พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

เด็กทารก

เด็กตัวเหลือง สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

เด็กตัวเหลือง เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีปริมาณบิลิรูบิน ซึ่งเป็นสารสีเหลืองที่เกิดจากการสลายตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดงในปริมาณมากเกินไป มักพบในช่วง 2-3 วันหลังคลอด เนื่องจากตับของเด็กแรกเกิดยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้ขับสารชนิดนี้ออกไปได้ไม่เร็วพอ จนทำให้ตาขาวและผิวหนังของเด็กมีสีเหลือง อาการนี้มักไม่อันตราย และการให้เด็กดื่มนมแม่อย่างเพียงพออาจช่วยให้อาการหายไปได้เองภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่ในกรณีที่ระดับสารบิลิรูบินสูง หรืออาการของโรคอยู่ในขั้นรุนแรง คุณหมออาจให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยวิธีที่เหมาะสมกับเด็กมากที่สุด เช่น การฉายแสง การถ่ายเลือด เด็กตัวเหลือง เกิดจากอะไร ภาวะตัวเหลือง หรือดีซ่าน (Jaundice) มักพบในเด็กแรกเกิดอายุ 2-3 วัน สาเหตุที่ทำให้ผิวหนังของเด็กเป็นสีเหลืองเกิดจากร่างกายมีบิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารสีเหลืองในกระแสเลือดมากเกินไป สารชนิดนี้เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดแดงสลายตัว เมื่อมีบิลิรูบินสะสมอยู่ในกระแสเลือดจำนวนมาก จะทำให้ผิวหนังกลายเป็นสีเหลือง ในบางครั้งอาจมองเห็นเยื่อบุตามีสีเหลืองขึ้นได้ โดยปกติแล้ว ตับจะทำหน้าที่กรองบิลิรูบินออกไปทางลำไส้และขับออกจากร่างกายปนไปกับอุจจาระ แต่ร่างกายเด็กแรกเกิดจะผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงและสลายเซลล์เม็ดเลือดแดงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งตับของเด็กยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงไม่สามารถกำจัดบิลิรูบินออกไปได้เร็วเหมือนผู้ใหญ่ จึงทำให้มีบิลิรูบินในกระแสเลือดมากกว่าปกติ หากไม่มีอาการผิดปกติร่วมด้วย อาการตัวเหลืองอาจดีขึ้นและสีผิวจะกลับเป็นปกติภายในไม่กี่วันถึงเป็นสัปดาห์ อาการของ เด็กตัวเหลือง อาการตัวเหลืองในเด็กแรกเกิดมักปรากฏในวันที่ 2-3 หลังคลอด โดยอาการจะเริ่มจากผิวหน้าและตาขาวกลายเป็นสีเหลือง ก่อนจะลามไปที่ท้องและที่ขาเมื่อระดับบิลิรูบินสูงขึ้น ร่วมกับมีอาการง่วงนอนตลอดเวลา เซื่องซึม ไม่มีแรง ดูดนมได้น้อยกว่าที่ควร บางครั้ง หากปริมาณบิลิรูบินพุ่งสูงผิดปกติและไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายดังต่อไปนี้ อาการทางสมองเฉียบพลัน (Acute bilirubin encephalopathy) เกิดขึ้นเมื่อมีบิลิรูบินปริมาณมากในกระแสเลือด เมื่อสารที่เป็นพิษต่อเซลล์สมองชนิดนี้ผ่านเข้าไปในเนื้อสมอง จะทำให้เด็กเซื่องซึม ไม่ดูดนม […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

เด็กไฮเปอร์ สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

เด็กไฮเปอร์ เป็นอาการที่มักได้รับการวินิจฉัยเมื่ออายุยังน้อย ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะสมาธิสั้น แต่ก็อาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความผิดปกติของระบบประสาท ความผิดปกติทางอารมณ์ ภาวะไทรอยด์ทำงานมากเกินไป เด็กในภาวะนี้มักมีอาการอยู่ไม่สุข อยู่นิ่งได้ไม่นาน ขยับแขนหรือขาไปมาตลอด หุนหันพลันแล่น สนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ไม่นาน ภาวะไฮเปอร์อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและคนรอบข้าง โดยเฉพาะที่บ้านและที่โรงเรียน ภาวะนี้สามารถรักษาให้หายได้ หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าเด็กมีพฤติกรรมผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณของภาวะไฮเปอร์ หรือสภาวะสุขภาพอื่น ๆ ควรพาเด็กไปพบคุณหมอแต่เนิ่น ๆ เด็กไฮเปอร์ เกิดจากอะไร เด็กไฮเปอร์ คือ เด็กที่มีภาวะอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity) หรือที่มักเรียกสั้น ๆ ว่า ไฮเปอร์ อาการที่เป็นสัญญาณของภาวะนี้ เช่น ซนมากกว่าปกติ ชอบปีนป่าย อยู่ไม่สุข ชอบขยับตัวไปมา เล่นรุนแรง ทำเสียงดัง พูดมาก ไม่ค่อยระมัดระวัง ชอบแกล้งเพื่อน ภาวะไฮเปอร์มักพบในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสมองที่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์ของเด็กกับคนรอบข้างทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน สาเหตุของอาการไฮเปอร์ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่อาจเกิดได้จากปัจจัยต่อไปนี้ โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder หรือ ADHD) เป็นความผิดปกติของพัฒนาการทางสมองที่มักพบในเด็ก แต่ก็สามารถวินิจฉัยพบตอนเป็นผู้ใหญ่ได้ โรคนี้ส่งผลกระทบต่อการแสดงความสนใจ ความสามารถในการนั่งนิ่ง […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

นมกล่อง เด็กจะเริ่มกินได้เมื่อไหร่ และวิธีฝึกให้เด็กกินนมกล่อง

การกิน นมกล่อง (UHT milk) ชนิดที่เหมาะสม อาจช่วยให้เด็กได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและเสริมความแข็งแรงของกระดูกและฟัน จึงควรเลือกชนิดของนมกล่องให้เหมาะสมกับเด็ก และควรฝึกให้เด็กกินนมกล่องเองได้ เพื่อเสริมสร้างนิสัยการกินนมเป็นประจำซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพ ทั้งนี้ ควรระมัดระวังปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการกินนมกล่อง เช่น การแพ้นมวัว การย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่ได้ ซึ่งอาจทำให้เด็กเกิดอาการไม่พึงประสงค์อย่างเช่น ผื่นลมพิษ ท้องเสีย อาเจียน หรือการกินนมกล่องชนิดที่มีน้ำตาลสูง ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะน้ำหนักเกิน โรคอ้วนในเด็ก และฟันผุ [embed-health-tool-vaccination-tool] นมกล่อง เด็กจะเริ่มกินได้เมื่อไหร่ ในช่วง 6 เดือนแรกของเด็ก ควรให้เด็กกินนมแม่เป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะนมแม่เป็นนมที่เด็กสามารถดูดซึมสารอาหารและย่อยได้ง่าย ทั้งยังอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แร่ธาตุอย่างแคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม วิตามินอย่าง วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินดี และมีแอนติบอดี้ที่ช่วยต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เมื่อเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป สามารถให้กินอาหารอื่น ๆ เสริมควบคู่กับไปการให้นมได้ เช่น ข้าวโอ๊ต ซุปปลา ฟักทองบด ไข่ต้ม […]


สุขภาพเด็ก

Sleep apnea หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

Sleep apnea หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นภาวะที่การหายใจหยุดลงชั่วขณะระหว่างการนอนหลับ สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย และอาจพบในเด็กได้ด้วย สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะนี้ในเด็กคือต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ (Adenoid) ขยายใหญ่ขึ้นและอุดตันทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการหายใจแผ่ว หยุดหายใจช่วงสั้น ๆ ขณะนอนหลับ มีอาการหายใจลำบากขณะนอนหลับ หรือปัสสาวะรดที่นอน เป็นต้น หากพบว่าเด็กมีอาการที่เข้าข่ายภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือมีปัญหาการหายใจที่ทำให้นอนไม่ได้ ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-bmi] Sleep apnea ในเด็ก คืออะไร ภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก เป็นความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากมีสิ่งกีดขวางในทางเดินหายใจ ทำให้เด็กหยุดหายใจชั่วขณะในระหว่างนอนหลับ มักพบในเด็กอายุระหว่าง 2-6 ปี ภาวะนี้ส่งผลให้เด็กนอนหลับไม่สนิท มีภาวะหลับ ๆ ตื่น ๆ เมื่อสมองรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของออกซิเจนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกาย สมองจะส่งสัญญาณไปยังปอดเพื่อพยายามหายใจเข้า ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นเพียงครู่เดียว จากนั้นเด็กก็จะกลับไปหลับต่อ และอาจตื่นขึ้นมาเรื่อย ๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น อ่อนเพลียง่วงนอนระหว่างวัน เนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอ ในบางรายที่เป็นรุนแรง อาจมีผลกระทบต่อการเรียน หรือมีภาวะซน สมาธิสั้นร่วมด้วยได้ สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก คือ ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ขยายใหญ่ขึ้นจนปิดกั้นทางเดินหายใจและขัดขวางการหายใจระหว่างการนอนหลับ ในช่วงกลางวัน กล้ามเนื้อบริเวณศีรษะและลำคอจะเปิดทางเดินหายใจได้ง่ายขึ้น ทำให้ไม่เป็นปัญหาในการหายใจตามปกติ แต่ในช่วงกลางคืน ความตึงตัวของกล้ามเนื้อจะน้อยลง ทำให้เนื้อเยื่อหดตัว ส่งผลให้ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์มีขนาดใหญ่ขึ้นและปิดกั้นทางเดินหายใจ จนส่งผลให้เด็กเกิดปัญหาการหายใจผิดปกติ สาเหตุอื่น […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

นิทาน กล่อม เด็ก ตัวช่วยในการพาเด็กเข้านอนและเสริมพัฒนาการเด็ก

นิทาน กล่อม เด็ก เป็นอีกหนึ่งวิธีในการเสริมสร้างพัฒนาการและทักษะด้านต่าง ๆ ของเด็ก เช่น พัฒนาการทางความคิดและอารมณ์ ทักษะด้านสังคม ทักษะทางภาษา  ทั้งยังช่วยฝึกสมาธิ และอาจช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่านที่ดีต่อเด็กด้วย นอกจากนี้ การเล่านิทานให้เด็กฟังก่อนนอนยังเป็นตัวช่วยที่ดีในการพาเด็กเข้านอน ทำให้เด็กไม่งอแงเพราะได้ทำกิจกรรมที่ชอบและสบาย ๆ ก่อนนอน เมื่อเด็กเข้านอนง่ายขึ้น ก็จะทำให้เด็กได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ซึ่งจะส่งผลดีต่อพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญา ช่วยให้เด็กเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย [embed-health-tool-bmi] ประโยชน์ต่อพัฒนาการของนิทาน กล่อม เด็ก ประโยชน์ต่อพัฒนาการของนิทานกล่อมเด็ก มีดังนี้ ช่วยพัฒนาทักษะด้านสังคม ช่วงอ่านนิทานให้เด็กฟังก่อนนอนเป็นช่วงเวลาสานความสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อคุณแม่กับลูกน้อย ช่วยให้ได้ใช้เวลาที่มีค่าร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันมากขึ้น อาจเป็นรากฐานของนิสัยรักการอ่าน การเรียนรู้เกี่ยวกับหนังสือภาพหรือหนังสือนิทาน เริ่มตั้งแต่การฟังนิทานในวัยเตาะแตะไปจนถึงการอ่านนิทานไปพร้อม ๆ กับคุณพ่อคุณแม่เมื่ออยู่ในวัยเรียน อาจเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้เด็ก เมื่อเด็กโตพอก็สามารถที่จะค้นหาหนังสือประเภทที่สนใจเพิ่มเติมได้ด้วยตัวเอง ช่วยเสริมทักษะด้านภาษา การฟังนิทานกล่อมนอนช่วยให้เด็กได้เรียนรู้การสื่อสารด้วยเสียงพูด เสริมสร้างทักษะด้านภาษา การจดจำชื่อคน สัตว์ สถานที่ และสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เด็กอาจพบไม่บ่อยในชีวิตประจำวัน เสริมสร้างทักษะด้านอารมณ์ หนังสือนิทานที่เป็นสถานการณ์สมมติ เช่น ไปโรงเรียนครั้งแรก เจอเพื่อนใหม่ครั้งแรก อาจเป็นสถานการณ์ทางอารมณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้จริง คุณพ่อคุณแม่สามารถอธิบายและพูดคุยเรื่องเหล่านี้กับเด็กได้โดยการใช้นิทานเป็นจุดเริ่มต้นบทสนทนา และเด็กอาจได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาจากเนื้อเรื่องของนิทานอีกด้วย เป็นการสอนให้เด็กหัดวิเคราะห์ปัญหาอย่างง่ายๆ ช่วยให้เด็กมีพื้นฐานการแก้ไขสถานการณ์ที่อาจพบเจอในชีวิตประจำวัน เสริมสร้างทักษะด้านความคิด หนังสือนิทานช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านความคิด จิตใจและพฤติกรรมได้ […]


เด็กทารก

เด็กคว่ำกี่เดือน และการฝึกให้เด็กนอนคว่ำอย่างถูกวิธี

เด็กคว่ำกี่เดือน อาจเป็นหนึ่งในคำถามที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการทราบคำตอบ เพื่อใช้ตรวจสอบว่าพัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างเหมาะสมตามวัยหรือไม่ ปกติแล้ว เด็กทารกจะเริ่มรู้จักพลิกตัวและคว่ำเองได้ตั้งแต่อายุประมาณ 4-6 เดือน แต่คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถฝึกให้เด็กนอนคว่ำได้ตั้งแต่อายุไม่กี่สัปดาห์ การฝึกให้เด็กนอนคว่ำอย่างถูกวิธีจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้กับเด็ก อย่างไรก็ตาม หากเด็กมีพฤติกรรมที่อาจเป็นสัญญาณของภาวะพัฒนาการล่าช้า ควรพาเด็กไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็กคว่ำกี่เดือน โดยเด็กทารกส่วนใหญ่มักจะเริ่มคว่ำตัวเองได้ตอนอายุประมาณ 4 เดือน แล้วจากนั้นถึงจะเรียนรู้การพลิกตัวจากท่าคว่ำไปนอนหงาย ในขณะนอนคว่ำ เด็กจะเริ่มเอื้อมมือและขยับนิ้วมือหยิบจับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และชันคอขึ้นเพื่อมองสิ่งรอบตัว เป็นพัฒนาการก้าวเริ่มต้นไปสู่การนั่ง คลาน และเดินได้ด้วยตัวเองทั้งนี้ เด็กแต่ละคนอาจพลิกคว่ำได้เร็วช้าแตกต่างกัน บางรายคว่ำได้ตั้งแต่อายุ 4 เดือน ในขณะที่บางรายคว่ำได้ตอนอายุประมาณ 6 เดือน แต่หากเด็กอายุ 6 เดือนแล้วยังไม่เริ่มพลิกคว่ำ อาจต้องปรึกษาคุณหมอ เพราะอาจเป็นสัญญาณว่าเด็กมีปัญหาพัฒนาการล่าช้า ประโยชน์ของการฝึกให้เด็กนอนคว่ำ คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกให้เด็กนอนคว่ำได้ตั้งแต่อายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ โดยอาจเริ่มให้เด็กฝึกนอนคว่ำบนอกหรือลำตัวของคุณพ่อคุณแม่ 1-2 นาที หรือ 2-3 นาทีต่อวัน และอาจเพิ่มเวลาเป็น 10-15 นาทีต่อครั้ง วันละหลาย ๆ ครั้ง เมื่อเด็กโตขึ้น การฝึกนอนคว่ำอาจช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดใหญ่บริเวณคอ แขน และไหล่ ทำให้เด็กหัดลุกขึ้นนั่ง พลิกตัว […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ลูกเป็นลำไส้อักเสบ กี่วันหาย และรักษาได้อย่างไร

โรคลำไส้อักเสบ เป็นภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร อาจมีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อไวรัสโรตา ลูกเป็นลำไส้อักเสบ กี่วันหาย อาจเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวล โดยเฉพาะหากลูกเป็นเด็กทารกหรือเด็กเล็ก โดยปกติแล้ว หลังรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย 1-2 วัน ลูกจะเริ่มมีอาการไข้ อาเจียนและอ่อนเพลีย จากนั้นอาจมีอาการท้องเสียเป็นเวลา 7-10 วัน ในรายที่อาการไม่รุนแรงสามารถดูแลตามอาการให้หายเองได้ แต่หากมีอาการรุนแรงและมีภาวะขาดน้ำร่วมด้วย อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอให้เร็วที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคลำไส้อักเสบ คืออะไร โรคลำไส้อักเสบ คือ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย มักเกิดจากเชื้อไวรัสโรตา (Rotavirus) เป็นเชื้อโรคที่ติดต่อได้ง่าย โรคนี้พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายทางปาก จะทำให้เกิดการอักเสบในกระเพาะอาหารและลำไส้ เยื่อบุลำไส้เล็กอักเสบและสร้างน้ำย่อยได้น้อยลง ส่งผลให้ลูกย่อยนมและอาหารได้ช้า ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสียรุนแรง อาเจียน มีไข้ และเกิดภาวะขาดน้ำ ทั้งนี้ โรคนี้สามารถพบได้ทั้งในเด็กทารก เด็กเล็ก เด็กวัยรุ่น รวมไปถึงผู้ใหญ่ จึงควรรักษาสุขอนามัยและล้างมือเป็นประจำ เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย อาการของโรคลำไส้อักเสบ ส่วนใหญ่แล้ว อาการของโรคลำไส้อักเสบมักปรากฏหลังจากลูกได้รับเชื้อไวรัสที่ทำให้ลำไส้อักเสบประมาณ 1-2 วัน โดยอาการที่พบอาจมีดังนี้ […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

โรคเพรเดอร์-วิลลี (Prader-Willi Syndrome) สาเหตุ อาการ และการรักษา

โรคเพรเดอร์-วิลลี คือ โรคทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก ที่อาจส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม เช่น มีความอยากอาหารมากผิดปกติ มีพัฒนาการที่ล่าช้า ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อาจทำการบำบัดเพื่อช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] คำจัดกัดความ โรคเพรเดอร์-วิลลี คืออะไร โรคเพรเดอร์-วิลลี คือ โรคทางพันธุกรรมหายาก ที่อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ การเรียนรู้ การควบคุมอารมณ์ รวมถึงพฤติกรรม ที่อาจทำให้รู้สึกหิวอย่างต่อเนื่อง และอาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น โรคอ้วน โรคกระดูกพรุน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคตับ อาการ อาการของโรคเพรเดอร์-วิลลี อาการโรคเพรเดอร์-วิลลี อาจแตกต่างกันออกไปตามช่วงวัย โดยเริ่มตั้งแต่ทารกไปจนถึงผู้ใหญ่ ดังนี้ อาการของโรคเพรเดอร์-วิลลีในทารก กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถทรงตัวได้ ดวงตามีลักษณะเป็นวงรี คล้ายเมล็ดอัลมอนด์ ศีรษะ มือ และเท้ามีขนาดเล็ก ริมฝีปากบางและคว่ำลง รับประทานอาหารยาก ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า ตื่นยาก ร้องไห้เสียงเบา มีปัญหาการนอนหลับ ระบบสืบพันธุ์ไม่พัฒนา เช่น องคชาต ถุงอัณฑะ คลิตอริสมีขนาดเล็ก อาการของโรคเพรเดอร์-วิลลีในเด็กและผู้ใหญ่ มีความอยากอาหารอย่างต่อเนื่อง มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ล่าช้า มีความบกพร่องด้านการรับรู้ การแก้ไขปัญหา การใช้เหตุผล […]


การดูแลทารก

วิธีลดไข้ทารกแรกเกิด และการป้องกันลูกเป็นไข้

ทารกเป็นไข้ อาจเป็นเรื่องปกติที่คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่พบเจอ เนื่องจากทารกแรกเกิดยังมีการพัฒนาของระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่สมบูรณ์ จึงอาจส่งผลให้ร่างกายได้รับเชื้อก่อโรคได้ง่าย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาถึง วิธีลดไข้ทารกแรกเกิด รวมถึงคอยสังเกตอาการผิดปกติ เพราะหากทารกมีไข้สูงเกินกว่า 38 องศาขึ้นไป และไม่ลดลงภายใน 24 ชั่วโมง ควรพาพบคุณหมอทันที เพื่อป้องกันอาการชักจากไข้สูงที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ทำให้ทารกแรกเกิดเป็นไข้ สาเหตุที่อาจทำให้ทารกแรกเกิดเป็นไข้ มีดังนี้ การฉีดวัคซีน ไข้ เป็นหนึ่งในผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยจากการฉีดวัคซีน เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันมีการตอบสนองต่อวัคซีน อาจเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน 12 ชั่วโมง และอาจมีไข้นาน 2-3 วัน สภาพอากาศ สภาพอากาศที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด อาจส่งผลให้ทารกเป็นไข้ได้ เนื่องจากร่างกายของทารกมีประสิทธิภาพในการควบคุมอุณหภูมิได้ไม่ดีพอ นอกจากนี้ การสวมเสื้อผ้าหลายชั้นให้ทารก การเปิดแอร์ในอุณหภูมิที่เย็นจัด หรือการให้ทารกโดนแสงแดดมากเกินไป ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้ทารกเป็นไข้ได้เช่นกัน การติดเชื้อ ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่มีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ยังไม่สมบูรณ์ ซึ่งอาจส่งผลให้ทารกติดเชื้อได้ง่าย ส่งผลให้มีโอกาสเป็นไข้ และเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัดธรรมดา โรคปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะขาดน้ำ ทารกแรกเกิดที่ได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำและมีอุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้น จนทำให้มีไข้ ตัวร้อน อาการที่ควรสังเกต อาการเป็นไข้ที่ควรสังเกต มีดังนี้ ทารกไม่ยอมกินนม ง่วงนอนบ่อย หรืออาจตื่นยากผิดปกติ ตัวร้อน […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ไอมีเสมหะ ไม่มีไข้ ในเด็ก เกิดจากสาเหตุอะไร

ไอมีเสมหะ ไม่มีไข้ ในเด็ก มีสาเหตุจากอาการระคายเคืองในลำคอหรือการสูดดมสิ่งแปลกปลอมเข้าไป จนทำให้เกิดอาการสำลักและไอออกมา หรืออาจมีสาเหตุจากการติดเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจ ส่งผลให้ร่างกายขับเมือกหรือสารคัดหลั่งออกมามากขึ้น จนเกิดอาการไอมีเสมหะ โดยปกติอาการไอที่เกิดจากการติดเชื้อมักมีไข้ร่วมด้วย แต่ในบางกรณี อาการไออาจเกิดขึ้นเป็นเวลานานแม้ว่าไข้จะหายดีแล้ว จึงยังอาจทำให้เด็กไอมีเสมหะ แต่ไม่มีไข้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรพาเด็กเข้าพบคุณหมอหากอาการไอไม่ดีขึ้นหลังจากผ่านไปหลายสัปดาห์ [embed-health-tool-vaccination-tool] ไอมีเสมหะ ไม่มีไข้ เกิดจากอะไร ไอมีเสมหะ ไม่มีไข้ อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การระคายเคืองในลำคอหรือระบบทางเดินหายใจ สภาพแวดล้อมอาจมีสารระคายเคืองที่อาจทำให้เกิดอาการไอได้ เช่น ควัน ฝุ่นละออง มลภาวะในอากาศ ซึ่งอาจทำให้ระบบทางเดินหายใจระคายเคือง ส่งผลให้ร่างกายผลิตเสมหะที่มากขึ้น จนเกิดอาการไอมีเสมหะและระคายคอ การรักษา อาการไอมีเสมหะจากสาเหตุดังกล่าว คุณพ่อคุณแม่อาจล้างจมูกให้เด็กด้วยการใช้หลอดฉีดยาดูดน้ำเกลือและฉีดเข้าไปในจมูก เพื่อให้น้ำเกลือเข้าไปล้างสิ่งสกปรกรวมถึงเมือกในจมูก ซึ่งอาจช่วยให้เด็กหายใจโล่งขึ้นและบรรเทาอาการไอมีเสมหะได้ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในพื้นที่ที่มีความแออัด มีฝุ่นควันหรือมลภาวะทางอากาศ เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ เสมหะในคอ โดยปกติร่างกายจะผลิตเสมหะตามธรรมชาติ ซึ่งอาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค แต่ในบางกรณี หากร่างกายผลิตเมือกหลังโพรงไซนัสมากเกินไปอาจทำให้เมือกไหลลงไปด้านหลังคอ จนทำให้มีอาการระคายคอ ไอมีเสมหะ เจ็บคอ คลื่นไส้ หรือมีกลิ่นปากได้ การรักษา เพื่อช่วยบรรเทาอาการเสมหะในลำคออาจทำได้ด้วยการดื่มน้ำมากขึ้นประมาณ 2-3 ลิตร/วัน หรืออาจใช้เครื่องทำความชื้นภายในบ้านเพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นในลำคอ นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถล้างจมูกให้เด็ก ด้วยการใช้หลอดฉีดยาฉีดน้ำเกลือเข้าทางจมูก เพื่อล้างเมือกและสิ่งสกปรกภายในจมูก ซึ่งอาจช่วยลดปริมาณเสมหะและทำให้เด็กหายใจสบายขึ้น การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เป็นการติดเชื้อในส่วนต่าง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน