สุขภาพผิว

ผิวหนัง คืออวัยวะภายนอกที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในร่างกาย ผิวหนังนั้นมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย ทั้งเป็นเกราะป้องกันจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ หรือช่วยควบคุมอุณภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ เป็นต้น เรียนรู้เกี่ยวกับการมี สุขภาพผิว ที่ดี และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย เพื่อการปกป้องดูแลผิวของคุณให้ดียิ่งขึ้น ได้ที่นี่

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพผิว

ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า ดีต่อผิวหน้าจริงหรือไม่?

หลายคนเชื่อว่าการ ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับผิวหน้าที่สุด เพราะน้ำเปล่าเป็นสารธรรมชาติ ปราศจากสารเคมีเจือปน มีความอ่อนโยน เหมาะกับผิวบอบบางแพ้ง่าย และผิวผู้ที่เป็นสิว หลายคนจึงเชื่อว่าการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวเหมาะสมที่สุดสำหรับผิวหน้า แต่ความเชื่อนี้จะจริงหรือเท็จประการใด บทความนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบให้คุณค่ะ ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า ดีต่อผิวหน้าจริงหรือไม่? การล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า อาจไม่ได้เหมาะสมสำหรับผิวหน้าเสมอไป เพราะตลอดทั้งวันเราเจอทั้งมลภาวะต่าง ๆ และฝุ่นละออง ยิ่งคุณผู้หญิงที่แต่งหน้าด้วยล่ะก็ การใช้น้ำเปล่าทำความสะอาดผิวหน้าเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถดูดสิ่งสกปรกหรือเครื่องสำอางค์บนผิวหน้าออกได้อย่างสะอาดหมดจรด และอาจเสี่ยงต่อการเกิดการอุดตันบริเวณรูขุมขนอีกด้วย ดังนั้นอาจต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าควบคู่ด้วย แต่ควรเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าที่มีมาตรฐาน ปลอดภัยต่อผิวหน้า และเหมาะสมกับลักษณะของผิวหน้าคุณ อย่างไรก็ตาม ผิวหน้าของแต่ละคนมีปัญหาแตกต่างกัน การทำความสะอาดผิวหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวอาจเหมาะสำหรับบางคน ทั้งนี้ทั้งนั้นให้คุณลองสังเกตใบหน้าของตนเองว่าหากทำความสะอาดผิวหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว เหมาะกับผิวหน้าของคุณหรือไม่ หากไม่เหมาะสมให้ปรับเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าเพื่อความสมดุลของผิว 5 คุณประโยชน์จากการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า น้ำเปล่า มีประโยชน์ที่ดีต่อผิวหน้ามากกว่าที่คุณคิด โดย 5 คุณประโยชน์จากการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า มีดังต่อไปนี้ สะดวกและง่ายต่อการทำความสะอาดผิวหน้า  ลดการเสียดสีกับผิวหน้า ช่วยลดการระคายเคืองกับบริเวณผิวหนัง ปลอดภัยต่อผิวหน้า เพราะมีน้ำมีความอ่อนโยนปราศจากสารเคมี เกิดการระคายเคืองน้อยกว่าเมื่อเทียบกับใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า  ลดความเสี่ยงในการลอกคราบน้ำมันตามธรรมชาติของผิว ช่วยปกป้องเกราะป้องกันผิว ไม่ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า ลดต้นทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ขั้นตอนง่าย ๆ ในการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว ในตอนเช้าให้ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าสะอาด และซับหน้าด้วยผ้าไมโครไฟเบอร์ซับเบา ๆ ให้แห้งที่ผิวหน้า จะช่วยลดการเสียดสีและลดการระคายเคืองต่อผิวหนัง  ในช่วงตอนกลางคืน […]

หมวดหมู่ สุขภาพผิว เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพผิว

โรคผิวหนังอักเสบ

Bullous pemphigoid คือ โรคเพมฟิกอยด์ สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

Bullous pemphigoid คือ โรคเพมฟิกอยด์ เป็นโรคตุ่มน้ำพองที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดตุ่มน้ำพองที่ผิวหนังและเยื่อบุต่าง ๆ เมื่อตุ่มพองแตกออกจะทำให้เป็นแผลถลอกและอาจทำให้รู้สึกเจ็บ โรคนี้พบบ่อยในผู้สูงอายุ การรักษาขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความรุนแรงของโรค โดยทั่วไปการรับประทานหรือทายาต้านอักเสบ ไม่แกะเกาผิวหนัง ดูแลผิวให้ดี อาจทำให้หายจากโรคนี้ได้ แต่ไม่หายขาด โรคนี้อาจเป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุที่สุขภาพไม่แข็งแรง หากพบว่ามีอาการที่เข้าข่ายโรคเพมฟิกอยด์ ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม Bullous pemphigoid คือ อะไร โรคเพมฟิกอยด์ หรือ Bullous pemphigoid คือ โรคผิวหนังที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ทำให้ชั้นหนังกำพร้าหลุดลอกออกจากชั้นหนังแท้ ส่งผลให้ทำให้เกิดตุ่มพอง พบมากบริเวณข้อพับ รักแร้ หน้าท้อง รอบขาหนีบ และอาจพบที่เยื่อบุช่องปากปาก ลิ้น หลอดอาหาร โพรงจมูก และเยื่อบุตาได้เช่นกัน อาการของโรคจะเริ่มจากมีผื่นแดง คัน ลักษณะคล้ายลมพิษ ขึ้นกระจายเป็นหย่อม ๆ จากนั้นผื่นจะกลายเป็นตุ่มพองหรือตุ่มน้ำใส เมื่อแตกออกจะทำให้รู้สึกเจ็บ และกลายเป็นแผลถลอก ส่วนใหญ่จะทิ้งรอยแผลเป็นไว้บนผิวหนัง ตุ่มน้ำพองอาจเกิดขึ้นในบริเวณไม่กว้างมากหรืออาจกระจายไปทั่วร่างกาย แขน และขา โรคนี้อาจหายได้เองภายในเวลาไม่กี่เดือน แต่บางครั้งอาจต้องใช้เวลารักษาหลายปี และอาจเป็นซ้ำได้อีก สาเหตุของโรค Bullous pemphigoid โรคเพมฟิกอยด์เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ และเข้าทำลายโปรตีนที่ทำหน้าที่ยึดผิวหนังชั้นกำพร้าและชั้นหนังแท้ไว้ด้วยกัน […]


โรคผิวหนังอักเสบ

เซ็บเดิร์ม คือ โรคต่อมไขมันอักเสบ สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง การรักษา

เซ็บเดิร์ม คือ โรคต่อมไขมันอักเสบ เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากต่อมไขมันอักเสบเรื้อรัง จนส่งผลให้ผิวหนังตกสะเก็ด เป็นขุย มีผื่นคัน หรือเป็นรอยแดง พบได้บ่อยบริเวณหนังศีรษะ ใบหน้า รวมถึงผิวหนังส่วนที่มีไขมันเยอะทั่วร่างกาย โดยทั่วไปสามารถรักษาได้ด้วยการใช้แชมพูขจัดรังแคและยาต้านเชื้อรา แต่หากรักษาเองเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือเกิดการติดเชื้อ ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี เซ็บเดิร์ม คือ อะไร เซ็บเดิร์ม คือ โรคต่อมไขมันอักเสบ หรือโรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน (Seborrheic Dermatitis) อาจเกิดจากการติดเชื้อยีสต์มาลาสซีเซีย พาไคเดอมาติส (Malassezia pachydermatis) หรือความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ที่ส่งผลให้ต่อมไขมันอักเสบเรื้อรัง ทำให้มีผิวหนังหลุดลอกเป็นแผ่น ผิวบวมแดง และเกิดรังแคหรือสะเก็ดที่หายได้ยาก พบมากในบริเวณหนังศีรษะ แต่ก็อาจส่งผลต่อผิวหนังบริเวณข้างจมูก คิ้ว หน้าผาก เปลือกตา หู หน้าอก หรือส่วนอื่น ๆ ที่มีต่อมไขมันมากได้เช่นกัน หากพบในทารกจะเรียกว่า ภาวะต่อมไขมันอักเสบในทารก ที่ทำให้เกิดแผ่นไขสีเหลืองบนหนังศีรษะ หรือไขที่ศีรษะ (Cradle Cap) ของทารก โรคเซ็บเดิร์มส่วนใหญ่มักเป็น ๆ หาย ๆ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยการรักษาและดูแลที่เหมาะสม ปัจจัยเสี่ยงของโรค เซ็บเดิร์ม […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

หน้าโทรม เกิดจากสาเหตุอะไร และฟื้นฟูได้ด้วยวิธีไหนบ้าง

หน้าโทรม เป็นลักษณะของผิวหนังบริเวณใบหน้าที่มีสภาพหมองคล้ำ ไม่สดใส และเต็มไปด้วยริ้วรอย มักเกิดขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น หรือเมื่อละเลยสุขภาพตัวเอง เช่น การนอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมง/คืน ดื่มน้ำน้อยกว่าที่ควร หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ อย่างไรก็ตาม หน้าโทรมอาจฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้ ด้วยการดื่มน้ำในปริมาณมาก นอนหลับให้เพียงพอ ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว รวมทั้งเข้ารับการฉายแสงเลเซอร์ เพื่อกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน (Collagen) ในผิวหนัง ซึ่งอาจช่วยให้ผิวหนังเต่งตึงดูสดใสขึ้นและลดเลือนริ้วรอยต่าง ๆ ให้แลดูจางลง [embed-health-tool-ovulation] หน้าโทรมเกิดจากสาเหตุใด การมีผิวหน้าหมองคล้ำ ไม่สดใส เต็มไปด้วยริ้วรอย หรือที่เรียกรวม ๆ ว่า หน้าโทรม นั้นมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ รังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสียูวี (Ultraviolet หรือ UV) หากผิวหนังโดนรังสียูวีที่อยู่ในแสงอาทิตย์เป็นเวลานาน อาจทำให้หน้าโทรมหรือดูแก่กว่าวัยได้ เนื่องจากรังสียูวีจะทำลายโปรตีนคอลลาเจนและอิลาสติน (Elastin) ซึ่งเป็นโปรตีนในผิวหนังที่ช่วยให้ผิวหนังเต่งตึง ชุ่มชื้น หรือดูอ่อนเยาว์ นอกจากนี้ รังสียูวียังมีคุณสมบัติกระตุ้นเซลล์เมลาโนไซท์ (Melanocytes) ในผิวหนังกำพร้าให้สร้างเมลานิน (Melanin) หรือเซลล์เม็ดสีผิว จนผิวหนังบริเวณหน้าผาก จมูก หรือแก้ม มีสีเข้มขึ้นหรือเป็นฝ้าได้ การขาดความชุ่มชื้น […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

7 วิธีดูแลผิวหน้า แบบธรรมชาติ ทำได้อย่างไรบ้าง

วิธีดูแลผิวหน้า เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ง่าย ๆ เพื่อรักษาสภาพผิวบริเวณใบหน้า จมูก คาง แก้ม หน้าผากให้สะอาดและชุ่มชื้น ป้องกันการเป็นสิว จุดด่างดำหรือริ้วรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าซึ่งส่งผลต่อความมั่นใจในตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อต้องเข้าสังคมหรือพบเจอกับคนหมู่มาก ทั้งนี้ วิธีดูแลผิวหน้า แบบธรรมชาติและไม่ยุ่งยากมีหลายวิธี เช่น การทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้าน การล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง การทาครีมชุ่มชื้นเป็นประจำ การดื่มน้ำมาก ๆ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การลดความเครียด [embed-health-tool-ovulation] ดูแลผิวหน้า ป้องกันปัญหาอะไรได้บ้าง หากรู้จักดูแลผิวหน้าอย่างถูกวิธี อาจช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพผิวต่าง ๆ ได้ ดังนี้ ป้องกันการเกิดสิว สิวเป็นตุ่มสีแดงที่พบได้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายรวมถึงใบหน้า ซึ่งมีทั้งสิวชนิดมีหัว เช่น สิวหัวช้าง สิวอักเสบ และสิวชนิดไม่มีหัว เช่น สิวเสี้ยน สิวไต ซึ่งมักเกิดจากรูขุมขนอุดตันจากน้ำมันบนใบหน้าและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น เอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia Coli) คูติแบคทีเรียม แอคเน่ (Cutibacterium Acnes) ป้องกันริ้วรอยและรอยเหี่ยวย่น ริ้วรอยต่าง ๆ […]


สุขภาพผิว

ฟิลเลอร์ใต้ตา มีขั้นตอนอะไรบ้าง มีผลข้างเคียงหรือไม่

ฉีด ฟิลเลอร์ใต้ตา เป็นการฉีดสารเติมเต็มต่าง ๆ เข้าผิวหนังบริเวณใต้ตา เพื่อแก้ปัญหาใต้ตาดำ ร่องใต้ตาลึก และริ้วรอยต่าง ๆ ที่มักจะเด่นชัดเมื่ออายุมากขึ้น ทั้งนี้ ขั้นตอนการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา 1 ครั้ง จะใช้เวลาประมาณ 5-20 นาที โดยระยะเวลาเห็นผลจะขึ้นอยู่กับชนิดของฟิลเลอร์ที่ใช้ โดยปกติหลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตามักทำให้ตาบวมชั่วคราวแล้วจะหายไปเอง [embed-health-tool-ovulation] ฟิลเลอร์ใต้ตา คืออะไร ฟิลเลอร์ใต้ตา เป็นการฉีดฟิลเลอร์ (Filler) หรือสารเติมเต็มชนิดต่าง ๆ เข้าบริเวณผิวหนังใต้ตา เพื่อแก้ปัญหารอยดำใต้ตา รวมถึงช่วยลดเลือนริ้วรอยหรือร่องลึกใต้ตา ซึ่งจะปรากฏชัดเจนเมื่ออายุมากขึ้น เพราะผิวหนังผลิตคอลลาเจน (Collagen) ได้น้อยลง และไขมันใต้ผิวหนังสูญสลายไปตามวัย ทั้งนี้ ฟิลเลอร์ที่นิยมฉีดเพื่อแก้ปัญหาผิวหนังบริเวณรอบดวงตา มีดังนี้ กรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid) เป็นสารที่พบได้ในเนื้อเยื่อของมนุษย์ และนิยมใช้เป็นฟิลเลอร์ใต้ตามากที่สุด โดยมีคุณสมบัติกระตุ้นการผลิตคอลลาเจน จึงช่วยให้ผิวหนังใต้ตากระชับ เต่งตึง และชุ่มชื้น นอกจากนี้ กรดไฮยาลูรอนิคยังไม่กระจุกตัวเป็นก้อนเมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกาย และสามารถนำออกจากร่างกายได้ง่ายหากพบปัญหาใด ๆ เมื่อฉีดเข้าไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของการฉีดกรดไฮยาลูรอนิคคือผลลัพธ์อยู่ไม่นาน หรือประมาณ 6-12 เดือน แคลเซียม ไฮดรอกซีอะพาไทต์ […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ผมร่วง สาเหตุ อาการและการรักษา

ผมร่วง คือ การสูญเสียเส้นผมบนหนังศีรษะ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม หากมีผมร่วงมากกว่าปกติอาจเป็นปัญหาสุขภาพหนังศีรษะและเส้นผมที่เกิดจากพันธุกรรม ฮอร์โมนไม่สมดุล หรือพฤติกรรมการทำร้ายหนังศีรษะและเส้นผม เช่น การฟอกสีผม การมัดผมแน่นที่ทำให้เส้นผมและหนังศีรษะอ่อนแอ ส่งผลให้มีผมร่วงและผมขาดง่าย อีกทั้งยังอาจนำไปสู่ปัญหาผมบางและศีรษะล้านได้หากไม่ทำการรักษา คำจำกัดความ ผมร่วง คืออะไร ผมร่วง คือ การหลุดร่วงของเส้นผม ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เนื่องจากเส้นผมมีวงจรการหลุดร่วงประมาณ 100-150 เส้น/วัน และจะมีเส้นผมใหม่เจริญเติบโตมาแทนที่ อย่างไรก็ตาม หากไม่มีผมงอกใหม่ หรือผมร่วงมากเกินไปจนเห็นหนังศีรษะอย่างชัดเจน ควรเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันภาวะศีรษะล้าน อาการ อาการของผมร่วง ผมร่วงบริเวณด้านบนหนังศีรษะ เป็นอาการผมร่วงที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากโดยอาจมีผมร่วงบริเวณตามแนวหน้าผากขึ้นไป ส่งผลให้หน้าผากกว้างขึ้น ผมร่วงเป็นหย่อม ส่งผลให้มองเห็นหนังศีรษะเป็นบางจุด ผมร่วงกะทันหัน ที่เกิดจากการหวีผมแรง การหนีบผม การมัดผมแน่น หรือการดึงผม ทำให้ผมร่วงกะทันหันโดยยังไม่ถึงวงจรการหลุดร่วงของเส้นผมตามธรรมชาติ ผมร่วงและหนังศีรษะอักเสบ ที่สังเกตได้จากอาการคันหนังศีรษะ และตกสะเก็ด ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคกลากและสะเก็ดเงินบนหนังศีรษะ ผมร่วงทั้งหนังศีรษะ อาจเกิดจากการทำเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง ที่อาจทำให้เส้นผมและขนตามร่างกายหลุดร่วง แต่อาการนี้อาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและผมมักงอกขึ้นใหม่ได้หลังเสร็จสิ้นการรักษา ควรเข้าพบคุณหมอทันที หากสังเกตว่าผมร่วงมากและผมบาง รวมถึงมีอาการผิดปกติ เช่น สะเก็ดบนหนังศีรษะ อาการคันรุนแรง สาเหตุ สาเหตุของผมร่วง สาเหตุของผมร่วง มีดังนี้ พันธุกรรม หากครอบครัวมีปัญหาผมร่วงก็อาจส่งผลให้บุตรหลานมีปัญหาผมร่วงได้เช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่มักมีลักษณะเป็นผมร่วงตรงกลางของหนังศีรษะ […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

เกลื้อน สาเหตุ อาการ และการรักษา

เกลื้อน เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อรา โดยอาจมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เป็นตัวกระตุ้นให้เชื้อราเจริญเติบโตมากเกินไป เช่น อากาศร้อนชื้น ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ทำให้เกิดจุดบนผิวหนัง ซึ่งอาจมีสีเข้มหรือสีอ่อนกว่าสีผิวหนัง ผิวหนังเป็นสะเก็ด และมีอาการคัน ดังนั้น หากสังเกตว่ามีจุดหรือรอยด่างตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว คำจำกัดความ เกลื้อนคืออะไร เกลื้อน คือ โรคผิวหนังจากการติดเชื้อ ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเชื้อราที่อาศัยบนผิวหนังตามธรรมชาติเจริญเติบโตมากเกินไป อย่างไรก็ตาม เกลื้อนไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อาจส่งผลให้มีอาการคันจนต้องเกาบ่อย ๆ ซึ่งอาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้ เกลื้อนพบได้บ่อยในช่วงวัยรุ่นและผู้ใหญ่ เพราะเป็นช่วงวัยที่ต่อมไขมันผลิตไขมันมาก ทำให้ผิวมัน และอาจกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อรา ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อราได้ อาการ อาการของเกลื้อน เกลื้อน มีอาการดังต่อไปนี้ จุดเล็ก ๆ สีขาว สีแดง สีชมพู หรือสีน้ำตาลบนผิวหนัง อาจมีขนาดตั้งแต่ 1 มิลลิเมตรขึ้นไปหรืออาจขยายเป็นปื้นใหญ่ จุดของเกลื้อนอาจมีสีเข้มหรือสีอ่อนกว่าสีผิวหนังโดยรอบ มักเกิดขึ้นบ่อยบริเวณคอ หลัง หน้าอก และแขน ผิวหนังที่เป็นเกลื้อนอาจมีลักษณะเป็นขุยบาง ๆ ควรพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษา หากสังเกตว่าอาการไม่ดีขึ้น จุดเกลื้อนมีขนาดใหญ่ หรือมีการติดเชื้อราซ้ำ ๆ บ่อยครั้ง สาเหตุ สาเหตุของเกลื้อน เกลื้อนเกิดจากการติดเชื้อรามาลาสซีเซีย (Malassezia) ซึ่งเป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่บนผิวหนังและมักบริโภคไขมันในรูขุมขนเป็นอาหาร หากต่อมไขมันผลิตไขมันมากก็อาจส่งผลให้เชื้อราเจริญเติบโตมากเกินไปจนเกิดการติดเชื้อ ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงของเกลื้อน ปัจจัยเสี่ยงของเกลื้อน มีดังนี้ สภาพอากาศร้อนชื้น […]


สุขภาพผิว

ฉีดปากกระจับ ขั้นตอน และความเสี่ยง

ฉีดปากกระจับ เป็นการฉีดกรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid) เข้าใต้ผิวหนังบริเวณริมฝีปาก เพื่อทำให้ริมฝีปากเป็นทรงกระจับแลดูอวบอิ่ม เต่งตึง เรียบเนียนและมีขนาดสมมาตรตามที่ต้องการ การฉีดปากกระจับมักใช้เวลาประมาณ 30-120 นาที และการฉีดปากกระจับ 1 ครั้ง มักให้ผลคงอยู่ได้นานราว 8-12 เดือน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสุขภาพและการดูแลตัวเองของแต่ละคน [embed-health-tool-ovulation] ฉีดปากกระจับ คืออะไร ฉีดปากกระจับ เป็นการฉีดสารเติมเต็มหรือฟิลเลอร์ (Filler) เข้าไปใต้ผิวหนังบริเวณริมฝีปาก เพื่อปรับรูปร่างของริมฝีปากให้เป็นทรงกระจับสวยงาม หรือเพื่อปรับขนาดของริมฝีปากที่มีลักษณะบางหรือเล็ก หรือมีร่องลึกเนื่องจากสูญเสียคอลลาเจนและไขมันเมื่ออายุมากขึ้น ให้กลับมาแลดูอวบอิ่มน่ามองอีกครั้ง ปัจจุบัน สารเติมเต็มที่นิยมใช้ฉีดปากกระจับ คือกรดไฮยาลูรอนิคซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่พบได้ในร่างกายมนุษย์ มีคุณสมบัติช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้นและอิ่มน้ำ และสามารถย่อยสลายได้เองตามกระบวนการของร่างกายโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย ทั้งนี้ สารเติมเต็มอื่น ๆ ที่เคยนำมาใช้สำหรับฉีดปากกระชับ ได้แก่ คอลลาเจนและไขมัน แต่ปัจจุบันเสื่อมความนิยมไปแล้วเพราะไม่ปลอดภัยเท่ากรดไฮยาลูรอนิค ผู้ที่ไม่ควรเข้ารับการฉีดปากกระจับมีใครบ้าง การฉีดปากกระจับ เหมาะสำหรับผู้ที่มีสุขภาพดีและไม่สูบบุหรี่ แต่อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะสุขภาพดังต่อไปนี้ เป็นโรคเบาหวาน เป็นโรคลูปัส (Lupus) ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน มีความผิดปกติเกี่ยวกับลิ่มเลือด แพ้ยาชา เช่น ลิโดเคน (Lidocaine) เป็นโรคติดเชื้อ เช่น โรคเริมที่ปาก นอกจากนี้ ก่อนตัดสินใจรับการฉีดปากกระจับ ควรแจ้งคุณหมอให้ชัดเจนเกี่ยวกับยาหรืออาหารเสริมที่กำลังรับประทาน รวมถึงประวัติสุขภาพ การผ่าตัด […]


สิว

สิวที่แก้ม เกิดจากอะไร และควรดูแลตนเองอย่างไร

สิวที่แก้ม เกิดจากการอุดตันของรูขุมขน รวมถึงการติดเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังบริเวณแก้ม มักเกิดจากการที่ผิวบริเวณแก้มโดนสัมผัสหรือถูกเสียดสีบ่อยครั้งจากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การคุยโทรศัพท์ที่แนบโทรศัพท์ไว้กับใบหน้า การใส่หน้ากากอนามัย การสวมหมวกกันน็อค เมื่อเป็นสิวที่แก้ม ควรดูแลตัวเอง เช่น ใช้ยารักษาสิว งดการสัมผัสใบหน้า เลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดสิว [embed-health-tool-ovulation] สิวที่แก้ม เกิดจากอะไร โดยปกติ สิว รวมถึงสิวที่แก้ม มักเกิดจากการอุดตันของรูขุมขนเนื่องจากเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว หรือต่อมใต้ผิวหนังผลิตน้ำมันออกมามากเกินไป นอกจากนั้น สิวยังอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ อย่างเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia Coli) หรือคูติแบคทีเรียม แอคเน่ (Cutibacterium Acnes) ที่มักทำให้เกิดสิวอักเสบหรือสิวอุดตัน ปัจจัยเสี่ยงสิวที่แก้ม สิวที่แก้ม มักเกิดจากการเสียดสี ซึ่งอาจเป็นผลจากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น นอนตะแคงโดยไม่พลิกตัว สวมหมวกกันน็อค ใส่หน้ากากอนามัย คุยโทรศัพท์โดยแนบไว้ที่แก้ม พฤติกรรมการเอามือจับหน้าบ่อย ๆ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นสิวที่แก้ม ได้แก่ พันธุกรรม หรือประวัติการเป็นสิวของคนในครอบครัว สิวที่เป็นอยู่แล้ว หากเป็นสิวอยู่แล้ว การเสียดสีบนใบหน้าอาจทำให้สิวเพิ่มจำนวนมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ระหว่างเข้าสู่วัยรุ่นหรือช่วงเวลาตั้งครรภ์ มีผลทำให้ต่อมใต้ผิวหนังมีขนาดใหญ่ขึ้น และผลิตน้ำมันมากขึ้น การบริโภคอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ระดับฮอร์โมนอินซูลินที่เพิ่มขึ้นในกระแสเลือดหลังบริโภคอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตมักไปกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgens) […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

วิธีรักษาฝี และการป้องกันฝีตามร่างกาย

ฝีเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มสแตปฟิโลคอคคัส (Staphylococcus) ทางบาดแผลหรือรูขุมขนทำให้ผิวหนังนูนเป็นตุ่มมีหนองอยู่ภายใน วิธีรักษาฝี อาจดูแลตนเองเบื้องต้นได้ด้วยการประคบร้อนและไม่แกะหรือเกาบริเวณที่เป็นฝี แต่หากอาการรุนแรง ควรไปพบคุณหมอซึ่งอาจรักษาด้วยการให้รับประทานยาต้านแบคทีเรีย หรือผ่าฝีเพื่อระบายหนองออกและทำให้ฝียุบตัว นอกจากนั้น ฝียังป้องกันได้ด้วยการดูแลและรักษาความสะอาดสุขอนามัยของตนเองด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ล้างมือสม่ำเสมอ ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น หากเป็นแผลควรล้างแผลและใส่ยา [embed-health-tool-bmr] ฝีเกิดจากอะไร ฝี กิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มสแตปฟิโลคอคคัส อย่างสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) หรือสเตรปโตค็อกคัส ไพโอจีนัส (Streptococcus Pyogenes) ซึ่งปกติแบคทีเรียดังกล่าวมักไม่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรง หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ยกเว้นเมื่อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผล รอยขีดข่วน หรือรูขุมขน ซึ่งส่งผลให้เกิดการติดเชื้อหรือเป็นฝีได้ ลักษณะของฝี คือ ตุ่มบวมแดงอมชมพู มีหนองอยู่ข้างใน และมีหัวสีออกเหลือง มักทำให้รู้สึกเจ็บหรือระคายเคืองเมื่อผิวหนังบริเวณดังกล่าวถูกเสียดสีหรือโดนสัมผัส ฝีอาจเกิดได้ทั้งบริเวณผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และในรูจมูก รวมทั้งฝีภายในร่างกาย โดยเกิดจากการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียจากภาวะสุขภาพต่าง ๆ เช่น เมื่อไส้ติ่งแตก แบคทีเรียจะกระจายไปยังช่องท้อง และทำให้เป็นฝีในช่องท้องได้เมื่อเป็นฝี วิธีรักษาฝี และการดูแลตนเอง ฝีเม็ดเล็ก หรือฝีที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร อาจหายได้เอง หรือค่อย ๆ แห้งและยุบลงด้วยการดูแลตนเอง ดังนี้ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน