พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

โรคเด็กและอาการทั่วไป

ผื่น เด็ก สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

ผื่น เด็ก หรือผื่นคันบนผิวหนังเด็ก มักเกิดในทารกและเด็กเล็ก เนื่องจากผิวของเด็กยังบอบบาง ไม่แข็งแรง และระบบภูมิคุ้มกันของเด็กยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์เหมือนของผู้ใหญ่ เด็กจึงอาจเกิดผดผื่นได้บ่อยครั้ง ผื่นในเด็กอาจเกิดจากการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ฝุ่นควัน ความร้อนจากแสงแดด แมลงกัดต่อย รวมไปถึงการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย โดยทั่วไป ผื่นในเด็กสามารถหายได้เองหรือบรรเทาได้ด้วยการใช้ยาลดอาการคันและระคายเคือง แต่หากดูแลเบื้องต้นและใช้ยารักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรพาเด็กไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างตรงจุด [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ทำให้เกิด ผื่น เด็ก สาเหตุที่ทำให้เกิด ผื่น เด็ก อาจมีดังนี้ ติดเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค เชื้อรา เช่น แคนดิดา (Candida infection) เชื้อไวรัสมากมายหลายชนิด เช่น วาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella zoster virus) แมลงกัดต่อย เช่น มด ยุง สัมผัสสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้ผิวหนังระคายเคือง เช่น เกสรดอกไม้ สารเคมี อาหาร เผชิญสภาพอากาศร้อน จนทำให้ต่อมเหงื่ออุดตัน ส่งผลให้เกิดผดผื่น แพ้ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบ รวมไปถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโรค หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ก็อาจส่งผลให้เด็กเสี่ยงเกิดโรคนี้ได้มากขึ้นเช่นกัน ประเภทของ ผื่น เด็ก […]


โภชนาการสำหรับทารก

อาหารเด็กทารก ที่เหมาะสมสำหรับลูกน้อย มีอะไรบ้าง

อาหารเด็กทารก เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เนื่องจากทารกเป็นช่วงวัยที่ต้องการพลังงานจากอาหาร เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการทางสมอง ดังนั้น เด็กทารกควรได้รับสารอาหารจากอาหารที่หลากหลายในปริมาณที่พอเหมาะและเหมาะสมกับช่วงอายุ เพื่อพัฒนาการที่ดีของเด็กทารก อาหารเด็กทารก ที่เหมาะสมตามช่วงอายุ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายและสมองของเด็กทารก คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้อาหารเด็กทารก ดังนี้ อาหารเด็กทารกแรกเกิดถึง 4 เดือน เด็กทารกแรกเกิดถึง 4 เดือน มีความต้องการอาหารเป็นอย่างมาก แต่สามารถดื่มได้แค่นมแม่หรือนมผงเท่านั้น เนื่องจากระบบย่อยอาหารของเด็กทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงไม่สามารถย่อยอาหารแข็งได้ ส่งผลให้ใน 1 วันเด็กทารกต้องดื่มนมบ่อย ๆ ดังนั้น จึงควรให้นมแม่กับเด็กทารก 1-2 ออนซ์ ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง ประมาณ 8-12 ครั้ง/วัน เพื่อให้เด็กทารกได้รับสารอาหารและพลังงานที่เพียงพอ สำหรับเด็กทารกที่ต้องกินนมผง คุณแม่สามารถให้นมเด็กแรกเกิดในช่วง 2-3 วันแรก ประมาณ 1-2 ออนซ์ ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง ประมาณ 8-12 ครั้ง/วัน และหลังจากนั้นสามารถให้นมผงเพิ่มเป็น 2-3 ออนซ์ ทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง ประมาณ […]


การดูแลทารก

ลูกแหวะนม เกิดจากอะไร และควรดูแลลูกอย่างไร

ลูกแหวะนม หรืออาการที่ลูกมีนมไหลออกมาทางปากหลังกินนม เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือนมักมีกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณหลอดอาหารที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงอาจทำให้อาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหารได้ อย่างไรก็ตาม ควรให้ลูกดื่มนมอย่างระมัดระวัง เพราะนมอาจไหลย้อนออกทางจมูกจนอาจทำให้เกิดการสำลักได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกแหวะนม เกิดจากอะไร ทารกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน มักมีอาการแหวะนม เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารในเด็กทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ จึงส่งผลให้นมไหลย้อนกลับขึ้นมาได้บ่อย ๆ นอกจากนี้ เด็กยังมีขนาดกระเพาะอาหารและท้องที่เล็กมาก การให้นมลูกในปริมาณที่มากเกินไปจึงอาจทำให้นมไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหารได้ง่ายขึ้น ลูกแหวะนมและลูกอาเจียน แตกต่างกันอย่างไร การแหวะนมเป็นการไหลย้อนกลับของนม เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ โดยนมและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารจะค่อย ๆ ไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหารและออกทางปากอย่างช้า ๆ ซึ่งการแหวะนมเป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ และไม่ก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงตามมา แต่สำหรับการอาเจียนในเด็กทารกเป็นอาการที่รุนแรง โดยอาหารกับน้ำย่อยจะไหลย้อนขึ้นมาอย่างรวดเร็วและรุนแรง ในบางรายอาจเกิดลักษณะอาเจียนพุ่งเนื่องจากกล้ามเนื้อหน้าท้องถูกกระตุ้นโดยศูนย์ควบคุมการอาเจียน (Vomiting Center) ที่รับสัญญาณมาจากระบบประสาท ซึ่งอาจทำให้เด็กมีอาการร้องไห้งอแงมากกว่าปกติ มีไข้ ไม่สบายตัว ท้องเสีย ท้องบวม ท้องอืด ไม่กินอาหาร และเหนื่อยล้า อาการเมื่อลูกแหวะนม เมื่อลูกแหวะนมอาจมีอาการที่พบได้บ่อย ดังนี้ ลูกอาจแหวะนมออกมาทางปากและทางจมูก ลักษณะของน้ำนมที่ลูกแหวะออกมา อาจเป็นก้อนลิ่มคล้ายเต้าหู้ ลูกร้องไห้และงอแงหลังกินนมเสร็จ ลูกนอนบิดตัวไปมา เพราะอาจมีอาการไม่สบายท้อง การดูแลและการป้องกันลูกแหวะนม หากลูกแหวะนมบ่อย ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจทำตามวิธีต่อไปนี้ เพื่อป้องกันการแหวะนมของลูก ควรให้นมลูกในท่ายกหัวสูง เช่น ใช้หมอนรองคอลูก […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

ฟันขึ้นตอนกี่เดือน และวิธีดูแลสุขภาพฟันของเด็ก

คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่าเด็ก ฟันขึ้นตอนกี่เดือน ปกติแล้วเด็กจะเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นซี่แรกเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน โดยส่วนใหญ่ฟันหน้าซี่ล่างอาจจะงอกขึ้นมาก่อน ดังนั้น การดูแลรักษาสุขภาพฟันของเด็กตั้งแต่ซี่แรกจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพื่อช่วยป้องกันปัญหาฟันผุของเด็ก [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็ก ฟันขึ้นตอนกี่เดือน เมื่อเด็กอายุได้ประมาณ 3 เดือน จะเริ่มมีการพัฒนาของน้ำลายในช่องปากมากขึ้น และจะเริ่มเรียนรู้ทักษะการใช้ปาก เช่น การเอามือเข้าปาก หยิบสิ่งของเข้าปาก การกัด ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่อาจแสดงถึงพัฒนาการในการเรียนรู้วิธีใช้ปากของเด็ก และส่วนใหญ่จะเริ่มมีฟันซี่แรกเกิดขึ้นในช่วงอายุประมาณ 6-12 เดือน โดยฟันซี่แรกที่งอกขึ้นมาอาจเป็นฟันหน้าซี่ล่าง และฟันน้ำนมจะงอกขึ้นครบทุกซี่ในช่วงอายุประมาณ 3 ขวบ อย่างไรก็ตาม เด็กบางคนอาจมีการงอกของฟันที่ช้าจึงทำให้ไม่มีฟันเกิดขึ้นเลยในช่วงขวบปีแรก พัฒนาการของฟันน้ำนมเด็กที่เกิดขึ้นตามช่วงอายุ อาจมีดังนี้ ฟันล่าง ฟันตัดหน้าซี่กลาง (Central Incisor) งอกขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6-10 เดือน ฟันหน้าตัดหน้าซี่ข้าง (Lateral Incisor) งอกขึ้นเมื่ออายุประมาณ 10-16 เดือน ฟันเขี้ยว (Canine) งอกขึ้นเมื่ออายุประมาณ 17-23 เดือน ฟันกรามซี่แรก (First Molar) งอกขึ้นเมื่ออายุประมาณ 13-19 เดือน ฟันกรามซี่ที่สอง (Second Molar) […]


เด็กทารก

Gut Obstruction คือ อะไร อาการ สาเหตุ และการรักษา

Gut Obstruction คือ โรคลำไส้อุดตันในเด็กแรกเกิด เป็นโรคร้ายแรงที่ทำให้ลำไส้เกิดการอุดตันจนอาหารไม่สามารถไหลผ่านไปได้ อาจทำให้เด็กมีอาการปวดท้อง เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องผูก ท้องอืด ไปจนถึงไม่ขับถ่าย และหากไม่ทำการรักษาอาจทำให้เนื้อเยื่อผนังลำไส้ตายและติดเชื้อ หรืออาจเป็นอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] Gut Obstruction คือ อะไร Gut Obstruction คือ โรคลำไส้อุดตันซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่อาจพบได้บ่อยในทารกแรกเกิด โดยสาเหตุของลำไส้อุดตันในเด็กแรกเกิดอาจเกิดจากลำไส้ตีบตัน (Intestinal Atresia) การอุดตันของขี้เทา (Meconium Ileus) โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด (Hirschsprung's Disease) ความผิดปกติของการบิดตัวของลำไส้ (Malrotation) ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ทำให้เกิดการอุดตันของสำไส้หรือกระเพาะอาหาร ส่งผลให้อาหารและของเหลวต่าง ๆ ไม่สามารถไหลผ่านไปได้ หากไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่ปัญหาร้ายแรง เช่น เนื้อเยื่อในผนังลำไส้ตาย การติดเชื้อ หรืออาจเป็นอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้ อาการของ Gut Obstruction อาการของโรคลำไส้อุดตันในเด็กแรกเกิดที่อาจพบบ่อย มีดังนี้ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง ท้องบวม ท้องแข็ง ท้องอืด ท้องผูก มีเสียงดังในท้อง รู้สึกมีแก๊สในท้อง ไม่ขับถ่าย คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการของเด็กอยู่เสมอ หากพบว่ามีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นเวลานาน หรืออาการรุนแรงขึ้น เช่น […]


โรคผิวหนังในเด็ก

ลักษณะผื่นแพ้อาหาร ทารก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกต

ลักษณะผื่นแพ้อาหาร ทารก เป็นการแพ้ที่อาจทำให้ทารกมีอาการผื่นแดง ลมพิษ คัน หายใจติดขัด คันคอและปาก มีอาการบวมที่ปาก ลิ้น และลำคอ ร้องไห้งอแงมากกว่าปกติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการนอนหลับของทารก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตอาการของทารกหลังรับประทานอาหารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้ป้องกันอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การแพ้อาหารของทารก คืออะไร การแพ้อาหาร (Food Allergy) เป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่เกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารบางชนิด เช่น นม ไข่ แป้งสาลี ถั่ว ถั่วเหลือง อาหารทะเล เช่น ปลา กุ้ง ปลาหมึก แม้จะรับประทานอาหารดังกล่าวเข้าไปได้ไม่นานและในปริมาณเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะทารกที่ระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่สมบูรณ์จึงอาจทำให้เกิดอาการแพ้อาหารง่ายกว่าปกติ ซึ่งทารกบางคนอาจแพ้สารอาหารที่ผ่านมาทางนมแม่ได้เช่นกัน โดยระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของทารกจะทำปฏิกิริยากับอาหารบางชนิด ส่งผลให้ฮีสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและสะสมอยู่ในเซลล์ของร่างกายทุกส่วน ถูกปล่อยออกมาเมื่อร่างกายเกิดอาการแพ้ จนทำให้เกิดลักษณะผื่นแพ้อาหาร ทารกเกิดขึ้น ลักษณะผื่นแพ้อาหาร ทารก ลักษณะผื่นแพ้อาหาร ทารก อาจมีอาการตั้งแต่รุนแรงน้อยไปจนถึงรุนแรงปานกลาง ดังนี้ คันบริเวณคอและปาก คันตา น้ำตาไหล อาการบวมที่ริมฝีปาก ตา ลิ้น ใบหน้า หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย อาการลมพิษ […]


เด็กทารก

จุกหลอก ข้อดีและข้อเสียในการใช้งานที่ควรรู้

เด็กทารกมักดูดหรืออมสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวและใกล้มือ เนื่องจากการดูด หรือปฏิกิริยาการดูด (Sucking Reflex) เป็นปฏิกิริยาตอบสนองอย่างหนึ่งของทารกที่เกิดจากสัญชาตญาณในการหาอาหารตามธรรมชาติ อีกทั้งยังถือเป็นพัฒนาการตามวัยของเด็กด้วย พฤติกรรมนี้ทำให้บางครั้งเด็กทารกคว้าสิ่งของใกล้ตัวที่อาจเป็นอันตรายเข้าปากและส่งผลเสียต่อร่างกายได้ การใช้ จุกหลอก จึงอาจเป็นประโยชน์ในการช่วยให้ทารกสงบและผ่อนคลาย ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายและนานขึ้น และป้องกันการดูดนิ้วมือหรือสิ่งของอื่น ๆ ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ทั้งนี้ ไม่ควรให้เด็กทารกใช้จุกหลอกเกินอายุ 6 เดือน และไม่ควรให้เด็กอายุเกิน 4 ปีใช้จุกหลอก เพราะอาจทำให้ติดจุกหลอกและทำให้ฟันน้ำนมงอกผิดรูปได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] จุกหลอก คืออะไร จุกหลอก หรือจุกนมปลอม (Pacifier หรือ Dummy) คือ อุปกรณ์สำหรับให้ทารกอมหรือดูดแทนการดูดนมแม่หรือดูดนิ้วมือ จุกหลอกทำจากวัสดุหลากชนิด เช่น ซิลิโคน ยาง พลาสติก เป็นประโยชน์สำหรับทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการด้านการสัมผัสและมีนิสัยชอบดูด อมนิ้วมือ และนำสิ่งของเข้าปาก จุกหลอกอาจช่วยให้ทารกผ่อนคลาย ไม่ร้องไห้งอแงในขณะที่ไม่ได้กินนม อย่างไรก็ตาม ไม่ควรให้เด็กใช้จุกหลอกในระยะยาว เด็กควรใช้จุกหลอกไม่เกินอายุ 6 เดือน หรือมากสุดไม่เกิน 1 ปี เพราะหากใช้นานกว่านั้นอาจเกิดปัญหาเด็กติดจุกหลอก และไม่ให้เด็กที่อายุมากกว่า 4 ปีใช้จุกหลอก […]


สุขภาพเด็ก

พัฒนาการเด็ก คืออะไร คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการอย่างไร

พัฒนาการเด็ก เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยจะเริ่มตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งการส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เหมาะสมตามช่วงวัยมีความสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของเด็กในทุก ๆ ด้าน รวมถึงอาจช่วยให้เด็กสามารถเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ และสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น การเข้าใจถึงพัฒนาการเด็กจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของเด็กได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการเด็ก คืออะไร พัฒนาการเด็ก คือ การเปลี่ยนแปลงของเด็กทั้งทางร่างกาย ภาษา ความคิด และอารมณ์ โดยจะเริ่มตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งในกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและการส่งเสริมทักษะในด้านต่าง ๆ จากคุณพ่อคุณแม่ บุคคลรอบข้าง และสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้และมีพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเหมาะสมตามวัย คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างไร คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีในทุกช่วงวัยอย่างเหมาะสม โดยพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ที่ควรส่งเสริมให้แก่เด็ก มีดังนี้ พัฒนาการในด้านความรู้ความเข้าใจ ส่งเสริมการเรียนรู้ และการแก้ปัญหา พัฒนาการในด้านคำพูดและภาษา ส่งเสริมการใช้ภาษา การอ่าน และการสื่อสาร พัฒนาการในด้านทักษะทางกายภาพ ส่งเสริมทักษะทางร่างกายทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น ขยับนิ้ว หยิบจับสิ่งของ เดิน วิ่ง คลาน พัฒนาการในด้านการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการควบคุมอารมณ์ ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและควบคุมอารมณ์ของตนเอง พัฒนาการในด้านการรับรู้ทางประสาทสัมผัส ส่งเสริมประสาทสัมผัสและการรับรู้สิ่งต่าง ๆ เช่น การแยกแยะพื้นผิวขรุขระและเรียบ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

พี่เลี้ยงเด็ก มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร และวิธีเลือกพี่เลี้ยงเด็กให้เหมาะสม

บางครอบครัว คุณพ่อคุณแม่อาจไม่สะดวกในการเลี้ยงดูเด็ก เนื่องจากต้องทำงาน ติดธุระที่ไม่สามารถพาลูกไปด้วยได้ หรืออาจต้องการ พี่เลี้ยงเด็ก เพื่อมาช่วยดูแลลูก และแบ่งเบาความเหนื่อยล้าของคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งการเลือกพี่เลี้ยงเด็กเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับความปลอดภัย คุณภาพชีวิต และพัฒนาการที่ดีของเด็กในระหว่างอยู่กับพี่เลี้ยง [embed-health-tool-vaccination-tool] พี่เลี้ยงเด็ก มีข้อดีอย่างไร สำหรับบางบ้านที่คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องทำงานตลอดทั้งวันจนไม่มีเวลาเลี้ยงดูลูกได้ อาจมีธุระสำคัญที่ไม่สามารถพาลูกไปด้วยได้ หรือมีความต้องการผู้ที่จะมาแบ่งเบาความเหนื่อยล้าในการเลี้ยงเด็ก การหาพี่เลี้ยงเด็กจึงอาจเป็นทางเลือกที่ดีที่จะมาช่วยดูแลลูก โดยไม่ต้องกังวลว่าลูกจะถูกละเลยหรือไม่ โดยข้อดีของการมีพี่เลี้ยงเด็ก อาจมีดังนี้ การดูแลเด็กของพี่เลี้ยงยังคงอยู่ภายในบ้านซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เด็กคุ้นเคย และอยู่ในสายตาของคุณพ่อคุณแม่ จึงอาจคลายความวิตกกังวลเรื่องความปลอดภัยได้ สามารถควบคุมความยืดหยุ่นของช่วงเวลาที่ต้องการให้พี่เลี้ยงมาที่บ้านเพื่อดูแลเด็ก สามารถควบคุมอาหาร เวลานอน เวลาเล่น หรือเวลาอาบน้ำที่เหมาะสมให้กับลูกได้ด้วยตัวเอง โดยการเขียนโน้ตหรือบอกกล่าวพี่เลี้ยงเด็ก สามารถเลือกพี่เลี้ยงเด็กตามคุณสมบัติที่ต้องการได้เอง และสามารถตกลงค่าจ้างที่ต้องการได้ พี่เลี้ยงเด็ก มีข้อเสียอย่างไร การจ้างพี่เลี้ยงเด็กนอกจากจะมีข้อดีแล้วยังอาจมีข้อเสียบางอย่าง ดังนี้ พี่เลี้ยงเด็กไม่สามารถดูแลเด็กได้อย่างเหมาะสมตามข้อตกลง หรืออาจขอลาออกกะทันหัน จึงทำให้ต้องหาพี่เลี้ยงเด็กใหม่บ่อยครั้ง พี่เลี้ยงเด็กที่ไม่มีประสบการณ์เลี้ยงเด็กมาก่อน อาจเสี่ยงที่จะทำให้เด็กเกิดอันตรายได้ การจ้างพี่เลี้ยงเด็กให้มาดูแลลูกที่บ้าน อาจทำให้เด็กขาดทักษะการเข้าสังคมกับบุคคลภายนอก และขาดการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เนื่องจากบ้านเป็นพื้นที่ส่วนตัว การจ้างพี่เลี้ยงเด็กซึ่งเป็นคนนอกและให้เข้ามาอยู่ในบ้าน อาจทำให้ความเป็นส่วนตัวลดลง อาจเสี่ยงที่จะเจอมิจฉาชีพ โดยเฉพาะหากจ้างพี่เลี้ยงเด็กจากบุคคลทั่วไป และไม่ได้ทราบถึงข้อมูลความปลอดภัยของบุคคลนั้น วิธีการเลือกพี่เลี้ยงเด็ก คุณพ่อคุณแม่อาจจำเป็นต้องเลือกพี่เลี้ยงเด็กที่ไว้ใจได้ และเคยมีประสบการณ์ในการเลี้ยงเด็กมาก่อน โดยอาจเลือกจากคุณสมบัติต่อไปนี้ มีความน่าเชื่อถือ เป็นคุณสมบัติที่ควรตรวจสอบเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะหากพี่เลี้ยงเด็กไม่ได้มาจากบริษัทหรือผ่านการฝึกอบรมพี่เลี้ยง โดยคุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มจากการหาพี่เลี้ยงเด็กที่เป็นญาติพี่น้องที่สามารถไว้ใจได้ก่อน แต่หากไม่สามารถหาได้ ควรสอบถามประวัติ ขอดูใบอนุญาตรับเลี้ยงเด็ก […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกตัวร้อน ไข้ไม่ลด ควรรับมืออย่างไรบ้าง

ลูกไม่สบายหรือมีไข้อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียบางชนิด หากพบว่า ลูกตัวร้อน ไข้ไม่ลด ควรดูแลเบื้องต้นที่บ้านด้วยการเช็ดตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย ดื่มน้ำและพักผ่อนให้มาก ๆ หรือบางรายอาจต้องใช้ยาลดไข้ตามคำสั่งแพทย์ วิธีเหล่านี้มักช่วยให้ลูกหายไข้ได้ภายใน 5-7 วัน แต่หากมีอาการต่อเนื่องหรืออาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบคุณหมอทันที [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นไข้ โดยทั่วไป อุณหภูมิของเด็กเล็กและเด็กโตจะอยู่ที่ประมาณ 36.4 องศาเซลเซียส หากพบว่าลูกมีอุณหภูมิร่างกายเกิน 38 องศาเซลเซียส สัมผัสหน้าผากหรือแผ่นหลังแล้วรู้สึกว่าลูกตัวร้อนผ่าว มีเหงื่อออกเยอะ ดูเซื่องซึมกว่าปกติ แสดงว่าลูกกำลังมีไข้ ซึ่งเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายต่อการติดเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะเพิ่มอุณหภูมิเพื่อทำให้เชื้อโรคที่ก่อให้เกิดการติดเชื้ออยู่รอดได้ยากขึ้น การดูแลเบื้องต้นที่เหมาะสม อาจทำให้อาการไข้ของลูกหายไปเองภายใน 3-4 วัน ภาวะที่อาจทำให้ลูกเป็นไข้ เช่น โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ (Respiratory tract infections หรือ RTI) เช่น โรคหวัด โรคปอดอักเสบ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย อาจทำให้เด็กมีไข้สูงหรือต่ำตามชนิดของเชื้อ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ โรคหูติดเชื้อในเด็ก เป็นโรคที่พบมากในเด็กทารกและเด็กเล็ก เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในหู อาจทำให้เกิดอาการไข้ร่วมด้วย โรคส่าไข้หรือหัดกุหลาบ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน