สุขภาพผิว

ผิวหนัง คืออวัยวะภายนอกที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในร่างกาย ผิวหนังนั้นมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย ทั้งเป็นเกราะป้องกันจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ หรือช่วยควบคุมอุณภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ เป็นต้น เรียนรู้เกี่ยวกับการมี สุขภาพผิว ที่ดี และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย เพื่อการปกป้องดูแลผิวของคุณให้ดียิ่งขึ้น ได้ที่นี่

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพผิว

ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า ดีต่อผิวหน้าจริงหรือไม่?

หลายคนเชื่อว่าการ ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับผิวหน้าที่สุด เพราะน้ำเปล่าเป็นสารธรรมชาติ ปราศจากสารเคมีเจือปน มีความอ่อนโยน เหมาะกับผิวบอบบางแพ้ง่าย และผิวผู้ที่เป็นสิว หลายคนจึงเชื่อว่าการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวเหมาะสมที่สุดสำหรับผิวหน้า แต่ความเชื่อนี้จะจริงหรือเท็จประการใด บทความนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบให้คุณค่ะ ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า ดีต่อผิวหน้าจริงหรือไม่? การล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า อาจไม่ได้เหมาะสมสำหรับผิวหน้าเสมอไป เพราะตลอดทั้งวันเราเจอทั้งมลภาวะต่าง ๆ และฝุ่นละออง ยิ่งคุณผู้หญิงที่แต่งหน้าด้วยล่ะก็ การใช้น้ำเปล่าทำความสะอาดผิวหน้าเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถดูดสิ่งสกปรกหรือเครื่องสำอางค์บนผิวหน้าออกได้อย่างสะอาดหมดจรด และอาจเสี่ยงต่อการเกิดการอุดตันบริเวณรูขุมขนอีกด้วย ดังนั้นอาจต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าควบคู่ด้วย แต่ควรเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าที่มีมาตรฐาน ปลอดภัยต่อผิวหน้า และเหมาะสมกับลักษณะของผิวหน้าคุณ อย่างไรก็ตาม ผิวหน้าของแต่ละคนมีปัญหาแตกต่างกัน การทำความสะอาดผิวหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวอาจเหมาะสำหรับบางคน ทั้งนี้ทั้งนั้นให้คุณลองสังเกตใบหน้าของตนเองว่าหากทำความสะอาดผิวหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว เหมาะกับผิวหน้าของคุณหรือไม่ หากไม่เหมาะสมให้ปรับเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าเพื่อความสมดุลของผิว 5 คุณประโยชน์จากการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า น้ำเปล่า มีประโยชน์ที่ดีต่อผิวหน้ามากกว่าที่คุณคิด โดย 5 คุณประโยชน์จากการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า มีดังต่อไปนี้ สะดวกและง่ายต่อการทำความสะอาดผิวหน้า  ลดการเสียดสีกับผิวหน้า ช่วยลดการระคายเคืองกับบริเวณผิวหนัง ปลอดภัยต่อผิวหน้า เพราะมีน้ำมีความอ่อนโยนปราศจากสารเคมี เกิดการระคายเคืองน้อยกว่าเมื่อเทียบกับใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า  ลดความเสี่ยงในการลอกคราบน้ำมันตามธรรมชาติของผิว ช่วยปกป้องเกราะป้องกันผิว ไม่ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า ลดต้นทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ขั้นตอนง่าย ๆ ในการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว ในตอนเช้าให้ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าสะอาด และซับหน้าด้วยผ้าไมโครไฟเบอร์ซับเบา ๆ ให้แห้งที่ผิวหน้า จะช่วยลดการเสียดสีและลดการระคายเคืองต่อผิวหนัง  ในช่วงตอนกลางคืน […]

หมวดหมู่ สุขภาพผิว เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพผิว

การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ถอนผมหงอก ดีหรือไม่ ควรดูแลเส้นผมอย่างไรเมื่อเริ่มมีผมหงอก

หลายคนอาจมีความเข้าใจผิดในเรื่องการ ถอนผมหงอก เพื่อช่วยขจัดผมเก่าที่เสื่อมสภาพ หรือความเชื่อผิด ๆ ที่ยิ่งถอนจะยิ่งทำให้ผมหงอกเพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกันการถอนผมหงอกอาจยิ่งเร่งกระบวนการหลุดร่วงของเส้นผมและอาจทำร้ายรูขุมขน ซึ่งอาจทำให้ผมไม่งอกขึ้นใหม่และอาจส่งผลให้ผมบางลงในระยะยาวได้ ผมหงอก เกิดจากอะไร ในปัจจุบัน อาจยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดผมหงอกอย่างแน่ชัด แต่ปัญหาผมหงอกมักเกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุมาก โดยอาจเริ่มมีผมหงอกในช่วงอายุประมาณ 30-40 ปี จึงอาจเป็นไปได้ว่าผมหงอกอาจเกิดขึ้นเมื่อเซลล์เม็ดสีเมลานินในรูขุมขนค่อย ๆ ตายลงเมื่อมีอายุมากขึ้น ทำให้เส้นผมมีเม็ดสีเมลานินน้อยลงหรือไม่มีเม็ดสีเมลานินเหลือเลย ส่งผลให้เส้นผมมีสีอ่อนลงหรือเปลี่ยนไปเป็นสีอื่น ๆ เช่น สีเทา สีขาว สีน้ำตาล ซึ่งผมหงอกจะเกิดขึ้นช้าหรือเร็วอาจขึ้นอยู่กับยีนในร่างกายที่ได้รับสืบทอดมาทางพันธุกรรม หรือในบางกรณีอาจมีสาเหตุมาจากความเครียด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรืออาจเกิดจากโรคบางชนิด เช่น โรคด่างขาว โรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง โรคต่อมไทรอยด์ โรคทางระบบประสาท ภาวะขาดวิตามินบางชนิด ถอนผมหงอก ดีหรือไม่ อาจมีบางความเชื่อ กล่าวว่า ยิ่งถอนผมหงอกจะยิ่งทำให้ผมหงอกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งไม่เป็นความจริง แต่การถอนผมหงอกนั้นจะยิ่งทำให้ผมบางลงเร็วขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาผมบางหรือหัวล้านได้ในอนาคต เพราะการถอนผมเป็นการเร่งกระบวนการให้เส้นผมเข้าสู่ระยะสุดท้าย (Telogen Phase) ของวงจรเส้นผมเร็วกว่าปกติ โดยวงจรเส้นผมอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะเจริญเติบโต (Anagen Phase) เป็นระยะเริ่มแรกของการเจริญเติบโตที่ร่างกายจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์รากผม เพื่อให้ผมงอกยาวออกมากจากรูขุมขน […]


สุขภาพผิว

ตุ่มคัน เหมือนยุงกัด เกิดจากอะไรได้บ้าง

ตุ่มคัน เหมือนยุงกัด สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยส่วนใหญ่อาจเกิดจากการความระคายเคืองหรืออาการแพ้ทางผิวหนังที่อาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ที่ทำปฏิกิริยากับสิ่งที่สัมผัสกับผิวหนังหรือสิ่งที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น อาหาร เกสรดอกไม้ ยาบางชนิด จนส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการผื่น ตุ่มคัน เหมือนยุงกัด บวม และแสบร้อน ตุ่มคัน เหมือนยุงกัด เกิดจากอะไรได้บ้าง โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นโรคผิวหนังที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ โดยระบบภูมิคุ้มกันจะทำปฏิกิริยากับสิ่งที่มาสัมผัสกับผิวหนังหรือเข้าสู่ร่างกาย เช่น อาหาร เกสรดอกไม้ แสงแดด ฝุ่น ควัน จนก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น ตุ่นคันเหมือนยุงกัด ผื่นแดง ลมพิษ บวม การรักษา อาจทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้หรือสิ่งที่ตนเองแพ้ทุกชนิด เพื่อป้องกันการกำเริบของอาการ หากอาการรุนแรงขึ้นให้เข้าพบคุณหมอเพื่อรับยารับประทานหรือใช้ยาทาภายนอก เช่น โลชั่นลดอาการคัน ยาต้านฮีสตามีน ยาคอร์ติโซน (Cortisone) เพื่อช่วยรักษาอาการผื่นคันและอาการบวม ผดร้อน ผดร้อนมักเกิดขึ้นในสภาพอากาศร้อนชื้น และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยผดร้อนจะเกิดขึ้นเมื่อท่อต่อมเหงื่อเกิดการอุดตันจนไม่สามารถระบายเหงื่อออกมาได้เต็มที่ จนเกิดการอักเสบและความระคายเคืองขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการผื่นแดง ตุ่มคันเหมือนยุงกัด อาจเจ็บปวดหรือคันได้ การรักษา หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศร้อนชื้น หากมีผดร้อนขึ้นควรรีบทำผิวให้เย็นลงด้วยการอาบน้ำหรือประคบเย็น ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการผื่นและอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น ลมพิษ ลมพิษ เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการรตุ่มนูน ตุ่มคันเหมือนยุงกัดเกิดขึ้นตามผิวหนัง […]


สุขภาพผิว

เม็ดขาว เปลือกตาด้านใน เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่

เม็ดขาว เปลือกตาด้านใน เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อต่อมไขมันที่เปลือกตา (Meibomian Gland) เกิดการอุดตัน จนน้ำมันที่ผลิตจากต่อมเปลือกตาสะสมอยู่มาก ทำให้มองเห็นเป็นเม็ดขาวบริเวณเปลือกตาด้านใน อาจทำให้มีอาการแสบตา คัน ระคายเคืองตา ตาพร่าชั่วขณะ หากปล่อยไว้โดยไม่ทำการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างโรคตาแห้งได้ [embed-health-tool-bmi] เม็ดขาว เปลือกตาด้านใน เกิดขึ้นจากอะไร เม็ดขาว เปลือกตาด้านในอาจมีสาเหตุมาจากต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ ทำให้น้ำมันที่อยู่ภายในเปลือกตามีความข้นและเหนียว จนไม่สามารถไหลออกมาจนเกิดการอุดตัน ซึ่งต่อมไขมันที่เปลือกตาอุดตันอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ไขมันในเลือดสูง เยื่อบุตาอักเสบจากโรคภูมิแพ้ หรือโรคตาอื่น ๆ เช่น ตากุ้งยิง จอประสาทตาเสื่อมตามวัย เบาหวานขึ้นตา เปลือกตาหรือกระจกตาอักเสบ การติดเชื้อแบคทีเรียในตา โรคแพ้ภูมิตัวเอง เช่น โรคผิวหนังอักเสบโรซาเซีย (Rosacea) โรคลูปัส (Lupus) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) กลุ่มอาการโจเกรน (Sjogren's Syndrome) การใช้ยาบางชนิด เช่น การรักษาด้วยยาฮอร์โมนเอสโตรเจน ยาลดฮอร์โมนแอนโดรเจน เรตินอยด์ อาการเม็ดขาว เปลือกตาด้านใน ในระยะแรก ต่อมไขมันที่เปลือกตาอุดตันอาจยังไม่แสดงอาการ แต่เมื่อเวลาผ่านไป น้ำมันที่ผลิตจากต่อมไขมันเปลือกตาจะไม่สามารถไหลออกมาหล่อเลี้ยงดวงตาได้มากพอ จึงอาจทำให้มีอาการแสบตา คัน ตาแห้ง หรือระคายเคืองตาได้ […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

เป็นฝีที่ก้น อาการ ปัจจัยเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน

เป็นฝีที่ก้น อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในก้น หรืออาจเกิดจากแผลบริเวณเยื่อบุขอบทวารหนักติดเชื้อจนพัฒนากลายเป็นฝี ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุทวารหนักหรือบริเวณรอบข้างก้น ส่งผลทำให้มีอาการเจ็บปวด มีหนอง เลือดออกขณะขับถ่าย หรือไม่สามารถอั้นอุจจาระได้ สำหรับการรักษาฝีที่ก้นอาจทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคุณหมอ เป็นฝีที่ก้น เกิดจากอะไร เป็นฝีที่ก้น อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในก้นที่ทำให้ฝีพัฒนาขึ้นเองในก้นหรือบริเวณรอบข้างก้น หรืออาจมีสาเหตุมาจากแผลบริเวณเยื่อบุขอบทวารหนักติดเชื้อ จนอาจทำให้มีอาการเจ็บปวดหรือมีเลือดออกขณะขับถ่าย นอกจากนี้ ยังอาจมีสาเหตุมาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือต่อมทวารหนักอุดตัน จนทำให้เกิดการติดเชื้อและพัฒนาไปเป็นฝีที่ก้นได้ อาการเมื่อเป็นฝีที่ก้น เป็นฝีที่ก้นอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้ เกิดโพรงที่ผิวหนังบริเวณก้น ผิวหนังบริเวณก้นเกิดการอักเสบ แดง และระคายเคือง มีหนอง เลือด หรืออุจจาระไหลออกจากช่องทวารหนัก มีกลิ่นเหม็นออกมาจากก้น ปวดตุบ ๆ บริเวณรอบ ๆ ก้นและด้านในก้น โดยเฉพาะเวลาขยับตัว นั่ง ไอ หรือขณะถ่ายอุจจาระ มีไข้ หนาวสั่น มีปัญหาในการควบคุมการเคลื่อนไหวลำไส้ จนไม่สามารถกลั้นอุจจาระได้ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เป็นฝีที่ก้น ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เป็นฝีที่ก้น มีดังนี้ ผู้ที่มีอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป อาจมีความเสี่ยงสูงในการเป็นฝีที่ก้น เนื่องจากความอ่อนแอของสุขภาพร่างกาย หรืออาจมีปัญหาบริเวณก้น ผู้ที่เป็นโรคโครห์น (Crohn's Disease) หรือโรคลำไส้อักเสบ เคยเป็นฝีที่ก้นมาก่อนหน้านี้ เกิดการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อที่บริเวณก้น เคยเข้ารับการผ่าตัดหรือการฉายรังสีรักษามะเร็งทวารหนัก ภาวะแทรกซ้อนเมื่อเป็นฝีที่ก้น เป็นฝีที่ก้นอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ […]


โรคผิวหนังอักเสบ

Eczema คือ อะไร สาเหตุ อาการ และการรักษา

Eczema คือ โรคผื่นผิวหนังอักเสบ เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่พบได้บ่อย เกิดจากการอักเสบหรือการระคายเคือง เนื่องจากเกราะป้องกันผิวหนังอ่อนแอ รวมถึงอาจเกิดจากผิวหนังสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นหรือสารก่อภูมิแพ้ เช่น สารเคมี ส่งผลให้ผิวหนังแห้ง คัน และอักเสบ แม้โรคผื่นผิวหนังอักเสบจะไม่ใช่โรคติดต่อ และสามารถบรรเทาอาการได้เอง แต่ก็ควรดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค นอกจากนี้ หากรักษาด้วยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น หรือรุนแรงกว่าเดิม ควรเข้าพบคุณหมอทันที เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม Eczema คือ อะไร Eczema คือ โรคผื่นผิวหนังอักเสบ เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย ทำให้ผิวหนังแห้ง คัน และอักเสบ โดยผื่นผิวหนังอักเสบอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของยีนในร่างกายหรือความอ่อนแอของเกราะป้องกันผิวหนัง รวมถึงอาจเกิดจากการที่ผิวหนังสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นหรือสารก่อภูมิแพ้ เช่น สารเคมี โดยผู้ที่เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังยังอาจมีความเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้อาหาร โรคหอบหืด และไข้ละอองฟางได้ด้วย แม้โรคผื่นผิวหนังอักเสบจะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่การดูแลผิวด้วยการให้ความชุ่มชื้นและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจช่วยบรรเทาอาการและป้องกันการลุกลามของโรคได้ อาการของ Eczema อาการของโรคผื่นผิวหนังอักเสบอาจเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกาย ดังนี้ ผิวแห้ง แตก ลอกเป็นขุย ผิวหนาและหยาบ และอาจมีอาการคันร่วมด้วย มีตุ่มนูนเล็ก ๆ หรือผื่นที่ผิวหนัง อาจมีสีแดงหรือสีชมพู ขึ้นอยู่กับสีผิวของแต่ละคน อาจมีหนองไหล ผิวรอบดวงตาคล้ำขึ้น นอกจากนี้ ยังควรสังเกตอาการอยู่เสมอ หากพบว่ามีอาการต่อไปนี้ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา อาการของโรคผื่นผิวหนังอักเสบรุนแรงขึ้นจนกระทบต่อคุณภาพการนอนและการใช้ชีวิตประจำวัน […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

ผิวแห้ง สาเหตุ อาการ และการรักษา

ผิวแห้ง คือ ปัญหาสุขภาพผิวที่อาจพบได้บ่อย โดยสังเกตได้จากอาการผิวหยาบกร้าน ขาดความชุ่มชื้น ผิวแตก ผิวเป็นสะเก็ด ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น สภาพอากาศ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว โรคผิวหนัง ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการดูแลผิวที่ช่วยฟื้นฟูผิวให้มีสุขภาพที่ดีและช่วยป้องกันอาการผิวแห้ง ผิวแห้ง คืออะไร ผิวแห้ง คือ สภาพผิวหนังที่ขาดความชุ่มชื้น หยาบกร้าน และลอกเป็นขุย ซึ่งปัญหาสุขภาพผิวที่พบได้บ่อย แต่ไม่รุนแรง และสามารถป้องกันได้โดยการบำรุงผิวอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม ลักษณะที่ผิวแห้งอาจเกิดจากโรคผิวหนังต่าง ๆ เช่น กลาก น้ำกัดเท้า โรคผื่นแพ้สัมผัส ผื่นแพ้ต่อมไขมัน (Seborrheic Dermatitis)  อาการของผิวแห้ง อาการของผิวแห้ง มีดังนี้ ผิวแห้ง หยาบกร้านและเป็นสะเก็ด อาการคัน ผิวเป็นรอยขีดขาวเมื่อใช้เล็บขูด ผิวลอกเป็นขุย สีผิวไม่สม่ำเสมอ ผิวแตก และอาจมีเลือดออกเล็กน้อย ผิวขาดความกระชับและรู้สึกผิวตึง โดยเฉพาะหลังอาบน้ำ หรือว่ายน้ำ ปัญหาผิวแห้งอาจสามารถฟื้นฟูผิวให้กลับมาชุ่มชื้นได้ด้วยตัวเอง แต่หากมีอาการผิวแห้งที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดเมื่อสัมผัส รู้สึกคันมากกว่าปกติ มีผื่นขึ้น หรือผิวแห้งรักษาไม่หาย ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคผิวหนังบางอย่าง สาเหตุของผิวแห้ง สาเหตุของผิวแห้ง มีดังนี้ สภาพอากาศ เช่น อากาศหนาวเย็น มีลมแรง เพราะอาจทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้น ความร้อน […]


โรคผิวหนังอักเสบ

ตุ่มใสที่มือ เกิดจากอะไร และควรรักษาอย่างไร

ตุ่มใสที่มือ เป็นสภาวะทางผิวหนังที่มักมีสาเหตุมาจากโรคผิวหนังหลายชนิด เช่น โรคอีสุกอีใส ผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ รวมถึงอาจมีสาเหตุมาจากโรคภูมิแพ้ การติดเชื้อ หรืออาจเป็นความผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย ทำให้เกิดตุ่มใสที่มือ ร่วมกับอาการอื่น ๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุหลักของโรค ซึ่งการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมเป็นประจำทุกวัน อาจช่วยป้องกันปัญหาตุ่มใสที่มือได้ [embed-health-tool-bmi] ตุ่มใสที่มือ เกิดจากอะไร ตุ่มใสที่มือ ส่วนใหญ่เป็นสภาวะของโรคผิวหนัง ซึ่งสาเหตุที่อาจทำให้เกิดตุ่มใสที่มือ มีดังนี้ โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารหรือสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ เสื้อผ้า สารเคมี ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการผื่นแดง มีตุ่มใสที่มือ ผื่นลมพิษ คัน และไม่สบายตัว โรคเริม เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus หรือ HSV) โดยอาจทำให้ผู้ป่วยมีตุ่มแดงหรือตุ่มใสเล็ก ๆ ปวด แสบร้อน คัน เป็นแผลพุพอง หรือเป็นสะเก็ดบริเวณอวัยวะเพศ แต่ในบางกรณีอาจมีตุ่มใสที่มือหรือปากเกิดขึ้นได้เช่นกัน โรคมือเท้าปาก เป็นโรคติดต่อที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสคอกแซกกี้ (Coxsackie Virus) ซึ่งอาจพบได้มากในช่วงหน้าฝน มักทำให้เกิดตุ่มใสที่มือ หลังมือ […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ผมร่วงเยอะมาก มีวิธีรักษาและการป้องกันอย่างไร

ผมร่วงเยอะมาก เป็นปัญหาหนังศีรษะและเส้นผมที่เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ความเครียด โรคแพ้ภูมิตัวเอง ยาบางชนิด หากไม่ทำการรักษาอาจทำให้ศีรษะล้าน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจ ทำให้เกิดความวิตกกังวลและหมดความมั่นใจในตัวเอง สาเหตุของผมร่วงเยอะมาก  สาเหตุที่อาจทำให้ผมร่วงเยอะมาก มีดังนี้ อายุที่มากขึ้น อาจทำให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึงเซลล์หนังศีรษะและเส้นผมเสื่อมสภาพลง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผมและอาจทำให้ผมร่วงเยอะมาก พันธุกรรม ที่อาจส่งผลให้บุตรหลานมีผมร่วงเยอะมากจากรุ่นสู่รุ่นโดยรูปแบบที่พบได้บ่อยที่สุดคือโรคผมบางจากพันธุกรรม (Androgenic Alopecia) ซึ่งมีลักษณะผมร่วงเยอะมากบริเวณกลางหนังศีรษะ ทำให้ผมบาง และส่งผลให้ศีรษะล้านตรงกลางเพียงจุดเดียว มักพบในช่วงวัยรุ่น ไปจนถึงผู้ใหญ่อายุ 40 ขึ้นไป ฮอร์โมนไม่สมดุล หากร่างกายผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจนหรือฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ วัยหมดประจำเดือน ตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้มีอาการผมร่วงเยอะมาก เนื่องจากฮอร์โมนเหล่านี้มีส่วนช่วยควบคุมการเจริญเติบโตของเส้นผม ร่างกายขาดสารอาหาร เช่น วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 วิตามินบี 7 วิตามินดี สังกะสี เหล็ก โปรตีน อาจกระทบต่อการเจริญเติบโตของเส้นผมที่ทำให้ผมร่วงเยอะมากได้ ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า อาจทำให้เกิดพฤติกรรมการดึงผมโดยไม่รู้ตัว […]


โรคผิวหนังอักเสบ

เป็นฝีรักษายังไง ฝีเกิดจากอะไร

หลายคนอาจสงสัยว่าฝีเกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นฝีรักษายังไง ฝีเป็นภาวะอักเสบของเนื้อเยื่อชั้นใต้ผิวหนังเนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นก่อตัวเป็นก้อนนูน มีลักษณะกลมและมีหนอง ภายในฝีประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว เซลล์เม็ดเลือดขาว และแบคทีเรีย นอกจากนี้ ยังมีฝีที่ก่อตัวภายในร่างกาย ซึ่งอาจตรวจพบได้ยากกว่าฝีบริเวณผิวหนัง การรักษาฝีที่ผิวหนังโดยทั่วไปอาจใช้การประคบร้อน การระบายออกด้วยเข็ม และการผ่าตัดนำฝีออก หากพบว่ามีฝีควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี และไม่ควรบีบหรือเจาะฝีออกด้วยตัวเอง เพราะอาจเสี่ยงเกิดการติดเชื้อและทำให้อาการแย่ลงได้ [embed-health-tool-ovulation] ฝีเกิดจากอะไร ฝี (Abscesses) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) เป็นภาวะอักเสบของผิวหนังที่เกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียเข้าสู่ผิวหนัง ระบบภูมิคุ้มกันจึงส่งเซลล์เม็ดเลือดขาวไปต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา จนส่งผลให้ผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้ออักเสบหรือบวมแดง และเกิดเป็นโพรงที่ผิวหนัง เซลล์ที่ตายแล้วและแบคทีเรียจะก่อตัวเป็นตุ่มหนองบริเวณโพรงจนเกิดเป็นฝี ซึ่งอาจอักเสบและขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ สัมผัสแล้วรู้สึกเจ็บและอาจมีกลิ่นเหม็น ฝีแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ ฝีที่ผิวหนัง (Skin abscesses) เป็นฝีที่เกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียเข้าไปในผิวหนัง ทำให้เกิดตุ่มหนองอักเสบและเกิดก้อนฝีตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย อาจพบได้ที่ใต้วงแขน แขน ขา ลำตัว อวัยวะเพศ ก้น เป็นต้น ฝีภายใน (Internal abscesses) เป็นฝีที่ก่อตัวภายในอวัยวะหรือในช่องว่างระหว่างอวัยวะต่าง ๆ โดยปกติจะพบได้ยากกว่าฝีที่อยู่บริเวณผิวหนังเนื่องจากเกิดขึ้นภายในร่างกาย และบางครั้งอาจไม่มีสัญญาณภายนอกที่แสดงว่าเป็นฝี อาการของฝี อาการของฝี มีดังนี้ ฝีที่ผิวหนัง มีตุ่มบวมใต้ผิวหนัง […]


สุขภาพผิว

เกลื้อนแดด สาเหตุ อาการ วิธิรักษาและการป้องกัน

เกลื้อนแดด หรือกลากน้ำนม เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในเด็กและวัยรุ่น โดยเฉพาะเด็กที่เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง อาจทำให้เกิดรอยด่างสีขาวจาง ๆ เหมือนน้ำนม ลักษณะเป็นวงกลมหรือวงรีที่มีขอบเขตไม่ชัดเจนบนผิวหนังบริเวณใบหน้า แขน ขา และลำตัว อาจพบขุยละเอียดได้เล็กน้อย เกลื้อนแดดมักไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ แต่บางครั้งอาจทำให้คัน รอยด่างขาวกลายเป็นรอยแดงหรือตกสะเก็ดได้ โดยทั่วไปสามารถรักษาให้หายได้แต่อาจยังมีรอยด่างสีขาวอยู่นานถึง 1 ปี ผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายและโดนแดดบ่อยเสี่ยงเป็นเกลื้อนแดดได้มากกว่าปกติ จึงควรหลีกเลี่ยงแสงแดดและทาครีมกันแดดเป็นประจำเพื่อป้องกันการเกิดเกลื้อนแดด [embed-health-tool-heart-rate] เกลื้อนแดด คืออะไร เกลื้อนแดดหรือกลากน้ำนม (Pityriasis alba) เป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิดไม่รุนแรงที่พบบ่อยในเด็กและวัยรุ่นอายุประมาณ 3-16 ปี แต่ก็สามารถพบได้ในคนทุกวัย สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนี้ยังไม่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากภาวะภูมิแพ้กรรมพันธุ์ (Atopy) ส่งผลให้จำนวนเมลานินหรือเม็ดสีในชั้นผิวหนังลดลงจนผิวหนังบริเวณนั้นกลายเป็นวงด่างสีขาวคล้ายสีน้ำนม ขนาดประมาณ 1-4 เซนติเมตร ที่มีขอบเขตไม่ชัดเจนนัก มักพบบริเวณแก้ม แต่ก็สามารถพบได้ที่ส่วนอื่นของใบหน้า ลำคอ หัวไหล่ แขน ขา ลำตัวได้เช่นกัน บางกรณี เกลื้อนแดดอาจกลายเป็นรอยแดง เป็นขุย หรือตกสะเก็ด แต่มักไม่ทำให้เกิดอาการคันหรือคันน้อยมาก และอาจสังเกตเห็นได้ชัดเจนขึ้นในช่วงอากาศร้อน และอาจแห้งและตกสะเก็ดในช่วงอากาศหนาวเย็น อาการของ เกลื้อนแดด อาการเกลื้อนแดด อาจมีดังนี้ ในระยะแรกผิวหนังบริเวณที่เกิดโรคจะเป็นแผ่นสีชมพูอ่อนที่มีสะเก็ดเล็กน้อย รอยสีชมพูอ่อนกลายเป็นรอยด่างที่มีสะเก็ดหรือเป็นขุยละเอียด ผิวหนังบริเวณนั้นอีกเสบ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน