ข้อมูลโภชนาการ

สิ่งที่เรารับประทานเข้าไป มีผลโดยตรงต่อความรู้สึกและประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน การเรียนรู้เกี่ยวกับ ข้อมูลโภชนาการ จะช่วยให้เรารู้จักระมัดระวังมากขึ้นก่อนการรับประทานอาหาร และช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ข้อมูลโภชนาการ

หัวปลี สารอาหารสำคัญ สรรพคุณทางยา และประโยชน์ของหัวปลี

หัวปลี เป็นส่วนดอกของต้นกล้วย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปลีกล้วย คนไทยมักจะนำหัวปลีมาประกอบเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ ช่วยเสริมรสชาติให้กับเมนูอาหาร ทั้งยังอุดมด้วยคุณประโยชน์มากมาก และมีสรรพคุณทางยาที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย [embed-health-tool-bmi] สารอาหารสำคัญใน หัวปลี ปลีกล้วยหรือหัวปลี มีสารอาหารสำคัญ ดังนี้ แคลเซียม  ธาตุเหล็ก  ฟอสฟอรัส  แมกนีเซียม  โปรตีน  วิตามินซี  เบตาแคโรทีน ประโยชน์จากหัวปลี หัวปลีเป็นส่วนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทุกเพศทุกวัย เช่น  ปลีกล้วยมีสารซาโปนิน (Saponins) และแทนนิน(Tannins) ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรแลคติน ในทางการแพทย์แผนไทย  อุดมด้วยแคลเซียม ที่มากกว่ากล้วยสุกถึง 4 เท่า ดีต่อกระดูกและฟัน อาจช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ หัวปลีเป็นผักฤทธิ์เย็น ดีต่อสุขภาพในช่วงหน้าร้อน ปรับสมดุลร่างกายให้เย็นขึ้น ช่วยแก้อาการร้อนในได้ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ดีต่อผิวพรรณ ชะลอการเกิดริ้วรอย มีสารแมกนิเซียมที่ช่วยปรับสมดุลของสภาวะทางอารมณ์ ช่วยบรรเทาอาการเศร้า  มีสารเอทานอล ลดการอักเสบ มีฤทธิ์ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อโรคได้ ประโยชน์ที่สำคัญของหัวปลียังดีต่อแม่ตั้งครรภ์และแม่หลังคลอด ดังนี้  ช่วยในการบำรุงเลือด ป้องกันโลหิตจาง โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์หรือคุณแม่หลังคลอด มีสรรพคุณทางยา กระตุ้นต่อมน้ำนม ให้ร่างกายแม่ตั้งครรภ์สร้างน้ำนมหลังคลอด จึงควรรับประทานเมนูหัวปลีหลังคลอดเพื่อช่วยขับน้ำนม ตัวอย่างเมนูจากหัวปลี หัวปลีมีรสฝาด สามารถกินสด ๆ ได้ […]

สำรวจ ข้อมูลโภชนาการ

ข้อมูลโภชนาการ

มะกอก ประโยชน์ต่อสุขภาพและข้อควรระวังในการบริโภค

มะกอก เป็นผลไม้ที่ใช้รับประทานและนิยมนำมาสกัดเป็นน้ำมันเพื่อใช้ประโยชน์หลากหลายด้าน เช่น ประกอบอาหาร บำรุงผิว มะกอกอุดมไปด้วยสารอาหารและสารประกอบหลายชนิดที่ดีต่อสุขภาพ เช่น กรดโอเลอิก (Oleic acid) สารประกอบโพลีฟีนอล (Polyphenols) ที่มีคุณสมบัติในการต้านอาการอักเสบ ลดระดับไขมันในเลือด และอาจช่วยต้านมะเร็งได้ คุณค่าทางโภชนาการของมะกอก มะกอก ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 141 กิโลแคลอรี่ และประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น โปรตีน 1.15 กรัม ไขมัน 12.9 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.32 กรัม ไฟเบอร์ 4 กรัม นอกจากนี้ มะกอกยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม สังกะสี ประโยชน์ต่อสุขภาพของมะกอก มะกอกอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติในการรักษาและและการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อาจช่วยต้านการอักเสบ มะกอกมีคุณสมบัติช่วยลดอาการอักเสบ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็งได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition Research Reviews เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 […]


ข้อมูลโภชนาการ

วิตามิน บี 2 ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

วิตามิน บี 2 พบได้ในอาหารประเภทพืชและสัตว์ เช่น นม เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว ผักใบเขียว หากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย ช่วยในการเผาผลาญพลังงาน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ วิตามิน บี 2 ประโยชน์ รวมถึงข้อควรระวังในการบริโภคให้เข้าใจ เพื่อจะได้บริโภควิตามินบี 2 ได้อย่างเหมาะสม และส่งผลดีต่อสุขภาพมากที่สุด วิตามิน บี 2 คืออะไร วิตามิน บี 2 หรือ ไรโบฟลาวิน (Riboflavin) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ช่วยในการเผาผลาญอาหารประเภทไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตไปเป็นพลังงานเพื่อขับเคลื่อนการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ บำรุงผิวหนัง เล็บ และเส้นผม และมีส่วนช่วยในการทำงานของสมองและระบบประสาท วิตามิน บี 2 พบได้ในอาหารหลากหลายชนิด ทั้งนม ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น ชีส โยเกิร์ต และอาจพบได้ในไข่แดง เนื้อแดง ปลา […]


ข้อมูลโภชนาการ

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นข้าวสายพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ โดยการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิลกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทำให้ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีสีม่วงเข้ม กลิ่นหอม และมีรสหวาน ทั้งยังอุดมไปด้วยสารอาหารและใยอาหารสูงที่ดีต่อสุขภาพลำไส้และระบบย่อยอาหาร นอกจากนี้ ยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและอาจช่วยป้องกันมะเร็งได้ [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ กี่แคล สำหรับข้าวไรซ์เบอร์รี่ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 390 กิโลแคลอรี่ และประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต 80 กรัม ไฟเบอร์ 4 กรัม โปรตีน 8 กรัม วิตามินอี 0.68 มิลลิกรัม นอกจากนี้ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ ธาตุเหล็ก สังกะสี โซเดียม โอเมก้า 3 โฟเลต (Folate) เบต้าแคโรทีน โพลีฟีนอล (Polyphenol) แทนนิน (Tannin) ข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีประโยชน์อย่างไร ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของข้าวไรซ์เบอร์รี่ในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยป้องกันโรคเมตาบอลิซึม โรคเมตาบอลิซึม (Metabolic Syndrome) คือ ภาวะผิดปกติของระบบเผาผลาญในร่างกายที่อาจเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน […]


ข้อมูลโภชนาการ

ชา 5 ชนิด ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ และข้อควรระวังในการดื่ม

ชา ทำมาจากพืชตากแห้งชนิดต่าง ๆ มีกลิ่นหอม นิยมนำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อนเพื่อดื่มดับกระหาย เพิ่มความสดชื่น ทั้งยังอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง เนื่องจาก ชาอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยต้านการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกาย อาจช่วยลดความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง ช่วยปรับปรุงการทำงานของสมองและอาจช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของผิวหนังได้ นอกจากนี้ ชายังอาจช่วยเพิ่มการเผาผลาญในร่างกาย ซึ่งดีต่อการควบคุมน้ำหนัก สุขภาพลำไส้และการขับถ่ายอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ควรดื่มชาในปริมาณที่เหมาะสมเพราะหากดื่มมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน [embed-health-tool-bmr] ชา 5 ชนิด ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ ชาเป็นเครื่องดื่มที่ให้ประโยชน์กับสุขภาพ แต่ชาทุกชนิดมีคาเฟอีนเป็นส่วนผสมในปริมาณที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของชา อุณหภูมิน้ำและระยะเวลาการต้ม ซึ่งร่างกายควรได้รับคาเฟอีนในปริมาณปานกลางไม่เกิน 400 มิลลิกรัม/วัน หรือประมาณ 3-4 ถ้วย/วัน เพื่อป้องกันผลข้างเคียงของคาเฟอีน เช่น นอนไม่หลับ วิตกกังวล ใจสั่น โดยชาที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพอาจมีดังนี้ ชาดำ ชาดำทำมาจากพืชตระกูลคาเมเลีย ไซเนนซิส (Camellia Sinensis) ซึ่งเป็นต้นชาชนิดเดียวกับที่ใช้ทำชาเขียว ชาขาว และชาอู่หลง โดยผ่านกระบวนการตากแห้งเป็นเวลานานก่อนนำไปผ่านความร้อน ทำให้ชามีสีดำ มีรสชาติเข้มและมีคาเฟอีนสูงกว่าชาชนิดอื่น นอกจากนี้ ยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) โพลีฟีนอล (Polyphenols) คาเทชิน (Catechins) […]


ข้อมูลโภชนาการ

กะเพรา สรรพคุณ และคุณค่าทางโภชนาการ

กะเพรา เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่นิยมใช้นำมาเป็นเครื่องปรุงและส่วนประกอบของอาหารในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์มาตั้งแต่โบราณ และยังเป็นแหล่งแร่ธาตุหลายชนิด ทั้งแคลเซียม วิตามิน เหล็ก แมกนีเซียม โดยมีงานวิจัยหลายชิ้นรองรับว่า กะเพราอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น บรรเทาอาการวิตกกังวล ลดระดับน้ำตาลในเลือด ยับยั้งการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง คุณค่าทางโภชนาการของ กะเพรา ใบกะเพราประมาณ ¼ ถ้วย ให้พลังงานประมาณ 1.38 กิโลแคลอรี่ และมีสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้ โปรตีน 0.189 กรัม คาร์โบไฮเดรต 0.159 กรัม ใยอาหาร 0.096 กรัม ไขมัน 0.038 กรัม น้ำตาล 0.018 กรัม นอกจากนี้ กะเพรายังอุดมไปด้วยแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม วิตามินเอ วิตามินเค แมงกานีส แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี โพแทสเซียม ประโยชน์ของกะเพราต่อสุขภาพ กะเพรา อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพของกะเพรา ดังนี้ อาจช่วยบรรเทาความวิตกกังวลและความเครียด กะเพราอาจช่วยบรรเทาอาการของโรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder) โดยมีงานวิจัยที่สนับสนุนว่ากะเพราอาจมีฤทธิ์ในการคลายกังวลเทียบเท่ากับยานอนหลับและยาต้านเศร้า งานวิจัยหนึ่งที่เผยแพร่ในวารสาร […]


ข้อมูลโภชนาการ

ประโยชน์ของปลา และข้อควรระวังในการบริโภค

ปลาเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร มีโปรตีนและไขมันดีสูง โดยเฉพาะไขมันไม่อิ่มตัวอย่างกรดโอเมก้า 3 ประโยชน์ของปลา ต่อสุขภาพของผู้บริโภคมีหลายประการ เช่น อาจช่วยป้องกันโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงโรคหอบหืด ลดความเสี่ยงโรคเบาหวานในเด็ก ทั้งนี้ ควรศึกษาข้อควรระวังของการบริโภคปลา เพื่อหลีกเลี่ยงอาการที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อรับประทานปลาไม่ถูกวิธี คุณค่าทางโภชนาการของปลา ปลาเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่าง ๆ ที่ช่วยในการทำงานของร่างกาย เช่น วิตามินบี 3 (ไนอาซิน) วิตามินดี เหล็ก ฟอสฟอรัส ปลามีส่วนช่วยในการบำรุงกล้ามเนื้อ อวัยวะ และหลอดเลือด ทั้งยังช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง นอกจากนี้ โปรตีนในปลายังมีส่วนช่วยในการแบ่งตัวของเซลล์ และการเจริญเติบโตของเส้นผม อีกทั้งปลายังอุดมไปด้วยไอโอดีน ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้เอง การบริโภคปลาจึงช่วยเพิ่มปริมาณไอโอดีนที่ส่งผลดีต่อการทำงานของระบบต่อมไทรอยด์ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น ความอยากอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน ให้เป็นปกติ ปลาที่นิยมบริโภคมีด้วยกันหลายชนิด ทั้งปลาน้ำจืดและปลาน้ำเค็ม ปลาน้ำจืดที่คนนิยมบริโภค เช่น ปลาดุก ปลาสวาย ปลานิล ปลาทับทิม ส่วนปลาน้ำเค็มที่คนนิยมบริโภค เช่น ปลาแซลมอน ปลาเก๋า ปลากะพง ปลาสำลี ทั้งนี้ คุณค่าทางโภชนาการและประโยชน์ของปลาแต่ละตัวอาจแตกต่างกันไป […]


ข้อมูลโภชนาการ

biotin ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

biotin หรือไบโอติน เป็นวิตามินชนิดหนึ่ง เรียกว่าวิตามินบี 7 หรือวิตามิน H ซึ่งเป็นประเภทวิตามินบีรวมที่ละลายในน้ำ พบได้ในอาหารจำพวกผักและธัญพืช เช่น กะหล่ำ เห็ด ถั่วลิสง และในรูปแบบอาหารเสริม มีความสำคัญต่อการทำงานของเอนไซม์ ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีนนอกจากนี้ ยังช่วยควบคุมการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์และสนับสนุนการทำงานของยีนในร่างกายอีกด้วย [embed-health-tool-bmi] ประโยชน์ของ biotin ไบโอตินมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของ ไบโอตินในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อาจช่วยจัดการโรคเบาหวาน การรับประทาน biotin อาจมีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดไขมันในเลือด ซึ่งอาจช่วยจัดการกับโรคเบาหวานได้ งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของไบโอตินต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความเข้มข้นของไขมันในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ตีพิมพ์ใน Oman Medical Journal พ.ศ. 2556 นักวิจัยให้ผู้ป่วยรับประทานยาเสริมไบโอตินเป็นระยะเวลา 3 เดือน เมื่อการทดลองสิ้นสุดลง พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่รับประทานยาเสริมไบโอตินมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย จึงสรุปว่า การรับประทานไบโอตินอาจมีส่วนช่วยลดความเข้มข้นของไขมันในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 อาจช่วยส่งเสริมสุขภาพเส้นผม ผิวและเล็บ biotin มีคุณสมบัติเสริมความแข็งแรงให้รากผม จึงช่วยป้องกันอาการผมร่วง ผมบาง เล็บเปราะและเป็นผื่นผิวหนังได้ ดังนั้น การรับประทาน ไบโอตินจึงอาจช่วยเสริมความแข็งแรงของผมและทำให้ผมมีสุขภาพดีขึ้น งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของไบโอตินสำหรับผมร่วง […]


ข้อมูลโภชนาการ

ไบโอติน คืออะไร มีประโยชน์และข้อควรระวังอะไรบ้าง

ไบโอติน (Biotin) คือ วิตามินบี 7 สามารถพบได้ในอาหารต่าง ๆ เช่น เนื้อสัตว์ ปลา พืชตระกูลถั่ว และผักบางชนิด นอกจากนี้ ยังมีในรูปแบบอาหารเสริมแบบเม็ดหรือแคปซูลที่สะดวกต่อการรับประทาน ไบโอตินมีบทบาทสำคัญที่อาจช่วยบำรุงเส้นผมและดวงตา และอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท [embed-health-tool-bmi] ไบโอติน คืออะไร ไบโอติน คือ วิตามินบี 7 มีบทบาทสำคัญที่ช่วยเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน อีกทั้งยังอาจช่วยบำรุงผิวหนัง เล็บ เส้นประสาท ทางเดินอาหาร และเซลล์เนื้อเยื่อทั่วทั้งร่างกาย ช่วยป้องกันเล็บเปราะบาง อย่างไรก็ตาม ไบโอตินเป็นวิตามินที่สามารถละลายน้ำได้ ร่างกายจึงไม่สามารถกักเก็บวิตามินชนิดนี้ไว้ได้นาน ทำให้จำเป็นต้องได้รับจากอาหารที่รับประทาน เช่น ไข่ ปลา เนื้อสัตว์ พืชตระกูลถั่ว ผักใบเขียว ธัญพืช เห็ด ชีส แครอท หากร่างกายขาดไบโอติน อาจส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหาร ผมร่วง ผื่นผิวหนัง ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ระดับคอเลสเตอรอลสูง เหนื่อยล้า และกล้ามเนื้ออ่อนแอลง ที่อาจนำไปสู่ภาวะอัมพาตครึ่งซีกได้ ประโยชน์ของการรับประทานไบโอติน ไบโอตินมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของไบโอติน ในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อาจช่วยบำรุงเล็บ การรับประทานไบโอตินอาจช่วยบำรุงเล็บ […]


ข้อมูลโภชนาการ

ชาดำ ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

ชาดำ เป็นชาจากการนำใบชาสายพันธุ์ Camellia sinensis ไปหมักบ่มแล้วนำไปตากแห้งหรืออบแห้ง จนได้ชาที่มีลักษณะเป็นสีแดงเข้มไปจนถึงเกือบดำ และมีรสขมเล็กน้อย ชาดำมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่อาจช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจและลำไส้ และอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด อย่างไรก็ตาม ชาดำอาจมีคาเฟอีนสูง การดื่มชาดำมากเกินไปจึงอาจส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หายใจเร็ว นอนหลับยาก เพื่อความปลอดภัยจึงควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของชาดำ ชาดำมีสารโพลีฟีนอล (Polyphenols) และฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่อาจช่วยป้องกันการอักเสบจากอนุมูลอิสระที่อาจส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรัง นอกจากนี้ ยังอาจมีสารประกอบต่าง ๆ ดังนี้ คาเฟอีน กรดอะมิโน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ธีโอฟิลลีน (Theophylline) ธีโอโบรมีน (Theobromine) คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll)  ฟลูออไรด์ (Fluoride) อะลูมิเนียม (Aluminium) ประโยชน์ของชาดำ ชาดำมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของชาดำในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อาจช่วยเพิ่มสมาธิ ชาดำมีคาเฟอีนและกรดอะมิโนแอล-ธีอะนีน (L-Theanine) ที่อาจช่วยทำให้ร่างกายและสมองตื่นตัว ทำให้มีสมาธิมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบทางจิตของสารประกอบในชาอย่าง คาเฟอีนและแอล-ธีอะนีน ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition Reviews ปี พ.ศ. 2551 […]


ข้อมูลโภชนาการ

มะม่วงหิมพานต์ ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

มะม่วงหิมพานต์ หรือ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มีผลลักษณะคล้ายชมพู่หรือลูกแพร์ ปลายผลมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด ซึ่งสามารถรับประทานได้ทั้งผลและเมล็ด มะม่วงหิมพานต์อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและสารอาหารหลายชนิดที่อาจช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจ ป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนิ่วในถุงน้ำดี และอาจช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรงอีกด้วย คุณค่าทางโภชนาการของมะม่วงหิมพานต์ มะม่วงหิมพานต์ ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 553 กิโลแคลอรี่ และประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น ไขมัน 43.85 กรัม คาร์โบไฮเดรต 30.19 กรัม โปรตีน 18.22 กรัม น้ำตาล 5.91 กรัม ไฟเบอร์ 3.3 กรัม นอกจากนี้ มะม่วงหิมพานต์ยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี แมกนีเซียม แมงกานีส สังกะสี ทองแดง ซีลีเนียม (Selenium) ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก แคลเซียม โซเดียม ประโยชน์ของเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่มีต่อสุขภาพ มะม่วงหิมพานต์มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของมะม่วงหิมพานต์ในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน