สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

ภาวะหมดไฟ คืออะไร แก้ยังไงได้บ้าง

ภาวะหมดไฟ คือ ความอ่อนล้าทางร่างกายและอารมณ์ที่เกิดจากการทำงาน เนื่องจากความตึงเครียดและความกดดันจากงานที่ทำ จนถึงจุดที่ร่างกายหมดแรงหรือหมดพลัง รู้สึกว่างเปล่า และไม่สามารถรับมือกับความรู้สึกด้านลบที่ถาโถมเข้ามาได้อีกต่อไป ผู้ที่มีภาวะหมดไฟอาจแก้ไขปัญหานี้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวัน ปรับแนวคิด หรือปรึกษานักจิตบำบัดหรือจิตแพทย์เพื่อช่วยให้ก้าวผ่านภาวะนี้ไปได้อย่างเข้มแข็ง [embed-health-tool-bmi] ภาวะหมดไฟ คืออะไร ภาวะหมดไฟ หรือเบิร์นเอาต์ (Burnout) เป็นการตอบสนองของร่างกายต่อสภาวะเหนื่อยล้าทางอารมณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ส่งผลให้คุณภาพของงานแย่ลง ทำงานผิดพลาดบ่อย ผัดวันประกันพรุ่ง ใช้เวลานานกว่าปกติถึงจะทำงานเสร็จ เป็นต้น รวมทั้งความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานอาจแย่ลงเช่นกัน นอกจากนี้ แม้จะไม่ได้อยู่ในช่วงที่ทำงานแต่ก็ยังรู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับงาน ผู้ที่มีภาวะหมดไฟอาจนอนไม่หลับ ไม่ค่อยอยากอาหาร นอกจากนี้ ยังอาจรู้สึกโดดเดี่ยว มีความสงสัยในตัวเอง เพราะมีความกังวลเกี่ยวกับงานมากจนเกินไป สัญญาณของภาวะหมดไฟ อาการในลักษณะต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณว่ากำลังอยู่ใน ภาวะหมดไฟ ได้แก่ เหนื่อยล้า ไม่มีแรง อาการเหนื่อยล้าหรือมีพลังงานน้อย เป็นอาการหลักของภาวะหมดไฟ ซึ่งมักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันในทุก ๆ ด้าน อาจทำให้มีอาการทางร่างกาย เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ ท้องอืด ไม่อยากอาหาร นอนไม่หลับ บางรายอาจรู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา แม้จะใช้เวลานอนไปหลายชั่วโมง รู้สึกว่าตนเองพักผ่อนไม่เต็มอิ่ม นอกจากนั้น อาจรู้สึกว่าเรื่องทุกอย่างรุมเร้าเข้ามามากเกินไป ไม่สามารถหาทางออกได้ โดยเฉพาะเรื่องงาน การมีทัศนคติแง่ลบต่องาน ผู้ที่มีอาการหมดไฟอาจรู้สึกว่าตัวเองกำลังติดอยู่ในวังวนที่ไม่มีทางออกเกี่ยวกับงานที่ทำ […]

สำรวจ สุขภาพจิต

สุขภาพจิต

ทำไมคนเราถึงชอบนินทา ถ้าถูกนินทาควรทำอย่างไร

เชื่อว่าเราทุกคนต่างเคย นินทา ผู้อื่น และถูกผู้อื่นนินทา จากเหตุการณ์ดาราสาวกลุ่มหนึ่งทำคลิปพาดพิงถึงบุคคลที่สามทำให้คนในสังคมมองว่า เป็นการจับกลุ่มนินทาซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่สมควร จริง ๆ แล้ว การนินทาเป็นเรื่องปกติหรือไม่ ทำไมเราถึงชอบนินทา การนินทามีประโยชน์หรือโทษอย่างไร ถ้ารู้ว่าถูกนินทาควรจัดการอย่างไร ลองมาหาคำตอบกัน [embed-health-tool-ovulation] ทำไมคนเราถึงชอบจับกลุ่มนินทาผู้อื่น การนินทาทำให้คนในวงสนทนารู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของแวดวงสังคมที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ เป็นที่ยอมรับ และไม่ถูกผลักออกไปเป็นคนนอกกลุ่มซึ่งมักจะเป็นผู้ที่ถูกนินทา นอกจากนี้ การนินทายังเป็นกิจกรรมทางสังคมที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด และหากเป็นผู้ที่เปิดบทสนทนาจะทำให้ได้รับความสนใจจากผู้อื่น จึงไม่แปลกหากคนเราจะกระหายที่จะพูดถึงเรื่องของคนอื่นอยู่เสมอเมื่อมีโอกาส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับคนไกลตัวที่คุ้นเคยอย่างศิลปิน ดารา คนใกล้ตัวอย่างคนในครอบครัว เพื่อนสมัยเรียน เพื่อนบ้าน และแม้แต่เพื่อนร่วมงานก็ตาม ทั้งนี้ การนินทาเป็นเครื่องมือการสื่อสารทางสังคมที่เป็นที่นิยมมาอย่างยาวนาน การจับกลุ่มพูดคุยกันในลักษณะนี้เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของทุกคน สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (APA) ได้ให้คำนิยามของคำว่า นินทา (Gossip) ไว้ว่า “การพูดคุยอย่างเป็นส่วนตัวหรือการสื่อสารข้อมูลที่มักยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริง การนินทาอาจเป็นเรื่องที่มีเนื้อหาอื้อฉาวหรือมีเจตนามุ่งร้าย นอกจากนั้น การนินทายังมีประโยชน์ต่อความเป็นสังคมมนุษย์หรือกระบวนการสร้างกลุ่ม (Group process) ไม่ว่าจะเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ (Bonding) การส่งต่อบรรทัดฐาน (Norm transmission) การเสริมแรงบรรทัดฐาน (Norm reinforcement)” บทสนทนาแบบใดที่เรียกว่า นินทา การนินทามักหรือการพูดถึงผู้อื่นในขณะที่เขาไม่ได้อยู่ตรงนั้น และมักเกิดขึ้นเมื่อใครคนใดคนหนึ่งในกลุ่มทำสิ่งที่คนในกลุ่มคิดว่าแปลกแยกหรือแตกต่างไปจากตัวเอง การนินทาอาจนำไปสู่แพร่ข่าวลือหรือสร้างเรื่องน่าอับอายให้ผู้ที่ถูกนินทาได้ อย่างไรก็ตาม การนินทาอาจไม่ได้หมายถึงแค่เพียงการพูดถึงผู้อื่นลับหลังด้วยการพูดจาให้ร้ายหรือทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงเท่านั้น แต่ยังอาจหมายรวมถึงการแบ่งปันข้อมูลของผู้ที่ไม่ได้อยู่ในวงสนทนาด้วย เช่น […]


สุขภาพจิต

7 วิธี 'รีเฟรชสมอง' ผ่อนคลายความเครียด ไม่ต้องพึ่งยา

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสถานการณ์ต่างๆ ที่เราเจออยู่ทุกวัน อาจทำให้เกิด ‘ภาวะเครียด’ ได้โดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาส่วนตัว ความขัดแย้งในความสัมพันธ์ หรือภาระงานที่หนักอึ้ง ซึ่งความเครียดไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต อารมณ์ ความคิด การนอนหลับ และสภาพจิตใจของเราเพียงเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อร่างกายทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และเบาหวาน เป็นต้น ดังนั้น วันนี้เราจึงได้รวบรวม 7 วิธีแก้เครียดที่ทุกคนสามารถทำตามได้เองง่ายๆ ที่จะช่วยรีเฟรชสมองและจิตใจให้กลับมาสดใสและสดชื่นพร้อมลุยวันใหม่อีกครั้ง โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งยา ตามมาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง?  1. รับประทานอาหารที่มี NANA นานะ เป็นส่วนประกอบ  นานะ (N-acetylneuraminic acid) หรือที่รู้จักกันในชื่อสามัญว่า ‘กรดไซอะลิค’ (Sialic Acid) มีส่วนช่วยเพิ่มการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของเซลล์ รวมถึงช่วย​​ส่งเสริมการแบ่งเซลล์และการเพิ่มจำนวนของเซลล์ ซึ่งการขาดนานะอาจทำให้เกิด Oxidative Stress หรือภาวะที่ร่างกายขาดความสมดุลระหว่างอนุมูลอิสระ (Free Radicals) และสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ซึ่งภาวะดังกล่าวเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าและโรควิตกกังวล โดยนานะสามารถพบได้ในอาหารบางจำพวก โดยเฉพาะในรังนกแท้ที่มีส่วนประกอบของ นานะ (Nana) หรือ กรดไซอะลิคในสัดส่วนที่สูงถึง […]


สุขภาพจิต

โรคซึมเศร้า อาการ เป็นอย่างไร และวิธีรับมือโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า อาการ อาจสังเกตได้จากความรู้สึกด้านลบที่เกิดขึ้น เช่น ไม่มีแรงจูงใจหรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง รู้สึกว่างเปล่า หมดความสนใจในเรื่องหรือกิจกรรมที่เคยชอบมาตลอด ไปจนถึงมีความคิดอยากทำร้ายตัวเองหรืออยากตาย หากสังเกตเห็นว่าตัวเองหรือคนรอบข้างมีพฤติกรรมที่ผิดแปลกไปจากปกติ หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม หรือแสดงออกถึงอารมณ์ด้านลบดังที่กล่าวมา อาจเป็นสัญญาณของภาวะซึมเศร้า ซึ่งหากปล่อยไว้เรื้อรังอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้าที่ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการบำบัดรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] คนที่เป็นโรคซึมเศร้า เกิดจากอะไร โรคซึมเศร้า (Depression) คือ โรคที่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ ความรู้สึก ไปจนถึงร่างกายของผู้ป่วย พบได้บ่อยในคนทั่วไป อาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันและส่งผลต่อความสัมพันธ์ของผู้ป่วยกับคนรอบข้าง โรคนี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ สารเคมีในสมอง ความผิดปกติของระดับสารเคมีในสมองอาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ โดยอาจเกิดจากสมองมีระดับเอนไซม์โมโนเอมีนออกซิเดส (Monoamine oxidase หรือ MAO) มากกว่าปกติ จนไปทำลายสารสื่อประสาทที่สำคัญ ส่งผลให้ระดับเซโรโทนิน (Serotonin) โดปามีน (Dopamine) และนอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) ต่ำเกินไป และส่งผลต่ออารมณ์ จนทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ พันธุกรรม คนที่มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน อาจเสี่ยงเกิดโรคซึมเศร้าได้มากกว่าคนทั่วไป ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่มีญาติใกล้ชิดเป็นโรคซึมเศร้าจะเป็นโรคซึมเศร้าเสมอไป และโรคซึมเศร้าอาจเกิดขึ้นกับคนที่ไม่มีองค์ประกอบทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน เหตุการณ์ที่กระทบจิตใจ เช่น ภาวะเครียดเรื้อรัง การเสียชีวิตของบุคคลอันเป็นที่รัก การประสบเหตุการณ์สะเทือนใจ การถูกทำร้ายในวัยเด็ก การอยู่อย่างโดดเดี่ยวและขาดการสนับสนุนจากคนรอบข้าง […]


สุขภาพจิต

ตรวจโรคซึมเศร้า การรักษาและวิธีดูแล

โรคซึมเศร้า เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช ที่สามารถเป็นได้โดยไม่รู้ตัว โดยอาจสังเกตได้จากอารมณ์แปรปรวน การนับถือตนเองต่ำ ไม่มีสมาธิจดจ่อในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้อาจเกิดจากความเครียดหรือวิตกกังวลมากเกินไป ดังนั้น จึงควรเข้ารับการ ตรวจโรคซึมเศร้า และรับการรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อบรรช่วยเทาอาการและลดความเสี่ยงการเกิดภาวะรุนแรง เช่น การทำร้ายคนรอบตัว การทำร้ายตัวเองที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โรคซึมเศร้า คืออะไร โรคซึมเศร้า คือ โรคทางจิตเวชที่ส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรมที่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของสารเคมีในสมองเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน มีประวัติเป็นโรคทางจิตเวชมาก่อน การใช้ยาบางชนิด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ภาวะหลังคลอดบุตร ภาวะก่อนเป็นประจำเดือน และความเครียดจากปัญหารอบตัว ยกตัวอย่าง การทำงาน การเรียน ครอบครัว การเงิน ความสัมพันธ์ การสูญเสียบุคคลที่รัก เป็นต้น สัญญาณที่บ่งบอกว่าควรตรวจโรคซึมเศร้าา สัญญาณเตือนของโรคซึมเศร้า อาจสังเกตได้ดังนี้ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย รู้สึกเศร้าในใจ รู้สึกสิ้นหวัง ไม่มีความสุขในการใช้ชีวิต มีความคิดอยากฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตายและทำร้ายตัวเองบ่อยครั้ง รู้สึกวิตกกังวล กระสับกระส่าย รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าและมักโทษตัวเองตลอดเวลา ไม่มีสมาธิจดจ่อ พูด เคลื่อนไหว และคิดช้า […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรค ซึมเศร้า อาการ สาเหตุ และการรักษา

โรค ซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชที่พบมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน เมื่อเป็นแล้ว จะมีอาการเศร้าสร้อย เหนื่อยหน่าย หมดหวัง รู้สึกไร้ค่า และมีอาการปวดหัวหรือปวดตามลำตัวร่วมด้วย ทั้งนี้ หากพบสัญญาณของโรคซึมเศร้า ควรไปพบคุณหมอ เพราะหากปล่อยไว้โดยไม่รักษาอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น จนถึงขั้นทำร้ายตัวเองหรือตัดสินใจฆ่าตัวตายได้ [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ โรค ซึมเศร้า คืออะไร โรคซึมเศร้า (Depression) เป็นความผิดปกติทางจิตเวชที่เมื่อเป็นแล้วจะรู้สึกเศร้า หดหู่ หรือสิ้นหวังอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และหากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาการอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้อยากฆ่าตัวตายได้ ทั้งนี้ โรคซึมเศร้าแบ่งเป็นชนิดต่าง ๆ ดังนี้ โรคซึมเศร้าเมเจอร์ (Major Depression) เป็นโรคซึมเศร้าที่เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และอาการของโรคซึมเศร้าจะรบกวนการทำงาน การนอน การเรียน และพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โรคซึมเศร้าชนิดเรื้อรัง (Persistent Depressive Disorder) เป็นโรคซึมเศร้าที่อาการรุนแรงน้อยกว่าโรคซึมเศร้าเมเจอร์ แต่เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการยาวนานกว่า หรืออย่างน้อย 2 ปี โรคซึมเศร้าตอนก่อนหรือหลังคลอด (Perinatal Depression) เป็นโรคซึมเศร้าเมเจอร์ที่พบได้ในหญิงตั้งครรภ์ช่วงก่อนหรือหลังคลอด โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder) […]


โรควิตกกังวล

โรค แพนิค คือ อะไร รักษาให้หายได้ไหม

โรค แพนิค เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการตื่นตระหนกหรือเป็นกังวลโดยไร้สาเหตุ หากสงสัยว่าตนเองอาจเป็นโรค แพนิค ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษา เพราะหากปล่อยไว้นาน อาการของโรคจะยิ่งรุนแรงขึ้น และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในหลาย ๆ ด้าน [embed-health-tool-bmr] โรคแพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic Disorder) เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง หากเป็นโรคนี้จะมีอาการตื่นตระหนกหรือวิตกกังวลหลายครั้ง โดยปราศจากสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งแตกต่างจากคนทั่วไปอย่างชัดเจน เพราะโดยปกติ อาการตื่นตระหนกหรือเป็นกังวลจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก หรือจะเกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ตึงเครียดหรืออันตรายเท่านั้น ทั้งนี้ โรคแพนิคเป็นโรคที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต อายุเฉลี่ยที่เริ่มพบอาการของโรคนี้ คือระหว่าง 15-19 ปี โดย 18 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคแพนิคมักมีอาการของโรคตั้งแต่ก่อนอายุ 10 ปี นอกจากนี้ โรคแพนิคพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในอัตราส่วน 2 ต่อ 1 โรค แพนิค เกิดจากสาเหตุใด ปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคแพนิค แต่สันนิษฐานว่าความเสี่ยงต่อการเป็นโรคแพนิคจะสูงขึ้นในกรณีต่อไปนี้ มีคนในครอบครัวเป็นโรควิตกกังวล หรือมีประวัติเป็นโรควิตกกังวล เคยเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำให้ใจสลาย เช่น การสูญเสียคนที่รัก เป็นโรคทางจิตเวช เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า ติดสุราหรือยาเสพติด โรค แพนิค มีอาการอย่างไร อาการของโรคแพนิคนั้นมีหลายรูปแบบ และจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ […]


ความผิดปกติทางอารมณ์

โรคแพนิค อาการ สาเหตุ และการรักษา

โรคแพนิค หรือโรคตื่นตระหนก คือ โรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง ที่ผู้ป่วยมีภาวะตื่นตระหนกหรือตกใจกลัวต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งอย่างกะทันหันโดยไม่มีสาเหตุ อาการแพนิคสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาจนบางครั้งอาจส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ หากพบว่ามีอาการที่อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคควรไปพบคุณหมอเพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาตามดุลยพินิจของคุณหมอ โรคแพนิค คืออะไร โรคแพนิค (Panic Disorder) คือ โรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง หรือที่เรียกว่า “โรคตื่นตระหนก” ซึ่งโรคแพนิคจะแตกต่างจากอาการหวาดกลัวหรือวิตกกังวลทั่วไป เนื่องจากผู้ป่วยอาจเกิดอาการวิตกกังวลหรือตกใจกลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาอย่างฉับพลันโดยไม่สมเหตุสมผล อาการแพนิคอาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลาและอาจส่งผลทำให้ผู้ป่วยเป็นกังวล ตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก จนไม่กล้าออกไปไหน และอาจกระทบต่อการใช้ชีวิตในประจำวันได้  โรคแพนิคพบได้บ่อยแค่ไหน โรคแพนิคมักพบในช่วงอายุ 15-25 ปี หรือในช่วงวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการป่วยที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจในวัยเด็ก รวมถึงภาวะโรคร่วมกับโรคทางจิตเวชอื่น ๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคกลัวการเข้าสังคม นอกจากนี้ คนส่วนใหญ่อาจเคยมีอาการแพนิค 1-2 ครั้งในชีวิต โดยความถี่ในการเกิดอาการแพนิคอาจแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล  อาการโรคแพนิค อาการของโรคแพนิคอาจใช้เวลาประมาณ 5-20 นาที หรืออาจนานเป็นชั่วโมงขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยอาการที่พบได้ทั่วไปของโรคแพนิค อาจมีดังนี้  หัวใจเต้นเร็ว  หายใจลำบาก หรือหายใจถี่  เหงื่อออกมากผิดปกติ  วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย  ชาบริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้า  คลื่นไส้  ปวดท้อง ท้องไส้แปรปรวน  หวาดกลัว วิตกกังวล ควรไปพบคุณหมอเมื่อไหร่  หากมีอาการข้างต้น หรือมีอาการบ่อยขึ้น และใช้เวลานานกว่าจะกลับมาเป็นปกติ […]


สุขภาพจิต

โรคจิตเภท หรือ Schizophrenia คืออะไร มีอาการและสาเหตุอย่างไร

โรคจิตเภท หรือ Schizophrenia คือ โรคทางจิตที่รุนแรงและเรื้อรัง มักส่งผลต่อความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรม ทำให้ผู้ป่วยมีอาการวิตกกังวล หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม เห็นภาพหลอน เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตในประจำวัน ผู้ป่วยโรคจิตเภทส่วนใหญ่มักไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาตลอดชีวิต แต่อาจสามารถควบคุมอาการต่าง ๆ ได้ด้วยการรักษาที่เหมาะสมตามอาการของแต่ละบุคคล  Schizophrenia คือ อะไร  โรคจิตเภท หรือ Schizophrenia คือ กลุ่มอาการของโรคที่มีความผิดปกติทางจิต ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความคิดและการรับรู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง รวมถึงอาจมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จนส่งผลให้ไม่สามารถใช้ชีวิตในสังคมและทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะเริ่มมีอาการประมาณอายุ 16-30 ปี หรือช่วงวัยรุ่นตอนปลาย  อาการของ Schizophrenia หรือโรคจิตเภท อาการของ Schizophrenia อาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้ดังนี้ อาการเชิงบวก หลงผิด ซึ่งเป็นความเชื่อของผู้ป่วยที่เชื่อในสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เช่น คิดว่าคนอื่นจะมาทำร้าย ประสาทหลอน โดยผู้ป่วยอาจเห็น ได้กลิ่น รับรส หรือรู้สึก รวมถึงได้ยินเสียงในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ความผิดปกติด้านความคิด โดยผู้ป่วยอาจมีกระบวนการความคิดผิดปกติหรือมีความคิดไม่เป็นเหตุเป็นผล บางครั้งอาจหยุดพูดกลางคัน หรือสร้างหัวข้อใหม่ขึ้นมาทั้งที่สองเรื่องไม่ได้เกี่ยวข้องกัน ความผิดปกติด้านการเคลื่อนไหว […]


การจัดการความเครียด

วิธีแก้เครียด คิดมาก ด้วยตัวเอง

ความเครียด เป็นการตอบสนองทางจิตใจหรือร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญความกดดัน ความทุกข์ ความวิตกกังวล เป็นต้น จนส่งผลกระทบต่ออารมณ์ ความคิดและพฤติกรรม วิธีแก้เครียด คิดมาก นั้นมีด้วยกันหลายวิธี วิธีที่ทำเองได้ เช่น การออกกำลังกาย การใช้เวลาร่วมกับคนรอบข้าง การนั่งสมาธิ ทั้งนี้ หากอยากรู้ว่ากำลังเครียดหรือไม่ อาจสังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพหรือพฤติกรรม เช่น กินอาหารได้น้อยลงหรือมากขึ้น หงุดหงิดง่าย  ซึ่งอาจต้องหาวิธีแก้เครียดโดยเร็ว โดยอาจปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ทราบวิธีที่เหมาะสมและปลอดภัยที่สุด ไม่ควรปล่อยให้เครียดสะสม เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรง และส่งผลต่อการใช้ชีวิตได้ [embed-health-tool-bmi] สัญญาณเตือนภาวะเครียด คิดมาก พฤติกรรมและปัญหาสุขภาพเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณของภาวะเครียด คิดมาก ไม่อยากอาหาร เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปเมื่ออยู่ในภาวะเครียด วิตกกังวล หรือคิดมาก เนื่องจากภาวะเหล่านี้อาจส่งผลกระทบกระบวนการเมแทบอลิซึม (Metabolism) ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน เมื่อกระบวนการเมแทบอลิซึมผิดปกติ จึงอาจทำให้ไม่อยากอาหาร หรือกินอาหารได้น้อยลง กินอาหารมากเกินไป เมื่อเครียดหรือกดดัน ร่างกายจะหลั่งคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนเครียดออกมามากขึ้น และมีปฏิกิริยาตอบสนองโดยการสู้หรือหนี (Fight-or-Flight Response) ซึ่งส่งผลให้สมองสั่งการให้ร่างกายสะสมพลังงานจากอาหารประเภทที่มีเกลือ น้ำตาล และไขมันสูง เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังเผชิญ หงุดหงิดง่าย หากเครียดสะสม อาจส่งผลให้หงุดหงิดและอารมณ์เสียกับเรื่องรอบตัวง่ายขึ้น […]


ความผิดปกติทางอารมณ์

อาการแพนิค ที่พบบ่อย และวิธีการรักษา

อาการแพนิค เป็นอาการตื่นตระหนกที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน กระตุ้นปฏิกิริยาที่แสดงออกทางพฤติกรรมอย่างรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหวาดกลัว เสียขวัญ สูญเสียการควบคุมร่างกาย เหงื่อออก ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม ในบางกรณีอาการแพนิคอาจรุนแรงมากส่งผลให้หัวใจวายหรือเสียชีวิตได้ บางคนอาจมีอาการเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวหรือบ่อยครั้ง ทั้งนี้ ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรักษาอาการแพนิคไม่ให้รุนแรงจนกระทบกับการใช้ชีวิต อาการแพนิค คืออะไร อาการแพนิค คือ อาการตื่นตระหนกมากกว่าปกติ อาจมีอาการหวาดกลัว ตื่นตกใจแม้ว่าจะไม่มีเหตุการณ์อันตรายใด ๆ เกิดขึ้นจริง อาจส่งผลให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการกระทำ หรือกิจวัตรประจำวันบางอย่างเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ตื่นตระหนกอีก โดยอาการแพนิคสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และอาจเริ่มตั้งอายุ 15-25 ปี พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ทั้งนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการแพนิค แต่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อสมองของผู้ป่วยไวเป็นพิเศษในการตอบสนองต่อความกลัว อาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ สิ่งกระทบอารมณ์ที่ทำให้มีความรู้สึกด้านลบบ่อยครั้ง หรืออาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ การสูญเสียคนรัก อุบัติเหตุ สูญเสียทารก อาการแพนิค ที่พบบ่อย อาการแพนิคสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และมักเกิดขึ้นทันทีโดยไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า บางคนอาจมีอาการบ่อยครั้งหรือเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และหลังจากเกิดอาการแพนิค ผู้ป่วยอาจมีอาการอ่อนแรง เหนื่อยล้าได้ อาการแพนิคที่พบบ่อย ดังนี้ เกิดความวิตกกังวล รู้สึกไม่สบายใจ เริ่มหลีกเลี่ยงบางสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกกลัว รู้สึกถึงอันตรายที่กำลังจะเกิดขึ้น คิดถึงอันตรายล่วงหน้าหรือการพลัดพราก กลัวตาย สูญเสียการควบคุม มีเสียงก้องในหู หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก ตัวสั่น […]

โฆษณา
โฆษณา
โฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม