ข้อมูลโภชนาการ

สิ่งที่เรารับประทานเข้าไป มีผลโดยตรงต่อความรู้สึกและประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน การเรียนรู้เกี่ยวกับ ข้อมูลโภชนาการ จะช่วยให้เรารู้จักระมัดระวังมากขึ้นก่อนการรับประทานอาหาร และช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ข้อมูลโภชนาการ

หัวปลี สารอาหารสำคัญ สรรพคุณทางยา และประโยชน์ของหัวปลี

หัวปลี เป็นส่วนดอกของต้นกล้วย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปลีกล้วย คนไทยมักจะนำหัวปลีมาประกอบเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ ช่วยเสริมรสชาติให้กับเมนูอาหาร ทั้งยังอุดมด้วยคุณประโยชน์มากมาก และมีสรรพคุณทางยาที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย [embed-health-tool-bmi] สารอาหารสำคัญใน หัวปลี ปลีกล้วยหรือหัวปลี มีสารอาหารสำคัญ ดังนี้ แคลเซียม  ธาตุเหล็ก  ฟอสฟอรัส  แมกนีเซียม  โปรตีน  วิตามินซี  เบตาแคโรทีน ประโยชน์จากหัวปลี หัวปลีเป็นส่วนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทุกเพศทุกวัย เช่น  ปลีกล้วยมีสารซาโปนิน (Saponins) และแทนนิน(Tannins) ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรแลคติน ในทางการแพทย์แผนไทย  อุดมด้วยแคลเซียม ที่มากกว่ากล้วยสุกถึง 4 เท่า ดีต่อกระดูกและฟัน อาจช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ หัวปลีเป็นผักฤทธิ์เย็น ดีต่อสุขภาพในช่วงหน้าร้อน ปรับสมดุลร่างกายให้เย็นขึ้น ช่วยแก้อาการร้อนในได้ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ดีต่อผิวพรรณ ชะลอการเกิดริ้วรอย มีสารแมกนิเซียมที่ช่วยปรับสมดุลของสภาวะทางอารมณ์ ช่วยบรรเทาอาการเศร้า  มีสารเอทานอล ลดการอักเสบ มีฤทธิ์ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อโรคได้ ประโยชน์ที่สำคัญของหัวปลียังดีต่อแม่ตั้งครรภ์และแม่หลังคลอด ดังนี้  ช่วยในการบำรุงเลือด ป้องกันโลหิตจาง โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์หรือคุณแม่หลังคลอด มีสรรพคุณทางยา กระตุ้นต่อมน้ำนม ให้ร่างกายแม่ตั้งครรภ์สร้างน้ำนมหลังคลอด จึงควรรับประทานเมนูหัวปลีหลังคลอดเพื่อช่วยขับน้ำนม ตัวอย่างเมนูจากหัวปลี หัวปลีมีรสฝาด สามารถกินสด ๆ ได้ […]

สำรวจ ข้อมูลโภชนาการ

ข้อมูลโภชนาการ

ถั่วฝักยาว ประโยชน์และข้อควรระวังในการรับประทาน

ถั่วฝักยาว เป็นพืชตระกูลถั่วที่รับประทานได้ทั้งฝัก สามารถรับประทานในขณะที่ยังเป็นผลอ่อน นิยมนำมาใช้ประกอบอาหารและเป็นผักเคียงในเกือบทุกจานอาหาร ถั่วฝักยาวอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการมากมาย เช่น โฟเลต วิตามินซี วิตามินเอ แมกนีเซียม ทั้งยังมีไฟเบอร์สูง แต่คอเลสเตอรอลต่ำและแคลอรี่ต่ำ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ สารอาหารในถั่วฝักยาวยังอาจช่วยเรื่องการป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง หรืออาจช่วยดูแลระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน สุขภาพกระดูก ผิวพรรณ แต่หากรับประทานมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ คุณค่าทางโภชนาการของถั่วฝักยาว ถั่วฝักยาว 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 47 แคลอรี่ และประกอบด้วยคุณค่าทางโภชนาการต่าง ๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต 8.35 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม ไขมัน 0.4 กรัม แมกนีเซียม 44 มิลลิกรัม วิตามินซี 18.8 มิลลิกรัม นอกจากนี้ ถั่วฝักยาวยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ โฟเลต ไฟเบอร์ ประโยชน์ของถั่วฝักยาวต่อสุขภาพ ถั่วฝักยาว […]


ข้อมูลโภชนาการ

พริกไทย ประโยชน์ และข้อควรระวังในการรับประทาน

พริกไทย เป็นสมุนไพรและเครื่องเทศรสชาติเผ็ดร้อนที่อยู่คู่ครัวคนไทยมาอย่างยาวนาน นิยมปลูกในจังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด สามารถรับประทานได้ทั้งแบบพริกไทยอ่อน หรือนำไปทำเป็นพริกไทยป่น พริกไทยอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการมากมาย เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม วิตามินบี แมงกานีส และมีสารสำคัญที่อาจช่วยเรื่องการป้องกันหรือบรรเทาอาการและโรคบางชนิดได้ เช่น ช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร ปรับปรุงการทำงานของประสาทและสมอง แต่หากรับประทานมากเกินไปอาจส่งผลต่อร่างกายได้ คุณค่าทางโภชนาการของพริกไทย พริกไทย 100 กรัม อาจมีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้   พลังงาน 255 แคลอรี่   คาร์โบไฮเดรต 64.8 กรัม   ไฟเบอร์ 26.5 กรัม   โปรตีน 11 กรัม   ไขมัน 3.3 กรัม   โพแทสเซียม 1,259 มิลลิกรัม   แคลเซียม 437 มิลลิกรัม   วิตามินบี […]


ข้อมูลโภชนาการ

ประโยชน์ของน้ำผึ้ง และข้อควรระวังในการบริโภค

ประโยชน์ของน้ำผึ้งมีมากมาย นอกจากให้ความหวานตามธรรมชาติและให้พลังงานต่อร่างกายแล้ว ยังอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิดที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ต้านการอักเสบ สมานแผล บรรเทาอาการไอ ส่งเสริมสุขภาพหัวใจ คุณค่าทางโภชนาการของน้ำผึ้ง น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ปริมาณ 20 กรัม ให้พลังงานประมาณ 61 กิโลแคลอรี่ และประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต 17 กรัม น้ำตาล 17 กรัม ไรโบฟลาวิน หรือวิตามินบี 2 1% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนําให้บริโภคในแต่ละวัน ทองแดง 1% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนําให้บริโภคในแต่ละวัน นอกจากนี้ น้ำผึ้งยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม ไนอาซิน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม สังกะสี ประโยชน์ของน้ำผึ้งที่มีต่อสุขภาพ น้ำผึ้งมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของน้ำผึ้งในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด น้ำผึ้งอาจเพิ่มระดับอดิโนเพคติน (Adiponectin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยปรับปรุงระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งยังช่วยเพิ่มความไวของอินซูลินในการเผาผลาญน้ำตาลเป็นพลังงาน ซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Molecules เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของสารประกอบในน้ำผึ้งที่มีผลต่อสุขภาพ พบว่า […]


ข้อมูลโภชนาการ

วิตามินเอช่วยอะไร และข้อควรระวังในการบริโภค

วิตามินเอช่วยอะไร อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย โดยปกติวิตามินเอเป็นสารอาหารที่ละลายในไขมัน และจำเป็นต่อการเจริญเติบโต สุขภาพดวงตา สุขภาพผิว ระบบภูมิคุ้มกัน การแบ่งเซลล์และการสืบพันธุ์ นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องร่างกายจากการทำร้ายของอนุมูลอิสระ เช่น ควัน มลภาวะ ฝุ่น และอาจช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง ได้อีกด้วย วิตามินเอสามารถพบได้ในอาหารหลายชนิด เช่น ตับ เครื่องใน ปลาแซลมอน ไข่ ผักใบเขียว ส้ม บร็อคโคลี่ แครอท มะเขือเทศ ฟักทอง พริกหยวก แคนตาลูป แอปริคอต มะม่วง มะละกอ นม โยเกิร์ต ชีส ซีเรียล วิตามินเอช่วยอะไร วิตามินเอเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของวิตามินเอในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อาจช่วยส่งเสริมสุขภาพดวงตา วิตามินเอเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยลดความเสี่ยงโรคจุดภาพชัดเสื่อมในผู้สูงอายุ (Age related Macular Degeneration หรือ AMD) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของจุดรับภาพในดวงตาเมื่ออายุมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุตามัว สูญเสียความคมชัดในการมองเห็น โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร  Clinical Interventions in […]


ข้อมูลโภชนาการ

วิตามินอี ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

วิตามินอี มีประโยชน์มากมายไม่ว่าจะเป็นมีคุณสมบัติละลายในไขมัน ช่วยเพิ่มการทำงานของภูมิคุ้มกัน ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดงหัวใจ ส่งเสริมสุขภาพตา ส่งเสริมการทำงานของระบบประสาท เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและอาจป้องกันมะเร็ง อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอีมีหลายชนิด เช่น น้ำมันจมูกข้าวสาลี น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย เมล็ดทานตะวัน อัลมอนด์ เฮเซลนัท ถั่วลิสง เนยถั่ว ผักปวยเล้ง บร็อคโคลี่  กีวี่มะม่วง มะเขือเทศ กะหล่ำปลี พริกหยวก หน่อไม้ฝรั่ง อะโวคาโด วิตามินอี ประโยชน์ มีอะไรบ้าง วิตามินอีมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของวิตามินอีในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อาจช่วยส่งเสริมสุขภาพดวงตา วิตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยลดความเสี่ยงโรคจุดรับภาพเสื่อมในผู้สูงอายุ (Age related Macular Degeneration หรือ AMD) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากเรตินาในดวงตาเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุตามัวและสูญเสียความคมชัดในการมองเห็น โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Interventions in Aging เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 ศึกษาเกี่ยวกับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพดวงตาที่อาจเสื่อมตามอายุที่เพิ่มขึ้น พบว่า วิตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของไขมันซึ่งเป็นสารอนุมูลอิสระที่ทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อภายในร่างกาย อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ อาจช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบประสาท วิตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ซึ่งอาจเหมาะสำหรับใช้ในการบำรุงระบบประสาทและสมอง รวมทั้งช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทอีกด้วย โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร […]


ข้อมูลโภชนาการ

ลำไย ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

ลำไย เป็นผลไม้รสหวานที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการและประโยชน์ต่อสุขภาพ อาจช่วยควบคุมความดันโลหิต ส่งเสริมสุขภาพหัวใจ ต้านการอักเสบ สุขภาพผิว ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานลำไยในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูงและร้อนใน คุณค่าทางโภชนาการของลำไย ลำไยปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 60 กิโลแคลอรี่ และประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต 15.14 กรัม ไฟเบอร์ 1.10 กรัม โปรตีน 1.31 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.14 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.3 มิลลิกรัม วิตามินซี 84 มิลลิกรัม นอกจากนี้ ลำไยยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม แคลเซียม ธาตุเหล็ก กรดอะมิโน กลูโคส […]


ข้อมูลโภชนาการ

ใยอาหาร ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

ใยอาหาร เป็นสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากธัญพืชและพืชทุกชนิด ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยหรือดูดซึมได้ แต่ใยอาหารจะถูกลำเลียงไปยังลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่และถูกขับออกจากร่างกายพร้อมกับอุจจาระ โดยใยอาหารมีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร ชะลอการดูดซึมไขมันและน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด ป้องกันอาการท้องผูกและอาจช่วยควบคุมน้ำหนักได้ [embed-health-tool-bmr] ประโยชน์ของใยอาหารที่มีต่อสุขภาพ ใยอาหาร เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของใยอาหารในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ 1. อาจดีต่อระบบย่อยอาหาร ใยอาหารมีส่วนช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหารและการเคลื่อนไหวของลำไส้ ช่วยให้ลำไส้แข็งแรงมากขึ้น บรรเทาอาการท้องผูก เพิ่มปริมาณอุจจาระและส่งเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน Journal of the Academy of Nutrition and Dietetics เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของใยอาหารที่มีผลต่อสุขภาพ พบว่า การบริโภคใยอาหารช่วยส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหาร ช่วยส่งเสริมการดูดซึมสารอาหารของร่างกาย ช่วยในการเคลื่อนไหวของลำไส้ ส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพของจุลินทรีย์ในลำไส้ ซึ่งช่วยป้องกันปัญหาต่าง ๆ เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ เสียดท้อง ท้องผูก ท้องเสีย แก๊สในกระเพาะอาหาร คลื่นไส้ ปวดท้อง ทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณอุจจาระ เพิ่มความถี่ในการขับถ่ายและลดเวลาการเคลื่อนตัวของอาหารหรือของเสียในลำไส้ได้ดี นอกจากนี้ ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคมะเร็งลำไส้ โรคมะเร็งเต้านม 2. […]


ข้อมูลโภชนาการ

แมกนีเซียม ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

แมกนีเซียม เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อสุขภาพกล้ามเนื้อ เส้นประสาท กระดูก การเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การขาดแมกนีเซียมอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย เช่น หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคกระดูกพรุน จึงควรเสริมแมกนีเซียมให้เหมาะสมตามความต้องการของร่างกาย [embed-health-tool-bmi] ประโยชน์ของแมกนีเซียมที่มีต่อสุขภาพ แมกนีเซียมแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของแมกนีเซียมในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อาจส่งเสริมสุขภาพกระดูก แมกนีเซียมประมาณ 60% จะถูกจัดเก็บไว้ในกระดูก ซึ่งมีส่วนในการควบคุมการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (Parathyroid Hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนประเภทโปรตีนหรือเปปไทด์ (Peptide Hormone) ที่มีบทบาทสําคัญในการควบคุมระดับเกลือแร่ต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร  Nutrients เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 ศึกษาเกี่ยวประสิทธิภาพของแมกนีเซียมที่ส่งผลต่อโรคกระดูกพรุน พบว่า การเสริมแมกนีเซียมในปริมาณที่พอเหมาะส่งผลดีต่อการช่วยส่งเสริมสุขภาพกระดูก รวมทั้ง ยังมีส่วนในการควบคุมการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์ ที่มีหน้าที่ควบคุมระดับแคลเซียมที่ดีต่อสุขภาพกระดูก อาจช่วยลดความดันโลหิตและลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด แมกนีเซียมอาจมีส่วนช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมองและลดความดันโลหิต โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร  Nutrients เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของแมกนีเซียมในอาหารที่มีผลต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด พบว่า แมกนีเซียมอาจช่วยลดปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวาน และลดความดันโลหิต โดยการปรับปรุงการทำงานของอินซูลินในการเผาผลาญน้ำตาลเป็นพลังงาน เพิ่มการขยายตัวของหลอดเลือดบริเวณผนังด้านในของหลอดเลือด ปรับปรุงคุณสมบัติของไขมัน […]


ข้อมูลโภชนาการ

ประโยชน์ของน้ำ ที่ดีต่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง

การดื่มน้ำให้เพียงพอในปริมาณที่ร่างกายต้องการอาจส่งผลดีต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เนื่องจาก ประโยชน์ของน้ำมีด้วยกันหลายประการ เช่น ป้องกันภาวะขาดน้ำ รักษาการทำงานของลำไส้และไต ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ควบคุมแคลอรี่ ประโยชน์ของน้ำ ประโยชน์ของน้ำที่อาจส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย มีด้วยกันหลายประการ ดังนี้ อาจช่วยรักษาสมดุลของเหลวภายในร่างกาย ร่างกายประกอบด้วยน้ำประมาณ 60% ซึ่งน้ำมีส่วนช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการย่อยอาหาร การดูดซึมสารอาหาร การไหลเวียนของเลือด การลำเลียงสารอาหาร การสร้างน้ำลาย เนื่องจากเซลล์ในร่างกายมีน้ำเป็นส่วนประกอบและน้ำยังมีหน้าที่ช่วยรักษารูปร่างและโครงสร้างของเซลล์ หากเซลล์ขาดน้ำจะทำให้การทำงานของเซลล์ไม่เป็นปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยที่รุนแรงได้ นอกจากนี้ น้ำยังช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายผ่านทางการขับเหงื่อและการหายใจเมื่อร่างกายมีความร้อนสูง  เมื่อร่างกายมีของเหลวน้อยลงสมองจะกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกกระหายน้ำ จึงควรดื่มน้ำเพิ่มขึ้นเมื่อออกกำลังกายหรืออยู่ในสภาพอากาศร้อนเป็นเวลานาน เพื่อทดแทนปริมาณน้ำที่สูญเสียไป ช่วยบำรุงสุขภาพผิว ผิวเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ช่วยปกป้องอวัยวะภายในจากการทำร้ายของมลพิษ สารพิษ และเชื้อโรค และยังช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำ และยังช่วยปกป้องร่างกายจากอุณหภูมิที่ร้อนจัด ซึ่งผิวชั้นนอกสุดหรือหนังกำพร้า ช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งที่เป็นอันตรายเข้าสู่ร่างกาย และยังช่วยให้ผิวชุ่มชื้นโดยการป้องกันการระเหยของน้ำในร่างกาย รวมทั้งเซลล์ในเยื่อหุ้มเซลล์ยังสามารถดูดซับน้ำได้ การดื่มน้ำอย่างเพียงพอจึงสามารถช่วยปรับปรุงสุขภาพผิวโดยรวมได้ดี แต่หากร่างกายสูญเสียน้ำในปริมาณมากอาจส่งผลให้ผิวหนังแห้ง ขาดความชุ่มชื้น มีรอยเหี่ยวย่นมากขึ้น จึงควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการ โดยผู้ชายควรดื่มน้ำประมาณวันละ 3.7 ลิตร และผู้หญิง 2.7 ลิตร เพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพผิวให้ชุ่มชื้นและสดใส อาจช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ปกติ น้ำมีหน้าที่ช่วยลำเลียงอาหารให้ไหลไปตามทางเดินอาหาร ทั้งยังช่วยป้องกันอาการท้องผูก […]


ข้อมูลโภชนาการ

เก๊กฮวย ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

เก๊กฮวย หรือดอกเบญจมาศสวนซึ่งมีลักษณะดอกสีเหลือง กลีบซ้อนเป็นชั้น ๆ จัดเป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องดื่มดับกระหายอย่างน้ำเก๊กฮวย และใช้เป็นยารักษาโรค อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ เช่น โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก โดยประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ ได้แก่ ช่วยส่งเสริมสุขภาพหัวใจและกระดูก ลดความเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตสูง ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดการอักเสบ และอาจมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการเมาค้างได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของเก๊กฮวย เก๊กฮวยปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 12.2 กิโลแคลอรี่ และประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น ไขมัน 0.286 กรัม คาร์โบไฮเดรต 1.54 กรัม ไฟเบอร์ 1.53 กรัม โปรตีน 1.71 กรัม นอกจากนี้ เก๊กฮวยยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส แคลเซียม ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม ประโยชน์ของเก๊กฮวยที่มีต่อสุขภาพ เก๊กฮวย มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของเก๊กฮวยในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อาจช่วยบำรุงหัวใจ เก๊กฮวยอุดมไปด้วยโพแทสเซียมที่ดีต่อความดันโลหิต สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด ไต กระดูกและอวัยวะอื่น ๆ ซึ่งการได้รับโพแทสเซียมที่เพียงพออาจช่วยให้หัวใจเต้นเป็นปกติ ลดความเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน