backup og meta

การนอนไม่หลับ กับผลกระทบที่อาจส่งผลต่อร่างกาย

การนอนไม่หลับ กับผลกระทบที่อาจส่งผลต่อร่างกาย

แม้ว่าการนอนไม่หลับจะดูเหมือนเป็นเรื่องที่ปกติ แต่ความจริงแล้วการนอนไม่หลับอาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย การใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน และการเรียน ซึ่งสาเหตุของการนอนไม่หลับนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด นิสัยการนอนหลับที่ไม่ดี รวมไปถึงสาเหตุทางการแพทย์ ซึ่ง การนอนไม่หลับ จะส่งผลระทบต่อร่างกายอย่างไรบ้าง ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน

สาเหตุที่ทำให้คุณ นอนไม่หลับ

เกือบทุกคนมักจะประสบปัญหานอนไม่หลับเป็นครั้งคราว ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความเครียด อาการเจ็ตแล็ก หรือแม้แต่อาหาร ก็ส่งผลต่อความสามารถในการนอนหลับได้ ในความเป็นจริงชาวอเมริกันเกือบ 60 ล้านคนต่อปีมีอาการนอนไม่หลับ และตื่นขึ้นมาโดยที่รู้สึกไม่สดชื่น บางครั้งปัญหาที่เกิดขึ้นอาจกินเวลา 1-2 คืน แต่ในบางกรณีก็อาจกลายเป็นปัญหาต่อเนื่อง การรักษาอาการนอนไม่หลับถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจากสภาวะนี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้

สำหรับอาการนอนไม่หลับนั้นอาจมีสาเหตุมาจาก

  • ความเครียด
  • เจ็ตแล็ก (Jet Lag)
  • นิสัยการนอนหลับที่ไม่ดี
  • กินอาหารดึกเกินไป
  • ไม่นอนตามกำหนดเวลาปกติ เรื่องจากการทำงาน หรือการเดินทาง

ส่วนสาเหตุทางการแพทย์ที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ได้แก่

ผลกระทบและความเสี่ยงต่อสุขภาพจาก การนอนไม่หลับ

สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (อังกฤษ: National Institutes of Health หรือ NIH) ได้ระบุเอาไว้ว่า ความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับการนอนไม่หลับ สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตและปัญหาสุขภาพโดยรวม ดังนี้

เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค

เพิ่มความเสี่ยงต่อความผิดปกติของสุขภาพจิต

เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ

โดยอาการนอนไม่หลับจะส่งผลกับ

  • ประสิทธิภาพในการทำงานหรือการเรียน
  • ความต้องการทางเพศ (Sex Drive)
  • ความจำ
  • การตัดสินใจ (Judgement)

เมื่อนอนไม่หลับก็จะทำให้คุณง่วงนอนตอนกลางวันและการขาดพลังงานขึ้นทันที ซึ่งอาจทำให้รู้สึกวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือความฉุนเฉียว (Irritation) ไม่เพียงเท่านั้น การนอนไม่หลับยังส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในที่ทำงาน หรือโรงเรียน แต่การนอนหลับที่น้อยเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุขณะขับรถได้

อายุขัยสั้นลง

ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับอาจทำให้อายุขัยสั้นลง การวิเคราะห์การศึกษา 16 ชิ้น จากแหล่งที่เชื่อถือได้ซึ่งครอบคลุมผู้เข้าร่วมมากกว่า 1 ล้านคน และผู้เสียชีวิต 112,566 คน เมื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการนอนหลับและอัตราการตาย พวกเขาพบว่า การนอนน้อยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตถึง 12 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับผู้ที่นอนหลับ 7-8 ชั่วโมงต่อคืน

การศึกษาล่าสุด ซึ่งศึกษาผลของการนอนไม่หลับต่อการเสียชีวิตในช่วงเวลาศึกษา 38 ปี พวกเขาพบว่า ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับอย่างต่อเนื่อง มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นถึง 97 เปอร์เซ็นต์

กิจวัตรประจำวันที่มีผลต่อ การไม่นอนหลับ

ความจริงแล้วมีหลายสาเหตุที่อาจทำให้คุณมีปัญหาในการนอนหลับ ซึ่งการนอนไม่หลับของหลายคนนั้นมีความเชื่อมโยงกับนิสัยประจำวัน วิถีชีวิต และสถานการณ์ส่วนตัว ซึ่งรวมถึง

  • ตารางการนอนหลับที่ผิดปกติ
  • การนอนหลับระหว่างวัน
  • งานที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในเวลากลางคืน
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิสก์ เช่น แล็ปท็อป และโทรศัพท์มือถือบนเตียง
  • มีสภาพแวดล้อมการนอนหลับที่มีเสียงรบกวน หรือแสงมากเกินไป
  • การสูญเสียคนที่คุณรัก
  • การตกงาน
  • แหล่งที่มาของความเครียดอื่น ๆ
  • ความตื่นเต้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
  • การเดินทางระหว่างโซนเวลาต่าง ๆ หรือที่รู้จักกันว่า เจ็ตแล็ก (Jet Lag)

สุดท้ายการใช้สารบางอย่างก็ดูเหมือนจะส่งผลเสียต่อการนอนหลับ ซึ่งรวมถึง

แม้ว่าอาการนอนไม่หลับอาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ แต่คุณควรนัดพบคุณหมอทันที หากการอดนอนจะส่งผลเสียต่อชีวิตของคุณ ในขั้นตอนการวินิจฉัย แพทย์ของคุณอาจทำการตรวจร่างกาย และสอบถามคุณเกี่ยวกับอาการ นอกจากนั้นแพทย์ยังต้องการทราบเกี่ยวกับยาที่คุณทานและประวัติทางการแพทย์โดยรวมของคุณ เพื่อดูว่ามีสาเหตุอะไรสำคัญที่ทำให้คุณนอนไม่หลับหรือไม่ หากมีแพทย์ก็จะทำการรักษาอาการนั้นก่อน

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Effects of Insomnia On the Body. https://www.healthline.com/health/insomnia-concerns. Accessed January 05, 2021

Brain Basics: Understanding Sleep. https://www.ninds.nih.gov/Disorders/Patient-Caregiver-Education/Understanding-Sleep#Insomnia. Accessed January 05, 2021

How Much Melatonin Should You Really Be Taking?. https://www.sleep.org/how-much-melatonin-to-take/. Accessed January 05, 2021

Surprising View of Insomnia and Sleeping Pills. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3700708/. Accessed January 05, 2021

Insomnia and accidents: cross-sectional study (EQUINOX) on sleep-related home, work and car accidents in 5293 subjects with insomnia from 10 countries. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24237855/. Accessed January 05, 2021

Insomnia. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/insomnia/symptoms-causes/syc-20355167. Accessed January 05, 2021

Insomnia treatment: Cognitive behavioral therapy instead of sleeping pills. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/insomnia/in-depth/insomnia-treatment/art-20046677?pg=1. Accessed January 05, 2021

Prescription sleeping pills: What’s right for you?. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/insomnia/in-depth/sleeping-pills/art-20043959. Accessed January 05, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/01/2021

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

นอนหลับหลายครั้งใน 24 ชั่วโมง (Polyphasic Sleep) อันตรายหรือไม่

รู้หรือเปล่า มีปัญหานอนไม่หลับ การหัวเราะ ช่วยคุณได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 06/01/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา