกมองเห็นภาพได้ชัดเจน มองเห็นในระยะไกล และสามารถควบคุมกล้ามเนื้อตาในการมองตามวัตถุได้เป็นอย่างดี ควบคู่ไปกับทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายที่ทำให้ทารกสามารถหยิบจับสิ่งของได้แม่นยำมากขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] การมองเห็นของทารก พัฒนาอย่างไร การมองเห็นของทารกอาจมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามช่วงอายุ ดังนี้ ทารกแรกเกิด ดวงตาของทารกแรกเกิดอาจไวต่อแสงจ้ามาก เนื่องจากรูม่านตาของทารกยังมีขนาดที่เล็กมาก ทารกจึงอาจมองเห็นได้เพียงในวงแคบ และเมื่อผ่านไปประมาณ 2-3 สัปดาห์ จอตาซึ่งเป็นเซลล์ประสาทที่ไวต่อแสงอยู่บริเวณด้านหลังภายในลูกตา จะค่อย ๆ พัฒนาทำให้รูม่านตาของทารกกว้างขึ้น ส่งผลให้ทารกสามารถมองเห็นรูปร่าง สีสัน มองเห็นในมุมกว้างมากขึ้น และเริ่มเรียนรู้ในการจดจ่อกับสิ่งตรงหน้า เมื่อทารกอายุครบ 1 เดือน ดวงตาจะสามารถมองเห็นสิ่งตรงหน้าได้ชัดเจนไม่เกิน 100 เซนติเมตร และจดจ่อกับสิ่งนั้นในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่จะให้ความสนใจกับสิ่งของที่มีสีสันสดใส ทารกอายุ 2-4 เดือน ดวงตาของทารกในช่วง 2 เดือนแรก อาจยังทำงานไม่ประสานกันมากนัก เนื่องจากกล้ามเนื้อดวงตายังอยู่ในช่วงพัฒนา ในช่วงนี้ทารกสามารถมองตามการเคลื่อนที่ของวัตถุได้ ซึ่งดวงตาจะค่อย ๆ ทำงานประสานกันได้ดียิ่งขึ้น เมื่ออายุครบ 3 เดือน ดวงตาของทารกจะเริ่มจดจ่อกับการเคลื่อนที่ของวัตถุได้ดีมากขึ้น และอาจสามารถเริ่มใช้แขนตีวัตถุได้ตรงตามเป้าหมาย ทารกอายุ 5-8 เดือน เมื่อทารกอายุได้ 5 เดือน การมองเห็นของทารกจะดีมากขึ้นโดยสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ไกลขึ้นและอาจมองเห็นเป็นภาพ […]


โภชนาการสำหรับทารก

นมเด็กแรกเกิด ควรเป็นอย่างไร และควรให้เด็กกินอย่างไร

นมเด็กแรกเกิด ควรเป็นนมที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการของทารกทั้งทางร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาทและสมอง นอกจากนี้ ควรเป็นนมที่ย่อยง่ายเนื่องจากระบบย่อยอาหารของทารกแรกเกิดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ จึงอาจทำให้มีปัญหาท้องอืดได้ง่าย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรเตรียมพร้อมและศึกษาเกี่ยวกับนมเด็กแรกเกิดทุกชนิด เพื่อให้ทารกมีพัฒนาการที่สมบูรณ์แข็งแรงตามวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] นมเด็กแรกเกิด ควรเป็นอย่างไร ทารกแรกเกิดสามารถกินนมเป็นอาหารหลักได้เพียงอย่างเดียว ดังนั้น นมเด็กแรกเกิดจึงต้องเป็นนมที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย สมองและระบบภูมิคุ้มกัน โดยนมเด็กแรกเกิดที่แนะนำ มีดังนี้ นมแม่ นมแม่เป็นนมเด็กแรกเกิดที่แนะนำมากที่สุด เนื่องจากนมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของทารก เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินและแร่ธาตุ ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย ระบบประสาทและสมอง สุขภาพดวงตา รวมถึงยังช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของทารกให้แข็งแรง การกินนมแม่จึงอาจช่วยปกป้องทารกจากการติดเชื้อทางเดินอาหาร ปอด หู และการติดเชื้ออื่น ๆ ในร่างกายได้ นอกจากนี้ นมแม่อาจช่วยป้องกันความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคไหลตายในทารก (Sudden Infant Death Syndrome หรือ SIDS) โรคหอบหืด โรคผิวหนัง ท้องเสีย โรคทางเดินอาหาร โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคอ้วน โรคเบาหวาน ดังนั้น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวโดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด จึงเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพของทารก นมผงสำหรับเด็กแรกเกิด นมผงเป็นนมทางเลือกสำหรับทารกที่ไม่สามารถกินนมแม่ได้เนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น น้ำนมแม่น้อย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน