เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

หมวดหมู่ เด็กทารก เพิ่มเติม

โภชนาการสำหรับทารก

สำรวจ เด็กทารก

ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการทารก ในช่วงขวบปีแรก และวิธีดูแลทารกที่เหมาะสม

พัฒนาการ ทารก ในช่วงขวบปีแรก นับตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 12 เดือน ถือเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากละเลยอาจทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้ากว่าวัย และส่งผลต่อการใช้ชีวิตในอนาคตได้ การดูแลเอาใจใส่ของคนในครอบครัวในด้านต่าง ๆ เช่น อาหารสำหรับทารก กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่อาจส่งเสริมให้เด็กทารกมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่สมวัย  [embed-health-tool-child-growth-chart] พัฒนาการ ทารก ช่วงขวบปีแรก พัฒนาการของทารกช่วงขวบปีแรก แบ่งออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ ทารกอายุ 0-3 เดือน ทารกแรกเกิดอาจยังไม่รู้ว่าบุคคลที่อยู่ตรงหน้าคือใคร แต่เมื่อทารกอายุได้ประมาณ 1 เดือน อาจเริ่มมีพัฒนาการ ดังต่อไปนี้ จดจำเสียงและใบหน้าของคุณพ่อคุณแม่ และตอบสนองต่อเสียงที่ได้ยินได้ เช่น รู้จักยิ้มตอบ มองตามวัตถุที่เคลื่อนไหวไปมา เอื้อมมือจับของเล่นที่ห้อยอยู่ได้ หรือหากวางสิ่งของไว้ในมือทารก ทารกอาจกำของสิ่งนั้นไว้แน่น หัดยกศีรษะและดันตัวขึ้น เอามือเข้าปาก ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่าทารกกำลังหิว ทารกอายุ 4-6 เดือน อาจมีการตอบสนองหรือการแสดงอารมณ์ออกมาให้คุณพ่อคุณแม่รับรู้ รวมถึงมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้ ดังนี้ หัวเราะ ยิ้ม ร้องไห้ ส่งเสียงอ้อแอ้เพื่อสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

นมแม่ กับข้อสังเกตอื่น ๆ ที่คุณแม่มือใหม่ควรใส่ใจ

นมแม่ คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกแรกเกิดช่วงขวบปีแรก เพราะอุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารที่เป็นประโยชน์ ย่อยง่าย และอ่อนโยนต่อระบบทางเดินอาหารของลูกน้อย นอกจากเรื่องประโยชน์ของนมแม่แล้ว ยังมีข้อสังเกตอื่น ๆ เกี่ยวกับนมแม่ที่คุณแม่มือใหม่ควรศึกษา เช่น ปริมาณน้ำนมที่ลูกควรได้รับ คุณภาพน้ำนมแม่ อาหารสำหรับหญิงให้นมบุตร เป็นต้น ประโยชน์นมแม่ นมแม่เต็มไปด้วยคุณค่าสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก มีวิตามินครบเกือบทุกชนิด รวมทั้งโปรตีน ไขมัน เกลือแร่งต่าง ๆ และสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก  มีภูมิคุ้มกันที่จะช่วยให้ร่างกายของทารกแข็งแรงต้านทานเชื้อโรคทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียต่าง ๆ ที่สำคัญย่อยง่ายและโอกาสเสี่ยงต่ำที่ทารกจะแพ้นมแม่ รวมทั้งมักมีน้ำหนักตามเกณฑ์ และลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคอ้วน เบาหวาน และป้องกันทารกจากโรคไหลตายในเด็ก หรือ SIDS อีกด้วย ปริมาณนมแม่ที่ลูกน้อยควรได้รับ โดยปกติแล้ววทารกช่วง 1-3 เดือนแรก มักดื่มนมทุก 3-4 ชั่วโมง ครั้งละประมาณ 3-4 ออนซ์ เฉลี่ย 8 ครั้งต่อวัน หรือเฉลี่ยวันละ 24-32 ออนซ์ (100-150 มิลลิลิตร/กิโลกรัม) ซึ่งปริมาณนมจะเพิ่มขึ้นตามน้ำหนักตัว กระทั่งอายุครบ 6 เดือนอาจเริ่มมีอาหารชนิดอื่นเข้ามาเสริม เป็นอาหารเสริมตามวัย ทำให้อาจลดปริมาณนมแม่ลง สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกน้อยได้นมแม่ไม่เพียงพอ เมื่อลูกน้อยได้กินนมแม่ทุก ๆ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

วัยทารก กับเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

วัยทารก เป็นวัยที่สำคัญของพัฒนาการทางร่างกาย สมอง สติปัญญา สังคม และอารมณ์ ผ่านการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวและการฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ตามช่วงอายุอย่างเหมาะสม โดยพ่อแม่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของทารก การดูแลทางร่างกายและโภชนาการอาหาร การป้องกันปัญหาสุขภาพทารกและการดูแลรักษาความปลอดภัยทั้งร่างกายและชีวิต [embed-health-tool-vaccination-tool] วัยทารก พัฒนาการที่สำคัญ วัยทารก คือ วัยตั้งแต่แรกคลอดจนถึง 1 ปี ในช่วงวัยนี้นับเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการทางสมองและร่างกาย เป็นวัยแห่งการเรียนรู้และฝึกฝนจากสิ่งรอบตัวโดยเฉพาะจากพ่อแม่ เนื่องจาก วัยทารก ต้องการความรักและความอบอุ่นจากพ่อแม่ในการช่วยส่งเสริมพัฒนาการของทารกให้ดียิ่งขึ้น พัฒนาการที่สำคัญของวัยทารก คือ การฝึกฝนทักษะด้านต่าง ๆ เช่น การยิ้มครั้งแรก การโบกมือ การเดินก้าวแรก โดยเรียนรู้ผ่านการพูด พฤติกรรมพ่อแม่ หรือคนรอบตัว ซึ่งทารกอาจแสดงพฤติกรรมเลียนแบบ โต้ตอบด้วยการพูด เคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การชี้มือเพื่อสื่อสาร คลาน เดิน กระโดด ล้วนแล้วแต่เป็นทักษะที่เกิดขึ้นตามลำดับของพัฒนาการทารก โดยทารกแต่ละคนอาจมีพัฒนาการเร็วช้าแตกต่างกันไป ในขวบปีแรก ทารกจะมีพัฒนาการทางสมองและสติปัญญาอย่างรวดเร็ว เป็นกระบวนการเรียนรู้ด้านภาษา ความคิด การใช้เหตุผลและความจำ ทารกอาจเริ่มพูดเพื่อสื่อสารถึงอารมณ์หรือความต้องการในขณะนั้น โดยอาจพูดโต้ตอบไม่เป็นคำหรืออาจพูดเป็นคำสั้น ๆ เช่น กิน หิว แม่หรือพ่อ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

ทารก1เดือน พัฒนาการ และการดูแล

ทารก1เดือน อยู่ในช่วงขวบปีแรก ที่ออกจากท้องของมารดามาเผชิญกับโลกภายนอก หลังจากใช้ชีวิตอยู่ในท้องถึง 9 เดือน ถึงแม้ว่าทารกจะมีอายุเพียง 1 เดือน แต่คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตถึงพัฒนาการและการเจริญเติบโตได้จากปฏิกิริยาการตอบสนอง เช่น การดูดนม น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น สะดุ้งตกใจเสียงรอบด้าน ซึ่่งนับว่าเป็นสัญญาณเตือนที่ดีที่บ่งบอกได้ว่า ทารกของคุณพ่อคุณแม่กำลังเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการของ ทารก1เดือน พัฒนาการของทารก1เดือน คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้การเปลี่ยนแปลง ดังต่อไปนี้ พัฒนาการทางกายภาพ ทารกอาจมีการตอบสนองตามธรรมชาติ เช่น การดูดนมแม่ด้วยตัวเอง เพียงแค่คุณแม่ช่วยเหลือเล็กน้อยด้วยการนำหัวนมใส่เข้าปากทารก ทารกอาจได้ยินเสียงที่ชัดเจนจนสามารถกางแขนกางขาเวลาสะดุ้ง  นอกจากนี้ ทารกยังมีสัญชาตญาณการเดินแม้จะอายุเพียง 1 เดือน โดยคุณแม่สังเกตได้ตอนอุ้มทารกยืน เพราะขาของทารกจะพยายามยืดทรงตัว หรือเหมือนพยายามก้าวไปข้างหน้า ทารกช่วงวัยนี้อาจมีการมองเห็นได้ดีในระยะ 2 ฟุต และชอบมองวัตถุที่มีสีสันตัดกัน เช่น ขาวดำ และอาจมองตามวัตถุที่อยู่ตรงหน้าหรือตามเสียงที่ได้ยิน ทารก 1 เดือนอาจมีกระดูกบริเวณคอที่ยังไม่แข็งแรง ไม่อาจตั้งศีรษะได้ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรประคองใต้ศีรษะทารกทุกครั้งที่เมื่ออุ้มขึ้น และกระตุ้นความแข็งตัวของกระดูกทารก โดยอาจให้ทารกนอนคว่ำบนที่นอนและพูดคุยกับทารก เพื่อให้ทารกเงยหน้า ตั้งศีรษะ และหันศีรษะไปในทิศทางตามเสียงที่ได้ยิน พัฒนาการด้านการสื่อสาร ทารก 1 เดือน อาจสื่อสารโดยการร้องไห้ให้คุณพ่อคุณแม่ได้รับรู้ ซึ่งการร้องไห้ของทารกอาจหมายถึงความไม่สบายตัว หิว ผ้าอ้อมเปียกชื้น ปกติทารกจะร้องไห้ระยะเวลาสั้น […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการทารก 3 เดือน และเคล็ดลับการเลี้ยงลูก

คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตความเปลี่ยนแปลงของการเจริญเติบโตและ พัฒนาการทารก 3 เดือน ได้ชัดเจนมากขึ้น ทารกวัย 3 เดือนจะเริ่มมีการตอบสนองมากขึ้น เช่น การยิ้ม แสดงกิริยาอยากพูดคุุย เริ่มมองตามสิ่งรอบตัวที่อยู่ตรงหน้า เพื่อกระตุ้นพัฒนาการให้ทารกอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการเรียนรู้ และการจดจำ คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาถึงวิธีการเลี้ยงดูลูกอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการทารก 3 เดือน พัฒนาการทารก 3 เดือนที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ มีดังนี้ พัฒนาการด้านกายภาพ ทารกหลังคลอดอาจมีการสั่นของศีรษะเนื่องจากยังมีกระดูกและกล้ามเนื้อคอไม่แข็งแรง แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงเดือนที่ 3 กระดูกของทารกเริ่มแข็งแรงขึ้น โดยเฉพาะบริเวณคอที่เชื่อมกับศีรษะ ทำให้คอเริ่มแข็ง กล้ามเนื้อพัฒนามากขึ้นจึงเริ่มควบคุมศีรษะไม่ให้สั่นไปมาได้ อีกทั้งยังอาจมีการเตะแขนเตะขา เอามือทั้ง 2 ข้างเข้าหากันคล้ายผวา กำมือ เอื้อมมือเล่นของเล่น และอาจเริ่มพลิกตัวด้วยตัวเอง หากคุณพ่อคุณแม่อยากตรวจสอบพัฒนาการด้านกายภาพทารก อาจนำของเล่นยื่นให้ทารกเพื่อดูการตอบสนองว่าเริ่มเอื้อมหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ หรือไม่ พัฒนาการด้านการได้ยินและการมองเห็น เมื่อทารกได้ยินเสียงอาจเริ่มหันศีรษะหรือมองตามเสียงที่ได้ยิน เพราะทารกตั้งแต่อายุ 3 เดือนขึ้นไปเริ่มมีการประสานงานของดวงตาได้ดีขึ้น และสามารถเริ่มจดจำรายละเอียดในสิ่งที่มองเห็นหรือได้ยินได้ การมองเห็นในช่่วงแรกทารกอาจจะเห็นได้ไม่ไกล ไม่ชัด ไม่สามารถแยกสีได้ ลักษณะที่เห็นอาจเป็นแค่สีขาวและสีดำ และต่อมาพัฒนาการมองเห็นเริ่มค่อย ๆ ชัดขึ้น มองเห็นสีต่าง ๆ ให้คุณพ่อคุณแม่เริ่มหาของเล่นที่มีสีสัน และให้ลูกจับถือ  […]


โภชนาการสำหรับทารก

เตรียมอาหารให้ลูก 6 เดือน อย่างไรถึงจะเหมาะสม

การ เตรียมอาหารให้ลูก 6 เดือน ถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย เพราะเมื่อทารกอายุได้ 6 เดือน การให้เด็กกินนมแม่เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ คุณแม่จึงควรเริ่มศึกษาถึงการ เตรียมอาหารให้ลูกตั้งแต่ก่อนที่ลูกจะอายุ 6 เดือน (อาจเตรียมตัวตั้งแต่ลูกอายุ 4 เดือน) และฝึกให้ลูกรับประทานอาหารที่มีเนื้อสัมผัสหยาบขึ้น เพื่อฝึกการบดเคี้ยวและเพื่อให้ได้รับสารอาหารเพื่อช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่สุขภาพและพัฒนาการของสมองและร่างกาย อาหารที่เหมาะสำหรับลูก 6 เดือน อาหารที่ลูก 6 เดือนควรได้รับ มีดังนี้ อาหารประเภทแป้ง อาหารประเภทแป้งประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต ที่เป็นพลังงานที่ดีส่งเสริมให้ทารกแข็งแรง แต่ควรรับประทานร่วมกับผักผลไม้ ธัญพืช เพื่อช่วยให้ลูกย่อยอาหารได้ง่าย อาหารประเภทแป้งที่ลูก 6 เดือน อาจรับประทานได้ ได้แก่ ข้าวโอ๊ต พาสต้า ข้าว มันฝรั่ง ข้าวโพด ข้าวต้ม ขนมปัง เป็นต้น ซึ่งคุณแม่ควรนำมาปั่น บด หรือปรุงผสมกับนมแม่ เพื่อให้เกิดความนิ่มและรับประทานได้ง่ายขึ้น อาหารประเภทโปรตีน โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยซ่อมแซมกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ เซลล์ และเป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดงช่วยนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะทั่วร่างกาย ทั้งยังช่วยสร้างแอนติบอดีให้ร่างกายลูกต่อสู้กับการติดเชื้อ ลดความเสี่ยงจากเป็นไข้ เจ็บป่วย อาหารที่มีโปรตีน ได้แก่ […]


การดูแลทารก

ผดร้อน ทารก สาเหตุและการดูแล

ผดร้อน ทารก พบบ่อยในทารกแรกเกิดช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด เนื่องจาก ท่อเหงื่อของทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงอาจทำให้เหงื่ออุดตันในรูขุมขนง่ายขึ้นและเกิดเป็นผดร้อน ลักษณะเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ สีแดง อาจมีอาการคันหรือแสบร้อน โดยปกติไม่ทำให้มีไข้ มักพบบริเวณลำตัวด้านหน้าอกและด้านหลัง คอ บริเวณข้อพับ และบริเวณใต้เสื้อผ้าที่เสียดสีหรือไม่ระบายอากาศ การดูแลทารกจึงอาจช่วยป้องกันผดร้อนที่ระคายเคืองผิวทารกได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ผดร้อน ทารก เกิดขึ้นได้อย่างไร ผดร้อน ทารก เป็นอาการผดผื่นที่เกิดขึ้นบนผิวหนังของทารก อาจทำให้มีตุ่มเล็ก ๆ สีแดง มีอาการแสบร้อนและคัน เนื่องจาก ความร้อนที่สูงเกินไป มักเกิดขึ้นบริเวณหลัง หน้าท้อง คอ หน้าอก ขาหนีบ หรือรักแร้ โดยสาเหตุอาจเกิดจากการที่ทารกยังมีต่อมเหงื่อขนาดเล็ก และร่างกายของทารกยังไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ได้ และในบางครั้งยังไม่สามารถมีเหงื่อไหลออกมาได้ ทำให้เหงื่อสะสมอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง ทารกจึงมีแนวโน้มเป็นผดร้อนมากกว่าวัยผู้ใหญ่ นอกจากนี้ การสวมใส่เสื้อผ้าของทารกที่คับแน่นเกินไป การห่อตัว หรือการห่มผ้าห่ม ก็อาจทำให้เกิดความร้อนและเกิดผดร้อน ทารกได้เช่นกัน ผดร้อนแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ ผดผื่นชนิดตุ่มน้ำใส (Miliaria Crystallina) เกิดจากการอุดตันของท่อต่อมเหงื่อในชั้นผิวของหนังกำพร้า มักพบในทารกแรกเกิดที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมอบอุ่นและชื้น เช่น การห่อตัว การห่มผ้า […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

ทารกแรกเกิด พัฒนาการ และเคล็ดลับการดูแล

ทารกแรกเกิด หมายถึงทารกที่อยู่ในช่วงอายุ 0-3 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่สมองของเด็กจะทำงานเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คุณพ่อคุณแม่จึงควรเอาใจใส่ในการดูแลและการเพิ่มทักษะให้เหมาะสมกับช่วงวัยของทารก ทั้งพัฒนาการทางกายภาพ การเรียนรู้ การจดจำ อารมณ์ [embed-health-tool-bmi] ลักษณะทารกแรกเกิด  หลังลืมตาดูโลกได้ไม่นาน ทารกแรกเกิดอาจมีลักษณะทางกายภาพบางอย่างที่เปลี่ยนไป และมักจะกลับมาเป็นปกติได้ภายในไม่กี่วัน ลักษณะของทารกแรกเกิด มีดังนี้ ดวงตา ระหว่างการคลอดบุตรอาจมีแรงกดทับที่เปลือกตาและ ใบหน้าได้จากกลไกการคลอด ทำให้ทารกแรกเกิดอาจมีอาการตาบวมหรือใบหน้าบวมได้ชั่วคราว บางรายเส้นเลือดฝอยที่ตาขาวอาจแตก บางครั้งดวงตาของทารกแรกเกิดอาจแยกออกจากกัน หรือที่เรียกว่าอาการตาเหล่ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติในทารกแรกเกิดและจะหายไปได้เองภายใน 3 เดือน หากเกินกว่านี้ดวงตาทารกยังไม่กลับมาเป็นปกติควรแจ้งให้คุณหมอทราบอย่างทันท่วงที ศีรษะ การบีบตัวของช่องคลอดมารดาอาจส่งผลให้กระดูกศีรษะทารกเคลื่อน ส่งผลให้ศีรษะเป็นรูปทรงกรวยและยาวขึ้น โดยเฉพาะหากคุณแม่ใช้เวลาคลอดนาน ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่มีกระหม่อมของศีรษะที่ยังไม่สมานตัวกัน ซึ่งอาจใช้ระยะเวลา 1 ปีเศษ กว่ากระหม่อมหน้าของทารกจะสมานตัว (ส่วนกระหม่อมหลัง อาจคลำได้ขนาดเล็กๆ และมักปิดเมื่ออายุได้ 3-6 เดือน) ถูกห่อหุ้มด้วยเนื้อเยื่อที่แข็งแรง การปรับท่านอนของทารกอาจสามารถช่วยทำให้ศีรษะของทารกมนและกลมขึ้นได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ สำหรับทารกที่คลอดโดยนำแขนขาออกก่อน หรือกลุ่มทารกที่ได้รับการผ่าตัดคลอด ศีรษะทารกอาจมีรูปทรงกลมตั้งแต่กำเนิด ขาและขา แขนและขาของทารกอาจโค้งงอหรือบวมได้เนื่องจากความแคบของช่องมดลูกระหว่างการคลอด แต่กระดูกแขนและขานั้นอาจยืดได้เองเมื่อเติบโตขึ้น ผิว บริเวณศีรษะและใบหน้าของทารกแรกเกิดอาจมีจุดสีขาวเล็ก ๆ หรือที่เรียกว่าสิวข้าวสาร […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

เด็กทารก กับโภชนาการที่เหมาะสมและปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย

เด็กทารก หมายถึง เด็กในช่วงอายุ 0-12 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกายและการเรียนรู้จากสิ่งรอบตัวอย่างรวดเร็ว คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตพัฒนาการ รวมถึงสิ่งผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดกับลูกน้อย ทั้งเรื่องการเจริญเติบโต การรับประทานอาหาร การสื่อสาร หากพบความผิดปกติใด ๆ ควรรีบปรึกษากุมารแพทย์ เพื่อรักษาหรือรับมือได้อย่างทันท่วงที [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็กทารก คือช่วงวัยใด  เด็กทารก หมายถึง เด็กในช่วงอายุ 0-12 เดือน เด็กวัยนี้จะมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อย่างน้ำหนักและส่วนสูง รวมถึงพัฒนาการด้านการเรียนรู้ที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเดือน เช่น การพลิกคว่ำ การนั่ง การยืน การก้าวเดินครั้งแรก การส่งเสียงอ้อแอ้ การยิ้ม การหัวเราะ โดยปัจจัยที่อาจส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก ได้แก่ สภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู และโภชนาการ อย่างไรก็ตาม เด็กทารกบางคนอาจมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตเด็กทารกอยู่เสมอ เพราะอาจมีสัญญาณเตือนบางอย่างว่าเด็กมีความบกพร่องด้านใดด้านหนึ่ง จึงส่งผลให้มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน พัฒนาการเด็กทารก  พัฒนาการที่สำคัญของทารกในแต่ละเดือน มีดังต่อไปนี้  พัฒนาการด้านน้ำหนักและส่วนสูง  ส่วนสูงและน้ำหนักของเด็กทารกควรอยู่ในเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (หากตัวเลขคลาดเคลื่อนจากตารางนี้เล็กน้อย อาจสังเกตโดยใกล้ชิดไปก่อนสัก 1-2 เดือน แต่หากตัวเลขต่างจากเกณฑ์มาก แนะนำให้พาเด็กทารกไปตรวจกับกุมารแพทย์ทันที) อายุ น้ำหนักชาย น้ำหนักหญิง ส่วนสูงชาย ส่วนสูงหญิง 1 เดือน 4.5 กก. 4.2 กก. 54.7 ซม. 53.7 ซม. 2 เดือน 5.6 […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการทารก ในช่วงขวบปีแรกของแต่ละเดือนเป็นอย่างไร

พัฒนาการทารก เริ่มต้นตั้งแต่แรกเกิดและพัฒนาอย่างรวดเร็วตามลำดับจากศีรษะสู่ปลายเท้า (Cephalocaudal) ในช่วง 12 เดือนแรก ทารกมักเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ผ่านการโต้ตอบและการสื่อสารกับพ่อแม่หรือผู้ดูแล รวมทั้งการเล่นหรือของเล่นที่ช่วยฝึกกระบวนการคิด การเคลื่อนไหว การแสดงอารมณ์ และอื่น ๆ โดยพัฒนาการทารกจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละช่วงวัยหรือช่วงเวลาของการฝึกฝน ขึ้นอยู่กับว่าพ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องการส่งเสริมพัฒนาการทารกในด้านใด เช่น การเดิน การพูด การเรียนรู้ภาษา การเข้าสังคม [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการทารกที่สำคัญ พัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่ทารกควรได้รับการส่งเสริมให้เรียนรู้และฝึกฝน มีดังนี้ การเคลื่อนไหวร่างกายโดยรวม เป็นการฝึกฝนร่างกาย สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เริ่มจากภายใน 3 เดือนแรก ฝึกกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรง ตั้งคอตรงได้ มีการประสานงาน และการควบคุมกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ รวมถึงการสร้างทักษะในด้านต่าง ๆ ให้ทารกได้เกิดกระบวนการเรียนรู้และฝึกฝน เช่น การฝึกนั่งในเดือนที่ 4-6 การฝึกพลิกตัวคว่ำหงาย การคืบ การคลาน ในช่วงเดือนที่ 6-8 การเริ่มเกาะยืนและการฝึกก้าวเดินในช่วงเดือนที่ 8-12   การเคลื่อนไหวของร่างกายขนาดเล็ก ฝึกฝนการประสานงาน และการควบคุมกล้ามเนื้อขนาดเล็ก รวมถึงทักษะในด้านต่าง ๆ เช่น การหยิบหรือจับสิ่งของขนาดเล็กหรืออาหาร เพื่อฝึกควบคุมกล้ามเนื้อมือและนิ้วให้สมดุลมากขึ้น และเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วขึ้น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน