เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

หมวดหมู่ เด็กทารก เพิ่มเติม

โภชนาการสำหรับทารก

สำรวจ เด็กทารก

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เก็บ น้ำนม อย่างไรให้คุณภาพดี ไม่บูดง่าย

เก็บ น้ำนม เป็นวิธีการยืดอายุและรักษาคุณภาพน้ำนมแม่ให้ยังคงมีคุณภาพและสารอาหารที่ครบถ้วน ซึ่งการเก็บน้ำนมที่ดีอาจต้องคำนึงถึงประเภทของนม เช่น นมปั๊มใหม่ นมเก่า ภาชนะที่ใส่ และอุณภูมิในการเก็บรักษาเพื่อคงคุณภาพของนมและความปลอดภัยของทารก การปั๊มน้ำนมแม่ การปั๊มน้ำนมสามารถทำได้ด้วยมือและเครื่องปั๊มนม ซึ่งความถี่และปริมาณในการปั๊มจะขึ้นอยู่กับวิธีการปั๊ม หากสังเกตว่าน้ำนมเริ่มไหลออกมาจากเต้าควรหาเวลาในการระบายน้ำนมออก ควรปั้มให้เป็นเวลาและสม่ำเสมอหรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นคลุมหน้าอกทั้งก่อนอาบน้ำ ระหว่างอาบน้ำ และหลังอาบน้ำ เพื่อเพิ่มการผลิตและการไหลเวียนของน้ำนม การปั๊มน้ำนมแม่ด้วยมือ การปั๊มนมด้วยมือ มีวิธีดังนี้ ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำอุ่น และเตรียมขวดหรือภาชนะที่สะอาดพร้อมเก็บน้ำนม อาจเริ่มด้วยการนวดหน้าอกเบา ๆ ก่อนเริ่มปั๊มนมอาจช่วยให้น้ำนมไหลได้ง่ายขึ้น จับเต้านมด้วยมือข้างหนึ่ง จากนั้นใช้มืออีกข้างหนึ่งทำมือเป็นรูปตัว C ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือบีบเบา ๆ รอบหัวนม โดยให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มืออยู่ห่างจากหัวนม 2-3 เซนติเมตร ไม่ควรบีบหัวนมเพราะอาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดได้ ทำตามขั้นตอนด้านบนอย่างเป็นจังหวะ ค่อย ๆ บีบและปล่อยแล้วทำซ้ำไปเรื่อย ๆ ที่จุดเดิม พยายามอย่าเลื่อนนิ้วไปบนผิวหนังเพราะอาจทำให้นมหยุดไหล เมื่อทำอย่างถูกต้องน้ำนมจะค่อย ๆ เริ่มไหลออกมา แต่หากไม่มีน้ำนม หรือการไหลของน้ำนมเริ่มช้าลงให้ลองขยับนิ้วและนิ้วหัวแม่มือเล็กน้อย แต่ยังคงหลีกเลี่ยงการบีบบริเวณที่ใกล้กับหัวนม เมื่อการไหลของเต้านมข้างหนึ่งช้าลง ให้สลับไปยังเต้านมอีกข้างหนึ่ง ให้ปลี่ยนเต้านมไปเรื่อย ๆ จนกว่าน้ำนมจะหยดช้ามากหรือหยุดไปเลย การปั๊มน้ำนมแม่ด้วยเครื่องปั๊มนม เครื่องปั๊มน้ำนมมีด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบใช้มือและแบบอัตโนมัติ ซึ่งการใช้งานของเครื่องปั๊มนมแต่ละประเภทอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับคู่มือการใช้งานแต่ละรุ่น และแรงดูดของเครื่องปั๊มนมบางรุ่นอาจรุนแรงมากจนทำให้เจ็บหัวนม […]


เด็กทารก

ทารกหลับไม่สนิท ตื่นกลางคืนบ่อย ๆ เกิดจากอะไร

ปัญหาทารกหลับไม่สนิท สะดุ้งตื่นและร้องไห้กลางดึก เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น หิว นอนกลางวันมากเกินไป ไม่คุ้นชินกับสภาพแวดล้อม ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาวิธีที่ช่วยทำให้ทารกหลับสนิทตลอดคืน เพื่อช่วยให้ทารกได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ เสริมสร้างพัฒนาการและการเจริญเติบโต และลดความอ่อนเพลียจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกหลับไม่สนิท เกิดจากอะไร ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่มีชั่วโมงการนอนที่ค่อนข้างยาวนานประมาณ 16 ชั่วโมง/วัน ขึ้นอยู่กับอายุ โดยแบ่งเป็นนอนกลางวัน 8 ชั่วโมง นอนกลางคืน 8 ชั่วโมง แต่จะมีระยะการนอนที่สั้น แต่ละครั้งมักจะนอนเพียงไม่กี่ชั่วโมง หากทารกหลับไม่สนิท หลับ ๆ ตื่น ๆ โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน อาจเป็นไปได้ว่าเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ สภาพแวดล้อมรอบข้าง เช่น เสียงรบกวน แสงไฟที่สว่างเกินไป การเคลื่อนไหวของคุณพ่อคุณแม่ อาจรบกวนการนอนของทารก ทำให้ทารกนอนหลับไม่สนิท สะดุ้งตื่นได้ รู้สึกหิว เนื่องจากทารกมีกระเพาะอาหารขนาดเล็ก ทำให้จุอาหารได้น้อย และย่อยอาหารได้เร็ว ส่งผลให้ทารกรู้สึกหิวบ่อยจนอาจรบกวนการนอนหลับ และทำให้มักตื่นขึ้นในช่วงเวลากลางคืน นอนกลางวันมากเกินไป การงีบหลับในช่วงกลางวันมากเกินไป อาจทำให้ทารกไม่รู้สึกง่วงนอน และนอนหลับไม่สนิทในเวลากลางคืน อาการเจ็บป่วย อาจทำให้ทารกนอนหลับไม่สนิท และตื่นบ่อยช่วงเวลากลางคืน […]


การดูแลทารก

ท่าอุ้มเรอ สำหรับเด็กทารก มีอะไรบ้าง

สาเหตุที่ทำให้ทารกเรอ เกิดจากการกลืนอากาศมากเกินไปในขณะดูดนมจากขวดหรือจากเต้าของคุณแม่ หรืออาจเกิดจากแพ้โปรตีนในนม ทำให้มีแก๊สสะสมในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้มีอาการท้องอืด ปวดท้อง และอาจอาเจียน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาท่าอุ้มเรอ เพื่อช่วยไล่แก๊สออกหลังจากลูกกินนมเสร็จ เพื่อให้ลูกไม่อึดอัด และมีความสบายตัวมากขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกเรอ ดีต่อสุขภาพอย่างไร การทำให้ทารกเรออาจช่วยลดแก๊สที่สะสมอยู่ในช่องท้อง ซึ่งอาจเกิดจากอากาศที่กลืนเข้าไประหว่างดูดนม หรืออาจเกิดจากปฏิกิริยาตอบสนองต่อโปรตีนในนมวัว และสารก่อภูมิแพ้เช่น ไข่ ถั่ว น้ำอัดลม ผักบางชนิด ที่ปะปนในน้ำนมคุณแม่ ทำให้ร่างกายของทารกสร้างแก๊สในกระเพาะอาหาร และอาจส่งผลให้ทารกมีอาการปวดท้อง ท้องอืด หรืออาเจียน ดังนั้น จึงควรทำให้ทารกเรอหลังจากกินนมเสร็จด้วยการอุ้มและลูบหลังลูกน้อยเบา ๆ เพื่อช่วยขับแก๊สออกจากช่องท้อง และป้องกันการแหวะนม และปวดท้อง งานวิจัยหนึ่งของสถาบันการศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ ประเทศอินเดีย ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Child: care, health and development พ.ศ. 2557 ได้ทำการประเมินประสิทธิภาพของการเรอในการลดอาการแหวะนมของทารก โดยทดลองแบบสุ่มในแม่ลูก 71 คู่ เป็นเวลา 3 เดือน พบว่าการเรออาจช่วยลดอาการแหวะนมได้ ท่าอุ้มเรอ ที่เหมาะสมสำหรับทารก ท่าอุ้มเรอ ที่แนะนำมีดังนี้ ท่าอุ้มนั่งบนตัก หลังจากทารกกินนมเสร็จ ให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกนั่งบนตัก และใช้มือข้างหนึ่งประคองตัวทารกโดยจับไว้ที่บริเวณหน้าอก จากนั้นเอนตัวทารกไปข้างหน้าเล็กน้อย และใช้มืออีกข้างหนึ่งลูบหลังทารกเป็นวงกลม […]


การดูแลทารก

ลูกร้องไม่หยุด เกิดจากอะไร และควรทำอย่างไร

ลูกร้องไห้เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นบ่อยกับทารก เนื่องจากลูกน้อยยังไม่สามารถสื่อสารแสดงความต้องการหรือความรู้สึก เช่น หิว ไม่สบายตัว มีไข้ ออกมาเป็นคำพูดได้ จึงแสดงออกมาเป็นการร้องไห้แทนแต่หากสังเกตว่า ลูกร้องไม่หยุด และร้องเป็นเวลานาน หรือที่เรียกว่าอาการโคลิค แต่มักจะเกิดในเด็กเล็ก คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาถึงวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการเบื้องต้น หรือขอคำแนะนำจากคุณหมอเพิ่มเติม [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกร้องไม่หยุด เกิดจากอะไร การที่ทารกร้องไห้ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นการส่งสัญญาณบอกคุณแม่เมื่อรู้สึกหิว ปวดท้อง เจ็บป่วย ไม่สบายตัวจากผ้าอ้อมเปียกชื้น ทารกมักร้องไห้ 2-3 ชั่วโมง/วัน สำหรับทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน อาจจะร้องไห้บ่อยช่วงบ่ายและหัวค่ำ และจะค่อย ๆ เลิกร้องไห้บ่อยได้เองเมื่อเติบโตขึ้น แต่หากทารกมีอาการร้องไห้ไม่หยุด ร้องไห้โดยไม่ทราบสาเหตุ และร้องไห้อย่างหนักบ่อยครั้ง หรือที่เรียกว่าอาการโคลิค อาจเกิดจากปัจจัยหลายประการ ดังต่อไปนี้ มีแก๊สในกระเพาะอาหารมากเกินไป ทารกอาจสูดหายใจรับอากาศลงช่องท้องมากเกินไประหว่างการกินนมหรือการร้องไห้ ทำให้มีแก๊สในกระเพาะอาหารมากเกินไป และอาจทำให้ทารกรู้สึกจุดเสียด ปวดท้อง จนร้องไห้ไม่หยุด แพ้โปรตีนในนม หรือแพ้สารอาหารบางอย่างที่อยู่ในนมแม่ เช่น ไข่ ถั่ว ข้าวสาลี อาจทำให้ทารกมีอาการไม่สบายท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย เพื่อบรรเทาอาการแพ้นมควรให้ทารกเปลี่ยนมากินนมสูตรโมเลกุลเล็ก ย่อยง่ายเป็นเวลา 1 สัปดาห์ นอกจากนี้ คุณแม่ที่ให้นมลูกควรหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ […]


การดูแลทารก

วิธีจับลูกเรอ ป้องกันอาการจุดเสียด ท้องอืด ทำได้อย่างไร

ทารกแรกเกิดอาจมีระบบย่อยอาหารที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้การย่อยอาหารยังทำได้ไม่ดี ส่งผลให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร อาการจุดเสียด กรดไหลย้อน และอาเจียนหลังกินนม การทำให้ลูกเรอ จึงอาจช่วยขับแก๊สออกจากกระเพาะ และลดอาการท้องอืด จุกเสียดได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษา วิธีจับลูกเรอ และวิธีป้องกันการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร เพื่อช่วยให้ลูกน้อยสบายตัว ลดอาการท้องอืด [embed-health-tool-vaccination-tool] ทำไมควรทำให้ทารกเรอหลังจากกินนม ระหว่างที่ทารกกินนมอาจทำให้กลืนอากาศเข้าไปในช่องท้อง ส่งผลให้เกิดการสะสมของแก๊สในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ โปรตีนในนมวัว และสารอาหารบางชนิดที่คุณแม่รับประทาน เช่น ไข่ ถั่ว กะหล่ำ น้ำอัดลม โซดา ขนมที่มีน้ำตาลสูง อาจปะปนในน้ำนม เมื่อทารกกินนมจึงทำให้ร่างกายตอบสนองโดยการสร้างแก๊สในช่องท้องมากขึ้น ทำให้ทารกปวดท้อง ไม่สบายตัว และแสดงอาการออกมาเป็นการร้องไห้ ดังนั้น การทำให้ลูกน้อยเรอหลังจากดื่มนมจะช่วยระบายแก๊สส่วนเกินในกระเพาะอาหารเหล่านี้ออกไป วิธีจับลูกเรอ ทำอย่างไร วิธีจับลูกเรอ อาจทำได้ด้วยการอุ้มท่าต่าง ๆ ดังนี้ อุ้มลูกพาดไหล่ คุณพ่อคุณแม่ควรอุ้มทารกพาดไหล่แนบชิดกับหน้าอก โดยให้หลังทารกตั้งตรง ใช้แขนข้างหนึ่งประคองก้น และจับศีรษะทารกพิงกับไหล่เอาไว้ จากนั้นใช้มืออีกข้างตบหลังทารกเบา ๆ หรือลูบหลังเป็นวงกลม เพื่อไล่อากาศ อุ้มลูกนั่งบนตัก หลังจากทารกกินนมเสร็จ ให้คุณพ่อคุณแม่จับลูก นั่งหลังตรงหันด้านข้างพิงกับหน้าอก และใช้มือประคองลำคอและศีรษะไว้ ใช้มืออีกข้างหนึ่งลูบหลังทารกเป็นวงกลมอย่างช้า ๆ หากทารกยังไม่เรอ ให้ลองตบหลังเบา ๆ […]


การดูแลทารก

ท่าอุ้มทารก และวิธีอุ้มทารกอย่างปลอดภัย

ทารกแรกเกิดมีโครงสร้างร่างกาย กระดูก และอวัยวะต่าง ๆ ที่ยังไม่แข็งแรง การอุ้มทารกจึงจำเป็นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษา ท่าอุ้มทารก ที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยของลูก และช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกได้รับความรัก ความอบอุ่นที่ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตใจ และช่วยให้มีอารมณ์ที่ดีมากขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] ประโยชน์ของการอุ้มทารก การอุ้มทารกอาจช่วยให้คุณแม่ให้นมลูกได้สะดวก ช่วยกระชับความสัมพันธ์ ส่งผลให้ทารกมีความสุข อารมณ์ดี นอนหลับสนิท อัตราการเต้นหัวใจคงที่ ปรับปรุงการหายใจ และร้องไห้น้อยลง เพราะการอุ้มลูกในอ้อมกอดอาจทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่น และรับรู้ได้ถึงความรักของคุณพ่อคุณแม่ งานวิจัยชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ในวารสารกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกาเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2529 ที่ทำการทดลองเกี่ยวกับการอุ้มทารกและความถี่ในการร้องไห้ ของทารกอายุ 6 สัปดาห์ ถึง 4 เดือน โดยให้คุณแม่เพิ่มความถี่ของการอุ้มทารกในช่วงเย็นที่ทารกมักจะร้องไห้บ่อย พบว่า การอุ้มอาจช่วยทำให้ลูกร้องไห้และงอแงน้อยลง 43% ในช่วงอายุ 3 เดือนแรก ท่าอุ้มทารก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ ท่าอุ้มทารก ที่ถูกต้องและปลอดภัย มีดังนี้ ท่าอุ้มประคองศีรษะ เนื่องจากกระโหลกศีรษะของทารกยังไม่แข็งแรง จึงควรอุ้มลูกอย่างระมัดระวัง โดยจับทารกนอนหงาย นำมือช้อนใต้ศีรษะและลำคอเพื่อประคองศีรษะของทารก และนำมืออีกข้างหนึ่งประคองใต้ก้นเมื่อถนัดมือแล้วจึงอุ้มทารกแนบเข้าหาลำตัวบริเวณหน้าอก ท่าอุ้มประคองทั้งตัว (The Cradle Hold) คือท่าอุ้มทารกที่ประคองให้ศีรษะทารกอยู่บริเวณข้อพับแขนของคุณพ่อคุณแม่ข้างใดข้างหนึ่ง และนำแขนอีกข้างข้างโอบกอดลำตัวทารกโดยให้ช่วงหลังและก้นของทารกอยู่บนแขน […]


เด็กทารก

เด็ก งอแง สาเหตุและการดูแล

เด็ก งอแง เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความหิว ความง่วง กินอาหารมากเกินไป ความเจ็บปวดทางกาย ความร้อน ความหนาวเย็น หรืออาจเกิดจากอาการโคลิค (Colic) หรือการร้องไห้ตอนกลางคืน ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยในเด็กแรกเกิดถึง 3 เดือน ทำให้เด็กร้องไห้งอแงมากและอาจควบคุมได้ยาก การเข้าใจถึงสาเหตุและการดูแลให้เด็กรู้สึกสบายตัวมากที่สุดจึงอาจช่วยลดอาการงอแงได้ สาเหตุที่ทำให้เด็ก งอแง เด็ก งอแง อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ ความหิว เป็นสาเหตุที่อาจพบบ่อยที่สุด เนื่องจากเด็กอาจสื่อสารได้เพียงการร้องไห้เพื่อแสดงความต้องการอาหาร แต่เมื่อได้รับอาหารอย่างเพียงพอเด็กก็หยุดงอแง ความง่วง ทำให้เด็กงอแงได้ เนื่องจากเด็กอาจกำลังสื่อสารให้ผู้ปกครองพาเข้านอนและจัดท่าทางให้อยู่ในท่าที่สบาย เช่น การอุ้ม การตีก้น การห่อตัว แล้วจึงค่อย ๆ หลับลง การกินอาหารมากเกินไป การป้อนอาหารบ่อยและมากเกินไปอาจทำให้เด็กอึดอัดท้อง มีแก๊สในกระเพาะอาหาร ทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายตัว การใส่เสื้อผ้าที่ไม่เหมาะกับสภาพอากาศ อาจทำให้ทารกรู้สึกร้อนหรือหนาวเกินไป นอกจากนี้ การใช้ผ้าอ้อมที่ไม่สะอาดอาจทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองจนเกิดอาการคันหรือแสบร้อนจนทำให้เด็กงอแงได้เช่นกัน ความเจ็บปวด ได้แก่ แผลในปาก อาการปวดหู ผื่นผ้าอ้อม แผลที่ปลายองคชาต อาจทำให้เด็กมีอาการเจ็บและงอแงมากขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา อาการโคลิก เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิดอายุตั้งแต่ 3 […]


เด็กทารก

การนอนของทารก ที่เหมาะสม และวิธีช่วยให้ทารกหลับง่ายขึ้น

การนอนของทารก อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน และอาจขึ้นอยู่กับช่วงอายุด้วย โดยทารกมักนอนมากที่สุดในช่วงแรกเกิด แต่จะนอนหลับไม่นาน หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ  ตลอดทั้งวัน เมื่อทารกเติบโตขึ้น ระยะเวลาในการนอนกลางวันจะค่อย ๆ ลดลง และจะนอนในตอนกลางคืนได้นานขึ้น และมักหลับจนถึงเช้าโดยไม่ตื่นกลางดึก [embed-health-tool-baby-poop-tool] การนอนของทารก เป็นอย่างไร โดยทั่วไปทารกแรกเกิดจะนอนหลับในตอนกลางวันประมาณ 8-9 ชั่วโมง และนอนหลับในตอนกลางคืนประมาณ 8 ชั่วโมง แต่อาจนอนหลับครั้งละไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง หรืออาจนานกว่านั้นถ้าทารกกินอิ่ม เมื่อทารกอายุประมาณ 3 เดือน อาจนอนหลับในช่วงเวลากลางคืนได้นานขึ้น คือประมาณ 6-8 ชั่วโมง โดยไม่ตื่นกลางดึก และเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน ทารกมักจะนอนหลับได้ตลอดทั้งคืนจนถึงเช้า โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการง่วงนอนของทารกได้จากพฤติกรรม เช่น ขยี้ตา มองไปรอบ ๆ หาว งอแง ทารกควรนอนมากแค่ไหน ทารกแต่ละคนอาจต้องการระยะเวลาในการนอนหลับที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาในการนอนโดยเฉลี่ยที่ทารกควรได้รับตลอด 24 ชั่วโมง อาจเป็นดังนี้ ทารกแรกเกิด ส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาช่วงนอนหลับมากกว่าช่วงตื่นนอน ทารกแรกเกิดอาจนอนหลับ 8-18 ชั่วโมง […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการทารก 2 เดือน และวิธีดูแลทารกที่เหมาะสม

พัฒนาการทารก 2 เดือน อาจเปลี่ยนแปลงไปในหลายด้าน เช่น ด้านการสื่อสาร ด้านกายภาพ ทารก 2 เดือนมักเจริญเติบโตและตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาวิธีการส่งเสริมพัฒนาการทารก 2 เดือนให้เหมาะสม เพื่อช่วยกระตุ้นให้ทารกมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ และควรสังเกตสัญญาณเตือนของภาวะพัฒนาการล่าช้าในทารกด้วย หากพบจะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการทารก 2 เดือน มีอะไรบ้าง  พัฒนาการทารก 2 เดือน ที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกต อาจมีดังนี้ พัฒนาการด้านกายภาพ ทารกอายุ 2 เดือน มักเริ่มมีน้ำหนักตัวและความยาวของลำตัวเพิ่มขึ้น รู้จักมองตามวัตถุที่เคลื่อนไปมา เพื่อจดจำรูปร่างและลักษณะของวัตถุที่เห็น มีการได้ยินดีขึ้น และเริ่มแบมือ กำมือ หรือเอื้อมมือ เพื่อหยิบจับสิ่งของรอบตัว แขนขาเริ่มงอน้อยลงเวลานอนหงาย หากคุณพ่อคุณแม่อุ้มทารกพาดบ่า จะสังเกตได้ว่าทารกอาจเริ่มยกศีรษะและดันลำตัวขึ้น พัฒนาการด้านการสื่อสาร เมื่อทารกเริ่มมองเห็นและได้ยินชัดขึ้น อาจส่งผลให้ทารกจดจำและตอบสนองด้วยการยิ้ม ส่งเสียงอ้อแอ้ หรือหันศีรษะไปตามเสียง และหากทารกรู้สึกไม่สบายตัว หงุดหงิด หรือหิว ก็อาจแสดงออกด้วยการร้องไห้อย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อวัน พัฒนาการด้านการกินอาหาร ทารกอาจเริ่มกินนมได้มากขึ้น เนื่องจากเริ่มดูดนมเป็นและรู้จักใช้ลิ้นช่วยกระตุ้นให้น้ำนมไหลดีขึ้น ทารกวัย 2 […]


เด็กทารก

ตัวเหลือง หรือดีซ่านในทารกแรกเกิด อาการ สาเหตุ การรักษา

ตัวเหลือง หรือดีซ่านในทารกแรกเกิด อาจเกิดจากการมีปริมาณสารบิลิรูบิน (Bilirubin) ในเลือดมากเกินไป โดยบิลิรูบินเป็นสารประกอบสีเหลืองที่เกิดจากเม็ดเลือดแดงสลายตัวผ่านกระบวนการในตับ ร่างกายจะขับสารบิลิรูบินออกทางปัสสาวะและอุจจาระ แต่ตับของทารกแรกเกิดอาจยังไม่สามารถกำจัดบิลิรูบินได้ดีเท่าที่ควร ทำให้มีสารบิลิรูบินตกค้างและอาจส่งผลให้ตัวเหลือง และหากปล่อยไว้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองได้ คำจำกัดความ ตัวเหลือง คืออะไร  ตัวเหลือง หรือดีซ่าน (Jaundice) ในทารกแรกเกิด เป็นภาวะที่มักเกิดจากการมีสารบิลิรูบินในเลือดมากเกินไป โดยบิลิรูบินเป็นสารสีเหลืองที่เกิดจากการย่อยสลายเซลล์เม็ดเลือดแดงเก่าผ่านกระบวนการในตับ โดยปกติร่างกายจะกำจัดสารนี้ออกทางปัสสาวะและอุจจาระ แต่เนื่องจากตับของทารกแรกเกิดอาจยังทำงานได้ไม่เต็มที่และกำจัดบิลิรูบินได้ไม่ดีนัก จึงอาจส่งผลให้มีสารบิลิรูบินตกค้าง และทำให้ทารกตัวเหลืองหรือเป็นดีซ่านได้ หากสารบิลิรูบินเข้าสู่สมอง อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้สมองถูกทำลายถาวร หรือมีความพิการทางสมองจากภาวะตัวเหลือง ที่เรียกว่า เคอร์นิกเทอรัส (Kernicterus) ซึ่งอาจสังเกตได้จากอาการซึม ชักเกร็ง มีไข้ หรือหากปล่อยไว้นานอาจทำให้การเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น แขน ขา ลูกตา ผิดปกติ ทารกมีพัฒนาการล่าช้า เป็นต้น ประเภทของภาวะตัวเหลือง ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดมีด้วยกันหลายประเภท เช่น ภาวะตัวเหลืองปกติ เป็นประเภทที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด ทารกมีภาวะตัวเหลืองหลังจากคลอดมาแล้ว 3 วัน อาการตัวเหลืออาจมากขึ้นเรื่อย ๆ และอาการจะดีขึ้นเมื่อตับของทารกเริ่มทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ส่วนใหญ่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ทารกจะหายภาวะตัวเหลือง ภาวะตัวเหลืองที่สัมพันธ์กับการรับประทานนมแม่ (Breastfeeding Jaundice) อาจเกิดจากทารกได้รับนมไม่เพียงพอ เนื่องจากการให้นมลูกไม่ถูกท่า […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน