พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

โรคเด็กและอาการทั่วไป

5 โรคในเด็ก ที่พบบ่อย วิธีการรักษาและการป้องกัน

โรคในเด็ก ที่พบได้บ่อยอาจมีหลายโรค ไม่ว่าจะเป็น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคอีสุกอีใส โรคปอดอักเสบ ที่อาจส่งผลให้เด็ก ๆ เจ็บป่วย และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ โรคในเด็ก เพื่อคอยสังเกตอาการผิดปกติและพาเด็ก ๆ เข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ป้องกันไม่ให้เกิดอาการรุนแรงที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตของเด็ก [embed-health-tool-vaccination-tool] 5 โรคในเด็ก ที่พบบ่อย โรคในเด็ก ที่พบได้บ่อย มีดังนี้ 1. โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัดใหญ่ มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส 3 ชนิด คือ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A และ B ที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยและแพร่ระบาดอย่างกว้างขวาง และไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด C ที่อาจไม่แสดงอาการหรือมีอาการไม่รุนแรง และไม่แพร่ระบาด เด็ก ๆ อาจได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ผ่านการไอ การจาม หรือการสัมผัสกับสิ่งรอบตัวที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคจากละอองสารคัดหลั่ง เช่น ลูกบิดประตู ของเล่น ปากกา ดินสอ หลังจากได้รับเชื้ออาจเริ่มมีอาการภายในประมาณ 5-7 วัน โดยสังเกตอาการของไข้หวัดใหญ่ในเด็ก ได้ดังนี้ มีไข้สูงกว่า 39.4-40.5 องศาเซลเซียส มีอาการจามและไออย่างรุนแรง เจ็บคอ น้ำมูกไหลและคัดจมูก […]


สุขภาพเด็ก

ยาแก้ไอเด็ก มีกี่ประเภท และวิธีการป้องกันอาการไอ

อาการไอของเด็กอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ โรคหอบหืด การแพ้ ไซนัสอักเสบ โรคกรดไหลย้อน ซึ่งสามารถรักษาและบรรเทาอาการได้ด้วย ยาแก้ไอเด็ก ที่ออกฤทธิ์ช่วยละลายเสมหะ แก้คัดจมูก แก้แพ้ ระงับอาการไอ แก้ปวด และลดไข้ ซึ่งจะช่วยให้เด็กไอน้อยลง ช่วยให้ชุ่มคอ และหายใจได้สะดวกขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุอาการไอของเด็ก อาการไอของเด็กอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ มลพิษทางอากาศ เช่น ควันบุหรี่ ควันรถยนต์ ฝุ่น ที่อาจทำให้ระบบทางเดินหายใจเกิดความระคายเคืองจนทำให้เด็กไอ การติดเชื้อ เช่น หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคซาง เป็นการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจ ทำให้เด็กมีอาการไอเรื้อรัง โดยอาจมีความรุนแรงในระดับน้อยไปจนถึงปานกลาง โรคหอบหืด เป็นสาเหตุของอาการไอที่พบบ่อยในเด็ก ทำให้เด็กมีอาการไอเรื้อรัง หายใจมีเสียงหวีด และอาการอาจรุนแรงมากขึ้นในตอนกลางคืน ไซนัสอักเสบหรืออาการแพ้ อาจเกิดจากการกระตุ้นของสารก่อภูมิแพ้ ทำให้เด็กมีผื่นขึ้น เจ็บคอ น้ำตาไหล น้ำมูกไหล คันคอ และไอเรื้อรัง กรดไหลย้อน เกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหาร ทำให้เด็กมีอาการแสบหน้าอก มีเสมหะ ไอหรืออาเจียน ประเภทของ ยาแก้ไอเด็ก ยาแก้ไอเด็ก ที่อาจช่วยบรรเทาอาการไอที่เกิดขึ้น มีดังนี้ ยาแก้คัดจมูก […]


วัคซีน

ลูก 2 เดือน ฉีดวัคซีน เป็นไข้ ควรดูแลอย่างไรบ้าง

หลังลูกอายุ 2 เดือนฉีดวัคซีน ระบบภูมิคุ้มกันของลูกจะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อวัคซีน จนอาจทำให้ลูกมีไข้ต่ำ ๆ หรืออาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ผิวหนังบริเวณที่ฉีดวัคซีนบวมแดงร่วมด้วย อาการเหล่านี้อาจส่งผลให้ลูกรู้สึกไม่สบายตัวและงอแง แต่ก็มักหายได้เองภายใน 1-3 วัน อย่างไรก็ตาม หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่า ลูก 2 เดือน ฉีด วัคซีน เป็น ไข้ สามารถบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ด้วยการเช็ดตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย และให้ลูกกินน้ำนมเยอะ ๆ แต่หากดูแลเบื้องต้นแล้วไข้ยังไม่ลดลงหรือลูกมีอาการแย่ลง ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูก 2 เดือน ฉีด วัคซีน เป็น ไข้  เกิดจากอะไร เมื่อลูกได้รับวัคซีนตามวัยครบตามที่คุณหมอแนะนำ อาจช่วยลดความเสี่ยงโรคร้ายแรงได้หลายชนิด เช่น โรคคอตีบ โรคหัด โรคบาดทะยัก โรคไอกรน คุณพ่อคุณแม่จึงควรพาลูกไปฉีดวัคซีนตามกำหนดทุกครั้งเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากพาลูกไปฉีดวัคซีนแล้วลูกเป็นไข้ ส่วนใหญ่เป็นสัญญาณว่าระบบภูมิคุ้มกันกำลังต่อต้านเชื้อแปลกปลอมที่เข้าไปในระบบร่างกาย ทำให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง และผลให้เด็กมีอาการไข้ขึ้น เซึ่องซึม ไม่สบายตัว ซึ่งอาการมักหายไปได้เองภายในเวลาไม่กี่วัน หลังฉีดวัคซีน เซลล์ภูมิกันจะคุ้นเคยกับเชื้อก่อโรคนั้น ๆ หากร่างกายได้รับเชื้อชนิดนั้นอีกในอนาคต ระบบภูมิคุ้มกันจะสามารถต่อสู้กับเชื้อได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อนั้น ๆ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยของเด็กวัยเรียน ที่พ่อแม่ควรระวัง

ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยของเด็กวัยเรียน เป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญา เพราะเมื่อเกิดปัญหาสุขภาพ ร่างกายของเด็กก็จะอ่อนแอ เกิดความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย จนไม่สามารถเรียนหรือออกไปวิ่งเล่นได้ตามปกติ รวมถึงอาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ จนทำให้เด็กเกิดความรู้สึกเศร้าและโดดเดี่ยว ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยของเด็กวัยเรียน มีอะไรบ้าง ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยของเด็กวัยเรียน อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัส ซึ่งติดต่อจากคนสู่คน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรทราบถึงสาเหตุของการเกิดโรคและวิธีรับมือเมื่อลูกเกิดความเจ็บป่วย ดังนี้ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเป็นส่วนใหญ่ แต่อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้เช่นกัน พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน สามารถแพร่กระจายได้จากการไอหรือจาม ซึ่งมักทำให้เด็กมีอาการมีไข้ หนาวสั่น คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ คอบวมแดง ไอ จาม ปวดเมื่อยตามตัว เหนื่อยล้า เบื่ออาหาร และปวดท้อง การรักษา โดยทั่วไปสามารถทำได้ด้วยการให้เด็กนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ และกินยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการ เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) พาราเซตามอล ยาแก้เจ็บคอ ยาฆ่าเชื้อ โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อปรสิต จากการเป็นหวัดหรือมีอาการในระบบทางเดินหายใจนำมาก่อน รวมถึงการรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อก่อโรค จนทำให้กระเพาะและลำไส้อักเสบ […]


วัยรุ่น

วัยรุ่นแบ่งออกเป็นกี่ช่วง การเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่นที่ควรรู้

วัยรุ่นเป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม การทำความเข้าใจว่า วัยรุ่นแบ่งออกเป็นกี่ช่วง และวัยรุ่นในแต่ละช่วงวัยมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างไรบ้าง อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกวัยรุ่นได้อย่างเหมาะสม ซึ่งอาจช่วยให้ลูกเจริญเติบโตได้สมวัย มีสุขภาพกายใจและความเป็นอยู่ที่ดี [embed-health-tool-vaccination-tool] วัยรุ่น คืออะไร วัยรุ่น คือ คนที่อยู่ในช่วงอายุ 10-21 ปี ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากเด็กไปเป็นผู้ใหญ่ คนวัยนี้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ ส่วนใหญ่มักเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง สามารถมองสิ่งต่าง ๆ ได้ลึกซึ้งมากขึ้น เริ่มสนใจรูปลักษณ์ของตัวเองและพยายามมองหาอัตลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะตัว มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย รู้สึกอยากมีอิสระจากครอบครัว เริ่มมีความสนใจเรื่องเพศมากขึ้น และมักต้องการการยอมรับจากกลุ่มเพื่อนและสังคมที่ตัวเองอยู่ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากอิทธิพลของฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่บางประการขณะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นอาจทำให้ลูกรู้สึกสับสนและรับมือไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้เวลาในการปรับตัวและเข้าใจธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น พร้อมทั้งมอบความรักและความเข้าใจให้กับลูกอยู่เสมอ เพื่อช่วยให้ลูกสามารถเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและผ่านพ้นวัยที่สับสนนี้ไปได้ด้วยดี วัยรุ่นแบ่งออกเป็นกี่ช่วง วัยรุ่น สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่ วัยรุ่นตอนต้น วัยรุ่นตอนกลาง และวัยรุ่นตอนปลาย วัยรุ่นตอนต้น อายุ 10-13 ปี ในช่วงนี้ วัยรุ่นจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อาจเริ่มสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายได้อย่างชัดเจน เช่น สูงขึ้นแบบก้าวกระโดด เริ่มมีขนขึ้นตามแขน ขา และบริเวณอวัยวะเพศ ผู้หญิงอาจเริ่มมีหน้าอก ผู้ชายอาจเริ่มเสียงแตกหนุ่ม มีสิว วัยรุ่นตอนต้นจึงจะเริ่มรู้สึกอ่อนไหวและกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของตัวเอง อาจรู้สึกไม่มั่นใจและมักเปรียบเทียบตัวเองกับเพื่อนที่อยู่ในวัยเดียวกัน หากวัยรุ่นบางคนเติบโตได้เร็วหรือช้ากว่าเพื่อนคนอื่น ๆ […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

นมแม่เก็บได้กี่ชั่วโมง และวิธีเก็บรักษานมแม่ที่ควรรู้

คุณแม่ที่ต้องการปั๊มน้ำนมเก็บไว้ให้ลูกกินในภายหลัง อาจสงสัยว่า นมแม่เก็บได้กี่ชั่วโมง โดยทั่วไป ระยะเวลาในการเก็บน้ำนมแม่อาจขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของสถานที่เก็บน้ำนม หากวางถุงเก็บน้ำนมไว้ที่อุณหภูมิห้องจะสามารถเก็บไว้ได้ประมาณ 6 ชั่วโมง หากเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาจะสามารถเก็บไว้ได้ประมาณ 8 วัน และหากเก็บไว้ในช่องฟรีซอาจเก็บไว้ได้นาน 6-12 เดือน คุณแม่ควรศึกษาวิธีเก็บนมแม่อย่างถูกวิธี เพื่อรักษาคุณภาพของของน้ำนมไว้ให้ได้นานที่สุด เพราะยิ่งน้ำนมแม่มีคุณภาพดีเท่าไหร่ ก็ยิ่งส่งผลดีต่อสุขภาพของลูกเท่านั้น ประโยชน์ของการให้นมแม่ น้ำนมแม่เป็นอาหารหลักของทารกที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ให้สารอาหารที่จำเป็นแก่ทารกอย่างครบถ้วน สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ มีแอนตีบอดีและเอนไซม์ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงกับทารกแรกเกิด มีฮอร์โมนออกซิโตซิน (Oxytocin) และโปรแลคติน (Prolactin) ที่ช่วยลดความเครียดและปลอบประโลมทารก คุณแม่จึงควรให้ลูกกินนมแม่เป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนก่อนเริ่มให้อาหารชนิดอื่น เช่น น้ำเปล่า นมผง อาหารเสริม อาหารตามวัยอื่น ๆ เนื่องจากการกินนมแม่เพียงอย่างเดียวก็ให้สารอาหารที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของทารกในวัยนี้แล้ว ประโยชน์ของการให้ทารกกินนมแม่ อาจมีดังนี้ ช่วยให้ทารกมีระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย ทารกที่กินนมแม่เสี่ยงเกิดโรคหรืออาการไม่พึงประสงค์ เช่น โรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ (Gastroenteritis) โรคกรดไหลย้อน โรคลำไส้เน่า อาการท้องเสีย อาการท้องผูก น้อยกว่าทารกที่ไม่กินนมแม่ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไข้หวัดและโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดบวม โรคไวรัสระบบทางเดินหายใจ (RSV) โรคไอกรน […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

อาหารว่าง เด็ก ที่เหมาะสม มีอะไรบ้าง

เด็กวัยเรียน เป็นวัยสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและทางสติปัญญา จึงควรได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้น นอกจากอาหารมื้อหลักแล้ว อาหารว่าง เด็ก ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญ โดยอาหารว่างควรเป็นอาหารที่ช่วยเพิ่มพลังงานและสารอาหารที่มีประโยชน์ให้กับร่างกาย เพื่อช่วยให้เด็กมีพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดทั้งวัน เช่น เรียน ทำการบ้าน วิ่งเล่น เล่นกีฬา รวมถึงอาจช่วยลดความหิวระหว่างวันได้ด้วย อาหารว่าง เด็ก ที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยเรียน เด็กวัยเรียนอาจมีความอยากอาหารตลอดทั้งวัน เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่ร่างกายและสมองกำลังพัฒนา จึงจำเป็นต้องได้รับพลังงานมากขึ้น การเสริมอาหารว่างที่หลากหลายและมีสารอาหารที่ครบถ้วนให้กับเด็กในปริมาณที่พอเหมาะ หรือประมาณ 2-3 มื้อ/วัน อาจช่วยเพิ่มพลังงานและช่วยลดความหิวระหว่างวันได้ ส่งผลให้เด็กมีสมาธิมากขึ้นในการเรียนและทำการบ้าน มีแรงในการวิ่งเล่น เล่นกีฬา หรือการทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณพ่อคุณแม่จึงควรจัดเตรียมอาหารว่างเพื่อสุขภาพที่เหมาะสำหรับเด็กวัยเรียน โดยอาจจัดเตรียมตามเมนูตัวอย่างต่อไปนี้ ผักและผลไม้สดหั่นพอดีคำ เช่น ส้ม กล้วย บลูเบอร์รี่ สตรอว์เบอร์รี่ แอปเปิ้ล แตงโม แครอท แตงกวา มะเขือเทศ โยเกิร์ตผสมผลไม้ต่าง ๆ หรือธัญพืชและถั่ว ขนมปังโฮลเกรนปิ้งโรยหน้าด้วยผลไม้ต่าง ๆ หรือธัญพืชและถั่ว ขนมปังโฮลเกรนปิ้งทาด้วยเนยถั่ว ครีมชีส โยเกิร์ต ทูน่ากระป๋อง […]


ปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็ก

เด็กท้องผูก เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างไร

เด็กท้องผูก มักทำให้เด็กขับถ่ายยาก เจ็บปวดเมื่อขับถ่าย มีเลือดออก หรือปวดท้องมาก ซึ่งอาการท้องผูกมักเกิดขึ้นเมื่อลำไส้เคลื่อนไหวน้อยลง จนทำให้อุจจาระแห้งและแข็ง ซึ่งปัญหาเด็กท้องผูกเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและสามารถป้องกันได้ การฝึกฝนให้เด็กขับถ่ายเป็นเวลา รับประทานอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย และการดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด อาจช่วยบรรเทาและป้องกันปัญหาเด็กท้องผูก คำจำกัดความ เด็กท้องผูก คืออะไร เด็กท้องผูกเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก เนื่องจากเด็กอาจรับประทานอาหารที่มีเกากใยน้อย ไม่ได้รับการฝึกในการเข้าห้องน้ำให้เป็นเวลา สถานที่ในการขับถ่ายแปลกออกไปจนอาจทำให้เด็กไม่กล้าขับถ่าย หรืออาจเกิดจากปัญหาอื่น ๆ เช่น รู้สึกเจ็บปวดขณะขับถ่าย มีเลือดออกขณะขับถ่าย พันธุกรรม แพ้นมวัว เมื่อสาเหตุเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งหรือเป็นเวลานาน อาจทำให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวน้อย ลำไส้ใหญ่ดูดน้ำกลับจากอุจจาระมากขึ้นจนทำให้อุจจาระแข็งและแห้ง ส่งผลให้เด็กขับถ่ายยากและมีอาการท้องผูกได้ อาการ อาการของเด็กท้องผูก อาการของเด็กท้องผูกที่อาจพบได้บ่อย มีดังนี้ อุจจาระแข็ง และรู้สึกเจ็บปวดเมื่อขับถ่าย อุจจาระก้อนใหญ่มาก ไม่ขับถ่ายเป็นเวลาหลายวัน หรือน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ มีเลือดออกขณะขับถ่าย ปวดท้องมาก เป็นตะคริว และมีอาการคลื่นไส้ อาจมีคราบของอุจจาระเหลวที่ไหลออกมาติดในกางเกงในของเด็ก ซึ่งเป็นสัญญาณว่ามีอุจจาระอยู่มากในทวารหนัก ควรเข้าพบคุณหมอหากพบว่าเด็กท้องผูกเป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ พร้อมกับอาการอื่น ๆ เช่น มีไข้ ไม่อยากอาหาร ท้องบวม น้ำหนักลดลง สาเหตุ สาเหตุของเด็กท้องผูก อาการท้องผูกในเด็กมักเกิดขึ้นเมื่อลำไส้มีการเคลื่อนไหวน้อยลง ทำให้อุจจาระตกค้างในลำไส้เป็นเวลานาน ถูกดูดน้ำกลับเข้าร่างกายจนอุจจาระแห้งและแข็งส่งผลให้เด็กท้องผูกในที่สุด ซึ่งปัญหานี้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การรับประทานอาหาร […]


สุขภาพเด็ก

MIS C หรือ ภาวะอักเสบในเด็กหลังหายจากโรคโควิด-19 เป็นอย่างไร

ภาวะมิสซี หรือ MIS C เป็นภาวะแทรกซ้อนหลังจากหายจากโรคโควิด-19 ที่พบในเด็กและวัยรุ่น เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายตอบสนองมากผิดปกติ ทำให้เกิดภาวะอักเสบตามอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย ส่งผลให้เด็กมีไข้ ตาแดง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง เป็นต้น แม้ภาวะมิสซีจะพบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตสภาวะสุขภาพของเด็กหลังหายจากโรคโควิด-19  หากพบว่ามีอาการดังกล่าว ควรพาเด็กไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด MIS C คืออะไร MIS C ย่อมาจากคำว่า Multisystem Inflammatory Syndrome in Children หรือเรียกว่า ภาวะมิสซี คือ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก มักพบบริเวณอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น ดวงตา หัวใจ ปอด หลอดเลือด ไต อวัยวะในระบบย่อยอาหาร สมอง ผิวหนัง ภาวะนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่พบหลังเด็กหายจากโรคโควิด-19 เกิดจากระบบภูมิคุุ้มกันทำงานมากเกินไปเพื่อต่อต้านไวรัสแปลกปลอมที่เข้าสู่ในร่างกาย มักเกิดขึ้นในช่วงใกล้หายจากโควิด-19 หรืออาจเกิดในช่วง 2-6 สัปดาห์หลังติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มเสี่ยงของภาวะมิสซี ภาวะมิสซี มักเกิดขึ้นกับเด็กที่เพิ่งหายจากโรคโควิด-19 โดยเฉพาะเด็กอายุ 8-9 […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

แม่เลี้ยงเดี่ยว วิธีรับมือเมื่อต้องเลี้ยงลูกตามลำพัง

การเป็น แม่เลี้ยงเดี่ยว อาจต้องเผชิญกับความท้าทายในการเลี้ยงลูกให้เติบโตขึ้นตามลำพังหลายประการ ทั้งความเหน็ดเหนื่อยที่มากกว่าปกติ เวลาส่วนตัวที่น้อยลง การตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ด้วยตัวเองเป็นหลัก คุณแม่จึงควรเรียนรู้วิธีรับมือเมื่อต้องเลี้ยงลูกตามลำพังที่อาจช่วยให้สามารถรับมือกับเรื่องต่าง ๆ ที่เข้ามาได้อย่างเหมาะสม และช่วยให้สามารถเลี้ยงดูลูกให้เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและมีความสุขทั้งกายและใจได้ แม่เลี้ยงเดี่ยว เป็นอย่างไร แม่เลี้ยงเดี่ยว หรือซิงเกิ้ลมัม (Single Mom) คือ คุณแม่ที่ทำหน้าที่เป็นทั้งคุณพ่อและคุณแม่ให้กับลูก หลายคนอาจจำเป็นต้องรับบทบาทนี้จากการแยกทางกับคู่ครองของตัวเอง หรืออาจเกิดจากการสูญเสียคู่ครองของตัวเองไป การเลี้ยงลูกด้วยตัวเองคนเดียวเป็นเรื่องที่ยากและต้องใช้ความทุ่มเทเป็นอย่างมาก คุณแม่จะต้องมีความอดทนและความเข้มแข็งเพียงพอ เพื่อให้ครอบครัวอยู่ด้วยกันอย่างเป็นสุขทั้งแม่และลูก นอกจากนี้ เด็กบางคนที่เติบโตมาโดยการเลี้ยงดูของคุณแม่เพียงคนเดียวอาจมองเห็นความแตกต่างระหว่างครอบครัวตัวเองกับครอบครัวเพื่อน หรือสิ่งที่สังคมวางกรอบเอาไว้ คุณแม่จึงควรอธิบายให้ลูกเข้าใจและหมั่นเอาใจใส่ลูกอยู่เสมอเพื่อให้ลูกเติบโตอย่างมีความสุขทั้งกายและใจ ทั้งนี้ คุณแม่ก็ควรดูแลจิตใจของตัวเองให้ดีเช่นกัน แม้ว่าการทำหน้าที่เป็นทั้งพ่อและแม่ที่สมบูรณ์แบบให้กับลูกจะเป็นเรื่องยาก คุณแม่อาจต้องเผชิญกับความเครียด ความกดดัน และอุปสรรคหลายอย่างที่ท้าทายเป็นอย่างมาก ทั้งเรื่องเวลาส่วนตัวที่น้อยลง การรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในครอบครัว ความเหนื่อยล้า และเรื่องอื่น ๆ ที่ต้องรับมือด้วยตัวคนเดียว แต่ถึงอย่างนั้น ครอบครัวที่มีผู้ใหญ่เลี้ยงลูกเพียงลำพังก็สามารถให้ความรักและความอบอุ่นแก่ลูกได้อย่างเต็มที่เช่นกัน แม้คุณแม่จะเป็นหัวหน้าครอบครัวเพียงคนเดียวก็สามารถเลี้ยงดูลูกหนึ่งคนหรือหลาย ๆ คนให้มีความสุขและเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพได้ไม่ต่างจากเด็กที่มีพ่อและแม่อยู่ร่วมกัน วิธีรับมือเมื่อเป็น แม่เลี้ยงเดี่ยว วิธีต่อไปนี้อาจช่วยให้แม่เลี้ยงเดี่ยวสามารถใช้ชีวิตประจำวันและเลี้ยงลูกได้เป็นอย่างดี สร้างกิจวัตรประจำวัน คุณแม่เลี้ยงเดี่ยวควรสร้างกิจวัตรประจำวันที่เป็นแบบแผนให้กับลูก เช่น เวลาตื่นนอนและเข้านอน เวลาอาหารเย็น เมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามตารางที่วางไว้เป็นประจำในทุก ๆ วัน อาจช่วยเสริมสร้างวินัยให้กับลูก และช่วยให้ลูกรู้สึกปลอดภัยและมั่นคงเมื่อได้ทำกิจวัตรประจำวันที่คุ้นเคย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน