สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

ความชรา เป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่อาจหลีกหนีได้ ทั้งร่างกายและจิตใจของเราจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น และการเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรง อาจสามารถช่วยเพิ่มความมั่นใจ และ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

เรื่องเด่นประจำหมวด

สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

วิธีเลือกผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เลือกอย่างไรให้เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ

ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงหรือไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวก แต่ในปัจจุบันผ้าอ้อมผู้ใหญ่มีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน วิธีเลือกผ้าอ้อมผู้ใหญ่ จึงเป็นสิ่งสำคัญเพราะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและลักษณะการใช้งานเป็นหลัก เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ผ้าอ้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ [embed-health-tool-bmi] วิธีเลือกผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เลือกอย่างไรให้เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย ทำให้ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระได้ ผ้าอ้อมผู้ใหญ่จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงหรือมีไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างสะดวก  ในปัจจุบันผ้าอ้อมผู้ใหญ่แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ผ้าอ้อมผู้ใหญ่แบบกางเกง และผ้าอ้อมผู้ใหญ่แบบเทปกาว ซึ่งมี วิธีเลือกผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ให้เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ดังต่อไปนี้  เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน ควรเลือกผ้าอ้อมให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน เช่น หากผู้สูงอายุอาศัยอยู่บ้าน ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวมากนัก ควรเลือกผ้าอ้อมแบบซึมซับได้ครั้งเดียว เพื่อลดปัญหาการเกิดกลิ่นอับ แต่ในกรณีผู้สูงอายุที่ต้องเดินทางไกล ไม่สามารถเข้าห้องน้ำได้บ่อย ๆ ควรเลือกผ้าอ้อมที่มีลักษณะหนา ป้องกันการรั่วซึม และซึมซับได้ดี ความสามารถในการควบคุมการขับถ่าย  ควรเลือกผ้าอ้อมผู้ใหญ่ให้เหมาะสำหรับความสามารถในการควบคุมการขับถ่าย เช่น หากผู้สูงอายุไม่สามารถกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระได้ ควรเลือกผ้าอ้อมที่มีคุณสมบัติหนาเป็นพิเศษ เพื่อให้ซึมซับได้ยาวนานขึ้น ขนาดของผ้าอ้อม ควรเลือกซื้อขนาดผ้าอ้อมให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ใส่แล้วรู้สึกสบาย ไม่คับหรือหลวมเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้ปัสสาวะหรืออุจจาระไหลออกมาด้านนอก ผ้าอ้อมผู้ใหญ่มีประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ อย่างไร ผ้าอ้อมผู้ใหญ่มีประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ ดังต่อไปนี้  เพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้สูงอายุมากขึ้น โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงหรือเคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่สะดวก ป้องกันการเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์จากปัญหาการปัสสาวะหรืออุจจาระเล็ด ขณะมีอาการไอ จาม หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ  ลดปัญหาการวิตกกังวลเมื่อไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ ข้อแนะนำในการใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่  ก่อนเปลี่ยนผ้าอ้อมใหม่ทุกครั้งผู้สูงอายุควรทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ รวมถึงบริเวณใกล้เคียง ด้วยน้ำและสบู่สูตรอ่อนโยน หลังจากนั้นให้ทาครีมหรือมอยซ์เจอไรเซอร์เพื่อลดการเกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง […]

หมวดหมู่ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ เพิ่มเติม

สูงวัยอย่างมีพลัง

สำรวจ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุเดินผิดปกติ อาการ สาเหตุ และการป้องกัน

เมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงอายุอาจต้องประสบปัญหาการเดินที่ผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการบาดเจ็บ หรือความผิดปกติของกระดูก ข้อ กล้ามเนื้อ และโรคทางระบบประสาท ผู้สูงอายุเดินผิดปกติ อาจเดินช้า เดินลากเท้า และในรายที่รุนแรง อาจไม่สามารถเดินหรือช่วยเหลือตัวเองได้ ผู้สูงอายุจึงควรสังเกตอาการและหาสาเหตุ เพื่อการรักษาและป้องกัน อาการของผู้สูงอายุเดินผิดปกติ อาการของความผิดปกติในการเดิน อาจมีอาการแตกต่างกันในแต่ละประเภท โดยอาการที่แสดงอาจมีดังนี้  สูญเสียความสมดุลในการเดิน หรือเสียการทรงตัว  สูญเสียการควบคุมเคลื่อนไหวของการเดิน ยืน หรือลุกนั่งลำบาก เมื่อจะลุกขึ้นยืนใช้เวลานานกว่าปกติและยากในการก้าวเท้าไปข้างหน้า  เดินถอยหลังอย่างมีนัยสำคัญของโรคทางระบบทางประสาท เดินช้าลง ที่อาจเกิดจากกล้ามเนื้ออ่อนแอ  ซึ่งอาการของการเดินที่ผิดปกติอาจจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล และประเภทการเดินผิดปกติ  ประเภทของความผิดปกติในการเดิน มีอะไรบ้าง ผู้สูงอายุเดินผิดปกติ อาจแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ เช่น  การเดินแบบพาร์กินสัน (Parkinsonian Gait หรือ Propulsive Gait) เป็นลักษณะที่อาจพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ มีลักษณะการเดินลากเท้า ก้าวขาได้สั้น คอและศีรษะโน้มไปข้างหน้า การเดินผิดปกติประเภทนี้มักเกิดขึ้นชั่วคราว ขณะอยู่ในที่แคบหรือเห็นสิ่งกีดขวางในทางเดิน อาจเกิดปัญหาการก้าวขา การหมุนตัว หรือการเดินซอยเท้า สาเหตุอาจเกิดจากโรคพาร์กินสัน   การเดินกระตุก (Spastic Gait) ขามีความอ่อนแอและแข็งผิดปกติ สาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติในการควบคุมกล้ามเนื้อที่เกิดจากระบบประสาทส่วนกลาง หรือเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอย่างกะทันหัน ทำให้เกิดการเดินลากเท้า ซึ่งขาดความยืดหยุ่นของข้อเท้าและหัวเข่า พบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคอัมพาต โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง การเดินขาไขว้เหมือนกรรไกร (Scissors Gait) การทำงานของกล้ามเนื้อต่าง ๆ ในร่างกายไม่สัมพันธ์กัน […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ป้องกันปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ เพื่อสุขภาพที่ดีและมีชีวิตชีวา

ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่ควรใส่ใจ เนื่องจากสุขภาพร่างกายย่อมเสื่อมลงเมื่ออายุมากขึ้น และอาจทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ ดังนั้นการดูแลและ ป้องกันปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ ปัจจุบันผู้สูงอายุในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า พ.ศ. 2563 มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 12 ล้านคน หรือราว 18% ของจำนวนประชากรทั้งหมด และจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอีก 20% ในปี พ.ศ. 2564 จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นตามมา และปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย ได้แก่ โรคสามัญทั่วไป เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต โรคไต รวมถึงกลุ่มอาการที่เกี่ยวของกับความชราภาพของร่างกาย การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้แข็งแรงและมีสุขภาพดี ด้วยการมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม รวมถึงครอบครัวและสังคมที่เข้าใจและให้ความช่วยเหลือจึงเป็นเรื่องสำคัญ การดูแลและ ป้องกันปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ อาจเกิดจากกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นเฉพาะในผู้สูงอายุเนื่องจากความเสื่อมของร่างกายเมื่อชราภาพ หรืออาจเกิดจากผลข้างเคียงจากโรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ซึ่งการดูแลและการป้องกันโรคที่ผู้สูงอายุกำลังเผชิญก็แตกต่างกันออกไป ดังนี้ ปัญหาความสมดุลของร่างกาย มึนงง และวิงเวียนศีรษะ ปัญหาความสมดุลของร่างกาย อาการมึนงง และวิงเวียนศีรษะ อาจเกิดจาก โรคทางสมอง โรคข้อเสื่อม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความดันโลหิตต่ำ […]


สุขภาพจิตผู้สูงวัย

การฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุ สัญญาณและการป้องกัน

ผู้สูงอายุเป็นช่วงวัยที่เปราะบางทั้งทางร่างกายและจิตใจ หากผู้สูงอายุเกิดปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว โรคทางกาย หรือโรคซึมเศร้า อาจเกิดความคิดฆ่าตัวตายได้ ครอบครัวจึงควรเป็นส่วนสำคัญในการดูแล ใส่ใจและสังเกตสัญญาณปัญหาสุขภาพจิต เพื่อป้องกัน การฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุ ที่อาจเกิดขึ้นได้ การฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุ สถิติจากกรมสุขภาพจิตระบุว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในผู้สูงอายุ สูงเป็นอันดับ 2 รองจากวัยทำงาน ตามสถิติล่าสุดในปี พ.ศ. 2562 พบว่า การฆ่าตัวตายสำเร็จในผู้สูงอายุ ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 927 คน และวัยทำงาน 3,380 คน  โดยสาเหตุการฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุที่พบบ่อย คือ ปัญหาความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด โรคเรื้อรังทางกาย และโรคซึมเศร้า ในปัจจุบันจำนวนประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อบุคคลมีอายุมากขึ้นอาจส่งผลต่อปัญหาสุขภาพร่างกายและสมอง ความสามารถในการทำงานลดลง ทำให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น ความสุขในชีวิตลดน้อยลง ซึ่งเป็นปัญหาที่อาจเพิ่มความเสี่ยงการฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุได้เช่นกัน ผู้สูงอายุที่พยายาม ฆ่าตัวตาย ส่วนใหญ่มีภาวะซึมเศร้า ที่อาจเกิดขึ้นจากการสูญเสียคนที่รัก ความรู้สึกโดดเดี่ยว รู้สึกด้อยค่า หรือรู้สึกว่าเป็นภาระคนอื่น ความเจ็บป่วยเรื้อรัง หรืออาจเกิดจากปัญหาทางการเงิน ซึ่งผู้สูงอายุในประเทศไทยที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูง มักเป็นกลุ่มที่อยู่ติดบ้าน ถูกทอดทิ้ง ไม่มีคนใส่ใจดูแล ขาดคนรับฟังและพูดคุย จนผู้สูงอายุเกิดความน้อยใจ รู้สึกไม่มีส่วนร่วมกับครอบครัว เมื่อสิ่งเหล่านี้สะสมเป็นระยะเวลานาน […]


โภชนาการผู้สูงวัย

อาหารที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยง และควรจำกัดปริมาณให้เหมาะสม

ผู้สูงอายุควรได้รับสารอาหารในปริมาณที่พอเหมาะและหลากหลายเป็นประจำทุกวัน เพราะอาหารที่มีประโยชน์ช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี แต่อาจมี อาหารที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยง และควรจำกัดปริมาณให้เหมาะสม เนื่องจากอาหารเหล่านี้อาจส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมได้ โภชนาการผู้สูงอายุ รูปแบบการใช้ชีวิตและสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุที่เปลี่ยนแปลงไป อาจส่งผลต่อความอยากอาหาร ทำให้ได้รับปริมาณอาหารในแต่ละวันลดลง และส่งผลให้ผู้สูงอายุไม่ได้รับวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารอื่น ๆ อย่างครบถ้วน จนอาจทำให้เกิดความเจ็บป่วยตามมาได้ ผู้สูงอายุควรได้รับพลังงาน 1,500 – 2,000 กิโลแคลอรี/วัน และควรได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและหลากหลายวันละ 3 มื้อ อีกทั้งควรจัดอาหารว่างให้เหมาะสมในแต่ละวันด้วย อาหารที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยง อาหารที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยง ไม่ในปริมาณมาก เพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ มีดังนี้ ไข่ดิบ ไข่เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยโปรตีนและให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่การรับประทานไข่ดิบอาจเป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุได้ เนื่องจากไข่ดิบอาจมีเชื้อแบคทีเรีย ซัลโมเนลลา (Salmonella) ที่อาจทำให้เกิดอาการ ท้องเสีย มีไข้ ปวดท้อง และอาเจียน ถั่วงอกดิบ ถั่วงอกเจริญเติบโตในสภาพอากาศที่อบอุ่นและชื้น จึงอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรียจำนวนมาก ผู้สูงอายุและผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานถั่วงอกดิบ หรือควรนำไปปรุงให้สุกก่อนรับประทานทุกครั้ง เกลือและอาหารโซเดียมสูง ผู้สูงอายุสามารถรับประทานเกลือได้ในปริมาณที่พอเหมาะ เพียง 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ 1-2 ช้อนชา เพราะหากรับประทานเกลือมากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ผู้สูงอายุจึงควรหลีกเลี่ยงอาหาร จำพวก ขนมขบเคี้ยว อาหารกระป๋อง อาหารแปรรูป เช่น แฮม เบคอน […]


สุขภาพจิตผู้สูงวัย

สัญญาณปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ ที่ควรรู้

ผู้สูงอายุอาจเผชิญกับปัญหาสุขภาพ ความเครียด หรือภาวะทางจิต ซึ่งอาจทำให้เกิด ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทั้งในระดับครอบครัวและสังคม การสังเกต สัญญาณปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพจิต รู้ทันสัญญาณเหล่านี้เพื่อเข้ารับการรักษาได้ทัน ปัญหาด้านสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ   องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2558 – 2593 จำนวนประชากรผู้สูงอายุ ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป จะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า จากประมาณ 12% เป็น 22% สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ปี พ.ศ. 2563 จำนวนผู้สูงอายุ ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนมากกว่า 12 ล้านคน หรือคิดเป็น 18% ของจำนวนประชากรทั้งหมด และจะเพิ่มขึ้นอีก 20% ในปี พ.ศ. 2564 ผู้สูงอายุจำนวนมากที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงเกิด ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ เนื่องจากประมาณ 15% […]


สุขภาพกายผู้สูงวัย

5 ข้อต้องรู้ ดูแลความจำของผู้สูงอายุ

เคยสังเกตหรือไม่? ว่าคนสูงวัยในบ้านเริ่มมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น ลืมกุญแจบ้าน จำชื่อเพื่อนไม่ได้ ลืมว่าจะเดินไปหยิบอะไร หรือแม้แต่เหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านมาก็สามารถลืมได้ง่ายขึ้น อาการที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปตามวัยที่เพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพของความจำก็เริ่มลดลง และยิ่งสังเกตได้ชัดเจนเมื่อเข้าสู่วัย 60 ปี เพราะสมองบางส่วนเริ่มหดตัว การจดจำจะลดลงตามไปด้วย หากไม่เพิ่มการดูแลร่างกายและใส่ใจรายละเอียดการช่วยฟื้นฟูให้มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน จะยิ่งมีความเสี่ยงเกิดโรคสมองเสื่อมได้มากขึ้น เราในฐานะลูกหลานจึงควรหมั่นสังเกตสิ่งที่เปลี่ยนไป เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคสมองเสื่อมที่อาจเกิดขึ้นได้  ดังนั้น 5 วิธีดูแลความจำของผู้สูงอายุ ที่เราควรรู้ เพื่อรับมือดูแลการรับรู้และความจำของคุณพ่อคุณแม่สูงวัยได้อย่างเหมาะสม คือ 1. พฤติกรรมอะไรบ้าง ที่เป็นสัญญาณว่าเสี่ยงเข้าสู่ภาวะสมองเสื่อม มีปัญหาด้านการสื่อสาร การใช้คำ การเรียบเรียงประโยคที่ผิดไปจากเดิม จดจำข้อมูลไม่ค่อยได้ ลืมเหตุการณ์ต่าง ๆ ง่ายขึ้น แม้จะเป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นก็ตาม เรื่องที่เคยทำได้ก็จะกลายเป็นเรื่องยากขึ้น เช่น การคำนวณตัวเลข หรือ การทำอาหารที่กะสัดส่วนไม่ค่อยถูก มีปัญหาด้านการตัดสินใจ หรือการแก้ปัญหาต่าง ๆ บุคลิกภาพเปลี่ยนไป อารมณ์ไม่เหมือนเดิม ฉุนเฉียวง่าย บางครั้งอาจเกิดภาพหลอน 2. สาเหตุของการเกิดโรค สาเหตุหลัก […]


โภชนาการผู้สูงวัย

วิตามินและอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุ จำเป็นหรือไม่

จากสถิติพบว่า มากกว่าครึ่งของผู้สูงอายุวัย 65 ปีขึ้นไป กินวิตามินและอาหารเสริม อย่างไรก็ตาม วิตามินและอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุ จำเป็นหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบมาให้คุณแล้ว วิตามินและอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุ จำเป็นหรือไม่ โดยปกติแล้ว ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ จากการกินอาหารที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทางสถิติพบว่า ผู้สูงอายุถือเป็นกลุ่มผู้บริโภคขนาดใหญ่ ที่บริโภควิตามินและอาหารเสริม โดยจากการสำรวจในกลุ่มผู้สูงอายุในหัวข้อ “วิตามินจำเป็นต่อผู้สูงอายุหรือไม่” ในปี 2013 พบว่า 68% ของชาวอเมริกันวัย 65 ปีขึ้นไป กินอาหารเสริมวิตามิน นอกจากนี้ ในปี 2017 ยังมีข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ระบุว่า 29% ของผู้สูงอายุบริโภคอาหารเสริม 4 ชนิดหรือมากกว่านั้น ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลว่า โดยทั่วไปแล้ว วิตามินและอาหารเสริมไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด และในกรณีที่ร่างกายขาดสารอาหาร การกินอาหารเสริมก็ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ต้องการได้ แต่สิ่งสำคัญคือ ผู้สูงอายุต้องตระหนักว่าอาหารเสริมไม่ใช่ยามหัศจรรย์ และไม่สามารถรักษาอาการป่วยได้ ดังนั้น หากต้องการบริโภคอาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์ และควรกินอาหารเสริมควบคู่กับการมีไลฟ์สไตล์ที่ส่งเสริมให้สุขภาพดี เช่น กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ วิตามินที่ผู้สูงอายุควรได้รับ สถาบันโภชนาการและการกำหนดอาหาร (The Academy of Nutrition and Dietetics) […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ กับสาเหตุและวิธีแก้ไข

เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น อะไร ๆ ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ หรือด้านอื่น ๆ ที่อาจทำได้ช้าลง ซึ่งรวมไปถึง ปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ เช่น ง่วงเร็วขึ้น ตื่นเช้าขึ้น นอนหลับลึกน้อยลง แล้วเราจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรให้ผู้สูงอายุนอนหลับได้ง่ายขึ้น มาดูกันเลย ทำไมผู้สูงอายุมักมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ อาจมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัญหาทางเดินปัสสาวะ อาจทำให้ต้องลุกมาเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ ในช่วงเวลากลางดึก โรคกรดไหลย้อน หากมีการรับประทานอาหารมื้อหนักในช่วงเวลาเย็น หรือกลางดึก ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สามารถส่งผลกระทบต่อระดับออกซิเจนในร่างกาย ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ง่วงนอนในตอนกลางวัน รวมไปถึงอาจมีปัญหาด้านกระบวนการทางความคิด มีภาวะเครียด หรือเป็นโรคซึมเศร้า ความเจ็บปวดที่เกิดจากโรคต่าง ๆ เช่น ข้ออักเสบ ข้อเข่าเสื่อม การเปลี่ยนแปลงการผลิตฮอร์โมน เช่น เมลาโทนิน คอร์ติซอล ปัญหา การนอนหลับ ของผู้สูงอายุจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น การดื่มคาเฟอีน หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การนอนงีบในช่วงเวลากลางวัน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุ เทคนิคช่วยแก้ ปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ การวิจัยเผยว่าผู้สูงอายุสามารถทำตามขั้นตอนต่าง ๆ อาจช่วยปรับปรุงปัญหา การนอนหลับ ของผู้สูงอายุได้ โดยทั้งนี้ ผู้สูงอายุอาจจำเป็นจะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างเพื่อ การนอนหลับ อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่ก่อนนอนไม่นาน […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

เคล็ดลับการดูแล สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ให้เหมาะสมกับช่วงวัย

ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใด การรักษาสุขอนามัยภายในช่องปาก ก็ย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่ควรต้องเอาใจใส่อยู่เสมอ  ถึงแม้จะมีวิธีการดูแลช่องปากพื้นฐานอย่างการแปรงฟันที่เหมือนกัน แต่บางครั้งเมื่ออายุมากขึ้น ก็อาจจำเป็นต้องตระหนักถึงการดูแลสุขภาพช่องปากมากขึ้นตามไปด้วย วันนี้ บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอนำเคล็ดลับดี ๆ เกี่ยวกับการดูแล สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ มาฝากให้ทุกครอบครัวได้ทราบไปพร้อม ๆ กันค่ะ ปัญหาช่องปาก ที่มักพบเจอในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป มักเริ่มมีจำนวนฟันลดน้อยลงตามช่วงวัยและตามการดูแลรักษาสุขภาพฟัน ถ้าหากไม่มีการ ดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ หรือดูแลไม่ดี ก็อาจส่งผลให้ผู้สูงอายุนั้นมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับปัญหาทางด้านสุขภาพช่องปาก ดังต่อไปนี้ โรคเหงือก เป็นอาการที่เกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ และเศษอาหารที่อยู่ติดตามซอกฟัน โดยมักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุจำนวนมากประมาณ 68% ในช่วงอายุ 65 ปีขึ้นไป สูญเสียฟัน ส่วนมากการสูญเสียฟันในช่องปากไปมักเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้น แต่ก็สามารถเริ่มหลุดร่วงได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 65-74 ปี จนบางครั้งทำให้จำเป็นต้องหันมาปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวัน ให้เป็นอาหารที่มีลักษณะอ่อนลง ง่ายต่อการเคี้ยวมาทดแทน ฟันผุ เมื่อรู้สึกปวดฟัน แต่ไม่เข้ารับการตรวจ หรือการรักษาอย่างเท่าทัน ก็อาจทำให้เศษอาหาร หรือแบคทีเรีย ๆ ต่าง ๆ เข้าไปกัดกร่อนจนก่อให้เกิดฟันผุ จนสามารถส่งผลเสียลึกต่อรากฟัน และค่อย ๆ […]


โภชนาการผู้สูงวัย

อาหารผู้สูงอายุ เพื่อสุขภาพดีของชาววัยเก๋า จึงต้องเลือกกิน

ผู้สูงอายุ เป็นช่วงวัยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลและเอาใจใส่ในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน ที่ควรใส่ใจมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นและเหมาะสมกับสุขภาพ แต่วัยเก๋าควรจะกินอะไรเพื่อให้สุขภาพดีบ้างนั้น บทความนี้จาก Hello คุณหมอ มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับ อาหารผู้สูงอายุ มาฝากค่ะ โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง วัยผู้สูงอายุ จำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่หลากหลาย เพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง โดยโภชนาการสำคัญสำหรับ ผู้สูงอายุ ได้แก่ ไฟเบอร์ เมื่ออายุมากขึ้น ระบบเผาผลาญของผู้สูงอายุก็จะเริ่มมีการเสื่อมสภาพ ทำให้เผาผลาญได้น้อยลง และมีผลให้การย่อยอาหารไม่ดีตามมาด้วย ผู้สูงอายุ จึงควรเลือกกินอาหารที่ให้ไฟเบอร์สูง เพราะไฟเบอร์จะช่วยกระตุ้นการทำงานในระบบทางเดินอาหาร ช่วยให้การย่อยอาหารทำได้ดีขึ้น และป้องกันปัญหาท้องผูกที่มักจะพบได้บ่อย ๆ ในกลุ่มผู้สูงอายุ โปรตีน โปรตีนเป็นสารอาหารทีสำคัญสำหรับทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะวัยผู้สูงอายุ ควรกินอาหารที่ให้โปรตีนสูง เพื่อช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย แต่ถ้าให้ดีควรเลือกโปรตีนแบบไม่ติดมัน หรือลีนโปรตีนที่ให้โปรตีนล้วน เพื่อลดปัญหาคอเลสเตอรอลสูง แคลเซียม แคลเซียมมีส่วนช่วยสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่เมื่ออายุมากขึ้นมวลกระดูกและกล้ามเนื้อก็เริ่มที่จะเสื่อมสลายลง เสี่ยงต่อการเปราะ หัก แตก หรือโรคกระดูกพรุน การกินอาหารที่ให้แคลเซียมจะช่วยป้องกันและชะลอโรคกระดูกพรุนได้ วิตามินดี เมื่ออายุมากขึ้นกระบวนการสังเคราะห์วิตามินดีในร่างกายจะเริ่มทำงานได้น้อยลง ผู้สูงอายุ จึงควรได้รับสารอาหารประเภทวิตามินดีเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพราะวิตามินดีมีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ จึงอาจกล่าวได้ว่า วิตามินดีเองก็เป็นสารอาหารสำคัญในการบำรุงกระดูกด้วยเช่นกัน หากมีวิตามินดีน้อย ร่างกายก็จะดูดซึมแคลเซียมได้ไม่เต็มที่ มีผลต่อความแข็งแรงของมวลกระดูกและกล้ามเนื้อ อาหารผู้สูงอายุ ที่ควรรับประทานมีอะไรบ้าง สุขภาพของ ผู้สูงอายุ นั้นมีความเสื่อมลงไปตามอายุขัย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน