เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

“ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF” สกิลสำคัญที่ Gen Alpha- Beta ควรมีในโลกยุค AI

โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุค AI อะไรๆ ก็ดูจะง่ายดายไปหมด ในช่วงเวลาที่เด็กๆ ที่เกิดหลังปี 2020 กำลังเติบโต เทคโนโลยีล้ำสมัยอย่างเช่น AI ก็อาจกลายเป็นปัจจัยที่ 5 คอยอำนวยความสะดวกให้ในหลายๆ ด้านของชีวิต และคงจะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม  ความสะดวกสบายที่เกิดขึ้น อาจทำให้เด็กๆ ไม่มีโอกาสได้ฝึกทักษะจำเป็นของชีวิต ซึ่งอาจทำให้พ่อแม่เป็นกังวลว่าลูกๆ จะมีทักษะอะไรติดตัวไปบ้างเพื่อให้ประสบความสำเร็จในอนาคต แน่นอนว่า IQ เป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ แต่เพียงแค่นั้นอาจยังไม่พอ ต้องมี “ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF” ด้วย EF คืออะไร ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF หรือ Executive Function คือกระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่ช่วยควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม รวมถึงแก้ไขปัญหา ซึ่งถือเป็นความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตที่จะต่อยอดไปสู่ความสำเร็จ แต่ EF คือทักษะที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยทักษะ EF ของเด็กช่วงปฐมวัย มีทั้งหมด 9 ด้าน ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มทักษะใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มทักษะพื้นฐาน ประกอบไปด้วย การจดจำเพื่อใช้งาน การยั้งคิดไตร่ตรอง และการยืดหยุ่นทางความคิด ในกลุ่มนี้จะเน้นให้ความสำคัญกับกระบวนการทางความคิด  […]

หมวดหมู่ เด็กทารก เพิ่มเติม

สำรวจ เด็กทารก

ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการทารก ในช่วงขวบปีแรกของแต่ละเดือนเป็นอย่างไร

พัฒนาการทารก เริ่มต้นตั้งแต่แรกเกิดและพัฒนาอย่างรวดเร็วตามลำดับจากศีรษะสู่ปลายเท้า (Cephalocaudal) ในช่วง 12 เดือนแรก ทารกมักเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ผ่านการโต้ตอบและการสื่อสารกับพ่อแม่หรือผู้ดูแล รวมทั้งการเล่นหรือของเล่นที่ช่วยฝึกกระบวนการคิด การเคลื่อนไหว การแสดงอารมณ์ และอื่น ๆ โดยพัฒนาการทารกจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละช่วงวัยหรือช่วงเวลาของการฝึกฝน ขึ้นอยู่กับว่าพ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องการส่งเสริมพัฒนาการทารกในด้านใด เช่น การเดิน การพูด การเรียนรู้ภาษา การเข้าสังคม [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการทารกที่สำคัญ พัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่ทารกควรได้รับการส่งเสริมให้เรียนรู้และฝึกฝน มีดังนี้ การเคลื่อนไหวร่างกายโดยรวม เป็นการฝึกฝนร่างกาย สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เริ่มจากภายใน 3 เดือนแรก ฝึกกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรง ตั้งคอตรงได้ มีการประสานงาน และการควบคุมกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ รวมถึงการสร้างทักษะในด้านต่าง ๆ ให้ทารกได้เกิดกระบวนการเรียนรู้และฝึกฝน เช่น การฝึกนั่งในเดือนที่ 4-6 การฝึกพลิกตัวคว่ำหงาย การคืบ การคลาน ในช่วงเดือนที่ 6-8 การเริ่มเกาะยืนและการฝึกก้าวเดินในช่วงเดือนที่ 8-12   การเคลื่อนไหวของร่างกายขนาดเล็ก ฝึกฝนการประสานงาน และการควบคุมกล้ามเนื้อขนาดเล็ก รวมถึงทักษะในด้านต่าง ๆ เช่น การหยิบหรือจับสิ่งของขนาดเล็กหรืออาหาร เพื่อฝึกควบคุมกล้ามเนื้อมือและนิ้วให้สมดุลมากขึ้น และเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วขึ้น […]


เด็กทารก

ทารกเป็นหวัด สาเหตุ อาการและการรักษา

ไข้หวัด  เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในจมูกและลำคอ หากทารกเป็นหวัด จะทำให้มีอาการไอ จาม หรือเจ็บคอ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายในทารกที่ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถต้านทานเชื้อไวรัสได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรรู้วิธีดูแลทารก และปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ทารกเป็นหวัด จะได้รับมือได้อย่างเหมาะสม สาเหตุที่ทำให้ทารกเป็นหวัด ทารกเป็นหวัด มีสาเหตุจากการติดเชื้อที่จมูกและลำคอ ซึ่งไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคหวัดนั้นมีมากกว่า 200 ชนิดเมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายผ่านทางปาก ตา หรือการหายใจเข้าไป แล้วเกิดการติดเชื้อ ร่างกายของทารกจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันเพื่อกำจัดไวรัสเหล่านั้น แต่ร่างกายของทารกอาจยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันไวรัสบางชนิดได้อย่างเพียงพอ ทำให้ทารกเป็นหวัดและมีอาการที่รุนแรงขึ้นได้ โดยทารกอาจติดเชื้อไวรัสได้จากปัจจัยเหล่านี้ การสัมผัสกับสิ่งของที่ปนเปื้อนไวรัส ไวรัสสามารถอาศัยอยู่บนพื้นผิวสิ่งของได้ประมาณ 2 ชั่วโมง ถึง 7 วัน อย่างไรก็ตาม ไวรัสก่อโรคส่วนใหญ่จะสามารถทำให้ติดเชื้อได้ ภายใน 24 ชั่วโมงแรกที่ปนเปื้อนพื้นผิว ซึ่งทารกสามารถติดเชื้อไวรัสได้จากของเล่น หรือของใช้ที่ปนเปื้อนไวรัสได้ การแพร่เชื้อไวรัสจากคนสู่คนในอากาศ เมื่อผู้ที่เป็นไข้หวัด ไอ จาม หรือพูดคุย สามารถทำให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายไปในอากาศได้ และหากทารกสัมผัสเชื้อเหล่านั้นหรือหายใจเอาเชื้อเข้าไป ก็อาจทำให้ทารกเป็นหวัดได้ โดยเชื้อไวรัสก่อโรคจะแพร่กระจายสู่ทารกผ่านทางปาก ตา และจมูก อาการทารกเป็นหวัด สัญญาณของทารกเป็นหวัดที่พบบ่อยคือ อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล สีน้ำมูกเปลี่ยนไปและข้นหนืดมากขึ้น รวมถึงอาการอื่น ๆ ดังนี้ อาการไอ จาม หรือเจ็บคอ […]


เด็กทารก

ทารกท้องผูก สาเหตุ อาการและการดูแล

ทารกท้องผูก เป็นอาการที่พบบ่อยในทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี ทารกที่กินนมผง และทารกที่เริ่มรับประทานอาหารหยาบ โดยทารกจะมีอาการอุจจาระเป็นก้อนแข็ง หรือถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือมีอาการร้องไห้มาก เบ่งเยอะ และรู้สึกอึดอัดเมื่อขับถ่าย ดังนั้นการรู้วิธีดูแลทารกให้มีการขับถ่ายที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อลดปัญหาสุขภาพที่อาจตามมาในอนาคต [embed-health-tool-bmi] สาเหตุทารกท้องผูก ทารกท้องผูก พบได้บ่อยในทารกที่อายุน้อยกว่า 1 ปี ซึ่งสาเหตุของอาการท้องผูก ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากปัญหาทางระบบประสาท หรือปัญหาลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่มักเป็นสาเหตุของอาการท้องผูกในทารก ดังนี้ ภาวะขาดน้ำ ทารกท้องผูกอาจเกิดจากการขาดน้ำ หากทารกไม่ยอมดื่มน้ำหรือได้รับน้ำเข้าร่างกายไม่เพียงพอ ส่งผลทำให้อุจจาระแห้งและขับถ่ายยากขึ้น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ทารกได้รับน้ำไม่เพียงพอ (คนละกรณีกับการดื่มนมแม่ล้วน หากนมแม่พอเพียง เด็กทารกไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำเพิ่ม) อาจมาจากความรู้สึกไม่สบายตัวของทารกจากอาการงอกของฟัน ความรู้สึกเจ็บปวดจากไข้หวัด หรือการติดเชื้อต่าง ๆ ขาดไฟเบอร์ เด็กทารกอายุตั้งแต่ 6 เดือนที่เริ่มรับประทานอาหารแข็งได้ หากไม่ได้รับไฟเบอร์อย่างเพียงพออาจส่งผลทำให้ทารกท้องผูกได้ (แนะนำว่ารับประทานอาหารไฟเบอร์สูง ควรดื่มน้ำให้พอเพียงด้วย เพื่อให้ไฟเบอร์นิ่ม อุจจาระจะนิ่มตาม) การปรับเปลี่ยนอาหาร ทารกที่เปลี่ยนมากินนมผง รวมถึงทารกที่รับประทานอาหารเสริม อาจมีอาการท้องผูกได้ง่ายกว่า เนื่องจากร่างกายของทารกจำเป็นต้องใช้เวลาในการปรับตัวเพื่อเรียนรู้การย่อยอาหารรูปแบบใหม่ อุจจาระแล้วรู้สึกเจ็บปวด เช่นกรณีเบ่งอุจจาระแข็ง ๆ ทารกอาจจะกลั้นอุจจาระได้หากรู้สึกเจ็บขณะขับถ่าย ซึ่งอาจนำไปสู่อาการท้องผูกเรื้อรัง และอุจจาระที่แข็งมากอาจทำให้เกิดแผลฉีกในบริเวณทวารหนักได้ (Anal […]


การดูแลทารก

ลูกตัวเหลือง ดูแลอย่างไรหลังคลอดและเมื่อกลับมาอยู่บ้าน

ลูกตัวเหลือง เป็นภาวะสุขภาพที่เกิดขึ้นในทารกแรกเกิดหลังคลอด โดยส่วนใหญ่ร่างกายของทารกจะขับสารเหลืองออกมาทางของเสีย (ทางอุจจาระและปัสสาวะ) และภาวะตัวเหลืองจะหายไปเองเพียงไม่กี่วันหลังคลอด แต่ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจศึกษาวิธีดูแลทารกตัวเหลืองแบบง่าย ๆ และนำไปปฏิบัติร่วมกับคำแนะนำของคุณหมอ [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกตัวเหลือง เกิดจากอะไร เป็นเรื่องปกติที่ทารกแรกเกิดมักมีผิวสีเหลือง เนื่องจากการทำงานของตับในทารกแรกเกิดส่วนใหญ่ยังไม่สามารถกำจัดสารบิลิรูบินในเลือด (Hyperbilirubinemia) ได้อย่างสมบูรณ์ จึงส่งผลให้ทารกมีสีผิวสีเหลืองได้นั่นเอง แต่บางกรณีหากพบว่าสีผิวของทารกยังคงมีภาวะตัวเหลืองใน 3 สัปดาห์ ก็อาจเป็นไปได้ว่าทารกอาจเสี่ยงเป็นโรคดีซ่าน จะทราบได้อย่างไรว่าทารกตัวน้อยเป็นโรคดีซ่านหรือไม่ อาจสังเกตได้จาก สีผิวของทารกที่มีสีเหลือง ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม และไม่รับประทานอาหาร หรือกินนมได้น้อย ซึ่งหากสังเกตพบอาการเหล่านี้ ต้องเข้ารับการตรวจจากคุณหมอด้านกุมารเวชศาสตร์ในทันที เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนขั้นรุนแรง วิธีดูแลลูกตัวเหลืองที่บ้านแบบง่าย ๆ หลังคลอด หากคุณหมออนุญาตให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกรักกลับบ้านได้ โดยที่ทารกยังคงมีสีผิวสีเหลือง การดูแลลูกรักที่เหมาะสมที่สุด และเป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ๆ คือปฏิบัติดังนี้ ดูแลให้ทารกกินนมแม่ 8-12 ครั้งต่อวัน (คือ ให้นมทุก 2-3 ชม.) ในช่วง 3 วันแรกเกิด กรณีที่ทารกกินนมผงควรให้นมสูตรธรรมดา 1-2 ออนซ์ หรือ 30-60 มิลลิลิตร ทุก 2-3 ชั่วโมงในสัปดาห์แรก สังเกตอาการและสีผิวอย่างใกล้ชิด พร้อมจดบันทึกไว้เป็นข้อมูล เผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินจะได้นำไปแจ้งให้คุณหมอทราบ สังเกตสีอุจจาระ หากเป็นสีเหลืองแปลว่าร่างกายขับสารเหลืองออกมาได้ดี อาการลูกตัวเหลืองแบบไหนที่ควรเข้าพบคุณหมอ โดยปกติทารกที่มีผิวสีเหลือง […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

ปัญหาภูมิคุ้มกันในทารกคลอดก่อนกำหนด ที่ควรรู้

ปัญหาภูมิคุ้มกันในทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นภาวะแทรกซ้อนชนิดหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในทารกที่คลอดก่อนกำหนด และอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อสุขภาพทารกในระยะยาวได้ [embed-health-tool-due-date] การคลอดก่อนกำหนดคืออะไร การคลอดก่อนกำหนด คือ ทารกคลอดก่อนกำหนดจริงประมาณ 3 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น ซึ่งทารกที่คลอดกำหนดหลายคนอาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมา ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดเร็วเท่าใด ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นเท่านั้นด้วยเช่นกัน และหนึ่งในนั้นคือ ปัญหาภูมิคุ้มกันในทารกคลอดก่อนกำหนด ที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อย ระบบภูมิคุ้มกันในทารก ระบบภูมิคุ้มกันประกอบไปด้วย เซลล์ โปรตีน เนื้อเยื่อ และอวัยวะที่ป้องกันการติดเชื้อ เมื่อเวลาผ่านไประบบภูมิคุ้มกันได้สัมผัสกับแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อราต่าง ๆ จากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันจะพัฒนาแอนติบอดี (โปรตีนที่มีความสามารถในการกำจัดเชื้อโรค) เพื่อปกป้องร่างกายจากสิ่งที่บุรุกเข้ามาและพัฒนาเป็นภูมิคุ้มกันเชื้อนั้น ๆ  ตัวอย่างเช่น เด็กที่เป็นโรคอีสุกอีใส หลังจากการติดเชื้อครั้งแรกระบบภูมิคุ้มกันจะพัฒนาแอนติบอดีและสร้างภูมิคุ้มกัน หากในอนาคตได้สัมผัสกับไวรัสตัวเดิมเด็กจะไม่เป็นอีสุกอีใสอีก โดยปกติทารกในครรภ์จะได้รับแอนติบอดีจากการผลิตแอนติบอดีของแม่ผ่านทางรกในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ทำให้ทารกมีภูมิต้านทานโรคตั้งแต่แรกเกิด แต่สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจยังไม่ได้รับแอนติบอดีจากแม่อย่างเพียงพอ จึงทำให้ระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงและเสี่ยงต่อการติดเชื้อเมื่ออยู่นอกมดลูก นอกจากนี้ทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีปัญหาในการผลิตเซลล์และโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาว และแอนติบอดี ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ทารกมีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องได้ การติดเชื้อในทารก ปัญหาภูมิคุ้มกันในทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นปัญหาที่ทารกคลอดก่อนกำหนดมักมีระดับของแอนติบอดีต่ำ ซึ่งเป็นโปรตีนในเลือดที่ทำหน้าเป็นระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันการติดเชื้อตั้งแต่แรกเกิด ทารกจะได้รับแอนติบอดีจากแม่ผ่านทางรกแต่สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะได้รับแอนติบอดีที่น้อยกว่า ทำให้ทารกมีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อหลังคลอดสูง โดยเฉพาะการติดเชื้อในเลือด หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อีกทั้งการใช้อุปกรณ์ในการรักษาทารกคลอดก่อนกำหนด อย่างเช่น เครื่องช่วยหายใจ สายสวนในหลอดเลือด จะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรียที่ร้ายแรงได้ ภาวะติดเชื้อระยะเริ้มต้น ทารกสามารถติดเชื้อในระยะเริ้มต้นได้หากทารกได้มีการสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียบางชนิดระหว่างคลอด ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยง […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

ปัญหาการได้ยินในทารกคลอดก่อนกำหนด ภาวะแทรกซ้อนที่คุณต้องเฝ้าระวัง

ปัญหาการได้ยินในทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ในทารกคลอดก่อนกำหนดบางคน ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในหลายด้านเมื่อเติบโตขึ้น เพื่อให้คุณสามารถรับมือและเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการได้ยินในทารกมากขึ้น ลองอ่านบทความนี้ไปพร้อม ๆ กันค่ะ การคลอดก่อนกำหนดเป็นการคลอดที่เกิดขึ้นก่อนกำหนดจริงประมาณ 3 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น อีกนัยหนึ่งการคลอดก่อนกำหนดคือการคลอดก่อน 37 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ซึ่งทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมามากมาย ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดเร็วเท่าไรยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นเท่านั้นด้วย ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกายและพัฒนาการทางการเรียนรู้ของเด็กในระยะยาว [embed-health-tool-vaccination-tool] ปัญหาการได้ยินในทารกคลอดก่อนกำหนด คืออะไร ปัญหาการได้ยิน เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในทารกที่คลอดก่อนกำหนด ซึ่งการสูญเสียการได้ยินอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม การติดเชื้อ หรือภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอด ส่วนในทารกที่คลอดก่อนกำหนดแน่นอนว่าอวัยวะอาจยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์จากในครรภ์จึงอาจส่งผลทำให้ทารกสูญเสียการได้ยินได้ ในบางกรณีเด็กที่คลอดก่อนกำหนดอาจสูญเสียการได้ยินในภายหลัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวของกับการคลอดก่อนกำหนดด้วย เด็กที่สูญเสียการได้ยินและไม่ได้รับการรักษาหรือทำการรักษาล่าช้า อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางภาษา การพูด และการสื่อสารกับผู้อื่นเมื่ออายุมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดปัญหาต่อการเข้าสังคมในอนาคตได้ ตรวจการได้ยินในทารก ทารกทุกคนจะได้รับการตรวจคัดกรองปัญหาการได้ยิน โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะได้รับการทดสอบการได้ยินหลังจากอายุได้ 34 สัปดาห์ หรือจนกว่าแพทย์จะวินิจฉัยว่าทารกสมบูรณ์แข็งแรงแล้ว โดยจะใช้เครื่องมือเซ็นเซอร์พิเศษวางบนศีรษะของทารก และดูการตอบสนองจากเส้นประสาทการได้ยินของทารก หรือเรียกว่า การตอบสมองของก้านสมองอัตโนมัติ (Automated Auditory Brainstem Response : AABR) เพื่อตรวจสอบการได้ยินของทารกคุณอาจสังเกตพฤติกรรมเหล่านี้ที่อาจเกิดขึ้นได้ ช่วง 4-10 สัปดาห์ ทารกอาจแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ เมื่อมีเสียงดังกะทันหัน กระตุกหรือกระพริบตา เสียงจะรบกวนการนอนหลับของทารก หยุดกินนมเมื่อได้ยินเสียง มองไปตามเสียง ร้องไห้ ช่วง 3-4 เดือน ทารกอาจแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

ปัญหาสมองในทารกคลอดก่อนกำหนด ประเภท และการป้องกัน

ปัญหาสมองในทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นภาวะแทรกซ้อนอีกประเภทหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในทารกคลอดก่อนกำหนดบางคน ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยในระยะยาวได้ มาทำความรู้จักกับปัญหาสมองในทารกคลอดก่อนกำหนดเพื่อที่คุณได้รู้เกี่ยวกับโรคอื่น ๆ ที่อาจตามมาและจะได้รับมือได้อย่างทันท่วงที การคลอดก่อนกำหนดคือการคลอดที่เกิดขึ้นก่อนเวลาที่กำหนดโดยประมาณของทารก หรือการคลอดที่เกิดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งร่างกายและสมองอาจยังพัฒนาไม่เต็มที่เมื่ออยู่ในครรภ์ จนทำให้ทารกบางคนมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดมากเท่าไรยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นเท่านั้นด้วยเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ปัญหาสมองในทารกคลอดก่อนกำหนด คืออะไร ปัญหาสมองในทารกคลอดก่อนกำหนดอาจมีปัญหาทางระบบประสาทซึ่งส่งผลต่อสมอง ไขสันหลัง เส้นประสาทส่วนปลาย และกล้ามเนื้อ ยิ่งทารกเกิดเร็วเท่าไร ความเสี่ยงที่จะมีเลือดออกในสมองก็มากขึ้นเท่านั้น เรียกว่า ภาวะตกเลือดในสมอง ในทารกบางคนภาวะตกเลือดในสมองอาจหายได้เอง แต่ในบางคนอาจส่งผลทำให้สมองได้รับบาดเจ็บอย่างถาวร อีกทั้งอาจทำให้เกิดปัญหาสมองอื่น ๆ ตามมาได้ ประเภทของปัญหาสมองในทารกคลอดก่อนกำหนด ประเภทของปัญหาสมองในทารกคลอดก่อนกำหนดที่อาจเกิดขึ้นได้ มีดังนี้ ภาวะเลือดออกในโพรงสมอง (Intraventricular hemorrhage : IVH) เป็นภาวะที่มีเลือดออกในบริเวณรอบ ๆ โพรงช่องว่างในสมอง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีน้ำไขสันหลัง เกิดจากเส้นเลือดบอบบางเกิดการแตกออก ทำให้เลือดเข้าไปสะสมในสมองซึ่งสามารถทำลายเซลล์ประสาทได้ ภาวะเลือดออกในโพรงสมองมักพบได้บ่อยในทารกที่คลอดก่อนกำหนด โดยเฉพาะทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,500 กรัม อาจแสดงอาการ ดังนี้ โรคโลหิตจาง ทารกร้องไห้บ่อย อัตราการเต้นของหัวใจต่ำ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อาการซึม ชัก ทารกไม่อยากอาหาร ภาวะเนื้อเยื้อรอบโพรงสมองได้รับความเสียหาย (Periventricular leukomalacia : PVL) เป็นภาวะที่เกี่ยวของกับระบบประสาทในทารกคลอดก่อนกำหนด และมักเกิดขึ้นบ่อยในทารกที่คลอดก่อนกำหนด […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและวิธีดูแล

โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด เป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงชนิดหนึ่งที่พบมากในทารกคลอดก่อนกำหนด หรือทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิดให้มากขึ้น ทั้งอาการที่ควรสังเกต สาเหตุ วิธีรักษาและดูแลที่เหมาะสม อาจช่วยคลายความกังวลให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้ โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด คืออะไร โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด (Bronchopulmonary dysplasia : BPD) เป็นโรคที่เกี่ยวกับปัญหาการหายใจและปอดในระยะยาว จัดเป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่เกิดจากปอดของทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ โรคนี้มักพบในทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือทารกที่มีภาวะหายใจลำบาก (Respiratory distress syndrome : RDS) โดยความรุนแรงของโรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิดมีตั้งแต่ระดับเบาไปจนถึงรุนแรงมาก ทารกที่เป็นโรคปอดเรื้อรังอาจพบภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้ ปัญหาสุขภาพที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจต่อเนื่อง เสี่ยงเกิดโรคไข้หวัดธรรมดา โรคไข้หวัดใหญ่ และการติดเชื้ออื่น ๆ ได้ง่าย ปัญหาการกลืน ปัญหาการเจริญเติบโตและพัฒนาการล่าช้า ปัญหาการหายใจในวัยเด็ก และอาจเรื้อรังไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ อาการ โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด อาการที่พบได้บ่อย มีดังนี้ ปัญหาการหายใจ เช่น หายใจเร็ว หายใจสั้น มีเสียงเมื่อหายใจ หน้าอกมีการหดและขยายอย่างชัดเจน อาจหยุดหายใจชั่วขณะ ปีกจมูกขยับแรงกว่าปกติขณะหายใจ อาจมีอาการหายใจหอบ ผิวปลายมือปลายเท้าหรือริมฝีปากมีสีเขียว ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อให้ออกซิเจนอย่างต่อเนื่องหลังจากทารกคลอดก่อนกำหนด มีอายุประมาณ 36 สัปดาห์ สาเหตุของโรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด ปัญหาสุขภาพ เช่น ภาวะหายใจลำบาก ภาวะปอดติดเชื้อ […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

ปัญหาหัวใจในทารกคลอดก่อนกำหนด ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับลูกน้อย

ปัญหาหัวใจในทารกคลอดก่อนกำหนด หมายถึง ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับหัวใจในลักษณะต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตต่ำ หัวใจพิการ อาจเกิดจากหัวใจของทารกยังไม่พัฒนาจนสมบูรณ์พร้อม ปัญหาหัวใจเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจเป็นอันตรายกับสุขภาพเด็กได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-”due-date”] ทารกคลอดก่อนกำหนดกับปัญหาสุขภาพหัวใจ ทารกคลอดก่อนกำหนด คือ ทารกที่คลอดก่อนครบกำหนดประมาณ 2 สัปดาห์ หรือคลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดส่วนใหญ่มักมีปัญหาสุขภาพตามระบบต่าง ๆ เนื่องจากร่างกายอาจยังพัฒนาไม่สมบูรณ์เต็มที่ ปัญหาสุขภาพเหล่านี้อาจส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการโดยรวมของทารกทั้งระยะสั้นและระยะยาว มีงานวิจัยที่พบว่า ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักเสี่ยงเกิดโรคหัวใจ และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อีกทั้งการคลอดก่อนกำหนดยังอาจส่งผลต่อโครงสร้างหัวใจและการทำงานของหัวใจอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอีกหนึ่งชิ้นที่พบว่า การคลอดก่อนกำหนดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และระดับคอเลสเตอรอลสูงเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่อีกด้วย ปัญหาหัวใจในทารกคลอดก่อนกำหนด ปัญหาหัวใจที่อาจพบได้ในทารกคลอดก่อนกำหนด มีดังต่อไปนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน (Patent ductus arteriosus : PDA) เมื่อทารกอยู่ในครรภ์ ทารกจะได้รับออกซิเจนจากรก เพราะปอดจะยังไม่ทำงานจนกว่าทารกจะลืมตาดูโลกและสายสะดือถูกตัดขาด เมื่อทารกคลอดออกมาแล้วหลอดเลือดหัวใจจะปิดเพื่อให้ปอดเริ่มทำงาน แต่สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนด หลอดเลือดหัวใจส่วนนี้อาจปิดช้ากว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน โดยปกติโรคนี้มักไม่ก่อให้เกิดปัญหา เนื่องจากหลอดเลือดจะปิดตัวลงได้เองเมื่อทารกคลอดก่อนกำหนดมีอายุเท่ากับทารกที่คลอดตามกำหนด แต่ทารกบางคนอาจเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเกินถาวร และทำให้อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือรับการรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัดปิดหลอดเลือดเกิน โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital heart disease : CHD) โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หมายถึง โรคที่ลักษณะของหัวใจผิดปกติ เช่น ผิดรูป มีรูรั่ว […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

ปัญหาการหายใจในทารกคลอดก่อนกำหนด รู้ก่อน เพื่อสุขภาพทารก

ปัญหาการหายใจในทารกคลอดก่อนกำหนด คือปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นในทารกที่คลอดก่อนกำหนด เช่น โรคปอดเรื้อรัง ภาวะหายใจลำบาก ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการที่ปอดของทารกยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ เมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น ปัญหาการหายใจในทารก เหล่านี้ก็จะค่อย ๆ หายไปตามพัฒนาการของทารก ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หมายถึงทารกที่คลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักมีปัญหาสุขภาพมากมายเนื่องจากร่างกายยังไม่พัฒนาเต็มที่ ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดเร็วเท่าไรจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นเท่านั้น [embed-health-tool-”due-date”] ปัญหาการหายใจในทารกคลอดก่อนกำหนด มีอะไรบ้าง ทารกที่คลอดก่อนกำหนดบางคนอาจมีปัญหาเรื่องการหายใจ เนื่องจากระบบทางเดินหายใจยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ปอดของทารกอาจขาดสารลดแรงตึงผิวที่ช่วยให้ปอดขยายตัว ทำให้ปอดของทารกอาจไม่สามารถหดและขยายตัวได้ตามปกติ จนนำไปสู่ ปัญหาการหายใจในทารก ต่าง ๆ ดังนี้ กลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิด (Newborn or neonatal respiratory distress syndrome : NRDS) กลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิด เกิดขึ้นจากการที่ปอดยังพัฒนาไม่เต็มที่ทำให้ไม่สามารถรับออกซิเจนได้อย่างเพียงพอ ทำให้ทารกอาจมีอาการต่าง ๆ ดังนี้ สีผิว ริมฝีปาก ลิ้นและเล็บ เปลี่ยนเป็นสีม่วงหรือฟ้า หายใจสั้นและเร็ว มีเสียงดังเมื่อหายใจ กรณีที่เป็นมากอาจซึมลง หายใจช้า หรือ หายใจแผ่ว แพทย์อาจต้องให้สารลดแรงตึงผิวผ่านทางหลอดลมเข้าสู่ปอด นอกจากนี้ หากแพทย์พิจารณาว่าคุณแม่อาจมีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนสัปดาห์ที่ 34 คุณหมอก็อาจให้ยาสเตียรอยด์เพื่อช่วยให้ปอดของทารกพัฒนาดีขึ้น เนื่องจากปอดของทารกคลอดก่อนกำหนดจะพัฒนาจนใกล้เคียงทารกครบกำหนดหลังอายุครรภ์ 34 สัปดาห์เป็นต้นไป โรคปอดเรื้อรังในทารกคลอดก่อนกำหนด (Bronchopulmonary […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน