พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

การดูแลทารก

ท่าอุ้มเรอ สำหรับเด็กทารก มีอะไรบ้าง

สาเหตุที่ทำให้ทารกเรอ เกิดจากการกลืนอากาศมากเกินไปในขณะดูดนมจากขวดหรือจากเต้าของคุณแม่ หรืออาจเกิดจากแพ้โปรตีนในนม ทำให้มีแก๊สสะสมในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้มีอาการท้องอืด ปวดท้อง และอาจอาเจียน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาท่าอุ้มเรอ เพื่อช่วยไล่แก๊สออกหลังจากลูกกินนมเสร็จ เพื่อให้ลูกไม่อึดอัด และมีความสบายตัวมากขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกเรอ ดีต่อสุขภาพอย่างไร การทำให้ทารกเรออาจช่วยลดแก๊สที่สะสมอยู่ในช่องท้อง ซึ่งอาจเกิดจากอากาศที่กลืนเข้าไประหว่างดูดนม หรืออาจเกิดจากปฏิกิริยาตอบสนองต่อโปรตีนในนมวัว และสารก่อภูมิแพ้เช่น ไข่ ถั่ว น้ำอัดลม ผักบางชนิด ที่ปะปนในน้ำนมคุณแม่ ทำให้ร่างกายของทารกสร้างแก๊สในกระเพาะอาหาร และอาจส่งผลให้ทารกมีอาการปวดท้อง ท้องอืด หรืออาเจียน ดังนั้น จึงควรทำให้ทารกเรอหลังจากกินนมเสร็จด้วยการอุ้มและลูบหลังลูกน้อยเบา ๆ เพื่อช่วยขับแก๊สออกจากช่องท้อง และป้องกันการแหวะนม และปวดท้อง งานวิจัยหนึ่งของสถาบันการศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ ประเทศอินเดีย ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Child: care, health and development พ.ศ. 2557 ได้ทำการประเมินประสิทธิภาพของการเรอในการลดอาการแหวะนมของทารก โดยทดลองแบบสุ่มในแม่ลูก 71 คู่ เป็นเวลา 3 เดือน พบว่าการเรออาจช่วยลดอาการแหวะนมได้ ท่าอุ้มเรอ ที่เหมาะสมสำหรับทารก ท่าอุ้มเรอ ที่แนะนำมีดังนี้ ท่าอุ้มนั่งบนตัก หลังจากทารกกินนมเสร็จ ให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกนั่งบนตัก และใช้มือข้างหนึ่งประคองตัวทารกโดยจับไว้ที่บริเวณหน้าอก จากนั้นเอนตัวทารกไปข้างหน้าเล็กน้อย และใช้มืออีกข้างหนึ่งลูบหลังทารกเป็นวงกลม […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกชอบร้องตอนกลางคืน เพราะอะไร มีวิธีแก้ไขอย่างไร

ลูกชอบร้องตอนกลางคืน อาจเป็นพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจเพื่อแสดงความรู้สึกหรือความต้องการของทารก เช่น รู้สึกโกรธ เศร้า หิว คิดถึงพ่อแม่ ตกใจ ไม่สบายตัว อาการร้องไห้ตอนกลางคืนส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในทารกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน พ่อแม่จึงอาจต้องสังเกตพฤติกรรมและอารมณ์ของทารกเพื่อช่วยในการปลอบประโลม และแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด [embed-health-tool-baby-poop-tool] สาเหตุที่ลูกชอบร้องตอนกลางคืน ทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน อาจชอบร้องตอนกลางคืน โดยมีสาเหตุ ดังนี้ ความหิว อาจเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่ทำให้ทารกชอบร้องตอนกลางคืน เนื่องจากทารกเป็นวัยที่ต้องการการนอนหลับประมาณ 14-17 ชั่วโมงในหนึ่งวัน แต่อาจนอนหลับได้เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ต่อครั้ง ซึ่งทารกแรกเกิดยังคงมีกระเพาะเก็บอาหารที่เล็กและเป็นวัยที่ร่างกายเติบโตอย่างรวดเร็ว ทารกจึงอาจหิวบ่อยกว่าเด็กช่วงวัยอื่น จึงจำเป็นต้องได้รับอาหารบ่อยครั้งแม้แต่ในช่วงเวลากลางคืน ความคิดถึงพ่อแม่ ทารกที่ตื่นกลางดึกแล้วไม่เจอพ่อแม่อยู่ข้าง ๆ อาจรู้สึกคิดถึงพ่อแม่จนร้องไห้กลางดึก โดยเฉพาะทารกอาจมีอาการติดเต้าแม่ ทำให้ตื่นบ่อย ๆ ได้ ความไม่สบายตัว อาจมีสาเหตุมาจากอุณหภูมิในห้อง ความเปียกชื้นของผ้าอ้อม การห่อตัวที่แน่นเกินไป ปัจจัยเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่ทำให้ทารกรู้สึกไม่สบายตัวและร้องไห้ตอนกลางคืนได้เช่นกัน สิ่งรบกวน การมีสิ่งกระตุ้นให้ทารกตื่นตกใจกลางดึก เช่น แสงไฟ เสียงดัง อาจทำให้ทารกร้องไห้ตอนกลางคืนได้ อาการโคลิก (Colic) เป็นอาการที่ทารกร้องไห้งอแงหนักมากและบ่อยครั้ง ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในตอนกลางคืน พบมากในทารกอายุประมาณ 6 สัปดาห์ […]


การดูแลทารก

ลูกร้องไม่หยุด เกิดจากอะไร และควรทำอย่างไร

ลูกร้องไห้เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นบ่อยกับทารก เนื่องจากลูกน้อยยังไม่สามารถสื่อสารแสดงความต้องการหรือความรู้สึก เช่น หิว ไม่สบายตัว มีไข้ ออกมาเป็นคำพูดได้ จึงแสดงออกมาเป็นการร้องไห้แทนแต่หากสังเกตว่า ลูกร้องไม่หยุด และร้องเป็นเวลานาน หรือที่เรียกว่าอาการโคลิค แต่มักจะเกิดในเด็กเล็ก คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาถึงวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการเบื้องต้น หรือขอคำแนะนำจากคุณหมอเพิ่มเติม [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกร้องไม่หยุด เกิดจากอะไร การที่ทารกร้องไห้ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นการส่งสัญญาณบอกคุณแม่เมื่อรู้สึกหิว ปวดท้อง เจ็บป่วย ไม่สบายตัวจากผ้าอ้อมเปียกชื้น ทารกมักร้องไห้ 2-3 ชั่วโมง/วัน สำหรับทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน อาจจะร้องไห้บ่อยช่วงบ่ายและหัวค่ำ และจะค่อย ๆ เลิกร้องไห้บ่อยได้เองเมื่อเติบโตขึ้น แต่หากทารกมีอาการร้องไห้ไม่หยุด ร้องไห้โดยไม่ทราบสาเหตุ และร้องไห้อย่างหนักบ่อยครั้ง หรือที่เรียกว่าอาการโคลิค อาจเกิดจากปัจจัยหลายประการ ดังต่อไปนี้ มีแก๊สในกระเพาะอาหารมากเกินไป ทารกอาจสูดหายใจรับอากาศลงช่องท้องมากเกินไประหว่างการกินนมหรือการร้องไห้ ทำให้มีแก๊สในกระเพาะอาหารมากเกินไป และอาจทำให้ทารกรู้สึกจุดเสียด ปวดท้อง จนร้องไห้ไม่หยุด แพ้โปรตีนในนม หรือแพ้สารอาหารบางอย่างที่อยู่ในนมแม่ เช่น ไข่ ถั่ว ข้าวสาลี อาจทำให้ทารกมีอาการไม่สบายท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย เพื่อบรรเทาอาการแพ้นมควรให้ทารกเปลี่ยนมากินนมสูตรโมเลกุลเล็ก ย่อยง่ายเป็นเวลา 1 สัปดาห์ นอกจากนี้ คุณแม่ที่ให้นมลูกควรหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกปวดฟันผุ คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร

ปวดฟันผุ เป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังที่อาจพบได้บ่อยในเด็ก อาการที่อาจเกิดจากเนื้อฟันอักเสบและติดเชื้อ โดยอาการมักเกิดขึ้นหลังจากฟันได้รับความเสียหายหรือเกิดโพรงที่เนื้อฟัน ซึ่งเป็นผลมาจากการรักษาสุขอนามัยในช่องปากไม่ดี เนื่องจากการสะสมของน้ำตาลและแป้งจากอาหารทำให้แบคทีเรียภายในปากเจริญเติบโต ผลิตกรดทำลายฟันจนกลายเป็นฟันผุ ส่งผลให้ ลูกปวดฟันผุ อาการปวดฟันผุ เด็กแต่ละคนอาจมีอาการปวดฟันผุแตกต่างกัน แต่อาการที่อาจพบได้บ่อยอาจมีดังนี้ เด็กมีอาการปวดฟันผุอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เด็กมักมีอาการปวดฟันมากขึ้นเมื่อสัมผัสกับฟันซี่ที่ผุ เด็กอาจรู้สึกปวดฟันมากขึ้นเมื่อเคี้ยวอาหาร หรือรับประทานอาหารร้อนหรือเย็น เด็กอาจรู้สึกเจ็บปวดกรามหรือบริเวณรอบ ๆ ฟันซี่ที่ผุ เด็กบางคนอาจมีไข้ร่วมกับอาการเหนื่อย อ่อนแรง วิงเวียนศีรษะ ลูกปวดฟันผุ เพราะอะไร ฟันผุ เป็นสาเหตุของอาการปวดฟันผุ เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและแป้ง ซึ่งเป็นอาหารให้กับแบคทีเรียในช่องปาก แบคทีเรียเหล่านี้จะผลิตกรดซึ่งทำลายเคลือบฟันคือผิวฟันด้านนอกจนเนื้อฟันอาจมีสีดำหรือสีน้ำตาล เมื่อเวลาผ่านไปและไม่แปรงฟันให้สะอาดหรือไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง กรดจะค่อย ๆ ทำลายเนื้อฟันไปเรื่อย ๆ จนเป็นโพรงที่ฟันและทำให้มีอาการปวดฟันผุเกิดขึ้น วิธีรักษาอาการปวดฟันผุ การรักษาอาการปวดฟันผุ คุณหมออาจวินิจฉัยอาการด้วยตาเปล่าหรืออาจใช้เครื่องเอ็กซ์เรย์ฟันร่วมด้วยหากฟันผุรุนแรงมากและเป็นโพรงลึกลงไปถึงรากฟัน คุณหมออาจมีวิธีรักษาฟันผุเพื่อบรรเทาอาการหรือทำให้หายปวดฟันได้ ดังนี้ การกินยา เช่น ปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน การบ้วนน้ำเกลืออุ่น ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน การถอนฟันซี่ที่ผุ วิธีนี้จะช่วยทำให้อาการปวดฟันผุหายได้แต่อาจต้องสูญเสียฟันหากฟันซี่ที่ผุ การอุดฟัน เป็นการกำจัดเอาเนื้อฟันส่วนที่ผุออกและใช้วัสดุอุดฟันปิดช่องว่าง การระบายหนองที่ติดเชื้อออก ฟันผุที่เกิดขึ้นเป็นเวลานานอาจติดเชื้อและมีหนองมาก คุณหมออาจพิจารณาระบายหนองออกเพื่อลดการติดเชื้อ การรักษาคลองรากฟัน ซึ่งเป็นช่องว่างที่อยู่ในรากฟัน เพื่อกำจัดเอาเนื้อเยื่อโพรงฟันและคลองรากฟันที่อักเสบและติดเชื้อออก จากนั้นทำความสะอาดและอุดปิดช่องว่างที่คลองรากฟัน หากอาการฟันผุมีการติดเชื้อรุนแรง คุณหมออาจให้เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลและให้ยาปฏิชีวินะผ่านทางหลอดเลือดดำ วิธีป้องกันอาการปวดฟันผุ คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันปัญหาฟันผุให้กับลูกได้ด้วยวิธีต่อไปนี้ ควรเริ่มแปรงฟันให้ลูกตั้งแต่เริ่มมีฟันน้ำนมซี่แรก ช่วงแรกเกิดถึง […]


สุขภาพเด็ก

เด็กไม่ค่อยกินข้าว สาเหตุและวิธีแก้ไข

เด็กไม่ค่อยกินข้าว อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาการบดเคี้ยว ปัญหาสุขภาพ การกินของว่างบ่อยเกินไป การแพ้อาหาร ซึ่งอาจลดความอยากอาหารของเด็กทำให้เด็กกินข้าวได้น้อยลง ส่งผลทำให้พ่อแม่กังวลใจว่าเด็กอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เสี่ยงเกิดปัญหาขาดสารอาหาร พัฒนาการทางสมองและร่างกายล่าช้า ซึ่งการส่งเสริมให้เด็กกินอาหารหลากหลายในปริมาณที่มากขึ้นและรู้ถึงความสำคัญของอาหารอาจช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่ เด็กไม่ค่อยกินข้าว เด็กไม่ค่อยกินข้าว อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ ดังนี้ ปัญหาทางประสาทสัมผัส (Sensory) เด็กไม่ค่อยกินข้าว อาจมีสาเหตุมาจากประสาทสัมผัสการรับรู้รสชาติ สีสัน กลิ่น หรืออาการแพ้อาหารบางชนิด เนื่องจากเด็กบางคนอาจไม่ชอบรสชาติของผัก ไม่ชอบสีและกลิ่นของอาหารบางชนิด หรืออาจมีอาการแพ้อาหาร เช่น แพ้แลคโตส ความไวต่อสัมผัสเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กรู้สึกไม่อยากกินข้าว ปัญหาการรับประทานอาหาร เด็กบางคนอาจมีอาการที่ส่งผลกระทบต่อการรับประทานอาหาร เช่น เด็กฟันน้ำนมงอกหรือฟันน้ำนมหลุด เด็กปวดฟัน เจ็บคอ เด็กไอหรือสำลักอาหารบ่อยครั้ง เด็กมีกรดไหลย้อน มีแผลในปากหรือลำคอ ปัญหาเหล่านี้อาจทำให้เด็กรู้สึกวิตกกังวลหรือเครียดเมื่อต้องรับประทานอาหาร อาจมีความรู้สึกกลัวความเจ็บปวดเมื่อเคี้ยวอาหาร กลัวการสำลัก ซึ่งอาจทำให้การกินอาหารลำบากขึ้น ความสุขในการกินอาหารลดลง ส่งผลให้ เด็กไม่ค่อยกินข้าว การกินอาหารบ่อยเกินไป การให้เด็กกินอาหารว่างบ่อยเกินไปอาจทำให้เด็กไม่ค่อยอยากกินข้าวมื้อหลัก เพราะอาจรู้สึกอิ่มจากอาหารว่างในระหว่างวัน นอกจากนี้ การให้เด็กกินอาหารว่างบ่อย ๆ โดยเฉพาะขนมหวาน น้ำอัดลม เค้ก คุกกี้ อาจเพิ่มแนวโน้มการเกิดโรคอ้วนในเด็กได้เช่นกัน ความเครียดและความวิตกกังวล ความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นภายในบ้านส่งผลให้เกิดอารมณ์เชิงลบ เช่น พ่อแม่ทะเลาะกัน ซึ่งอาจกระทบต่อเด็ก อาจทำให้เด็กรู้สึกเครียดและวิตกกังวลจนเด็กบางคนอาจเกิดความรู้สึกเบื่ออาหารและไม่ค่อยกินข้าวได้ ปัญหาสุขภาพ ปัญหาสุขภาพบางประการอาจส่งผลกระทบต่อความอยากอาหารของเด็กซึ่งอาจทำให้ เด็กไม่ค่อยกินข้าว เช่น หลอดอาหารอักเสบ (Eosinophilic […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูก 2 ขวบ ท้องผูก สาเหตุและการรักษา

ลูก 2 ขวบ ท้องผูก เป็นปัญหาที่คุณแม่คุณพ่ออาจพบบ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฝึกให้ลูกขับถ่ายในช่วงอายุ 2-3 ขวบ เนื่องจากในช่วงอายุนี้ การบีบตัวของลำไส้ไม่ดีทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวช้าลงจนอาจทำให้อุจจาระแห้งและแข็ง ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการรับประทานอาหารเส้นใยน้อย ลูกกลัวการเข้าห้องน้ำ การกลั้นอุจจาระ หรือการใช้ยาบางชนิด แม้อาการท้องผูกอาจเกิดขึ้นชั่วคราว แต่การรักษาและการป้องกันที่ถูกวิธีอาจช่วยลดอาการท้องผูกของลูกกได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ทำให้ลูก 2 ขวบท้องผูก สำหรับสาเหตุที่อาจทำให้ลูก 2 ขวบ ท้องผูก มีดังนี้ อาหาร เนื่องจากการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยน้อย เช่น อาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากนม ขนมหวาน รวมทั้งการดื่มน้ำไม่เพียงพอ และเด็ก ๆ มักจะรับประทานยาก เลือกรับประทาน รับ ประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ อาจทำให้อุจจาระแห้งและแข็ง ซึ่งเป็นปัญหาส่วนใหญ่ที่ทำให้ลูกท้องผูก ไม่ได้รับการฝึกเข้าห้องน้ำ ลูก 2 ขวบส่วนใหญ่สนใจการเล่นมากกว่าเรียนรู้การเข้าห้องน้ำ เด็กบางคนอาจรู้สึกอายเมื่อต้องร้องขอให้ผู้ใหญ่พาไปเข้าห้องน้ำ จึงอาจอั้นอุจจาระเป็นเวลานานทำให้อุจจาระแห้งและแข็งขึ้นจนกลายเป็นอาการท้องผูก การเปลี่ยนสถานที่และการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน ในบางครั้งการพาเด็กไปพักนอกบ้าน ไปโรงเรียนครั้งแรก หรือไปเข้าห้องน้ำสาธารณะอาจทำให้เด็กรู้สึกเขินอาย และไม่คุ้นชิน จนไม่อยากเข้าห้องน้ำ หรือเด็กบางคนอาจอุจจาระไม่ออกเมื่อต้องเข้าห้องน้ำนอกบ้าน การไม่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายมีส่วนช่วยให้อุจจาระเคลื่อนผ่านลำไส้ได้ง่ายขึ้น สำหรับเด็กบางคนที่ไม่ค่อยออกกำลังกายหรือขยับร่างกายอาจส่งผลให้มีอาการท้องผูกได้ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

เพศทางเลือก และการมีบุตร

เพศทางเลือก หมายถึง กลุ่มบุคคลซึ่งมีอัตลักษณ์ทางเพศ ไม่ตรงกับอวัยวะเพศหรือโครงสร้างของร่างกาย อาจเป็นคนที่ร่างกายเป็นชาย แต่รับรู้ รู้สึก และระบุว่าตนเองเป็นเพศหญิง หรือผู้ที่ร่างกายเป็นหญิง แต่มีความรู้สึกและระบุว่าตนเองเป็นผู้ชาย รวมทั้งผู้ที่ไม่สามารถกำหนดให้ตนเองเป็นเพศชายหรือเพศหญิงอย่างใดอย่างหนึ่ง คู่รักเพศทางเลือกมักใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน แต่ปัญหาหนึ่งซึ่งคู่รักเพศทางเลือกต้องเจอ คือต้องการมีบุตรแต่มีไม่ได้ เนื่องจากข้อจำกัดทางธรรมชาติ รวมทั้งข้อจำกัดด้านกฎหมาย ทั้งนี้ คู่รักเพศทางเลือกที่ต้องการมีบุตรอาจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมถึงโอกาสและความเป็นไปได้ในการมีบุตรเพื่อสร้างครอบครัวที่อบอุ่นต่อไป การมีบุตรของเพศทางเลือก เพศทางเลือกสามารถมีบุตรได้ ด้วยวิธีการต่อไปนี้ แต่ในบางกรณีอาจต้องรอให้ข้อกฎหมายผ่านอนุมัติก่อน การรับบุตรธรรม การรับบุตรบุญธรรม คือ การรับลูกคนอื่นมาเลี้ยงเสมือนเป็นลูกตัวเอง ภายใต้ข้อหนดทางกฏหมาย ซึ่งคุณสมบัติของผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุมากกว่าผู้ที่จะรับมาเป็นบุตรบุญธรรม 15 ปี ผู้จะรับบุตรบุญธรรมถ้ามีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน แต่ในกรณีของประเทศไทย พระราชบัญญัติสมรสเท่าเทียมปัจจุบันยังไม่ผ่านการพิจารณาโดยฝ่ายนิติบัญญติ ทำให้สถานะของคู่รักเพศทางเลือก ยังไม่เท่ากับ “สามีและภรรยา” หรือ “คู่สมรส” ตามกฎหมาย ดังนั้น การรับบุตรบุญธรรม จึงอาจให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมเพียงคนเดียวในเชิงนิตินัย แต่สามารถร่วมกันเลี้ยงดูบุตรบุญธรรม และทำหน้าที่เป็นบิดามารดาทางพฤตินัยได้ การอุ้มบุญ การอุ้มบุญ คือ การให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนคู่รัก ด้วยการปฏิสนธิภายนอก หรือการฝังตัวอ่อนของเด็กเข้าไปในท้อง ในประเทศไทย เพศทางเลือกไม่สามารถมีบุตรโดยการอุ้มบุญ เช่นเดียวกับชายโสดและหญิงโสด ส่วนในกรณีของคู่สมรสชายหญิง การอุ้มบุญทุกครั้งจำเป็นต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการคุ้มครองเด็กก่อน ในประเทศที่อนุญาต การอุ้มบุญเป็นทางเลือกมีบุตรของคู่รักชายรักชาย เนื่องจากคู่รักชายรักชายไม่มีรังไข่ หากคู่รักเพศทางเลือกของคนไทยเป็นชาวต่างชาติอาจมีบุตรได้ด้วยวิธีนี้ ทั้งนี้ […]


สุขภาพเด็ก

อาการโคลิค ในทารกแรกเกิด และวิธีรักษา

อาการโคลิค คืออาการที่ทารกร้องไห้โดยไม่ทราบสาเหตุและร้องไห้บ่อยโดยเฉพาะในช่วงค่ำหรือกลางคืน อาจเกิดขึ้นในทารกแรกเกิดอายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป และจะค่อย ๆ ร้องไห้น้อยลงเมื่ออายุได้ 3-4 เดือน ปกติแล้วทารกมักจะร้องไห้เพื่อส่งสัญญาณบอกคุณพ่อคุณแม่เมื่อรู้สึกหิว ไม่สบายตัว แต่สำหรับอาการโคลิค ทารกจะร้องไห้มากกว่าปกติเป็นเวลานานวันละ 3 ชั่วโมงขึ้นไป ซึ่งอาจสร้างความเครียดและความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ สาเหตุของอาการโคลิค  โคลิค เป็นอาการที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิดตั้งแต่ 3 สัปดาห์ถึง 3 เดือน โดยทารกมักจะร้องไห้เวลาซ้ำ ๆ เดิม ๆ และมักร้องนานได้ ถึง 100 วัน โดยสาเหตุการเกิดอาจเกิดจากหลาย ๆ ปัจจัย อาการโคลิคอาจเกิดขึ้นเมื่อทารกรู้สึกปวดท้อง จุกเสียด เนื่องจากในกระเพาะอาหารมีแก๊สมาก ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการที่ระบบย่อยอาหารของทารกยังทำงานไม่เต็มที่ อาการปวดท้อง และส่งสัญญาณบอกด้วยการร้องไห้เป็นเวลานาน ทำให้เกิดความวิตกกังวลกับคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้เลี้ยงดู นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าการที่ทารกร้องไห้อาจเป็นการแสดงความรู้สึกขณะปรับตัวต่อโลกภายนอก เนื่องจากหลังคลอด ทารกจะ เห็นแสงสว่าง วัตถุรอบตัว และได้ยินเสียงชัดขึ้นกว่าตอนอยู่ในท้อง ทำให้อาจไม่ชิน ควบคุมอารมณ์และปรับตัวยาก ดังนั้น จึงทำให้ทารกอาจร้องไห้ออกมา เมื่อทารกเติบโตขึ้นอาจทำให้อาการโคลิคค่อย ๆ บรรเทาลงจนหายได้เอง อาการโคลิค […]


การดูแลทารก

วิธีจับลูกเรอ ป้องกันอาการจุดเสียด ท้องอืด ทำได้อย่างไร

ทารกแรกเกิดอาจมีระบบย่อยอาหารที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้การย่อยอาหารยังทำได้ไม่ดี ส่งผลให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร อาการจุดเสียด กรดไหลย้อน และอาเจียนหลังกินนม การทำให้ลูกเรอ จึงอาจช่วยขับแก๊สออกจากกระเพาะ และลดอาการท้องอืด จุกเสียดได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษา วิธีจับลูกเรอ และวิธีป้องกันการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร เพื่อช่วยให้ลูกน้อยสบายตัว ลดอาการท้องอืด [embed-health-tool-vaccination-tool] ทำไมควรทำให้ทารกเรอหลังจากกินนม ระหว่างที่ทารกกินนมอาจทำให้กลืนอากาศเข้าไปในช่องท้อง ส่งผลให้เกิดการสะสมของแก๊สในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ โปรตีนในนมวัว และสารอาหารบางชนิดที่คุณแม่รับประทาน เช่น ไข่ ถั่ว กะหล่ำ น้ำอัดลม โซดา ขนมที่มีน้ำตาลสูง อาจปะปนในน้ำนม เมื่อทารกกินนมจึงทำให้ร่างกายตอบสนองโดยการสร้างแก๊สในช่องท้องมากขึ้น ทำให้ทารกปวดท้อง ไม่สบายตัว และแสดงอาการออกมาเป็นการร้องไห้ ดังนั้น การทำให้ลูกน้อยเรอหลังจากดื่มนมจะช่วยระบายแก๊สส่วนเกินในกระเพาะอาหารเหล่านี้ออกไป วิธีจับลูกเรอ ทำอย่างไร วิธีจับลูกเรอ อาจทำได้ด้วยการอุ้มท่าต่าง ๆ ดังนี้ อุ้มลูกพาดไหล่ คุณพ่อคุณแม่ควรอุ้มทารกพาดไหล่แนบชิดกับหน้าอก โดยให้หลังทารกตั้งตรง ใช้แขนข้างหนึ่งประคองก้น และจับศีรษะทารกพิงกับไหล่เอาไว้ จากนั้นใช้มืออีกข้างตบหลังทารกเบา ๆ หรือลูบหลังเป็นวงกลม เพื่อไล่อากาศ อุ้มลูกนั่งบนตัก หลังจากทารกกินนมเสร็จ ให้คุณพ่อคุณแม่จับลูก นั่งหลังตรงหันด้านข้างพิงกับหน้าอก และใช้มือประคองลำคอและศีรษะไว้ ใช้มืออีกข้างหนึ่งลูบหลังทารกเป็นวงกลมอย่างช้า ๆ หากทารกยังไม่เรอ ให้ลองตบหลังเบา ๆ […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

โรคเอ๋อ อาการ สาเหตุ การรักษาและการป้องกัน

โรคเอ๋อ คือ โรคที่เกิดจากภาวะขาดไทรอยด์อย่างรุนแรงในทารกแรกเกิด ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาต่อมไทรอยด์เติบโตผิดตำแหน่ง ต่อมไทรอยด์ขาดหายไปบางส่วน ไม่มีต่อมไทรอยด์ตั้งแต่กำเนิด หรือต่อมไทรอยด์ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ในบางกรณีอาจเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้ทารกมีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด อาจทำให้เกิดความบกพร่องทางระบบประสาทและการเจริญเติบโต มีภาวะปัญญาอ่อน แคระแกรน มีความผิดปกติทางกายภาพ มีอาการหน้าบวม ลิ้นบวม ลิ้นจุกปาก ร้องไห้งอแง ท้องผูก สะดือยื่น ดีซ่าน การตรวจคัดกรองและการดูแลตัวเองในขณะตั้งครรภ์ และการกินยาบำรุงครรภ์ของผู้เป็นแม่อาจช่วยป้องกันโรคเอ๋อในทารกได้ คำจำกัดความโรคเอ๋อ คืออะไร โรคเอ๋อ หรือภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด (Congenital Hypothyroidism หรือ CH) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ ต่อมไทรอยด์ขาดหายไปบางส่วน ไม่มีต่อมไทรอยด์ตั้งแต่กำเนิด หรือต่อมไทรอยด์ยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงไม่สามารถสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ฮอร์โมนไทรอยด์จำเป็นต่อการเจริญเติบโตที่ดีของสมอง และพัฒนาการของระบบประสาท เมื่อร่างกายของทารกมีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด ก็อาจทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อนหรือสติปัญญาพร่องในเด็ก นอกจากนี้ ยังอาจเกี่ยวข้องกับการขาดสารไอโอดีนของคุณแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ได้อีกด้วย เพราะร่างกายของทารกต้องการไอโอดีนเพื่อสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ อาการอาการของโรคเอ๋อ เด็กแรกเกิดส่วนใหญ่ไม่มีอาการที่แสดงออกว่าขาดฮอร์โมนไทรอยด์อย่างชัดเจน แต่อาจมีบางอาการที่แสดงถึงสัญญาณการขาดฮอร์โมนไทรอยด์ เช่น หน้าบวม ลิ้นบวมหนา เด็กร้องไห้มาก งอแง กรีดร้อง นอนนานขึ้นหรือนอนบ่อยขึ้น ท้องอืด ท้องผูก สะดือยื่นออกมา ปัญหาการรับประทานอาหาร กลืนลำบาก ภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย (Hypotonia) ผิวซีด ผิวเย็น ผิวแห้ง ดีซ่าน โตช้า มีปัญหาในการหายใจ เสียงแหบ ปัญญาอ่อน คอบวมจากต่อมไทรอยด์ที่ขยายใหญ่ขึ้น หรือคอพอก ภาวะแทรกซ้อนของโรคเอ๋อ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้ไอคิวของเด็กลดลง กระทบต่อการเจริญเติบโตและความแข็งแรงของกระดูก และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน