พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

โรคผิวหนังในเด็ก

7 สาเหตุที่ทำให้ ลูกเป็นผื่นที่หน้า

ลูกเป็นผื่นที่หน้า อาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น ผื่นผ้าอ้อม ผดร้อน ผื่นไขมัน สิวทารก ที่ส่งผลให้เกิดการคันระคายเคือง บวมแดง เจ็บแสบ เป็นตุ่ม คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดผื่นที่หน้าและผิวหนังส่วนอื่น ๆ ได้โดยการสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับลูกอย่างใกล้ชิดและพบคุณหมอ เพื่อรับการรักษาในทันที 7 สาเหตุที่ทำให้ ลูกเป็นผื่นที่หน้าและเป็นผื่นทั้งตัว  ผื่นที่ขึ้นอาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้ 1. ผื่นแพ้อักเสบ เป็นโรคผิวหนังที่เกิดขึ้นต่อเมื่อ ร่างกายของทารกสร้างเซราไมด์ (Ceramide) ที่เป็นเซลล์ไขมันน้อยเกินไป ส่งผลทำให้ผิวของลูกน้อยแห้ง ขาดความชุ่มชื้น จนนำไปสู่การเกิด ผื่นสีแดง หรือสีน้ำตาลอมเทาเป็นวง ตามจุดต่าง ๆ ของผิวหนัง เช่น ศีรษะ จมูก เปลือกตา คิ้ว หลังใบหู ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเด็กทารกช่วง 2-3 เดือน และอาจหายเป็นปกติเมื่ออายุ 8 เดือน อย่างไรก็ตามผื่นแพ้อักเสบ ก็อาจเกิดขึ้นกับเด็กโตจนถึงผู้ใหญ่ได้เช่นกัน วิธีรักษาและการป้องกัน หลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดผื่นแพ้อักเสบ เช่น ความร้อน เหงื่อ สารระคายเคืองจากขนสัตว์ สบู่ น้ำหอม ผงซักฟอก รวมทั้งอาหารบางอย่าง นอกจากนี้ […]


สุขภาพเด็ก

ลูกวัย 1 ขวบเบื่ออาหาร ทำอย่างไรดี

ลูกวัย 1 ขวบเบื่ออาหาร เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากเด็กเริ่มเติบโตเร็วขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวัยหัดเดิน สมองจะสั่งการให้เด็กรับประทานอาหารเท่าที่จำเป็นต่อพลังงานและการเจริญเติบโตของร่างกาย ทำให้เด็กอาจรับประทานอาหารน้อยลง แต่เมื่อเด็กโตขึ้นความอยากอาหารจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามช่วงวัย สาเหตุที่ทำให้ลูกวัย 1 ขวบเบื่ออาหาร ลูกวัย 1 ขวบอาจมีความอยากอาหารลดลง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งไม่กระทบต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของร่างกาย ทารกในช่วงปีแรกอาจมีน้ำหนักประมาณ 7-9 กิโลกรัม และน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1-2 กิโลกรัม/ปี จากนั้นน้ำหนักจะคงที่ไปเรื่อย ๆ หรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ประมาณ 3-4 เดือน ในช่วงนี้ร่างกายของลูกอาจต้องการแคลอรี่น้อยลง ซึ่งอาจส่งผลต่อความอยากอาหารที่ลดลง การเลือกรับประทานอาหารของเด็กนั้นยังถูกควบคุมโดยสมองที่ให้เลือกกินเฉพาะเท่าที่จำเป็นต่อการใช้พลังงานและการเจริญเติบโตของร่างกาย อีกทั้งช่วงนี้เริ่มมีฟันขึ้น อาจทำให้มีอาการเจ็บเหงือกเจ็บฟันทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง เมื่อลูกวัย 1 ขวบเบื่ออาหารอาจทำให้พ่อแม่รู้สึกกังวลถึงสุขภาพของลูก จนอาจพยายามบังคับให้ลูกกินมากกว่าที่ร่างกายต้องการ ซึ่งการบังคับให้กินนมหรืออาหารอาจยิ่งทำให้ลูกรู้สึกเบื่ออาหาร ดังนั้น พ่อแม่อาจต้องทำความเข้าใจถึงธรรมชาติของร่างกายลูกว่า อาการเบื่ออาหารอาจเป็นเรื่องปกติ และอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายในประมาณ 2-4 สัปดาห์ เมื่อลูกได้ควบคุมการกินอาหารด้วยตัวเอง ส่งผลให้ลูกอยากอาหารมากขึ้นและต้องการกินมากขึ้นตามช่วงวัย เพิ่มความอยากอาหารให้ลูกวัย 1 ขวบ เพื่อลดความกังวลให้กับพ่อแม่เมื่อลูกมีอาการเบื่ออาหาร วิธีต่อไปนี้อาจช่วยให้ลูกอยากอาหารมากขึ้น ควรให้ลูกจัดการกินอาหารด้วยตัวเอง เด็กวัย 1 ขวบ […]


สุขภาพเด็ก

ทารกไม่ยอมนอน สาเหตุและวิธีแก้ไข

ทารกไม่ยอมนอน อาจสร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ที่กลัวลูกจะไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ หรืออาจมีความผิดปกติเกิดขึ้น จริง ๆ แล้ว สาเหตุที่ทารกไม่ยอมนอน อาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น ความหิว ความตื่นตัว ติดพ่อแม่ ป่วย มีสิ่งรบกวน ปัจจัยเหล่านี้สามารถกระทบการนอนหลับของทารกอาจทำให้ทารกไม่ยอมนอนหรือตื่นกลางดึกบ่อยครั้ง การจัดการให้ทารกรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นและจัดตารางการนอนอย่างเหมาะสมอาจช่วยให้ทารกนอนหลับง่ายขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ทารกไม่ยอมนอน ปัจจัยที่ส่งผลกระทบทำให้ทารกนอนไม่ยอมนอนในตอนกลางคืน อาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ ทารกหิว ความหิวเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ทารกไม่ยอมนอนและตื่นกลางดึก เนื่องจากทารกแรกเกิดอาจกินนม ประมาณ 1-1.5 ออนซ์/ครั้งและนมจะถูกย่อยอย่างรวดเร็ว ทำให้ทารกหิวง่ายและหิวบ่อยขึ้น ให้ทารกกินนมให้อิ่มแต่พอดี อย่าให้อิ่มมากเกินไปเพราะอาจทำให้ท้องอืดและทำให้นอนหลับไม่สนิทได้ ทารกไม่รู้สึกเหนื่อย ทารกอาจยังรู้สึกสดชื่นมาก เพราะกำลังเล่นหรือเจอสิ่งที่น่าตื่นเต้นและน่าสนใจทำให้ทารกไม่รู้สึกเหนื่อยหรือง่วงนอน รวมถึงการนอนมากในตอนกลางวัน อาจทำให้ไม่เหนื่อยหรือง่วงนอนตอนกลางคืน ทารกต้องการพ่อแม่ ทารกบางคนอาจติดพ่อแม่มาก อยากเล่นกับพ่อแม่หรือพี่เลี้ยงในเวลากลางคืนจนไม่ยอมนอน หรือหากไม่มีพ่อแม่มากล่อมนอนอาจทำให้ทารกไม่ยอมนอน ทารกไม่สบาย อาจทำให้ทารกรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว ร้องไห้งอแงจนไม่ยอมนอน เช่น กรดไหลย้อน ฟันน้ำนมกำลังงอก เป็นหวัด ภูมิแพ้ มีแก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องผูก ทารกไม่รู้ว่าเป็นเวลากลางคืนหรือกลางวัน ทารกบางคนอาจเคยชินกับการนอนตอนกลางวันเป็นเวลานานจนอาจทำให้นอนไม่หลับในตอนกลางคืน หรือแสงไฟสว่างจากภายนอกอาจทำให้ทารกเข้าใจว่ายังเป็นตอนกลางวันและยังไม่ถึงเวลานอน มีสิ่งรบกวนการนอนของทารก ทารกมักอ่อนไหวต่อแรงกระตุ้นรอบตัวได้ง่าย หากบรรยากาศในห้องไม่อำนวยต่อการนอนหลับของทารก เช่น เสียงดัง มีแสงสว่างมาก […]


การดูแลทารก

ท่าอุ้มทารก และวิธีอุ้มทารกอย่างปลอดภัย

ทารกแรกเกิดมีโครงสร้างร่างกาย กระดูก และอวัยวะต่าง ๆ ที่ยังไม่แข็งแรง การอุ้มทารกจึงจำเป็นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษา ท่าอุ้มทารก ที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยของลูก และช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกได้รับความรัก ความอบอุ่นที่ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตใจ และช่วยให้มีอารมณ์ที่ดีมากขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] ประโยชน์ของการอุ้มทารก การอุ้มทารกอาจช่วยให้คุณแม่ให้นมลูกได้สะดวก ช่วยกระชับความสัมพันธ์ ส่งผลให้ทารกมีความสุข อารมณ์ดี นอนหลับสนิท อัตราการเต้นหัวใจคงที่ ปรับปรุงการหายใจ และร้องไห้น้อยลง เพราะการอุ้มลูกในอ้อมกอดอาจทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่น และรับรู้ได้ถึงความรักของคุณพ่อคุณแม่ งานวิจัยชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ในวารสารกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกาเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2529 ที่ทำการทดลองเกี่ยวกับการอุ้มทารกและความถี่ในการร้องไห้ ของทารกอายุ 6 สัปดาห์ ถึง 4 เดือน โดยให้คุณแม่เพิ่มความถี่ของการอุ้มทารกในช่วงเย็นที่ทารกมักจะร้องไห้บ่อย พบว่า การอุ้มอาจช่วยทำให้ลูกร้องไห้และงอแงน้อยลง 43% ในช่วงอายุ 3 เดือนแรก ท่าอุ้มทารก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ ท่าอุ้มทารก ที่ถูกต้องและปลอดภัย มีดังนี้ ท่าอุ้มประคองศีรษะ เนื่องจากกระโหลกศีรษะของทารกยังไม่แข็งแรง จึงควรอุ้มลูกอย่างระมัดระวัง โดยจับทารกนอนหงาย นำมือช้อนใต้ศีรษะและลำคอเพื่อประคองศีรษะของทารก และนำมืออีกข้างหนึ่งประคองใต้ก้นเมื่อถนัดมือแล้วจึงอุ้มทารกแนบเข้าหาลำตัวบริเวณหน้าอก ท่าอุ้มประคองทั้งตัว (The Cradle Hold) คือท่าอุ้มทารกที่ประคองให้ศีรษะทารกอยู่บริเวณข้อพับแขนของคุณพ่อคุณแม่ข้างใดข้างหนึ่ง และนำแขนอีกข้างข้างโอบกอดลำตัวทารกโดยให้ช่วงหลังและก้นของทารกอยู่บนแขน […]


สุขภาพเด็ก

วัดอุณหภูมิลูกได้ 36.7 องศา ถือว่า มีไข้ไหม ?

การวัดอุณหภูมิร่างกายของลูกได้ 36.7 องศา อาจหมายความว่าไม่มีไข้ เนื่องจากอุณหภูมิร่างกายของเด็กโดยปกติจะอยู่ที่ประมาณ 36.5-37.5 องศา อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมอาจส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิร่างกายได้ ดังนั้น จึงควรสังเกตอาการผิดปกติอื่น ๆ ของลูกร่วมด้วย เช่น งอแง ร้องไห้ไม่หยุด อาเจียน กินนมน้อย ท้องเสีย ซึม [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธีวัดอุณหภูมิร่างกายลูก การวัดอุณหภูมิร่างกายลูกควรวัดในอุณหภูมิห้องปกติ และไม่ควรวัดหลังจากลูกอาบน้ำ หรือออกกำลังกายเสร็จ เพราะอุณหภูมิร่างกายอาจเปลี่ยนแปลงจนทำให้ผลคลาดเคลื่อน อีกทั้งยังควรทำความสะอาดเทอร์โมมิเตอร์ก่อนและหลังใช้งาน และไม่ควรใช้เทอร์โมมิเตอร์เดียวกันวัดอุณหภูมิร่างกายส่วนอื่น เช่น ไม่ควรใช้เทอร์โมมมิเตอร์ที่อมในปากมาหนีบรักแร้ ถึงแม้ว่าจะทำความสะอาดแล้วก็ตาม วิธีวัดอุณหภูมิร่างกายลูกสามารถวัดได้ 5 วิธี ดังนี้ การวัดอุณหภูมิบนหน้าผาก เครื่องเทอร์โมมิเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นแบบดิจิตอล โดยสามารถนำเครื่องไปจ่อไปยังบริเวณหน้าผากของลูก จากนั้นกดปุ่มเพื่อให้เครื่องวัดและแสดงผลบนหน้าจอ การวัดอุณหภูมิทางช่องปาก เครื่องเทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตอลที่มีลักษณะเป็นแท่งยาว วางไว้ใต้ลิ้นของลูก และให้ลูกอมไว้จนกว่าสัญญาณเตือนของเครื่องจะดัง สำหรับแบบปรอทแก้ววัดไข้อาจเหมาะสำหรับใช้ในเด็กที่อายุ 5 ปีขึ้นไป ไม่เหมาะสำหรับเด็กเล็ก โดยให้ลูกอมไว้ใต้ลิ้นประมาณ 3 นาที แล้วอ่านผล แต่ไม่ควรใช้กับเด็กเล็กอาจทำให้เด็กเคี้ยวกัดจนปรอทแตกได้ และไม่ควรรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มก่อนวัดอุณหภูมิอย่างน้อย 15 นาที เพื่อป้องกันผลคลาดเคลื่อน การวัดอุณหภูมิบริเวณรักแร้ โดยใช้เทอร์โมมิเตอร์ได้ในรูปแบบดิจิตอลหรือแบบปรอทแก้วธรรมดาวางไว้ใต้รักแร้แนบหนังผิวหนัง หนีบไว้ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ทารกเสียงแหบ ที่อาจเกิดจากอาการโคลิก

ทารกเสียงแหบ อาจเกี่ยวข้องกับอาการโคลิก (Colic) ซึ่งเป็นอาการที่ทารกร้องไห้ โวยวาย กรีดร้องบ่อย ๆ มักพบในเด็กอายุ 6 สัปดาห์ อาจมีสาเหตุมาจากความไม่สบายตัวจนทำให้ทารกร้องไห้มากขึ้น จนอาจส่งผลให้กล่องเสียงอักเสบและทำให้ทารกเสียงแหบตามมา เสียงแหบที่เกิดขึ้นในทารกอาจหายได้เอง แต่ถ้าสังเกตพบว่าเสียงยังแหบเรื้อรังหลายวัน สัปดาห์ หรือเป็นเดือน อาจต้องพาทารกเข้าพบคุณหมอ เพื่อตรวจอาการที่เกิดขึ้นและรับการรักษา [embed-health-tool-baby-poop-tool] โคลิก คืออะไร โคลิก คือ อาการของทารกที่ร้องไห้งอแงมากและบ่อยครั้ง อาจพบบ่อยในเด็กทารกอายุประมาณ 6 สัปดาห์ และอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อเด็กอายุ 3-4 เดือนขึ้นไป โดยทารกจะร้องไห้ งอแง โวยวายมากขึ้นและบ่อยครั้ง การปลอบโยนหรือการกล่อมให้นอนอาจไม่ช่วยให้อาการร้องไห้งอแงดีขึ้น ส่วนใหญ่อาการมักเกิดขึ้นในเวลากลางคืน ส่งผลทำให้พ่อแม่เกิดความเครียด เหนื่อยล้า และกังวลในการดูแลทารก โคลิกเกิดขึ้นได้อย่างไร ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการโคลิก แต่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ การให้ทารกกินอาหารมากเกินไป น้อยเกินไป หรือทารกไม่ได้เรอหลังกินอาหาร อาจทำให้ทารกรู้สึกอึดอัดท้อง ไม่สบายตัว หรือหากกินน้อยเกินไปก็อาจทำให้ทารกรู้สึกหิวและร้องไห้งอแงมากขึ้นได้ ความไม่สมดุลของแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร ระบบย่อยอาหารที่ยังไม่สมบูรณ์ของทารกอาจเกี่ยวข้องกับความสมดุลของแบคทีเรียที่ช่วยย่อยอาหาร หากทารกกินอาหารที่ย่อยยาก เช่น นมผงบางชนิด อาจทำให้ทารกท้องอืด อาหารไม่ย่อยและร้องไห้มากจนเสียงแหบได้ ระบบย่อยอาหารยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทารกอาจมีระบบย่อยอาหารที่ยังไม่สมบูรณ์ การให้ทารกกินอาหารที่ย่อยยากอาจทำให้ทารกท้องอืด […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

8 เคล็ดลับเลี้ยงเด็กให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ

เด็กต้องการการเลี้ยงดูที่ทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัย แข็งแรง และได้เรียนรู้ ทั้งยังต้องการการสนับสนุนจากผู้ปกครอง เพราะเมื่อเด็กรู้สึกปลอดภัยและมีความสุข พวกเขาก็จะมีพัฒนาการและการเรียนรู้ที่ดี นอกจากนั้นการเป็นต้นแบบที่ดีให้กับเด็กก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ เพราะเด็กจะเริ่มเรียนรู้และเลียนแบบพฤติกรรม คำพูด และการกระทำของผู้เลี้ยงตั้งแต่เป็นทารก และอาจนำแบบอย่างเหล่านั้นมาใช้ในชีวิตประจำวันเมื่อโตขึ้น ดังนั้น เคล็ดลับการ เลี้ยงเด็ก จึงอาจเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ผู้ปกครองสามารถเลี้ยงลูกให้เติบโตอย่างมีความสุขและมีคุณภาพที่ดีได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] 8 เคล็ดลับเลี้ยงเด็กให้มีคุณภาพ การ เลี้ยงเด็ก ที่ดีถือว่ามีคุณภาพและพัฒนาการของเด็ก ดังนั้น เคล็ดลับการเลี้ยงเด็กให้มีคุณภาพ อาจทำได้ดังนี้ การเป็นแบบอย่างที่ดี เด็กจะเริ่มเรียนรู้ด้วยการหัดเลียนแบบพฤติกรรม คำพูดและการกระทำจากผู้ปกครอง หากผู้ปกครองเป็นแบบอย่างที่ดีก็จะทำให้เด็กจดจำและมีพฤติกรรมที่ดีตามไปด้วย ในทางกลับกัน หากผู้ปกครองชอบพูดเสียงดังโวยวาย ใช้ความรุนแรง พูดคำหยาบ ก็อาจทำให้เด็กเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่ดีได้เช่นกัน นอกจากนี้ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น สื่อโฆษณา โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วิดีโอเกม เพื่อนที่โรงเรียน ก็อาจเป็นแบบอย่างให้กับเด็กเช่นกัน ดังนั้น ผู้ปกครองต้องช่วยเด็กเลือกแบบอย่างที่ดีโดยการให้คำแนะนำ เช่น พูดยกตัวอย่างบุคคลใกล้ตัวที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กฟัง สอนให้เด็กสามารถระบุคุณสมบัติของแบบอย่างที่ดีที่เด็กชื่นชม จากนั้นผู้ปกครองอาจให้คำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อให้เด็กเข้าใจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งเด็กอาจเจอกับตัวอย่างที่ไม่ดีได้ คำแนะนำเหล่านี้อาจช่วยให้ผู้ปกครองสามารถพูดคุยกับเด็กให้เข้าใจมากขึ้น เช่น การพูดให้เด็กรู้ว่าทุกคนมีทั้งคุณสมบัติที่ดีและไม่ดี ทุกคนสามารถทำผิดพลาดได้ และหากทำผิดก็ควรขอโทษและเรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น การถามเด็กว่าคิดอย่างไรกับพฤติกรรมของต้นแบบนี้ และคิดว่าจะทำอะไรให้ต่างจากต้นแบบนี้บ้างในทางสร้างสรรค์เพื่อให้มีพฤติกรรมที่ดี อาจยกตัวอย่างวิธีจัดการกับสถานการณ์ในเชิงบวกให้เด็กฟัง เช่น […]


เด็กทารก

เด็ก งอแง สาเหตุและการดูแล

เด็ก งอแง เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความหิว ความง่วง กินอาหารมากเกินไป ความเจ็บปวดทางกาย ความร้อน ความหนาวเย็น หรืออาจเกิดจากอาการโคลิค (Colic) หรือการร้องไห้ตอนกลางคืน ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยในเด็กแรกเกิดถึง 3 เดือน ทำให้เด็กร้องไห้งอแงมากและอาจควบคุมได้ยาก การเข้าใจถึงสาเหตุและการดูแลให้เด็กรู้สึกสบายตัวมากที่สุดจึงอาจช่วยลดอาการงอแงได้ สาเหตุที่ทำให้เด็ก งอแง เด็ก งอแง อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ ความหิว เป็นสาเหตุที่อาจพบบ่อยที่สุด เนื่องจากเด็กอาจสื่อสารได้เพียงการร้องไห้เพื่อแสดงความต้องการอาหาร แต่เมื่อได้รับอาหารอย่างเพียงพอเด็กก็หยุดงอแง ความง่วง ทำให้เด็กงอแงได้ เนื่องจากเด็กอาจกำลังสื่อสารให้ผู้ปกครองพาเข้านอนและจัดท่าทางให้อยู่ในท่าที่สบาย เช่น การอุ้ม การตีก้น การห่อตัว แล้วจึงค่อย ๆ หลับลง การกินอาหารมากเกินไป การป้อนอาหารบ่อยและมากเกินไปอาจทำให้เด็กอึดอัดท้อง มีแก๊สในกระเพาะอาหาร ทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายตัว การใส่เสื้อผ้าที่ไม่เหมาะกับสภาพอากาศ อาจทำให้ทารกรู้สึกร้อนหรือหนาวเกินไป นอกจากนี้ การใช้ผ้าอ้อมที่ไม่สะอาดอาจทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองจนเกิดอาการคันหรือแสบร้อนจนทำให้เด็กงอแงได้เช่นกัน ความเจ็บปวด ได้แก่ แผลในปาก อาการปวดหู ผื่นผ้าอ้อม แผลที่ปลายองคชาต อาจทำให้เด็กมีอาการเจ็บและงอแงมากขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา อาการโคลิก เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิดอายุตั้งแต่ 3 […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

การวางแผนครอบครัว คืออะไร มีจุดประสงค์เพื่ออะไร

การวางแผนครอบครัว คือ การที่คู่รักหรือคู่แต่งงานกำหนดเป้าหมายร่วมกันเกี่ยวกับการสร้างครอบครัว เช่น จะมีลูกหรือไม่ จะมีลูกเมื่อใด จะมีลูกกี่คน เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะสุขภาพและการเงิน รวมถึงการปรับตัวเข้าหากันของคู่สมรส การตกลงบทบาทหน้าที่กันภายในครอบครัว ซึ่งอาจช่วยให้สามารถเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ เช่น สุขภาพร่างกาย สุขภาพจิตใจ สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ให้เหมาะสมกับการมีลูกหรือการสร้างครอบครัว [embed-health-tool-ovulation] การวางแผนครอบครัว คืออะไร การวางแผนครอบครัว คือ การที่คู่รักหรือคู่แต่งงานปรึกษาและกำหนดเป้าหมายร่วมกันเกี่ยวกับการสร้างครอบครัว เช่น เรื่องการมีลูก ว่าจะมีลูกหรือไม่มี จะมีลูกกี่คน จะมีลูกเมื่อใด จะมีลูกห่างกันกี่ปี รวมถึงการเลือกวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสม เช่น การนับวันปลอดภัย การรับประทานยาคุมกำเนิด การทำหมัน เพื่อให้สร้างครอบครัวได้ตามเป้าหมาย โดยอาจต้องคำนึงถึงภาวะสุขภาพของทั้งคู่ สภาพทางการเงิน และสภาพสังคมด้วย  จุดประสงค์ของการวางแผนครอบครัว การวางแผนครอบครัวอาจมีจุดประสงค์ ดังนี้  หลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ช่วยให้ตั้งครรภ์เมื่อพร้อมที่จะมีลูก  เพื่อให้สามารถมีลูกตามจำนวนที่เหมาะสมกับสภาพคล่องทางการเงิน เพื่อให้สามารถเลี้ยงลูกจนเติบโตได้  ช่วยให้กำหนดระยะห่างในการมีลูกแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม  อาจส่งเสริมให้มีลูกในอายุที่เหมาะสม ช่วยให้สามารถเลือกวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมได้  ประโยชน์ของการวางแผนครอบครัว การวางแผนครอบครัวอาจมีประโยชน์ ดังนี้  ประโยชน์ด้านสุขภาพ สุขภาพของคู่รักหรือคู่แต่งงาน ทำให้คู่รักหรือคู่แต่งงานมีเวลาเตรียมพร้อมในการมีลูก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกายหรือจิตใจ โดยเฉพาะฝ่ายหญิง ซึ่งการวางแผนมีลูกอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพของคุณแม่และลูกน้อย รวมถึงยังอาจช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง เช่น คุณแม่ตั้งครรภ์อายุน้อยหรือมากเกินไป ตั้งครรภ์ถี่ มีโรคประจำตัว  […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สัญญาณเตือนและวิธีดูแล

เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติในพันธุกรรม ความพิการแต่กำเนิด เด็กกลุ่มนี้ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ โดยเฉพาะจากคนในครอบครัว เนื่องจากครอบครัวเป็นพื้นฐานแรกที่อาจช่วยกระตุ้นพัฒนาการ และส่งเสริมสุขภาพจิตใจของเด็กให้ดีขึ้นได้ ซึ่งส่งผลดีต่อการบรรเทาความรุนแรงและควบคุมอาการที่พบในเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา อย่างไรก็ตาม หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับวิธีดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพิ่มเติม สามารถขอคำปรึกษาจากคุณหมอด้านพัฒนาการเด็กโดยตรง เพื่อให้ได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมยิ่งขึ้น [embed-health-tool-bmi] ความบกพร่องทางสติปัญญาในเด็ก คืออะไร ความบกพร่องทางสติปัญญาในเด็ก คือ ภาวะที่เด็กมีระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยและมีความผิดปกติด้านพฤติกรรมทางการปรับตัว โดยทักษะทางเชาวน์ปัญญา หรือความฉลาดทางปัญญา หรือที่เรียกว่าไอคิว (Intellectual functioning หรือ IQ) เป็นความสามารถในการเรียนรู้ การใช้เหตุผล การตัดสินใจ การแก้ปัญหา เป็นต้น ปกติแล้วคนทั่วไปมักได้คะแนนในการทดสอบระดับไอคิวระหว่าง 90-109 คนที่ IQ 80-89 คือต่ำกว่าปกติเล็กน้อย แต่ยังสามารถเรียนรู้ได้ใกล้เคียงปกติ หากมีระดับต่ำกว่า 70-79 ถือว่ามีความบกพร่องทางสติปัญญา ส่วนพฤติกรรมทางการปรับตัว (Adaptive Behavior) ถือเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การสื่อสารหรือสื่อความหมาย การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การควบคุมตัวเอง การใช้เวลาว่าง การทำงาน ส่วนใหญ่แล้ว ความบกพร่องทางสติปัญญามักแสดงอาการก่อนอายุ 18 ปี ความบกพร่องทางสติปัญญาอาจเกิดจากการที่แม่ดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติด หรือสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน