สุขภาพผิว

ผิวหนัง คืออวัยวะภายนอกที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในร่างกาย ผิวหนังนั้นมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย ทั้งเป็นเกราะป้องกันจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ หรือช่วยควบคุมอุณภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ เป็นต้น เรียนรู้เกี่ยวกับการมี สุขภาพผิว ที่ดี และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย เพื่อการปกป้องดูแลผิวของคุณให้ดียิ่งขึ้น ได้ที่นี่

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพผิว

ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า ดีต่อผิวหน้าจริงหรือไม่?

หลายคนเชื่อว่าการ ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับผิวหน้าที่สุด เพราะน้ำเปล่าเป็นสารธรรมชาติ ปราศจากสารเคมีเจือปน มีความอ่อนโยน เหมาะกับผิวบอบบางแพ้ง่าย และผิวผู้ที่เป็นสิว หลายคนจึงเชื่อว่าการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวเหมาะสมที่สุดสำหรับผิวหน้า แต่ความเชื่อนี้จะจริงหรือเท็จประการใด บทความนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบให้คุณค่ะ ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า ดีต่อผิวหน้าจริงหรือไม่? การล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า อาจไม่ได้เหมาะสมสำหรับผิวหน้าเสมอไป เพราะตลอดทั้งวันเราเจอทั้งมลภาวะต่าง ๆ และฝุ่นละออง ยิ่งคุณผู้หญิงที่แต่งหน้าด้วยล่ะก็ การใช้น้ำเปล่าทำความสะอาดผิวหน้าเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถดูดสิ่งสกปรกหรือเครื่องสำอางค์บนผิวหน้าออกได้อย่างสะอาดหมดจรด และอาจเสี่ยงต่อการเกิดการอุดตันบริเวณรูขุมขนอีกด้วย ดังนั้นอาจต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าควบคู่ด้วย แต่ควรเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าที่มีมาตรฐาน ปลอดภัยต่อผิวหน้า และเหมาะสมกับลักษณะของผิวหน้าคุณ อย่างไรก็ตาม ผิวหน้าของแต่ละคนมีปัญหาแตกต่างกัน การทำความสะอาดผิวหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวอาจเหมาะสำหรับบางคน ทั้งนี้ทั้งนั้นให้คุณลองสังเกตใบหน้าของตนเองว่าหากทำความสะอาดผิวหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว เหมาะกับผิวหน้าของคุณหรือไม่ หากไม่เหมาะสมให้ปรับเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าเพื่อความสมดุลของผิว 5 คุณประโยชน์จากการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า น้ำเปล่า มีประโยชน์ที่ดีต่อผิวหน้ามากกว่าที่คุณคิด โดย 5 คุณประโยชน์จากการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า มีดังต่อไปนี้ สะดวกและง่ายต่อการทำความสะอาดผิวหน้า  ลดการเสียดสีกับผิวหน้า ช่วยลดการระคายเคืองกับบริเวณผิวหนัง ปลอดภัยต่อผิวหน้า เพราะมีน้ำมีความอ่อนโยนปราศจากสารเคมี เกิดการระคายเคืองน้อยกว่าเมื่อเทียบกับใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า  ลดความเสี่ยงในการลอกคราบน้ำมันตามธรรมชาติของผิว ช่วยปกป้องเกราะป้องกันผิว ไม่ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า ลดต้นทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ขั้นตอนง่าย ๆ ในการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว ในตอนเช้าให้ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าสะอาด และซับหน้าด้วยผ้าไมโครไฟเบอร์ซับเบา ๆ ให้แห้งที่ผิวหน้า จะช่วยลดการเสียดสีและลดการระคายเคืองต่อผิวหนัง  ในช่วงตอนกลางคืน […]

หมวดหมู่ สุขภาพผิว เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพผิว

สุขภาพผิว

คันหน้ายุบยิบ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

คันหน้ายุบยิบ เป็นปัญหาผิวหนังที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นผิวแห้ง โรคผิวหนัง การใช้ยาบางชนิด รวมถึงความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท ทั้งนี้ หากมีอาการคันหน้ายุบยิบ ควรดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยการใช้ผ้าเย็นประคบหน้า ล้างหน้าด้วยน้ำสะอาด ทายาเพื่อลดอาการคัน ทาครีมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น [embed-health-tool-bmi] คันหน้ายุบยิบ เกิดจากสาเหตุอะไร คันหน้ายุบยิบเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ผิวหน้าแห้ง ผิวหน้าแห้งเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายขาดน้ำ ล้างหน้าบ่อย ใช้สบู่ฤทธิ์แรง อาบน้ำอุ่นเป็นเวลานาน อยู่สภาพแวดลอมที่อากาศแห้ง หรือมีปัญหาสุขภาพบางประการ อายุที่มากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น ผิวหน้าและผิวหนังส่วนอื่น ๆ จะผลิตน้ำมันได้น้อยลง ทำให้สูญเสียความชุ่มชื้นหรือแห้งได้ง่าย และก่อให้เกิดอาการคันร่วมด้วย โรคภูมิแพ้ ภูมิแพ้เป็นการตอบสนองอย่างผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันต่อสารต่าง ๆ ที่พบได้ในอาหาร อากาศ วัคซีนป้องกันโรค รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยทั่วไป เมื่อใบหน้าสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ผู้ที่เป็นภูมิแพ้จะรู้สึกคัน และอาจมีผื่นขึ้นร่วมด้วย น้ำดีคั่งในตับ เป็นโรคเกี่ยวกับตับที่พบได้ในผู้ป่วยโรคตับ โรคมะเร็งตับ โรคนิ่วในถุงน้ำดี หญิงตั้งครรภ์ และมักหายไปเองหลังคลอดบุตร เมื่อเป็นโรคนี้ หญิงตั้งครรภ์จะมีอาการคันอย่างรุนแรงตามมือ เท้า และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ใบหน้า ร่วมกับมีอาการป่วยอื่น […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

Debridement คือ อะไร ช่วยในการรักษาบาดแผลอย่างไร

Debridement คือ วิธีการกำจัดเนื้อเยื่อที่ตายแล้วและสิ่งแปลกปลอมออกจากแผล เพื่อช่วยให้แผลฟื้นฟูตัวเองได้เร็วขึ้น โดยทั่วไป นิยมใช้วิธี Debridement กับแผลเรื้อรัง แผลที่ฟื้นฟูได้ช้ากว่าปกติ รวมถึงแผลจากไฟไหม้อย่างรุนแรง [embed-health-tool-heart-rate] Debridement คือ อะไร Debridement คือการกำจัดเนื้อเยื่อที่ตายแล้วและสิ่งแปลกปลอมออกจากแผล เพื่อช่วยให้แผลฟื้นฟูตัวเองได้เร็วขึ้นและลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ ปกติแล้ว นิยมใช้วิธีการกำจัดเนื้อเยื่อที่ตายแล้วและสิ่งแปลกปลอมกับแผลแผลเรื้อรัง แผลที่ฟื้นฟูตัวเองช้ากว่าปกติ แผลติดเชื้อ แผลไฟไหม้รุนแรง รวมถึงแผลที่อาจทำให้เนื้อเยื่อตาย เช่น แผลบริเวณเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน Debridement มีกี่รูปแบบ การกำจัดเนื้อเยื่อที่ตายแล้วและสิ่งแปลกปลอมมีหลายรูปแบบ ดังนี้ Autolytic Debridement Autolytic Debridement เป็นการปิดแผลด้วยผ้าพันแผลชนิดพิเศษ โดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยดูดซับสารคัดหลั่งช่วยให้เกิดความชุ่มชื้นที่เหมาะสม ผู้ป่วยรู้สึกสบายแผล ไม่เจ็บปวด และทำให้ร่างกายจัดการเนื้อเยื่อที่ตายและสิ่งแปลกปลอมด้วยกระบวนการธรรมชาติ ทั้งนี้ Autolytic Debridement จะใช้เวลาหลายวัน และเหมาะกับแผลขนาดเล็กที่ไม่พบการติดเชื้อ รวมถึงแผลกดทับ Biological Debridement Biological Debridement หรือบางครั้งเรียกว่า หนอนบำบัด (Maggot Therapy) เป็นการปล่อยหนอนแมลงวันเข้าไปในแผล แล้วปิดด้วยผ้าพันแผล เพื่อให้หนอนกินเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว และหลั่งสารต้านแบคทีเรียออกมา โดยทั่วไป วิธี Biological Debridement จะใช้เวลาครั้งละประมาณ 24 ถึง 72 ชั่วโมง Enzymatic […]


โรคสะเก็ดเงิน

สะเก็ดเงิน อาการ และการดูแลตัวเองเบื้องต้น

สะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันผิวหนังและอาจมีปัจจัยทางพันธุกรรมมาเกี่ยวข้อง โรคนี้ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด และเมื่อเป็นโรค สะเก็ดเงิน อาการ ที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ ผิวหนังหนาเป็นปื้น แห้ง และลอกเป็นขุยสีขาวหรือเงินอยู่ตลอด และมักเกิดร่วมกับอาการคัน [embed-health-tool-heart-rate] สะเก็ดเงิน คืออะไร สะเก็ดเงิน (Psoriasis) เป็นโรคผิวหนังที่ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด โดยเซลล์ผิวหนังของผู้ป่วยสะเก็ดเงินมักเติบโตเร็วกว่าปกติประมาณ 10 เท่า ทำให้ผิวหนังบริเวณศีรษะ ข้อศอก หัวเข่า แผ่นหลังส่วนล่าง และอวัยวะเพศ กลายเป็นสะเก็ดแข็งสีเงิน สีขาว หรือสีเหลือง ปกติแล้ว สะเก็ดเงินมักเกิดกับผู้มีอายุระหว่าง 20-30 ปี และระหว่าง 50-60 ปี โดยส่วนใหญ่ อาการของโรคนี้จะไม่เกิดกับทุกส่วนของร่างกาย ยกเว้นในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง สำหรับสาเหตุของสะเก็ดเงินสันนิษฐานว่าเป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งส่งผลให้เซลล์ผิวหนังเพิ่มจำนวนผิดปกติ ทั้งนี้ จะไม่พบอาการหรือสัญญาณใด ๆ ของโรค จนกระทั่งร่างกายถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การติดเชื้อ สภาพอากาศ โดยเฉพาะช่วงที่หนาวหรือแห้ง การบาดเจ็บบริเวณผิวหนัง เช่น การถูกของมีคมบาด การเสียดสี การกระแทก การสูบบุหรี่หรือการได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลิเทียม (Lithium) […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

Cellulitis คือ อะไร อันตรายไหม ป้องกันได้อย่างไร

Cellulitis คือ เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ ซึ่งเป็นปัญหาผิวหนังจากการติดเชื้อรูปแบบหนึ่ง เมื่อเป็นแล้วผิวหนังจะมีอาการบวม แดง และเจ็บ ทั้งนี้ ควรดูแลตัวเองด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะ เพราะหากปล่อยไว้ อาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ [embed-health-tool-bmi] Cellulitis คือ อะไร Cellulitis หรือเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ เป็นปัญหาผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะแบคทีเรียสเตรปโทคอกโคสิส (Streptococcosis) และสแตฟฟิโลคอกคัส (Staphylococcus) ซึ่งพบได้บนผิวหนังและในร่างกายของมนุษย์ ทั้งนี้ เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบมักพบได้ทั่วไป โดยผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคนี้ ได้แก่ เด็ก ผู้ที่ผิวหนังได้รับบาดเจ็บ สัก เจาะ หรือถูกแมลงหรือสัตว์กัดต่อย ผู้ที่เป็นโรคผิวหนังชนิดเรื้อรัง เช่น สะเก็ดเงิน น้ำกัดเท้า ผื่นผิวหนังอักเสบ ผู้ที่เคยเป็นเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบมาก่อน ผู้ที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว ผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือน้ำหนักเกินเกณฑ์ อาการของ Cellulitis คือ อะไรบ้าง ปกติแล้ว เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบจะเกิดบริเวณขาส่วนล่าง แต่บางครั้งอาจพบตามส่วนอื่น ๆ ของร่างกายอย่างใบหน้าหรือแขนด้วย โดยอาการของโรค ได้แก่ ผิวหนังบวม อักเสบ […]


สุขภาพผิว

โรคตุ่มน้ำพอง สาเหตุ อาการและวิธีรักษา

โรคตุ่มน้ำพอง (Bullous pemphigoid) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ที่ทำลายเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังชั้นนอก ส่งผลให้เกิดแผลพุพอง สามารถพบได้ทุกช่วงวัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุ หากสังเกตว่ามีอาการคันที่ผิวหนังนานและมีแผลพุพอง ควรเข้าพบคุณหมออย่างรวดเร็ว เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคตุ่มน้ำพอง [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ โรคตุ่มน้ำพอง คืออะไร โรคตุ่มน้ำพอง คือ โรคที่ทำให้เกิดแผลพุพองหรือตุ่มน้ำขึ้นบริเวณผิวหนังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น แขน ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ต้นขาส่วนบน หน้าท้องล่าง ปาก และรักแร้ โดยอาจมีสาเหตุมาจากการระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อใต้ชั้นผิวหนัง อย่างไรก็ตาม โรคนี้ไม่สามารถแพร่กระจายไปยังบุคคลอื่นได้ แต่ควรรักษาอย่างรวดเร็วเพื่อบรรเทาอาการและป้องกันการติดเชื้อ อาการ อาการของโรคตุ่มน้ำพอง อาการของโรคตุ่มน้ำพอง มีดังนี้ อาการคันผิวหนังเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ผิวหนังสีน้ำตาล ชมพูหรือแดงเข้มก่อนจะปรากฏเป็นตุ่มพอง แผลพุพองขนาดใหญ่ ผิวหนังรอบ ๆ แผลพุพองหรือตุ่มน้ำจะมีลักษณะเป็นสีแดงเข้ม กลากและผื่นลมพิษ แผลพุพองขนาดเล็กภายในปาก ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างรวดเร็ว หากมีอาการคันผิวหนังเป็นเวลานาน แผลพุพอง และรู้สึกแสบร้อนผิวหนัง  สาเหตุ สาเหตุของโรคตุ่มน้ำพอง สาเหตุของโรคตุ่มน้ำพองเกิดจาการทำงานที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ไปทำลายเส้นใยและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังของที่เชื่อมโยงระหว่างผิวหนังชั้นนอกและผิวหนังชั้นลึก จนกระตุ้นให้เกิดการอักเสบและปรากฏเป็นแผลพุพอง รวมถึงอาการคันผิว ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงของโรคตุ่มน้ำพอง ปัจจัยเสี่ยงของโรคตุ่มน้ำพอง มีดังนี้ ยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ (Penicillamine) ยาขับปัสสาวะ (Furosemide) และยาความดัน (captopril) รังสียูวีจากแสงแดดและการฉายรังสี รังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสียูวีจากแสงแดด และการฉายรังสีรักษาโรคมะเร็ง อาจส่งผลกระทบต่อผิวหนังที่กระตุ้นก่อให้เกิดตุ่มน้ำพอง […]


สุขภาพผิว

รอยสิวที่หลัง เกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไร

รอยสิวที่หลัง อาจเกิดขึ้นหลังจากสิวที่หลังหาย โดยจะปรากฏเป็นจุดสีดำหรือน้ำตาลเข้มตามขนาดของสิวที่เป็น ซึ่งอาจส่งผลทำให้ผิวที่หลังไม่เรียบเนียน สีผิวไม่สม่ำเสมอ และอาจลดความมั่นใจเมื่อแต่งตัวโดยเฉพาะผู้หญิงที่สวมเสื้อผ้าโชว์ผิวหลัง ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีรักษารอยสิวรวมถึงการป้องกันการเกิดสิวที่หลัง หรือขอคำปรึกษาจากคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำในการจัดการกับรอยสิวที่หลังอย่างถูกวิธี [embed-health-tool-bmr] รอยสิวที่หลัง เกิดจากอะไร รอยสิวที่หลัง เกิดจากสิวชนิดต่าง ๆ เช่น สิวหัวดำ สิวหัวขาว สิวตุ่มแดง สิวตุ่มหนอง และสิวซีสต์ รวมถึงพฤติกรรมแกะสิวที่หลัง ที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการฟื้นฟูรอยแผลของร่างกาย ทำให้เกิดเป็นรอยสิวที่หลัง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การดูแลสุขอนามัยไม่ดี ผิวหนังได้รับการเสียดสีจากการขัดผิวหรือสวมเสื้อผ้ารัดรูป เหงื่อ ความร้อน หรือฮอร์โมน ก็อาจกระตุ้นให้สิวที่เป็นอยู่มีอาการรุนแรงขึ้น และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดรอยสิวที่หลังได้เช่นกัน วิธีรักษารอยสิวที่หลัง วิธีรักษารอยสิวที่หลัง อาจทำได้ดังนี้ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ ครีม หรือยารักษารอยสิว ที่ประกอบด้วยกรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid) หรือกรดไฮดรอกซี (Hydroxyl acids) กรดเอเอชเอ (AHA) กรดพีเอชเอ (PHA) เพื่อช่วยผลัดเซลล์ผิวชั้นบนออก ทำให้รอยสิวที่หลังจางลง เลเซอร์ เพื่อช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่า และกระตุ้นให้ร่างกายผลิตเซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาทดแทน ส่งผลให้รอยสิวที่หลังจางลง แต่อาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาหลายครั้ง การฉีดสเตียรอยด์ เป็นวิธีรักษารอยสิวที่หลังชนิดนูนจากสิวระดับรุนแรง เช่น […]


สุขภาพผิว

มอยเจอร์ไรเซอร์ คือ อะไร ควรเลือกอย่างไรให้เหมาะกับสภาพผิว

มอยเจอร์ไรเซอร์ คือ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวและกักเก็บน้ำไว้ในชั้นผิว การใช้มอยเจอร์ไรเซอร์เป็นประจำ จึงอาจช่วยป้องกันและรักษาอาการผิวแห้ง และลดการสูญเสียน้ำของผิวได้ ทั้งนี้ ควรเลือกมอยเจอร์ไรเซอร์ให้เหมาะสมกับสภาพผิวของตัวเอง เพื่อช่วยให้ผลิตภัณฑ์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและรักษาความชุ่มชื้นของผิวได้ดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] มอยเจอร์ไรเซอร์ คือ อะไร มอยเจอร์ไรเซอร์ คือ ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว มีจำหน่ายทั่วไปในรูปแบบครีม โลชั่น เจล  เมื่อใช้เป็นประจำจะช่วยลดอาการผิวแห้ง แตก ระคายเคือง เหมาะสำหรับคนทั่วไปและผู้ที่มีปัญหาผิวหนัง เช่น ผิวแห้ง แดง คัน ผิวขาดความยืดหยุ่น โดยทั่วไปควรใช้มอยเจอร์ไรเซอร์หลังอาบน้ำหรือล้างหน้าแล้วเช็ดผิวขณะที่ยังหมาดอยู่ เพื่อช่วยให้มอยเจอร์ไรเซอร์สามารถซึมเข้าสู่ชั้นผิวได้ดีขึ้น มอยเจอร์ไรเซอร์จะช่วยลดการสูญเสียน้ำในชั้นผิว ช่วยป้องกันและรักษาอาการผิวขาดน้ำ ฟื้นฟูผิวให้กลับมาสุขภาพดี ทั้งยังอาจช่วยปรับสมดุลของผิว ทำให้ผิวนุ่มและดูเรียบเนียบขึ้น และริ้วรอยดูลดเลือนลง โดยปกติแล้วผิวหนังจะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อแห้งเกินไป ช่วยป้องกันการติดเชื้อ และป้องกันสิ่งแปลกปลอม เช่น สิ่งสกปรก แบคทีเรีย สารเคมี เข้าสู่เนื้อเยื่อ หากกระบวนการกักเก็บความชุ่มชื้นที่ชั้นผิวผิดปกติ อาจทำให้เกิดปัญหาผิวหนังตามมา เช่น สิว โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) โรคผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema) โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย (Rosacea) เลือกมอยเจอร์ไรเซอร์อย่างไรให้เหมาะกับสภาพผิว ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงเมื่อเลือกซื้อ มอยเจอร์ไรเซอร์ คือ ผิวแห้ง เป็นสภาพผิวที่ต้องการการบำรุงและเติมความชุ่มชื้นให้แก่ผิวมากที่สุด […]


สิว

รอยแดงจากสิว วิธีรักษา และดูแลให้รอยดำจางอย่างเห็นผล

บางครั้งการเป็นสิว โดยเฉพาะสิวอักเสบ อาจทิ้งร่องรอยอย่างรอยแดงเอาไว้บนผิวหนัง โดยปกติแล้ว รอยแดงจากสิว อาจหายไปได้เองหลังจากดูแลผิวด้วยตัวเองอย่างถูกต้อง จึงควรศึกษาวิธีรักษารอยแดงจากสิวอย่างถูกวิธี เพื่อช่วยปรับสีผิวให้ดูสม่ำเสมอและช่วยให้รอยแดงจากสิวดูจางลง และควรทาครีมกันแดดเป็นประจำ ล้างหน้าให้สะอาด หลีกเลี่ยงการบีบหรือแกะเกาสิวที่อาจทำให้รอยดำหรือรอยแดงจากสิวหายช้าลง [embed-health-tool-bmi] รอยแดงจากสิว เกิดจากอะไร รอยแดงจากสิว (Post-Inflammatory Erythema หรือ Post-acne erythema) เกิดจากหลอดเลือดฝอยบนผิวหนังขยายตัวเมื่อเกิดสิว โดยเฉพาะเมื่อเป็นสิวอักเสบ มักเกิดร่วมกับอาการผิวหนังอักเสบ ระคายเคือง และรอยแดงจากสิวอาจจะยังคงอยู่แม้สิวจะหายแล้วก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว ความเสียหายหรือการขยายตัวของหลอดเลือดเมื่อผิวหนังอักเสบ เป็นแผล ระคายเคือง วิธีรักษา รอยแดงจากสิว รอยแดงจากสิว อาจรักษาหรือบรรเทาได้ด้วยวิธีต่อไปนี้ การใช้ไนอาซินาไมด์ (Niacinamide) ความเข้มตั้งแต่ 2-10% เป็นวิตามินบี 3 รูปแบบหนึ่งที่ใช้รักษาอาการอักเสบของผิวหนังและช่วยคงความชุ่มชื้นให้ผิว อาจช่วยลดรอยแดงที่เกิดจากสิว รวมถึงอาจช่วยลดการเกิดสิวเรื้อรังได้ การใช้วิตามินซีชนิดทาเฉพาะที่ (Topical vitamin C) ความเข้มข้นตั้งแต่ 10-20% เพื่อช่วยต้านการอักเสบ และช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในชั้นผิวหนังซึ่งอาจส่งผลให้ผิวหนังซ่อมแซมตัวเองได้ดีขึ้น ป้องกันการเกิดรอยแดงและรอยดำ ทั้งยังช่วยปรับผิวให้ดูกระจ่างใสและสีผิวให้ดูสม่ำเสมอขึ้น การใช้กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) ความเข้มข้นตั้งแต่ 2-5% เป็นสารลอกผิวที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค เช่น […]


สุขภาพผิว

เท้าเป็นเชื้อรา สาเหตุ อาการ วิธีรักษาและการป้องกัน

เท้าเป็นเชื้อรา เป็นภาวะติดเชื้อราบริเวณเท้าและง่ามเท้า หรือที่เรียกว่าโรคน้ำกัดเท้าหรือฮ่องกงฟุต (Athlete's Foot) มักทำให้มีอาการคัน ผิวลอกเป็นขุย บวมแดง ตกสะเก็ด หรือเกิดตุ่มน้ำใสบนผิวหนัง อาจเริ่มจากซอกนิ้วเท้าแล้วลุกลามไปบริเวณอื่น ๆ เช่น ฝ่าเท้า หลังเท้า นิ้วเท้า มักพบในผู้ที่มีเหงื่อออกที่เท้ามาก โดยเฉพาะหากสวมรองเท้าและถุงเท้าที่หนาหรืออับชื้นเป็นเวลานาน ภาวะเท้าเป็นเชื้อราโดยทั่วไปสามารถรักษาได้ด้วยการทายาหรือรับประทานยาต้านเชื้อราเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ร่วมกับการรักษาสุขอนามัย ไม่ใช้ของส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดตัว ถุงเท้า รองเท้า ร่วมกับผู้อื่น และดูแลให้เท้าแห้งอยู่เสมอ เพื่อให้เชื้อราที่เท้าหายไวขึ้นและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีก [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่ทำให้ เท้าเป็นเชื้อรา เท้าเป็นเชื้อรา มักเกิดจากการติดเชื้อราในกลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ (Dermatophytes) ซึ่งเป็นเชื้อรากลุ่มเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคสังคัง (Jock itch) และโรคกลาก (Ringworm) เชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมปิด อบอุ่น และอับชื้น เช่น พื้นที่เปียกแฉะ ผ้าเช็ดตัวหรือเสื้อผ้าเปียกชื้น และจะกินเคราตินซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในเส้นผม เล็บ และผิวหนังเป็นอาหาร เมื่อเชื้อราเพิ่มจำนวนมากขึ้น อาจทำให้เกิดอาการคัน เป็นแผล และระคายเคืองตามเท้าและนิ้วเท้า ภาวะนี้สามารถติดต่อไปยังบุคคลอื่นได้ผ่านการใช้สิ่งของส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า ร่วมกับผู้ที่เป็นเชื้อราที่เท้า และอาจแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นของร่างกาย […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

เชื้อราบนหนังศีรษะ อาการ เป็นอย่างไร เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง

เชื้อราบนหนังศีรษะ เป็นภาวะที่เกิดจากการติดเชื้อราบางชนิด เช่น เชื้อราแคนดิไดอะซิส (Candidiasis) เชื้อรามาลาสซีเซีย (Malassezia) เชื้อราในกลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ (Dermatophytes) หรือเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคบางชนิด เช่น โรคเซ็บเดิร์ม โรคสะเก็ดเงิน เมื่อเป็น เชื้อราบนหนังศีรษะ อาการ ที่พบได้ทั่วไป คือ ผิวหนังบริเวณหนังศีรษะเป็นผื่นแดง มีสะเก็ด อาจจะมีลักษณะเป็นวง ๆ ได้ ร่วมกับมีอาการคัน ระคายเคือง ผื่นแดง ซึ่งอาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการนอนหลับ หรืออาจทำให้สูญเสียความมั่นใจได้ เชื้อราบนหนังศีรษะสามารถรักษาได้ด้วยการใช้แชมพูฆ่าเชื้อราร่วมกับน้ำยาละลายขุย การรับประทานยาฆ่าเชื้อราตามที่คุณหมอสั่ง ร่วมกับการรักษาความสะอาดของหนังศีรษะด้วยการสระผมเป็นประจำ ไม่ปล่อยให้หนังศีรษะเปียกชื้น หลีกเลี่ยงการแบ่งปันของส่วนตัว เช่น หวี ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า หมวก ร่วมกับผู้อื่น เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อไปยังบุคคลอื่นและป้องกันการติดเชื้อราซ้ำในภายหลัง หมั่นพาสัตว์เลี้ยงไปตรวจสุขภาพผิวว่ามีการติดเชื้อราหรือไม่เพราะ สัตว์เลี้ยงเป็นแหล่งของเชื้อราที่พบได้บ่อยว่ามีการติดต่อมายังมนุษย์ [embed-health-tool-bmi] เชื้อราบนหนังศีรษะ สาเหตุมาจากอะไร เชื้อราบนหนังศีรษะ เกิดจากเชื้อราบริเวณหนังศีรษะเจริญเติบโตมากผิดปกติ จนส่งผลต่อการผลัดตัวของเซลล์ผิวหนัง ทำให้เกิดเป็นขุยขาว มีอาการคัน ผื่นแดง และระคายเคืองหนังศีรษะ โดยเชื้อราบนหนังศีรษะอาจมีสาเหตุมาจากโรคผิวหนังดังต่อไปนี้ โรคเชื้อราบนหนังศีรษะ (Tinea capitis) โรคกลากชนิดหนึ่งที่เกิดจากการติดเชื้อราไตรโคไฟตอน (Trichophyton) มักทำให้เกิดอาการคัน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน