เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

หมวดหมู่ เด็กทารก เพิ่มเติม

โภชนาการสำหรับทารก

สำรวจ เด็กทารก

ขวบปีแรกของลูกน้อย

การเจริญเติบโตของทารก ช่วงวัยขวบปีแรก และวิธีการดูแล

การเจริญเติบโตของทารก ในช่วงขวบปีแรกอาจแตกต่างกันออกไปตามแต่ละคน บางคนอาจมีพัฒนาการเหมาะสมกับช่วงวัย แต่บางคนก็อาจมีพัฒนาการล่าช้า ขึ้นอยู่กับภาวะสุขภาพและการดูแลของผู้ปกครอง ดังนั้น เพื่อให้ลูกน้อยเจริญเติบโตสมวัย คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาวิธีดูแลลูกอย่างเหมาะสม อีกทั้งยังควรสังเกตอาการผิดปกติ และควรแจ้งให้คุณหมอทราบทันที เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดและทำการรักษา เพื่อให้ทารกมีพัฒนาการที่เหมาะสม สมบูรณ์ เป็นไปตามวัย [embed-health-tool-baby-poop-tool] พัฒนาการและ การเจริญเติบโตของทารก ในช่วงขวบปีแรก พัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารกขวบปีแรก แบ่งออกเป็น 4 ช่วง ดังต่อไปนี้ ทารกอายุ 0-3 เดือน ในช่วง 3 เดือนแรก ร่างกายและสมองของทารกกำลังเข้าสู่ช่วงพัฒนาและเริ่มเรียนรู้การใช้ชีวิตภายนอก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตพัฒนาการและการเจริญเติบโตได้ดังนี้ ทารกอาจเริ่มมองตามวัตถุที่อยู่ตรงหน้าไปมา ยิ้ม ตอบสนองต่อสิ่งที่เห็น หรือในขณะที่คุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับลูก เริ่มยกศีรษะหรือชันคอเองได้ เอื้อมมืออยากจับวัตถุ ของเล่น หรือตุ๊กตาที่พบเห็น จับนิ้วมือคุณพ่อคุณแม่ ของเล่น หรือสิ่งของรอบตัวและกำไว้ในมือ ทารกอายุ 4-6 เดือน ทารกอาจเริ่มมีการเรียนรู้มากขึ้น หากคุณพ่อคุณแม่มีการกระตุ้นพัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารกอย่างสม่ำเสมอด้วยการพูดคุยบ่อย ๆ เพราะจะทำให้ทารกเริ่มจดจำ เลียนแบบ และตอบสนอง ทารกอาจเปล่งเสียงหัวเราะ หรือพูดภาษาอ้อแอ้ ส่งเสียงดัง มีการควบคุมศีรษะได้ดี เริ่มยกศีรษะได้นานขึ้นกว่าเดิม เริ่มมีการเคลื่อนไหวด้วยการพลิกคว่ำหรือหงายตัวไปมา เอื้อมมือออกไปหยิบสิ่งของต่าง ๆ และอาจสลับมือถือสิ่งของนั้น ๆ ด้วยตัวเอง ทารกอายุ […]


การดูแลทารก

ที่ดูดน้ำมูกทารก วิธีใช้และการทำความสะอาด

ที่ดูดน้ำมูกทารก มักใช้เมื่อทารกมีน้ำมูกหรือเสมหะมากในช่วงเช้าหลังตื่นนอนและช่วงก่อนนอน นอกจากนี้ ยังใช้เมื่อทารกมีอาการเจ็บป่วย เช่น คัดจมูก ไข้หวัด โรคปอดบวม ไวรัสทางเดินหายใจ เพื่อช่วยดูดเอาเมือกส่วนเกินทั้งในจมูก ปากและลำคอออกมา ทำให้ทารกหายใจสะดวกและสบายตัวมากขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] ที่ดูดน้ำมูกทารก ใช้เพื่ออะไร ที่ดูดน้ำมูกทารก ใช้เพื่อดูดน้ำมูกในจมูกหรือเสมหะในลำคอของทารก เนื่องจากทารกยังไม่สามารถสั่งน้ำมูกหรือบ้วนเสมหะออกมาได้เอง ทั้งยังช่วยให้ทารกหายใจสะดวกขึ้น ลดอาการร้องไห้งอแงเนื่องจากความไม่สบายตัวและช่วยลดการผลิตสารคัดหลั่งในร่างกายมากจนเกินไปในขณะที่ทารกมีอาการป่วยจากโรคเหล่านี้ ไข้หวัด คัดจมูก หรือไข้หวัดใหญ่ ไวรัสระบบทางเดินหายใจ (RSV) โรคปอดบวม หลอดลมฝอยอักเสบ นอกจากนี้ การดูดน้ำมูกทารกอาจจำเป็น หากทารกมีภาวะความเจ็บป่วยอื่น ๆ เช่น การไอของทารกเนื่องจากมีเสมหะมาก จำเป็นต้องใช้ที่ดูดเสมหะเพื่อบรรเทาอาการไอ ความเจ็บป่วยหรืออาการบาดเจ็บบางอย่างที่อาจส่งผลต่อเส้นประสาทและสมอง อาจทำให้ความสามารถในการไอลดลง ทำให้น้ำมูกหรือเสมหะสะสมที่ด้านหลังลำคอ จมูกและปาก จึงจำเป็นต้องใช้ที่ดูดน้ำมูกช่วยดูดออกมา วิธีใช้ที่ดูดน้ำมูกทารก การดูดน้ำมูกทารก จะใช้น้ำเกลือหยดเข้าไปในจมูกเพื่อให้เสมหะหรือขี้มูกนิ่ม ก่อนเริ่มการดูดน้ำมูกทารก คุณแม่จึงควรอุ่นน้ำเกลือก่อนเสมอ โดยนำขวดน้ำเกลือไปแช่ลงในน้ำเดือดประมาณ 5 นาที และก่อนนำน้ำเกลือมาใช้ล้างจมูกทารก ควรทดสอบอุณหภูมิโดยการหยดน้ำเกลือที่หลังมือก่อนเสมอให้แน่ใจว่าไม่ร้อนจนเกินไป วิธีใช้ที่ดูดน้ำมูกทารกสามารถทำได้ ดังนี้ ควรใช้ผ้าห่อตัวทารกหากทารกดิ้น เพื่อช่วยให้การล้างจมูกง่ายขึ้นและไม่เกิดการบาดเจ็บ จับทารกให้นอนในท่าศีรษะสูงเพื่อป้องกันการสำลัก ใช้ที่ดูดน้ำมูกดูดน้ำเกลือจนเต็ม ค่อย ๆ หยดน้ำเกลือครั้งละ 2 –3 หยด เข้าไปในรูจมูกของทารก […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

อายุนมแม่ และการเก็บรักษานมแม่

นมแม่เป็นแหล่งอาหารหลักของทารกแรกเกิด ทารกควรกินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนหลังคลอด หากเป็นไปได้ ควรให้ทารกได้กินนมสด ๆ จากอกคุณแม่ แต่ในบางครั้ง คุณแม่ก็อาจไม่สามารถให้ทารกกินนมจากเต้าได้ การปั๊มนมเก็บไว้ใช้ภายหลังจึงอาจเป็นวิธีที่สะดวกมากกว่า อย่างไรก็ตาม คุณแม่อาจต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บรักษานมแม่อย่างถูกวิธี โดยเฉพาะเรื่อง อายุ นม แม่ เพื่อให้สามารถวางแผนให้ลูกกินนมจากนวดได้เหมาะสมขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธีเก็บรักษาน้ำนมแม่ วิธีเก็บรักษาน้ำนมแม่ที่เหมาะสม อาจมีดังนี้ เก็บในอุณหภูมิห้อง (ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส) สามารถเก็บได้นานสูงสุด 4 ชั่วโมง แต่ควรนำมาใช้ภายใน 2 ชั่วโมง ยิ่งหากสถานที่จัดเก็บมีอุณหภูมิสูง ยิ่งควรรีบใช้ให้หมด ก่อนคุณภาพของนมแม่จะลดลง เก็บในกระติกเก็บน้ำนมแม่ สามารถเก็บได้นานสูงสุด 24 ชั่วโมง เมื่อแช่รวมกับเจลเก็บความเย็น นิยมใช้เมื่อต้องเดินทางและไม่สามารถเก็บนมไว้ในตู้เย็นได้ เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา สามารถเก็บได้นานสูงสุด 4 วัน แต่ควรใส่ไว้ด้านในสุดของตู้เย็น เพื่อคงอุณหภูมิไว้ให้คงที่ และควรนำมาใช้หรือเปลี่ยนไปเก็บในช่องแช่แข็งภายใน 3 วัน เพื่อคงคุณภาพของน้ำนมให้ได้นานที่สุด เก็บในช่องแช่แข็ง สามารถเก็บได้นานสูงสุด 12 เดือน แต่ก็ควรนำมาใช้ภายใน 6 เดือน […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

วิธี เก็บ น้ำนม และการละลายนม ควรทำอย่างไร

น้ำนมแม่ มีวิตามิน โปรตีน และแร่ธาตุที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของลูกน้อยเพื่อต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ช่วยย่อยอาหาร และช่วยลดอาการท้องอืด โดยคุณแม่อาจปั๊มนมเก็บใส่ขวดไว้สำหรับป้อนให้ลูกน้อยในภายหลัง แต่คุณแม่ควรศึกษา วิธี เก็บ น้ำนม อย่างถูกต้องหลังจากปั๊มนมเสร็จ เพื่อรักษาคุณค่าโภชนาการ สารอาหารในนม ให้ลูกกินในครั้งถัดไป [embed-health-tool-vaccination-tool] ประโยชน์ของนมแม่ นมแม่ โดยเฉพาะน้ำนมแรกที่ออกมาจากเต้านม หรือที่เรียกว่าน้ำนมเหลือง มีวิตามิน โปรตีน ไขมัน และสารอาหารที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของสมองและระบบประสาทของลูก อีกทั้งยังมีแอนติบอดีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภูมิคุ้มกันให้ต่อสู่กับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายลูก เช่น ไวรัส แบคทีเรีย ช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารหรือปอด ท้องร่วง โรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคไหลตายในทารก อย่างไรก็ตาม คุณแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี วัณโรค สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติด ทำเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง และใช้ยาบางชนิดเช่น ยาบรรเทาอาการปวดหัว ควรหลีกเลี่ยงการให้นมลูก เนื่องจากมีความเสี่ยงที่อาจทำให้ลูกได้รับเชื้อไวรัสหรือสารพิษที่เป็นอันตราย วิธี เก็บ น้ำนม แม่ วิธีเก็บน้ำนมแม่ มีดังนี้ ล้างมือและะใช้อุปกรณ์เครื่องปั๊มนมที่สะอาด ประคบอุ่นที่เต้านมทั้ง 2 ข้าง(เว้นบริเวณหัวนม) หลังจากนั้นค่อย ๆ […]


การดูแลทารก

สบู่อาบน้ำเด็ก เลือกใช้อย่างไรให้ดีกับลูกน้อย

ทารกหรือเด็กอายุน้อย ๆ อาจไม่จำเป็นต้องอาบน้ำทุกวัน เนื่องจากยังมีผิวที่บอบบาง อาจจะใช้วิธีการเช็ดตัวลูกให้สะอาด เน้นบริเวณผิวหน้า ลำคอ มือและส่วนใต้ผ้าอ้อมของเด็ก ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังในการเลือกสบู่อาบน้ำเด็กเหมาะสมและอ่อนโยนต่อผิวที่บอบบางของเด็กมากที่สุด ช่วงเวลาอาบน้ำเด็กอาจจะเลือกช่วงที่เด็กกำลังตื่นและอารมณ์ดี อุณหภูมิอุ่นพอเหมาะ ไม่หนาวหรือร้อนเกินไป เตรียมอุปกรณ์อาบน้ำไว้ให้พร้อม เช่น อ่างอาบน้ำ ผ้าขนหนู ผ้าอ้อม สำลีเช็ดตัวหรือผ้าเช็ดตัวเปียกหรือฟองน้ำ และเสื้อผ้าใหม่ สำหรับหยิบใช้งานได้ทันที และไม่ควรให้เด็กอยู่ในอ่างอาบน้ำเพียงลำพังแม้แต่เพียงวินาทีเดียว เพราะอาจจมน้ำได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเลือกสบู่อาบน้ำเด็ก สบู่อาบน้ำเด็กที่เหมาะกับผิวเด็กควรเลือกใช้ดังนี้ ใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิว สบู่อาบน้ำเด็กควรมีส่วนผสมที่อ่อนโยนและเหมาะสมกับสภาพผิวที่บอบบางของเด็กมากที่สุด มีสารสกัดธรรมชาติ และอาจใช้สบู่อาบน้ำเด็กสูตรไม่มีสารเคมี เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการแพ้หรือระคายเคืองผิว และไม่จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบหลากหลายเกินไป เพราะอาจจะไม่ช่วยในเรื่องของความสะอาด และยังทำให้ผิวเด็กสัมผัสกับสารเคมีที่ไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงน้ำหอม น้ำหอมในสบู่อาบน้ำเด็กอาจจะทำให้เกิดปัญหาผิว เช่น ทำให้ผิวแห้งกร้าน ระคายเคือง ควรใช้สบู่ที่ไม่แต่งกลิ่นเพิ่มเติม ไม่จำเป็นต้องใช้สบู่อาบน้ำเด็กที่ต้านเชื้อแบคทีเรีย ใช้เพียงสบู่อาบน้ำเด็กธรรมดา ก็สามารถอาบน้ำให้กับลูกน้อยได้อย่างสะอาดหมดจดได้เหมือนกับสบู่ต้านเชื้อแบคทีเรียแล้ว ทั้งยังปลอดจากสารเคมีที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ เลือกใช้สบู่อาบน้ำเด็กที่มีส่วนผสมธรรมชาติ เช่น เลือกสบู่ที่มีส่วนผสมของน้ำมันธรรมชาติอย่างน้ำมันมะกอก น้ำมันอัลมอนด์ ว่านหางจระเข้ ซึ่งดีต่อผิวที่บอบบาง และไม่ระคายเคืองผิวและตาของเด็ก ควรหลีกเลี่ยงสบู่อาบน้ำเด็กที่มีสารที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น พาราเบน (Paraben)  สารกลุ่มพาทาเลต (Phthalate) […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

วิธีปั๊มน้ำนม และวิธีเก็บรักษาน้ำนมแม่

การปั๊มน้ำนม คือ การใช้อุปกรณ์ในการดูดน้ำนมออกจากเต้าของคุณแม่ เป็นวิธีช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนม และเก็บรักษาน้ำนมไว้ใช้ในภายหลัง ทั้งยังช่วยในเรื่องการลดความเจ็บปวดเมื่อคัดเต้านม คุณแม่มือใหม่อาจต้องศึกษาวิธีการปั๊มน้ำนมอย่างถูกวิธี รวมทั้งการเก็บรักษาน้ำนม เพื่อคงคุณค่าทางโภชนาการให้กับลูกน้อย ข้อดีและข้อเสียของการปั๊มน้ำนม การปั๊มน้ำนมมีข้อดีและข้อเสียที่คุณแม่ควรพิจารณามีดังนี้ ข้อดี ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่ การปั๊มน้ำนมช่วยให้ร่างกายคุณแม่ผลิตน้ำนมได้เพิ่มขึ้น และสามารถนำนมที่ปั๊มเสร็จแล้วไปเก็บในช่องแช่แข็งหรือตู้แช่น้ำนมเพื่อเก็บไว้ใช้ได้หลายวัน ประหยัดเวลามากขึ้น คุณแม่สามารถวางแผนและตั้งเวลาในการให้นมลูกได้ง่ายขึ้น ให้นมลูกในที่สาธารณะได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาหาสถานที่หรือจุดที่ลับตาคนเพื่อให้นมลูก ช่วยลดความเจ็บปวด หลังการคลอด คุณแม่อาจจะมีอาการเต้านมคัดตึง น้ำนมจะคั่งอยู่ในอกและทำให้เจ็บจากปริมาณน้ำนมที่มากเกินไป การปั๊มน้ำนมจะช่วยปล่อยน้ำนมออกจากเต้า และบรรเทาอาการเจ็บลงได้ สามารถนำไปบริจาคได้ คุณแม่บางคนอาจสามารถผลิตน้ำนมเกินความจำเป็นสำหรับลูกของตัวเอง สามารถบริจาคน้ำนมเพื่อช่วยเหลือคุณแม่ท่านอื่น ๆ ที่มีปัญหาเรื่องไม่มีน้ำนม หรือมีไม่เพียงพอได้ แบ่งเบาภาระของคุณแม่ การปั๊มน้ำนมเก็บไว้จะช่วยให้คนอื่นภายในบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการให้นมลูกและช่วยลดภาระการดูแลลูก ให้คุณแม่มีเวลาพักผ่อนและทำธุระของตัวเองมากขึ้น ข้อเสีย กระทบความเป็นส่วนตัว การปั๊มน้ำนมในที่สาธารณะหรือนอกบ้านอาจเป็นเรื่องยาก หากไม่มีห้องที่ปิดมิดชิดเพื่อใช้ปั๊มน้ำนม และเครื่องปั๊มนมอาจจะทำเสียงดังรบกวนได้ มีค่าใช้จ่ายมากขึ้น จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์เพื่อการปั๊มน้ำนมเพิ่มเติม เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ปั๊มน้ำนม ขวดนม ถุงเก็บน้ำนม ตู้แช่น้ำนม และเสื้อชั้นในเพื่อการปั๊มนม ต้องระวังเรื่องความสะอาด การทำความสะอาดอุปกรณ์ในการปั๊มน้ำนมเป็นเรื่องสำคัญมาก ควรล้างให้สะอาด นึ่งหรือต้มฆ่าเชื้ออย่างน้อย 10 นาที ก่อนใช้งาน เพื่อไม่ให้เกิดเชื้อโรคซึ่งอาจทำให้ลูกป่วยได้ เคล็ดลับการปั๊มน้ำนม การปั๊มนมให้มีน้ำนมออกมาปริมาณมากต้องใช้เวลาปั๊มไปเรื่อย ๆ ซึ่งในช่วงแรกอาจจะไม่มีน้ำนมออกมามากนัก แต่เมื่อทำเป็นประจำก็จะมีน้ำนมออกมาอย่างสม่ำเสมอ […]


เด็กทารก

ควรฝึกลูกดูดหัวนมยังไง และวิธีการดูแลหัวนมแม่

การให้นมลูกเป็นเรื่องที่คุณแม่และลูกน้อยต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน การฝึกให้ลูกดูดหัวนมอย่างถูกวิธีก็จะช่วยให้ลูกได้กินน้ำนมแม่อย่างเต็มที่ ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และจำเป็นต่อร่างกายเพื่อการเจริญเติบโต นอกจากนี้การดูแลหัวนมคุณแม่ในช่วงให้นมก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามเพื่อที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อหรือปัญหาอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ข้อควรรู้ในการฝึกให้ลูกดูดหัวนมแม่ การให้นมลูกเริ่มขึ้นตั้งแต่หลังลูกคลอดไม่กี่ชั่วโมง การฝึกให้ลูกดูดหัวนมแม่ อาจจะเริ่มจากอุ้มลูกมาแนบชิดในอ้อมกอดแม่ ทำให้ลูกรู้สึกใกล้ชิดและพร้อมที่จะกินนม จับบริเวณหัวนมและยกเข้าไปใกล้ปากของลูก เพื่อให้ลูกดูดหัวนมได้ถนัด การให้นมลูกจะไม่ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บหากลูกดูดหัวนมถูกวิธี วิธีสังเกตอาจจะดูได้จากริมฝีปากของลูกว่าอ้ากว้างมากพอที่จะอมทั้งส่วนหัวนมและส่วนของลานหัวนม (ส่วนวงกลมสีคล้ำ) แล้วหรือไม่ ขากรรไกรของลูกจะขยับไปมา อาจส่งเสียงเล็กน้อยเมื่อกลืนนม ในช่วงสัปดาห์แรก ควรปลุกให้ลูกตื่นมาดูดหัวนมแม่ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง อาจจะปลุกด้วยการเปลี่ยนผ้าอ้อม นำผ้าห่มออกจากตัว หรือการนวดตัวลูกเบา ๆ เด็กในวัยนี้ต้องการกินนมแม่ประมาณ 8 ครั้งต่อวัน ขนาดหน้าอกและหัวนมไม่ส่งผลต่อปริมาณน้ำนม ขึ้นอยู่กับสุขภาพของคุณแม่ในการผลิตน้ำนมและความถี่ในการดูดกระตุ้นจากลูกเป็นหลัก ฝึกให้ลูกกินนมข้างหนึ่งให้หมดก่อนที่จะสลับไปกินนมอีกข้างหนึ่ง เนื่องจากระหว่างการให้นม น้ำนมที่ออกมาจะมีสองประเภท คือ น้ำนมส่วนหน้า ที่ไหลออกมาในช่วงแรกของการให้นมและน้ำนมส่วนหลัง ที่ไหลออกมาช่วงท้ายของการให้นม ซึ่งน้ำนมส่วนหลังจะอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินอี ไขมัน และแคลอรี่ที่สูงกว่าน้ำนมส่วนหน้า การให้ลูกกินน้ำนมจนเกลี้ยงเต้าก่อนเปลี่ยนข้างจะทำให้ลูกได้สารอาหารที่ครบถ้วน จัดท่าที่เหมาะสำหรับการให้นมลูก เพื่อให้ลูกดูดหัวนมแม่ในท่าที่ถนัดและไม่ขัดจังหวะการกินนมของลูก โดยลำตัวลูกชิดลำตัวแม่ ลูกหันหน้าเข้าเต้านมแม่ศีรษะและลำตัวของลูกอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน ตัวลูกได้รับการประคองอย่างมั่นคงโดยมีมือแม่หรือหมอนรองซ้อนไว้ เมื่อลูกหยุดดูดหัวนม หลับตาลง หรือหันหน้าออกจากหน้าอก แสดงว่าอาจจะหยุดพักหรืออิ่มนมแล้ว ลองทำให้ลูกเรอ หรือรอสักพักจนกว่าจะให้กินนมอีกครั้ง คำแนะนำสำหรับคุณแม่ในช่วงให้นมลูก ไม่ควรสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ […]


การดูแลทารก

ลูกไม่เรอ ควรทำอย่างไร

การเรออาจช่วยขับแก๊สในกระเพาะอาหารที่ลูกกลืนเข้าไประหว่างกินนม หาก ลูกไม่เรอ อาจทำให้เกิดอาการจุดเสียด ท้องอืด ไม่สบายตัว และร้องไห้งอแง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาวิธีทำให้ลูกเรอ เช่น การอุ้ม การลูบหลัง เพื่อช่วยขับแก๊สในกระเพาะอาหารของลูก [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกไม่เรอ ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ แก๊สในกระเพาะอาหารเกิดจากอากาศที่ลูกกลืนเข้าไปในระหว่างกินนม หรืออาจเกิดจากการแพ้นมวัว และสารอาหารบางชนิดที่คุณแม่รับประทานซึ่งส่งผ่านน้ำนมแม่ไปยังลูก เช่น ไข่ ถั่ว กะหล่ำดอก น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ทำให้ร่างกายของลูกตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ และสร้างแก๊สในกระเพาะอาหาร ซึ่งหากลูกไม่เรอเพื่อระบายแก๊สออก อาจทำให้ลูกน้อยรู้สึกจุดเสียด ท้องอืด และไม่สบายตัว โดยลูกอาจร้องไห้ เกร็งร่างกาย และกำมือแน่นเพื่อส่งสัญญาณบอกคุณพ่อคุณแม่ อย่างไรก็ตาม บางครั้งลูกน้อยอาจไม่เรอ แม้ว่าจะพยายามอุ้มหรือตบหลังเบา ๆ เพื่อทำให้เรอแล้วก็ตาม อาจเป็นเพราะในกระเพาะอาหารของลูกมีแก๊สในปริมาณน้อยหรืออาจไม่มีเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่ปกติ และไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพแต่อย่างใด วิธีทำให้ลูกเรอ วิธีช่วยให้ลูกเรอขับแก๊สออกจากกระเพาะอาหาร อาจทำได้โดยการอุ้มในท่าทางต่าง ๆ ดังนี้ ท่าอุ้มลูกพาดไหล่ ควรอุ้มลูกพาดไหล่ให้แนบชิดกับหน้าอก ใช้แขนข้างหนึ่งประคองก้น และจับศีรษะลูกพิงกับไหล่เอาไว้ เพื่อประคองกระดูกและศีรษะของลูกที่ยังไม่แข็งแรง จากนั้นใช้มืออีกข้างตบหลังลูกเบา ๆ หรือลูบหลังเป็นวงกลม ท่าอุ้มแบบนอนคว่ำหน้าบนแขน อุ้มลูกนอนคว่ำหน้าวางบนแขนข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งการอุ้มท่านี้อาจจำเป็นที่ต้องมีแขนที่แข็งแรงเพื่อให้สามารถประคองลำตัวและศีรษะของลูกได้อย่างมั่นคง โดยให้ศีรษะของลูกอยู่บริเวณข้อพับแขน ในลักษณะหันหน้าออกไปด้านข้างเพื่อให้หายใจได้สะดวก จากนั้นนำมืออีกข้างลูบหลังลูกเป็นวงกลมเบา […]


การดูแลทารก

อุ้มลูก มีประโยชน์อย่างไร และวิธีอุ้มลูกที่ถูกต้อง

การอุ้มลูกอาจช่วยกระชับความสัมพันธ์ ทำให้ลูกมีความสุข รู้สึกปลอดภัย และไม่ได้เป็นอย่างความเชื่อที่ว่า อุ้มลูก แล้วลูกจะติดมือ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาวิธีการอุ้มลูกที่ถูกต้อง เพราะศีรษะและกระดูกช่วงลำคอของลูกอาจยังไม่แข็งแรง การอุ้มลูกไม่ถูกวิธีอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อลูกได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ประโยชน์ของการ อุ้มลูก ประโยชน์ของการอุ้มลูก มีดังนี้ กระชับความสัมพันธ์กับลูก เพราะการอุ้มอาจทำให้ได้ใกล้ชิดกับลูกมากขึ้น ทำให้ลูกมีความสุข ได้รับความรัก และช่วยทำให้ผูกพันกับคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น ลูกร้องไห้น้อยลง การอุ้มอาจช่วยทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย และสบายใจ จึงส่งผลให้ร้องไห้น้อยลง หรือหยุดร้องไห้เร็วขึ้น ช่วยบรรเทาอาการจุกเสียด การอุ้มลูกเดินไปมา หรือลูบหลังเบา ๆ อาจช่วยทำให้ลูกเรอและช่วยขับแก๊สในกระเพาะอาหารออกมาได้มาก จึงลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง ทำให้ลูกรู้สึกสบายตัว และนอนหลับได้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นพัฒนาการ การอุ้มอาจช่วยเพิ่มพัฒนาการทางระบบประสาท ช่วยให้ลูกจดจำใบหน้าพ่อแม่และมีการตอบสนองต่อสิ่งที่พบเห็น ทั้งยังอาจช่วยกระตุ้นพัฒนาการของร่างกาย ทำให้มวลกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ซึ่งสังเกตได้จากการที่ลูกเริ่มยกศีรษะตั้งขึ้นได้ 5 ท่าอุ้มลูกที่ถูกต้อง 5 ท่าอุ้มลูกที่ถูกต้องและปลอดภัย มีดังนี้ ท่าอุ้มประคองทั้งตัว เป็นท่าที่ทำให้ลูกรู้สึกเหมือนนอนอยู่ในเปล โดยอุ้มให้ลูกนอนหงาย ใช้แขนข้างใดข้างหนึ่งเป็นฐานรองบริเวณหลังและก้น ให้ศีรษะของลูกอยู่บริเวณข้อพับแขน จากนั้นใช้มืออีกข้างประคองศีรษะและโอบกอดลำตัวของลูกเอาไว้ ทำให้ลูกสามารถมองหน้าคุณพ่อคุณแม่ได้ถนัด และช่วยให้นอนหลับสบาย ท่าอุ้มพาดไหล่ เป็นท่าอุ้มที่ช่วยทำให้ลูกนอนหลับสบาย โดยเริ่มจากใช้มือข้างหนึ่งประคองศีรษะและต้นคอของลูก จากนั้นใช้มืออีกข้างประคองก้นของลูกเอาไว้ ท่าอุ้มวางบนตัก คุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกขึ้นวางบนตัก […]


การดูแลทารก

วิธีทำให้ลูกเรอ และการดูแลลูก สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

วิธีทำให้ลูกเรอ อาจทำได้ด้วยการอุ้มลูกเรอในท่าต่าง ๆ พร้อมกับตบหลังเบา ๆ หรือลูบหลังลูกเบา ๆ เพื่อช่วยขับแก๊สในกระเพาะอาหารที่อาจเกิดจากการที่ลูกกลืนอากาศเข้าไประหว่างกินนม หรือเกิดจากอาการแพ้นมและสารก่อภูมิแพ้อื่น ๆ เช่น ไข่ ถั่ว น้ำผลไม้ ที่ปะปนมาในนมแม่ หรืออาหารที่คุณแม่รับประทาน อาจทำให้เกิดแก๊สได้มาก เพื่อช่วยให้ลูกได้ระบายแก๊สในกระเพาะอาหาร ที่อาจนำไปสู่อาการจุกเสียด ท้องอืด หรือปวดท้องได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ท่าอุ้มที่อาจทำให้ลูกเรอ ท่าอุ้มที่อาจทำให้ลูกเรอ มีดังนี้ ท่าอุ้มแบบนอนคว่ำหน้าบนหน้าท้อง คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มจากการอุ้มลูกมาไว้บนหน้าท้องเพื่อให้ลูกนอนสบายขึ้น โดยหันศีรษะของลูกออกด้านข้างให้หายใจได้สะดวก และนำมือประคองลำตัวลูก จากนั้นนำมืออีกข้างตบหลังของลูกเบา ๆ เพื่อขับแก๊สในกระเพาะอาหารออก ท่าอุ้มแบบนอนคว่ำหน้าบนแขน ผู้ที่ต้องการอุ้มลูกในท่านี้ควรมีแขนที่แข็งแรงพอที่จะประคองลูกได้อย่างมั่นคง โดยอุ้มลูกนอนคว่ำหน้าวางบนแขนข้างใดข้างหนึ่ง ให้ศีรษะของลูกอยู่บริเวณข้อพับแขน หันหน้าออกไปด้านข้าง จากนั้นนำมืออีกข้างลูบหลังของลูกเป็นวงกลมหรือตบหลังเบา ๆ ไม่แนะนำทำกับเด็กที่ตัวใหญ่เพราะเด็กอาจจะดิ้นและพลัดตกมือได้ ท่าอุ้มแบบนอนคว่ำหน้าบนหน้าตัก คุณพ่อคุณแม่อาจอุ้มลูกนั่งบนหน้าตัก ตั้งขาข้างหนึ่งขึ้นเล็กน้อย และใช้มือข้างหนึ่งประคองบริเวณใต้คาง ลำคอ และศีรษะของลูก จากนั้นจึงค่อย ๆโน้มตัวของลูกลงบนหน้าตัก แล้วใช้มืออีกข้างตบหลังลูกเบา ๆ หรือนวดที่หลังเบา ๆ ท่าอุ้มลูกพาดไหล่ ควรอุ้มลูกพาดไหล่ โดยใช้แขนข้างหนึ่งประคองไว้ใต้ก้น และจับศีรษะลูกให้พิงกับไหล่เอาไว้ เพื่อประคองกระดูกและศีรษะที่ยังไม่แข็งแรง จากนั้นใช้มืออีกข้างตบหลังเบา ๆ อุ้มลูกนั่งบนตัก คุณพ่อคุณแม่อาจอุ้มลูกนั่งหลังตรง หันด้านข้างพิงกับหน้าอก และใช้มือประคองบริเวณใต้คางและหน้าอก […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน